[เล่มที่ 78] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒
๑๖. ญาณวิภังค์
มาติกา หน้า 560
เอกกมาติกา หน้า 560
ทุกมาติกา หน้า 562
ติกมาติกา หน้า 563
จตุกกมาติกา หน้า 568
ปัญจก-ฉักก-สัตตก-อัฎฐก-นวกมาติกา หน้า 569
ทสกมาติกา หน้า 570
เอกกนิทเทส หน้า 573
ทุกนิสเทส หน้า 578
ติกนิทเทส หน้า 582
จตุกกนิทเทส หน้า 588
ปัญจกนิทเทส หน้า 598
ฉันกนิทเทส หน้า 599
สัตตกนิทเทส หน้า 599
อัฏฐกนิทเทส หน้า 600
นวกนิทเทส หน้า 601
ทสกนิทเทส หน้า 601
อรรถกถาญาณวิภังค์ หน้า 617
อธิบายบทมาติกา หน้า 617
ว่าด้วยกําลังกายของพระตถาคต หน้า 620
ว่าด้วยกําลังแห่งญาณของพระตถาคต หน้า 622
วรรณนากําลังของพระตถาคตข้อที่ ๑ หน้า 627
วรรณนากําลังของพระตถาคตข้อที่ ๒ หน้า 628
วรรณนากําลังของพระตถาคตข้อที่ ๓ หน้า 628
วรรณนากําลังของพระตถาคตข้อที่ ๔ หน้า 629
วรรณนากําลังของพระตถาคตข้อที่ ๕ หน้า 629
วรรณนากําลังของพระตถาคตข้อที่ ๖ หน้า 629
วรรณากําลังของพระตถาคตข้อที่ ๗ หน้า 630
วรรณนากําลังของพระตถาคตข้อที่ ๘ - ๑๐ หน้า 630
อรรถกถาเอกกนิทเทส หน้า 632
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๑ หน้า 632
เหตุแห่งการฝัน ๔ หน้า 640
อรรถกถาทุกนิทเทส หน้า 645
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๒ หน้า 645
นัยแห่งอรรถกถาอันเป็นบาลีมุตตกะ นัยหนึ่ง หน้า 645
นัยแห่งอรรถกถาอันเป็นบาลีมุตตกะอีกนัยหนึ่ง หน้า 646
อรรถกถาติกนิทเทส หน้า 647
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๓ หน้า 647
จินตามยปัญญา หน้า 647
นัยแห่งหีนกรรม หน้า 648
นัยแห่งอุกกัฏฐกรรม หน้า 648
นัยแห่งศิลปะทั้ง ๒ อย่าง หน้า 649
อธิบายสุตมยปัญญา หน้า 652
อธิบายภาวนามยปัญญา หน้า 652
อธิบายทานมยปัญญา หน้า 652
อธิบายสีลมยปัญญา หน้า 653
อธิบายอธิสีลปัญญา เป็นต้น หน้า 653
อธิบายอายโกศล เป็นต้น หน้า 656
อรรถกถาจตุกกนิทเทส หน้า 658
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๔ หน้า 658
อธิบายมัคคสมังคิญาณ หน้า 659
อธิบายธัมมญาณ เป็นต้น หน้า 660
อธิบายหานคามินีเป็นปัญญาเป็นต้น หน้า 665
อธิบายปฏิปทาปัญญา ๔ หน้า 666
อธิบายอารัมมณปัญญา ๔ หน้า 667
อธิบายมัคคสมังคิญาณ เป็นต้น หน้า 668
อรรถกถาปัญจกนิทเทส หน้า 668
อธิบายวัตถุหมวด ๕ หน้า 668
อธิบายสัมมาสมาธิมีฌาน ๕ หน้า 669
อรรถกถาฉักกนิทเทส หน้า 671
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๖ หน้า 671
อรรถกถาสัตตกนิทเทส หน้า 672
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๗ หน้า 672
อรรถกถาอัฏฐกนิทเทส หน้า 674
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๘ หน้า 674
อรรถกถานวกนิทเทส หน้า 675
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๙ หน้า 675
อรรถกถาทสกนิทเทส หน้า 675
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๑๐ หน้า 675
อธิบายกําลังที่ ๑ ของพระตถาคต หน้า 675
วินิจฉัย ว่าโดยกรรม หน้า 681
วินิจฉัย ว่าโดยทวาร หน้า 684
วินิจฉัยว่าโดยการตั้งอยู่ตลอดกัป หน้า 685
วินิจฉัยว่าโดยปากะคือผลของกรรม หน้า 685
วินิจฉัยว่าโดยสาธารณะเป็นต้น หน้า 686
อธิบายโลกธาตุพุทธเกษตร หน้า 689
อันตรธาน ๓ อย่าง หน้า 691
ปรินิพพาน ๓ หน้า 693
มิลินทปัญหา หน้า 696
อธิบายการบังเกิดขึ้นแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ หน้า 701
อธิบายหญิงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นไม่ได้ หน้า 702
อธิบายกายทุจริตเป็นต้นไม่เกิดผลน่าปรารถนาเป็นต้น หน้า 704
อธิบายบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายทุจริตเป็นต้น หน้า 705
อธิบายกําลังที่ ๒ ของพระตถาคต หน้า 708
ว่าด้วยกรรมสมาทานอันเป็นบาป หน้า 708
ว่าด้วยกรรมสมาทานอันเป็นกุศล หน้า 715
เรื่องพระเจ้าทีปราช หน้า 715
เรื่องพระเถระ ชื่อว่ามหาโสณะ หน้า 718
เรื่องวัตตัพพกนิโครธเถระ หน้า 725
เรื่องพระเจ้ากูฏกัณณราช หน้า 729
อุปมาด้วยอํามาตย์ หน้า 731
กรรมในปฏิสัมภิทามรรค หน้า 732
อธิบายญาณอันเป็นกําลังข้อที่ ๓ หน้า 733
อธิบายกําลังข้อที่ ๔ หน้า 737
อธิบายกําลังข้อที่ ๕ หน้า 739
อธิบายกําลังข้อที่ ๖ หน้า 741
ว่าด้วยอาสยะของสัตว์ผู้ไม่อาศัยวัฏฏะ หน้า 742
ถ้อยคําของอาจารย์ หน้า 743
ว่าด้วยนิทเทสแห่งอนุสัย หน้า 744
ว่าด้วยนิทเทสแห่งจริตเป็นต้น หน้า 745
ว่าด้วยนิทเทสแห่งภัพพบุคคลและอภัพพบุคคล หน้า 747
อธิบายญาณเป็นกําลังข้อที่ ๗ หน้า 748
ว่าด้วยสมาธิ ๓ หน้า 750
อธิบายญาณเป็นกําลังข้อที่ ๘ หน้า 751
อธิบายญาณเป็นกําลังขอ้ที่ ๙ หน้า 751
อธิบายญาณเป็นกําลังข้อที่ ๑๐ หน้า 751
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 78]
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 560
๑๖. ญาณวิภังค์
มาติกา
เอกกมาติกา
[๗๙๕] ญาณวัตถุหมวดละ ๑ คือ วิญญาณ ๕ (๑) เป็นนเหตุ เป็นอเหตุกะ เป็นเหตุวิปปยุต เป็นสัปปัจจยะ เป็นสังขตะ เป็นอรูป เป็นโลกิยะ เป็นสาสวะ เป็นสัญโญชนิยะ เป็นคันถนิยะ เป็นโอฆนิยะ เป็นโยคนิยะ เป็นนีวรณิยะ เป็นปรามัฏฐะ เป็นอุปาทานิยะ เป็นสังกิเลสิกะ เป็นอัพยากตะ เป็นสารัมมณะ เป็นอเจตสิกะ เป็นวิบาก เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นนสวิตักกสวิจาระ นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ เป็นนปีติสหคตะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวาจยคามินาปจยคามี เป็นเนวเสกขานาเสกขะ เป็นปริตตะ เป็นกามาวจร เป็นนรูปาวจร เป็นนอรูปาวจร เป็นปริยาปันนะ เป็นโนอปริยาปันนะ เป็นอนิยตะ เป็นอนิยยานิกะ เกิดขึ้นแล้ว พึงรู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ เป็นธรรมชาติไม่เที่ยง ถูกชราครอบงำ.
วิญญาณ ๕ มีวัตถุเป็นปัจจุบัน มีอารมณ์เป็นปัจจุบัน มีวัตถุเกิดก่อน มีอารมณ์เกิดก่อน มีวัตถุเป็นภายใน มีอารมณ์เป็นภายนอก มีวัตถุยังไม่แตกดับ มีอารมณ์ยังไม่แตกดับ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน ย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะไม่นึก ย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะไม่ทำไว้ในใจ จะเกิดขึ้นโดยไม่สับสนกันก็หาไม่ จะเกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลังก็หาไม่ ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับของกันและกัน.
๑. จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 561
วิญญาณ ๕ ไม่มีความคิดนึก บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไรๆ ด้วยวิญญาณ ๕.
วิญญาณ ๕ สักแต่ว่าเป็นที่ตกไปแห่งอารมณ์อันใดอันหนึ่ง.
บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไรๆ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.
บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยวิญญาณ ๕.
บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.
บุคคลย่อมไม่ประกอบกายกรรมไม่ประกอบวจีกรรมด้วยวิญญาณ ๕
ย่อมไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรม แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.
บุคคลย่อมไม่สมาทานกุศลธรรมและอกุศลธรรมด้วยวิญญาณ ๕.
ย่อมไม่สมาทานกุศลธรรมและอกุศลธรรม แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.
บุคคลย่อมไม่เข้าสมาบัติ ไม่ออกจากสมาบัติด้วยวิญญาณ ๕.
ย่อมไม่เข้าสมาบัติ ไม่ออกจากสมาบัติแม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕
บุคคลย่อมไม่จุติ ไม่เกิด ด้วยวิญญาณ ๕.
ย่อมไม่จุติ ไม่เกิด แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.
บุคคลย่อมไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน ด้วยวิญญาณ ๕.
ย่อมไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.
ปัญญาที่แสดงเรื่องของวิญญาณ ๕ ตามความเป็นจริงดังที่กล่าวมานี้.
ญาณวัตถุหมวดละ ๑ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 562
ทุกมาติกา
[๗๙๖] ญาณวัตถุหมวดละ ๒ คือ โลกิยปัญญา โลกุตตรปัญญา,เกนจิวิญเญยยปัญญา เกนจินวิญเญยยปัญญา, สาสวปัญญา อนาสวปัญญา, อาสววิปปยุตตสาสวปัญญา อาสววิปยุตตอนาสวปัญญา, สัญโญชนิยปัญญา อสัญโญชนิยปัญญา, สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยปัญญา, สัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยปัญญา, คันถนิยปัญญา อคันถนิยปัญญา, คันถวิปปยุตตคันถนิยปัญญา, คันถวิปปยุตตอคันถนิยปัญญา, โอฆนิยปัญญา อโนฆนิยปัญญา, โอฆวิปปยุตตโอฆนิยปัญญา โอฆวิปปยุตตอโนฆนิยปัญญา, โยคนิยปัญญา อโยคนิยปัญญา, โยควิปปยุตตโยคนิยปัญญา โยควิปปยุตตอโยคนิยปัญญา, นีวรณิยปัญญา อนีวรณิยปัญญา, นีวรณวิปปยุตตนีวรณิยปัญญา นีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยปัญญา, ปรามัฏฐปัญญา อปรามัฏฐปัญญา, ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐปัญญาปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐปปัญญา, อุปาทินนปัญญา อนุปาทินนปัญญา, อุปาทานิยปัญญา อนุปาทานิยปัญญา, อุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยปัญญา อุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยปัญญา, สังกิเลสิกปัญญา อสังกิเลสิกปัญญา, กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกปัญญา กิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกปัญญา, สวิตักกปัญญา อวิตักปัญญา, สวิจารปัญญา อวิจารปัญญา, สัปปีติกปัญญา อัปปีติกปัญญา, ปีติสหคตปัญญา นปีติสหคตปัญญา, สุขสหคตปัญญา นสุขสหคตปัญญา, อุเปกขาสหคตปัญญา นอุเปกขาสหคตปัญญา, กามาวจรปัญญา นกามาวจรปัญญา, รูปาวจรปัญญา นรูปาวจรปัญญา, อรูปาวจรปัญญา นอรูปาวจรปัญญา, ปริยาปันนปัญญา อปริยาปันนปัญญา, นิยยานิกปัญญา อนิยยานิกปัญญา, นิยตปัญญา อนิยตปัญญา, สอุตตรปัญญา อนุตตรปัญญา, อัตถชาปิกปัญญา ชาปิตัตถปัญญา.
ญาณวัตถุหมวดละ ๒ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 563
ติกมาติกา
[๗๙๗] ฌาณวัตถุหมวดละ ๓ คือ จินตามยปัญญา สุตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา, ทานมยปัญญา สีลมยปัญญา ภาวนามยปัญญา, อธิสีลปัญญา อธิจิตตปัญญา อธิปัญญาปัญญา, อายโกศล อปายโกศล อุปายโกศล.
วิปากปัญญา วิปากธัมมธรรมปัญญา เนววิปากนวิปากธัมมธรรมปัญญา, อุปาทินนุปาทานิยปัญญา อนุปาทินนุปาทานิยปัญญา อนุปาทินนานุปาทานิยปัญญา, สวิตักกสวิจารปัญญา อวิตักกวิจารมัตตปัญญา อวิตักกาวิจารปัญญา, ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา อุเปกขาสหคตปัญญา, อาจยคามินีปัญญา อปจยคามินีปัญญา เนวาจยคามินีนาปจยคามินีปัญญา, เสกขปัญญา อเสกขปัญญา เนวเสกขานาเสกขปัญญา, ปริตตปัญญา มหัคคตปัญญา อัปปมาณปัญญา,ปริตตารัมมณปัญญา มหัคคตารัมมณปัญญา อัปปมาณารัมมณปัญญา, มัคคารัมมณปัญญา มัคคเหตุกปัญญา มัคคาธิปตินีปัญญา, อุปปันนปัญญา อนุปปันนปัญญา อุปปาทินีปัญญา, อตีตปัญญา อนาคตปัญญา ปัจจุปปันนปัญญา,อดีตารัมมณปัญญา อนาคตารัมมณปัญญา ปัจจุปปันนารัมมณปัญญา, อัชฌัตตปัญญา พหิทธาปัญญา อัชฌัตตพหิทธาปัญญา, อัชฌัตตารัมณปัญญา พหิทธารัมมณปัญญา อัชฌัตตพหิทธารัมมณปัญญา.
สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.
สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี.
สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 564
สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นอาจยคามินีก็มี เป็นอปจยคามินีก็มี เป็นเนวาจยคามินีนาปจยคามินีก็มี.
สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนวเสกขานาเสกขะก็มี.
สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี.
สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปตินีก็มี.
สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทินีก็มี.
สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี.
สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี.
สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี.
สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี.
อวิตักกวิจารมัตตปัญญา เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.
อวิตักกวิจารมัตตปัญญา เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 565
อวิตักกวิจารมัตตปัญญา เป็นอาจยคามินีก็มี เป็นอปจยคามินีก็มี เป็นเนวาจยคามินีนาปจยคามินีก็มี.
อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนวเสกขานาเสกขะก็มี.
อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปันนะก็มี เป็นอุปปาทินีก็มี.
อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี.
อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี.
อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.
อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี.
อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี.
อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นอาจยคามินีก็มี เป็นอปจยคามินีก็มี เป็นเนวาจยคามินีนาปจยคามินีก็มี.
อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนวเสกขานาเสกขะก็มี.
อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 566
อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมักคาธิปตินีก็มี.
อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทินีก็มี.
อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี.
อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุบันนารัมมณะก็มี.
อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี.
อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี.
ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี.
ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี.
ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นอาจยคามินีก็มี เป็นอปจยคามินีก็มี เป็นเนวาจยคามินีนาปจยคามินีก็มี.
ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนวเสกขานาเสกขะก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 567
ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นปริตตะก็มี เป็นมหัคคตะก็มี เป็นอัปปมาณะก็มี.
ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี.
ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปตินีก็มี.
ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปันนะก็มี เป็นอุปปาทินีก็มี.
ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี.
ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นอตีตารัมมณะก็ดี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี.
ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี.
ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี.
อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.
อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี.
อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นอาจยคามินีก็มี เป็นอปจยคามินีก็มี เป็นเนวาจยคามินีนาปจยคามินีก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 568
อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนวเสกขานาเสกขะก็มี.
อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นปริตตะก็มี เป็นมหัคคตะก็มี เป็นอัปปมาณะก็มี.
อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี.
อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปตินีก็มี.
อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทินีก็มี.
อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี.
อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี.
อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี
อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี.
ญาณวัตถุ หมวดละ ๓ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.
จตุกกมาติกา
[๗๙๘] ญาณวัตถุหมวดละ ๔ คือ กัมมัสสกตาญาณ สัจจานุโลมิกญาณ มัคคสมังคิญาณ ผลสมังคิญาณ, ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ, กามาวจรปัญญา รูปาวจร-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 569
ปัญญา อรูปาวจรปัญญา อปริยาปันนปัญญา, ธรรมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณ สัมมติญาณ, อาจยโนอปจยปัญญา อปจยโนอาจยปัญญา อาจยอปจยปัญญา เนวาจยโนอปจยปัญญา, นิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา ปฏิเวธโนนิพพิทาปัญญา นิพพิทาปฏิเวธปัญญา เนวนิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา, หานภาคินีปัญญา ฐิติภาคินีปัญญา วิเสสภาคินีปัญญา นิพเพธภาคินีปัญญา, ปฏิสัมภิทา ๔, ปฏิปทา ๔, อารมณ์ ๔, ชรามรณญาณ ชรามรณสมุทยญาณ ชรามรณนิโรธญาณ ชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ, ชาติญาณ ฯลฯ ภวญาณ ฯลฯ อุปาทานญาณ ฯลฯ ตัณหาญาณ ฯลฯ เวทนาญาณ ฯลฯ ผัสสญาณ ฯลฯ สฬายตนญาณ ฯลฯ นามรูปญาณ ฯลฯ วิญญาณญาณ ฯลฯ สังขารญาณ สังขารสมุทยญาณ สังขารนิโรธญาณ สังขารนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ
ญาณวัตถุ หมวดละ ๔ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.
ปัญจก - ฉักก - สัตตก - อัฏฐก - นวกมาติกา
[๗๙๙] ญาณวัตถุหมวด ๕ คือ สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ สัมมาสมาธิมีญาณ ๕ ญาณวัตถุหมวดละ ๕ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.
ญาณวัตถุหมวดละ ๖ คือ ปัญญาในอภิญญา ๖ ญาณวัตถุหมวดละ ๖ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.
ญาณวัตถุหมวดละ ๗ คือ ญาณวัตถุในธรรมหมวดละ ๗ ญาณวัตถุหมวดละ ๗ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.
ญาณวัตถุหมวดละ ๘ คือ ปัญญาในมรรค ๔ ปัญญาในผล ๔ ญาณวัตถุหมวดละ ๘ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.
ญาณวัตถุหมวดละ ๙ คือ ปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ญาณวัตถุหมวดละ ๙ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 570
ทสกมาติกา
[๘๐๐] ญาณวัตถุหมวดละ ๑๐ คือ พระตถาคตประกอบด้วยกำลังเหล่าใด จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร กำลังเหล่านั้นชื่อว่า กำลัง ๑๐ ของพระตถาคต
กำลัง ๑๐ ของพระตถาคต เป็นไฉน?
๑. พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบธรรมที่เป็นฐานะโดยความเป็นฐานะ และธรรมที่ไม่ใช่ฐานะโดยความไม่ใช่ฐานะ ตามความเป็นจริง พระตถาคตทรงทราบธรรมที่เป็นฐานะโดยความเป็นฐานะ และธรรมที่ไม่ใช่ฐานะโดยความไม่ใช่ฐานะ ตามความเป็นจริง แม้ใด แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต พระตถาคตทรงอาศัยกำลังใดแล้ว จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต.
๒. ยังมีข้ออื่นอีก พระตถาคตย่อมทรงทราบวิบากของกัมมสมาทานอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ตามความเป็นจริง โดยฐานะ โดยเหตุ พระตถาคตทรงทราบวิบากของกัมมสมาทานอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ตามความเป็นจริงโดยฐานะ โดยเหตุ แม้ใด แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต พระตถาคตทรงอาศัยกำลังใดแล้ว จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของ พระตถาคต.
๓. ยังมีข้ออื่นอีก พระตถาคตย่อมทรงทราบทางไปสู่ภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง พระตถาคตทรงทราบทางไปสู่ภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง แม้ใด แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต พระตถาคตทรงอาศัยกำลังใดแล้ว
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 571
จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต.
๔. ยังมีข้ออื่นอีก พระตถาคตทรงทราบโลกอันเป็นอเนกธาตุ เป็นนานาธาตุ ตามความเป็นจริง พระตถาคตทรงทราบโลกอันเป็นอเนกธาตุ เป็นนานาธาตุ ตามความเป็นจริง แม้ใด แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต พระตถาคตทรงอาศัยกำลังใดแล้ว จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต.
๕. ยังมีข้ออื่นอีก พระตถาคตย่อมทรงทราบความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่างๆ กัน ตามความเป็นจริง พระตถาคตทรงทราบความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่างๆ กัน ตามความเป็นจริง แม้ใด แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต พระตถาคตทรงอาศัยกำลังใดแล้ว จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต.
๖. ยังมีข้ออื่นอีก พระตถาคตย่อมทรงทราบความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่น ตามความเป็นจริง พระตถาคตทรงทราบความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่น ตามความเป็นจริง แม้ใด แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต พระตถาคตทรงอาศัยกำลังใดแล้ว จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 572
๗. ยังมีข้ออื่นอีก พระตถาคตย่อมทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง พระตถาคตทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง แม้ใด แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต พระตถาคตทรงอาศัยกำลังใดแล้ว จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต.
๘. ยังมีข้ออื่นอีก พระตถาคตย่อมทรงทราบความระลึกชาติหนหลังได้ตามความเป็นจริง พระตถาคตทรงทราบความระลึกชาติหนหลังได้ตามความเป็นจริง แม้ใด แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต พระตถาคตทรงอาศัยกำลังใดแล้ว จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต.
๙. ยังมีข้ออื่นอีก พระตถาคตย่อมทรงทราบความจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายตามเป็นจริง พระตถาคตทรงทราบความจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายตามความเป็นจริง แม้ใด แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต พระตถาคตทรงอาศัยกำลังใดแล้ว จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต.
๑๐. ยังมีข้ออื่นอีก พระตถาคตย่อมทรงทราบความสิ้นอาสวะตามความเป็นจริง พระตถาคตทรงทราบความสิ้นอาสวะตามความเป็นจริง แม้ใด แม้ข้อนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต พระตถาคตทรงอาศัยกำลังใดแล้ว จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 573
พระตถาคตประกอบด้วยกำลังเหล่าใด จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร กำลังเหล่าใด ชื่อว่า กำลัง ๑๐ ของพระตถาคต. ญาณวัตถุหมวดละ ๑๐ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.
มาติกา จบ
เอกกนิทเทส
[๘๐๑] วิญญาณ ๕ เป็นนเหตุทั้งนั้น เป็นอเหตุกะทั้งนั้น เป็นเหตุวิปปยุตทั้งนั้น เป็นสัปปัจจยะทั้งนั้น เป็นสังขตะทั้งนั้น เป็นอรูปทั้งนั้น เป็นโลกิยะทั้งนั้น เป็นสาสวะทั้งนั้น เป็นสัญโญชนิยะทั้งนั้น เป็นคันถนิยะทั้งนั้น เป็นโอฆนิยะทั้งนั้น เป็นโยคนิยะทั้งนั้น เป็นนีวรณิยะทั้งนั้น เป็นปรามัฏฐะทั้งนั้น เป็นอุปาทานิยะทั้งนั้น เป็นสังกิเลสิกะทั้งนั้น เป็นอัพยากตะทั้งนั้น เป็นสารัมมณะทั้งนั้น เป็นอเจตสิกะทั้งนั้น เป็นวิบากทั้งนั้น เป็นอุปาทินนุปาทานิยะทั้งนั้น เป็นอสังกิสิฏฐสังกิเลสิกะทั้งนั้น ไม่เป็นสวิตักกสวิจาระทั้งนั้น ไม่เป็นอวิตักกวิจารมัตตะทั้งนั้น เป็นอวิตักกาวิจาระทั้งนั้น ไม่เป็นปีติสหคตะทั้งนั้น เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะทั้งนั้น เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะทั้งนั้น เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีทั้งนั้น เป็นเนวเสกขานาเสกขะทั้งนั้น เป็นปริตตะทั้งนั้น เป็นกามาวจรทั้งนั้น ไม่เป็นรูปาวจรทั้งนั้น ไม่เป็นอรูปาวจรทั้งนั้น เป็นปริยาปันนะทั้งนั้น ไม่เป็นอปริยาปันนะทั้งนั้น เป็นอนิยตะทั้งนั้น เป็นอนิยยานิกะทั้งนั้น เป็นธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พึงรู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ เป็นธรรมชาติไม่เที่ยง ถูกชราครอบงำทั้งนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 574
[๘๐๒] คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุเป็นปัจจุบัน มีอารมณ์เป็นปัจจุบัน นั้นคือ เมื่อวัตถุเกิดขึ้น เมื่ออารมณ์เกิดขึ้น วิญญาณ ๕ ก็เกิดขึ้น.
คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุเกิดก่อน มีอารมณ์เกิดก่อนนั้น คือ เมื่อวัตถุเกิดก่อน เมื่ออารมณ์เกิดก่อน วิญญาณ ๕ จึงเกิดขึ้น.
คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุเป็นภายใน มีอารมณ์เป็นภายนอก นั้นคือ วัตถุของวิญญาณ ๕ เป็นภายใน อารมณ์ของวิญญาณ ๕ เป็นภายนอก.
คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุยังไม่แตกดับ มีอารมณ์ยังไม่แตกดับ นั้นคือ วิญญาณ ๕ เกิดขึ้น ในเมื่อวัตถุยังไม่แตกดับ ในเมื่ออารมณ์ยังไม่แตกดับ.
คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน นั้นมีอธิบายว่า วัตถุและอารมณ์ของจักขุวิญญาณเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของโสตวิญญาณเป็นอีกอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของฆานวิญญาณเป็นอีกอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของชิวหาวิญญาณเป็นอีกอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของกายวิญญาณเป็นอีกอย่างหนึ่ง.
คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน นั้นมีอธิบายว่า โสตวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ. จักขุวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของโสตวิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณย่อมไม่เสวย-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 575
อารมณ์ของฆานวิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ.
คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิด เพราะไม่พิจารณา นั้นคือ เมื่อพิจารณาอารมณ์ วิญญาณ ๕ จึงเกิดขึ้น.
คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิด เพราะไม่ทำไว้ในใจ นั้นคือ เมื่อทำอารมณ์ไว้ในใจ วิญญาณ ๕ จึงเกิดขึ้น.
คำว่า วิญญาณ ๕ จะเกิดขึ้นโดยไม่สับสนกันก็หาไม่ นั้นคือ วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นตามลำดับของกันและกัน.
คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน นั้นคือ วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน.
คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นต่อจากลำดับของกันและกัน นั้น มีอธิบายว่า โสตวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่โสตวิญญาณเกิด ฆานวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ฆานวิญญาณเกิด ชิวหาวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ชิวหาวิญญาณเกิด กายวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่กายวิญญาณเกิด จักขุวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่โสตวิญญาณเกิด ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 576
จักขุวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ฆานวิญญาณเกิด ฯลฯ จักขุวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ชิวหาวิญญาณเกิด ฯลฯ จักขุวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด โสตวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่โสตวิญญาณเกิด ฆานวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ฆานวิญญาณเกิด ชิวหาวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ชิวหาวิญญาณเกิด.
คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่มีความนึกคิด นั้นคือ ความนึก ความคิด ความพิจารณา หรือความการทำไว้ในใจ ย่อมไม่มีแก่วิญญาณ ๕.
คำว่า บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไรๆ ด้วยวิญญาณ ๕ นั้นคือ บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไรๆ ด้วยวิญญาณ ๕.
คำว่า วิญญาณ ๕ สักแต่ว่าเป็นที่ตกไปแห่งอารมณ์อันใดอันหนึ่ง นั้นคือ เป็นแต่สักว่าคลองแห่งอารมณ์อันใดอันหนึ่งเท่านั้น.
คำว่า บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไรๆ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ นั้นคือ บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไรๆ แม้ด้วยมโนธาตุ ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.
คำว่า บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยวิญญาณ ๕ นั้นคือ บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน ด้วยวิญญาณ ๕.
คำว่า บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งแม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ นั้นคือ บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใด
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 577
อย่างหนึ่ง คือ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน แม้ด้วยมโนธาตุ ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.
คำว่า บุคคลย่อมไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรม ด้วยวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลย่อมไม่ประกอบกายกรรม วจีกรรมด้วยวิญญาณ ๕.
คำว่า บุคคลย่อมไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรม แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลย่อมไม่ประกอบกายกรรม วจีกรรม แม้ด้วยมโนธาตุต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.
คำว่า บุคคลย่อมไม่สมาทานกุศลธรรมและอกุศลธรรมด้วยวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลมิได้สมาทานกุศลธรรมและอกุศลธรรม ด้วยวิญญาณ ๕.
คำว่า บุคคลย่อมไม่สมาทานกุศลธรรมและอกุศลธรรมต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลมิได้สมาทานกุศลธรรมและอกุศลธรรม แม้ด้วยมโนธาตุต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.
คำว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติด้วยวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลมิได้เข้าสมาบัติ มิได้ออกจากสมาบัติด้วยวิญญาณ ๕.
คำว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลมิได้เข้าสมาบัติ มิได้ออกจากสมาบัติ แม้ด้วยมโนธาตุต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.
คำว่า บุคคลย่อมไม่จุติ ไม่อุปบัติด้วยวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลมิได้จุติ มิได้อุปบัติ ด้วยวิญญาณ ๕.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 578
คำว่า บุคคลย่อมไม่จุติ ไม่อุปบัติแม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลมิได้จุติ มิได้อุปบัติ แม้ด้วยมโนธาตุ ต่อจาก ลำดับแห่งวิญญาณ ๕.
คำว่า บุคคลย่อมไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน ด้วยวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลมิได้หลับ มิได้ตื่น มิได้ฝัน ด้วยวิญญาณ ๕.
คำว่า บุคคลย่อมไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน แม้ต่อจากลำดับ แห่งวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลมิได้หลับ มิได้ตื่น มิได้ฝัน แม้ด้วยมโนธาตุต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.
ความรู้เรื่องวิญญาณ ๕ ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า ปัญญาที่แสดงเรื่องของวิญญาณ ๕ ตามความเป็นจริง. ญาณวัตถุ หมวดละ ๑ ย่อมมีด้วยประการ ฉะนี้.
ทุกนิทเทส
[๘๐๓] ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า โลกิยปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า โลกุตตรปัญญา. ปัญญาทั้งหมด ชื่อว่า เกนจิวิญเญยยปัญญา และ เกนจินวิญเญยยปัญญา.
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า สาสวปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนาสวปัญญา.
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อาสววิปปยุตตสาสวปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อาสววิปปยุตตอนาสวปัญญา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 579
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ นั้น ชื่อว่า สัญโญชนิยปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อ อสัญโญชนิยปัญญา
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า สัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยปัญญา.
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า คันถนิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อคันถนิยปัญญา.
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า คันถวิปปยุตตคันถนิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า คันถวิปปยุตตอคันถนิยปัญญา.
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า โอฆนิยปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อโนฆนิยปัญญา.
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า โอฆวิปปยุตตโอฆนิยปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า โอฆวิปปยุตตอโนฆนิยปัญญา.
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า โยคนิยปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อโยคนิยปปัญญา.
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า โยควิปปยุตตโยคนิยปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า โยควิปปยุตตอโยคนิยปัญญา.
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า นีวรณิยปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนีวรณิยปัญญา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 580
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า นีวรณวิปปยุตตนีวรณิยปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า นีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยปัญญา.
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า ปรามัฏฐปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อปรามัฏฐปัญญา.
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า ปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐปัญญา.
ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทินนปัญญา. ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๓ ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุปาทินนปัญญา.
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อนุปาทานิยปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุปาทานิยปัญญา.
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยปัญญา.
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า สังกิเลสิกปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อสังกิเลสิกปัญญา.
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า กิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกปัญญา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 581
ปัญญาอันสัมปยุตด้วยวิตก ชื่อว่า สวิตักกปัญญา. ปัญญาอันปราศจากวิตก ชื่อว่า อวิตักกปัญญา.
ปัญญาอันสัมปยุตด้วยวิจาร ชื่อว่า สวิจารปัญญา. ปัญญาอันปราศจาก วิจาร ชื่อว่า อวิจารปัญญา.
ปัญญาอันสัมปยุตด้วยปีติ ชื่อว่า สัปปีติกปัญญา. ปัญญาอันปราศจากปีติ ชื่อว่า อัปปีติกปัญญา.
ปัญญาอันสัมปยุตด้วยปีติ ชื่อว่า ปีติสหคตปัญญา ปัญญาอันปราศจากปีติ ชื่อว่า นปีติสหคตปัญญา.
ปัญญาอันสัมปยุตด้วยสุข ชื่อว่า สุขสหคตปัญญา ปัญญาอันปราศจากสุข ชื่อว่า นสุขสหคตปัญญา.
ปัญญาอันสัมปยุตด้วยอุเบกขา ชื่อว่า อุเปกขาสหคตปัญญา. ปัญญาอันปราศจากอุเบกขา ชื่อว่า นอุเปกขาสหคตปัญญา.
ปัญญาในกามาวจรกุศลธรรมและกามาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า กามาวจรปัญญา. รูปาวจรปัญญา อรูปาวจรปัญญา อปริยาปันนปัญญา ชื่อว่า นกามาวจรปัญญา.
ปัญญาในรูปาวจรกุศลธรรมและรูปาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า รูปาวจรปัญญา. กามาวจรปัญญา อรูปาวจรปัญญา อปริยาปันนปัญญา ชื่อว่า นรูปาวจรปัญญา.
ปัญญาในอรูปาวจรกุศลธรรมและอรูปาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า อรูปาวจรปัญญา. กามาวจรปัญญา รูปาวจรปัญญา อปริยาปันนปัญญา ชื่อว่า นอรูปาวจรปัญญา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 582
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า ปริยาปันนปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อปริยาปันนปัญญา.
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า นิยยานิกปัญญา. ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๓ ในวิปากธรรมในภูมิ ๔ ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อนิยยานิกปัญญา.
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า นิยตปัญญา ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๓ ในวิปากธรรมในภูมิ ๔ ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อนิยตปัญญา.
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า สอุตตรปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุตตรปัญญา.
ในปัญญาเหล่านั้น อัตถชาปิกปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญาที่เป็นกิริยาอัพยากตะในกุศลธรรมในภูมิ ๔ ของพระอรหันต์ ผู้กำลังยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ผู้กำลังยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ชื่อว่า อัตถชาปิกปัญญา
ปัญญาที่เป็นกิริยาอัพยากตะในวิปากธรรมในภูมิ ๔ ของพระอรหันต์ เมื่อขณะที่อภิญญาเกิดขึ้นแล้ว เมื่อขณะที่สมาบัติเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า ชาปิตัตถปัญญา.
ญาณวัตถุหมวดละ ๒ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.
ติกนิทเทส
[๘๐๔] ในญาณวัตถุหมวดละ ๓ นั้น จินตามยปัญญา เป็น ไฉน?
ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 583
บุคคลมิได้ฟังจากผู้อื่น ย่อมได้กัมมัสสกตาญาณ หรือย่อมได้สัจจานุโลมิกญาณ ว่ารูปไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ย่อมได้อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณอันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า จินตามยปัญญา.
สุตมยปัญญา เป็นไฉน?
ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลาย ที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี บุคคลได้ฟังจากผู้อื่นแล้ว จึงได้กัมมัสสกตาญาณ หรือได้สัจจานุโลมิกญาณ ว่ารูปไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ได้อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ อันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า สุตมยปัญญา.
ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา.
[๘๐๕] ทานมยปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภทานเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ให้ทาน นี้เรียกว่า ทานมยปัญญา.
สีลมยปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภศีลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้รักษาศีล นี้เรียกว่า สีลมยปัญญา.
ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 584
[๘๐๖] อธิสีลปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่ผู้สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวรศีล นี้เรียกว่า อธิสีลปัญญา.
อธิจิตตปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ และอรูปาวจรสมาบัติ นี้เรียกว่า อธิจิตตปัญญา.
อธิปัญญาปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ นี้เรียกว่า อธิปัญญาปัญญา.
[๘๐๗] อายโกศล เป็นไฉน?
บุคคลผู้มีปัญญาย่อมรู้ชัดว่า เมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะไม่เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็จะละได้ หรือเมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะเป็นไปเพื่อความภิญโญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในความข้อนั้น อันใด นี้เรียกว่า อายโกศล.
อปายโกศล เป็นไฉน?
บุคคลผู้มีปัญญาย่อมรู้ชัดว่า เมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะไม่เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็จะดับไป หรือเมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็จะเป็นไปเพื่อความภิญโญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ปัญญา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 585
กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในความข้อ นั้น อันใด นี้เรียกว่า อปายโกศล.
ปัญญาแม้ทั้งหมด ที่เป็นอุบายแก้ไขในกิจรีบด่วนหรือภัยที่เกิดขึ้นแล้วนั้น เรียกว่า อปายโกศล
[๘๐๘] ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๔ ชื่อว่า วิปากปัญญา ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๔ ชื่อว่า วิปากธัมมธรรมปัญญา ปัญญาในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนววิปากนวิปากธัมมธรรมปัญญา.
[๘๐๙] ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทินนุปาทานิยปัญญา. ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๓ ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อนุปาทินนุปาทานิยปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุปาทินนานุปาทานิยปัญญา.
[๘๑๐] ปัญญาอันสัมปยุตด้วยวิตกวิจาร ชื่อว่า สวิตักกสวิจารปัญญา. ปัญญาอันวิปปยุตด้วยวิตกแต่สัมปยุตด้วยวิจาร ชื่อว่า อวิตักกวิจารมัตตปัญญา. ปัญญาอันวิปปยุตด้วยวิตกวิจาร ชื่อว่า อวิตักกาวิจารปัญญา.
[๘๑๑] ปัญญาอันสัมปยุตด้วยปีติ ชื่อว่า ปีติสหคตปัญญา. ปัญญาอันสัมปยุตด้วยสุข ชื่อว่า สุขสหคตปัญญา. ปัญญาอันสัมปยุตด้วยอุเบกขา ชื่อว่า อุเปกขาสหคตปัญญา.
[๘๑๒] ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อาจยคามินีปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า อปจยคามินีปัญญา. ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๔ ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนวาจยคามินีนาปจยคามินีปัญญา.
[๘๑๓] ปัญญาในมรรค ๔ ในผล ๓ ชื่อว่า เสกขปัญญา. ปัญญาในอรหัตตผลอันเป็นส่วนเบื้องสูง ชื่อว่า อเสกขปัญญา. ปัญญาในกุศลธรรม
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 586
ในภูมิ ๓ ในวิปากธรรมในภูมิ ๓ ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนวเสกขานาเสกขปัญญา.
[๘๑๔] ปัญญาในกามาวจรกุศลธรรมและกามาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า ปริตตปัญญา. ปัญญาในรูปาวจรกุศลธรรม รูปาวจรอัพยากตธรรม อรูปาวจรกุศลธรรม และอรูปาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า มหัคคตปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อัปปมาณปัญญา.
[๘๑๕] ปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภปริตตธรรมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปริตตารัมมณปัญญา.
มหัคคตารัมมณปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภมหัคคตธรรมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มหัคคตารัมมณปัญญา.
อัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภอัปปมาณธรรมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัปปมาณารัมมณปัญญา.
[๘๑๖] มัคคารัมมณปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด ปรารภอริยมรรคเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มัคคารัมมณปัญญา ปัญญา ในมรรค ๔ ชื่อว่า มัคคเหตุกปัญญา.
มัคคาธิปตินีปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด กระทำอริยมรรคให้เป็นอธิบดีเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มัคคาธิปตินีปัญญา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 587
[๘๑๗] ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๔ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทินีก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอนุปปันนะ ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๔ ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าว ไม่ได้ว่า เป็นอุปปาทินี.
[๘๑๘] ปัญญาทั้งหมดนั้นแล เป็นอตีตปัญญาก็มี เป็นอนาคตปัญญาก็มี เป็นปัจจุปปันนปัญญาก็มี.
[๘๑๙] อตีตารัมมณปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด ปรารภธรรมอันเป็นอดีตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อตีตารัมมณปัญญา.
อนาคตารัมมณปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภธรรมอันเป็นอนาคตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อนาคตารัมมณปัญญา.
ปัจจุปันนารัมมณปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภธรรมอันเป็นปัจจุบันเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัจจุปปันนารัมมณปัญญา.
[๘๒๐] ปัญญาทั้งหมดนั้นแลเป็นอัชฌัตตปัญญาก็มี เป็นพหิทธาปัญญาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาปัญญาก็มี.
[๘๒๑] อัชฌัตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภธรรมอันเป็นไปภายในเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัชฌัตตารัมมณปัญญา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 588
พหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด ปรารภธรรมอันเป็นภายนอกเกิดขึ้น นี้เรียกว่า พหิทธารัมมณปัญญา.
อัชฌัตตพหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด ปรารภธรรมทั้งภายในและภายนอกเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัชฌัตตพหิทธารัมมณปัญญา.
ญาณวัตถุ หมวดละ ๓ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.
จตุกกนิทเทส
[๘๒๒] ในญาณวัตถุหมวดละ ๔ นั้น กัมมัสสกตาญาณ เป็น ไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด มีลักษณะรู้อย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การบูชาพระรัตนตรัยมีผล โลกนี้มีอยู่ โลกหน้ามีอยู่ มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ผู้จุติและปฏิสนธิมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นจริงประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ทั่วกัน มีอยู่ในโลกนี้ ดังนี้ นี้เรียกว่า กัมมัสสกตาญาณ ยกเว้นสัจจานุโลมิกญาณ กุศลปัญญาที่เป็นสาสวะแม้ทั้งหมด ชื่อว่า กัมมัสสกตาญาณ.
สัจจานุโลมิกญาณ เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 589
อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ อันใด มีลักษณะรู้อย่างนี้ ว่ารูปไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เทียงดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยงดังนี้บ้าง นี้เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ.
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อ มัคคสมังคิญาณ.
ปัญญาในผล ๔ ชื่อว่า ผลสมังคิญาณ.
[๘๒๓] มัคคสมังคิฌาณ ได้แก่ ความรู้แม้ในทุกข์นี้ ความรู้แม้ในทุกขสมุทัยนี้ ความรู้แม้ในทุกขนิโรธนี้ ความรู้แม้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้.
