๘. จูฬเสฏฐีเปตวัตถุ ว่าด้วยบรรพชิตตระหนี่เป็นเปรตเปลือยผอม
โดย บ้านธัมมะ  17 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40363

[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 222

อุพพรีวรรคที่ ๒

๘. จูฬเสฏฐีเปตวัตถุ

ว่าด้วยบรรพชิตตระหนี่เป็นเปรตเปลือยผอม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 49]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 222

๘. จูฬเสฏฐีเปตวัตถุ

ว่าด้วยบรรพชิตตระหนี่เป็นเปรตเปลือยผอม

พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสถามจูฬเศรษฐีเปรตว่า :-

[๑๐๕] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นบรรพชิต เปลือยกายซูบผอม เพราะเหตุแห่งกรรมอะไร ท่านจะไปที่ไหนในราตรีเช่นนี้ ขอท่านจงบอกการที่ท่านจะไปแก่เราเถิด เราสามารถจะให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแก่ท่านด้วยความอุตสาหะทั้งปวง.

จูฬเศรษฐีเปรตกราบทูลว่า

เมื่อก่อนพระนครพาราณสีมีกิตติคุณเลื่องลือไปไกล ข้าพระองค์เป็นคฤหบดีผู้มั่งคั่งอยู่ในพระนครนั้น แต่เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่นไม่เคยให้สิ่งของแก่ใครๆ มีใจข้องอยู่ในอามิส ได้ถึงวิสัยแห่งพญายมเพราะความเป็นผู้ทุศีล ข้าพระองค์ลำบากแล้วเพราะความหิวเสียดแทง เพราะบาปกรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นข้าพระองค์ปรารถนาอามิส จึงได้มาหาหมู่ญาติ มนุษย์แม้เหล่าอื่นมีปกติไม่ให้ทาน และไม่เชื่อว่า


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 223

แห่งทานมีอยู่ในโลกหน้า มนุษย์แม้เหล่านั้นจักเกิดเป็นเปรตเสวยทุกข์ใหญ่ เหมือนข้าพระองค์ ฉะนั้น ธิดาของข้าพระองค์ปนอยู่เนื่องๆ ว่า เราจักให้ทานอุทิศให้มารดา บิดา ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย พวกพราหมณ์กำลังบริโภคทานอันธิดาของข้าพระองค์ตกแต่งแล้ว ข้าพระองค์จะไปยังเมืองอันธกาวินทนคร เพื่อบริโภคอาหาร

พระราชาจึงตรัสสั่งเขาว่า ถ้าท่านไปได้เสวยผลทานนั้น พึงรีบกลับมาบอกเหตุที่มีจริงแก่เรา เราฟังคำอันมีเหตุผลควรเชื่อถือได้แล้ว จักทำการบูชาบ้าง จูฬเศรษฐีเปรตทูลรับพระดำรัสแล้ว ได้ไปยังอันธกาวินทนครนั้น แต่ไม่ได้รับผลแห่งทานนั้นเพราะพราหมณ์ทั้งหลายที่บริโภคภัต เป็นผู้ไม่มีศีล ไม่สมควรแก่ทักษิณา ภายหลังจูฬเศรษฐีเปรตกลับมาสู่นครราชคฤห์อีก ได้ไปแสดงกายให้ปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่ชน พระราชาทอดพระเนตรเห็นเปรตนั้นกลับมาอีก จึงตรัสถามว่า เราจะให้ทานอะไร ถ้าเหตุที่จะให้ท่านอิ่มหนำตลอดกาลมีอยู่ไซร้ ขอท่านจงบอกเหตุนั้นแก่เรา.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 224

จูฬเศรษฐีเปรตกราบทูลว่า

ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์จงทรงอังคาสพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ ด้วยข้าวและน้ำ แล จงทรงถวายจีวร แล้วทรงอุทิศกุศลนั้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพระองค์ ด้วยการทรงบำเพ็ญกิจอย่างนี้ ข้าพระองค์จะพึงอิ่มหนำตลอดกาลนาน. ลำดับนั้น พระราชาเสด็จออกจากปราสาททันที ทรงถวายทานอันประณีตยิ่งแก่สงฆ์ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ แล้วทรงกราบทูลเรื่องราวแด่พระตถาคต ทรงอุทิศส่วนกุศลให้จูฬเศรษฐีเปรต

