[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 223
ทุติยปัณณาสก์
พราหมณวรรคที่ ๑
๕. นิพพุตสูตร
ว่าด้วยพระนิพพาน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 223
๕. นิพพุตสูตร (๑)
ว่าด้วยพระนิพพาน
[๔๙๕] ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อชานุสโสณี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พราหมณ์ชานุสโสณีนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ที่ว่าพระนิพานเป็น สนฺทิฏฺิกํ สนฺทิฏฺิกํ ด้วยเหตุเท่าไร พระนิพพานจึงเป็น สนฺทิฏฺิกํ อกาลิกํ เอหิปสฺสิกํ โอปนยิกํ ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺพํ วิญฺญูหิ.
พราหมณ์ คนที่เกิดราคะ โทสะ โมหะแล้ว ย่อมคิดเพื่อทำตัวให้ลำบากบ้าง ฯลฯ ย่อมรู้สึกทุกข์โทมนัสในใจบ้าง ครั้นละราคะ โทสะ โมหะเสียได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อทำตนให้ลำบาก ฯลฯ ไม่รู้สึกทุกข์โทมนัสในใจเลย อย่างนี้แล พราหมณ์ พระนิพพานเป็น สนฺทิฏฺิกํ ...
พราหมณ์ เมื่อบุคคลได้รสความสิ้นราคะ โทสะ โมหะไม่มีเหลือ นั่นแล พระนิพพานจึงเป็น สนฺทิฏฺิกํ ...
(๑) ความพิสดาร เหมือนข้อ ๔๙๔
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 224
ดีจริงๆ พระโคดมผู้เจริญ ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญทรงจำข้าพระเจ้าไว้ว่า เป็นอุบาสกถึงสรณะแล้ว ตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้ไป.
จบนิพพุตสูตรที่ ๕
อรรถกถานิพพุตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในนิพพุตสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อกาลิกํ ความว่า ไม่ใช่จะพึงบรรลุในเวลาอื่น. บทว่า โอปนยิกํ ได้แก่ ควรเข้าถึงด้วยข้อปฏิบัติ.
จบอรรถกถานิพพุตสูตรที่ ๕