ทุกขญาณ เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด ปรารภทุกข์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขญาณ.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด ปรารภทุกขสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยญาณ ฯลฯ ปรารภทุกขนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธญาณ ฯลฯ ปรารภทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ.
[๘๒๔] ปัญญาในกามาวจรกุศลธรรมและกามาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า กามาวจรปัญญา ปัญญาในรูปาวจรกุศลธรรมและรูปาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า รูปาวจรปัญญา ปัญญาในอรูปาวจรกุศลธรรมและอรูปาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า อรูปาวจรปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อปริยาปันนปัญญา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 590
[๘๒๕] ธัมมญาณ เป็นไฉน?
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า ธัมมญาณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงส่งนัยคือปัจจเวกขณญาณไปในอดีตและอนาคตด้วยธรรมนี้ที่พระองค์ทรงรู้แล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงบรรลุแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงหยั่งถึงแล้วว่า ในอดีตกาล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งได้รู้ทุกข์แล้ว ได้รู้ทุกขสมุทัยแล้ว ได้รู้ทุกขนิโรธแล้ว ได้รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกข์นี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ ได้รู้ทุกขสมุทัยนี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ก็ได้รู้ทุกขนิโรธนี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เอง ในอนาคตกาล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง จักรู้ทุกข์ จักรู้ทุกขสมุทัย จักรู้ทุกขนิโรธ จักรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกข์นี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกขสมุทัยนี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกขนิโรธนี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้เอง ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในการส่งนัยคือปัจจเวกขณญาณไปนั้น อันใด นี้เรียกว่า อันวยญาณ.
ปริจจญาณ เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ กำหนดรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคลเหล่าอื่นด้วยจิต (ของตน) คือ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ, จิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ, จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ, จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ, จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ, จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ, จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่, จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน,
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 591
จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหัคคตะ, จิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสอุตตระ, จิตเป็นอนุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นอนุตตระ, จิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น, จิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น, จิตหลุดพ้นก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น, จิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในจิตของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคลเหล่าอื่นนั้น อันใด นี้เรียกว่า ปริจจญาณ.
ยกเว้นธัมมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณ ปัญญาที่เหลือ เรียกว่า สัมมติญาณ.
[๘๒๖] อาจยโนอปจยปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญาในกามาวจรกุศลธรรม ชื่อว่า อาจยโนอปจยปัญญา.
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า อปจยโนอาจยปัญญา.
ปัญญาในรูปาวจรกุศลธรรมและอรูปาวจรกุศลธรรม ชื่อว่า อาจยอปจยปัญญา ปัญญาที่เหลือชื่อว่า เนวาจยโนอปจยปัญญา.
[๘๒๗] นิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา เป็นไฉน?
บุคคลเป็นผู้ปราศจากความยินดีในกามทั้งหลายด้วยปัญญาใด แต่ไม่ได้แทงตลอดอภิญญาและสัจธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า นิพพิทาในปฏิเวธปัญญา.
บุคคลเป็นผู้ปราศจากความยินดีในกามทั้งหลายนั้นแล ได้แทงตลอดอภิญญา ด้วยปัญญา แต่ไม่ได้แทงตลอดสัจธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิเวธโนนิพพิทาปัญญา.
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า นิพพิทาปฏิเวธปัญญา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 592
ปัญญาที่เหลือชื่อว่า เนวนิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา.
[๘๒๘] หานภาคินีปัญญา เป็นไฉน?
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกาม ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้ปฐมฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี.
สติอันสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยฌานที่ไม่มีวิตกซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิตก ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้ทุติยฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี.
สติอันสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขาซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยปีติ ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้ตติยฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี.
สติอันสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณประกอบด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 593
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยสุข ซ่านไป ยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้จตุตถฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี.
สติอันสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนฌาน ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยรูป ซ่านไป ยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้อากาสานัญจายตนฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี.
สติอันสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนฌาน ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้วิญญาณัญจายตนฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี.
สติอันสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนฌาน ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 594
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน ซ่านไป ยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้อากิญจัญญายตนฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี.
สติอันสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.
[๘๒๙] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นไฉน?
ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา
๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ความรู้แตกฉานในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในธรรม ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสมภิทา. เหล่านี้ชื่อว่า ปฏิสัมภิทา ๔.
[๘๓๐] ปฏิปทาปัญญา ๔ เป็นไฉน?
ปฏิปทาปัญญา ๔ คือ
๑. ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา
๒. ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 595
๓. สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา
๔. สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา
ในปฏิปทาปัญญา ๔ นั้น ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากลำบาก รู้ฐานะนั้นก็ช้า นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา.
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากลำบาก แต่รู้ฐานะนั้นเร็ว นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา.
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยากไม่ลำบาก แต่รู้ฐานะนั้นช้า นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา.
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยากไม่ลำบาก รู้ฐานะนั้นก็เร็ว นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา.
เหล่านั้นชื่อว่า ปฏิปทาปัญญา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 596
[๘๓๑] อารัมมณปัญญา ๔ เป็นไฉน? อารัมมณปัญญา ๔ คือ
๑. ปริตตปริตตารัมมณปัญญา
๒. ปริตตอัปมาณารัมมณปัญญา
๓. อัปปมาณปริตตารัมมณปัญญา
๔. อัปปมาณอัปปมาณารัมมณปัญญา
ในอารัมมณปัญญา ๔ นั้น ปริตตปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไปเล็กน้อย นี้เรียกว่า ปริตตปริตตารัมมณปัญญา.
ปริตตอัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไปหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า ปริตตอัปปมาณารัมมณปัญญา.
อัปปมาณปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไปเล็กน้อย นี้เรียกว่า อัปปมาณปริตตารัมมณปัญญา.
อัปปมาณอัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไปหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า อัปปมาณอัปปมาณารัมมณปัญญา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 597
เหล่านี้เรียกว่า อารัมมณปัญญา ๔.
[๘๓๒] มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ญาณแม้ในชรามรณะนี้ ญาณแม้ในชรามรณสมุทัยนี้ ญาณแม้ในชรามรณนิโรธนี้ ญาณแม้ในชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทานี้.
ชรามรณญาณ เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภชรามรณะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชรามรณญาณ.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภชรามรณสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชรามรณสมุทัยญาณ ฯลฯ ปรารภชรามรณนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชรามรณนิโรธญาณ ฯลฯ ปรารภชรามรณนิโรธคามีนีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ.
มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ญาณแม้ในชาตินี้ ฯลฯ ญาณแม้ในภพนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในอุปาทานนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในตัณหานี้ ฯลฯ ญาณแม้ในเวทนานี้ ฯลฯ ญาณแม้ในผัสสะนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในสฬายตนะนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในนามรูปนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในวิญญาณนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในสังขารนี้ ญาณแม้ในสังขารสมุทัยนี้ ญาณแม้ในสังขารนิโรธนี้ ญาณแม้ในสังขารนิโรธคามินีปฏิปทานี้.
ในญาณเหล่านั้น สังขารญาณ เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภสังขารทั้งหลายเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารญาณ.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภสังขารสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารสมุทยญาณ ฯลฯ ปรารภ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 598
สังขารนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารนิโรธญาณ ฯลฯ ปรารภสังขารนิโรธคามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ.
ญาณวัตถุหมวดละ ๔ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.
ปัญจกนิทเทส
[๘๓๓] ในญาณวัตถุ หมวดละ ๕ นั้น สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ เป็นไฉน?
ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาที่แผ่สุขไป ปัญญาที่แผ่จิตไป ปัญญาที่แผ่แสงสว่างไป และปัจจเวกขณนิมิต.
ปัญญาในฌาน ๒ ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาในฌาน ๓ ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่สุขไป ญาณกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่จิตไป ทิพจักขุ ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่แสงสว่างไป ปัจจเวกขณญาณของโยคาวจรบุคคลผู้ออกจากสมาธินั้นๆ ชื่อว่า ปัจจเวกขณนิมิต นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมีองค์ ๕.
[๘๓๔] สัมมาสมาธิมีญาณ ๕ เป็นไฉน?
ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบันด้วย มีสุขเป็นวิบากต่อไปด้วย ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้ไกลจากกิเลส หาอามิสมิได้ ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้ อันบุรุษมีปัญญาทราม เสพไม่ได้ ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้สงบ ประณีต ได้ความสงบระงับ ได้บรรลุความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีการข่มนิวรณ์ และการห้ามกิเลสด้วยจิตที่เป็นสสังขาริก. ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ก็เรานั้นแลมีสติเข้าสมาธินี้ มีสติออกจากสมาธินี้ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมีญาณ ๕.
ญาณวัตถุหมวดละ ๕ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 599
ฉักกนิทเทส
[๘๓๕] ในญาณวัตถุ หมวด ๖ นั้น ปัญญาในอภิญญา ๖ เป็นไฉน?
ปัญญาในอภิญญา ๖ คือ
๑. อิทธิวิธญาณ
๒. โสตธาตุวิสุทธิญาณ
๓. ปรจิตตญาณ
๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
๕. จุตูปปาตญาณ
๖. อาสวักขยญาณ
เหล่านี้ชื่อว่า ปัญญาในอภิญญา ๖.
ญาณวัตถุหมวด ๖ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.
สัตตกนิทเทส
[๘๓๖] ในญาณวัตถุ หมวด ๗ นั้น ญาณวัตถุในธรรมหมวดละ ๗ เป็นไฉน?
ความรู้ว่า ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะก็ไม่มี ความรู้ว่า แม้ในอดีตกาล ชรามรณะก็เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความรู้ว่า แม้ในอดีตกาล เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะก็ไม่มี ความรู้ว่า แม้ในอนาคตกาล ชรามรณะก็เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความรู้ว่า แม้ในอนาคตกาล เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะก็ไม่มี ความรู้ว่า ธัมมฐิติญาณของบุคคลนั้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 600
ความรู้ว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ ความรู้ว่า ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ฯลฯ ความรู้ว่า อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ฯลฯ ความรู้ว่า ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ฯลฯ ความรู้ว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ ความรู้ว่า ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ฯลฯ ความรู้ว่า สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ฯลฯ ความรู้ว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ฯลฯ ความรู้ว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ ความรู้ว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี ความรู้ว่า แม้ในอดีตกาลสังขารก็เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ความรู้ว่า แม้ในอดีตกาล เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี ความรู้ว่า แม้ในอนาคตกาล สังขารก็เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ความรู้ว่า แม้ในอนาคตกาล เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี ความรู้ว่า ธัมมฐิติญาณของบุคคลนั้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา.
เหล่านั้นชื่อว่า ญาณวัตถุในธรรมหมวดละ ๗.
ญาณวัตถุหมวดละ ๗ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.
อัฏฐกนิทเทส
[๘๓๗] ในญาณวัตถุ หมวดละ ๘ ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ เป็นไฉน?
ปัญญาในโสดาปัตติมรรค ปัญญาในโสดาปัตติผล ปัญญาในสกทาคามิมรรค ปัญญาในสกทาคามิผล ปัญญาในอนาคามิมรรค ปัญญาในอนาคามิผล ปัญญาในอรหัตตมรรค ปัญญาในอรหัตตผล.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 601
เหล่านี้ชื่อว่า ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔.
ญาณวัตถุหมวดละ ๘ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.
นวกนิทเทส
[๘๓๘] ในญาณวัตถุหมวดละ ๙ นั้น ปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ เป็นไฉน?
ปัญญาในปฐมฌานสมาบัติ ปัญญาในทุติยฌานสมาบัติ ปัญญาในตติยฌานสมาบัติ ปัญญาในจตุตถฌานสมาบัติ ปัญญาในอากาสานัญจายตนสมาบัติ ปัญญาในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ปัญญาในอากิญจัญญายตนสมาบัติ ปัญญาในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ปัจจเวกขณญาณของโยคาวจรบุคคลผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.
เหล่านี้ชื่อว่า ปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙.
ญาณวัตถุหมวดละ ๙ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.
ทสกนิทเทส
[๘๓๙] ในญาณวัตถุหมวดละ ๑๐ นั้น.
๑. ญาณรู้ธรรมที่เป็นฐานะโดยความเป็นฐานะ และธรรมที่ไม่ใช่ฐานะโดยความไม่ใช่ฐานะ ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต เป็นไฉน?
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันผู้ถึงพร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ จะพึงยึดถือสังขารอะไรๆ โดยความเป็นของเที่ยงนั้น ไม่ใช่เหตุไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชนพึงยึดถือสังขารอะไรๆ โดยความเป็นของเที่ยงนั้นแล นั่นเป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 602
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ จะพึงยึดถือสังขารอะไรๆ โดยความเป็นสุขนั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ ใช่ปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชนพึงยึดถือสังขารอะไรๆ โดยความเป็นสุขนั้นแล นั่นเป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ จะพึงยึดถือธรรมอะไรๆ โดยความเป็นอัตตาตัวตนนั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชนพึงยึดถือธรรมอะไรๆ โดยความเป็นอัตตาตัวตนนั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ จะพึงฆ่ามารดานั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชนพึงฆ่ามารดานั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ จะพึงฆ่าบิดา ฯลฯ จะพึงฆ่าพระอรหันต์ ฯลฯ จะพึงมีจิตประทุษร้ายยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อขึ้น ฯลฯ จะพึงยังสงฆ์ให้แตกจากกัน ฯลฯ จะพึงนับถือศาสดาอื่น ฯลฯ จะพึงเกิดในภพที่ ๘ นั้น ไม่ใช่ เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชนพึงเกิดในภพที่ ๘ นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์จะพึงอุบัติขึ้นพร้อมกันในโลกธาตุอันเดียวกัน ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่พระอรหันตสัมมา-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 603
สัมพุทธเจ้า พึงอุบัติขึ้นแต่พระองค์เดียวในโลกธาตุอันหนึ่งนั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ องค์จะพึงอุบัติขึ้นพร้อมกันในโลกธาตุอันเดียวกันนั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่พระเจ้าจักรพรรดิพึงอุบัติขึ้นแต่องค์เดียวในโลกธาตุอันหนึ่งนั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่หญิงจะพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้นั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุรุษพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่หญิงจะพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิได้นั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุรุษพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิได้นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่หญิงจะพึงเกิดเป็นพระอินทร์ เป็นมาร เป็นมหาพรหมนั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุรุษพึงเกิดเป็นพระอินทร์ เป็นมาร เป็นมหาพรหม นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่กายทุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่กายทุจริตพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 604
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่วจีทุจริต และมโนทุจริต จะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจนั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่วจีทุจริตพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่กายสุจริตพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่า ใคร่ น่าพอใจ นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่วจีสุจริต และมโนสุจริต จะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่วจีสุจริตและมโนสุจริต พึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายทุจริต เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จึงพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกายทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัยนั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบ ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายทุจริต เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกายทุจริต เป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย วจีทุจริตและมโนทุจริต เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จะพึงเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ เพราะวจีทุจริตและมโนทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้น ไม่ใช่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 605
เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวจีทุจริตและมโนทุจริต เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก พึงเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกายทุจริตและมโนทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัย นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายสุจริต เบื้องหน้าแต่กายเพราะกายแตก จะพึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกายสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้นไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายสุจริต เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกายสุจริต เป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวจีสุจริตและมโนสุจริต เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จะพึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะวจีสุจริตและมโนสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้นไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวจีสุจริตและมโนสุจริต เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะวจีสุจริตและมโนสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.
พระตถาคต ย่อมทรงทราบว่า ธรรมเหล่าใดๆ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ธรรมเหล่าใดๆ เกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นๆ เป็นฐานะ ธรรมเหล่าใดๆ ไม่เป็นเหตุไม่เป็นปัจจัยให้ธรรมเหล่าใดๆ เกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นๆ ไม่ใช่ฐานะ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในธรรมที่เป็นฐานะและธรรมที่ไม่ใช่ฐานะนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ธรรมที่เป็น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 606
ฐานะโดยความเป็นฐานะ และธรรมที่ไม่ใช่ฐานะโดยความไม่ใช่ฐานะ ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต.
[๘๔๐] ๒. ญาณที่รู้วิบากของกัมมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ตามความเป็นจริง โดยฐานะ โดยเหตุ ของพระตถาคต เป็นไฉน?
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่างอันคติสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อันอุปธิสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อันกาลสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อันปโยคสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อาศัยคติวิบัติจึงให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อาศัยอุปธิวิบัติจึงให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อาศัยกาลวิบัติจึงให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อาศัยปโยควิบัติจึงให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อันคติวิบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อันอุปธิวิบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อันกาลวิบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อันปโยควิบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผลก็มี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 607
กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อาศัยคติสมบัติ จึงให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อาศัยอุปธิสมบัติ จึงให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อาศัยกาลสมบัติ จึงให้ผลก็มี.
กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อาศัยปโยคสมบัติ จึงให้ผลก็มี.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในกัมมสมาทานเหล่านั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้วิบากของกัมมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ตามความเป็นจริง โดยฐานะ โดยเหตุ ของพระตถาคต.
[๘๔๑] ๓. ญาณรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริงของ พระตถาคต เป็นไฉน?
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ไปสู่นรก ย่อมทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ย่อมทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ไปสู่ปิตติวิสัย ย่อมทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ไปสู่มนุษยโลก ย่อมทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ไปสู่เทวโลก ย่อมทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ถึงนิพพาน.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในทางไปสู่ภูมิทั้งปวงนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง ของพระตถาคต.
[๘๔๒] ๔. ญาณรู้โลกอันเป็นอเนกธาตุ เป็นนานาธาตุ ตามความเป็นจริงของพระตถาคต เป็นไฉน?
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบความเป็นต่างๆ แห่งขันธ์ ย่อมทรงทราบความเป็นต่างๆ แห่งอายตนะ ย่อมทรงทราบความเป็นต่างๆ แห่งธาตุ ชื่อว่า ย่อมทรงทราบโลกเป็นอเนกธาตุ เป็นนานาธาตุ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 608
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิในโลกอันเป็นอเนกธาตุ เป็นนานาธาตุนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้โลกอันเป็นอเนกธาตุ เป็นนานาธาตุ ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต.
[๘๔๓] ๕. ญาณรู้ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่างๆ กัน ตามความเป็นจริงของพระตถาคต เป็นไฉน?
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยทรามก็มี สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีตก็มี สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทรามย่อมคบหาสมาคมเข้าใกล้กับเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทราม สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีตย่อมคบหาสมาคมเข้าใกล้กับเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีต. แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม ก็ได้คบหาสมาคมเข้าใกล้กับเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทรามมาแล้ว สัตว์ทั้งหลายที่มีอัทธายาศัยประณีต ก็ได้คบหาสมาคมเข้าใกล้กับเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีตมาแล้ว. แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม ก็จักคบหาสมาคมเข้าใกล้กับเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทราม สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีต ก็จักคบหาสมาคมเข้าใกล้กับเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีต.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิในความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่างๆ กันนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่างๆ กัน ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต.
[๘๔๔] ๖. ญาณรู้ความแก่กล้าและไม่แก่กล่าแห่งอินทรีย์ของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคลเหล่าอื่น ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 609
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบอาสยะ อนุสัย จริต และ อัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมทรงทราบเหล่าสัตว์ที่มีธุลีคือกิเลสน้อย มีธุลีคือกิเลสมาก มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการชั่ว แนะนำให้รู้ได้ง่ายและแนะนำให้รู้ได้ยาก ควรแก่การตรัสรู้และไม่ควรแก่การตรัสรู้.
ก็อาสยะของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไฉน?
ความเห็นว่าโลกเที่ยงหรือความเห็นว่าโลกไม่เที่ยง ความเห็นว่าโลกมีที่สุดหรือความเห็นว่าโลกไม่มีที่สุด ความเห็นว่าชีพก็อันนั้นสรีระก็อันนั้นหรือความเห็นว่าชีพเป็นอย่างอื่นสรีระก็เป็นอย่างอื่น ความเห็นว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก หรือความเห็นว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก ความเห็นว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มีย่อมไม่เกิดอีกก็มีหรือความเห็นว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ สัตว์ทั้งหลายผู้อาศัยภวทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิดังกล่าวมานี้ก็มี หรือสัตว์ทั้งหลายไม่เข้าไปอาศัยส่วนสุดทั้งสองนี้ ได้อนุโลมิกขันติในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยของกันและกันและอาศัยกันและกันเกิดขึ้นก็มี หรือญาณความรู้ตามความเป็นจริง นี้เรียกว่า อาสยะของสัตว์ทั้งหลาย.
ก็อนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไฉน?
อนุสัย ๗ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย.
ราคานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่องอยู่ในปิยรูป สาตรูป ในโลก ปฏิฆานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่องอยู่ในอัปปิยรูป อสาตรูป ในโลก อวิชชาตกไปแล้วในธรรมทั้งสองนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ มานะ ทิฏฐิ และวิจิกิจฉา พึงเห็นว่าตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกันกับอวิชชานั้น นี้เรียกว่า อนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 610
จริตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไฉน?
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร อันเป็นกามาวจรภูมิหรือรูปาวจรภูมิและอรูปาวจรภูนิ นี้ชื่อว่า จริตของสัตว์ทั้งหลาย.
อัธยาศัยของสัตว์ทั้งทลาย เป็นไฉน?
สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทรามก็มี สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีตก็มี สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม ย่อมคบหาสมาคมเข้าใกล้กับสัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีต ย่อมคบหาสมาคมเข้าใกล้กับสัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีต. แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม ได้คบหาสมาคมเข้าใกล้กับสัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทรามมาแล้ว สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีต ได้คบหาสมาคมเข้าใกล้กับสัตว์ทั้งหลายทีมีอัธยาศัยประณีตมาแล้ว. แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม จักคบหาสมาคมเข้าใกล้กับสัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม สัตว์ทั้งหลายที่มี อัธยาศัยประณีต จักคบหาสมาคมเข้าใกล้กับสัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีต นี้ชื่อว่า อัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลาย.
สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีคือกิเลสมากเหล่านั้น เป็นไฉน?
กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ กิเลสวัตถุ ๑๐ เหล่านั้น อันสัตว์เหล่าใด เสพมากแล้ว ทำให้เกิดแล้ว ทำให้มากแล้ว เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้ นั้น ชื่อว่า ผู้มีธุลีคือกิเลสมาก.
สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีคือกิเลสน้อยเหล่านั้น เป็นไฉน?
กิเลสวัตถุ ๑๐ เหล่านี้ อันสัตว์เหล่าใดมิได้เสพมากแล้ว มิได้ทำให้เกิดแล้ว มิได้ทำให้มากแล้ว มิได้เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า ผู้มีธุลีคือกิเลสน้อย.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 611
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอินทรีย์อ่อนเหล่านั้น ป็นไฉน?
อินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันสัตว์เหล่าใดมิได้เสพให้มากแล้ว มิได้อบรมแล้ว มิได้ทำให้มากแล้ว มิได้เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า ผู้มีอินทรีย์อ่อน.
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอินทรีย์แก่กล้าเหล่านั้น เป็นไฉน?
อินทรีย์ ๕ เหล่านั้น อันสัตว์เหล่าใดเสพมากแล้ว อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า.
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอาการชั่วเหล่านั้น เป็นไฉน?
สัตว์เหล่านั้นใด มีอาสยะชั่ว มีอนุสัยชั่ว มีจริตชั่ว มีอัธยาศัยชั่ว มีธุลีคือกิเลสมาก มีอินทรีย์อ่อน สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า ผู้มีอาการชั่ว.
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอาการดีเหล่านั้น เป็นไฉน?
สัตว์เหล่านั้นใด มีอาสยะดี มีอนุสัยดี มีจริตดี มีอัธยาศัยดี มีธุลีคือกิเลสน้อย มีอินทรีย์แก่กล้า สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า ผู้มีอาการดี.
สัตว์ทั้งหลายที่แนะนำให้รู้ได้ยากเท่านั้น เป็นไฉน?
สัตว์เหล่านั้นใด มีอาการชั่ว สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า แนะนำให้รู้ได้ยาก ส่วนสัตว์เหล่าใดมีอาการดี สัตว์เหล่านั้นแล ชื่อว่า แนะนำให้รู้ได้ง่าย.
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ควรแก่การตรัสรู้เหล่านั้น เป็นไฉน?
สัตว์เหล่านั้นใด ประกอบด้วยเครื่องกั้นกางคือกรรม ประกอบด้วยเครื่องกั้นกางคือกิเลส ประกอบด้วยเครื่องกั้นกางคือวิบาก ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม ไม่ควรเพื่อจะหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้ สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า ผู้ไม่ควรแก่การตรัสรู้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 612
สัตว์ทั้งหลายผู้ควรแก่การตรัสรู้เหล่านั้น เป็นไฉน?
สัตว์เหล่านั้นใด ไม่ประกอบด้วยเครื่องกั้นกางคือกรรม ไม่ประกอบด้วยเครื่องกั้นกางคือกิเลส ไม่ประกอบเครื่องกั้นกางคือ วิบาก มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญา ควรที่จะหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้ สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า ผู้ควรแก่การตรัสรู้.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิในความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายนั้น อันใด นี้ ชื่อว่า ญาณรู้ความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่น ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต.
[๘๔๕] ๗. ญาณรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก ชื่อว่า ฌายี คือโยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ย่อมสำคัญผิดซึ่งฌานที่ตนได้แล้วว่ายังไม่ได้ก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ย่อมสำคัญผิดซึ่งฌานที่ตนยังไม่ได้ว่าได้แล้วก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ย่อมสำคัญถูกซึ่งฌานที่ตนได้แล้วว่าได้แล้วก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ย่อมสำคัญถูกซึ่งฌาน ที่ตนยังไม่ได้ว่ายังไม่ได้ก็มี เหล่านั้นชื่อว่า โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก.
ยังมีโยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานอีก ๔ จำพวก คือ โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน เข้าฌานช้าออกเร็วก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 613
เข้าฌานเร็วออกช้าก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน เข้าฌานช้าออกช้าก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน เข้าฌานเร็วออกเร็วก็มี เหล่านั้นชื่อว่า โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก.
ยังมีโยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานอีก ๔ จำพวก คือ โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ฉลาดกำหนดสมาธิในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดกำหนดสมาบัติในสมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ฉลาดกำหนดสมาบัติในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดกำหนดสมาธิในสมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ฉลาดกำหนดสมาธิในสมาธิ และฉลาดกำหนดสมาบัติในสมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ไม่ฉลาดกำหนดสมาธิในสมาธิ และไม่ฉลาดกำหนดสมาบัติในสมาธิก็มี เหล่านี้ชื่อว่า โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก.
คำว่า ฌาน ได้แก่ ฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน.
คำว่า วิโมกข์ ได้แก่ วิโมกข์ ๘ คือ โยคาวจรบุคคลผู้ได้รูปฌาน โดยทำบริกรรมในรูปภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๑.
โยคาวจรบุคคลผู้ได้รูปฌานโดยทำบริกรรมในรูปภายนอก ย่อมเห็นรูปทั้งหลายในภายนอก นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๒.
โยคาวจรบุคคลเป็นผู้น้อมจิตไปว่า งามแท้ นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๓.
เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่ นี้จัดเป็น วิโมกข์ที่ ๔.
เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่ นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๕.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 614
เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุอากิญจัญญายตฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณน้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ อยู่ นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๖.
เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญาตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๗.
เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ อยู่ นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๘.
คำว่า สมาธิ ได้แก่ สมาธิ ๓ คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ อวิตักกาวิจารสมาธิ.
คำว่า สมาบัติ ได้แก่อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ คือ ปฐมฌานสมาบัติ ทุติยฌานสมาบัติ ตติยฌาณสมาบัติ จตุตถฌานสมาบัติ อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.
คำว่า ความเศร้าหมอง ได้แก่ ธรรมข้างฝ่ายเสื่อม.
คำว่า ความผ่องแผ้ว ได้แก่ ธรรมข้างฝ่ายวิเศษ.
คำว่า ความออก ได้แก่ แม้ความผ่องแผ้ว ก็ชื่อว่า ความออก แม้ความออกจากสมาธินั้นๆ ก็ชื่อว่า ความออก.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ นั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 615
[๘๔๖] ๘. ญาณรู้ความระลึกชาติหนหลังได้ตามความเป็นจริงของพระตถาคต เป็นไฉน?
พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงระลึกชาติหนหลังได้หลายๆ ชาติ คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏฏกัปบ้าง หลายวิวัฏฏกัปบ้าง หลายสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ว่าข้าพเจ้าอยู่ในภพโน้น มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีวรรณะอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ ได้เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้ ข้าพเจ้าจุติจากชาตินั้นแล้วไปเกิดในภพโน้น ข้าพเจ้าอยู่ในภพนั้น มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีวรรณะอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ ได้เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้ ข้าพเจ้าจุติจากชาตินั้นแล้วมาเกิดในภพนี้ พระตถาคตทรงระลึกชาตินั้นแล้วมาเกิดในภพนี้ พระตถาคตทรงระลึกชาติ หนหลังได้หลายๆ ชาติ พร้อมทั้งอาการและอุทเทส ด้วยประการฉะนี้.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในความระลึกชาติหนหลังได้นั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความระลึกชาติหนหลังได้ตามความเป็นจริงของพระตถาคต.
[๘๔๗] ๙. ญาณรู้ความจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายของพระตถาคต เป็นไฉน?
พระตถาคตในโลกนี้ มีทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงเลยจักษุของสามัญมนุษย์ ทรงเห็นเหล่าสัตว์ผู้กำลังจุติและอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ไปสุคติ ไปทุคติ ทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์ทั้งหลายผู้เจริญเหล่านี้หนอ ประกอบกายทุจริต ประกอบวจีทุจริต ประกอบมโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถือเอามิจฉาทิฏฐิ-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 616
กรรม เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือสัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ ประกอบกายสุจริต ประกอบวจีสุจริต ประกอบมโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นสัมมาทิฏฐิ ถือเอาสัมมาทิฏฐิกรรม สัตว์เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ พระตถาคตมีทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงเลยจักษุของสามัญมนุษย์ ทรงเห็นเหล่าสัตว์ผู้กำลังจุติและอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ไปสุคติ ไปทุคติ ทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในความจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความจุติและอุปบติแห่งสัตว์ทั้งหลายของพระตถาคต.
[๘๔๘] ๑๐. ญาณรู้ความสิ้นอาสวะตามความเป็นจริงของพระตถาคต เป็นไฉน?
พระตถาคตในโลกนี้ ทรงรู้ยิ่งด้วยพระองค์เอง ทรงทำให้แจ้ง ทรงเข้าถึงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป อยู่ในทิฏฐธรรม.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความสิ้นอาสวะตามความเป็นจริงของพระตถาคต ฉะนี้แล.
ญาณวิภังค์ จบบริบูรณ์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 617
อรรถกถาญาณวิภังค์
อธิบายบทมาติกา
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งมาติกา (แม่บท) ไว้ในญาณวิภังค์ ในลำดับแห่งปฏิสัมภิทาวิภังค์นั้น ด้วยปริจเฉททั้ง ๑๐ ซึ่งมีแม่บทหมวด ๑ เป็นต้น มีแม่บทหมวด ๑๐ เป็นปริโยสานก่อน โดยนัยมีคำเป็นต้น ว่า เอกวเธน าณวตฺถุ ดังนี้ (แปลว่าญาณวัตถุหมวดหนึ่ง) แล้วทำอธิบายโดยลำดับแห่งบททั้งหลายที่พระองค์ทรงตั้งไว้.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เอกวิเธน ได้แก่ โดยประการหนึ่ง หรือโดยส่วนหนึ่ง. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า าณวตฺถุ นี้ ชื่อว่า ญาณวัตถุ เพราะอรรถว่า ญาณนั้นด้วย วัตถุนั้นด้วย มีอยู่แก่สมบัติทั้งหลายมีประการต่างๆ. แม้คำว่า ชื่อว่า วัตถุแห่งญาณ เพราะอรรถว่า เป็นการปรากฏ (โอกาสฏฺเน) ดังนี้ก็ชื่อว่า ญาณวัตถุ. แต่ในที่นี้พึงทราบว่า ชื่อว่า ญาณวัตถุ เพราะอรรถอันมีนัยก่อนเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้นแหละ ในที่สุดแห่งการกำหนดญาณวัตถุหมวดหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ยาถาวกวตฺถุวิภาวนา ปญฺา เอวํ เอกวิเธน าณวตฺถุ ดังนี้ (ปัญญาที่แสดงเรื่องของวิญญาณ ๕ ตามความเป็นจริงดังกล่าวมานี้ ญาณวัตถุหมวด ๑ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้).
คำว่า ปญฺจ วิญฺาณา ได้แก่ วิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น. บัณฑิตพึงทราบคำทั้งหลาย มีคำว่า น เหตุ (ไม่ชื่อว่าเหตุ) เป็นต้น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 618
โดยนัยที่กล่าวแล้วในอรรถกถาธัมมสังคหะในหนหลังนั่นแหละ. แต่เมื่อว่าโดยสังเขป (โดยย่อ) แล้ว คำใดที่จะพึงกล่าวในที่นี้ คำนั้น จักแจ่มแจ้งในวาระแห่งนิทเทส.
อนึ่ง ในแม่บทญาณวัตถุหมวดหนึ่งนี้ ฉันใด แม้ในบทแห่งทุกมาติกาเป็นต้น ก็ฉันนั้น คือว่า คำใดที่ข้าพเจ้าจะพึงกล่าว คำนั้น ก็จักแจ่มแจ้งในนิทเทสวาระนั้นนั่นแหละ. ก็บัณฑิตพึงทราบคำอย่างนี้ ในแม่บทแห่งญาณวิภังค์นี้ สักว่าเป็นเครื่องกำหนดซึ่งบทตั้ง. จริงอยู่ ในญาณวิภังค์นี้ พระผู้มีภาคเจ้าทรงตั้งมาติกา (แม่บท) แห่งธรรมหมวดที่หนึ่ง มี ๗๘ บท โดยแยกออกเป็น ๒ โดยย่อ คือ ด้วยสามารถแห่งธัมมสังคหมาติกา มีคำว่า (วิญญาณ ๕) เป็นนเหตุ เป็นอเหตุกะ เป็นต้นก่อน และด้วยสามารถแห่งธรรมมิใช่แม่บท มีคำว่า (วิญญาณ ๕) เป็น อนิจจะ เป็น ชราภิภูตะ (ถูกชราครอบงำ) เป็นต้น.
สำหรับ ทุกมาติกา ทรงตั้งไว้หมวดละ ๒ ด้วยทุกะ มี ๓๕ หมวด ซึ่งสมควรแก่ธรรมหมวด ๒
ติกมาติกา ทรงตั้งไว้หมวดละ ๓ มี ๘๘ หมวด คือ
พาหิรติกะ ๔ หมวด มีคำว่า จินฺตามยา ปญฺา เป็นต้น อันสมควรแก่ธรรมหมวด ๓ มาติกาติกะ ๑๔ หมวด ที่ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่ง อนิยมิตปัญญา (ปัญญาอันไม่แน่นอน) มีคำว่า วิปากา ปญฺา เป็นต้น ด้วยบท ๑๓ บท ที่ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่ง นิยมิตปัญญา (ปัญญาอันแน่นอน) อันเป็นบทที่หนึ่งในวิตักกติกะ (สวิตักกสวิจาระ) ด้วยบท ๗ บท ที่ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งปัญญาอันแน่นอน อันเป็นบทที่ ๒ (อวิตักกวิจารมัตตะ) ด้วยบท ๑๒ บท ที่ตรัสไว้ ด้วยสามารถแห่งปัญญาอันแน่นอน อันเป็นบทที่ ๓ (อวิตักกาวิจาระ) ด้วยบท ๑๓ บท ที่ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งปัญญาอันแน่นอน อันเป็นบทที่หนึ่งในปีติติกะ (ปีติสหคตะ) ด้วยบท
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 619
๑๒ บท ที่ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งปัญญาอันแน่นอน อันเป็นบทที่ ๒ (สุขสหคตะ) และที่ ๓ (อุเปกขาสหคตะ) ในปีติติกะนั้นแหละ.
ก็ จตุกกมาติกา ทรงตั้งไว้โดยหมวด ๔ มี ๒๑ บท มีคำว่า กมฺมสฺสกตญฺาณํ เป็นต้น.
ปัญจกมาติกา ทรงตั้งไว้ หมวดละ ๕ มี ๒ หมวด.
ฉักกมาติกา ทรงตั้งไว้ หมวดละ ๖ มี ๑ หมวด.
สัตตกมาติกา ทรงตั้งไว้ หมวดละ ๗ มี ๑๑ หมวด ที่ตรัสไว้โดยย่ออย่างนี้ว่า "สตฺตสตฺตติ าณวตฺถุ" (ญาณวัตถุ ๗๗) ดังนี้.
อัฏฐมาติกา ทรงตั้งไว้ หมวดละ ๘ มี ๑ หมวด.
นวกมาติกา ทรงตั้งไว้ หมวดละ ๙ มี ๑ หมวด.
ทสกมาติกา ทรงตั้งไว้หมวดละ ๑๐ มีเพียงหมวดเดียวเท่านั้นซึ่งมีคำว่า "ทส ตถาคตสฺส ตถาคตพลานิ" ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ทส (๑๐) เป็นคำกำหนดจำนวน.
คำว่า ตถาคตสฺส (ของพระตถาคต) ได้แก่ พระฤาษีทั้งหลาย ในปางก่อนมีพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี เป็นต้น เสด็จมาแล้ว ฉันใด พระตถาคตพระองค์นี้ก็เสด็จมาแล้วฉันนั้น อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเสด็จไปแล้วฉันใด พระตถาคตพระองค์นี้ก็เสด็จไปแล้วฉันนั้น.
คำว่า ตถาคตพลานิ ได้แก่ กำลังของพระตถาคตนั้นมิได้ทั่วไปแก่ชนเหล่าอื่นๆ อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า กำลังทั้งหลายของพระพุทธเจ้าในปางก่อนผู้เสด็จมาแล้ว ด้วยอุปนิสสัยสมบัติ คือ บุญ ฉันใด แม้กำลังของพระตถาคตพระองค์นี้ผู้เสด็จมาแล้ว ก็ฉันนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 620
กำลังของพระตถาคต ในที่นี้ มี ๒ อย่าง คือ กำลังของกายอย่างหนึ่ง กำลังของญาณอย่างหนึ่ง. ในกำลัง ๒ อย่างนั้น บัณฑิตพึงทราบกำลังกายของพระตถาคตได้โดยทำนองแห่งตระกูลของช้างทีเดียว.
ว่าด้วยกำลังกายของพระตถาคต
กาฬาวกญฺจ คงฺเคยฺย ปณฺฑรํ ตมฺพปิงฺคลํ
คนฺธํ มงฺคลเหมญฺจ อุโปสถํ ฉทฺทนฺติเม ทสาติ
อิมานิ หิ ทส หตฺถิกุลานิ.
แปลว่า สมจริง ดังโปราณาจารย์กล่าวไว้ว่า ตระกูลแห่งช้างทั้งหลาย ๑๐ ตระกูลเหล่านี้ คือ
๑. ตระกูลแห่งช้าง ชื่อว่า กาฬาวกะ (กายสีดำ)
๒. ตระกูลแห่งช้าง ชื่อว่า คังเคยยะ (สีน้ำไหล)
๓. ตระกูลแห่งช้าง ชื่อว่า ปัณฑระ (สีขาวดังเขาไกรลาส)
๔. ตระกูลแห่งช้าง ชื่อว่า ตัมพะ (สีทองแดง)
๕. ตระกูลแห่งช้าง ชื่อว่า ปิงคละ (สีเหลืองอ่อน)
๖. ตระกูลแห่งช้าง ชื่อว่า คันธะ (สีไม้กฤษณามีกลิ่นตัวหอม)
๗. ตระกูลแห่งช้าง ชื่อว่า มังคละ (สีนิลอัญชันกิริยาท่าทางงดงาม)
๘. ตระกูลแห่งช้าง ชื่อว่า เหมวัต (สีเหลือง)
๙. ตระกูลแห่งช้าง ชื่อว่า อุโบสถ (สีทองคำ)
๑๐. ตระกูลแห่งช้าง ชื่อว่า ฉัททันตะ (สีขาวบริสุทธิ์ดังสีเงินยวง ปากและเท้าแดง)
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 621
บรรดาตระกูลแห่งช้างเหล่านั้น คำว่า ตระกูลแห่งช้างชื่อว่า กาฬาวกะ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นตระกูลช้างธรรมดา (ปกติหตฺถิกุลํ). พึงเทียบกำลัง ดังนี้
กำลังบุรุษ ๑๐ คน เท่ากับกำลังช้างตระกูลกาฬาวกะ ๑ เชือก
กำลังช้างกาฬาวกะ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างตระกูลคังเคยยะ ๑ เชือก
กำลังช้างคังเคยยะ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างตระกูลปัณฑระ ๑ เชือก
กำลังช้างปัณฑระ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างตระกูลตัมพะ ๑ เชือก
กำลังช้างตัมพะ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างตระกูลปิงคละ ๑ เชือก
กำลังช้างปิงคละ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างตระกูลคันธะ ๑ เชือก
กำลังช้างคันธะ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างตระกูลมังคละ ๑ เชือก
กำลังช้างมังคละ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างตระกูลเหมวัต ๑ เชือก
กำลังช้างเหมวัต ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างตระกูลอุโบสถ ๑ เชือก
กำลังช้างอุโบสถ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างตระกูลฉัททันตะ ๑ เชือก
กำลังช้างฉัททันตะ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังของพระตถาคตพระองค์หนึ่ง
กำลังนี้นั่นแหละ ท่านเรียกว่า "กำลังของพระโพธิสัตว์พระนามว่า นารายณ์" (๑) ดังนี้บ้าง. กำลังของพระตถาคตนั้น เท่ากับกำลังของช้างตระกูลกาฬาวกะหนึ่งพันโกฏิเชือก และเท่ากับกำลังของบุรุษ ๑๐ พันโกฏิคน.