จูฬเศรษฐีเปรตนั้นอันพระราชาทรงบูชาแล้ว เป็นผู้งดงามยิ่งนัก ได้มาปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระราชาผู้เป็นใหญ่กว่าชน แล้วกราบทูลว่า ข้าพระองค์เป็นเทวดามีฤทธิ์อย่างยอดเยี่ยมแล้ว มนุษย์ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์เสมอด้วยข้าพระองค์ไม่มี ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตรดูอานุภาพอันหาประมาณมิได้ของข้าพระองค์นี้เถิด ซึ่งเกิดจากผลที่พระองค์ทรงถวายทานอันจะนับมิได้แก่สงฆ์ อุทิศส่วนพระราชกุศลให้แก่ข้าพระองค์ด้วยทรงอนุเคราะห์ ข้าแต่พระองค์ผู้


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 225

เป็นเทพแห่งมนุษย์ ข้าพระองค์เป็นผู้อันพระองค์ยังพระอริยสงฆ์ให้อิ่มหนำด้วยไทยธรรมมีข้าวและน้ำ และผ้าผ่อนเป็นต้นเป็นอันมาก จึงได้อิ่มหนำแล้วเนืองๆ บัดนี้ข้าพระองค์มีความสุขแล้ว ขอทูลลาพระองค์ไป.

จบ จูฬเสฏฐิเปตวัตถุที่ ๘

อรรถกถาจูฬเสฏฐิเปตวัตถุที่ ๘

เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ที่เวฬุวันมหาวิหาร ทรงปรารภจูฬเศษฐีเปรต ตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นคฺโค กิโส ปพฺพชิโตสิ ภนฺเต ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี มีคฤหบดีผู้หนึ่งเป็นคนไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น ไม่เอื้อเฟื้อต่อการบำเพ็ญบุญ ได้นามว่า จูฬเศรษฐี. เขาทำกาละแล้ว บังเกิดในหมู่เปรต. ร่างกายของเขาปราศจากเนื้อและเลือด มีเพียงกระดูก เส้นเอ็นและหนัง ศีรษะโล้น ปราศจากผ้า. แต่ธิดาของเขา ชื่อว่า อนุลา อยู่ในเรือนของสามี ในอันธกวินทนคร มีความประสงค์จะให้พราหมณ์บริโภคอาหารอุทิศบิดา จึงจัดแจงเครื่องอุปกรณ์ทานมีข้าวสารเป็นต้น. เปรตรู้ดังนั้น ไปในที่นั้นโดยอากาศ โดยความหวัง ถึงกรุงราชคฤห์. ก็สมัยนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูถูกพระเจ้าเทวทัตต์ส่งไปให้ปลงพระชนมชีพพระบิดา ไม่เข้าถึงความหลับ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 226

เพราะความเดือดร้อน และความฝันร้ายนั้น จึงขึ้นไปบนปราสาทจงกรมอยู่ เห็นเปรตนั้นเหาะไปอยู่จึงถามด้วยคาถานี้ว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นบรรพชิต เปลือยกาย ซูบผอม เพราะเหตุแห่งกรรมอะไร ท่านจะไปไหนในราตรีเช่นนี้ ขอท่านจงบอกกาลที่ท่านจะไปแก่เราเถิด เราสามารถจะให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแก่ท่าน ด้วยความอุตสาหะทุกอย่าง