นี้เฉพาะกำลังกายของพระตถาคตพุทธเจ้าก่อน
(๑) ในปรมัตถทีปนี อุทานวรรณนา กล่าวว่า กำลังกายของช้างตระกูลฉัทททันต์ ๖๐ ตัว เท่ากับ กำลังกายของพระโพธิสัตว์ในปัจฉิมภพ (พระโพธิสัตว์ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ๑๐ องค์ คือ พระศรีอาริยเมตไตรย พระราม พระเจ้าปัสเสนทิโกศล พระยามาราธิราช พระยาอสุรินทราหู โสณพราหมณ์ โตไทยพราหมณ์ ช้างนาฬาคีรี ช้างปาลิไลยกะ)
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 622
ว่าด้วยกำลังแห่งญาณของพระตถาคต
ก็กำลัง คือ พระญาณของพระตถาคตนี้ ทสพลญาณอันมาแล้วในพระบาลีนี้ก่อนนั่นแหละ ก็พันแห่งพระญาณแม้อื่นอีกมิใช่น้อย คือ
ทสพลญาณ (ญาณอันเป็นกำลัง ๑๐) เวสารัชชญาณ ๔ อกัมปนญาณ (ญาณอันไม่หวั่นไหว) ในบริษัท ๘ ญาณอันกำหนดรู้ซึ่งกำเนิด ๔ ญาณอันกำหนดรู้คติ ๕ อันมาแล้วในมหาสีหนาทสูตร
ญาณ ๗๓ อันมาแล้วในสังยุตตนิกาย
ญาณทั้งหลายมี ๗๗ อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
นี้ ชื่อว่า ญาณพละ (กำลังคือพระญาณ). ญาณพละ เท่านั้น ท่านประสงค์เอาในที่นี้. จริงอยู่ ญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า กำลัง เพราะอรรถว่าเป็นภาวะอันไม่หวั่นไหว และเพราะอรรถว่าเป็นการอุปถัมภ์ค้ำชู.
คำว่า "เยหิ พเลหิ สมนฺนาคโต" (พระตถาคตประกอบด้วยกำลังเหล่าใด) ได้แก่ พระตถาคตนั้นทรงเข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้ว ด้วยดี ด้วยกำลังแห่งพระญาณ ๑๐ เหล่าใด.
คำว่า อาสภณฺานํ ได้แก่ ฐานะอันประเสริฐ ฐานะอันสูงสุด. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า พระพุทธเจ้าในปางก่อนผู้ยิ่งใหญ่มีอยู่ (พระตถาคต) ทรงเข้าถึงฐานะเหมือนพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่งเปรียบเหมือนโคอุสภะ (โคจ่าฝูง) ตัวที่เจริญที่สุดในจำนวนโค ๑๐๐ ตัว โควสภะตัวที่เจริญที่สุดในจำนวนโค ๑,๐๐๐ ตัว หรือว่า โคอุสภะตัวที่เจริญที่สุดในจำนวนโคลาน ๑๐๐ ตัว
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 623
หรือโควสภะตัวที่เจริญสุดในจำนวนโคลาน ๑,๐๐๐ ตัว โคนิสภะเป็นโคผู้อดทนต่ออันตรายทั้งปวง มีสีขาว น่ารัก นำภาระไปได้มาก ไม่หวั่นไหว แม้ด้วยเสียงอสนีบาตตั้ง ๑๐๐ ครั้ง เป็นจ่าฝูงของโคทั้งหมด. โคนิสภะนั้นประสงค์เอาโคอุสภะ (โคเผือก) ในที่นี้. จริงอยู่ แม้คำว่าโคอุสภะนี้ ก็เป็นคำเปรียบเทียบซึ่งฐานะอันประเสริฐนั้น. ชื่อว่า อาสภะ (ประเสริฐ) เพราะอรรถว่า คำนี้ เป็นชื่อของโคอุสภะนั้น. คำว่า ฐานํ ได้แก่ ฐานะอันไม่หวั่นไหวของโคอุสภะ ผู้ใช้เท้าทั้ง ๔ ยันแผ่นดิน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อาสภะ เพราะอรรถว่า ฐานะนี้ ราวกะว่าการดำรงอยู่ของโคผู้เป็นหัวหน้า. เหมือนอย่างว่า โคอุสภะ คือ โคนิสภะ ประกอบด้วยกำลังของโคอุสภะ ใช้เท้าทั้ง ๔ ยันแผ่นดินไว้ ย่อมยืนมั่นคงไม่หวั่นไหว ฉันใด แม้พระตถาคตก็ฉันนั้น ประกอบด้วยกำลังของพระตถาคต ๑๐ (ทสพลญาณ) ใช้พระบาท คือ เวสารัชชญาณ ๔ (ญาณอันทำความแกล้วกล้า) ยันซึ่งแผ่นดิน คือ บริษัท ๘ ทรงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวด้วยปัจจามิตรอันมีประโยชน์ขัดกันไรๆ ในโลกนี้ทั้งเทวโลก ชื่อว่า ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันไม่หวั่นไหว. ก็เมื่อทรงดำรงอยู่อย่างนี้ จึงทรงปฏิญาณ คือ ทรงเข้าถึงฐานะความเป็นผู้เลิศประเสริฐนั้นอยู่ ย่อมไม่กล่าวให้คลาดจากความเป็นจริง และทรงยกฐานะอันเลิศประเสริฐนั้นไว้ในพระองค์. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อาสภณฺานํ ปฏิชานาติ ดังนี้ (ทรงปฏิญาณฐานะอันเลิศประเสริฐ).
คำว่า ปริสาสุ ได้แก่ ในบริษัท ๘ (๑)
คำว่า สีหนาทํ นทติ ได้แก่ ทรงบันลือ คือ ทรงเปล่งพระสุรเสียง
(๑) บริษัท ๘ คือ ขัตติยบริษัท, พราหมณบริษัท, คหบดีบริษัท, สมณบริษัท, จาตุมหาราชิกาบริษัท, ดาวดึงสบริษัท, มารบริษัท, พรหมบริษัท (จากมหาปรินิพพานสูตรและมหาสีหนาทสูตร)
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 624
อันองอาจ (หมายความว่า ทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไม่เกรงภัย). อีกอย่างหนึ่ง ทรงเปล่งพระสุรเสียงเช่นกับสีหนาท (คือ เช่นกับการบันลือของสีหราช). เนื้อความนี้ บัณฑิตพึงแสดงด้วยพระสูตรชื่อว่า สีหนาทสูตร. อีกอย่างหนึ่ง สีหะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก สีหะ เพราะอดทน และเพราะการฆ่า ฉันใด พระตถาคตก็ฉันนั้น ทรงพระนามว่า สีหะ เพราะอดทนต่อโลกธรรมทั้งหลายได้ และเพราะการฆ่าซึ่งลัทธิอื่นๆ. การแผดเสียง คือการบันลือของสีหะอันกล่าวแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า สีหนาท. ในที่นี้ สีหะผู้ประกอบแล้วด้วยกำลังของสีหะ เป็นผู้แกล้วกล้าในที่ทั้งปวง เป็นผู้มีขนชูชันไปปราศแล้ว ย่อมบันลือสีหนาท ฉันใด แม้ สีหะ คือพระตถาคต ก็ฉันนั้นประกอบแล้วด้วยกำลังของพระตถาคต เป็นผู้แกล้วกล้าในบริษัท ๘ ไม่เป็นผู้มีขนพองสยองเกล้า. ย่อมทรงบันลือซึ่งสีหนาท อันถึงพร้อมแล้วด้วยความงามของเทศนามีวิธีต่างๆ โดยนัยมีคำว่า อิติ รูปํ เป็นต้น. ด้วยเหตุ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปริสาสุ สีหนาทํ นทติ (แปลว่า ทรงบันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย) ดังนี้.
คำว่า พฺรหฺมํ ในข้อว่า พฺรหฺมจกฺกํ ปวตฺเตติ นี้ ได้แก่ ประเสริฐ สูงสุด คือบริสุทธิ์แล้ว.
ก็แล ศัพท์ว่า จักกะ (จักกศัพท์) นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่า สมบัติ ในลักขณะ ในส่วนแห่งรถคือล้อ ในอิริยาบถ ในทาน ในรัตนะ ในธรรม ในจักรอันคมกล้า เป็นต้น ในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบศัพท์ว่า ธรรมจักร (ล้อรถคือพระธรรม) แล้วพึงยังคำว่า ธรรมจักรนั้นให้แจ่มแจ้ง โดยแยกออกเป็น ๒.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 625
จักกะ ศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่าสมบัติ (การถึงพร้อม) อันมาแล้ว ในคำว่า จตฺตารีมานิ ภิกฺขุเว จกฺกานิ เยหิ สมนฺนาคตานํ เทวมนุสฺสานํ เป็นต้น (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักร ๔ (๑) เหล่านี้ ย่อมเป็นไปแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ประกอบพร้อมแล้ว ... ย่อมถึงความไพบูลย์อันใหญ่ในโภคะ (๒) ทั้งหลาย). จักกะ ศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ลักขณะ อันมาแล้ว ในคำว่า เหฏฺา ปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ นี้ (จักรทั้งหลายเกิด ขึ้นที่พื้นฝ่าพระบาททั้งสอง). จักกะ ศัพท์ย่อมปรากฏในอรรถว่า ส่วนแห่งรถคือล้อ (ล้อรถ) อันมาในคำว่า จกฺกํว วหโต ปทํ นี้ (เพียงดังล้อหมุนไปตามอยู่ซึ่งรอยเท้าแห่งโคพลิพัท). จักกะ ศัพท์ ย่อมปรากฏในอิริยาบถ อันมาแล้วในคำว่า จตุจกฺกํ นวทฺวารํ นี้ (ยนต์ คือ สรีระ อันมีล้อ ๔ มีทวาร ๙). จักกะ ศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ทาน อันมาแล้ว ในคำว่า ขาท ภุญฺช มา จ ปมาโท จกฺกํ วตฺตสฺสุ นี้ (ท่านจงเคี้ยว จงบริโภค ก็จงอย่าประมาท ยังจักร (จักรคือ ทาน) ให้เป็นไป. จักกะ ศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า จักกรัตนะ (รัตนะ คือ จักร) อันมาแล้วในคำว่า ทิพฺพจกฺกรตนํ ปาตุรโหสิ นี้ (รัตนะ คือ จักรอันเป็นทิพย์ ปรากฏแล้ว). จักกะ ศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ธรรมจักร (จักร คือ พระธรรม) อันมาแล้วในคำว่า มยา ปวตฺติตํ จกฺกํ นี้ (จักร คือ พระธรรม อันเราให้เป็นไปแล้ว). จักกะ ศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่าจักรคมกล้า อันมาแล้วในคำว่า อิจฺฉาหตสฺส โปสสฺส จกฺกํ ภมติ มตฺถเก นี้ (จักร
(๑) จักร ๔ คือ. ปฏิรูปเทสวาสะ การอยู่ในประเทศอันสมควร ๒. สับปุริสูปัสสยะ การคบสัตบุรุษ ๓. อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้โดยชอบ ๔. ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทํา ความดีไว้ในปางก่อน. ธรรม ๔ นี้ ดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ (อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๔๐)
(๒) โภคะทั้งหลาย หมายถึงมนุษยสมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 626
ย่อมหมุนไปบนศีรษะของบุรุษผู้ถูกความอยากนำมาแล้ว). ย่อมปรากฏในอรรถว่า จักร เครื่องประหารในคำว่า ขุรปริยนฺเตน เจปิ จกฺเกน นี้ (ด้วยจักรมีคมกล้าโดยรอบ) ย่อมปรากฏในอรรถว่า อสนิมณฺฑเล (บริเวณแห่งสายฟ้า) ในคำว่า อสนิจกฺกํ นี้ (ฟ้าผ่า).
แต่ในที่นี้ จักกะ ศัพท์บัณฑิตทราบแล้วว่าจักร คือ พระธรรมทั้งหลาย.
ก็จักร คือ พระธรรมนั้นมี ๒ อย่าง คือ
๑. ปฏิเวธญาณ (ญาณในการแทงตลอด)
๒. เทสนาญาณ (ญาณในเทศนา)
ใน ๒ อย่างนั้น ปฏิเวธญาณ อันนำมาซึ่งอริยผลของตนอันปัญญาอบรมแล้ว. เทสนาญาณ อันนำมาซึ่งอริยผลของพระสาวกทั้งหลายซึ่งเพิ่มพูนแล้วด้วยกรุณา.
บรรดาญาณเหล่านั้น ปฏิเวธญาณ มี ๒ คือ
๑. อุปปัชชมานะ (ปฏิเวธญาณอันกำลังเกิดขึ้น)
๒. อุปปันนะ (ปฏิเวธญาณอันเกิดขึ้นแล้ว)
จริงอยู่ ปฏิเวธญาณอันกำลังเกิดขึ้น นับจำเดิมตั้งแต่การออกมหาภิเนษกรมณ์ของพระพุทธเจ้า จนถึงอรหัตตมรรค. ในขณะแห่งผล ชื่อว่า ปฏิเวธญาณ อันเกิดขึ้นแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ปฏิเวธญาณ ชื่อว่า อันกำลังเกิด นับจำเดิมแต่เสด็จอยู่ภพดุสิต จนถึงพระอรหัตตมรรค ที่มหาโพธิบัลลังก์. ในขณะแห่งผล ปฏิเวธญาณ ชื่อว่า เกิดขึ้นแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง นับจำเดิมแต่การทรงพยากรณ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทีปังกร จนถึงพระอรหัตตมรรค ปฏิเวธญาณ ชื่อว่า อันกำลังเกิดขึ้น. ในขณะแห่งผล ปฏิเวธญาณ ชื่อว่า อันเกิดขึ้นแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 627
แม้เทสนาญาณก็มี ๒ คือ
๑. ปวัตตมานะ (เทสนาญาณอันกำลังเป็นไป)
๒. ปวัตตะ (เทสนาญาณอันเป็นไปแล้ว)
จริงอยู่ เทสนาญาณนั้น ชื่อว่า กำลังเป็นไป นับจำเดิมแต่โสดาปัตติมรรคของพระอัญญาโกณฑัญญะ, ในขณะแห่งผล เทสนาญาณ ชื่อว่า เป็นไปแล้ว.
ในญาณเหล่านั้น ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตตระ เทสนาญาณเป็นโลกิยะ.
ก็ญาณแม้ทั้งสองนั้นเป็นโอรสญาณ (ญาณที่เกิดขึ้นในพระอุระ) ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ไม่ทั่วไปกับชนเหล่าอื่น.
วรรณนากำลัง ๑๐ ของพระตถาคต
บัดนี้ เพื่อทรงแสดงกำลังแห่งพระตถาคตที่ทรงตั้งไว้ว่า เยหิ ทสหิ พเลหิ สมนฺนาคโต ตถาคโต อาสภณฺานํ ปฏิชานาติ ยานิ อาทิโต จ ทส ตถาคตสฺส ตถาคตพลานิ ดังนี้ (พระตถาคตประกอบด้วยกำลัง ๑๐ เหล่าใด จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐและกำลังเหล่าใด ชื่อว่า กำลัง ๑๐ ของพระตถาคต จำเดิมแต่ต้น) โดยพิสดาร จึงตรัสคำว่า กตมานิ ทส อิธ ตถาคดต านญฺจ านโต เป็นอาทิ (กำลัง ๑๐ ของพระตถาคต เป็นไฉน คือ พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบธรรมที่เป็นฐานะ โดยความเป็นฐานะ เป็นต้น)
วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ ๑
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า านญฺจ านโต ได้แก่ ทรงทราบธรรมอันเป็นเหตุ โดยความเป็นเหตุ. ก็ เหตุ ย่อมให้ผลตั้งขึ้นในที่นั้น คือ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 628
ย่อมเกิดขึ้นด้วย ย่อมเป็นไปด้วย เพราะการเข้าไปอาศัย และความเป็นไปใน กาลนั้น ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ฐานะ. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบซึ่งฐานะนั้นโดยความเป็นฐานะและอฐานะโดยความเป็นอฐานะ คือ ย่อมทรงทราบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่าใดๆ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่าใดๆ เพราะอาศัยซึ่งธรรมนั้นๆ อันเป็นฐานะ และทรงทราบว่า ธรรมเหล่าใดๆ มิใช่เหตุ มิใช่ปัจจัยของธรรมเหล่าใดๆ เพราะเข้าไปอาศัยซึ่งธรรมนั้นๆ อันมิใช่ฐานะ ดังนี้.
คำว่า ยมฺปิ (แม้ใด) ได้แก่ ด้วยญาณใด
คำว่า อิทมฺปิ ตถาคตสฺส (แม้ข้อนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต) อธิบายว่า ฐานาฐานญาณของพระตถาคตแม้นี้ ชื่อว่า เป็น กำลังของพระตถาคต. บัณฑิตพึงทราบการประกอบในบททั้งปวงอย่างนี้.
วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ ๒
คำว่า กมฺมสมาทานํ ได้แก่ กรรมอันเป็นกุศลและอกุศล อันตั้งใจกระทำแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง กรรมนั่นแหละ ชื่อว่า กรรมสมาทาน คำว่า านโส เหตุโส แปลว่า โดยฐานะ โดยเหตุ ได้แก่ โดยปัจจัย และโดยเหตุ. ในคำเหล่านั้น คติ อุปธิ กาล และปโยคะ ชื่อว่า ฐานะของวิบาก. กรรม ชื่อว่า เหตุ.
วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ ๓
คำว่า สพฺพตฺถคามินึ (ไปสู่ภูมิทั้งปวง) ได้แก่ ไปสู่คติทั้งปวงและไปสู่อคติ. คำว่า ปฏิปทํ ได้แก่ ทาง (คือ มรรค). คำว่า ยถาภูตํ ปชานาติ ได้แก่ ย่อมทรงทราบสภาวะการปฏิบัติ กล่าวคือเจตนา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 629
อันเป็นกุศลและอกุศลโดยไม่วิปริต (ไม่ผิด) แม้ในวัตถุหนึ่ง โดยนัยนี้ว่า ครั้นเมื่อมนุษย์ทั้งหลายแม้มีจำนวนมากฆ่าอยู่ซึ่งสัตว์หนึ่งนั่นแหละ เจตนาของเขาผู้นี้จักไปสู่นิรยะ และเจตนาของผู้นี้จักถึงกำเนิดในสัตว์เดียรัจฉาน ดังนี้.
วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ ๔
คำว่า อเนกธาตุํ ได้แก่ ทรงทราบธาตุมากมายมีจักขุธาตุเป็นต้นหรือกามธาตุเป็นต้น. คำว่า นานาธาตุํ ได้แก่ธาตุนานัปการ (มีประการต่างๆ) เพราะความที่ธาตุเหล่านั้นนั่นแหละมีลักษณะต่างกัน. คำว่า โลกํ ได้แก่ โลก คือ ขันธ์ อายตนะ และธาตุ. คำว่า ยถาภูตํ ปชานาติ ได้แก่ ทรงแทงตลอดซึ่งธาตุเหล่านั้นๆ โดยไม่วิปริต.
วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ ๕
คำว่า นานาธิมุตฺติกตํ (มีอัธยาศัยต่างๆ กัน) ได้แก่ ทรงทราบซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอัธยาศัยต่างๆ กัน คือ มีอัธยาศัยอันเลวเป็นต้น.
วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ ๖
คำว่า ปรสตฺตานํ (ของสัตว์เหล่าอื่น) ได้แก่ ของสัตว์ผู้เป็นใหญ่. คำว่า ปรปุคฺคลานํ (ของบุคคลเหล่าอื่น) ได้แก่ สัตว์ต่ำช้า. อีกอย่างหนึ่งบททั้งสองที่กล่าวมานี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้สองอย่างด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์ คือ สัตว์ที่ควรแนะนำ. คำว่า อินฺทริยปโรปริยตฺตํ (ความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์) อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบซึ่งความเป็นไปแห่งสัตว์อื่นๆ และ ทรงทราบความเสื่อมแห่งอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 630
วรรณนากำลังพระตถาคตข้อที่ ๗
คำว่า ฌานวิโมกฺขสมาธิสมาปตฺตีนํ (แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ) ได้แก่ ทรงทราบความเศร้าหมอง ควานผ่องแผ้ว ความออก แห่งฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น ... แห่งวิโมกข์ ๘ มีคำว่า รูปารูปานิ ปสฺสติ เป็นต้น ... แห่งสมาธิ ๓ อันเป็นไปกับด้วยวิตกและวิจารเป็นต้น ... แห่งอนุปุพพสมาบัติ ๙ มีปฐมฌานสมาบัติเป็นต้น. คำว่า สงฺกิเลสํ (ความเศร้าหมอง) ได้แก่ ธรรมอันเป็นส่วนแห่งความเสื่อม. คำว่า โวทานํ (ความผ่องแผ้ว) ได้แก่ ธรรมอันเป็นส่วนวิเศษ คือฝ่ายดี. คำว่า วุฏฺานํ (ความออก) ได้แก่ ย่อมออกจากฌานเป็นต้น ด้วยเหตุใด ย่อมทราบซึ่งเหตุนั้น.
วรรณนากำลังพระตถาคตข้อที่ ๘, ๙, ๑๐.
คำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสตึ (ความระลึกชาติหนหลัง) ได้แก่ ทรงระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยแล้วในกาลก่อน. การจุติและการอุปบัติ ชื่อว่า จุตูปปาตะ พระองค์ทรงทราบทั้งความตายและความเกิดขึ้นแห่งสัตว์ทั้งหลาย. คำว่า อาสวานํ ขยํ (ความสิ้นอาสวะ) ได้แก่ พระนิพพาน อันดับเสียงซึ่งอาสวะ กล่าวคือความสิ้นไปแห่งกามาสวะเป็นต้น. คำว่า อิมานิ (กำลังเหล่านี้) ได้แก่ ญาณ ๑๐ เหล่าใด ที่กล่าวแล้วในหนหลังว่าเป็นกำลังของพระตถาคตเหล่านี้ ก็คือญาณ ๑๐ เหล่านั้นแล.
บัดนี้ บัณฑิตทราบการวรรณนาบทมาโดยลำดับในมาติกานี้อย่างนี้แล้ว พึงทราบอีกว่า พระตถาคตย่อมทรงเห็นซึ่งเวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้มี กิเลสาวรณ์ (มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น) อันเป็นฐานะและอฐานะของสัตว์ผู้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 631
จะบรรลุและไม่บรรลุซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะ ด้วยฐานาฐานญาณก่อน เพราะทรงเห็นฐานะคือโลกิยสัมมาทิฏฐิ และทรงเห็นซึ่งความไม่มีฐานะคือนิยตมิจฉาทิฏฐิ. ต่อจากนั้น ก็ทรงเห็นซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นมีวิบากเป็นเครื่องกั้นมิให้บรรลุคุณวิเศษ ด้วยกัมมวิปากญาณ (ญาณรู้ผลของกรรม) เพราะทรงเห็นสัตว์ผู้ปฏิสนธิมาด้วยติเหตุกะ. ย่อมทรงเห็นซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยสัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ญาณหยั่งรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง) เพราะทรงเห็นความไม่มีแห่งอนันตริยกรรม. ทรงเห็นคุณวิเศษแห่งความประพฤติ เพื่อแสดงธรรมอนุเคราะห์แก่สัตว์ผู้ไม่มีกรรมเป็นเครื่องกั้นอย่างนี้ ด้วยอเนกธาตุนานาธาตุญาณ (ญาณหยั่งรู้ โลกอันเป็นอเนกธาตุและนานาธาตุ) เพราะทรงเห็นความต่างกันแห่งธาตุ. ลำดับนั้น ทรงเห็นซึ่งอธิมุตติ (อัธยาศัยของสัตว์เหล่านั้น) ได้ ด้วยนานาธิมุตติกตญาณ (ญาณหยั่งรู้อัธยาศัยต่างๆ กัน) จึงมิได้ทรงถือเอาพิธีการ เพื่อแสดงธรรมด้วยอำนาจแห่งอัธยาศัย. ต่อจากนั้น ทรงเห็นความหย่อนและความยิ่งแห่งอินทรีย์ เพื่อแสดงธรรมตามสติ ตามกำลังแห่งสัตว์ผู้มีอัธยาศัยที่จะรู้ได้ด้วยอินทริยปโรปริยัตติญาณ เพราะทรงเห็นความที่ศรัทธาเป็นต้น เป็นธรรมแก่กล้าและอ่อน. ก็ถ้าว่า ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์อันสัตว์พึงรู้ได้อย่างนี้เป็นธรรมชาติแก่กล้าไซร้ อินทรีย์เหล่านั้นย่อมเข้าถึงได้เร็วพลันด้วยคุณวิเศษแห่งฤทธิ์ เพราะความที่ตนเป็นผู้ชำนาญแล้วในฌานเป็นต้นด้วยญาณในฌานเป็นต้น. ก็แลครั้นเข้าถึงแล้ว จึงทรงแสดงธรรมซึ่งความที่สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้มีอัธยาศัยอันเกิดในกาลก่อน ด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เพราะอานุภาพแห่งทิพยจักษุ ทรงเห็นอยู่ซึ่งความวิเศษแห่งจิตที่ถึงพร้อมด้วยเจโตปริยญาณ ด้วยอานุภาพแห่งอาสวักขยญาณ จึงทรงแสดงธรรมเพื่อ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 632
ความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะสัตว์เหล่านั้นมีความหลงใหลไปปราศแล้ว ด้วยทางอันให้ถึงอาสวักขยญาณ ฉะนั้น โดยลำดับนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสญาณ ๑๐ เหล่านั้นว่าเป็นกำลัง.
นี้เป็นการวรรณนาเนื้อความในมาติกาก่อน.
อรรถกถาเอกกนิทเทส
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๑
บัดนี้ เป็นการปฏิเสธการแสดงสาธารณเหตุ ในคำว่า น เหตุเมว (เป็น น เหตุ ทั้งนั้น) ในนิทเทสวาระที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มไว้ ในมาติกาตามที่ทรงตั้งไว้ว่า ปญฺจวิญฺาณา น เหตุเมว เป็นต้น.
ในคำเหล่านั้น คำใดที่จะพึงกล่าวโดยนัยว่า จตุพฺพิโธ เหตุ เป็นต้น (เหตุมี ๔ อย่าง) คือ.
๑. เหตุเหตุ
๒. ปัจจยเหตุ
๓. อุตตมเหตุ
๔. สาธารณเหตุ
คำนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในการวรรณนาเนื้อความแห่งคำทั้งหลายในรูปกัณฑ์ว่า สพฺพํ รูปํ น เหตุเมว เป็นต้น (รูปทั้งหมดเป็น นเหตุ ทั้งนั้น) นั่นแหละ.
ในคำว่า อเหตุกเมว เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบ ม อักษร ด้วยสามารถแห่งพยัญชนะสนธิ. คือเป็น อเหตุกาเอว (เป็นอเหตุกะทั้ง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 633
นั้น). แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แหละ. อีกอย่างหนึ่ง ในหมวดแห่งธรรมมีคำ ว่า เหตู ธมฺมา น เหตู ธมฺมา เป็นต้น วิญญาณ ๕ เป็นเหตุธรรม หรือ ไม่เป็นดังนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความของบททั้งปวงในที่นี้โดยส่วนเดียวว่า ก็วิญญาณ ๕ เป็น นเหตุ ทั้งนั้น เป็นอเหตุกะทั้งนั้น ดังนี้.
บทว่า อพฺยากตเมว (เป็นอัพยากตะทั้งนั้น) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยสามารถแห่งวิบากอัพยากตะ. บทว่า สารมฺมณเมว นี้ ตรัสด้วยสามารถแห่งอารมณ์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว (โอลุพฺภารมฺมณวเสน) . จริงอยู่ อารมณ์ มี ๒ อย่าง คือ ปัจจยารัมมณะ ได้แก่อารมณ์อันเป็นปัจจัย โอลุพภารัมมณะ ได้แก่ อารมณ์อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว. แต่ในที่นี้เป็นหน้าที่ของโอลุพภารัมมณะนั้นแหละ. แม้ปัจจยารัมมณะก็ย่อมได้เหมือนกัน.
บท อเจตสิกเมว แปลว่า ธรรมอันไม่ประกอบจิต. ในอเจตสิกธรรม (ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก) ๓ อย่าง คือ จิต รูป และพระนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา จิต เท่านั้น. บทว่า โน อปริยาปนฺนเมว ได้แก่ ธรรมอันนับเนื่องแล้วโดยความเป็นธรรมอันนับเนื่องด้วยคติ จุติ และภพ ในสังสารวัฏฏ์ ชื่อว่า โน อปริยาปันนะ. สภาวธรรมใด ย่อมไม่นำออกจากโลก คือจากวัฏฏะ เพราะเหตุนั้น สภาวธรรมนั้น จึงชื่อว่าเป็น อนิยยานิกะ. คำว่า อุปฺปนฺนํ มโนวิญญาณวิเยฺยเมว นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในรูปกัณฑ์ว่า ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอันวิญญาณ ๖ พึงรู้ได้ เพราะกระทำแม้มโนวิญญาณอันเป็นวิสัยแห่งอดีตเป็นต้น เพราะปรารภรูปเป็นต้นอันกำลังเกิดขึ้นให้เป็นไปแก่จักขุวิญญาณเป็นต้น. ก็วิญญาณ ๕ แม้กำลังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่เป็นอารมณ์แก่จักขุวิญญาณเป็นต้น ย่อมเป็นไปแก่มโนวิญญาณเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "มโนวิญฺาณวิญฺเยฺย" (วิญญาณ ๕ เป็นธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ) ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 634
คำว่า อนิจฺจเมว ได้แก่ วิญญาณ ๕ ชื่อว่า เป็นอนิจจะทั้งนั้น เพราะอรรถว่า มีแล้วหามีไม่ (เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป)
คำว่า ชราภิภูตเมว ได้แก่ วิญญาณ ๕ ชื่อว่า ชราภิภูตะ เพราะอันชราครอบงำแล้ว.
คำว่า อุปฺปนฺนวตฺถุกา อุปฺปนฺนารมฺมณา (วิญญาณ ๕ มีวัตถุอันเกิดแล้ว มีอารมณ์อันเกิดขึ้นแล้ว) บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านปฏิเสธอนาคต. จริงอยู่ วิญญาณ ๕ นั้น ย่อมไม่เกิดขึ้นในเพราะอารมณ์และวัตถุที่เป็นอนาคตทั้งหลาย. คำว่า ปุเรชาตวตฺถุกา ปุเรชาตารมฺมณา (วิญญาณ ๕ มีวัตถุเกิดก่อน มีอารมณ์เกิดก่อน) ได้แก่ เป็นการปฏิเสธการเกิดขึ้นพร้อมกัน. จริงอยู่ วิญญาณ ๕ นั้นย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยวัตถุหรืออารมณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน. ก็วิญญาณ ๕ นั้น เป็นธรรมชาติเกิดภายหลัง ย่อมเกิดขึ้นในเพราะวัตถุและอารมณ์ที่เกิดก่อน.
คำว่า อชฺฌตฺติกวตฺถุกา (วิญญาณ ๕ มีวัตถุเป็นภายใน) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยสามารถแห่งวัตถุภายในอันเป็นของตน จริงอยู่ วิญญาณ ๕ นั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะ กระทำปสาทรูป ๕ อันเป็นภายในให้เป็นวัตถุที่อาศัยเกิด. คำว่า พาหิรารมฺมณา (มีอารมณ์ภายนอก) ได้แก่ มีอารมณ์มีรูปเป็นต้นภายนอกเป็นอารมณ์. ในข้อนั้นบัณฑิตพึงทราบธรรมหมวด ๔. จริงอยู่ วิญญาณ ๕ นั้น ชื่อว่าเป็นภายใน มีวัตถุเป็นภายใน เพราะกระทำปสาทะให้เป็นวัตถุที่อาศัยเกิด.
มโนวิญญาณ ชื่อว่าเป็นภายใน มีวัตถุภายนอก เพราะเวลาเกิดขึ้น กระทำหทัยรูปให้เป็นวัตถุที่อาศัยเกิด. ขันธ์ ๓ อัน สัมปยุตด้วยวิญญาณ ๕ เป็นภายนอก มีวัตถุเป็นภายใน. ขันธ์ ๓ อันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณเป็นภายนอก มีวัตถุเป็นภายนอก เพราะเวลาเกิดขึ้นกระทำหทยรูปให้เป็นที่อาศัย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 635
คำว่า อสมฺภินฺนวตฺถุกา ได้แก่ มีวัตถุอันยังไม่แตกดับ. จริงอยู่ วิญญาณ ๕ เหล่านั้นย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยวัตถุอันเป็นอดีตซึ่งดับไปแล้ว. แม้เพราะความที่วิญญาณ ๕ มีอารมณ์อันยังไม่แตกดับ ก็นัยนี้.
ในคำว่า อญฺํ จกฺขุวิญฺาณสฺส วตฺถุ จ อารมฺมณญฺจ เป็นต้น ก็วัตถุและอารมณ์ของจักขุวิญญาณเป็นอย่างหนึ่งของโสตวิญญาณเป็นต้นก็เป็นอย่างหนึ่ง. จักขุวิญญาณแม้ถึงความสำเร็จแล้ว ย่อมไม่เกิดต่อจากความสำเร็จโดยกระทำวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งในโสตปสาทเป็นต้นให้เป็นวัตถุ หรือทำรูปอย่างใดอย่างหนึ่งในเสียงเป็นต้นให้เป็นอารมณ์. แต่จักขุวิญญาณย่อมเกิดขึ้น เพราะทำจักขุปสาทเท่านั้นให้เป็นวัตถุและทำรูปให้เป็นอารมณ์. วัตถุก็ดี ทวารก็ดี อารมณ์ก็ดีของจักขุวิญญาณ ย่อมไม่ก้าวไปสู่วัตถุอื่นหรือไปสู่ทวารอื่นหรืออารมณ์อื่นอันเนื่องกันด้วยประการอย่างนี้.
จักขุวิญญาณมีวัตถุที่เนื่องกัน มีทวารที่เนื่องกัน มีอารมณ์ที่เนื่องกันเท่านั้น จึงเกิดขึ้น. แม้ในโสตวิญญาณเป็นต้น ก็นัยนี้ นั่นแหละ.
ในข้อว่า น อญฺมญฺสฺส โคจรวิสยํ ปจฺจานุโภนฺติ นี้ (ทวิญญาณ ๕ ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน) อธิบายว่า "วิญญาณเหล่านั้น ย่อมไม่เสวยอารมณ์สักอย่างหนึ่งของกันและกันอย่างนี้ คือ จักขุวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของโสตวิญญาณ หรือว่าโสตวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ เป็นต้น. จริงอยู่ ถ้าจักขุวิญญาณประมวลมาซึ่งสีอันต่างด้วยสีเขียวเป็นต้นเป็นอารมณ์แล้วพึงมอบให้แก่โสตินทรีย์ว่า " เชิญเถิด ท่านจงกำหนดสีนั้น จงชี้แจงว่า อารมณ์นั้นชื่ออะไร ดังนี้. แม้เว้นจักขุวิญญาณเสียแล้ว พึงกล่าวตามธรรมดาของตนเฉพาะหน้าอย่างนี้ว่า "แน่ะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 636
อันธพาล ท่านค้นหาอยู่สักร้อยปีก็ตาม สักพันปีก็ตาม เว้นจากเรา (จักขุวิญญาณ) ท่าน (โสตวิญญาณ) จักทราบสีนั้นได้ที่ไหน ท่านจงนำสีนั้นมา จงน้อมไปที่จักขุปสาท เราจักรู้ซึ่งอารมณ์นั้นจะเป็นสีเขียวหรือสีเหลืองก็ตามที ก็เพราะนั่นมิใช่วิสัยของธรรมอื่น นั่นเป็นวิสัยของเราเท่านั้น. แม้ในวิญญาณที่เหลือก็นัยนี้. ด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณ ๕ จึงชื่อว่า ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน.
คำว่า สมนฺนาหรนฺตสฺส ได้แก่ เมื่อนำอาวัชชนะมาอยู่นั่นแหละ ปัญจวิญญาณจึงเกิดขึ้น. คำว่า มนสิกโรนฺตสฺส ได้แก่ เมื่อทำไว้ในใจโดยการคำนึงถึงนั่นแหละ ปัญจวิญญาณจึงเกิด. จริงอยู่ จิตเหล่านี้ (ปัญจวิญญาณ) ย่อมเกิดขึ้นในเวลานึกถึง หรือในเวลากระทำไว้ในใจด้วยอาวัชชนะ.
คำว่า น อพฺโพกิณฺณา (ไม่สับสนกันก็หาไม่) ได้แก่ ไม่ถูกแทรกแซงด้วยวิญญาณอื่นย่อมเกิดติดต่อกันไปก็หาไม่. การเกิดร่วมกันแม้แห่งจิตทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธแล้วด้วยบทว่า น อปุพฺพํ อจริมํ นี้ และทรงปฏิเสธการเกิดขึ้นโดยลำดับแห่งกันและกันด้วยบทว่า น อญฺญมญฺสฺส สมนนฺตรา นี้. ชื่อทั้งหลายของอาวัชชนะมี ๔ เท่านั้น ซึ่งมีคำว่า อาวัฏฏนา (ความสนใจ). จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก อาวัชชนะ นั้นว่า อาวัฏฏนา เพราะการหมุนเวียนเปลี่ยนไปแห่งภวังค์ ตรัสเรียกว่า อาโภคะ (ความคำนึง) เพราะความคำนึงของจิตนั้นนั่นแหละ ตรัสเรียกว่า สมันนาหรณะ เพราะ ประมวลมาซึ่งรูปเป็นต้น ตรัสเรียกว่า มนสิการ เพราะการทำไว้ในใจของจิตเหล่านั้นแหละ. ความสามารถเพื่อทำหน้าที่ (กิจ) แห่งอาวัฏฏนา (ความ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 637
สนใจ) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ในฐานะแห่งอาวัชชนะของวิญญาณ ๕ โดยสังเขปในที่นี้ และทรงปฏิเสธจิตแต่ละดวงเกิดร่วมกันด้วยอาการอย่างนี้.
คำว่า น กิญฺจิ ธมฺมํ ปฏิวิชานาติ (บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งซึ่งธรรมอะไรๆ ด้วยวิญญาณ ๕) อธิบายว่า บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งซึ่ง กุศลหรืออกุศลแม้สักอย่างหนึ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า เป็นต้น.
คำว่า อญฺตฺร อภินิปาตมตฺตา (สักแต่ว่าเป็นที่ตกไปแห่งอารมณ์อันใดอันหนึ่ง) อธิบายว่า วิญญาณ ๕ สักแต่ว่าเป็นที่ตกไป โดยเว้นรูปเป็นต้น แล้วย่อมไม่รู้อะไรๆ ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายไว้ว่า "บุรุษแม้เป็นผู้ฉลาดดีแล้วก็ย่อมไม่รู้ธรรมอื่นสักอย่างหนึ่งในบรรดากุศลและอกุศลด้วยวิญญาณ ๕ เว้นรูปที่มาสู่คลอง. อนึ่ง จักขุวิญญาณในที่นี้ ย่อมเป็นสักแต่ว่าการเห็นเท่านั้น. แม้โสตวิญญาณเป็นต้น ก็ย่อมสักแต่ว่าการ ฟัง ... การดม ... การลิ้ม และการสัมผัสเท่านั้น. ก็การรับรู้อารมณ์โดย สักแต่ว่าการเห็นเป็นต้น ชื่อว่า การรายงาน (หรือการบอกกล่าว) ซึ่งธรรมเหล่านั้นอย่างอื่นมีกุศลเป็นต้นหามีไม่.
คำว่า มโนธาตุยาปิ (แม้ด้วยมโนธาตุ) ได้แก่ แม้ด้วยมโนธาตุ คือสัมปฏิจฉนจิต. อนึ่ง ในคำว่า มโนธาตุยาปิ นี้ ปิ อักษร เป็นคำประมวลมาซึ่งเนื้อความ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในที่นี้ อย่างนี้ว่า บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งซึ่งธรรมอะไรๆ อันเป็นกุศลได้ ด้วยวิญญาณอันเป็นไปทางทวาร ๕ แม้ทั้งหมด คือ แม้ด้วยมโนธาตุ แม้ด้วยมโนวิญญาณธาตุซึ่งต่อจากมโนธาตุนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 638
แม้ในคำว่า "น กิญฺจิ อิริยาปถํ กปฺเปติ" เป็นต้น (บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยวิญาณ ๕) ก็นัยนี้ จริง อยู่ บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอะไรๆ ในการเดินเป็นต้นได้ด้วยวิญญาณอันเป็นไปทางทวาร ๕.
บุคคลย่อมไม่ตั้งกายกรรม ไม่ตั้งวจีกรรมด้วยวิญญาณ ๕ ย่อมไม่สมาทานธรรมอันเป็นกุศลอกุศลด้วยวิญญาณ ๕ ย่อมไม่เข้าสมาธิ (สมาบัติ) อันเป็นโลกิยะหรือโลกุตตระ ย่อมไม่ออกจากสมาธิอันเป็นโลกิยะหรือโลกุตตระด้วยวิญญาณ ๕ ย่อมไม่จุติ (เคลื่อน) จากภพ ย่อมไม่เกิดขึ้นในภพด้วยวิญญาณ ๕. จริงอยู่ กิจ (หน้าที่ของจิต) มีการรู้แจ้งซึ่งธรรมอันเป็นกุศลและอกุศลเป็นต้น มีการจุติเป็นปริโยสาน แม้ทั้งหมดนั้น ย่อมมีได้ด้วยจิตทางมโนทวารเท่านั้น ย่อมไม่มีด้วยจิตอันเป็นไปทางทวาร ๕ เพราะฉะนั้น วิถีจิตแม้ทั้งปวงอันเป็นไปกับด้วยชวนะในเพราะการทำซึ่งกิจนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปฏิเสธแล้วในวิญญาณ ๕ นี้. อนึ่งกิจทั้งหลายที่กล่าวแล้วเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่จิตอันประกอบด้วยวิญญาณ ๕ นี้ ฉันใด แม้การก้าวลงสู่นิยามธรรมก็ฉันนั้น. คือว่าบุคคลย่อมไม่ก้าวลงสู่ มิจฉัตตนิยาม ()(๑) หรือ สัมมัตตนิยาม (๒) ได้ด้วยวิญญาณ ๕.
จริงอยู่ ชวนะ (ของปัญจทวาร) ย่อมไม่แล่นไป (เสพอารมณ์) เพราะปรารภนามและโคตร ย่อมไม่แล่นไปเพราะปรารภ บัญญัติอันมีกสิณเป็นต้น ย่อมไม่เป็นไปด้วยสามารถแห่งวิปัสสนาอันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ ย่อมไม่เป็นไปด้วยสามารถแห่งวิปัสสนาอันมีกำลังคือวุฏฐานคามินี ย่อมไม่แล่นไปเพราะปรารภรูปและอรูป
(๑) อภิ.สํ. ๓๔/ ข้อ๖๘๑ ได้แก่อนันตริยกรรม ๕ และนิยตมิจฉาทิฏฐิ
(๒) ได้แก่โลกุตตรมรรค ๔.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 639
ธรรม ย่อมไม่แล่นไปสู่พระนิพพาน. อนึ่ง ปฏิสัมภิทาญาณย่อมไม่เกิดด้วยชวนะ (ในปัญจทวาร) นั้น อภิญญาญาณ สาวกปารมีญาณ ปัจเจกโพธิญาณ สัพพัญญุตญาณ ก็ย่อมไม่เกิดด้วยชวนะนั้น. แต่ว่า ธรรมมีประเภทต่างๆ แม้ทั้งหมด ย่อมมีได้ในชวนะทางมโนทวารเท่านั้น.
คำว่า น สุปติ น ปฏิพุชฺฌติ น สุปินํ ปสฺสติ (บุคคลย่อมไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน ด้วยวิญญาณ ๕) อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธวิถีจิตพร้อมด้วยชวนะในฐานะทั้ง ๓ เหล่านั้นว่า บุคคลย่อมไม่ก้าวลงสู่ความหลับ ย่อมไม่หลับ ย่อมไม่ตื่น ย่อมไม่เห็นสุบิน (ฝัน) อะไรๆ ด้วยจิตอันเป็นไปทางปัญจทวารแม้ทั้งหมด.