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชิโต ได้แก่ สมณะ. ได้ยินว่า พระราชากล่าวกะเขาว่า ท่านเป็นบรรพชิตเปลือยกายซูบผอม เป็นต้น ด้วยความสำคัญว่า ผู้นี้เป็นสมณะเปลือย เพราะเขาเป็นคนเปลือยกายและเป็นคนศีรษะโล้น. บทว่า กิสฺสเหตุ แปลว่า มีอะไรเป็นเหตุ. บทว่า สพฺเพน วิตฺตํ ปฏิปาทเย ตุวํ ความว่า เราจะมอบทรัพย์เครื่องปลื้มใจ อันเป็นเครื่องอุปกรณ์แห่งทรัพย์เครื่องปลื้มใจ พร้อมด้วยโภคะทุกอย่าง หรือด้วยความอุตสาหะทุกอย่าง ตามความเหมาะสมแก่อัธยาศัยของท่าน ไฉนหนอเราพึงสามารถเช่นนั้นได้ เพราะฉะนั้น ท่านจงบอกข้อนั้นแก่เรา คือ จงบอกเหตุแห่งการมาของท่านนั้นแก่เรา.

เปรตถูกพระราชาถามอย่างนี้แล้ว เมื่อจะบอกประวัติของตน จึงได้กล่าวคาถา ๓ ถาคาว่า :-


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 227

เมื่อก่อนกรุงพาราณสี มีกิตติคุณเลื่องลือไปไกล ข้าพระองค์เป็นคฤหบดีผู้มั่งคั่งอยู่ในกรุงพาราณสีนั้น แต่เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น ไม่เคยให้สิ่งของแก่ใครๆ มีใจข้องอยู่ในอามิส ได้ถึงวิสัยแห่งพญายม เพราะความเป็นผู้ทุศีล ข้าพระองค์ลำบากแล้ว เพราะความหิวเสียดแทง เพราะกรรมชั่วเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ปรารถนาอามิส จึงได้มาหาหมู่ญาติ มนุษย์แม้เหล่าอื่น มีปกติไม่ให้ทานและไม่เชื่อว่า ผลแห่งทานมีอยู่ในโลกหน้า มนุษย์แม้เหล่านั้นจัก เกิดเป็นเปรตเสวยทุกข์ใหญ่เหมือนข้าพระองค์ ฉะนั้น ธิดาของข้าพระองค์บ่นอยู่เนืองๆ ว่า เราจักให้ทานอุทิศให้มารดา บิดา ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย พวกพราหมณ์กำลังบริโภคทาน อันธิดาของข้าพระองค์ตบแต่งแล้ว ข้าพระองค์จะไปยังเมืองอันธกวินทนคร เพื่อบริโภคอาหาร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูรฆุฏฺํ ได้แก่ เลื่องลือด้วยอำนาจกิตติคุณไปไกลทีเดียว, อธิบายว่า ขจรไป คือปรากฏในที่ทุกสถาน. บทว่า อฑฺฒโก แปลว่า เป็นคนมั่งคั่ง คือมีสมบัติมาก. บทว่า ทีโน แปลว่า มีจิตตระหนี่ คือมีอัธยาศัยในการไม่ให้. ด้วย


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 228

เหตุนี้ ท่านจึงกล่าวว่า อทาตา ผู้ไม่ให้. บทว่า เคธิตมโน อามิสสฺมึ ได้แก่ ผู้มีจิตข้องอยู่ คือ ถึงความติดอยู่ในอามิสคือกาม. บทว่า ทุสฺสีเลน ยมวิสยมฺหิ ปตฺโต ความว่า ข้าพเจ้าได้ถึงวิสัยแห่งพญายม คือ เปตโลกด้วยกรรมคือความเป็นผู้ทุศีลที่ตนได้ทำไว้.

บทว่า โส สูจิกาย กิลมิโต ความว่า ข้าพเจ้านั้นลำบากเพราะความหิว อันได้นามว่า สูจิกา เพราะเป็นเสมือนเข็ม เพราะอรรถว่า เสียดแทง เสียดแทงอยู่ไม่ขาดระยะ. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า กิลมโถ ดังนี้ก็มี. บทว่า เตหิ ความว่า ด้วยบาปกรรมอันเป็น เหตุที่กล่าวแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ทีโน ดังนี้. จริงอยู่ เมื่อเปรตนั้นระลึกถึงกรรมชั่วนั้น โทมนัสอย่างยิ่งเกิดขึ้นแล้ว เพราะเหตุนั้น เปรตจึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า เตเนว ได้แก่ เพราะความทุกข์อันเกิดแต่ความหิวนั้นนั่นเอง. บทว่า าตีสุ ยามิ ความว่า ข้าพเจ้าจึงไป คือไปถึงที่ใกล้ของหมู่ญาติ. บทว่า อามิสกิญฺจิกฺขเหตุ ได้แก่ เพราะเหตุแห่งข้าพระองค์ปรารถนาอามิส อธิบายว่า ปรารถนาอามิสบางอย่าง. บทว่า อทานสีลา น จ สทฺทหนฺติ ทานผลํ โหติ ปรมฺหิ โลเก ความว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติไม่ให้ทานฉันใด แม้คนเหล่าอื่นก็มีปกติไม่ให้ทานฉันนั้นเหมือนกัน และไม่เชื่อว่า ผล แห่งทานจะมีในปรโลกอย่างแท้จริง, อธิบายว่า แม้พวกชนเหล่านั้นเป็นเปรตเสวยทุกข์อย่างใหญ่หลวงเหมือนข้าพเจ้า.

บทว่า ลปเต แปลว่า ย่อมกล่าว. บทว่า อภิกฺขณํ แปลว่า เนืองๆ คือโดยส่วนมาก. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า เปรตกล่าวว่า


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 229

กระไร เปรตจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักให้ทานเพื่อมารดาบิดา ปู่ ย่า ตา ยาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิตูนํ ได้แก่ มารดาและบิดา หรือ อา และลุง. บทว่า ปิตามหานํ ได้แก่ ปู่ ย่า ตา และยาย. บทว่า อุปกฺขฏํ ได้แก่ จัดแจง. บทว่า ปริวิสยนฺติ แปลว่าให้บริโภค. บทว่า อนฺธกวินฺทํ ได้แก่ นครอันมีชื่อย่างนั้น. บทว่า ภุตฺตุํ ได้แก่ เพื่อบริโภค. เบื้องหน้าแต่นั้น พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า :-

พระราชาจึงตรัสสั่งเขาว่า ถ้าท่านไปได้เสวยผลทานนั้น พึงรีบกลับมาบอก เหตุที่มีจริงแก่เรา เราฟังคำอันมีเหตุผลควรเชื่อถือได้แล้ว จักทำการบูชาบ้าง จูฬเศรษฐีเปรตทูลรับพระดำรัสแล้ว ได้ไปยังอันธกวินทนครนั้น แต่ไม่ได้รับผลแห่งทานนั้น เพราะพราหมณ์ทั้งหลายที่บริโภคภัตรเป็นผู้ไม่มีศีล ไม่สมควรแก่ทักษิณา ภายหลังจูฬเศรษฐีเปรต กลับมายังกรุงราชคฤห์อีก ได้ไปแสดงกายให้ปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่ชน พระราชาทอดพระเนตรเห็นเปรตนั้นกลับมาอีก จึงตรัสถามว่า เราจะให้ทานอะไร ถ้าเหตุที่จะให้ท่านอิ่มหนำตลอดกาลนานมีอยู่ไซร้ ขอท่านจงบอกเหตุนั้นแก่เรา