จริงอยู่ เมื่อบุคคลกำลังหลับสนิท ถึงจะยังไส้เทียนใหญ่ให้ติดไฟลุกโพลงแล้วน้อมแสงสว่างนั้นเข้าไปใกล้นัยน์ตาของบุคคลนั้น ปฐมภวังค์ ย่อมไม่หมุนไป (ยังไม่เปลี่ยนไป) สู่อาวัชชนะอันเป็นไปทางจักขุทวารก่อน. ก็จิตอันประกอบด้วยมโนทวารเท่านั้นย่อมหมุนไป ลำดับนั้น ชวนจิตเสพอารมณ์แล้วก็หยั่งลงสู่ภวังค์.
ในวาระที่ ๒ ภวังคจิตย่อมหมุนไปสู่อาวัชชนจิตอันเป็นจักขุทวาร. ต่อจากนั้นจักขุวิญญาณเป็นต้น มีชวนะเป็นปริโยสาน ย่อมเป็นไป. ลำดับนั้น ภวังคจิต จึงเป็นไปอีก.
ในวาระที่ ๓ เมื่อภวังค์หมุนไปสู่อาวัชชนะอันเป็นมโนทวารแล้ว ชวนะอันเป็นมโนทวารวิถี จึงแล่นไป. ท่านกล่าวว่า เพราะรู้ด้วยจิต (ชวนจิตทางมโนทวาร) นั้น บุคคลจึงแลดู จึงทราบอะไรๆ ได้ในที่นี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 640
โดยทำนองเดียวกัน เมื่อบุคคลกำลังหลับสนิท ใครๆ ประโคมดนตรีที่ใกล้หู หรือน้อมดอกไม้ซึ่งมีกลิ่นหอมก็ตาม เหม็นก็ตามไปใกล้จมูก หรือใส่เนยใส หรือใส่น้ำอ้อยเข้าไปในปาก หรือเอาฝ่ามือประหารที่หลังก็ตาม. ปฐมภวังค์ก็ยังไม่หมุนไปสู่อาวัชชนะอันเป็นไปทางโสตทวารเป็นต้นก่อน.
จิตอันเป็นมโนทวารเท่านั้นย่อมหมุนไป ลำดับนั้น ชวนะเสพอารมณ์แล้วก็หยั่งลงสู่ภวังค์.
ในวาระที่ ๒ ภวังค์จึงหมุนไปสู่อาวัชชนะทั้งหลายอันเป็นไปทางโสตทวารเป็นต้น จากนั้น โสตะ ฆานะ ชิวหา กายวิญญาณเป็นต้น มีชวนะเป็นปริโยสาน ย่อมเป็นไป. ต่อจากนั้น ภวังค์ก็เป็นไปอีก.
ในวาระที่ ๓ ครั้นเมื่อภวังค์หมุนไปสู่อาวัชชนะอันเป็นมโนทวารแล้ว ชวนะอันเป็นมโนทวารก็แล่นไป. เพราะรู้ด้วยจิต (ชวนจิตอันเป็นมโนทวารวิถี) นั้น บุคคลจึงรู้เสียงอะไรๆ ในที่นี้ว่า เป็นเสียงสังข์ เป็นเสียงกลอง. หรือรู้กลิ่นอะไรๆ ในที่นี้ว่า เป็นกลิ่นเกิดแต่ราก กลิ่นเกิดแต่แก่น หรือรู้รสอะไรๆ ที่เขาใส่เข้าไปในปากของตนว่าเป็นเนยใส น้ำอ้อย หรือรู้ว่าการประหารนี้ ใครตี ใครทุบ ใครประหารที่หลัง ดังนี้ บุคคลจึงชื่อว่า ย่อมตื่นด้วยชวนจิตอันเป็นไปทางมโนทวารเท่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคล จึงมิได้ตื่นขึ้นด้วยจิตอันเป็นไปทางปัญจทวาร.
บุคคลย่อมเห็นแม้สุบิน (ฝัน) ด้วยชวนจิตทางมโนทวารนั้นนั่นแหละ มิได้ฝันเห็นจิตอันเป็นไปทางปัญจทวาร.
เหตุแห่งการฝัน ๔
ก็แล บุคคลเมื่อเห็นสุบิน (ฝัน) นั้นๆ ย่อมฝันเห็นด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 641
โดยธาตุกำเริบ
โดยเคยประสพมา
โดยเทวดาดลใจ
โดยบุพนิมิต
ใน ๔ อย่างนั้น บุคคลมีธาตุกำเริบ เพราะประกอบด้วยปัจจัยทำให้ผิดปกติของน้ำดีเป็นต้น จึงชื่อว่าย่อมฝันไปเพราะธาตุกำเริบ. จริงอยู่ เมื่อฝันไปต่างๆ ย่อมเป็นราวกะว่า กำลังตกลงไปจากภูเขา ราวกะว่ากำลังเดินไปทางอากาศ และเป็นราวกะว่าถูกเนื้อร้าย ช้างร้าย และโจรเป็นต้นติดตามแล้ว.
ว่าโดยเคยประสพมา บุคคลเมื่อฝัน ย่อมฝันเห็นอารมณ์อันตนเคยประสพมาแล้วในกาลก่อน.
ว่าโดยเทวดาดลใจ เทวดาย่อมน้อมอารมณ์มีอย่างต่างๆ เข้าไป เพราะความเป็นผู้ใคร่จะให้ประโยชน์ หรือเพราะความประสงค์จะให้เกิดความเสื่อม หรือเพื่อให้เกิดความเจริญ หรือเพื่อให้เกิดความพินาศแก่บุคคลผู้ฝันนั้น. บุคคลนั้ ย่อมฝันเห็นอารมณ์เหล่านั้น ด้วยอานุภาพแห่งเทวดาเหล่านั้น.
ว่าโดยบุพนิมิต บุคคลเมื่อฝันเห็น ย่อมฝันเห็นสุบินอันเป็นบุพนิมิต (ลางที่บอกเหตุขึ้นก่อน) แห่งความเจริญ หรือความพินาศ ด้วยสามารถแห่งบุญและบาปย่อมเป็นดุจพระมารดาของพระโพธิสัตว์ทรงสุบินนิมิต ในการได้เฉพาะซึ่งพระราชบุตร ย่อมเป็นดุจพระโพธิสัตว์ ทรงมหาสุบินนิมิต ๕ ข้อ และย่อมเป็นดุจพระเจ้าโกศลทรงสุบินนิมิต ๑๖ ข้อ.
ในเหตุ ๔ เหล่านั้น บุคคลย่อมฝันเห็นสิ่งใดโดยธาตุกำเริบและโดยการกินก่อนนอน สิ่งนั้นมิใช่ความจริง. บุคคลย่อมฝันเห็นสิ่งใดโดยเทวดาดลใจ สิ่งนั้นเป็นจริงก็ได้ ไม่จริงก็ได้ เพราะว่า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 642
เทวดาโกรธแล้ว ใคร่เพื่อจะให้ถึงความพินาศด้วยอุบายของตน จึงกระทำการดลใจแสดงสิ่งนั้นให้วิปริตไปก็ได้.
ได้ยินว่า ในมหาวิหารอันประเสริฐในพระนครโรหนะ พระมหาเถระ ไม่ขออนุญาตพระภิกษุสงฆ์ สั่งให้ตัดต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้โกรธพระเถระแล้ว ครั้งแรกนั่นแหละทำประเล้าประโลม (ชื่นชม) พระเถระ ภายหลังบอกในสุบินนิมิตว่า "พระราชาผู้เป็นอุปัฏฐากของท่านจักสวรรคตภายใน ๗ วัน นับแต่วันนี้" ดังนี้. พระเถระนำเรื่องนั้นไปบอกแก่นางสนมของ พระราชา. เทวดานั้นก็แกล้งร้องเสียงดังราวกะว่าถูกประหารครั้งหนึ่ง. พระราชาทรงถามว่า "นั่นอะไรกัน". เทวดานั้นทูลว่า พระเถระกล่าวอย่างนี้. พระราชาให้ราชบุรุษนับจำนวนวัน ครั้นพระชนม์ชีพของพระองค์เกิน ๗ วัน แล้ว ทรงกริ้วจึงให้ราชบุรุษตัดมือและเท้าของพระเถระเสีย.
ก็บุคคลย่อมเห็นสิ่งใดโดยบุพนิมิต สิ่งนั้นย่อมเป็นจริงโดยส่วนเดียว. และประเภทแห่งความฝันย่อมมีแม้เพราะความแตกต่างกันไป ตามการเกี่ยวข้องด้วยมูลเหตุทั้ง ๔ เหล่านั้นทีเดียว.
อนึ่ง พระเสกขะและปุถุชนเท่านั้น ย่อมฝันเห็นสุบินนิมิต. แม้ทั้ง ๔ อย่าง เพราะความที่ตนยังมิได้ละวิปัลลาส ๔.
สำหรับพระอเสกขบุคคล ย่อมไม่ฝัน เพราะท่านมีวิปัลลาส ๔ อันละได้แล้ว.
ถามว่า ก็บุคคลเมื่อจะฝัน หลับแล้วย่อมฝัน หรือตื่นแล้วย่อมฝัน หรือว่าทั้งมิใช่หลับแล้วทั้งมิใช่ตื่นแล้ว ย่อมฝัน ดังนี้.
ตอบว่า ก็ในที่นี้ ความฝันจะเป็นอย่างไร พึงทราบดังนี้
ถ้าว่า บุคคลหลับแล้วย่อมฝันไซร้ ข้อนี้ ย่อมไม่ตรงตามพระอภิธรรม เพราะว่า (ในพระอภิธรรม) บุคคลย่อมหลับด้วย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 643
ภวังคจิต และภวังคจิตซึ่งมีรูปนิมิตเป็นต้นเป็นอารมณ์นั้น มิได้สัมปยุตด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น. ส่วนบุคคลฝันอยู่ จิตทั้งหลายเช่นนี้ (คือจิตที่สัมปยุตด้วยราคะเป็นต้น) ย่อมเกิดได้.
ถ้าบุคคลตื่นแล้วย่อมฝันได้ ข้อนี้ก็ไม่ตรงตามพระวินัย เพราะว่า บุคคลตื่นแล้วย่อมฝันเห็นสิ่งใดนั้นย่อมเห็นด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยอัพโพหาริก (คือ สิ่งที่กล่าวอ้างไม่ได้) ด้วยว่า ชื่อว่า อนาบัติในเพราะการก้าวล่วงพระบัญญัติที่ภิกษุทำแล้วด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยสิ่งที่กล่าวอ้างไม่ได้ มิได้มี อนึ่ง เมื่อภิกษุทำกรรมด้วยจิตที่กำลังฝันซึ่งเป็นการล่วงพระบัญญัติ ย่อมเป็นอนาบัติโดยส่วนเดียว.
ถ้าบุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ย่อมฝันได้ เขาย่อมจะชื่อว่า ไม่ฝันเห็นซึ่งสุบิน (ในที่นี้) ก็ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ ความไม่มีแห่งสุบินเทียวย่อมปรากฏ ความมีแห่งสุบินก็ย่อมไม่ปรากฏ ข้อนี้เป็นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลถูกความง่วงดุจลิงหลับครอบงำแล้วย่อมฝัน. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า ดูก่อนมหาราช บุคคลถูกความง่วงดุจลิงหลับครอบงำแล้วย่อมฝัน ดังนี้. คำว่า กปิมิทฺธปเรโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยการหลับดุจลิง. เหมือนอย่างว่า การนอนหลับของลิงย่อมเป็นไปเร็ว ฉันใด ชื่อว่าการนอนหลับของบุคคลเพราะความเกลื่อนกล่นแล้วด้วยกุศลจิตเป็นต้นซึ่งเป็นไปรวดเร็วบ่อยๆ อันใด ก็ฉันนั้น. การถอนขึ้นจากภวังค์บ่อยๆ ในเพราะความเป็นไปของการหลับอันใด บุคคลผู้ประกอบด้วยการหลับนั้นย่อมฝัน เพราะเหตุนั้น การฝันนี้ย่อมเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง เป็นอัพยากตะบ้าง. ในการฝันเหล่านั้น เมื่อบุคคลฝันว่าทำการไหว้พระเจดีย์ การฟังธรรม การแสดง ธรรมเป็นต้น ย่อมเป็นกุศล เมื่อฝันว่าทำปาณาติบาตเป็นต้น ย่อมเป็นอกุศล ความฝันพ้นจากจิตทั้งสองนี้ ในขณะแห่งอาวัชชนะและตทารัมมณะ พึงทราบว่าเป็น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 644
อัพยากตะ. แม้ในเวลาที่กล่าวว่า สิ่งนี้เราเห็นแล้ว (๑) สิ่งนี้เราได้ยินแล้ว สิ่งที่ปรากฏแล้วนั่นแหละก็เป็นอัพยากตะเช่นกัน.
ถามว่า กุศลธรรมและอกุศลธรรมที่บุคคลทำในขณะฝันเป็นธรรมมีวิบากหรือไม่?
ตอบว่า มีวิบาก แต่กรรมที่ทำในเวลาฝันนั้นไม่อาจให้ปฏิสนธิได้ เพราะความที่วิบากนั้นมีกำลังทราม. แต่ครั้นเมื่อปฏิสนธิ เป็นไปแล้วด้วยกรรมอย่างอื่นให้ผลแล้ว (กรรมที่ทำในเวลาฝัน) ย่อมให้ผลในปวัตติกาล.
คำว่า เอวํ ยาถาวกวตฺถุวิภาวนา ปญฺา (ความรู้เรื่องวิญญาณ ๕ ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า ปัญญา) ได้แก่ การอธิบายวิญญาณ ๕ ว่าเป็น นเหตุ เป็นการอธิบายตามความเป็นจริง. ปัญญาชื่อว่าเป็นเครื่องแสดงเรื่องของวิญญาณ ๕ ตามความเป็นจริง เพราะอรรถว่า ยังเรื่องตามความเป็นจริงนั้นให้แจ่มแจ้ง. เหมือนอย่างนั้น การอธิบายวิญญาณ ๕ ว่าเป็น อเหตุกะ ว่าถูกชราครอบงำ ว่าไม่ฝัน เป็นการอธิบายตามความเป็นจริง. ปัญญาชื่อว่าเป็นเครื่องแสดงเรื่องของวิญญาณ ๕ ตามความเป็นจริง เพราะอรรถว่า ยังเรื่องตามความเป็นจริงนั้นให้แจ่มแจ้ง. ปัญญาใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ในมาติกาในหนหลังว่า "เป็นเครื่องแสดงเรื่องของวิญญาณ ๕ ตามความเป็นจริง" ปัญญานั้นพึงทราบว่า "ความรู้เรื่องของวิญญาณ ๕ ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า ปัญญาเป็นเครื่องแสดงเรื่องวิญญาณ ๕ ตามความเป็นจริง" ดังพรรณนามาฉะนี้. ก็การนับญาณด้วยธรรมหมวดหนึ่ง หรือการนับญาณด้วยอาการอย่างหนึ่ง อย่างนี้ว่า เอวํ เอกวิเธน าณวตฺถุ (ญาณวัตถุหมวดละ ๑ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้) ย่อมมีด้วยอำนาจแห่งปัญญานั้นนั่นแหละ.
ญาณวัตถุหมวดหนึ่ง จบ
(๑) บาลีใช้ ทิฏํ วิย เม สุตํ วิย เม เช่นเดียวกับคำว่า รูปอันเราเห็นแล้ว เสียงอันเราได้ยินแล้ว ซึ่งจัดเป็นอัพยากตะ เพราะเป็นรูป
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 645
อรรถกถาทุกนิทเทส
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๒
คำว่า จตูสุ ภูมีสุ กุสเล (ในกุศลธรรมในภูมิ ๔) ได้แก่ ปัญญาเป็นกุศลอันเป็นไปในภูมิ ๔ ของพระเสกขะและปุถุชนทั้งหลาย พึงทราบวินิจฉัยในที่นี้ว่า ปัญญาใดย่อมยังประโยชน์กล่าวคือวิบากอันนับเนื่องแล้วด้วยภูมิของตนให้เกิดขึ้น ให้ผลิตผล คือให้เป็นไปทั่วในประโยชน์ ๕ (๑) ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปฏิสัมภิทาวิภังค์ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้น จึงชื่อว่า อัตถชาปิกปัญญา. คำว่า อรหโต อภิญฺํ อุปฺปาเทนฺตสฺส สมาปตฺตึ อุปฺปาเทนฺตสฺส กิริยาพฺยากตา (ปัญญาที่เป็นกิริยาอัพยากตะของพระอรหันต์ผู้กำลังยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ผู้กำลังยังสมาบัติให้เกิดขึ้น) ได้แก่ ปัญญาอันเป็นกิริยาในกามาวจร ในเวลาทำบริกรรมแห่งอภิญญาและสมาบัติ. จริงอยู่ ปัญญานั้นย่อมยังประโยชน์กล่าวคือกิริยาอันต่างด้วยอภิญญาและสมาบัติให้เกิด ให้ผลิตผล ให้เป็นไปทั่ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า อัตถชาปิกปัญญา.
ก็นัยแห่งอรรถกถาอันเป็นบาลีมุตตกะแม้อีกนัยหนึ่ง ดังต่อไปนี้
ก็ปัญญาแม้ใด เป็นกามาวจรกิริยาซึ่งเกิดขึ้นก่อน ย่อมเป็นปัจจัยแก่กามาวจรกิริยาที่เกิดภายหลังด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย. ปัญญาแม้นั้น ชื่อว่า อัตถชาปิกปัญญา เพราะย่อมยังประโยชน์กล่าวคือกิริยานั้นให้เกิดขึ้น. แม้
(๑) คือ ๑. สัจจวาระ ๒. เหตุวาระ ๓. ธรรมวาระ ๔. ปัจจยาการวาระ ๕. ปริยัตติ ธรรมวาระ
(พระไตรปิฏกฉบับปี ๒๕๖๒ : ๑. สภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งอันอาศัยเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ๒. พระนิพพาน ๓. อรรถแห่งภาษิต ๔. วิบาก ๕. กิริยา (ข้อ ๗๗๗))
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 646
ปัญญาในรูปาวจรและอรูปาวจรทั้งหลายก็นัยนี้.
ในนิทเทสแห่งบทที่ ๒ คำว่า จตูสุ ภูมีสุ วิปาเก (ในวิบากธรรมในภูมิ ๔) ได้แก่ ปัญญาในกามาวจรวิบาก ชื่อว่า ชาปิตัตถปัญญา เพราะยังประโยชน์ในกามาวจรวิบากให้เกิดแล้วดำรงอยู่ ด้วยสามารถแห่งปัจจัยมีสหชาตปัจจัยเป็นต้น. แม้ปัญญาในวิบากมีรูปาวจรปัญญาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง ปัญญานี้แม้ทั้งหมด ชื่อว่า ชาปิตัตถปัญญา เพราะให้เกิด ให้ผลิตผล ให้เป็นไปทั่วด้วยเหตุทั้งหลายของตนๆ บ้าง และแม้ตัวเองก็เป็นประโยชน์บ้าง ดังนี้.
แม้ในปัญญาอันเป็นกิริยาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อรหโต อุปฺปนฺนาย อภิญฺญาย อุปฺปนฺนาย สมาปตฺติยา (ปัญญาของพระอรหันต์เมื่อขณะที่อภิญญาเกิดแล้ว เมื่อขณะที่สมาบัติเกิดแล้ว) ดังนี้ ก็นัยนี้แหละ.
นัยแห่งอรรถกถาอันเป็นบาลีมุตตกะ อีกนัยหนึ่ง
ก็แม้ปัญญาในกิริยาอันเป็นกามาวจร ชื่อว่า ชาปิตัตถปัญญา เพราะยังประโยชน์กล่าวคือกามาวจรกิริยาให้เกิดแล้วดำรงอยู่ด้วยอำนาจแห่งสหชาตปัจจัยเป็นต้น. แม้ในปัญญาอันเป็นกิริยาในรูปาวจรและอรูปาวจร ก็นัยนี้ แหละ.
อีกอย่างหนึ่ง ปัญญานี้แม้ทั้งหมด ชื่อว่า ชาปิตัตถปัญญา เพราะให้เกิด ให้ผลิตผล ให้เป็นไปทั่ว ด้วยเหตุทั้งหลายของตนๆ บ้าง และแม้ตัวเองก็เป็นประโยชน์บ้างดังนี้. คำที่เหลือทั้งหมดในที่นี้ ปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น เพราะมีนัยดังที่กล่าวแล้วในอรรถกถาแห่งธัมมสังคหะ ฉะนี้แล.
ญาณวัตถุหมวด ๒ จบ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 647
อรรถกถาติกนิทเทส
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๓
จินตามยปัญญา
ปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า โยคะ ในคำว่า โยควิหิเตสุ (ที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญา) นี้ มีอธิบายว่า ในการจัดแจงด้วยปัญญา ชื่อว่า น้อมนำไปด้วยปัญญา. อายตนะคือบ่อเกิดแห่งการงานในคำว่า กมฺมายตเนสุ นี้ ชื่อว่า การงานนั่นแหละ. อีกอย่างหนึ่ง แม้คำว่า การงานนั้นด้วย อายตนะนั้นด้วย มีอยู่แก่บุคคลผู้มีอาชีพเป็นต้น ดังนี้ ก็ชื่อว่า บ่อเกิดแห่งการงาน. แม้ในคำว่า สิปฺปายตเนสุ (ในศิลปะทั้งหลาย) ก็นัยนี้.
ในคำเหล่านั้น การงานมี ๒ อย่าง คือ หีนกรรม และ อุกกัฏฐกรรม (ชนิดเลวและดี). ใน ๒ อย่างนั้น การงานของช่างไม้ การงานของผู้เทดอกไม้ เป็นต้น ชื่อว่า หีนกรรม (ชนิดเลว). กสิกรรม วาณิชกรรม โครักขกรรมเป็นต้น ชื่อว่า อุกกัฏฐกรรม (ชนิดดี).
แม้ในศิลปะก็มี ๒ อย่าง คือ ชนิดเลวและดี.
ใน ๒ อย่างนั้น ศิลปะของช่างสาน ศิลปะของช่างหูก ศิลปะของช่างหม้อ ศิลปะของช่างหนัง และศิลปะของช่างตัดผมเป็นต้น ชื่อว่า ชนิดเลว. ศิลปะที่ใช้ปัญญา (มุทฺธา) ศิลปะการคำนวณ (คณนา) ศิลปะขีดเขียน (เลขํ) เป็นต้น ชื่อว่า ชนิดดี. ฐานะแห่งวิชชา ชื่อว่า วิชชา นั่นแหละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาฐานะแห่งวิชชานั้นต้องประกอบโดยธรรมเท่านั้น. ส่วนฐานะแห่งวิชชาหมอ เป็นต้นว่า ฐานะวิชชาอันเช่นกับมนต์ขีดวงเรียกงูถอนพิษ (๑)
(๑) ฎีกา. การขีดวง ร่ายวิชชาเรียกงูมา แล้วให้พลีกรรม นำพิษออกไป
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 648
เช่นกับมนต์ของผู้เสกเป่าถอนพิษ ศัลยกรรมที่ใช้สลากะ (จักษุวิทยา) ศัลยกรรมไม่ถือเอา (ว่าเป็นวิชชา) เพราะนับเข้าสิปปายตนะนั่นแหละว่า "ข้าแต่ท่านอาจารย์ กระผมปรารถนาเพื่อศึกษาศิลปะ" ดังนี้.
นัยแห่งหีนกรรม
พึงทราบในข้อนี้ว่า บุรุษผู้ฉลาดคนหนึ่ง สร้างบ้าน ปราสาท ยาน เรือเป็นต้น โดยธรรมดาของตนเองเพื่อต้องการอยู่เป็นสุขของมนุษย์ทั้งหลาย เพราะว่า บุรุษผู้ฉลาดคนนั้นดำรงอยู่ด้วยการกระทำประโยชน์เกื้อกูล โดยคิดว่า มนุษย์เหล่านั้นเป็นทุกข์เพราะไม่มีที่เป็นที่อยู่อาศัย จึงสร้างบ้านอันต่างด้วยบ้านมีรูปยาวและสี่เหลี่ยมเป็นต้นขึ้น และเพื่อป้องกันความหนาวและร้อนก็สร้างปราสาทอันต่างด้วยปราสาทมีชั้นเดียวและสองชั้นเป็นต้น เมื่อยานพาหนะไม่มีอยู่ ก็คิดว่า ชื่อว่า การสัญจรไปมาเป็นทุกข์ เพื่อต้องการบรรเทาความปวดเมื่อยแข้งเป็นต้น ก็สร้างพาหนะเป็นเครื่องนำไปมีเกวียนและรถเป็นต้น ครั้นเมื่อเรือไม่มีอยู่ก็คิดว่า ชื่อว่าเครื่องสัญจรไปในสมุทรเป็นต้นไม่มี จึงสร้างเรือมีประการต่างๆ. บุรุษผู้ฉลาดนั้นย่อมไม่เห็นวัตถุทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมดที่บุคคลอื่นกระทำอยู่ มิได้เก็บเอาของที่บุคคลอื่นทำแล้วมา ย่อมไม่ได้ฟังจากผู้อื่น ก็แต่ว่า เขาย่อมกระทำด้วยความติดตามธรรมดาของตน.
จริงอยู่ การงานอันบุคคลผู้มีปัญญา แม้กระทำตามธรรมดาของตน ย่อมเป็นเช่นกับการงานทั้งหลายอันชนเหล่าอื่นเรียนมากระทำให้สำเร็จนั่นแหละ. นี้เป็นนัยในหีนกรรม (การงานอันต่ำ) ก่อน.
นัยแห่งอุกกัฏฐกรรม
แม้ในอุกกัฏฐกรรม (การงานอันสูง) บัณฑิตคนหนึ่งคิดว่า เมื่อกสิกรรมไม่มีอยู่ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายย่อมไม่เป็นไป ดังนี้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 649
เพื่อต้องการให้อยู่เป็นสุขของมนุษย์ทั้งหลาย จึงสร้างอุปกรณ์การทำนามีแอกและไถเป็นต้น. โดยทำนองนั้น ย่อมสร้างวาณิชยกรรมและโครักขกรรมขึ้น. เขาย่อมไม่เห็นการงานเหล่านั้นทั้งหมดที่บุคคลอื่นทำอยู่ ฯลฯ ย่อมเป็นเช่นกับการงานที่บุคคลอื่นเรียนมา ทำให้สำเร็จแล้วนั่นแหละ. นี้เป็นนัยในอุกกัฏฐกรรม (การงานอันสูง).
นัยแห่งศิลปะทั้ง ๒ อย่าง
ในบ่อเกิดแห่งศิลปะแม้ทั้งสอง บัณฑิตคนหนึ่งประสงค์จะให้มนุษย์ทั้งหลายมีความผาสุก จึงจัดสร้างหีนศิลปะมีศิลปะของช่างสานเป็นต้นขึ้น และสร้างศิลปะอันสูงสุดกล่าวคือเพื่อให้ได้จำนวนโดยสูงสุดแห่งหัตถกรรม สร้างอุปกรณ์คำนวณกล่าวคือเพื่อมิให้ขาดปริมาณ สร้างเครื่องขีดเขียนอันเป็นแบบอย่างต่างๆ เป็นต้น. บัณฑิตนั้นมิได้เห็นสิ่งเหล่านั้นแม้ทั้งหมดที่บุคคลอื่นทำอยู่ ฯลฯ ย่อมเป็นเช่นกับศิลปะที่บุคคลอื่นเรียนมาแล้วทำให้สำเร็จนั่นแหละ. ข้อนี้เป็นนัยในบ่อเกิดแห่งศิลปะ.
อนึ่ง บัณฑิตบางพวกยังฐานะแห่งวิชาทั้งหลายมีมนต์ขีดวงเรียกงูถอนพิษเป็นต้นอันชอบธรรมให้เกิดขึ้น เพื่อต้องการเยียวยามนุษย์ทั้งหลายผู้ถูกอมนุษย์รบกวนและถูกงูกัดเป็นต้น. บัณฑิตนั้นย่อมไม่เห็นฐานะแห่งวิชาเหล่า นั้นซึ่งบุคคลอื่นทำอยู่ ไม่ได้เรียนฐานะแห่งวิชาที่บุคคลอื่นเรียนแล้ว ทั้งมิได้ฟังต่อบุคคลอื่น แต่ว่า เขาย่อมกระทำด้วยความคิดตามธรรมดาของตน. จริงอยู่ ฐานะแห่งวิชานั้นอันบุคคลผู้มีปัญญา แม้ทำตามธรรมดาของตน ก็ย่อม เป็นเช่นกับบุคคลอื่นที่เรียนมากระทำอยู่ให้สำเร็จนั่นแหละ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 650
คำว่า กมฺมสฺสกตํ วา (กัมมัสสกตาญาณ) ได้แก่ ญาณคือการรู้อย่างนี้ว่า กรรมนี้เป็นของสัตว์ทั้งหลาย กรรมนี้เป็นของเราทั้งหลาย ดังนี้.
คำว่า สจฺจานุโลมิกํ วา (สัจจานุโลมิกญาณ) ได้แก่ วิปัสสนาญาณ.
จริงอยู่ วิปัสสนาญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า สัจานุโลมิกญาณ ก็เพราะคล้อยตามสัจจะ ๔.
บัดนี้ เพื่อแสดงซึ่งอาการคือความเป็นไปแห่งสัจจานุโลมิกญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า รูปํ อนิจฺจนฺติ วา (รูปไม่เที่ยง) เป็นอาทิ. ก็รูปมีความไม่เที่ยงเป็นลักษณะนั่นแหละ มาแล้วในข้อว่า รูปํ อนิจฺจํ นี้ มิใช่มีทุกข์เป็นลักษณะ หรือมีอนัตตะเป็นลักษณะ. แต่พึงทราบว่า เมื่อว่าโดยอำนาจแห่งอรรถ (เนื้อความ) แล้ว สภาวะเหล่านั้นพึงเป็นอย่างเดียวกัน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ยญฺหิ อนิจฺจํ ตํ ทุกฺขํ ยํ ทกฺขํ ตํ อนตฺตา (สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา) ดังนี้.
คำว่า ยํ เอวรูปึ (อันใดซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น) ได้แก่ ญาณใดเป็นสภาวะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายไว้ตอนหลังอย่างนี้ ญาณนั้น ชื่อว่า อนุโลมิกญาณ.
คำว่า ขนฺตึ ()(๑) เป็นต้น เป็นไวพจน์ของ ปัญญา ทั้งนั้น. จริงอยู่ ปัญญา นั้น ชื่อว่า อนุโลมิกะ เพราะอรรถว่า ย่อมอนุโลม (คล้อยตาม) ด้วยการแสดงความไม่เป็นข้าศึกแก่เหตุ ๕ อย่าง มีบ่อเกิดแห่งการงานเป็นต้น ที่พระผู้มี-
(๑) คือ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 651
พระภาคเจ้าตรัสไว้ในหนหลัง. อนึ่ง ปัญญา ชื่อว่า อนุโลมิกะ เพราะอรรถว่า ย่อมคล้อยตามประโยชน์ แห่งสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ด้วย ย่อมคล้อยตามมัคคสัจจะดังนี้ด้วย ย่อมคล้อย ตาม เพราะการคล้อยตามพระนิพพานอันเป็นปรมัตถสัจจะ ดังนี้ก็ได้.
ญาณใด ย่อมอดทน ย่อมสามารถ ย่อมอาจเพื่อเห็นซึ่งเหตุเป็นที่กระทำ (การณะ) (๑) แม้ทั้งหมดเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ญาณนั้น จึงชื่อว่า ขันติ. ชื่อว่า ทิฏฐิญาณ เพราะอรรถว่าเห็น. ชื่อว่า รุจิญาณ เพราะอรรถว่าชอบใจ. ชื่อว่า มุติญาณ เพราะอรรถว่ารื่นเริง. พระบาลีว่า มุทตีติ มุทีติ (ชื่อว่า มุติญาณ เพราะอรรถว่าบันเทิง) ดังนี้ ก็มี. ชื่อว่า เปกขญาณ เพราะอรรถว่าเพ่ง. ธรรมทั้งหลายมีบ่อเกิดแห่งการงานเป็นต้นแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมทนต่อการเพ่งแห่งญาณนั้น . อนึ่ง เมื่อว่าโดยพิเศษ ธรรมทั้งหลายกล่าวคือขันธ์ ๕ เมื่อเข้าไปเพ่งพิจารณาบ่อยๆ ด้วยสามารถแห่งความเป็นสิ่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมทนต่อการเพ่งนั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า ธัมมนิชฌานขันติญาณ.
คำว่า ปรโต อสุตฺวา ปฏิลภติ (บุคคลมิได้ฟังจากผู้อื่น ย่อมได้... ) ได้แก่ มิได้ฟังคำแนะนำของผู้อื่น คิดอยู่เองนั่นแหละ ย่อมได้...
คำว่า อยํ วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ได้แก่ ปัญญานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า จินตามยปัญญา.
ก็จินตามยปัญญานั้น ย่อมไม่เกิดแก่บุคคลพวกใดพวกหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้นแก่พระมหาสัตว์ทั้งหลายผู้รู้ยิ่งเท่านั้น.
สัจจานุโลมิกญาณแม้ในที่นี้ ก็ย่อมเกิดแก่พระโพธิสัตว์ทั้งสอง (ทฺวินฺนํเยว โพธิสตฺตานํ) เท่านั้น.
(๑) การณะ คือ กัมมะ ศิลปะ วิชา กัมมัสสกตาญาณ สัจจานุโลมิกญาณ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 652
ปัญญาที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีปัญญามากแม้ทั้งหมดซึ่งมีบารมีเต็มแล้ว.
อธิบายสุตมยปัญญา
ในคำว่า ปรโต สุตฺวา ปฏิลภติ (ได้ฟังจากผู้อื่นแล้วย่อมได้) นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ปัญญาทั้งหมดที่บุคคลได้แล้ว เพราะเห็นบ่อเกิดแห่งการงานเป็นต้นอันบุคคลอื่นกำลังทำอยู่ หรือทำเสร็จแล้วก็ดี ฟังถ้อยคำของใครๆ ผู้บอกอยู่ก็ดี เรียนเอาในสำนักของอาจารย์ก็ดี ชื่อว่า บุคคลฟังจากผู้อื่นแล้วนั่นแหละ จึงได้.
อธิบายภาวนามยปัญญา
คำว่า สมาปนฺนสฺส (ผู้เข้าสมาบัติ) อธิบายว่า ปัญญาในภายในสมาบัติของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสมาบัติ ชื่อว่า ภาวนามยปัญญา.
อธิบายทานมยปัญญา
คำว่า ทานํ อารพฺภ (ปรารภทาน) ได้แก่ อาศัยทาน อธิบายว่า มีเจตนาในการให้เป็นปัจจัย. คำว่า ทานาธิคจฺฉ (บุคคลผู้ให้ทาน) อธิบายว่า บุคคลผู้กำลังน้อมเข้าไปให้อยู่ซึ่งทาน ชื่อว่า ผู้ให้ทาน. คำว่า ยา อุปฺปชฺชติ (ย่อมเกิดขึ้น) ได้แก่ ปัญญาใดอันสัมปยุตด้วยเจตนาในทานย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ ปัญญานี้ ชื่อว่า ทานมยปัญญา. ก็เมื่อบุคคลคิดว่า เราจักให้ทานดังนี้ ก็ให้ทานอยู่ ครั้นให้ทานแล้ว ก็พิจารณาอยู่ซึ่งทานนั้น.
ทานมยปัญญานั้น ย่อมเกิดขึ้นโดยอาการ ๓ อย่าง คือ
ปุพพเจตนา
มุญจนเจตนา
อปรเจตนา
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 653
อธิบายสีลมยปัญญา
แม้ในคำว่า สีลํ อารพฺภ สีลาธิคจฺฉ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาปัญญาอันสัมปยุตด้วยเจตนาในศีล ว่าเป็น สีลมยปัญญา. แม้สีลมยปัญญานี้เกิดขึ้นโดยอาการ ๓ อย่าง คือ ปุพพเจตนาแก่บุคคลผู้คิดอยู่ว่า เราจักยังศีลให้บริบูรณ์ ดังนี้ มุญจนเจตนาแก่บุคคลผู้กำลังยังศีลนั้นให้บริบูรณ์ อปรเจตนาแก่บุคคลผู้ยังศีลให้บริบูรณ์แล้วพิจารณาศีลนั้นอยู่. สำหรับภาวนามยปัญญา ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.
อธิบาย อธิสีลปัญญา เป็นต้น
ใน อธิสีลปัญญา เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบศีลเป็นต้น โดยเป็นไปอย่างละ ๒ คือ ศีล อธิศีล, จิต อธิจิต, ปัญญา อธิปัญญา. ในคำเหล่านั้น ศีล ๕ ก็ดี ศีล ๑๐ ก็ดี ชื่อว่า ศีล ด้วยสามารถแห่งการสงเคราะห์ลงในแบบแผนนี้ว่า พระตถาคตทั้งหลายจะทรงอุบัติขึ้นหรือไม่ทรงอุบัติขึ้นก็ตามที ธาตุ ธัมมฐิติ (ความตั้งอยู่โดยธรรมแห่งธาตุ) ธัมมนิยาม (ความกำหนดโดยธรรมแห่งธาตุ) เหล่านั้นก็ดำรงอยู่แล้วเทียว. จริงอยู่ เมื่อพระตถาคตทรงอุบัติขึ้นก็ดี ยังไม่ทรงอุบัติขึ้นก็ดี ศีลนั้นก็มีอยู่.
ถามว่า เมื่อพระตถาคตยังมิได้ทรงอุบัติขึ้น ใครเล่าย่อมบัญญัติศีล (คือย่อมประกาศให้รู้).
ตอบว่า ดาบส ปริพาชก สัพพัญญูโพธิสัตว์ และพระเจ้าจักรพรรดิราชย่อมบัญญัติศีล.
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว ภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ อุบาสก และอุบาสิกา ย่อมประกาศให้รู้ซึ่งศีลนั้น. อนึ่ง เมื่อพระตถาคตทรงอุบัติขึ้นแล้วนั้นแหละ ปาฏิโมกขสังวรศีลอัน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 654
เป็นศีลยิ่งกว่าศีลทั้งหมดจึงปรากฏขึ้น เมื่อพระตถาคตยังมิได้ทรงอุบัติ ปาฏิโมกขสังวรศีลนั้นก็มิได้ปรากฏ ด้วยว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ย่อมบัญญัติประกาศซึ่งปาฏิโมกขสังวรศีลนั้น หาใช่เป็นวิสัยของชนเหล่าอื่นที่จะบัญญัติว่า ชื่อว่าศีลข้อนี้ ย่อมมีเพราะการก้าวล่วงในเรื่องนี้ ดังนี้. อันนี้เป็นวิสัยแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น และเป็นกำลังของพระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วยประการฉะนี้. ปาฏิโมกขสังวรศีลนี้เป็นอธิศีลเพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้นเพื่อทรงแสดงอธิสีลปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปาฏิโมกฺขสํวรํ สํวรนฺตสฺส เป็นต้น (ปัญญาเกิดแก่ผู้สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวรศีล) ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง สมาบัติ ๘ อันเป็นเครื่องดำเนินไปในวัฏฏะ ชื่อว่า จิต ด้วยสามารถแห่งการสงเคราะห์ไว้ด้วยแบบแผนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในหนหลังนั่นแหละ. จริงอยู่ จิตอันเป็นไปในสมาบัติ ๘ เหล่านั้น เมื่อพระตถาคตทรงอุบัติแล้วก็ตาม ไม่ทรงอุบัติก็ตาม จิตเช่นนั้นย่อมเกิดขึ้นได้.
ถามว่า เมื่อพระตถาคตยังมิได้ทรงอุบัติขึ้น ใครเล่าย่อมยังจิตอันเป็นไปในสมาบัติเหล่านั้นให้เกิดขึ้น.
ตอบว่า ดาบส ปริพาชก พระสัพพัญญูโพธิสัตว์ และพระเจ้าจักรพรรดิราช.
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติแล้ว ชนทั้งหลายผู้ปรารถนาคุณวิเศษแม้มีภิกษุเป็นต้น ย่อมยังจิตเช่นนั้นให้เกิดขึ้นได้. แต่ว่า สมาบัติ ๘ อันเป็นบาทให้วิปัสสนาอันยิ่งกว่าจิตทั้งปวงเกิดขึ้นนั้น เมื่อพระตถาคตทรงอุบติแล้วเท่านั้นจึงมีได้ ยังมิได้ทรงอุบัติขึ้น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 655
จิตเช่นนั้นหามีได้ไม่. พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ย่อมทรงบัญญัติประกาศจิตอันเป็นไปในสมาบัติ ๘ อันเป็นบาทแห่งวิปัสสนาเหล่านั้นไว้ ด้วยประการฉะนี้. สมาบัติ ๘ เป็นอธิจิตเพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้นเพื่อแสดงปัญญาอันบรรลุเป็นอธิจิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า รูปาวจรารูปาวจรสมาปตฺตึ สมาปชฺชนตสฺส เป็นต้น (ปัญญา ... อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติและอรูปาวจรสมาบัติ).
ก็กัมมัสสกตาญาณ ชื่อว่า ปัญญา ด้วยสามารถแห่งการสงเคราะห์ไว้ในแบบแผนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในหนหลังนั่นแหละ. จริงอยู่ เมื่อพระตถาคตทรงอุบัติแล้วก็ดี ยังมิทรงอุบัติก็ดี กัมมัสสกตาญาณนั้นก็มีได้ คือ เมื่อพระตถาคตยังมิทรงอุบัติขึ้น กัมมัสสกตาญาณนั้ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจของการให้ทานของเวลามพราหมณ์และของพระเวสสันดรเป็นต้น. ครั้นเมื่อพระตถาคตทรงอุบัติแล้ว ประมาณบุคคลผู้ยังมหาทานให้เป็นไปด้วย ญาณนั้นหาได้ไม่.
ปัญญาในมรรคและผลเป็นสภาพยิ่งกว่าปัญญาทั้งหมด เมื่อพระตถาคตทรงอุบัติแล้วเท่านั้น จึงเป็นสภาวะแผ่ออกไป เมื่อยังมิได้ทรงอุบัติขึ้น หาเป็นเช่นนั้นไม่ ด้วยประการฉะนี้. ปัญญา ในมรรคและผล ชื่อว่า อธิปัญญา เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงซึ่งปัญญาด้วยอธิปัญญา จึงตรัสคำว่า จตูสุ มคฺเคสุ เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.
ถามว่า ในส่วนทั้ง ๖ เหล่านั้น คือ ศีล อธิศีล จิต อธิจิต ปัญญา อธิปัญญา พึงมีไซร้ วิปัสสนาปัญญา อาศัยธรรมอันไหนเป็นไป.
ตอบว่า อาศัย อธิปัญญา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 656
ในข้อนี้ เปรียบเหมือนบุคคลเรียกว่า อธิฉัตรและอธิธัชซึ่งมีปริมาณยิ่งใหญ่กว่า เพราะเทียบกับฉัตร (ร่ม) หรือธัช (ธง) ซึ่งมีปริมาณน้อย ฉันใด แม้ปาฏิโมกขสังวรศีลนี้ ก็ฉันนั้น ชื่อว่า อธิศีล ก็เพราะเทียบกับศีล ๕ และศีล ๑๐ อันเป็นเบื้องต้น
สมาบัติ ๘ อันเป็นเครื่องดำเนินถึงวิปัสสนาเกิดขึ้น ชื่อว่า อธิจิต เพราะเทียบกับสมาบัติ ๘ อันเป็นเครื่องดำเนินไปในวัฏฏะ. วิปัสสนาปัญญา และปัญญาในมรรคในผล ชื่อว่า อธิปัญญา ดังนี้ ก็เพราะเทียบกับกัมมัสสกตาปัญญา ดังนี้.
อธิบาย อายโกศล เป็นต้น
ในนิทเทสแห่งอายโกศลเป็นต้น คำว่า อาโย ได้แก่ ความเจริญ อายะคือ ความเจริญนั้น มี ๒ อย่าง คือ อนัตถหานิ (การละความพินาศคืออกุศลธรรม) และ อัตถุปปัตติ (การยังประโยชน์คือกุศลธรรมให้เกิดขึ้น). คำว่า อปาโย ได้แก่ ความไม่เจริญ. ความไม่เจริญแม้นั้น ก็มี ๒ คือ อัตถหานิ (การละสิ่งเป็นประโยชน์คือกุศลธรรม) และ อนัตถุปปัตติ (การยังสิ่งทีไม่เป็นประโยชน์คืออกุศลธรรมให้เกิดขึ้น) เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิเม ธมฺเม มนสิกโรโต (เมื่อบุคคลใส่ใจธรรมเหล่านี้) เป็นต้น เพื่อแสดงปัญญานั้น.
คำว่า อิทํ วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) อธิบายว่า ปัญญาอันใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกชื่อว่า อายโกศล ก็เพราะทำไม่ให้อกุศลธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นและละอกุศลธรรมเหล่านี้ และเพราะทำกุศลธรรมทั้งหลายให้เกิดขึ้นและดำรงอยู่. ก็แล ปัญญานี้ใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นี้ชื่อว่า อปายโกศล ดังนี้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 657
ปัญญานั้นทำกุศลธรรมทั้งหลายไม่ให้เกิดขึ้นและดับกุศลธรรมทั้งหลาย และทำอกุศลธรรมทั้งหลายให้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ ดังนี้.
ถามว่า อายโกศล (ความเป็นคนฉลาดในอายะคือความเจริญ) นั้น จงยกไว้ก่อน อปายโกศล (ความเป็นคนฉลาดในอปายะคือความไม่เจริญ) ชื่อว่าเป็นปัญญาได้อย่างไร.
ตอบว่า เพราะว่า เมื่อบุคคลพิจารณาด้วยปัญญาของตนอย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า กุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป และย่อมรู้ชัดว่า อกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น อกุศลกรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญ ดังนี้ บุคคลนั้น ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ให้เพื่อการเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมละอกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว และย่อมยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ย่อมยังกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ถึงความบริบูรณ์ ด้วยการเจริญปัญญา. แม้ความเป็นผู้ฉลาดในอปายะด้วยอาการอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบ ว่าเป็นปัญญา ดังพรรณนามาฉะนี้.
ก็ในคำว่า สพฺพาปิ ตตฺรุปายา ปญฺา อุปายโกสลฺลํ นี้ (ปัญญาแม้ทั้งหมดที่เป็นอุบายแก้ไขในกิจรีบด่วน หรือภัยที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ชื่อว่า อุปายโกศล) บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งการรู้ถึงเหตุในการเกิดขึ้นแห่งฐานะ เพื่อแก้ไขในกิจการที่รีบด่วน หรือภัยที่เกิดขึ้นนั่นแหละ. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
ญาณวัตถุหมวด ๓ จบ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 658
อรรถกถาจตุกกนิทเทส
อธิบาย ญาณวัตถุหมวด ๔
ในคำว่า อตฺถิ ทินฺนํ (ทานที่ให้แล้วมีผล) เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้ว่า ผลมีอยู่เพราะทานอันตนให้แล้วเป็นปัจจัย ดังนี้.
คำว่า อิทํ วุจฺจติ (นี้เรียกว่า กัมมัสสกตาญาณ) อธิบายว่า ญาณใดย่อมรู้ว่ากรรมนี้เป็นของตน กรรมนี้มิใช่ของตน ดังนี้ ญาณนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกชื่อว่า กัมมัสสกตาญาณ.
ในบรรดากรรมทั้งสอง (คือ ทั้งของตนและมิใช่ของตนนั้น)
กรรม คือ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ มโนทุจริต ๓ เหล่านี้ ไม่ชื่อว่าเป็นกรรมของตน.
สุจริตกรรมแม้ทั้ง ๑๐ อย่างในทวารทั้ง ๓ ชื่อว่าเป็นกรรมของตน.
อกุศลแม้ทั้งหมดจะเป็นของตน หรือของบุคคลอื่นก็ตาม ไม่ชื่อว่าเป็นกรรมของตน.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะทำลายซึ่งประโยชน์ และเพราะทำสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ให้เกิดขึ้น.
กุศลแม้ทั้งหมดจะเป็นของตนเอง หรือของบุคคลอื่นก็ตาม ชื่อว่าเป็นกรรมของตน.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 659
ตอบว่า เพราะการทำลายสิ่งซึ่งมิใช่ประโยชน์ และเพราะทำประโยชน์ให้เกิดขึ้น.
ครั้นเมื่อกุศลสามารถเพื่ออันยังประโยชน์ (ความเจริญ) ให้เกิดขึ้นอย่างนี้ การกำหนดจำนวนบุคคลผู้ตั้งอยู่ในกัมมัสสกตาญาณนี้ อันสามารถรู้อย่างนี้ แล้วให้ทานมาก ยังศีลให้บริบูรณ์ สมาทานอุโบสถ แล้วเสวยความสุขด้วยความสุข เสวยสมบัติด้วยสมบัติ แล้วบรรลุพระนิพพาน นับประมาณมิได้.
เหมือนอย่างว่า บุรุษมีทรัพย์ยังบุคคลให้ยกวัตถุทั้งหลายมีเนยใส น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น และเกลือ เมล็ดงา ข้าวสาร เป็นต้น ใส่เกวียน ๕๐๐ เล่ม ดำเนินไปสู่ทางกันดาร (ท่องเที่ยวไปในวัฏฏะ) ครั้นเมื่อความต้องการด้วยกิจอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น เขาย่อมไม่พะวง คือไม่สะดุ้งกลัว ย่อมดำเนินไปจนถึงที่อันเกษมนั้น เพราะความที่อุปกรณ์ทั้งปวงเป็นของอันเขาครอบครองแล้ว ฉันใด บุคคลผู้ตั้งอยู่ในกัมมัสสกตาญาณแม้นี้ ให้ทานเป็นอันมาก ฯลฯ ย่อมดำเนินไปจนถึงพระนิพพาน จะนับจะประมาณหาได้ไม่ ฉันนั้นนั่นแหละ.
คำว่า เปตฺวา สจฺจานุโลมิกํ าณํ (ยกเว้นสัจจานุโลมิกญาณ) อธิบายว่า ยกเว้นวิปัสสนาญาณซึ่งมีชื่อว่า สัจจานุโลมิกญาณ เพราะการคล้อยตามมัคคสัจจะ และปรมัตถสัจจะแล้ว กุศลปัญญาที่เหลือเป็นไปกับด้วยอาสวะ ชื่อว่า กัมมัสสกตาญาณทั้งนั้น.
อธิบาย มัคคสมังคิญาณ
ในคำว่า มคฺคสมงฺคิสฺส าณํ ทุกฺเขเปตํ าณํ (มัคคสมังคิญาณ คือ ความรู้แม้ในทุกข์นี้) ได้แก่ มัคคญาณหนึ่งเท่านั้น ที่พระ-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 660
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาในฐานะ ๔ ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดสัจจะหนึ่ง ในสัจจะ ๔.
อธิบาย ธัมมญาณ เป็นต้น
คำว่า ธมฺเม าณํ (ธัมมญาณ) นี้ ปัญญาในมรรค ชื่อว่า ธัมมญาณ ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดสัจจะหนึ่งในสัจจะ ๔ จงยกไว้ก่อน ปัญญาในผล ชื่อว่าธัมมญาณได้อย่างไร ปัญญาในผลชื่อว่าธัมมญาณได้ด้วยสามารถแห่งนิโรธสัจจะ.
จริงอยู่ ปัญญาแม้ทั้งสองนั้น (คือในมรรคในผล) พึงทราบว่า ชื่อว่า ธัมมญาณ เพราะความที่ญาณนั้นเป็นไปโดยกิจและโดยอารมณ์ ในธรรมคือ อริยสัจ ๔ อันไม่มีสิ่งอื่นเป็นปัจจัย ซึ่งยังอรรถให้แจ่มแจ้ง
ในคำว่า โส อิมินา ธมฺเมน นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ธรรม โดยโวหารกล่าวว่าเป็นโคจร เพราะความที่มัคคญาณทั้งหลายมีธรรมเป็นโคจร. อีกอย่างหนึ่ง คำนี้เป็นตติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ซึ่งธรรมนี้ มีคำอธิบายว่า มัคคญาณ อันรู้ซึ่งสัจธรรม ๔ แล้วดำรงอยู่.
คำว่า ทิฏฺเน (ทรงเห็นแล้ว) อธิบายว่า ทรงเห็น คือ ทรงเห็นธรรมด้วยทัสสนะแล้วดำรงอยู่.
คำว่า ปตฺเตน (ทรงบรรลุแล้ว) คือ ทรงบรรลุซึ่งธรรม เพราะความที่พระองค์ทรงบรรลุอริยสัจ ๔ แล้วดำรงอยู่.
คำว่า วิทิเตน (ทรงรู้แจ้งแล้ว) ได้แก่ สัจจะ ๔ เป็นธรรมอันพระองค์รู้แจ้งแล้ว คือทรงกระทำให้ปรากฏด้วยมัคคญาณ. เพราะฉะนั้น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 661
อริยสัจ ๔ นั้น จึงชื่อว่า เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แจ้งแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงชื่อว่า มีธรรมอันทรงรู้แจ้งแล้ว.
คำว่า ปริโยคาฬฺหา (ทรงหยั่งถึงแล้ว) ได้แก่ ทรงหยั่งลงสู่สัจธรรมทั้ง ๔ แล้วดำรงอยู่. คำว่า นยํ เนติ (ส่งนัยไป) ได้แก่ ทรงน้อมไป ทรงนำไป ชื่อว่า ทรงส่งนัยไปในอดีตและอนาคต. อนึ่ง ในที่นี้เป็นกิจ (หน้าที่) ของปัจจเวกขณญาณ หาใช่เป็นกิจของมัคคญาณไม่. ก็นัยคือมัคคญาณ อันพระศาสดากระทำแล้วให้เป็นเช่นกับการน้อมไปในอดีตและอนาคต. เพราะเหตุไร เพราะความที่เป็นปัจจเวกขณะนั้นมีมรรคเป็นเหตุ. จริงอยู่ ปัจจเวกขณะนั้น ย่อมมีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีมรรคอันเจริญแล้ว. เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงทรงทำนัยคือมัคคญาณนั้นให้เป็นเช่นกับการน้อมไป. อีกนัยหนึ่ง พึงทราบอธิบายในข้อนี้ อย่างนี้ว่า มัคคญาณนี้ใด อันมีสัจจะ ๔ เป็นโคจร อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุแล้ว เพราะญาณนี้นั้นเป็นเหตุ พระองค์จึงทรงน้อมไปซึ่งนัยกล่าวคือปัจจเวกขณญาณในอดีตและอนาคต.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงน้อมไปซึ่งนัยด้วยญาณนั้น โดยประการใด เพื่อแสดงซึ่งอาการนั้น จึงตรัสคำว่า เย หิ เกจิ อตีตมทฺธานํ เป็นอาทิ. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อพฺภญฺึสุ (ได้รู้แล้ว) ได้แก่ สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง แทงตลอดแล้วในความรู้ทั้งหลาย. คำว่า อิมํเยว (นี้เอง) ได้แก่ สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้รู้ทุกข์ใดในอดีต จักไม่รู้แจ้งทุกข์นี้นั้นแหละหามิได้. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายไว้เช่นนี้ ก็เพราะอรรถเป็นอย่างเดียวกัน. จริงอยู่ แม้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 662
ในอดีตว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลายแทงตลอดแล้วซึ่งขันธ์อันเป็นไปในภูมิ ๓ นั่นแหละ เว้นตัณหา ว่าเป็นทุกขสัจจะ แทงตลอดแล้วซึ่งตัณหานั่นแหละ ว่าเป็นสมุทยสัจจะ แทงตลอดแล้วซึ่งพระนิพพานนั่นแหละ ว่าเป็นนิโรธสัจจะ แทงตลอดแล้วซึ่งอริยมรรคนั่นแหละ ว่าเป็นมัคคสัจจะ แม้ในอนาคตก็จักแทงตลอดอย่างนี้เทียว แม้ในปัจจุบันก็แทงตลอดอย่างนี้แหละ. ชื่อว่านัยทั้งหลายอื่นก็ตรัสไว้แล้วด้วยอรรถคล้ายกันทั้งนั้นแล.
คำว่า อิทํ วุจฺจติ อนฺวเย าณํ (นี้เรียกว่า อันวยญาณ) นี้ ย่อมตรัสว่า นี้เป็นอนุคมนญาณ (ญาณเครื่องตามรู้) นี้เป็นนยนญาณ (ญาณเครื่องน้อมไป) นี้เป็นการณญาณ (ญาณเป็นเหตุ).
คำว่า ปริจฺเฉทาณํ (ปริจจญาณ) ได้แก่ ญาณเป็นเครื่องกำหนดจิต. คำว่า ปรสตฺตานํ (ของสัตว์อื่น) ได้แก่สัตว์ที่เหลือเว้นตนเอง. คำว่า ปรสตฺตานํ นี้เป็นไวพจน์ของคำว่า สัตว์ที่เหลือ. คำว่า เจตสา เจโต ปริจฺจ ปชานาติ (กำหนดรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่นด้วยจิต) อธิบายว่า กำหนดจิตของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นด้วยจิตของตน แล้วรู้ได้โดยประการต่างๆ ด้วยสามารถแห่งจิตมีจิตมีราคะเป็นต้น. คำใดที่พึงกล่าวในบรรดาคำว่า จิตมีราคะ เป็นต้น คำนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในสติปัฏฐานวิภังค์ในหนหลังแล้วแล.
ก็ความต่างกันมีดังนี้ ในปริจจญาณนี้ แม้โลกุตตรจิตก็ย่อมได้ในคำว่า อนุตฺตรํ วา จิตฺตํ วิมุตฺตํ วา จิตฺตํ (จิตเป็นอนุตตระ หรือ จิตหลุดพ้น) นี้. จริงอยู่ จิตของผู้อื่น แม้ปัญญายังไม่เข้าไปเห็น ก็ชื่อว่าเป็นวิสัยของญาณนั่นแหละ.
คำว่า อวเสสา ปญฺา (ปัญญาที่เหลือ) ได้แก่ เว้นปัญญา ๓ อย่าง มีธัมมญาณเป็นต้น (คือเว้น ธัมมญาณ อันวยญาณ และปริจจญาณ) ที่เหลือแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ญาณ เพราะฉะนั้น ญาณนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 663
ตรัสเรียกว่า สัมมติญาณ. อนึ่งพึงทราบวจนัตถะว่า ชื่อว่า สัมมติญาณ เพราะอรรถว่า ความรู้ในสมมติ.
คำว่า กามาวจรกุสเล ปญฺา (ปัญญาในกามาวจรกุศล) อธิบายว่า ปัญญานี้ย่อมสั่งสมซึ่งจิตจุติและปฏิสนธิในวัฏฏะโดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นปัญญานั้น จึงชื่อว่า อาจยโนอาจยปัญญา เพราะสั่งสมอันหาความสิ้นสุดมิได้. แต่ปัญญาในโลกุตตรมรรค ไม่สั่งสมซึ่งจุติและ ปฏิสนธิ ฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า อปจยโนอาจยปัญญา. ปัญญาในรูปาวจร ย่อมสั่งสมจุติปฏิสนธิ ย่อมทำลายซึ่งกิเลสทั้งหลาย และธรรมทั้งหลายอันมีกิเลสเป็นมูลด้วย ด้วยสามารถแห่งการข่มไว้. ปัญญาที่เหลือย่อมสั่งสมจุติและปฏิสนธิก็ไม่ใช่ ไม่สั่งสมก็ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า เนวาจยโนอปจยปัญญา ดังนี้.
คำว่า น จ อภิญฺญาโย ปฏิวิชฺฌติ (แต่ไม่ได้แทงตลอดอภิญญา) นี้ ตรัสหมายเอาปัญญาในปฐมฌาน. จริงอยู่ ปัญญานั้นย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเบื่อหน่ายต่อกิเลส เพราะความที่ปฐมฌานนั้นเป็นธรรมอันพระโยคาวจรพึงบรรลุด้วยความสงัดจากกาม ก็บุคคลผู้มีราคะไปปราศแล้วในกามทั้งหลาย ย่อมมีด้วยปัญญาในปฐมฌานนั้น. อนึ่ง บุคคลผู้ปราศจากความยินดี เพราะปฐมฌานนั้น ย่อมไม่ชื่อว่า แทงตลอดซึ่งอภิญญาทั้ง ๕ (๑) เพราะมิได้บรรลุฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา และชื่อว่า ไม่แทงตลอดสัจจะทั้งหลาย เพราะความที่ปฐมฌานนั้นมีนิมิตเป็นอารมณ์ ด้วยอาการอย่างนี้ ปัญญานั้น จึงชื่อว่า ย่อมมีเพื่อความเบื่อหน่ายต่อกิเลสอย่างเดียว ย่อมไม่มีเพื่อการแทงตลอดสัจจะทั้งหลาย.
(๑) อภิญญาทั้ง ๕ คือ ๑. อิทธิวิธญาณ ๒.ทิพโสตธาตุญาณ ๓. เจโตปริยญาณ ๔. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๕. จตูปปาตญาณ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 664
คำว่า เสฺวว (บุคคลนั้น ... นั่นแล) ได้แก่ บุคคลผู้บรรลุปฐมฌานแล้วดำรงอยู่. คำว่า กาเมสุ วีตราโค สมาโน (ผู้ปราศจากความยินดีในกามทั้งหลาย) ได้แก่ ผู้มีราคะไปปราศแล้วด้วยอำนาจกามทั้งหลายอันตนข่มไว้แล้วอย่างนั้นนั่นแหละ. คำว่า อภิญฺาโย ปฏิวิชฺฌติ (แทงตลอดอภิญญา) นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาปัญญาในจตุตถฌาน. จริงอยู่ ปัญญาในจตุตถฌานย่อมแทงตลอดอภิญญา ๕ เพราะเป็นบาทแห่งอภิญญาบ้าง ย่อมแทงตลอดอย่างนั้นแหละเพราะบรรลุความเป็นอภิญญาบ้าง ฉะนั้น ปัญญานั้นย่อมมีเพื่อการแทงตลอด แต่ไม่มีเพื่อความเบื่อหน่าย ก็เพราะความที่ปัญญาในปฐมฌานเท่านั้นเป็นธรรมเพื่อความเบื่อหน่ายแม้ในกิเลสทั้งหลาย.
ถามว่า ปัญญาในทุติยฌานและตติยฌานนี้ใด ปัญญานี้นั้นย่อมเสพส่วนไหน (หมายความว่าปัญญาในฌานทั้งสองนี้พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้จะสงเคราะห์ในฌานที่ ๑ หรือที่ ๔)
ตอบว่า ปัญญาในทุติยฌานและตติยฌาน ย่อมเสพ (คือ จัดเข้าในประเภทปฐมฌาน) ด้วยอำนาจแห่งโสมนัสก็ได้ และย่อมเสพจตุตถฌานด้วย อำนาจแห่งความไม่มีวิตกก็ได้ ปัญญาในทุติยฌานและตติยฌานนั้น บัณฑิตพึงทำอธิบายให้เป็นปัญญาเพราะอาศัยปฐมฌาน หรือว่าอาศัยจตุตถฌาน ด้วยอาการอย่างนี้.
คำว่า นิพฺพิทาย เจว ปฏิเวธาย จ (เพราะความเบื่อหน่ายและเพราะการแทงตลอด) ได้แก่ มัคคปัญญาย่อมเกิดความเบื่อหน่ายเพราะความเบื่อหน่ายในวัฏฏะแม้ทั้งหมด และด้วยการแทงตลอดเพราะการแทงตลอดซึ่งอภิญญา ๖.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 665
อธิบาย หานคามินีปัญญา เป็นต้น
ในคำว่า ปมสฺส ฌานสฺส ลาภึ (พระโยคาวจรผู้ได้ปฐมฌาน) เป็นต้น อธิบายว่า โยคาวจรนี้ใดได้ปฐมฌานซึ่งยังไม่คล่องแคล่ว สัญญามนสิการเป็นธรรมสหรคตด้วยสามารถแห่งอารมณ์ย่อมปรากฏ ย่อมท้วง ย่อมรบกวนพระโยคาวจรให้เสื่อมจากฌานนั้น เพราะฉะนั้นปัญญาในปฐมฌานนั้นจึงเสื่อม เสื่อมรอบด้วยสามารถแห่งสัญญามนสิการอันเข้าไปเพ่งกามของบุคคลนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเรียกปัญญานั้นว่า หานภาคินี ดังนี้
คำว่า ตทนุธมฺมตา (สมควรแก่ธรรมนั้น) ได้แก่ เป็นสภาพสมควรแก่ปัญญานั้น. คำว่า สติ สนฺติฏฺติ (สติ ... ย่อมตั้งมั่น) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอามิจฉาสติ มิได้หมายเอาสัมมาสติ. จริงอยู่ นิกันติ (ความพอใจ) อันมีสภาพสมควรแก่ปฐมฌาน อันยินดีเพลิดเพลินอยู่ เพราะเห็นปฐมฌานโดยความเป็นธรรมละเอียดประณีต ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลใด ปัญญาในปฐมฌานนั้นของบุคคลนั้นย่อมไม่เสื่อม ย่อมไม่เจริญด้วยอำนาจแห่งนิกันติ ย่อมเป็นปัญญาอันมีส่วนแห่งการดำรงอยู่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกปัญญานั้นว่า ิติภาคินี ดังนี้.
คำว่า อวิตกฺกสหคตา (สหรคตด้วยฌานอันไม่มีวิตก) ได้แก่ ชื่อว่า สหรคตด้วยฌานอันไม่มีวิตก เพราะมนสิการทุติยฌานอันไม่มีวิตก ด้วยสามารถแห่งอารมณ์อันสงบประณีต. คำว่า สมุทาจรนฺติ (ย่อมซ่านไป) ได้แก่ ย่อมรบกวน ย่อมเตือนซึ่งพระโยคาวจรผู้ออกจากปฐมฌานอันคล่องแคล่วนั้น เพื่อต้องการบรรลุทุติยฌาน. อธิบายว่า ปัญญาในปฐมฌานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า วิเสสภาคินี เพราะความเป็นฐานะแห่งการเกิดขึ้น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 666
แห่งทุติยฌานอันเป็นของวิเศษ ด้วยสามารถแห่งสัญญามนสิการทั้งหลาย อันเข้าไปเพ่งซึ่งทุติยฌานอันมีในเบื้องบนแห่งปฐมฌานนั้น.
คำว่า นิพฺพิทาสหคตา (สหรคตด้วยนิพพิทาญาณ) ได้แก่ บุคคลผู้ได้ปฐมฌานนั้นออกจากฌานแล้ว สหรคตด้วยวิปัสสนาญาณกล่าวว่า นิพพิทา จริงอยู่ครั้นเมื่อการแตกไปแห่งองค์ของฌาณกำลังเป็นไป วิปัสสนาญาณย่อมเบื่อหน่าย ย่อมเดือดร้อน เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า นิพพิทาญาณ ดังนี้. คำว่า สมุทาจรนฺติ (ซ่านไป) ได้แก่ ย่อมเดือดร้อน ย่อมรบกวน เพื่อต้องการกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน. คำว่า วิราคูปสญฺหิตา (ประกอบด้วยวิราคะ) ได้แก่ ประกอบด้วยพระนิพพาน กล่าวคือ วิราคะ จริงอยู่ วิปัสสนาญาณอันมรรคนี้สามารถทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานคือ วิราคะ เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า ประกอบด้วยวิราคะ เพราะความเป็นไป. แม้สัญญามนสิการอันสัมปยุตด้วยวิราคะนั้น ก็ชื่อว่า ประกอบด้วยวิราคะนั่นแหละ ว่าด้วยอำนาจแห่งสัญญามนสิการทั้งหลายของวิปัสสนานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า นิพเพธภาคินี เพราะความเป็นปทัฏฐาน (คือ เป็นเหตุเกิดขึ้น) แห่งการแทงตลอดในฐานะทั้ง ๔ ด้วยประการฉะนี้. แม้ปัญญาในทุติยฌานเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความ โดยนัยนี้แหละ.
อธิบายปฏิปทาปัญญา ๔
คำว่า กิจฺเฉน กสิเรน สมาธึ อุปฺปาเทนฺตสฺส (ผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากลำบาก) ได้แก่ ผู้ยังโลกุตตรสมาธิให้เกิดขึ้นลำบาก อยู่ด้วยสัมปโยคะอันเป็นไปกับสังขาร โดยยาก ลำบาก เป็นทุกข์ ข่มกิเลสทั้งหลายแล้ว มาแล้วในกาลที่เข้าถึงส่วนเบื้องต้นแห่งบุคคลผู้จะยังโลกุตรสมาธิให้เกิดขึ้น. คำว่า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 667
ทนฺธํ ตณฺานํ อภิชานนฺตสฺส (รู้ฐานะนั้นก็ช้า) อธิบายว่า ในการอาศัยวิปัสสนาในกิเลสทั้งหลายที่ตนข่มไว้แล้วสิ้นกาลนาน จึงรู้ จึงบรรลุ จึงถึงฐานะ กล่าวคือโลกุตตรสมาธินั้นช้า ค่อยๆ เป็นไป. คำว่า อยํ วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ได้แก่ ปัญญานี้ใด ย่อมเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ คือ ปัญญานี้แม้เกิดขึ้นแล้วในขณะแห่งจิตดวงหนึ่งในกาลแห่งมรรค เพราะความที่ปฏิปทาซึ่งข่มกิเลสได้โดยยาก และเพราะความที่ปัญญาที่อาศัยอยู่ในวิปัสสนา ดำเนินไปช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก ตรัสรู้ได้ช้า) ด้วยสามารถแห่งการบรรลุ ดังนี้. แม้ในบททั้ง ๓ ข้างหน้าบัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้แหละ.
อธิบายอารัมมณปัญญา ๔
คำว่า สมาธิสฺส น นิกามลาภิสฺส (พระโยคาวจรผู้ได้สมาธิยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว) ได้แก่ พระโยคาวจรใด ไม่ได้สมาธิตามความต้องการ พระโยคาวจรนั้น ชื่อว่า ได้สมาธินั้นยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว. อธิบายว่า สมาธิของบุคคลใด ไม่เป็นปัจจัยเพื่อความพยายาม คือ เพื่อประโยชน์ในการเข้าสมาธิในเบื้องบนๆ สมาธิของบุคคลนั้นมีปกติในฌานอันไม่คล่องแคล่ว. คำว่า อารมฺมณํ โถกํ ผรนฺตสฺส (แผ่อารมณ์ไปเล็กน้อย) อธิบายว่า อารมณ์นั้น ชื่อว่า ไม่เจริญแล้ว เพราะทำบริกรรมในปริตตารมณ์มีประมาณเท่ากระด้งหรือถ้วยเป็นประมาณ (หมายถึงนิมิต) แล้วบรรลุอัปปนาในอารมณ์นั้นนั่นแหละ จึงชื่อว่า แผ่อารมณ์ไปเล็กน้อย ดังนี้. ในบทที่เหลือทั้งหลาย ก็นัยนี้. จริงอยู่ พระโยคาวจรผู้ได้ฌานอันคล่องแคล่ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ชื่อว่า นิกามลาภี (ผู้ได้สมาธิอันชำนาญคล่องแคล่ว) ดังนี้ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 668
บุคคลผู้ได้สมาธิอันยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว. ก็คำว่า แผ่อารมณ์ไปหาประมาณมิได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อการแผ่อารมณ์ไปเล็กน้อย. คำที่เหลือเช่นกับที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.
อธิบาย มัคคสมังคิญาณ เป็นต้น
คำว่า ชรามรเณเปตํ าณํ (ญาณแม้ในชราและมรณะนี้) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดเป็นอันเดียวกันแห่งสัจจะทั้ง ๔ เพราะกระทำพระนิพพานนั่นแหละให้เป็นอารมณ์. ก็คำว่า ชรามรณํ อารพฺภ (ปรารภชราและมรณะ) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการกำหนดสัจจะในบุพภาคในเวลาที่ปรารภวัตถุ (วัตถุสัจจะ) หนึ่งๆ (แต่ละอย่าง) เป็นไป. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
ญาณวัตถุหมวด ๔ จบ
อรรถกถาปัญจกนิทเทส
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๕
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปีติผรณตา (ปัญญาที่แผ่ปีติไป) เป็นต้น. ปัญญาใดเกิดขึ้นแผ่ไปซึ่งปีติ เพราะเหตุนั้น ปัญญาในฌาน ๒ นั้น จึงชื่อว่า แผ่ปีติไป. ปัญญาใดเกิดขึ้นแผ่ไปซึ่งความสุข เพราะเหตุนั้น ปัญญาในฌาน ๓ นั้น จึงชื่อว่า สุขผรณตา (แผ่ความสุขไป) . ปัญญาใดเกิดขึ้นแผ่จิตไปสู่บุคคลอื่น เพราะเหตุนั้น ปัญญากำหนดจิตบุคคลอื่นนั้น จึงชื่อว่า เจโตผรณตา (แผ่จิตไป) . ปัญญาใดเกิดขึ้นแผ่อาโลกะคือแสงสว่างไป เพราะเหตุนั้น ปัญญาอันเป็นทิพย-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 669
จักษุนั้น จึงชื่อว่า อาโลกผรณตา (แผ่แสงสว่างไป). ปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่า ปัจจเวกขณนิมิต. คำว่า ปญฺา ปีติผรณตา เป็นต้น ในฌาน ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ โดยคำเช่นกับที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
ก็ในคำเหล่านั้น การแผ่ปีติไป การแผ่สุขไป เป็นดุจเท้าทั้ง ๒ การแผ่จิตไป การแผ่อาโลกะคือแสงสว่างไปเป็นราวกะมือทั้ง ๒ ฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญาเป็นราวกะกายในท่อนกลาง ปัจจเวกขณนิมิตเป็นราวกะศีรษะ ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงสัมมาสมาธิมีองค์ ๕ ราวกะบุรุษผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยส่วนประกอบแห่งร่างกาย (คืออวัยวะน้อยใหญ่) ด้วยประการฉะนี้. คำว่า อยํ ปญฺจงฺคิโก สมฺมาทิฏิ (นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมีองค์ ๕) อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสมาธิแห่งฌานอันเป็นบาทว่า พระโยคาวจรนี้ ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕ เช่นกับด้วยมือ เท้า และศีรษะ ว่าเป็น สัมมาสมาธิ ดังนี้.
อธิบายสัมมาสมาธิมีฌาน ๕
สมาธิในอรหัตผล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในคำว่า อยํ สมาธิ ปจฺจุปฺปนฺนสุโข เจว เป็นต้น (สมาธินี้ มีสุขในปัจจุบันด้วย) ก็สมาธินั้น ชื่อว่า มีสุขในปัจจุบัน เพราะความเป็นสุขในขณะแห่งสมาธินั้นแน่วแน่แล้วๆ สมาธิที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่สมาธิที่เกิดหลังๆ จึงชื่อว่า อายตึ สุขวิปาโก (มีสุขเป็นวิบากต่อไป) เพราะความที่สุขนั้นเป็นปัจจัย. สมาธินั้น ย่อมยังผลจิต อันสงบ อันสุขุม อันประณีต อันเป็นมธุรรูป (รูปที่ดี) ให้ตั้งขึ้น.
จริงอยู่ เมื่อบุคคลออกจากผลสมาบัติแล้ว กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุขอาศัยโผฏฐัพพะมีสัมผัสเป็นสุขอันเข้าถึงกายทั้งปวง ย่อมเกิดขึ้น ชื่อว่า มีสุขเป็นวิบากต่อไปโดยปริยายแม้นี้. สมาธินี้ ชื่อว่า อริยะ (ไกล) เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลาย. ชื่อว่า นิรามิสะ (หาอามิสมิได้) เพราะความไม่มีอามิส คือ กาม
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 670
วัฏฏะ และ โลก. ชื่อว่า บุรุษผู้มีปัญญาทรามเสพไม่ได้ เพราะความที่มหาบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เสพแล้ว. ชื่อว่า สงบแล้ว เพราะสงบจากองค์ (คือ ส่วนประกอบ หรือเหตุ) เพราะสงบจากอารมณ์ และเพราะสงบแล้วจากความกระวนกระวายจากกิเลสทั้งปวง. ชื่อว่า ประณีต เพราะอรรถว่า ไม่เดือดร้อน. ชื่อว่า ได้ความสงบระงับ เพราะได้ความสงบระงับกิเลส หรือว่า เพราะความที่ภาวะคือความสงบระงับจากกิเลสอันตนได้แล้ว. จริงอยู่ คำว่า ความสงบระงับ ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิ นี้ ย่อมชื่อว่า เป็นธรรมเอกโดยอรรถ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ได้ความสงบระงับ แม้เพราะความเป็นพระอรหันต์อันตนได้แล้ว และเพราะกิเลสสงบระงับไปแล้ว. ชื่อว่า บรรลุแล้วโดยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะความที่ตนบรรลุแล้วโดยความเป็นธรรมแน่วแน่ หรือ เพราะความที่บรรลุแล้วซึ่งความเป็นสมาธิ. ชื่อว่า ไม่ได้บรรลุโดยการข่มนิวรณ์ ห้ามกิเลสที่เป็นสสังขาริก เพราะความที่สมาธินั้นไม่ได้ข่มปัจจนิกธรรม (ธรรมอันเป็นข้าศึก) แล้วห้ามกิเลสทั้งหลายด้วยจิตอันประกอบพร้อมเป็นไปกับสังขารแล้วจึงบรรลุ เหมือนสมาธิอันเป็นไปกับด้วยอาสวะซึ่งมีคุณอันน้อย ก็เมื่อพระโยคาวจรเข้าสมาธินั้น (สัมมาสมาธิ) หรือว่า ออกจากสมาธินั้น ย่อมเป็นผู้มีสติเข้าสมาธิ และมีสติออกจากสมาธิ. อีกอย่างหนึ่ง มีสติอยู่ย่อมเข้า สมาธิ และมีสติอยู่ย่อมออกจากสมาธิด้วยสามารถแห่งกาลตามที่กำหนดไว้ได้ เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ ญาณใดอันไม่มีสิ่งอื่นเป็นของเฉพาะตนเท่านั้น ย่อมเกิดแก่ผู้พิจารณาอยู่อย่างนี้ว่า สมาธินี้มีความสุขในปัจจุบันด้วย มีสุขเป็นวิบากต่อไปด้วย ดังนี้ นี้เป็นองค์หนึ่ง (ในบรรดาองค์ ๕) แม้ในองค์ที่เหลือก็นัยนี้. สมาธินี้ ชื่อว่า สัมมาสมาธิ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยปัจจเวกขณญาณ ๕ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
ญาณวัตถุหมวด ๕ จบ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 671
อรรถกถาฉักกนิทเทส
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๖
คำว่า อิทฺธิวิเธ าณํ (แปลว่า อิทธิวิธญาณ) บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า ญาณในการแสดงฤทธิ์อันเป็นไปโดยนัยว่า บุคคลแม้คนเดียว ทำให้เป็นบุคคลมากได้ ดังนี้ เป็นต้น. รูปาวจรทั้งหลายอันสหรคตด้วยอุเบกขา อันไม่มีวิตกและวิจาร เป็นปัญญาในอัปปนาซึ่งมีขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง อันสำเร็จซึ่งความเป็นบุคคลมากนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยคำว่า อิทฺธิวิเธ าณํ นี้.
คำว่า โสตธาตุวิสุทฺธิยา าณํ (แปลว่า โสตธาตุวิสุทธิญาณ) ได้แก่ ญาณในทิพโสตธาตุ อันมีเสียงไกลและใกล้เป็นอารมณ์ อธิบายว่า รูปาวจรอันสหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีวิตกและวิจาร จัดเป็นปัญญาเทียว ซึ่งมีขณะแห่งจิตดวงหนึ่งอันมีเสียงล่วงวิสัยแห่งโสตธาตุธรรมดาเป็นอารมณ์แม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยคำว่า โสตธาตุวิสุทฺธิยา าณํ ดังนี้.
คำว่า ปรจิตฺเต าณํ (แปลว่า ปรจิตตญาณ) ได้แก่ ญาณ ในการกำหนดจิตของสัตว์อื่น อธิบายว่า ปัญญาในอัปปนาเทียว อันเป็นขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง มีจิตมีราคะเป็นต้นของสัตว์อื่นเป็นอารมณ์ มีประการตามที่กล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยคำว่า ปรจิตฺเต าณํ แม้นี้.
คำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติาณํ ได้แก่ ญาณอันสัมปยุตด้วยการตามระลึกถึงขันธ์อันเคยอาศัยในกาลก่อน อธิบายว่า ปัญญาในอัปปนาเทียว ซึ่งเป็นขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง สัมปยุตด้วยสติเป็นเครื่องตามระลึกถึงขันธ์อันเคย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 672
อาศัยแล้วในกาลก่อน มีประการตามที่กล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยคำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติาณํ แม้นี้.
คำว่า สตฺตานํ จุตูปปาเต าณํ ได้แก่ ญาณในการจุติและในการอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า ปัญญาในอัปปนาเทียวอันเป็นขณะแห่งจิตดวงหนึ่งซึ่งมีวรรณธาตุของสัตว์ทั้งหลายผู้ตายและเกิดเป็นอารมณ์มีประการตามที่กล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยคำว่า สตฺตานํ จุตูปปาเต าณํ แม้นี้.
คำว่า อาสวานํ ขเย าณํ (แปลว่า อาสวักขยญาณ) ได้แก่ ญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้สัจจะ ก็ญาณนี้เท่านั้นเป็นโลกุตตระ ญาณที่เหลือ ๕ เป็นโลกีย์ ดังนี้แล.
าณวัตถุหมวด ๖ จบ
อรรถกถาสัตตกนิทเทส
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๗
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสซึ่งปัจจเวกขณญาณอันต่างโดยกาล ๓ ในองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท ๑๑ ไว้แต่ละองค์ ด้วยสามารถแห่งความเป็นไปและไม่เป็นไป โดยนัยว่า ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เป็นต้น แล้วก็ตรัสญาณอันใดนั้นโดยสังเขปอย่างนี้ว่า ความรู้ว่า ธัมมฐิติญาณของบุคคลนั้น ดังนี้อีก โดยประการทั้งหลาย มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็นต้น. บรรดาญาณเหล่านั้น ญาณ ๒ หมวด คือ ชรามรณะเกิดเพราะชาติปัจจัย เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 673
ก็ไม่มี ดังนี้ ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งปัจจุบันกาลอันยาวนาน (๑). ญาณ ๖ เหล่านี้ คือ ญาณ ๒ หมวดในอดีต และญาณ ๒ หมวดในอนาคต อย่างนี้ว่า อดีตกาลอันยาวนานก็ดี อนาคตอันยาวนานก็ดี (รวมปัจจุบันอีก ๒) เป็น ๗ กับด้วยธัมมฐิติญาณ. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ธมฺมิติาณํ (แปลว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย) ได้แก่ ญาณในปัจจยาการ. จริงอยู่ ปัจจยาการ (คือธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น) พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมเรียกว่า ธรรมฐิติดังนี้ เพราะความที่ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เป็นเหตุ (การณะ) แห่งการเป็นไปและตั้งอยู่. ธัมมฐิติญาณนี้ เป็นชื่อของญาณ ๖ อย่างนั้น นั่นแหละ. เพราะทำญาณเหล่านั้นในองค์หนึ่งๆ ให้เป็นหมวดละ ๗ ละ ๗ ในองค์ ๑ (ปัจจยาการ ๑๑) จึงรวมเป็น ๗๗ ญาณ ด้วยประการฉะนี้.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ขยธมฺมํ (แปลว่า มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา) ได้แก่สภาวะอันถึงซึ่งความสิ้นไป. คำว่า วยธมฺมํ (แปลว่า มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา) ได้แก่สภาวะอันถึงซึ่งความเสื่อมไป. คำว่า วิราคธมฺมํ (แปลว่า มีความคลายไปเป็นธรรมดา) ได้แก่ ภาวะอันไม่น่ายินดี. คำว่า นิโรธธมฺมํ (แปลว่า มีความดับไปเป็นธรรมดา) ได้แก่ สภาวะอันหมดไป.
ถามว่า มีประโยชน์อะไรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยคำกล่าวมานี้.
ตอบว่า เพื่อวิปัสสนาในเวลาอื่นอีก (คือ ในอนาคตกาล) พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสให้พิจารณาด้วยวิปัสสนาในธรรมอันมีมาก่อน.
(๑) ปัจจุบัน ๔ คือ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันสันตติ ปัจจุบันสมัย และปัจจุบันอัทธา อดีตและอนาคต ก็มีอย่างละ ๔ เช่นเดียวกัน (จากสัมโมหวิโนทนีอรรถกถา หน้า ๙)
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 674
ถามว่า ด้วยคำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสซึ่งวิปัสสนาอย่างไร?
ตอบว่า ตรัสวิปัสสนา และปฏิวิปัสสนา สิ้น ๗ ครั้ง.
จริงอยู่ ญาณ (วิปัสสนา) นั้น ย่อมควรเพื่ออันเห็นด้วยญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ ๒ เพราะเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในสังขารทั้งปวงด้วยญาณ (วิปัสสนา) ที่ ๑. ญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ ๒ ย่อมควรเพื่ออันเห็นสภาพเหล่านั้น ด้วยญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ ๓. ญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ ๓ ย่อมควรเพื่อการเห็นสภาพเหล่านั้นด้วยญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ ๔. ญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ ๔ ย่อมควรเพื่ออันเห็นสภาพเหล่านั้นด้วยญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ ๕. ญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ ๕ ย่อมควรเพื่ออันเห็นสภาพเหล่านั้นด้วยญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ ๖. ญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ ๖ ย่อมควรเพื่ออันเห็นสภาพเหล่านั้นด้วยญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ ๗ อีก. ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสวิปัสสนา และปฏิวิปัสสนาไว้สิ้น ๗ ครั้ง ฉะนี้แล.