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 230

จูฬเศรษฐีเปรตกราบทูลว่า :-

ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์จงทรงอังคาสพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำ และจงทรงถวายจีวรแล้วจงอุทิศกุศลนั้น เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพระองค์ ด้วยทรงการบำเพ็ญกิจอย่างนี้ ข้าพระองค์จะพึงอิ่มหนำตลอดกาลนาน ลำดับนั้นพระราชาเสด็จออกจากปราสาททันที ทรงถวายทานอันประณีตยิ่งแก่สงฆ์ ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์แล้วทรงกราบทูลเรื่องราวแด่พระตถาคต ทรงอุทิศส่วนกุศลให้แก่จูฬเศรษฐีเปรต, จูฬเศรษฐีเปรตนั้นอันพระราชาทรงบูชาแล้ว เป็นผู้งดงามยิ่งนัก ได้มาปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระราชาผู้เป็นใหญ่ กว่าหมู่ชน แล้วกราบทูลว่า ข้าพระองค์เป็นเทวดา มีฤทธิ์อย่างยอดเยี่ยมแล้ว มนุษย์ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์เสมอด้วยข้าพระองค์ไม่มี ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตรดูอานุภาพอันหาประมาณมิได้ของข้าพระองค์นี้เถิด ซึ่งเกิดจากผลที่พระองค์ ทรงถวายทานอันจะนับมิได้แก่สงฆ์ อุทิศส่วนพระราชกุศลให้แก่ข้าพระองค์ ด้วยทรงอนุเคราะห์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเทพแห่งมนุษย์


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 231

ข้าพระองค์เป็นผู้อันพระองค์ยังพระอริยสงฆ์ให้อิ่มหนำด้วยไทยธรรมมีข้าวและน้ำ และผ้าผ่อนเป็นต้น เป็นอันมาก จึงได้อิ่มหนำแล้วเนืองๆ บัดนี้ ข้าพระองค์มีความสุขแล้ว จึงขอทูลลาพระองค์ไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมโวจ ราชา ความว่า พระเจ้าอชาตศัตรูได้ตรัสสั่งเปรตนั้นผู้ยืนกล่าวอยู่อย่างนั้น. บทว่า อนุภวิยาน ตมฺปิ ความว่า เสวยทานแม้นั้นที่ธิดาของท่านเข้าไปตั้งไว้. บทว่า เอยฺยาสิ แปลว่า พึงมา. บทว่า กริสฺสํ แปลว่า จัก กระทำ. บทว่า อาจิกฺข เม ตํ ยทิ อตฺถิ เหตุ ความว่า ถ้าคำอะไรมีเหตุที่ควรเชื่อได้จงบอกเล่าแก่เรา. บทว่า สทฺธายิตํ แปลว่า ควรเชื่อได้. บทว่า เหตุวโจ. ได้แก่ คำที่ควรแก่เหตุ. อธิบายว่า ท่านจงกล่าวคำที่มีเหตุว่า เมื่อบำเพ็ญทานในที่ชื่อโน้น โดยประการโน้น จะสำเร็จแก่เรา.

บทว่า ตถาติ วตฺวา ความว่า จูฬเศรษฐีเปรตทูลรับพระดำรัสแล้ว. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในที่เป็นที่อังคาสในอันธกวินทนครนั้น. บทว่า ภุญฺชึสุ ภตฺตํ น จ ทกฺขิณารหา ความว่า พราหมณ์ผู้ทุศีลบริโภคภัตตาหารแล้ว แต่ว่าพราหมณ์บริโภคนั้นเป็นผู้ ไม่ควรทักษิณา ไม่มีศีล. บทว่า ปุนาปรํ ความว่า ภายหลังจูฬเศรษฐีเปรตกลับมายังกรุงราชคฤห์อีก.


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 232

บทว่า กึ ททามิ ความว่า พระราชาตรัสถามเปรตนั้นว่า เราจักให้ทานเช่นไรแก่ท่าน. บทว่า เยน ตุวํ ความว่า ท่านให้อิ่มหนำด้วยเหตุใด. บทว่า จิรตรํ แปลว่า ตลอดกาลนาน. บทว่า ปิณิโต. ความว่า ถ้าท่านอิ่มหนำแล้วท่านจงบอกข้อนั้น.

บทว่า ปริวิสิยาน แปลว่า ให้บริโภค. จูฬเศรษฐีเปรตเรียกพระเจ้าอชาตศัตรูว่า ราชา. บทว่า เม หิตาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพระองค์ คือ เพื่อให้ข้าพระองค์พ้นจากความเป็นเปรต.