ญาณวัตถุหมวด ๗ จบ
อรรถกถาอัฏฐกนิทเทส
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๘
คำว่า โสตาปตฺติมคฺเค ปญฺา ได้แก่ ปัญญาในโสดาปัตติมรรค อธิบายว่า ปัญญาอันสัมปยุตด้วยโสดาปัตติมรรคนี้นั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยคำว่า โสตาปตฺติมคฺเค ปญฺา นี้. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัย นี้ แล.
ญาณวัตถุหมวด ๘ จบ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 675
อรรถกถานวกนิทเทส
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๙
คำว่า อนุปุพฺพวิหารสมาปตฺตีสุ ได้แก่ สมาบัติทั้งหลาย กล่าวคือ ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ (อนุปุพพวิหาร). ความที่ปัญญาเหล่านั้น ชื่อว่า อนุปุพพวิหาร เพราะอรรถว่า อันพระโยคาวจรพึงเข้าอยู่ในกระบวนโดยลำดับ. พึงทราบความที่ปัญญาเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นสมาบัติ (การเข้าฌาน) เพราะอรรถว่า เป็นธรรมอันพระโยคาวจรพึงถึงพร้อม. ในปัญญาเหล่านั้น พึงทราบ สัมปยุตตปัญญา ๘ อย่าง มีคำว่า ปัญญาในปฐมฌานสมาบัติ เป็นต้นอย่างนี้. ปัญญาในปัจจเวกขณะ (การพิจารณา) เป็นปัญญาข้อที่ ๙. จริงอยู่ ปัญญาในปัจจเวกขณะนั้น ย่อมเป็นไปแก่พระโยคาวจรผู้พิจารณาอยู่ โดยสงบ โดยประณีต. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปัจจเวกขณญาณของพระโยคาวจรบุคคลผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ดังนี้.
ญาณวัตถุหมวด ๙ จบ
อรรถกถาทสกนิทเทส
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๑๐
อธิบายกำลังที่ ๑ ของพระตถาคต
คำว่า อฏฺานํ (แปลว่า ไม่ใช่ฐานะ) ได้แก่ ปฏิเสธเหตุ. คำว่า อนวกาโส (แปลว่า ไม่ใช่โอกาส) ได้แก่ ปฏิเสธปัจจัย. แม้ด้วยคำทั้งสองก็ปฏิเสธการณะ (การณะ คือ เหตุนั่นแหละ). จริงอยู่ การณะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 676
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสเรียกว่า ฐานะ และ อวกาส (อวกาส คือ โอกาส) เพราะความที่การณะนั้นเป็นที่อาศัยให้เป็นไปแก่ผลของตน. คำว่า "ยํ" (แปลว่า ใด) ได้แก่ ด้วยเหตุใด.
คำว่า ทิฏฺิสมฺปนฺโน ได้แก่ พระอริยสาวกผู้เป็นพระโสดาบัน ถึงพร้อมแล้วด้วยมัคคทิฏฐิ. คำว่า กญฺจิ สงฺขารํ (แปลว่า สังขารอะไรๆ) ได้แก่ แม้สังขารอะไรๆ สักอย่างหนึ่งในสังขารทั้งหลายอันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ซึ่งเป็นไปในภูมิ ๔. คำว่า นิจฺจโต อุปคจฺเฉยฺย (แปลว่า พึงถือเอา... โดยความเป็นของเที่ยง) ได้แก่ พึงถือเอาว่าเป็นของเที่ยง. คำว่า เนตํ านํ วิชฺชติ (แปลว่าไม่ใช่ฐานะที่มีอยู่) ได้แก่ เหตุนั้นไม่มีอยู่ คือหยั่งเห็น (ด้วยปัญญา) ไม่ได้. คำว่า ปุถุชฺชโน ได้แก่ ปุถุชน... พึงยึดถือเอาด้วยเหตุใด. คำว่า านเมตํ วิชฺชติ ได้แก่ เหตุนี้มีอยู่. อธิบายว่า ก็ปุถุชนนั้นพึงยึดเอาซึ่งสังขารอะไรๆ ในบรรดาสังขารทั้งหลายอันเป็นไปในภูมิ ๔ ว่า เป็นของเที่ยง ด้วยสัสสตทิฏฐิ. ก็ () (๑) สังขารอันเป็นไปในภูมิ ๔ ย่อมไม่เป็นอารมณ์ของทิฏฐิหรือว่าของอกุศลทั้งหลายเหล่าอื่น ราวกะก้อนเหล็กแดงที่ร้อนตลอดวัน ย่อมไม่เป็นอารมณ์ของแมลงวันทั้งหลาย เพราะความเป็นของหนาแน่นด้วยไฟ ฉะนั้น. พึงทราบอธิบายแม้ในคำว่า กิญฺจิ สงฺขารํ สุขโต โดยนัยนี้. คำว่า สุขโต อุปคจฺเฉยฺย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาการยึดถือว่าเป็นสุขด้วยสามารถแห่งอัตตทิฏฐิ อย่างนี้ว่า ตนมี
(๑) ในที่นี้แปลตามบาลีอรรถกถาที่ว่า จตุภูมิกสังขาโร แต่โดยสภาวปรมัตถ์แล้วควรจะเป็นสังขารในภูมิที่ ๔ คือโลกุตตรธรรมจึงจะถูกต้อง ที่ไม่เป็นอารมณ์ของทิฏฐิและอกุศลทั้งหลาย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 677
ความสุขโดยส่วนเดียว เบื้องหน้าแต่การตาย ก็ไม่มีโรค ดังนี้เป็นต้น. ก็ พระอริยสาวกผู้ครอบงำซึ่งความเร่าร้อนแล้ว ด้วยจิตอันเป็นทิฏฐิวิปปยุต เหมือนนายหัตถาจารย์ผู้ยังช้างตกมันให้สะดุ้งเพื่อต้องการให้ความเร่าร้อนสงบระงับ เหมือนโปกขรพราหมณ์ผู้ใคร่ต่อความสะอาด ย่อมไม่ยึดถือสังขาร อะไรๆ ดุจคูถ ว่าเป็นความสุข. ในอัตตวาทะ (ในลัทธิว่าตนมีอยู่) พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสคำว่า สังขาร ดังนี้ เพื่อสงเคราะห์ซึ่งบัญญัติ มีกสิณบัญญัติเป็นต้น จึงตรัสว่า ธรรมอะไรๆ ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบการกำหนดในญาณแม้นี้ด้วยสามารถแห่งภูมิ ๔ ของพระอริยสาวก และด้วยสามารถแห่งภูมิ ๓ ของปุถุชน. อีกอย่างหนึ่ง การกำหนดในวาระทั้งปวง ด้วยสามารถแห่งภูมิ ๓ นั่นแหละ ย่อมควรแม้แก่พระอริยสาวก. ก็ปุถุชนย่อมยึดถือซึ่งสิ่งใดๆ พระอริยสาวกย่อมกำจัดซึ่งความยึดถือแต่สิ่งนั้นๆ. จริงอยู่ ปุถุชนย่อมยึดถือสังขารใดๆ ว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตาดังนี้ พระอริยสาวก เมื่อกำหนดสังขารนั้นๆ ว่า เป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ชื่อว่า กำจัดซึ่งความยึดถือ.
ในคำว่า มาตรํ (แปลว่า มารดา) เป็นต้น มารดาผู้เป็นที่เกิด บิดาก็คือผู้ให้เกิด. พระขีณาสพ ผู้เป็นมนุษย์เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์เอาในคำว่า ฆ่าพระอรหันต์. เมื่อมีคำถามว่า พระอริยสาวกพึงปลงสัตว์ลงจากชีวิต (ฆ่าสัตว์) หรือ ก็ต้องตอบว่า แม้ข้อนี้เป็น อฐานะ. แม้ถ้าว่า ใครๆ พึงกล่าวกะพระอริยสาวกผู้อยู่คนละภพก็ดี กะบุคคลผู้แม้ไม่รู้ความที่ตนเป็น
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 678
พระอริยสาวกก็ดีว่า ท่านจงปลงมดดำเล็กๆ ตัวนี้ลงจากชีวิตไซร้ แล้วก็จะถึงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้น ดังนี้. พระอริยสาวกนั้นจะไม่พึงปลงซึ่งสัตว์นั้นลงจากชีวิตแน่แท้. แม้อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะพระอริยสาวกนั้นอย่างนี้ว่า ถ้าท่านจักไม่ฆ่าซึ่งสัตว์นี้ลงจาก ชีวิตไซร้ พวกเราจักตัดศีรษะของท่าน ดังนี้ ชนเหล่านั้นก็จะพึงตัดศีรษะของพระอริยสาวกนั้นแน่ เพราะว่า ท่านไม่พึงฆ่าสัตว์นั้นเลย. ก็คำนี้กล่าวไว้ เพื่อแสดงของความเป็นปุถุชนมีโทษมาก และเพื่อแสดงซึ่งกำลังของพระอริยสาวก. จริงอยู่ ในญาณข้อนี้ พึงทราบอธิบายดังนี้
ปุถุชน จักกระทำอนันตริยกรรม มีการฆ่ามารดาเป็นต้นใดแล ชื่อว่า ความเป็นปุถุชนผู้เป็นไปกับด้วยโทษ จักกระทำอนันตริยกรรมแม้นั้นได้. พระอริยสาวกชื่อว่า ผู้มีกำลังมาก เพราะท่านไม่ทำกรรมเหล่านี้ ดังนี้.
คำว่า ทุฏเน จิตฺเตน (แปลว่า ผู้มีจิตประทุษร้าย) ได้แก่ มีจิตฆ่าอันสัมปยุตด้วยโทสะ. คำว่า โลหิตํ อุปฺปาเทยฺย (แปลว่า ยังพระโลหิตของพระพุทธเจ้าให้ห้อขึ้น) ได้แก่ ยังพระโลหิตในสรีระของพระพุทธเจ้าผู้ยังทรงพระชนม์อยู่แม้มีประมาณการดื่มกินของแมลงตัวเล็กๆ ให้ห้อขึ้น.
คำว่า สงฺฆ์ ภินฺเทยฺย (แปลว่า พึงยังสงฆ์ให้แตกจากกัน) ได้แก่ ยังสงฆ์ผู้มีสังวาสเสมอกัน ผู้ตั้งอยู่ในสีมาเสมอกัน ให้แตกไปด้วยเหตุ ๕ ประการ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์ย่อมแตกจากกัน ด้วยอาการ ๕ ประการ คือ ด้วยกรรมอุทเทส การกล่าวขัดแย้งกัน อนุสาวนา การจับสลาก.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 679
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ด้วยกรรม ได้แก่ ในกรรม ๔ อย่าง มี อปโลกนกรรม (๑) เป็นต้น กรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง. คำว่า โดยอุทเทส ได้แก่ ในการสวดพระปาฏิโมกขุทเทส ๕ อย่าง ด้วยการสวดพระปาฏิโมกขุทเทสอย่างใดอย่างหนึ่ง. คำว่า การกล่าว ได้แก่ การกล่าวคือแสดงอยู่ซึ่งเภทกรวัตถุ (เรื่อง วิวาท) ๑๘ (๒) มีคำว่า อธมมํ ธมฺโม (แปลว่า สิ่งที่ไม่ใช่ธรรม กล่าวว่า เป็นธรรม) เป็นต้น โดยเรื่องวิวาทกันเหล่านั้นๆ ที่เกิดขึ้น. คำว่า โดยอนุสาวนา ได้แก่ ด้วยการกล่าวประกาศ เพราะเปล่งวาจาใกล้หู (เป่าหู) โดยนัยว่า ท่านทั้งหลายย่อมทราบซึ่งความที่เราบวชแล้วจากตระกูลสูง และเราก็ เป็นพหูสูต บุคคลชื่อว่าผู้เช่นกับด้วยเรา พึงถือเอาซึ่งคำสั่งสอนของพระพุทธ-
(๑) กรรม ๔ อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑ ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑
(๒) เภทกรวัตถุ ๑๘ คือ:-
๑. สิ่งไม่ใช่ธรรม กล่าวว่า เป็นธรรม
๒. สิ่งที่เป็นธรรม กล่าวว่า ไม่ใช่ธรรม
๓. สิ่งที่ไม่ใช่วินัย กล่าวว่า เป็นวินัย
๔. วินัย กล่าวว่า ไม่ใช่วินัย
๕. สิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ กล่าวว่า ไม่ได้ตรัสไว้
๖. สิ่งที่ตรัสไว้ กล่าวว่า ไม่ได้ตรัสไว้
๗. สิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเคยทำมา กล่าวว่า ไม่เคยทำมา
๘. สิ่งที่เคยทำมา กล่าวว่า ไม่เคยทำมา
๙. สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ กล่าวว่า ไม่ได้ทรงบัญญัติไว้
๑๐. สิกขาบทที่ไม่ทรงบัญญัติไว้ กล่าวว่า บัญญัติไว้
๑๑. วัตถุเป็นอาบัติ กล่าวว่า ไม่เป็นอาบัติ
๑๒. วัตถุไม่เป็นอาบัติ กล่าวว่า เป็นอาบัติ
๑๓. อาบัติเบา กล่าวว่า เป็นอาบัติหนัก
๑๔. อาบัติหนัก กล่าวว่า เป็นอาบัติเบา
๑๕. อาบัติที่แก้ไขได้ กล่าวว่า แก้ไขไม่ได้
๑๖. อาบัติที่แก้ไขไม่ได้ กล่าวว่า แก้ไขได้
๑๗. อาบัติหยาบช้า กล่าวว่า เป็นอาบัติไม่หยาบช้า
๑๘. อาบัติไม่หยาบช้า กล่าวว่า เป็นอาบัติหยาบช้า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 680
เจ้าผิดไปจากธรรมจากวินัยหรือ แม้แต่ความคิด ท่านทั้งหลายก็ไม่ควรเพื่อให้เกิดขึ้น ประโยชน์อะไรของเรา เราย่อมไม่กลัวอะไรๆ จากอบาย อวีจินรก เป็นธรรมชาติสงบ ราวกะดงแห่งดอกอุบลเขียว เป็นต้น. คำว่า โดยการจับสลาก ชื่อว่า การจับสลาก เพราะว่าครั้นประกาศอย่างนั้นแล้วจึงอุปถัมภ์เจตนาของบุคคลเหล่านั้นให้กำเริบ แล้วก็กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอาซึ่งสลากนี้ (หมายถึงเขียนสลากให้จับเพื่อให้เป็นพวกของตนมาก).
อนึ่ง ในข้อนี้ กรรม (การกระทำ) นั่นแหละเป็นอุทเทส หรือเป็นประมาณ (เครื่องกำหนด). ก็การถือเอาสลาก เพราะกล่าวขัดแย้งกัน และ การประกาศ จัดเป็นบุพภาค (เบื้องต้น). จริงอยู่ สงฆ์ยังไม่แตกกัน แม้เพราะบุคคลผู้กล่าวขัดแย้งกัน ด้วยสามารถแห่งการแสดงวัตถุ (เรื่องวิวาท) ๑๘ ข้อ เพราะการประกาศความต้องการให้เกิดความเห็นชอบในที่นั้นแล้วถือเอาสลาก (อันนี้คงหมายถึงการนับคะแนนว่าใครมีความเห็นทางไหนเป็นเหตุ ให้แตกแยกกัน). แต่ว่า เมื่อใดสงฆ์ถือเอาสลาก ๔ รูปหรือเกินกว่าด้วยอาการที่กล่าวมาแล้วก็ทำกรรม หรือทำอุทเทส สงฆ์แยกออกไปเป็น ๒ พวก ในกาลนั้น สงฆ์จึงชื่อว่า แตกกันแล้ว.
ข้อว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (มัคคทิฏฐิ) ด้วยอาการอย่างนี้ พึงทำลายสงฆ์นี้ มิใช่ฐานะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอนันตริยกรรม ๕ มีการฆ่ามารดาเป็นต้นไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ว่า ปุถุชนย่อมทำซึ่งอนันตริยกรรมใด พระอริยสาวกย่อมไม่ทำซึ่งกรรมนั้น.
เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งกรรมเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยนี้คือ
โดยกรรม
โดยทวาร
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 681
โดยการตั้งอยู่ตลอดกัป
โดยปากะ (ผลของกรรม)
โดยสาธารณะ
วินิจฉัย ว่าโดยกรรม
ในคำเหล่านั้น ว่าโดยกรรมก่อน. จริงอยู่ในอนันตริยกรรมนี้ เมื่อเป็นมนุษย์นั่นแหละแกล้งปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ ผู้มีเพศไม่เปลี่ยนแปลง (๑) (ฆ่ามารดาบิดา) อนันตริยกรรมย่อมมีแก่เขา. มนุษย์ผู้ทำกรรมนั้นคิดว่า เราจักห้ามวิบากของอนันตริยกรรมนั้น ดังนี้ จึงยังจักรวาลทั้งสิ้นให้เต็มด้วยพระสถูปอันสำเร็จแล้ว ด้วยทองคำมีประมาณเท่ามหาเจดีย์ก็ดี ยังภิกษุสงฆ์ผู้นั่งตลอดจักรวาลแล้วถวายมหาทานก็ดี จับชายผ้าสังฆาฏิของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วเที่ยวไปก็ดี ก็ย่อมเกิดในนรกนั่นแหละ เพราะกายแตก. แต่ว่า ผู้ใดเป็นมนุษย์แกล้งปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือว่า ตนเองเป็นสัตว์เดรัจฉานปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ หรือ เป็นสัตว์เดรัจฉานนั่นแหละปลงชีวิตมารดาบิดาผู้เป็นสัตว์เดรัจฉานให้ตกล่วงไป กรรมของผู้นั้นไม่เป็นอนันตริยกรรม. แต่ก็เป็นกรรมอันหนัก ย่อมตั้งอยู่จดอนันตริยกรรมนั่นแหละ. ปัญหานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งสัตว์ผู้เกิดเป็นมนุษย์.
ในข้อนี้ บัณฑิตพึงกล่าวถึง หมวด ๔ แห่งการฆ่าแพะ หมวด ๔ แห่งสงคราม และหมวด ๔ แห่งการฆ่าโจร ดังนี้ คือ
ก็มนุษย์ผู้ยังมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้แพะให้ตาย แม้ด้วยความมุ่งหมายว่า เราจักฆ่าแพะ ดังนี้ ย่อมได้รับอนันตริยกรรม. ก็
(๑) หมายความว่าเพศของบิดามารดาตั้งอยู่โดยปกติมิได้เปลี่ยนไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 682
มีเจตนาฆ่าแพะ (๑) แพะนั้นตายก็ดี เจตนาฆ่ามารดาบิดา (๒) แต่แพะตายก็ดี ย่อมไม่ได้รับอนันตริยกรรม. เจตนาฆ่ามารดาบิดา ยังมารดาบิดาให้ตายอยู่ ย่อมได้รับอนันตริยกรรมแน่นอน. ในหมวดทั้งสองที่เหลือนอกนี้ ก็นัยนี้แหละ.
ก็ใน มารดาและบิดาเป็นต้น ฉันใด แม้การฆ่าพระอรหันต์ ก็ฉันนั้น. บัณฑิตพึงทราบหมวด ๔ แห่งการฆ่าพระอรหันต์ ต่อไป.
ก็บุคคล ยังพระอรหันต์ผู้เป็นมนุษย์เท่านั้นให้ตาย ย่อมได้รับอนันตริยกรรม ยังพระอรหันต์ผู้เป็นยักษ์ให้ตาย ย่อมไม่เป็นอนันตริยกรรม แต่ก็เป็นกรรมอันหนัก เช่นกับอนันตริยกรรมนั่นแหละ. อนึ่ง เมื่อบุคคลประหารด้วยศัสตรา หรือแม้แต่ให้ยาพิษในกาลที่ท่านยังเป็นมนุษย์ปุถุชนนั่นแหละ ถ้าว่า ท่านบรรลุพระอรหัตแล้วก็ปรินิพพาน (ตาย) ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ย่อมเป็นอรหันตฆาตทีเดียว. แต่ทานที่บุคคลถวายในกาลที่ท่านยังเป็นปุถุชนอยู่ ครั้นท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วจึงฉันอาหารนั้น อาหารที่ถวายแล้ว ในกาลนั้น ย่อมชื่อว่าถวายแก่ปุถุชนเท่านั้น. เมื่อบุคคลฆ่าพระอริยบุคคลที่เหลือ (มีพระอินทร์เป็นต้น) ย่อมไม่จัดเป็นอนันตริยกรรม แต่ก็เป็นกรรมอันหนัก เช่นกับอนันตริยกรรมเหมือนกัน.
ในโลหิตตุปบาท ชื่อว่า การไหลออกแห่งพระโลหิตเพราะการตัดซึ่งธรรม (รูปธรรม) โดยการรุกรานของข้าศึกด้วยการทำให้กายแตกไปแห่งพระตถาคต ย่อมไม่มี. แต่จะมีก็เพียงโลหิตในที่หนึ่ง ประชุม (รวมกัน) ในภายในแห่งพระสรีระเท่านั้น. แม้สะเก็ดอันแตกไปแล้ว จากศิลาอันพระเทวทัตกลิ้งไปประหารที่สุดปลายพระบาทของพระตถาคต. พระบาทได้มีเพียงพระโลหิต
(๑) เจตนาฆ่าแพะโดยสำคัญว่าเป็นมารดาบิดา
(๒) เจตนาฆ่ามารดาบิดาโดยสำคัญว่าเป็นแพะ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 683
ห้อขึ้นภายในเท่านั้น การกระทำนั้นราวกะบุคคลประหารแล้วด้วยขวาน. เมื่อพระเทวทัตทำอยู่เช่นนั้น อนันตริยกรรมก็ได้มีแล้วแก่เขา.
ส่วน หมอชีวก ทำการผ่าตัดพระฉวี (ตัดหนัง) ของพระตถาคต ด้วยมีดตามชอบใจ แล้วนำพระโลหิตอันโทษประทุษร้ายออกจากที่นั้น ได้ทำให้ผาสุก. เมื่อหมอชีวกทำอยู่อย่างนั้นบุญกรรมเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น.
อนึ่ง เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว ชนเหล่าใดย่อมทำลายพระเจดีย์ ย่อมตัดซึ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ย่อมเหยียบย่ำพระธาตุ กรรมอะไร ย่อมมีแก่ชนเหล่านั้น. กรรมอันหนักเช่นกับอนันตริยกรรมย่อมเกิดแก่เขา. ก็แล บุคคลย่อมควรเพื่อตัดกิ่งมหาโพธิ์อันเบียดเบียนพระสถูปบรรจุพระธาตุพระรูปปฏิมากร (รูปจำลอง) หรือแม้ถ้าพวกนกทั้งหลายแอบแฝงที่ต้นมหาโพธิ์นั้นย่อมถ่ายวัจจะ (อุจจาระ) ตกลงไปที่พระเจดีย์ จึงสมควรเพื่อตัดกิ่งมหาโพธิ์นั้นทีเดียว. เพราะว่า สรีรเจดีย์ (เจดีย์ที่บรรจุพระธาตุ) ใหญ่กว่าบริโภคเจดีย์ (เจดีย์ที่บรรจุของใช้ของพระพุทธเจ้า) การตัดแม้ที่โคนต้นโพธิ์อันทำลายวัตถุเจดีย์ นำออกไปก็ควร. ก็กิ่งแห่งต้นโพธิ์ใด ย่อมเบียดเบียนเรือนโพธิ์ ไม่ควรตัดกิ่งโพธิ์นั้นเพื่อรักษาเรือนโพธิ์เอาไว้. จริงอยู่ เรือนเพื่อประโยชน์แก่ต้นโพธิ์มีอยู่ ไม่ควรตัดต้นโพธิ์เพื่อประโยชน์แก่เรือน. แม้ในเรือนอาสนะ (ที่เก็บพระธาตุ) ก็นัยนี้. แต่พระธาตุอันบุคคลรักษาไว้ที่เรือนอาสนะใด เพื่อต้องการรักษาเรือนอาสนะนั้น ควรเพื่อตัดกิ่งโพธิ์. และเพื่อต้องการรักษาต้นโพธิ์ไว้ สมควรตัดกิ่งที่นำโอชะออกไป หรือที่เน่า (ที่เสีย) นั่นแหละ. แม้บุญก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้น เช่นการปฏิบัติต่อพระสรีระ.
ในสังฆเภท เมื่อสงฆ์อยู่ในสีมาไม่ประชุมกันแล้ว สังฆเภท (การแตกแห่งสงฆ์) ด้วย อนันตริยกรรมด้วย ย่อมมีแก่ผู้กล่าวประกาศให้จับสลากกระทำแล้ว
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 684
เพราะถือเอาบริษัทเป็นคนละพวกกระทำอยู่ซึ่งกรรม หรือสวดอยู่ซึ่งอุทเทส. ก็เมื่อทำกรรม หรือสวดอุทเทส ด้วยความสำคัญว่ามีความพร้อมเพรียงกันจึงควรทำ. จริงอยู่ เมื่อทำกรรมด้วยสัญญาแห่งความพร้อมเพรียงกัน ความแตกแห่งสงฆ์ และอนันตริยกรรม ย่อมไม่มี. โดยทำนองเดียวกัน ทำกรรมโดยฟื้นฟูบริษัทใหม่ ก็สมควร. บรรดาชนผู้ใหม่ กำหนดต่ำสุดกว่าทุกคน (ผู้ยังไม่รู้) คนใดย่อมทำลายสงฆ์ อนันตริยกรรมก็ย่อมเกิดแก่เขา. กรรมอันมีโทษมาก ย่อมเกิดแก่อธรรมวาทีทั้งหลายผู้เป็นข้าศึกต่อสงฆ์. กรรมอันไม่มีโทษ ย่อมเกิดแก่ธรรมวาที.
ในข้อนั้น สูตรในสังฆเภทของผู้ใหม่นั่นแหละ ดังนี้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้จับสลาก ๔ รูปพวกหนึ่ง อีก ๔ รูปพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ใหม่ย่อมประกาศให้ถือเอาสลากว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์เป็นต้น ท่านทั้งหลายจงถือเอาฉลากนี้ จงชอบใจคำนี้ ด้วยอาการอย่างนี้แล ดูก่อนอุบาลี ความร้าวรานแห่งสงฆ์ และความแตกแห่งสงฆ์ด้วย ย่อมมีแก่ผู้ใหม่ยิ่ง ดังนี้ ก็บรรดาอนันตริยกรรม ๕ อย่าง สังฆเภทเท่านั้น เป็นวจีกรรม ที่เหลือเป็นกายกรรม พึงทราบวินิจฉัยว่าโดยกรรมด้วยประการ ฉะนี้.
วินิจฉัย ว่าโดยทวาร
คำว่า ว่าโดยทวาร ก็กรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมตั้งขึ้นแต่กายทวารบ้าง แต่วจีทวารบ้าง แต่ในอนันตริยกรรม ๕ นั้น อนันตริยกรรม ๔ ในก่อน (เว้นสังฆเภท) แม้ตั้งขึ้นแล้วแต่วจีทวารด้วยสามารถแห่งปโยคะอันสำเร็จด้วยวิชชาโดยใช้ให้ทำ ก็ย่อมยังกายทวารนั้นแหละให้เต็มด้วยสังฆเภท. เมื่อ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 685
บุคคลกระทำการแยกสงฆ์ด้วยการชี้แจงด้วยมือ แม้จะตั้งขึ้นแต่กายทวาร ก็ชื่อว่ายังวจีทวารนั่นแหละให้เต็ม. พึงทราบวินิจฉัยในข้อนี้แม้ว่าโดยทวาร ด้วยประการฉะนี้.
วินิจฉัย ว่าโดยการตั้งอยู่ตลอดกัป
คำว่า ว่าโดยการตั้งอยู่ตลอดกัป ก็ในอนันตริยกรรมทั้ง ๕ เหล่านี้ สังฆเภทเท่านั้นเป็นกรรมตั้งอยู่ตลอดกัป. จริงอยู่ ครั้นเมื่อกัปกำลังเป็นไป (ต้นกัป) หรือท่ามกลางแห่งกัปกำลังเป็นไป ผู้ทำสังฆเภทย่อมพ้นจากการให้ผลของกรรมในเมื่อกัปนั้นพินาศไปทีเดียว. แม้ว่ากัปจักพินาศไปในวันพรุ่งนี้ไซร้ บุคคลทำสังฆเภทในวันนี้เขาก็จักพ้นจากอบายในวันพรุ่งนี้แน่นอน. คือ เขาย่อมถูกไหม้ในนรกสิ้นวันหนึ่งเท่านั้น. แต่ว่า การทำกรรมดังกล่าวมานี้หามีไม่. อนันตริยกรรม ๔ ที่เหลือ เป็นอนันตริยกรรมเหมือนกัน แต่ไม่ตั้งอยู่ตลอดกัป พึงทราบวินิจฉัยในอนันตริยกรรมนี้ แม้ว่าโดยการตั้งอยู่ตลอดกัป ดังพรรณนามาฉะนี้.
วินิจฉัย ว่าโดยปากะ คือ ผลของกรรม
คำว่า ว่าโดยปากะ ก็อนันตริยกรรม อันบุคคลใดทำแล้วทั้ง ๕ อย่าง สังฆเภทเท่านั้นย่อมให้ผลแก่เขา กรรมที่เหลือย่อมถึงการนับว่า เป็นอโหสิกรรม คือ กรรมนั้นมิได้ให้ผล. เมื่อไม่ทำสังฆเภท โลหิตุปบาทย่อมให้ผลด้วย สามารถนำปฏิสนธิ. เพราะความไม่มีแห่งกรรมทั้งสองที่กล่าวแล้ว อรหันตฆาต ย่อมให้ผล. ถ้าอรหันตฆาตไม่มี บิดาเป็นผู้มีศีล มารดาเป็นผู้ทุศีล หรือมีศีลต่ำกว่าบิดา ปิตุฆาตย่อมให้ผล ด้วยสามารถนำปฏิสนธิ. ถ้ามารดามีศีลสูง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 686
กว่า มาตุฆาตย่อมให้ผล. ถ้ามารดาและบิดามีศีลหรือไม่มีศีลเสมอกัน มาตุฆาตเท่านั้นย่อมให้ผล ด้วยสามารถแห่งการนำปฏิสนธิ เพราะมารดาเป็นผู้กระทำสิ่งที่ทำได้โดยยาก และเพราะมีอุปการะมากแก่บุตร. พึงทราบวินิจฉัยในข้อนี้ แม้ว่าโดยการให้ผล ด้วยประการฉะนี้.
วินิจฉัย ว่าโดยสาธารณะเป็นต้น
คำว่า ว่าโดยสาธารณะ เป็นต้น อนันตริยกรรม ๔ (เว้นสังฆเภท) มีในก่อน ทั่วไปแก่คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย. ส่วนสังฆเภท ย่อมเป็นอนันตริยกรรมแก่ภิกษุ มีประการตามที่กล่าวแล้ว ย่อมไม่เป็นอนันตริยกรรมแก่บุคคลอื่น เพราะพระบาลีว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุณี ย่อมทำลายสงฆ์ไม่ได้ สิกขมานา... สามเณร... อุบาสกและอุบาสิกา ย่อมทำลายสงฆ์ให้แตกจากกันไม่ได้ ดูก่อนอุบาลี ภิกษุแลผู้มีสังวาสเสมอกันเป็นปกตัตตะ (เป็นปกติ) ตั้งอยู่ในสีมาเสมอกัน ย่อมทำลายสงฆ์ ดังนี้ เพราะฉะนั้น สังฆเภทนี้ จึงไม่ทั่วไปแก่บุคคลอื่น. อนันตริยกรรมเหล่านี้ แม้ทั้งหมดสหรคตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยโทสะและโมหะ ท่านกล่าวสงเคราะห์ไว้ด้วยอาทิศัพท์ ฉะนี้แล พึงทราบวินิจฉัยในข้อนี้แม้ว่าโดยสาธารณะเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.
คำว่า อญฺํ สตฺถารํ (แปลว่า ศาสดาอื่น) อธิบายว่า พระโสดาบัน จะพึงยึดถือเจ้าลัทธิอื่นอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นศาสดาของเรา เราสามารถเพื่อทำกิจของศาสดาได้ ดังนี้ แม้ในระหว่างภพจะพึงยึดถือว่า ผู้นี้เป็นศาสดาของเรา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้.
คำว่า อฏฺมํ ภวํ นิพฺพตฺเตยฺย (แปลว่า พึงเกิดในภพที่ ๘) อธิบายว่า พระโสดาบัน แม้มีปัญญาน้อยกว่าพระอริยบุคคลทั้งหมด ก้าวล่วง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 687
ภพที่ ๗ แล้วพึงเกิดในภพที่ ๘ ข้อนี้นั้น มิใช่ฐานะที่มีได้. เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า หมายเอาภพที่ ๗ โดยกำหนดสูงสุด จึงตรัสว่า เป็นผู้เที่ยงต่อการตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดังนี้.
ถามว่า ก็อะไรเล่า ย่อมกำหนดภพนั้น อะไรเล่ากำหนดบุพเหตุ มรรคที่ท่านได้เฉพาะแล้วกำหนด หรือว่ามรรค ๓ เบื้องบน ย่อมกำหนด.
ตอบว่า ข้อนั้นเป็นเพียงสักว่าชื่อ อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถือเอาแล้ว.
ก็บุคคล ชื่อว่าเที่ยงย่อมไม่มี ใครๆ เมื่อกล่าวว่า บุพเหตุย่อมกำหนด ดังนี้ ก็เป็นอันกล่าวถึงอุปนิสสัยแห่งมรรค ๓ เบื้องบน ย่อมถึงความไม่มีอุปนิสสัยแห่งปฐมมรรค เพราะเหตุนั้น ปฐมมรรคนั้นจึงไม่ใช่เหตุไม่ใช่ปัจจัยให้ถึงการเกิด. เมื่อกล่าวว่า มรรคที่ได้แล้ว ย่อมกำหนด ดังนี้ มรรคเบื้องบน ๓ ก็ไม่มีกิจ (คือ ไม่มีหน้าที่) ปฐมมรรคเท่านั้นมีหน้าที่ (เมื่อเป็นเช่นนี้) ปฐมมรรคเท่านั้น พึงยังกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไปแล้วปรินิพพาน. ถ้ากล่าวว่า มรรคเบื้องบน ๓ ย่อมกำหนด ดังนี้ ปฐมมรรคก็ไม่มีหน้าที่ มรรคเบื้องบน ๓ มีหน้าที่ เพราะมรรคเบื้องบน ๓ มิได้ยังปฐมมรรคให้เกิดแล้ว จึงเกิดขึ้น. ก็กิเลสทั้งหลายพึงสิ้นไป ไม่เกิดขึ้น ด้วยปฐมมรรคเท่านั้น เพราะฉะนั้น ธรรมอะไรๆ อื่นย่อมมิได้กำหนดภพนั้น วิปัสสนาของมรรค ๓ เบื้องบนนั่นแหละย่อมกำหนด. จริงอยู่ ถ้าวิปัสสนาของโสดาบันบุคคลเหล่านั้นเป็นธรรมมีปัญญาคมกล้านำไปอยู่ บุคคลนั้นยังภพหนึ่งเท่านั้นให้เกิดขึ้นแล้วก็บรรลุพระอรหัตแล้วปรินิพพาน. ถ้ามีปัญญาอ่อนกว่านั้น ก็ยังภพที่ ๒, ๓, ๔, ๕, ๖ ให้เกิดแล้วบรรลุพระอรหัตแล้วปรินิพพาน. ผู้มีปัญญาอ่อนกว่า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 688
บุคคลทั้งหมด ยังภพที่ ๗ ให้เกิดขึ้นแล้วก็บรรลุพระอรหัต. ปฏิสนธิในภพที่ ๘ ของท่านจึงไม่มี ด้วยประการฉะนี้. การกำหนดนี้ จึงเป็นเพียงชื่ออันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถือเอาแล้ว.
จริงอยู่ พระศาสดาทรงพิจารณาชั่งแล้วด้วยการพิจารณาของพระพุทธเจ้า จึงทรงกำหนดไว้ด้วยพระสัพพัญญุตญาณว่า บุคคลผู้นี้ มีปัญญามากกว่าชนทั้งปวง มีวิปัสสนาคมกล้า จักยังภพที่ ๑ เท่านั้นให้เกิดแล้วก็ถือเอาพระอรหัต ดังนี้ จึงได้ทรงทำชื่อว่า บุคคลนี้เป็นเอกพีชี. บุคคลนี้ยังภพที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ ให้เกิดแล้วจักถือเอาพระอรหัต ดังนี้ และทรงทำชื่อว่า โกลังโกละ ดังนี้, และบุคคลนี้ยังภพที่ ๗ ให้เกิดขึ้นแล้วจักถือเอาพระอรหัต และได้ทรงทำชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะ ดังนี้. ก็บุคคลไรๆ ชื่อว่า เที่ยง ย่อมไม่มีแก่ภพทั้ง ๗. อนึ่ง พระอริยสาวกผู้มีปัญญาน้อยกว่าด้วยอาการแม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านก็ไม่ถึงภพที่ ๘ ย่อมปรินิพพานในระหว่างภพนั้นแหละ. จริงอยู่ พระโสดาบันผู้ยินดียิ่งในภพแม้เช่นกับท้าวสักกะก็ย่อมไปสู่ภพที่ ๗ เท่านั้น. แม้ท่านมีปกติอยู่ด้วยความประมาทโดยอาการทั้งปวง วิปัสสนาญาณของท่านก็ย่อมถึงความสุกรอบในภพที่ ๗. เพราะเมื่อท่านเบื่อหน่ายในอารมณ์แม้มีประมาณน้อยแล้ว ย่อมบรรลุพระนิพพานได้. ก็แม้ถ้าว่าเมื่อท่านก้าวลงสู่ความหลับ หรือว่า กำลังเดินไป มีใครๆ ที่จะประทุษร้ายยืนอยู่ในที่ลับข้างหลัง พึงยังศีรษะของท่านให้ตกไปด้วยดาบอันคมกล้า หรือพึงจับท่านกดลงในน้ำให้ตาย ก็หรือว่า สายฟ้าพึงตกลงบนศีรษะ ในเวลาแม้เห็นปานนี้ ชื่อว่า การทำกาละ ปฏิสนธิในภพที่ ๘ อีก ย่อมไม่มี ย่อมจะบรรลุพระอรหัตนั่นแหละแล้วปรินิพพาน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า พระโสดาบันพึงยังภพที่ ๘ ให้เกิด ดังนี้ ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 689
อธิบายโลกธาตุ พุทธเกษตร
คำว่า เอกิสฺสา โลกธาตุยา (แปลว่า ในโลกธาตุเดียวกัน) ได้แก่ โลกธาตุมีจำนวนหนึ่งหมื่น. จริงอยู่ พุทธเกษตร (เขตฺตานิ) มี ๓ คือ ชาติเกษตร (ชาติเขตฺตํ) อาณาเกษตร (อาณาเขตฺตํ) วิสัยเกษตร (วิสยกฺเขตฺตํ).
บรรดาเกษตรเหล่านั้น โลกธาตุมีจำนวนหนึ่งหมื่น ชื่อว่า ชาติเกษตร (กำหนดด้วยชาติ) จริงอยู่ หมื่นโลกธาตุนั้นย่อมหวั่นไหวในกาลที่พระตถาคตเสด็จสู่คัพโภทรของพระมารดา ในกาลที่เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ในกาลที่ทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในกาลยังพระธรรมจักรให้เป็นไป ในกาลปลงพระชนมายุสังขาร และในกาลปรินิพพาน.
ก็ จักรวาลจำนวนแสนโกฏิจักรวาล ชื่อว่า อาณาเกษตร (กำหนดด้วยอำนาจ) จริงอยู่ อาณา (อำนาจ) แห่งอาฏานาฏิยปริตร โมรปริตร ธชัคคปริตร และรัตนปริตรเป็นต้น ย่อมเป็นไป (แผ่ไป) ในแสนโกฏิจักรวาลนี้.
ก็แต่ว่า การกำหนดซึ่งวิสัยเกษตร ย่อมไม่มี. จริงอยู่ เพราะ พระบาลีว่า ญาณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ธรรมที่พระองค์พึงน้อมไป (มีความประสงค์จะรู้) ก็มีประมาณเท่านั้น ธรรมที่พระองค์พึงน้อมไปมีประมาณเท่าใด ญาณก็มีประมาณเท่านั้น ธรรมที่พึงน้อมไปมีที่สุด ด้วยพระญาณ พระญาณก็มีที่สุดด้วยธรรมที่พึงน้อมไปดังนี้ ชื่อว่า เหลือวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่มี.
ก็พุทธเกษตรทั้ง ๓ นั้น คำว่า ยกเว้นจักรวาลนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงอุบัติขึ้นในจักรวาลอื่น ดังนี้ เป็นสูตร (เป็นคำที่ ตรัสไว้) หามีไม่. แต่คำว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ทรงอุบัติขึ้น ดังนี้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 690
เป็นสูตร มีอยู่. คำว่า ปิฎก ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธัมมปิฎก ดังนี้ และคำว่า สังคีติ ๓ คือ สังคีติของพระมหากัสสปเถระ ของพระยสเถระ ของพระโมคคลีปุตตติสสเถระ ดังนี้ เป็นสูตร มีอยู่. คำว่า นอกจากจักรวาลนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงอุบัติขึ้นในจักรวาลอื่น ดังนี้ ไม่มีสูตรในพระไตรปิฎก คือ พุทธพจน์ที่พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายยกขึ้นสู่สังคีติทั้ง ๓ เหล่า นี้. แต่คำว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทรงอุบัติขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่.
คำว่า อปุพฺพํ อจริมํ ได้แก่ ไม่ทรงอุบัติขึ้นพร้อมกัน คือ ไม่ก่อน ไม่หลังกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายไว้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงอุบัติขึ้นก่อนหรือหลังกัน (ไม่ใช่พร้อมกัน) ดังนี้มีอยู่.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ก่อน หรือคำว่า หลัง ดังนี้
นับจำเดิมแต่การถือปฏิสนธิในครรภ์พระมารดา จนถึงเสด็จประทับนั่งที่โพธิบัลลังก์ ทรงตั้งพระหฤทัยมั่นคงว่า เรายังไม่บรรลุพระโพธิญาณแล้ว จักไม่ลุกขึ้น ดังนี้ ข้อนี้ ไม่พึงทราบว่า เป็นกาลก่อน. จริงอยู่ การกำหนดชาติเกษตรในการถือเอาปฏิสนธิของพระโพธิสัตว์ ท่านทำอธิบายไว้ ด้วยการหวั่นไหวแห่งจักรวาลหมื่นหนึ่ง. ในระหว่างนี้ การบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าองค์อื่นเป็นสภาพอันธรรมดาห้ามไว้. และจำเดิมแต่การปรินิพพาน พระธาตุแม้มีประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ตราบเท่าที่มีอยู่ บัณฑิตไม่พึงทราบว่า เป็นกาลหลัง. จริงอยู่ เมื่อพระบรมธาตุยังทรงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย (ชื่อว่า) ยังดำรงอยู่นั่นแหละ เพราะฉะนั้น ในระหว่างแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ยังดำรงอยู่ ความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ย่อมเป็นสภาวะอันธรรมดาห้ามไว้แล้วเทียว. ก็ครั้นเมื่อพระธาตุปรินิพพานแล้ว ความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น อันอะไรๆ มิได้ห้ามไว้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 691
อันตรธาน ๓ อย่าง
จริงอยู่ ชื่อว่า อันตรธาน (ความสูญหาย) มี ๓ อย่าง คือ
ปริยัตติอันตรธาน (การสูญหายแห่งการเรียนพระไตรปิฎก)
ปฏิเวธอันตรธาน (การสูญหายแห่งมรรคผล)
ปฏิปัตติอันตรธาน (ความสูญหายแห่งการปฏิบัติ)
ในบรรดา ๓ อย่างนั้น พระไตรปิฎก ชื่อว่า ปริยัติ, การแทงตลอดสัจจะ ชื่อว่า ปฏิเวธ, ปฏิปทา ชื่อว่า ปฏิบัติ. ในคำเหล่านั้น ปฏิเวธและปฏิบัติ มีอยู่บ้าง ไม่มีอยู่บ้าง จริงอยู่ ภิกษุผู้เป็นพหูสูตผู้ทำซึ่งปฏิเวธ มีอยู่ในกาลครั้งหนึ่ง ที่บัณฑิตพึงเหยียดนิ้วมือออกแสดงว่า ผู้นี้ไม่เป็นภิกษุปุถุชน ดังนี้ ในกาลนั้นมีอยู่. ได้ยินว่า ในเกาะนี้นั่นแหละ ในครั้งหนึ่ง ขึ้นชื่อว่าภิกษุ ผู้เป็นปุถุชน มิได้มีแล้ว. แม้ภิกษุผู้บำเพ็ญปฏิบัติ ในกาลบางครั้งก็มีมาก บางครั้งก็มีน้อย. ด้วยประการฉะนี้ ปฏิเวธและปฏิบัติ จึงชื่อว่า มีอยู่บ้าง. ก็ปริยัติ ชื่อว่าเป็นประมาณในการตั้งอยู่แห่งพระศาสนา. จริงอยู่ บัณฑิตฟังพระไตรปิฎกแล้วก็ย่อมยังปฏิบัติและปฏิเวธแม้ทั้งสองให้เต็ม. เหมือนพระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายยังอภิญญา ๕ (เว้นอาสวักขยญาณที่ ๖) และสมาบัติ ๗ ให้เกิดขึ้นในสำนักอาฬารดาบส แล้วจึงถามบริกรรมในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ดาบสนั้นทูลว่า ไม่ทราบ จึงเสด็จไปสู่สำนักของอุทกดาบสรามบุตร ทรงเทียบเคียงคุณวิเศษที่พระองค์บรรลุแล้วทรงถามบริกรรมแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ. อุทกดาบสรามบุตรนั้นบอกแล้ว. พระมหาสัตว์ทรงยังสมาบัตินั้นให้ถึงพร้อมแล้วในลำดับแห่งคำของดาบสนั้นนั่นแหละ. ภิกษุผู้มีปัญญา ก็ฉันนั้นนั่นแหละ ฟังปริยัติแล้ว ย่อมยังปฏิบัติและปฏิเวธแม้ทั้งสองให้เต็ม. ด้วยเหตุนั้น พระศาสนาจึงชื่อว่า ตั้งอยู่แล้ว เพราะความตั้งมั่นแห่งปริยัติ ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 692
ในกาลใด ปริยัตินั้น ย่อมอันตรธานไป ในกาลนั้น พระอภิธรรมปิฎกย่อมพินาศไปก่อน ในพระอภิธรรมนั้น คัมภีร์ปัฏฐาน ย่อมอันตรธานก่อนกว่าคัมภีร์ทั้งหมด ย่อมอันตรธานต่อมาโดยลำดับ ธัมมสังคหะ (๑) ย่อมอันตรธานไปในภายหลัง ครั้นพระอภิธรรมปิฎกนั้นอันตรธานไปหมดแล้ว ปิฎกทั้งสองนอกนี้ แม้ตั้งอยู่แล้ว พระศาสนาก็ชื่อว่า ยังดำรงอยู่นั่นแหละ.
ในบรรดา ๒ ปิฎกที่เหลือนั้น เมื่อพระสุตตันตปิฎกจะอันตรธานไป อังคุตตรนิกายทั้งหลาย (พระสูตรที่แจกธรรมออกไปเป็นข้อๆ) ย่อมอันตรธานตั้งแต่เอกาทสกนิบาตลงมาถึงเอกนิบาต. ในลำดับนั้น สังยุตตนิกายทั้งหลาย (พระสูตรแสดงเรื่องบุคคลเป็นหมวดๆ) ย่อมอันตรธานตั้งแต่จักกเปยยาล ลงมาจนถึง โอฆตรณา. ในลำดับนั้นมัชฌิมนิกายทั้งหลาย (พระสูตร เรื่องยาวปานกลาง) ย่อมอันตรธานตั้งแต่อินทริยภาวนาสูตรลงมาจนถึงมูลปริยายสูตร. ลำดับนั้น ทีฆนิกาย (พระสูตรเรื่องยาว) ย่อมอันตรธานตั้งแต่ทสุตตรสูตรลงมาจนถึงพรหมชาลสูตร. คำถาม (ปุจฉา) แห่งคาถาหนึ่งก็ดี สองก็ดี ย่อมเป็นไปนาน แต่คำปุจฉานั้น ย่อมไม่อาจเพื่อยังพระศาสนาให้ดำรงอยู่ ราวกะสภิยปุจฉา และอาฬวกปุจฉา. ได้ยินว่าคำถามเหล่านี้ระหว่างกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป ก็ไม่อาจเพื่อยังพระศาสนาให้ดำรงอยู่.
ก็เมื่อปิฎกทั้ง ๒ แม้อันตรธานไปแล้ว แต่เมื่อพระวินัยปิฎกยังดำรงอยู่ พระศาสนาก็ชื่อว่าดำรงอยู่. เมื่อปริวารและขันธกะทั้งหลายอันตรธานไปแล้ว แต่อุภโตวิภังค์ยังดำรงอยู่ พระศาสนาก็ชื่อว่าดำรงอยู่นั่นแหละ. เมื่ออุภโตวิภังค์อันตรธานไปแล้ว แต่มาติกาแม้ยังดำรงอยู่ พระศาสนาก็ยังดำรงอยู่นั่นแหละ เมื่อมาติกาอันตรธานไปแล้ว แต่พระปาฏิโมกข์ การบรรพชา อุปสมบทยัง
(๑) ธัมมสังคณี.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 693
ดำรงอยู่ พระศาสนาก็ย่อมดำรงอยู่. ลิงค์ (เพศ) ย่อมดำเนินไปสู่กาลนาน. ก็ วงศ์แห่งสมณะผู้ครองผ้าขาว ( เสตวตฺถสมณวํโส ) ไม่อาจเพื่อทรงพระศาสนาไว้จำเดิมแต่การแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป. นับตั้งแต่การแทงตลอดสัจจะของชนผู้เกิดในภายหลัง และตั้งแต่สีลเภทคือการแตกไปแห่งศีลของบุคคลผู้เกิดในภายหลัง (แห่งพุทธกาลแล้ว) จากนั้นมา พระศาสนาชื่อว่า ย่อมเสื่อมถอย. จำเดิมแต่นั้นมา ความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น อันอะไรๆ มิได้ห้ามไว้.
ปรินิพพาน ๓
ชื่อว่า ปรินิพพาน มี ๓ คือ
กิเลสปรินิพพาน
ขันธปรินิพพาน
ธาตุปรินิพพาน
บรรดานิพพานเหล่านั้น กิเลสปรินิพพาน (การดับสนิทเเห่งกิเลส) ได้มีแล้วที่โพธิบัลลังก์.
ขันธปรินิพพาน (การดับสนิทแห่งขันธ์) ได้มีแล้ว ณ พระนครกุสินารา.
ธาตุปรินิพพาน (การดับสนิทแห่งพระธาตุ) จักมีในอนาคต กาล.
ได้ยินว่า ในกาลที่พระศาสนาจะเสื่อมถอย พระธาตุทั้งหลายที่ตัมพปัณณิทวีป (ทวีปลังกา) จักประชุมกันแล้วเสด็จไปสู่มหาเจดีย์. ต่อแต่นั้นจักไปสู่ต้นไม้ราชายตนะ (ต้นไม้เกด) ในนาคทีปะ จากนั้นจักไปสู่มหาโพธิบัลลังก์.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 694
พระธาตุทั้งหลายแต่นาคพิภพก็ดี แต่พรหมโลกก็ดี จักเสด็จไปสู่ต้นมหาโพธิบัลลังก์เท่านั้น. พระธาตุแม้ประมาณเท่าเมล็ดผักกาดจักไม่สูญหายไปในระหว่างทาง. พระธาตุทั้งหมดจักประชุมรวมเป็นแท่งเดียวกัน ดุจแท่งทองคำ ณ มหาโพธิบัลลังก์แล้วจักเปล่งออกซึ่งฉัพพัณณรังสี (รัศมีมีวรรณะ ๖ ประการ) ฉัพพัณณรังสีนั้นจักแผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุ. ในลำดับนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาล จักมาประชุมกัน จักกระทำซึ่งความกรุณาอันยิ่งใหญ่กว่าวันที่พระทศพลปรินิพพาน แล้วจักกล่าวว่า วันนี้ พระศาสดาจะปรินิพพาน วันนี้ พระศาสนาจะเสื่อมถอย บัดนี้ การเห็นของพวกเรานี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย ดังนี้. บุคคลทั้งหมดที่เหลือยกเว้นพระอนาคามีและพระขีณาสพแล้ว จักไม่อาจเพื่อทรงไว้โดยภาวะของตน. ลำดับนั้น เตโชธาตุในพระธาตุทั้งหลายจักตั้งขึ้นแล้วพวยพุ่งไปถึงพรหมโลก. เมื่อพระธาตุแม้มีประมาณเท่าเมล็ดผักกาดยังมีอยู่ เปลวอัคคีหนึ่งเทียวจักมี ครั้นเมื่อพระธาตุทั้งหลายถึงกาลสิ้นสุดลงแล้ว เปลวอัคคีนั้นก็จักดับสนิท. ครั้นพระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพอันใหญ่ด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็อันตรธานไปสิ้น พระศาสนาย่อมชื่อว่าอันตรธานไปแล้ว. พระพุทธเจ้าทั้งหลายพึงอุบัติขึ้นพร้อมกันทั้งสองพระองค์ ข้อนี้นั้น ไม่เป็นฐานะที่มีได้ ด้วยประการฉะนี้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทรงอุบัติขึ้นพร้อมกัน.
ตอบว่า เพราะไม่มีความอัศจรรย์.
จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกองค์ล้วนเป็นมนุษย์อัศจรรย์. เหมือนอย่างที่ได้ตรัสไว้ว่า
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 695
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนหนึ่ง () เมื่อบังเกิดขึ้นในโลก ย่อมบังเกิดขึ้นเป็นมนุษย์ผู้อัศจรรย์ บุคคลคนหนึ่งเป็นไฉน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนหนึ่ง คือพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (๑) ดังนี้
อนึ่ง ถ้าพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ หรือ ๓, ๔, ๘ หรือ ๑๖ พระองค์ พึงบังเกิดขึ้นพร้อมกันไซร้ ความอัศจรรย์ทั้งหลาย ก็ไม่พึงมี เพราะว่า ลาภสักการะย่อมไม่โอฬาร แม้ลาภสักการะของพระเจดีย์ทั้งสองในวิหารเดียวกันก็ไม่โอฬาร (ใหญ่). แม้แต่ภิกษุทั้งหลาย ก็ไม่อัศจรรย์ เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงไม่ทรงอุบัติขึ้นพร้อมกันด้วยประการฉะนี้. และเพราะความที่พระธรรมเทศนาก็เป็นสภาพไม่แปลกกันเลย. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ย่อมแสดงธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้น พระธรรมนั้นแหละ อันพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นก็แสดงได้ ความอัศจรรย์ก็ไม่พึงมี. แต่เมื่อพระพุทธเจ้าองค์เดียวแสดงธรรมอยู่ แม้เทศนาก็ย่อมเป็นธรรมอัศจรรย์ และเพราะไม่เกิดความขัดแย้งด้วย ด้วยว่า เมื่อพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ทรงอุบัติพร้อมกันแล้ว สาวกทั้งหลายต่างก็จะพึงกล่าวขัดแย้งกันและกันว่า พระพุทธเจ้าของพวกเราเป็นผู้น่าเลื่อมใส พระพุทธเจ้าของพวกเรามีสุรเสียงเพราะ มีลาภ มีบุญ ดังนี้ ราวกะหลายอาจารย์กล่าวแก่งแย่งกันอยู่. แม้เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงไม่ทรงอุบัติขึ้นพร้อมกัน ด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ พระนาคเสนเถระ อันพระยามิลินท์ทรงถามแล้ว จึงให้พิสดารแล้วทีเดียว.
ก็ในเรื่องนั้น ท่านกล่าวไว้ ดังนี้
เอกปุคฺคโล (เอกบุคคล)
(๑) อัง.เอก. ๒๐/.ข้อ ๑๔๑
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 696
มิลินทปัญหา
ทวินฺนํ พุทฺธานํ โลเก นุปฺปชฺชนปญฺหา
(ปัญหาว่าด้วย การไม่บังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ในโลก)
พระยามิลินท์ ตรัสถามว่า ข้าแต่พระนาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทราบภาษิตแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์ พึงบังเกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลัง พร้อมกันในโลกธาตุอันเดียว ด้วยเหตุใด เหตุนั้น ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ดังนี้ เพราะเหตุไร?
พระนาคเสนเถระ ทูลว่า ขอถวายพระมหาบพิตร พระตถาคตแม้ทั้งปวงเมื่อทรงแสดง ย่อมทรงแสดงธรรมทั้งหลายอันเป็นฝักฝ่ายแห่งปัญญา เครื่องตรัสรู้ ๓๗ ประการเท่านั้น (โพธิปักขิยธรรม ๓๗) ก็เมื่อจะตรัส ย่อมตรัสอริยสัจทั้ง ๔ ก็เมื่อจะให้ศึกษา ย่อมให้ศึกษาในสิกขาทั้ง ๓ ก็เมื่อพร่ำสอน ย่อมพร่ำสอนในการปฏิบัติเพื่อความไม่ประมาท ดังนี้.
พระราชา ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านนาคเสน ถ้าว่าเทศนาของพระตถาคตแม้ทั้งปวงเป็นอย่างเดียวกัน กถาก็อย่างเดียวกัน สิกขาก็อย่างเดียวกัน การพร่ำสอนก็อย่างเดียวกัน เพราะเหตุไร พระตถาคต ๒ พระองค์ จึงไม่บังเกิดขึ้นในคราวเดียวกันเล่า. อนึ่ง โลกนี้ มีแสงสว่างเกิดขึ้น ด้วยความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าแม้องค์เดียวก่อน ถ้าว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ พึงบังเกิดขึ้นไซร้ โลกนี้พึงมีแสงสว่างเกิดแล้ว เกินประมาณด้วยแสงสว่างแห่งพระพุทธเจ้าทั้ง ๒ พระองค์ มิใช่หรือ. ก็พระตถาคตทั้งสอง เมื่อจะกล่าวสอน ก็พึงกล่าวสอนง่าย (สะดวก) เมื่อจะพร่ำสอนพึงพร่ำสอนง่าย มิใช่หรือ. ขอพระผู้เป็นเจ้า จงแสดงเหตุในข้อนั้นแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะพึงสิ้นความสงสัย อย่างไร.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 697
พระเถระ ทูลว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้ทรงพระพุทธเจ้าได้เพียงพระองค์เดียว ย่อมทรงคุณของพระตถาคตได้พระองค์เดียวเท่านั้น ถ้าว่าพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ พึงบังเกิดขึ้นไซร้ หมื่นโลกธาตุนี้ จะพึงทรงไว้ไม่ได้ พึงเขยื้อน พึงหวั่นไหว พึงน้อมไป พึงทรุดลง พึงกวัดแกว่ง พึงเรี่ยราย พึงกระจัดกระจาย พึงเข้าถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.
ขอถวายพระพร มหาบพิตร เปรียบเหมือนเรือที่พาข้ามฝั่งไปได้คนเดียว ครั้นเมื่อบุรุษคนเดียวขึ้นแล้วเรือนั้นก็พึงให้ถึงฝั่ง ถ้าว่าบุรุษคนที่ ๒ พึงมาไซร้ และเขาก็เป็นผู้เช่นเดียวกันโดยอายุ โดยวรรณะ โดยวัยเป็นประมาณ และโดยอวัยวะใหญ่น้อยผอมหรืออ้วน (ขนาดเดียวกัน) บุรุษคนที่สองนั้น พึงขึ้นสู่เรือนั้น ดูก่อนมหาบพิตร เรือนั้นพึงทรงแม้บุรุษทั้งสองไว้ได้หรือ ดังนี้.
พระราชา ตรัสว่า หามิได้ พระคุณเจ้าผู้เจริญ เรือนั้นพึงขยับเขยื้อน พึงหวั่นไหว พึงเอียงไป พึงเพียบลง พึงกวัดแกว่ง พึงส่ายไป พึงกระจัดกระจาย พึงเข้าถึงความทรงอยู่ไม่ได้ พึงจมลงในน้ำ ดังนี้
พระเถระ ทูลว่า ขอถวายพระพร เรือนั้นพึงทรงบุรุษสองคนไม่ได้ ย่อมจมลงในน้ำ ฉันใด หมื่นโลกธาตุนี้ ทรงไว้ซึ่งพระพุทธเจ้าได้เพียงพระองค์เดียว ทรงคุณของพระตถาคตได้เพียงพระองค์เดียว ถ้าว่าพระพุทธเจ้าองค์ที่สองพึงบังเกิดขึ้น หมื่นโลกธาตุพึงทรงไว้ไม่ได้ พึงขยับเขยื้อน พึงหวั่นไหว พึงเอนลง ทรุดลง กวัดแกว่ง เรี่ยราย กระจัดกระจาย พึงเข้าถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ฉันนั้น.
ดูก่อนมหาบพิตร อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษพึงบริโภคอาหารตามต้องการ เขายังอาหารที่ชอบใจให้เต็มถึงคอ อิ่มแล้ว บริบูรณ์แล้ว ไม่มี
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 698
ช่องว่าง ถึงซึ่งความเป็นผู้เฉื่อยชา เป็นดังท่อนไม้โน้มไม่ลง แล้วพึงบริโภคอาหารอีกเท่านั้นนั่นแหละ ข้าแต่มหาบพิตร บุรุษนั้นพึงมีความสุขบ้างหรือ ดังนี้.
พระราชา ตรัสว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า หามิได้ บุรุษนั้นพึงบริโภคคราวเดียวนั่นแหละแล้วก็จะตาย ดังนี้.
พระเถระ. ขอถวายพระพร ข้อนี้ฉันใด หมื่นโลกธาตุนี้ก็ฉันนั้นนั่นแหละ ทรงพระพุทธเจ้าได้แต่เพียงพระองค์เดียว ทรงคุณของพะตถาคตไว้ได้เพียงพระองค์เดียว ถ้าว่าพระพุทธเจ้าองค์ที่สองพึงบังเกิดขึ้นไซร้ หมื่นโลกธาตุนี้พึงทรงไว้ไม่ได้ พึงขยับเขยื้อน หวั่นไหว เอนลง ทรุดลง กวัดแกว่ง เรี่ยราย กระจัดกระจาย และพึงเข้าถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.
พระราชา. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แผ่นดินย่อมเขยื้อน หวั่นไหว ด้วยหนักธรรมเกินไปด้วยหรือ.
พระเถระ. ขอถวายพระพร ในข้อนี้ เกวียนสองเล่มเต็มด้วยรัตนะ จนเสมอขอบ บุคคลพึงขนเอารัตนะแต่เกวียนเล่มหนึ่งใส่ในเกวียนอีกเล่มหนึ่ง ดูก่อนมหาบพิตร เกวียนเล่มนั้นพึงทรงรัตนะแห่งเกวียนแม้ทั้งสองได้หรือ.
พระราชา. หามิได้ พระคุณเจ้า แม้ดุมของเกวียนนั้นพึงแยกออกไป แม้กำของเกวียนนั้นก็พึงแตกออกไป แม้กงของเกวียนนั้นก็พึงฉีกออกไป แม้เพลาของเกวียนนั้นก็พึงทำลายไป ดังนี้.
พระเถระ. ขอถวายพระพร เกวียนย่อมถูกทำลายไปด้วยการหนักรัตนะเกินไปหรือ.
พระราชา. อย่างนั้นแหละ พระคุณเจ้า.
พระเถระ. ขอถวายพระพร เกวียนถูกทำลายไปด้วยการหนักรัตนะเกินฉันใด แผ่นดินก็ฉันนั้นนั่นแหละ ย่อมเขยื้อน หวั่นไหว ด้วยการหนัก
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 699
ธรรมเกินไป อีกอย่างหนึ่ง มหาบพิตร อาตมาจะชี้แจงซึ่งเหตุแม้อื่นอันเป็นการเหมาะสมในข้อนั้นอีก ขอถวายพระพร พระสัมมาสัมพุทธะทั้งสองพระองค์ ย่อมไม่เกิดขึ้นในขณะเดียวกันด้วยเหตุใด ขอมหาบพิตรจงสดับเหตุนั้น ดังนี้.
ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์ พึงบังเกิดขึ้นในขณะเดียวกันไซร้ ความวิวาทพึงเกิดแก่บริษัท และพึงแตกแยกออกเป็นสองฝ่าย เพราะคำว่า พระพุทธเจ้าของพวกท่าน พระพุทธเจ้าของพวกเรา ดังนี้ ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนความวิวาท ย่อมเกิดแก่บริษัท ของอำมาตย์ผู้มีกำลังทั้งสองคน ย่อมเกิดการแตกแยกว่า นี้อำมาตย์ของพวกท่าน นี้อำมาตย์ของพวกเรา ฉันใด ขอถวายพระพร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์ ถ้าว่า พึงบังเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน ก็ฉันนั้นนั่นแหละ ความวิวาททั้งหลาย พึงเกิดขึ้นแก่บริษัทของพระพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์ว่า พระพุทธเจ้าของพวกท่าน พระพุทธเจ้าของพวกเรา ดังนี้ บริษัทพึงเกิดแตกแยก ออกเป็นสองฝ่าย นี้เป็นเหตุที่หนึ่ง.
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์ ย่อมไม่ทรงอุบัติขึ้นในขณะเดียวกันด้วยเหตุใด ขอบรมบพิตรจงสดับซึ่งเหตุนั้นแม้อื่นอีกให้ยิ่งขึ้นไป.
ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์ พึงบังเกิดขึ้นในขณะเดียวกันไซร้ คำที่ว่าพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ดังนี้ นั้นก็พึงเป็นคำผิด คำที่ว่า พระพุทธเจ้าประเสริฐสุดดังนี้ นั้นก็พึงเป็นคำผิด คำที่ว่า พระพุทธเจ้า ผู้วิเศษดังนี้ นั้นก็พึงเป็นคำผิด คำที่ว่าพระพุทธเจ้าสูงสุดดังนี้ นั้นก็พึงเป็นคำผิด คำที่ว่า พระพุทธเจ้าผู้บวรดังนี้ นั้นก็พึงเป็นคำผิด คำที่ว่า พระพุทธเจ้าไม่มีใครเสมอดังนี้ นั้นก็พึงเป็นคำผิด คำที่ว่า พระพุทธเจ้าผู้เสมอ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 700
ด้วยบุคคลผู้ไม่มีใครเสมอดังนี้ นั้นก็ผิด คำที่ว่า พระพุทธเจ้าไม่มีใคร เปรียบดังนี้ นั้นก็พึงเป็นคำผิด คำที่ว่า พระพุทธเจ้าไม่มีส่วนเปรียบดังนี้ นั้น ก็พึงเป็นคำผิด ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์จงรับเหตุแม้นี้แล โดยความเป็นจริง.
อีกอย่างหนึ่ง มหาบพิตร พระพุทธเจ้าสองพระองค์ไม่เกิดขึ้นในขณะเดียวกันด้วยเหตุใด ขอมหาบพิตรจงทราบเหตุอย่างนี้ว่า ความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า ย่อมบังเกิดขึ้นในโลกเฉพาะพระองค์เดียว นี้เป็นปกติ โดยสภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุไร เพราะความที่คุณของพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้แล้ว ผู้เป็นสัพพัญญู เป็นของใหญ่,
ขอถวายพระพร แม้สิ่งอื่นใดที่เป็นของใหญ่ สิ่งนั้นก็เป็นของอันเดียวเท่านั้น ดูก่อนมหาบพิตร แผ่นดินเป็นของใหญ่ แผ่นดินนั้นก็เป็นแผ่นเดียวเท่านั้น สาครเป็นของใหญ่ สาครนั้นก็เป็นอันเดียวเท่านั้น ขุนเขาสิเนรุเป็นของใหญ่ สิเนรุนั้นก็เป็นลูกเดียวเท่านั้น อากาศเป็นของใหญ่ อากาศนั้นก็เป็นอากาศเดียวเท่านั้น ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ ท้าวสักกะนั้นก็เป็นผู้เดียวเท่านั้น มารผู้เป็นใหญ่ มารนั้นก็ผู้เดียวเท่านั้น พรหมผู้เป็นใหญ่ มหาพรหมนั้นก็ผู้เดียวเท่านั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นใหญ่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น แผ่นดินเป็นต้นย่อมไม่เกิดขึ้นในที่ใด การปรากฏของแผ่นดินเป็นต้นย่อมไม่มีในที่นั้น เพราะฉะนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เดียวเท่านั้น จึงบังเกิดขึ้นในโลก ดังนี้.
พระราชา ข้าแต่ท่านนาคเสน ปัญหาพระผู้เป็นเจ้าแก้ดีแล้ว ด้วยเหตุทั้งหลายอันเป็นเครื่องอุปมา ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 701
อธิบายการบังเกิดขึ้นแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ
คำว่า เอกิสฺสา โลกธาตุยา ได้แก่ จักรวาลหนึ่ง. อธิบายว่า ท่านถือเอาหมื่นจักรวาล ด้วยบทว่า เอกิสฺสา โลกธาตุยา นี้เช่นนี้ในหนหลัง นั่นแหละ. การกำหนดหมื่นจักรวาลแม้เหล่านั้น ด้วยจักรวาลหนึ่งนั่นแหละ ก็ควร. เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อบังเกิด ย่อมบังเกิดในจักรวาลนี้เท่านั้น. ก็เมื่อฐานะคือการบังเกิดขึ้น อันธรรมดาห้ามแล้ว ที่ชื่อว่า ห้ามไว้แล้ว เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทรงบังเกิดในจักรวาลอื่นๆ นอกจากจักรวาลนั้น.
ในคำว่า อปุพฺพํ อจริมํ (แปลว่า ไม่ก่อน ไม่หลัง) ได้แก่ ชื่อว่า ก่อน ( ปุพฺพ ํ) เพราะก่อนแต่กาลปรากฏของจักรรัตนะ. ชื่อว่าหลัง ( จริมํ ) เพราะหลังแต่จักรรัตนะนั้นนั่นแหละอันตรธานแล้ว. ในคำเหล่านั้น การอันตรธานแห่งจักรรัตนะมี ๒ คือ เพราะการสวรรคตของพระเจ้าจักรพรรดิ หรือว่าการทรงบรรพชา อนึ่ง จักรรัตนะนั้น เมื่อจะอันตรธาน ย่อมอันตรธาน ในวันที่ ๗ นับจากการสวรรคตหรือทรงบรรพชา. เบื้องหน้าจากนั้น ความปรากฏของพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์อื่นอันธรรมดามิได้ห้ามไว้ ก็เพราะเหตุไร เพราะพระเจ้าจักรพรรดิสองพระองค์มิได้ทรงอุบัติขึ้นพร้อมกันในจักรวาลเดียวกัน เพราะทำให้เกิดความวิวาท เพราะไม่เป็นสิ่งอัศจรรย์ และเพราะความมีอานุภาพมากแห่งจักรรัตนะ. จริงอยู่ เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิสองพระองค์บังเกิดอยู่ ความวิวาทพึงเกิดขึ้นว่า ราชาของพวกเราใหญ่ ราชาชองพวกเราใหญ่ ดังนี้ อนึ่ง ความไม่เกิดอัศจรรย์พึงเกิดขึ้นว่า ในทวีปหนึ่งมีพระเจ้าจักรพรรดิ และในทวีปหนึ่งโน้นก็มีพระเจ้าจักรพรรดิ ดังนี้ ก็ผู้ใดนี้สามารถเพิ่มให้จักรรัตนะ เพื่อความเป็นใหญ่ในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ซึ่งมีทวีปสองพันเป็นบริวาร อานุภาพใหญ่แห่งจักรรัตนะนั้น พึงเสื่อมไป เพราะเหตุนั้น พระเจ้าจักรพรรดิ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 702
สองพระองค์จึงชื่อว่า จึงไม่เกิดขึ้นในจักรวาลเดียวกัน เพราะเข้าไปตัดความวิวาท เพราะความไม่อัศจรรย์ และเพราะความมีอานุภาพมาก (มีมากแห่ง) ของจักรรัตนะ.
อธิบายหญิงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นไม่ได้
ในข้อว่า ยํ อิตฺถี อรหํ อสฺส สมฺมาสมฺพุทฺโธ (แปลว่าหญิงจะพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า) นี้ อธิบายว่า ความเป็นพระพุทธเจ้าผู้สามารถข้ามโลกเพราะยังคุณคือ สัพพัญญู ให้เกิดขึ้นนั้น จงยกไว้ก่อน แม้เหตุสักว่าการตั้งปณิธาน (การตั้งความปรารถนา) ก็ย่อมไม่สำเร็จแก่หญิง.
มนุสฺสตฺตํ ลิงฺคสมฺปตฺติ เหตุ สตฺถารทสฺสนํ
ปพฺพชฺชา คุณสมฺปตฺตํ อธิกาโร จ ฉนฺทตา
อฏฺธมฺมสโมธานา อภินีหาโร สมิชฺฌติ
แปลว่า
จริงอยู่ เหตุอันเป็นปณิธานสมบัติเหล่านี้ คือ อภินีหาร (ความ ปรารถนาตั้งใจจริง) ย่อมสำเร็จพร้อมเพราะธรรมสโมธาน (การประชุมแห่งธรรม) ๘ ประการ คือ
๑. มนุสฺสตฺตํ (เมื่อตั้งความปรารถนา ต้องเป็นมนุษย์)
๒. ลิงฺคสมฺปตฺติ (ลิงคสมบัติคือเป็นเพศชาย)
๓. เหตุ (มีเหตุคือสร้างกุศลมาก สมควรจะเป็นพระอรหันต์ได้)
๔. สตฺถารทสฺสนํ (พบพระพุทธเจ้าและได้รับพยากรณ์)
๕. ปพฺพชฺชา (บวชเป็นภิกษุ สามเณร หรือฤาษีผู้เป็นกัมมวาที)
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 703
๖. คุณสมปตฺติ (บริบูรณ์ด้วยคุณ คือ ฌานสมาบัติและอภิญญา)
๗. อธิกาโร (การกระทำกุศลอันยิ่งใหญ่)
๘. ฉนฺทตา (พอใจในโพธิญาณ)
ความตั้งปณิธานปรารถนาเพื่อให้ถึงความเป็นพระสัมพุทธเจ้าได้ด้วยอาการอย่างนี้ ความเป็นพระพุทธเจ้าของหญิงผู้ไม่สามารถจักมีแต่ที่ไหน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ข้อที่หญิงจะพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเครื่องอาศัยคือบุญ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ย่อมยังอัตภาพ อันเต็มด้วยอาการทั้งปวงนั่นแหละให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น บุรุษเท่านั้น ย่อมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ มิใช่หญิง.
แม้ในข้อว่า ยํ อิตฺถี ราชา อสฺส จกฺกวตฺติ (แปลว่า ข้อที่ว่า หญิงจะพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ) เป็นต้น อธิบายว่า ลักษณะทั้งหลาย (มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ) ของหญิง ชื่อว่า ย่อมไม่บริบูรณ์ เพราะความไม่มีซึ่งลักษณะทั้งหลาย มีคุยหะซ่อนลับอยู่ในฝัก ดุจคุยหะแห่งโคและช้างเป็นต้น และชื่อว่าเป็นผู้ไม่พรั่งพร้อมด้วยรัตนะ ๗ เพราะความไม่มีอิตถีรัตนะ (นางแก้ว) อนึ่ง อัตภาพอันยิ่งกว่ามนุษย์ทั้งปวงก็ไม่มี เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ข้อที่หญิงจะพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ดังนี้. แม้ความเป็นท้าวสักกะเป็นต้น (พระอินทร์ พระยามาร มหาพรหม) ทั้ง ๓ เป็นตำแหน่งสูง แต่เพศหญิงเป็นเพศต่ำ เหตุใด เพราะฉะนั้น แม้ความที่หญิงนั้นจะพึงเป็นท้าวสักกะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงปฏิเสธแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 704
ถามว่า เพศหญิง ไม่มีในพรหมโลก ฉันใด แม้เพศชาย ก็ฉันนั้น มิใช่หรือ เพราะฉะนั้น บุรุษพึงทำความเป็นพรหมด้วยเหตุใด เหตุนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า แม้ฐานะนั้น (คือเพศชาย) มีอยู่ ดังนี้.
ตอบว่า ไม่พึงกล่าว หามิได้.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะความที่บุรุษในโลกนี้ บังเกิดขึ้นในพรหมโลกนั้นมีอยู่. จริงอยู่ ความบังเกิดเป็นมหาพรหม พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์ เอาในคำว่า พฺรหฺมตฺตํ (แปลว่า ความเป็นพรหม). ส่วนหญิงเจริญฌานในโลกนี้ ทำกาละแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพรหมปาริสัชชาทั้งหลาย (หมายถึงพรหมผู้เป็นบริษัทของมหาพรหม) มิใช่บังเกิดเป็นมหาพรหม แต่บุรุษไม่พึงกล่าวว่าย่อมไม่บังเกิดในพรหมปาริสัชชานั้น. ครั้นเมื่อความเป็นแห่งเพศทั้งสองแม้มีอยู่ในพรหมโลกนั้น หญิงนั้นก็ชื่อว่าเป็นพรหมเพราะตั้งอยู่ในความเป็นบุรุษ มิใช่ตั้งอยู่ในความเป็นหญิง เพราะฉะนั้น คำนั้นจึงเป็นคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั่นแหละ.
อธิบายกายทุจริตเป็นต้น ไม่เกิดผลน่าปรารถนาเป็นต้น
พึงทราบในคำว่า กายทุจฺจริตสฺส เป็นต้น พืชทั้งหลาย มีพืชแห่งไม้สะเดาและบวบขมเป็นต้น ย่อมไม่ให้เกิดผลมีความหวาน ย่อมให้ บังเกิดผลอันไม่ชอบใจ อันไม่มีรสหวานนั่นแหละ ฉันใด กายทุจริตเป็นต้น ก็ฉันนั้น ย่อมไม่ให้บังเกิดวิบากอันน่าปรารถนา ย่อมบังเกิดวิบากอันไม่น่าชอบใจ. เหมือนอย่างว่า พืชแห่งต้นอ้อย และพืชแห่งข้าวสาลี ย่อมยังผลอันน่าชอบใจ อันมีรสอันดีเท่านั้น ย่อมไม่ยังผลอันไม่น่ายินดี อันขมขื่นให้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 705
เกิดขึ้น ฉันใด กายสุจริตเป็นต้น ย่อมให้วิบากอันน่าปรารถนา น่าชอบใจ ให้เกิดขึ้น ย่อมไม่ยังวิบากอันไม่น่าปรารถนาให้เกิดขึ้น ฉันนั้น.
สมจริงดังที่ได้ตรัสไว้ว่า
ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ หรเต ผลํ
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ (๑)
แปลว่า
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำดีย่อมได้ดี ผู้ทำชั่วย่อมได้ชั่ว.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ข้อที่กายทุจริตเป็นต้น จะพึงให้ผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจนั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ดังนี้ เป็นต้น.
อธิบายบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายทุจริตเป็นต้น
คำว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อม ในคำว่า ผู้พรั่งพร้อมด้วยกายทุจริต เป็นต้น ได้แก่ความพรั่งพร้อม ๕ อย่าง คือ
อายูหนสมงฺคิตา (ความพรั่งพร้อม ด้วยกรรมเป็นเครื่องประมวลมา)
เจตนาสมงฺคิตา (ความพรั่งพร้อม ด้วยเจตนา)
กมฺมสมงฺคิตา (ความพรั่งพร้อม ด้วยกรรม)
วิปากสมงฺคิตา (ความพรั่งพร้อม ด้วยวิบาก)
อุปฏฺานสมงฺคิตา (ความพรั่งพร้อม ด้วยการปรากฏ)
(๑) ขุ.ชา. ๒๗/ข้อ ๒๙๔
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 706
ในความพรั่งพร้อมเหล่านั้น ในขณะแห่งการประมวลมาซึ่งกุศลกรรม และอกุศลกรรม เรียกว่า อายูหนสมังคิตา. เจตนาสมังคิตา ก็เหมือนกัน. ก็สัตว์แม้ทั้งหมดยังไม่บรรลุพระอรหัตตราบใด ตราบนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยกรรม เพราะหมายเอากรรมอันเหมาะสมกับวิบากที่สั่งสมไว้ในก่อน ฉะนั้นข้อนี้จึงชื่อว่า กัมมสมังคิตา. แต่ วิปากสมังคิตา พึงทราบในขณะแห่งการให้ผล.
ก็ตราบใด สัตว์ทั้งหลาย ยังไม่บรรลุพระอรหัต นิมิตแห่งการเกิดขึ้น ย่อมปรากฏอย่างนี้คือ เมื่อสัตว์เหล่านั้นท่องเที่ยวไปแต่ที่นั้นๆ เมื่อจะเข้าถึงนรกก่อน นรกย่อมปรากฏโดยอาการอันตั้งขึ้นมีเปลวไฟในโลหกุมภีเป็นต้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายจะเข้าถึงความเป็นคัพภเสยยกะ (เกิดในครรภ์) ท้องของมารดาย่อมปรากฏ เมื่อจะบังเกิดในเทวโลก เทวโลกย่อมปรากฏ โดยอาการทั้งหลายมีต้นกัลปพฤกษ์ (ต้นไม้ที่ตั้งอยู่ตลอดกัป) และวิมาน เป็นต้น ดังนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า อุปัฏฐานสมังคิตา เพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่พ้นไปจากการปรากฏแห่งนิมิตแห่งการเกิดดังกล่าวมานี้.
อุปัฏฐานสมังคิตา นั้นแล ย่อมเคลื่อน (ไม่คงที่) ที่เหลือไม่เคลื่อน. จริงอยู่ เมื่อนรกแม้ปรากฏแล้ว เทวโลกย่อมปรากฏก็ได้ เมื่อเทวโลกแม้ปรากฏแล้ว นรกย่อมปรากฏก็ได้. เมื่อมนุษยโลกแม้ปรากฏแล้ว กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ย่อมปรากฏก็ได้ และเมื่อกำเนิดแห่งสัตว์เดรัจฉานแม้ปรากฏแล้ว มนุษยโลกย่อมปรากฏก็ได้ เป็นไปได้ทั้งนั้น ในข้อนี้ มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์ ดังนี้.
ได้ยินว่า ที่เชิงเขาโสณะ มีพระธรรมกถึกองค์หนึ่ง ชื่อว่า โสณเถระ อยู่ในปิปผลิวิหาร บิดาของท่านเป็นนายพราน ชื่อว่า สุนักขวาชิกะ พระเถระ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 707
แม้ห้ามบิดาอยู่อย่างไรๆ ก็ไม่อาจเพื่อให้ตั้งอยู่ในความสังวร จึงคิดว่า บิดาผู้น่าสงสาร จงอย่าฉิบหายเสียเลย ดังนี้ จึงให้บิดาผู้ไม่ประสงค์จะบวช ได้บวชแล้วในเวลาเป็นคนแก่ เมื่อบิดานอนในที่นอนของคนป่วย (หมายถึงกำลังป่วย) นรกได้ปรากฏแล้ว (อารมณ์ของนรก) คือ มีพวกสุนัขใหญ่ๆ มาแต่เชิงเขาโสณะแล้วก็แวดล้อม ราวกะต้องการจะเคี้ยวกิน บิดาของพระเถระกลัวต่อภัยอันใหญ่ จึงเรียกพระเถระว่า พ่อโสณะ จงห้าม พ่อโสณะ จงห้าม ดังนี้. พระเถระ จึงถามว่า อะไรกัน, บิดาของท่านจึงกล่าวว่า พ่อไม่เห็นหรือ แล้วบอกเหตุเป็นไปนั้น.
พระเถระดำริว่า บิดาของผู้เช่นกับเรา ขึ้นชื่อว่า จักเกิดในนรกได้อย่างไร เราจักเป็นที่พึงให้แก่บิดา ดังนี้ แล้วให้สามเณรทั้งหลายนำดอกไม้ต่างๆ มาให้แล้วกระทำซึ่งการบูชา โปรยด้วยดอกไม้ และบูชาที่บนตั่ง ที่ลานเพระเจดีย์ และที่ลานโพธิ์ทั้งหลาย แล้วนำบิดามาสู่ลานของพระเจดีย์ด้วยเตียง (หามมาด้วยเตียง) ให้นอนบนเตียงแล้วกล่าวกะบิดาว่า ข้าแต่มหาเถระ การบูชาของข้าพเจ้านี้ ทำเพื่อประโยชน์แก่ท่าน ท่านจงกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นบรรณาการของข้าพเจ้าผู้ทุคคตะ ดังนี้ แล้วจงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า (พระเจดีย์) แล้วกล่าวว่า ขอจงยังจิตให้เสื่อมใส ดังนี้.
มหาเถระ (บิดา) นั้นเห็นการบูชา เมื่อจะกระทำอย่างนั้น ยังจิตให้เลื่อมใสแล้ว ขณะนั้นนั่นแหละ เทวโลกปรากฏแล้ว (กรรมนิมิตอารมณ์) แก่มหาเถระนั้น คือ นันทวัน จิตรลดา มิสสกวัน ปารุสกวัน วิมานและการ ฟ้อนรำของเทพอัปสรทั้งหลาย ได้มีแล้วเป็นราวกะมายืนแวดล้อม มหาเถระนั้น จึงกล่าวว่า โสณะ (พระเถระลูกชาย) จงหลีกไป โสณะ จงหลีกไป
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 708
ดังนี้. พระเถระกล่าวว่า นี้อะไร มหาเถระ. มหาเถระกล่าวว่า หญิงเหล่านี้จะมาเป็นมารดาของท่าน ดังนี้. พระเถระคิดว่า สวรรค์ปรากฏขึ้นแก่มหาเถระแล้ว ดังนี้
บัณฑิต พึงทราบว่า อุปัฏฐานสมิงคิตา ย่อมไม่คงที่ด้วยประการ ฉะนี้.
ในบรรดาความพรั่งพร้อม (สมังคิตา) เหล่านั้น คำว่า ความพรั่งพร้อมด้วยกายทุจริตเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในที่นี้ ด้วยสามารถแห่งความพรั่งพร้อมด้วยอายูหนะ เจตนา และกรรม ดังนี้. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
อธิบายกำลังที่ ๑ ของพระตถาคต จบ
อธิบายกำลังที่ ๒ ของพระตถาคต
ว่าด้วยกรรมสมาทานอันเป็นบาป
คำว่า คติสมฺปตฺติปฏิพาฬฺหานิ (แปลว่า อันคติสมบัติห้ามไว้) อธิบายว่ากัมมสมาทานอันเป็นบาป อันคติสมบัติห้ามไว้ ป้องกันไว้ และปฏิเสธแล้ว. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้.