บทว่า ตโต แปลว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะคำนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตโต แปลว่า จากปราสาทนั้น. บทว่า นิปติตฺวา แปลว่า ออกไปแล้ว. บทว่า ตาวเท ได้แก่ ในกาลนั้นเอง คือ ในเวลาอรุณขึ้น, อธิบายว่า พระราชาได้ถวายทานเฉพาะในเวลา ก่อนภัตรที่เปรตกลับมาแสดงตนแก่พระราชา. บทว่า สหตฺถา แปลว่า ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์. บทว่า อตุลํ แปลว่า ประมาณไม่ได้ คือ ประณีตยิ่ง. บทว่า ทตฺวา สงฺเฆ ได้แก่ ถวายแก่สงฆ์. บทว่า อาโรเจสิ ปกตํ ตถาคตสฺส ความว่า พระราชากราบทูลเรื่องราวนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ทานนี้หม่อมฉันได้บำเพ็ญมุ่งหมายอุทิศเปรตตนหนึ่ง. ก็แลครั้นกราบทูลแล้ว ทานนั้นก็สำเร็จแก่เปรตนั้น โดยประการนั้น และข้าพระองค์ถวายอุทิศส่วนบุญแก่เปรตนั้น ด้วยประการฉะนี้.


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 233

บทว่า โส ได้แก่ เปรตนั้น. บทว่า ปูชิโต ได้แก่ ผู้อันพระราชาทรงบูชาด้วยทักษิณาที่ทรงทิศให้. บทว่า อติวิย โสภมาโน. แปลว่า เป็นผู้งดงามยิ่งนักด้วยอานุภาพของเทวดา. บทว่า ปาตุรโหสิ แปลว่า ปรากฏแล้ว คือ แสดงตนเฉพาะพระพักตร์ของพระราชา. บทว่า ยกฺโขหมสฺมิ ความว่า ข้าพระองค์พ้นจากความเป็นเปรตกลายเป็นเทวดา คือ ถึงความเป็นเทพ. บทว่า น มยฺหมตฺถิ สมา สทิสา มานุสา ความว่า มนุษย์ทั้งหลายผู้เสมอด้วยอานุภาพสมบัติ หรือเสมือนโภคสมบัติของข้าพเจ้าไม่มี.

บทว่า ปสฺสานุภาวํ อปริมิตํ มมยิทํ ความว่า จูฬเศรษฐีเปรตกราบทูลแสดงสมบัติของตนแก่พระราชาโดยประจักษ์ว่า ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรดูอานุภาพแห่งเทวดาอันหาประมาณมิได้นี้ของข้าพระองค์เถิด. บทว่า ตยานุทิฏฺํ อตุลํ ทตฺวา สงฺเฆ ความว่า ซึ่งพระองค์ถวายทานอันโอฬารหาสิ่งเปรียบปานมิได้แด่พระอริยสงฆ์ แล้วทรงอุทิศด้วยความอนุเคราะห์ข้าพระองค์. บทว่า สนฺตปฺปิโต สตตํ สทา พหูหิ ความว่า ข้าพระองค์เมื่อให้พระอริยสงฆ์อิ่มหนำด้วยไทยธรรมเป็นอันมากมีข้าว น้ำ และผ้า เป็นต้น ชื่อว่าให้อิ่มหนำติดต่อกัน คือ ไม่ขาดระยะ แม้ในที่นั้น ทุกเมื่อ คือทุกเวลา ตลอดชีวิต. บทว่า ยามิ อหํ สุขิโต มนุสฺสเทว ความว่า จูฬเศรษฐีเปรตทูลถามพระราชาว่า ข้าแต่มหาราชผู้เป็นเทพของมนุษย์ เพราะฉะนั้น บัดนี้ ข้าพระองค์มีความสุขแล้ว ขอกลับไปยังที่ตามที่ปรารถนา.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 234

เมื่อเปรตทูลลากลับไปอย่างนี้ พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสบอกความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลความนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว มหาชนฟังธรรมนั้นแล้ว ละมลทินคือความตระหนี่ ได้เป็นผู้ยินดียิ่งในบุญมีทานเป็นต้นแล.

จบ อรรถกถาจูฬเสฏฐิเปตวัตถุที่ ๘