อนึ่ง ในคำว่า คติสมบัติ (๑) นี้ ได้แก่ คติที่สมบูรณ์ คือเทวโลก และ มนุษยโลก.
คำว่า คติวิบัติ ได้แก่ คติชั่ว คืออบายภูมิ ๔.
ความสำเร็จด้วยดีในอัตภาพ ชื่อว่า อุปธิสมบัติ.
(๑) สมบัติ ๔ คติสมบัติ อุปธิสมบัติ กาลสมบัติ ปโยคสมบัติ, วิบัติ ๔ คือ คติวิบัติ อุปธิวิบัติ กาลวิบัติ ปโยควิบัติ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 709
ความมีอัตภาพเลว ชื่อว่า อุปธิวิบัติ.
กาลอันสมบูรณ์ กล่าวคือ เป็นกาลอันเจริญของพระราชาผู้ทรงธรรม และชนผู้มีใจดี ชื่อว่า กาลสมบัติ.
กาลอันพิบัติ กล่าวคือ กาลที่มีพระราชาชั่วและบุคคลผู้มีใจทราม ชื่อว่า กาลวิบัติ.
การประกอบโดยชอบ ชื่อว่า ปโยคสมบัติ.
การประกอบในทางที่ผิด ชื่อว่า ปโยควิบัติ.
ในบรรดาคำเหล่านั้น บาปกรรมมีจำนวนมาก ย่อมมีแก่บุคคลบางคน. บาปกรรมนั้น พึงให้ผลแก่ผู้ดำรงอยู่ในคติวิบัติ. แต่บุคคลเกิดขึ้นในคติสมบัติ คือในเทพทั้งหลาย หรือมนุษย์ ด้วยกัลยาณกรรมอย่างหนึ่งวาระของอกุศลย่อมไม่เกิดในฐานะเช่นนั้น วาระของกุศลโดยส่วนเดียวเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า กรรมเหล่านั้น (บาปกรรม) อันคติสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผลแก่บุคคลนั้น ด้วยประการ ฉะนี้.
บุคคลอื่นอีกที่มีบาปกรรมมาก. บาปกรรมเหล่านั้น ก็พึงให้ผลแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอุปธิวิบัติ. อนึ่ง บุคคลนั้นตั้งอยู่ในอุปธิสมบัติ ซึ่งมีสัณฐาน และอวัยวะน้อยใหญ่ตั้งอยู่ดีแล้ว มีรูปงาม น่าชม เช่นกับบุตรของพรหม ด้วยกัลยาณกรรม อย่างหนึ่ง แม้แต่เกิดเป็นทาสในท้องของนางทาสี อัตภาพอันมีอย่างนี้ เป็นสภาพไม่สมควรแก่การงานอันเศร้าหมอง เพราะฉะนั้น กัลยาณกรรมนั้นย่อมไม่ยังบุคคลนั้นให้ทำการงานต่ำ มีการผูกเท้าช้าง แพะ ม้า และเลี้ยงโคเป็นต้น ย่อมให้นุ่งห่มผ้าเนื้อละเอียด ย่อมตั้งไว้ในตำแหน่งผู้รักษาพระคลัง (ภัณฑาคาริก) เป็นต้น ถ้าเป็นหญิง กัลยาณกรรมนั้นย่อม
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 710
ไม่ให้กระทำการงานต่ำ มีการให้อาหารช้างเป็นต้น แต่จะให้ผ้าและเครื่องประดับ หรือทำหญิงนั้นให้นอนในที่นอนอันสวยงาม ย่อมตั้งไว้ในตำแหน่งราชวัลลภ (ตำแหน่งคนสนิท) ราวกะ พระโสมเทวี.
ได้ยินว่า ในกาลแห่ง พระเจ้าภาติกราช พวกอำมาตย์ทั้งหลายจับชนทั้งหลายจำนวนมากผู้อาศัยเนื้อโคเป็นอยู่ แสดงต่อพระราชา ถูกพระราชาตรัสถามว่า พวกท่านย่อมสามารถเพื่อให้ค่าปรับหรือ กราบทูลว่า พวกข้าพระองค์ไม่อาจ ดังนี้. ลำดับนั้นจึงให้ชนเหล่านั้น ทำความสะอาดที่พระลานหลวง, ธิดาคนหนึ่งของพวกต้องหาเหล่านั้นมีรูปงาม น่าดู น่าชม. พระราชา ทรงทอดพระเนตรเห็นธิดานั้น จึงทรงให้นำมาตั้งไว้ในตำแหน่งราชวัลลภ ภายในพระราชมณเฑียร. แม้ญาติทั้งหลายที่เหลือ ก็มีชีวิตอยู่เป็นสุข ด้วยอานุภาพของหญิงนั้น. จริงอยู่ ในอัตภาพเห็นปานนั้น แม้บาปกรรมทั้งหลาย ก็ย่อมไม่อาจเพื่อให้ผล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมทั้งหลาย อันอุปธิสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ด้วยประการฉะนี้.
บาปกรรมทั้งหลายจำนวนมาก ย่อมให้ผลแก่บุคคลบางคน บาปกรรมเหล่านั้น พึงให้ผลแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในกาลวิบัติ. อนึ่งบุคคลนั้น เกิดขึ้นแล้ว ด้วยกัลยาณกรรมอย่างหนึ่ง ในกาลแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม และมนุษย์ผู้ใจดี เช่นในสมัยเป็นที่บังเกิดขึ้นแห่งชนผู้เกิดอยู่ในปฐมกัป หรือพระเจ้าจักรพรรดิ หรือว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วในกาลเช่นนั้น โอกาสเพื่อให้วิบากของอกุศลย่อมไม่มี โอกาสของกุศลอย่างเดียวเท่านั้น มีอยู่.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมทั้งหลาย อันกาลสมบัติ ห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ด้วยประการฉะนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 711
บุคคลอื่นอีกที่มีบาปกรรมมาก บาปกรรมเหล่านั้น พึงให้ผลแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในปโยควิบัติ. แต่ว่า บุคคลนั้นดำรงอยู่ในปโยคสมบัติ ด้วยกัลยาณกรรมอย่างหนึ่ง คือเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น แล้วย่อมยังกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริตทั้งหลายให้เต็ม. ในฐานะเช่นนั้น โอกาสแห่งการให้ผลของอกุศลย่อมไม่มี มีแต่โอกาสของกุศลอย่างเดียวเท่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมเหล่านั้น อันปโยคสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ด้วยประการฉะนี้.
บุคคลแม้อื่นอีกที่มีบาปกรรมมาก บาปกรรมเหล่านั้น ไม่พึงให้ผลแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในคติสมบัติ. แต่บุคคลนั้น เกิดในคติวิบัติ ด้วยบาปกรรม อย่างหนึ่งนั่นแหละ บาปกรรมเหล่านั้นพึงเข้าถึงบุคคลนั้นในที่นั้นแล้วก็ย่อมให้ผลทุกๆ ครั้ง ย่อมให้เกิดในนรกตามกาลอันควร เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน... ในปิตติวิสัย... ในอสุรกายตามกาลอันควร ย่อมไม่ให้เพื่ออันยกศีรษะขึ้นจากอบายแม้สิ้นกาลนาน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมทั้งหลายย่อมไม่อาจเพื่อให้ผล เพราะความที่บาปกรรมเหล่านั้นอันคติสมบัติ ห้ามไว้ แต่ย่อมให้ผลเพราะอาศัยคติวิบัติ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บุคคลแม้อื่นอีกที่มีบาปกรรมมาก บาปกรรมเหล่านั้น ไม่พึงให้ผลแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอุปธิสมบัติ. แต่ว่า บุคคลนั้น ตั้งอยู่ในอุปธิวิบัติด้วยกรรมหนึ่งนั่นแหละ ให้เป็นผู้มีผิวพรรณทราม มีรูปชั่ว มีสัณฐานไม่ดี น่าเกลียด เช่นกับปีศาจ. ถ้าว่าเขาเกิดเป็นทาสในท้องของนางทาสี บาปกรรมเหล่านั้น ย่อมสมควรแก่บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บาปกรรมทั้งปวง ย่อมยังบุคคลนั้น ให้กระทำการงานอันเศร้าหมอง โดยที่สุด ย่อมให้เข้าไปอาศัยการงานของคน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 712
เทดอกไม้. ถ้าเขาเกิดเป็นหญิง บาปกรรมเหล่านั้นสมควรแก่ความเป็นหญิง คือ ย่อมให้หญิงนั้นทำการงานอันเศร้าหมอง มีการให้อาหารช้างเป็นต้น. หญิงนั้นแม้เกิดในบ้านมีตระกูลก็จะเหมือนหญิงเจ้าเรือนของมหากุฎุมพีในบ้าน โกตลวาปี ที่ถูกราชบุรุษจับไปด้วยสำคัญว่าเป็นนางทาสี.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมทั้งหลาย ย่อมไม่อาจเพื่อให้ผล เพราะความที่บาปกรรมนั้น อันอุปธิสมบัติ ห้ามไว้ แต่ย่อมให้ผลเพราะอาศัยอุปธิวิบัติ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บุคคลแม้อื่นอีกที่มีบาปกรรมมาก บาปกรรมเหล่านั้น ไม่พึงให้ผล แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในกาลสมบัติ. แต่ว่า บุคคลนั้น เกิดในกาลวิบัติ ด้วยบาปกรรมหนึ่ง คือในกาลที่มีพระราชาไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม มนุษย์ชั่ว หรือ ในกาลแห่งสัตว์มีอายุขัย ๑๐ ปี ซึ่งเป็นกาลลามก ไร้ค่า. ในกาลเช่นนั้น แม้เบญจโครสย่อมเสื่อมไปเป็นจำนวนมาก หญ้ากับแก้นับว่าเป็นอาหารอันเลิศ. แม้บุคคลนั้นเกิดในมนุษยโลกก็จริง ถึงอย่างนั้น เขาก็มีการเป็นอยู่คล้ายกับเนื้อ หรือสัตว์ที่เลี้ยงไว้เป็นอาหาร ในกาลเห็นปานนี้ โอกาสของการให้ผลของกุศลย่อมไม่มี มีแต่โอกาสของอกุศลโดยส่วนเดียวเท่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมจำนวนมาก ย่อมไม่อาจให้ผล เพราะกาลสมบัติห้ามไว้ แต่ย่อมให้ผลได้ เพราะอาศัยกาลวิบัติ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บุคคลแม้อื่นอีกที่มีบาปกรรมมาก บาปกรรมนั้น ไม่พึงให้ผลแก่ บุกคลผู้ตั้งอยู่ในปโยคสมบัติ แต่ว่า บุคคลนั้นตั้งอยู่ในกาลวิบัติแล้ว ย่อม
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 713
กระทำอกุศลกรรม ๑๐ มีปาณาติบาตเป็นต้น. ราชบุรุษทั้งหลายจับผู้ทำกรรมอันหยาบช้านั้นนั่นแหละแสดงต่อพระราชา พระราชาทรงให้กรรมกรณ์ (การทรมานทางกาย) เป็นอันมากแล้วก็ให้ฆ่าเสีย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมทั้งหลายมาก ย่อมไม่อาจให้ผล เพราะความที่ปโยคสมบัติห้ามไว้ แต่ก็ย่อมให้ผลได้เพราะอาศัยปโยควิบัติ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บาปกรรม อันสมบัติทั้ง ๔ (คือ คติสมบัติ อุปธิสมบัติ กาลสมบัติ ปโยคสมบัติ) ห้ามไว้จึงไม่ให้ผล แต่ย่อมให้ผลเพราะอาศัยวิบัติ ๔ (มี คติวิบัติเป็นต้น) ด้วยประการฉะนี้.
เหมือนอย่างว่า บุรุษบางคนนั่นแหละ พึงให้พระราชาชอบพระทัย ด้วยการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ทีนั้น พระราชาพึงให้ฐานันดร แล้วก็ให้ชนบทแก่เขา (บ้านส่วย). บุรุษนั้นไม่อาจเพื่อใช้สอยชนบทนั้นโดยชอบ พึงทำให้พินาศไป เหมือนภาชนะใส่ภัตที่วานรวิ่งถือไปแล้ว. บุรุษนั้น เห็นสิ่งที่ชอบใจอันใด คือ ยานหรือพาหนะ ทาสหรือทาสี ที่สวนหรือที่นา ของบุคคลใด ก็พึงถือเอาสิ่งทั้งปวงนั้นโดยพละการ พวกมนุษย์ไม่อาจเพื่อจะว่ากล่าวอะไรๆ ด้วยสำคัญว่า ผู้นี้เป็นราชวัลลภ ดังนี้ ทั้งเขาผู้นั้นก็พึงทำร้ายบุคคลผู้สนิทสนมกับพระราชา หรือทำร้ายมหาอำมาตย์ของพระราชา. มหาอำมาตย์นั้น จับบุรุษนั้น ให้โบยแล้วๆ ก็จับมัดมือให้ลากไปเฝ้าพระราชา กราบทูลให้ทรงทราบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ บุรุษชื่อโน้น ทำลายชนบทของพระองค์ดังนี้. พระราชารับสั่งให้จองจำในตะรางแล้ว ก็ให้ราชบุรุษตีกลองประกาศในพระนครว่า บุรุษชื่อโน้น ลักของอะไรของใคร ดังนี้. พวกมนุษย์มาแล้วก็พึงยังเสียงตะโกนตั้งพันว่า วัตถุนี้ของเรา อันบุรุษนั้นถือเอาแล้ว วัตถุนี้ของเรา อันบุรุษ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 714
นี้ถือเอาแล้ว ดังนี้. พระราชาทรงกริ้วด้วยเหตุเพียงด้วยคำนั้น จึงทำบุรุษนั้นให้ลำบากในเรือนจำโดยประการต่างๆ แล้วก็ให้ประหารเสีย แล้วตรัสว่า พวกท่านจงไป จงลากบุรุษนั้นไปทิ้งในป่าช้า ให้สมกับความผิด ดังนี้. คำอุปมา เป็นเครื่องยังอุปไมยให้ถึงพร้อมนี้ บัณฑิตพึงทราบอย่างนี้.
ก็ในกาลแห่งปุถุชนแม้เกิดในสวรรค์ด้วยบุญกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นแหละ เปรียบเหมือนกาลที่บุรุษนั้นทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้พระราชาชอบพระทัย แล้วจึงได้ฐานันดร. กาลที่อกุศลกรรมไม่ได้โอกาสให้ผล ก็เพราะบุคคลนั้นเกิดในสวรรค์แม้นี้ เปรียบเหมือนกาลที่ใครๆ ไม่อาจว่ากล่าวคำอะไรๆ ในเมื่อบุรุษนั้นทำลายชนบทนั้น และถือเอาสิ่งของๆ มนุษย์ทั้งหลาย.
กาลที่บุรุษนี้เคลื่อนจากสวรรค์แล้วเกิดในนรก เปรียบเหมือนกาลที่บุรุษนั้นทำร้ายราชวัลลภคนหนึ่ง ในวันหนึ่ง แล้วถูกราชบุรุษทุบตี แล้ว กราบทูลแด่พระราชา เพราะทรงกริ้วจึงให้จองจำในเรือนจำ. กาลที่บุรุษนั้น เกิดในนรกแล้วรับอกุศลกรรมทั้งปวงที่มาประชุมกันนั้น เปรียบเหมือนกาลตะโกนของมนุษย์ทั้งหลายว่า วัตถุนี้ของเรา อันบุรุษนี้ถือเอาแล้ว วัตถุนี้ของเรา อันบุรุษนี้ถือเอาแล้ว ดังนี้. กาลที่เขาถูกเผาในนรกตลอดกัปทั้งสิ้น ไม่อาจยกศีรษะขึ้นจากนรกได้ ด้วยวิบากของกรรมนี้ๆ จนกว่ากรรมหนึ่งๆ จะสิ้นไป เปรียบเหมือนกาลนำบุรุษนั้นมาทิ้งไว้ในป่าช้าอันเหมาะแก่กรรมของตน. จริงอยู่ สัตว์ที่ถูกไหม้ในนรกสิ้นกัปหนึ่ง เพราะทำกรรมอันให้ตั้งอยู่ตลอดกัป มิใช่คนเดียว มิใช่สองคน มิใช่ร้อยคน มิใช่พันคน. ได้ยินว่า สัตว์ทั้งหลายที่ถูกไหม้ด้วยอาการอย่างนี้ เหลือประมาณที่จะนับ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 715
ว่าด้วยกรรมสมาทานอันเป็นกุศล
แม้ในคำทั้งหลายมีคำว่า กรรมสมาทานอันเป็นกุศลบางอย่าง มีอยู่ กรรมสมาทานนั้นอันคติวิบัติห้ามไว้ ย่อมไม่ให้ผล ดังนี้ เป็นต้น บัณฑิตพึงประกอบเนื้อความ อย่างนี้.
กัลยาณกรรมจำนวนมาก มีอยู่แก่บุคคลบางคนในโลกนี้ กรรมนั้น พึงให้ผลแก่ผู้ตั้งอยู่ในคติสมบัติ. แต่ว่า เขาผู้นั้นไปเกิดในคติวิบัติ คือ ในนรก หรือในอสุรกาย ด้วยบาปกรรมอย่างหนึ่ง. ในฐานะเช่นนี้ กุศลย่อมไม่อาจเพื่อให้ผล อกุศลเท่านั้นย่อมให้ผลโดยส่วนเดียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า กุศลกรรมเหล่านั้น ของบุคคลนั้น อันคติวิบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ดังนี้ ด้วยประการ ฉะนี้.
กัลยาณกรรมจำนวนมาก มีอยู่แม้แก่บุกคลอื่นอีก กรรมนั้นพึงให้ผลแก่ผู้ตั้งอยู่ในอุปธิสมบัติ. แต่ว่าเขาตั้งอยู่ในอุปธิวิบัติ ด้วยบาปกรรมหนึ่ง คือ เป็นผู้มีผิวพรรณทราม เช่นกับปีศาจ แม้ว่าเขาเกิดในราชตระกูล โดยกาลอันล่วงไปแห่งพระบิดา ย่อมไม่ได้ราชสมบัติ เพราะว่า อะไรๆ ด้วยราชสมบัติของผู้นี้หาสิริมิได้. แม้เกิดในบ้านของเสนาบดีเป็นต้น ก็ย่อมไม่ได้ตำแหน่งเสนาบดี หรือตำแหน่งเศรษฐี. ก็เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งเนื้อความนี้ พึงทราบเรื่องพระเจ้าทีปราช.
เรื่องพระเจ้าทีปราช
ได้ยินว่า พระราชา เมื่อพระราชบุตรประสูติแล้ว ทรงเลื่อมใสในพระเทวี จึงได้ทรงประทานพร พระเทวีนั้นรับพรแล้ว ทรงยับยั้งอยู่. ต่อมา พระกุมารมีชันษา ๗ พรรษา ได้ให้ราชบุรุษนำไก่มาชนกันที่พระลานหลวง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 716
ไก่ตัวหนึ่งบินขึ้นไปแล้วทำลายพระเนตรของพระกุมาร. พระเทวีผู้เป็นพระมารดาทรงดำริว่า เราจักทูลขอราชสมบัติในเวลาที่โอรสมีชันษา ๑๕ หรือ ๑๖ ดังนี้ จึงเสด็จไปเฝ้าพระราชา ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ในเวลาที่พระกุมารประสูติแล้ว พระองค์ทรงประทานพรแก่หม่อมฉัน หม่อมฉันรับพรนั้นแล้วรอเวลาอยู่ บัดนี้ หม่อมฉันจักถือเอาพรนั้น ดังนี้. พระราชาตรัสว่า ดีแล้ว เทวี เธอจงถือเอา ดังนี้. พระเทวีทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ สิ่งอะไรๆ ชื่อว่า หม่อมฉันไม่ได้แล้วจากสำนักของพระองค์ มิได้มี แต่บัดนี้ หม่อมฉัน ขอทูลขอราชสมบัติเพื่อพระโอรสของหม่อมฉัน ดังนี้. พระราชาตรัสว่า ดูก่อน เทวี บุตรของเธอมีอวัยวะไม่สมประกอบ เราไม่อาจเพื่อจะให้ราชสมบัติแก่บุตรของเธอได้ ดังนี้. พระเทวีทูลว่า พระองค์ เมื่อไม่อาจเพื่อประทานพรอันพอพระทัยแก่หม่อมฉัน เพราะเหตุไร จึงได้ประทานพรแก่หม่อมฉันในครั้ง นั้นเล่า ดังนี้. พระราชา เมื่อถูกบีบคั้นอยู่อย่างยิ่ง ก็ไม่อาจเพื่อให้ราชสมบัติในลังกาทวีปทั้งสิ้นแก่โอรสของพระองค์ จึงทรงส่งไปสู่นาคทีปะ (เกาะเล็ก) ด้วยพระดำรัสว่า จงให้ราชบุรุษยกฉัตรขึ้นที่นาคทีปะแล้วอยู่เถิดดังนี้ พระราชบุตรนั้น จึงได้ทรงพระนามว่า พระเจ้าทีปราช. ถ้าว่า ความพิการแห่งจักษุจักไม่ได้มีแล้วไซร้ ก็จักได้ราชสมบัติอันแวดล้อมด้วยสมบัติทั้งปวงในตัมพปัณณิทวีปทั้งสิ้นซึ่งมี ๑๕๐ โยชน์เป็นประมาณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า กัลยาณกรรมทั้งหลาย อันอุปธิวิบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.
กัลยาณกรรมจำนวนมาก มีอยู่ แก่บุคคลอื่นอีก กรรมนั้นพึงให้ผลแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในกาลสมบัติ. แต่ว่าบุคคลนั้นเกิดในกาลวิบัติ คือใน กาลแห่งพระราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรมและมนุษย์ชั่ว เป็นกาลลามก ไร้ค่า มีอายุ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 717
น้อยที่สุดแห่งการดำเนินไป. ก็ในกาลเช่นนั้น กัลยาณกรรมย่อมไม่อาจเพื่อให้ผล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า กัลยาณกรรมทั้งหลาย อันกาลวิบัติห้ามไว้ ย่อมไม่ให้ผล ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.
กัลยาณกรรมทั้งหลายมาก มีอยู่แก่บุคคลแม้บางคน กรรมเหล่านั้น พึงให้ผลแก่ผู้ตั้งอยู่ในปโยคสมบัติ. แต่ว่า บุคคลนี้ตั้งอยู่ในปโยควิบัติ คือ ย่อมฆ่าสัตว์ ฯลฯ ย่อมยังความเป็นผู้ทุศีลทั้งปวงให้เต็ม. โดยทำนองนั้น ตระกูลทั้งหลาย แม้มีชาติเสมอกัน ก็ย่อมไม่ทำอาวาหะและวิวาหมงคลกับตระกูลผู้ทุศีลนั้น บุรุษเช่นนี้ เป็นผู้ลามก คือ เป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา นักเลง การพนัน ฉะนั้น ผู้หวังประโยชน์ต้องเว้นให้ไกล. เพราะกัลยาณกรรมทั้งหลาย ย่อมไม่อาจเพื่อให้ผล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า กัลยาณกรรมเหล่านี้ อันปโยควิบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.
กัลยาณกรรม อันจะให้ซึ่งผลเพราะอาศัยสมบัติ ๔ แต่ย่อมไม่ให้ผล เพราะกัลยาณกรรมนั้น อันวิบัติ ๔ ห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ด้วย ประการฉะนี้.
กัลยาณกรรมจำนวนมาก มีอยู่แก่บุคคลแม้อื่นอีก กรรมนั้นไม่พึงให้ผลแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในคติวิบัติ. แต่ว่าบุคคลนั้น เกิดในคติสมบัติ ด้วย กัลยาณกรรมหนึ่งนั่นแหละ กรรมเหล่านั้นเข้าถึงผู้นั้นแล้ว จึงให้ผลในที่นั้นๆ คือให้เกิดในมนุษยโลกตามกาลอันควร ให้เกิดในเทวโลกตามกาลอันควร.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า กัลยาณกรรมเหล่านี้ ไม่อาจเพื่อให้ผล เพราะคติวิบัติห้ามไว้ แต่ย่อมให้ผล เพราะอาศัย คติสมบัติ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 718
กัลยาณกรรมจำนวนมาก มีอยู่แก่บุคคลแม้อื่นอีก กรรมเหล่านั้น ไม่พึงให้ผลแก่ผู้ตั้งอยู่ในอุปธิวิบัติ. แต่ว่า บุคคลนั้นตั้งอยู่ในอุปธิสมบัติด้วย กัลยาณกรรมอย่างหนึ่ง คือ มีรูปงาม น่าดู เช่นกับรูปพรหม กัลยาณกรรมเหล่านั้นชื่อว่าย่อมให้ผล เพราะความที่บุคคลนั้นตั้งอยู่ในอุปธิสมบัติ. ถ้ากรรมนั้น เกิดในราชสำนัก ทั้งที่พระเชษฐาทั้งหลายแม้มีอยู่ อัตภาพของผู้อันกรรมให้เกิดขึ้นแล้วนี้ ย่อมเป็นของสำเร็จแล้วด้วยดี ราชบุรุษทั้งหลาย ย่อมอภิเษก ผู้นั้นนั่นแหละในราชสมบัติโดยความหวังว่า เมื่อเรายกเศวตฉัตรขึ้นแก่ผู้นี้แล้ว ความผาสุกจักมีแก่ชาวโลก ดังนี้. ผู้เกิดในบ้านของอุปราช เป็นต้น ย่อมได้ความเป็นอุปราช โดยกาลอันล่วงไปแห่งบิดา ซึ่งเป็นตำแหน่งเสนาบดี ตำแหน่ง ขุนคลัง หรือตำแหน่งเศรษฐี.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า กัลยาณกรรมเหล่านี้ ไม่อาจให้ผล เพราะอุปธิวิบัติห้ามไว้ แต่ย่อมให้ผล เพราะอาศัย อุปธิสมบัติ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.
กัลยาณกรรมจำนวนมาก มีอยู่แก่บุคคลแม้อื่นอีก กรรมเหล่านั้นไม่พึงให้ผลแก่ผู้ตั้งอยู่ในกาลวิบัติ. แต่ว่า บุคคลนั้นเกิดในกาลสมบัติด้วยกัลยาณกรรมอย่างหนึ่ง คือ ในกาลแห่งพระราชาทรงธรรม และมนุษย์ผู้ใจดี. กัลยาณกรรมย่อมให้ผลแก่บุคคลผู้เกิดนั้น เพราะการสำเร็จแห่งกาลเช่นนั้น ในข้อนี้ พึงทราบเรื่องของพระเถระ ชื่อว่า มหาโสณะ เป็นอุทาหรณ์.
เรื่องพระเถระ ชื่อว่า มหาโสณะ
ได้ยินว่า ภิกษุมีจำนวนหนึ่งหมื่นสองพันรูป อาศัยอยู่ที่จิตตลบรรพต ซึ่งมีภัยแต่พราหมณ์ (ผู้เป็นโจร) ชื่อว่า ติสสะ. ในติสสะมหาวิหาร ก็เหมือน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 719
กัน. ในมหาวิหารแม้ทั้งสอง พวกหนูใหญ่ทั้งหลายพากันมากัดผ้า (ที่เก็บไว้) ๓ ปี ในเวลาราตรีเดียวเท่านั้น (๑) แล้วนำไปไว้ที่สักว่ากองแกลบ. ภิกษุสงฆ์ที่จิตตลบรรพตคิดว่า เราจักอาศัยผ้าในติสสมหาวิหาร จึงออกจากวิหารด้วยประสงค์ว่า เราไปแล้วจักอาศัยอยู่ในที่นั้น ดังนี้. ฝ่ายภิกษุสงฆ์แม้ในติสสมหาวิหาร ก็คิดว่า เราจักอาศัยผ้าในจิตตลบรรพต ออกจากวิหารด้วยประสงค์ว่า เราไปแล้วจักอาศัยอยู่ในที่นั้น ดังนี้. ภิกษุแม้ทั้งสองพวกก็มาพบกันที่ฝั่งแห่งซอกเขาลึกแห่งหนึ่ง จึงถามกันและกันแล้ว ทราบแล้วซึ่งความที่ผ้าเป็นของหมดสิ้นไปแล้ว ภิกษุทั้งหมด ๒๔,๐๐๐ ได้ปรึกษากันว่า พวกเราจักทำอย่างไร ดังนี้. หมู่แห่งภิกษุ (บางพวก) ก็เข้าไปสู่ป่าอันเป็นซอกเขาลึก นั่งแล้วก็ปรินิพพานด้วยนิพพานธาตุอันเป็นอนุปาทิเสสะ โดยกิริยาที่นั่งแล้วนั่นแหละ.
ภายหลัง ครั้นเมื่อภัยสงบแล้ว ภิกษุสงฆ์อาศัยท้าวสักกเทวราชแล้ว รวบรวมพระธาตุทั้งหลายทำเป็นเจดีย์. แม้โจรชื่อพราหมณ์ติสสะ ก็ทำลายชนบทแล้ว. สงฆ์ประชุมกัน ปรึกษาแล้ว จึงส่งพระเถระ ๘ รูปไปสู่สำนักของท้าวสักกะว่า ขอพระองค์ จงห้ามโจร ดังนี้. ท้าวสักกเทวราช ตรัสว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ โจรเกิดขึ้นแล้ว โยมไม่อาจเพื่อจะห้าม ขอสงฆ์จงไปสู่ทางทะเลข้างหน้า โยมจักกระทำอารักขาสมุทร (ทะเล). สงฆ์ไปสู่นาคทีปะแต่ทิศทั้งปวง ให้ผูกแพใหญ่ ๓ ชั้น ที่เมืองท่าชื่อชัมพุโกละ. แพชั้นหนึ่งจมลงในน้ำ ภิกษุสงฆ์นั่งอีกชั้นหนึ่ง ตั้งบาตรและจีวรไว้อีกชั้นหนึ่ง. พระเถระทั้ง ๓ รูป ผู้เป็นประธานบริษัทเหล่านั้น คือ พระจูฬสิวเถระ ผู้ชำนาญสังยุตตนิกาย อิสิทัตตเถระ และ มหาโสณเถระ. บรรดาพระเถระเหล่านั้น พระเถระสองรูปกล่าวเชิญ พระมหาโสณเถระ ว่า ข้าแต่ท่านมหาโสณะผู้มีอายุ ท่านจงก้าวขึ้นแพใหญ่เถิด ดังนี้. พระมหาโสณเถระ
(๑) พม่า. กินเสบียงสำหรับ ๓ ปีหมดในราตรีเดียว. ต่อไปก็เช่นกัน ไทยใช้คำว่า "ผ้า" พม่าใช้คำว่า "เสบียง"
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 720
กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ท่านเล่า. พระเถระทั้งสองกล่าวว่า ผู้มีอายุ ความตายในน้ำก็ดี ความตายบนบกก็ดี ก็เท่ากันนั่นแหละ พวกเราจักไม่ไป แต่ท่านอาศัยแพนั้นแล้ว จักดำรงสืบต่อพระศาสนาในอนาคต ผู้มีอายุ ท่านจงไปเถิด ดังนี้. พระมหาโสณเถระ แม้กล่าวถึง ๓ ครั้งว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อท่านทั้งสองไม่ไป กระผมจักไม่ไป. เมื่อพระเถระทั้งสอง ไม่อาจยังพระเถระให้ขึ้นแพ จึงพากันกลับแล้ว.
ลำดับนั้น พระจูฬสิวเถระ กล่าวกะ พระอิสิทัตตเถระ ว่า ผู้มีอายุ อิสิทัตตะ เพราะอาศัยพระมหาโสณะแล้ว การสืบต่อแห่งพระศาสนาจักตั้งอยู่ในอนาคต ท่านจงอย่าปล่อยมือจากพระโสณเถระ (หมายความว่า ให้แนะนำสั่งสอน) พระอิสิทัตตเถระกล่าวกะพระจูฬสิวเถระว่า ก็ท่านเล่าขอรับ ดังนี้ พระจูฬสิวเถระกล่าวว่า ผมจักไปไหว้มหาเจดีย์ ดังนี้. พระจูฬสิวเถระ กล่าวสอนพระเถระทั้งสองแล้ว ก็เที่ยวจาริกไปโดยลำดับจนถึงมหาวิหาร. ในสมัยนั้น มหาวิหารว่างเปล่าจากภิกษุสงฆ์. ต้นไม้ละหุ่งเกิดขึ้นที่ลานของพระเจดีย์. พระเจดีย์มีพุ่มไม้ทั้งหลายแวดล้อมแล้ว มีสาหร่ายเกี่ยวพันแล้ว. พระเถระไหว้มหาเจดีย์ราวกะแสดงความนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ยังทรงพระชนม์อยู่ แล้วเข้าไปสู่ศาลาทางทิศปัจฉิม (ตะวันตก) เมื่อแลดู นั่งตรึกอยู่ว่า ที่บรรจุพระสรีรธาตุของพระศาสดาผู้ถึงแล้วซึ่งความยิ่งใหญ่ด้วยลาภสักการะด้วยยศอันยิ่งใหญ่ชื่อเห็นปานนี้ ไม่มีที่พึงแล้วหนอ (ไม่มีผู้ดูแล) ดังนี้.
ลำดับนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้อันไม่ไกลจากที่นั้น ถือเอาทะนาน ข้าวสารและงบน้ำอ้อย ไปสู่สำนักของพระเถระ ด้วยรูปของมนุษย์ด้วยฤทธิ์ แล้วเรียนถามพระเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านจะไปที่ไหน ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 721
พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนอุบาสก อาตมาจักไปสู่ทิศทักษิณ (ใต้) ดังนี้.
เทวดากล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม้กระผมก็ประสงค์จะไปในที่นั้นนั่นแหละ เราจักไปพร้อมกัน ดังนี้.
พระเถระกล่าวว่า อาตมามีกำลังทราม จักไม่อาจเพื่อจะไปตามอัชฌาสัยของท่านได้ ท่านจงไปก่อนเถิดอุบาสก ดังนี้.
เทวดากล่าวว่า แม้กระผมก็จักไปตามอัชฌาสัยของพระคุณเจ้า ดังนี้แล้วได้รับเอาบาตรและจีวรของพระเถระมาถือไว้.
ก็ในกาลเป็นที่ขึ้นไปสู่สะพานอ่างเก็บน้ำชื่อว่า ติสสะ พระเถระให้นำบาตรมาแล้วทำน้ำดื่ม เทวดาก็ได้ทำน้ำดื่มถวายแล้ว พอพระเถระมีกำลัง ตั้งอยู่ในเหตุสักว่าการดื่มแล้วนั่นแหละ เทวดาย่นแผ่นดินให้ถึงวิหารร้างหลังหนึ่ง ในที่ใกล้เวณุนที แล้วปัดกวาดสถานที่ถวายแด่พระเถระ. วันรุ่งขึ้น พอพระเถระล้างหน้าเสร็จ เทวดาก็หุงข้าวยาคูถวาย เมื่อพระเถระดื่มยาคูแล้ว เทวดาก็หุงภัตน้อมเข้าไป. พระเถระกล่าวว่า อุบาสก ท่านจงตั้งไว้เพื่อท่านเถิด แล้วเอามือปิดบาตร. เทวดากล่าวว่า กระผมจักไม่ไปไกล แล้วจึงเอาภัตใส่ในบาตรของพระเถระนั่นแหละ เมื่อพระเถระทำภัตกิจเสร็จแล้ว เทวดาก็ถือเอาบาตรและจีวรเพื่อดำเนินไปสู่ทางที่จะไป ย่นแผ่นดินนำไปสู่สำนักแห่งชัชชรนที แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นั่นเป็นที่สำหรับอยู่ของพวกมนุษย์ผู้กินพืชผัก ควันไฟ ย่อมปรากฏ กระผมจักไปข้างหน้า ดังนี้ ไหว้พระเถระแล้ว ไปสู่ภพของตน. พระเถระอาศัยพวกมนุษย์ผู้กินพืชผัก อยู่แล้วตลอดกาลแห่งภัยแม้ทั้งปวง.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 722
แม้ พระอิสิทัตตเถระ เมื่อจาริกไปโดยลำดับ ก็บรรลุถึงอฬชนบท. พวกมนุษย์ในชนบทนั้นผ่าผลมะซางซึ่งยังไม่สุกนัก ถือเอาเมล็ดในผล แล้วทิ้งเปลือกได้ไปแล้ว. พระเถระกล่าวกะพระมหาโสณะว่า ดูก่อนท่านมหาโสณะ ภิกษาหารย่อมปรากฏแก่เรา ดังนี้ แล้วให้พระมหาโสณะนำบาตรและจีวรมา ห่มจีวรแล้ว ได้นำบาตรออกยืนอยู่แล้ว. หญิงรุ่นสาวคนหนึ่งเห็นพระเถระผู้ยืนอยู่ จึงคิดว่า ประโยชน์อะไรๆ จักมีด้วยผลมะซางนี้ จึงนำผลมะซางและเปลือกมะซางมาใส่ในบาตร แล้วได้ถวายแล้ว. พระเถระทั้งสองฉันแล้ว อาหารนั้นนั่นแหละได้เป็นไปตลอด ๗ วัน. ลำดับนั้น ชนทั้งหลายส่งข่าวเรื่องโจรมาโดยลำดับ. มนุษย์ผู้กลัวภัย ถือเอาดอกโกมุททั้งหลาย (ดอกบัวขาว) ได้ทิ้งดอกโกมุททั้งหลายแล้วหนีไป. พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนท่านมหาโสณะ ภิกษาหารย่อมปรากฏแก่เรา ดังนี้ แล้วให้นำบาตรและจีวรมา ห่มจีวรแล้วก็นำบาตรออกมายืนอยู่. ทาริกา (หญิงสาว) ในบ้านคนหนึ่ง ทำความสะอาดก้านโกมุทแล้วใส่ในบาตรถวาย. พระเถระทั้งสองฉันก้านโกมุทแล้ว. อาหารนั้นได้พอยังอัตภาพให้เป็นไป ๗ วัน พระเถระเมื่อเที่ยวไปโดยลำดับ ได้ถึงประตูบ้านหลังหนึ่งในที่อยู่แห่งมนุษย์ผู้กินพืชผัก.
มารดาและบิดาของทาริกาคนหนึ่งในบ้านนั้น เมื่อจะไปป่า ได้สั่งว่า แน่ะแม่ ถ้าพระผู้เป็นเจ้าไรๆ ย่อมมาในที่นี้ เจ้าจงอย่าให้ท่านไปในที่ไหนๆ จงบอกที่เป็นที่อยู่แก่พระผู้เป็นเจ้า ดังนี้. ทาริกานั้น เห็นพระเถระทั้งสองแล้ว จึงรับบาตรและนิมนต์ให้นั่ง. ขึ้นชื่อว่า ธัญชาติในบ้านไม่มีอยู่ ทาริกานั้น จึงถือเอามีดไปทุบเปลือกต้นมะกล่ำและต้นกล้วยป่าพร้อมกับเครือเถาและใบผัก มารวมกันทำให้เป็นก้อน ๓ ก้อน วางก้อนหนึ่งลงในบาตรของพระอิสิทัตตเถระ วางก้อนหนึ่งลงบนบาตรของพระมหาโสณเถระ เหยียดมือออกไป ด้วยประสงค์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 723
ว่า เราจักวางก้อนที่เกินลงในบาตรของพระอิสิทัตตเถระ แต่มือหมุนกลับไปใส่ลงในบาตรของพระมหาโสณเถระ. พระอิสิทัตตเถระกล่าวว่า กรรมอันให้ซึ่งผล ในเพราะก้อนมะกล่ำและกล้วยป่า ในสมัยมีภัยแต่พราหมณ์ชื่อว่า ติสสะ จักปรากฏผลมีประมาณเพียงไร เพราะการถึงพร้อมแห่งเทศกาล ดังนี้ แล้วพระเถระทั้งสองก็ฉันก้อนเหล่านั้นด้วยกัน ได้ไปสู่ที่อยู่แล้ว. แม้ทาริกานั้น ก็บอกมารดาและบิดาผู้มาจากป่าว่า พระเถระทั้งสองมาแล้ว และที่เป็นที่อยู่เพื่อพระเถระทั้งสองนั้น ฉันก็บอกแล้ว ดังนี้. มารดาและบิดาแม้ทั้งสองนั้น ไปสู่สำนักของพระเถระทั้งสอง ไหว้แล้วรับปฏิญาณ (ให้สัญญา) ด้วยคำว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกโยมย่อมได้ซึ่งสิ่งใดมา โยมก็จักบำรุงพระคุณเจ้าทั้งสองด้วยสิ่งนั้น ดังนี้. แม้พระเถระทั้งหลายก็อาศัยชนเหล่านั้นอยู่แล้วตลอดกาลมีภัยทั้งปวง.
ครั้นเมื่อโจรชื่อติสสะผู้เป็นพราหมณ์ตายแล้ว ปิตุมหาราชก็ยังราชบุรุษให้ยกฉัตรขึ้น. ภิกษุสงฆ์จากฝั่งสมุทรโน้นฟังว่า ภัยสงบแล้ว ชนบทสมบูรณ์แล้ว ดังนี้ ก็ข้ามมาด้วยเรือที่ท่าเรือชื่อว่ามหาติตถะ และได้ถามหา พระมหาโสณเถระ ว่า พระมหาโสณเถระอยู่ที่ไหน ดังนี้ แล้วได้ไปสู่สำนักของพระเถระ. พระเถระ (มหาโสณเถระ) มีภิกษุสงฆ์ห้าร้อยเป็นบริวาร บรรลุถึงวิหารชื่อ มัณฑลาราม ในบ้าน กาลกะ. ในสมัยนั้น มีตระกูลอาศัยอยู่ในบ้านกาลกะ ๗๐๐ ตระกูล ในเวลากลางคืนเทวดาทั้งหลายเที่ยวไปบอกแก่พวกมนุษย์ทั้งหลายว่า พระมหาโสณเถระผู้มีภิกษุเป็นบริวารห้าร้อยมาถึงมัณฑลารามวิหารแล้ว ขอชนบ้านหนึ่งๆ จงถวายอาหารบิณฑบาตอันเป็นของมีค่าควรแก่กหาปณะหนึ่งๆ กับด้วยผ้าสาฎกใหม่ ดังนี้. ก็ในวันรุ่งขึ้น พระเถระทั้งหลายเข้าไปสู่บ้านกาลกะเพื่อบิณฑบาต. มนุษย์ทั้งหลายนิมนต์ให้นั่งแล้ว
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 724
ได้ถวายยาคู. พระเถระ ชื่อว่า ติสสภูตะ ผู้อยู่ในมัณฑลารามเป็นสังฆเถระ นั่งอยู่.
มหาอุบาสกคนหนึ่ง ไหว้พระสังฆเถระแล้วเรียนถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญองค์ไหน ชื่อว่า มหาโสณะ ดังนี้. สมัยนั้น พระมหาโสณะเถระเป็นภิกษุใหม่กว่าจึงนั่ง ณ ที่สุด พระสังฆเถระจึงชี้มือไปแล้วกล่าวว่า ดูก่อนอุบาสก นั่นชื่อว่า มหาโสณะ ดังนี้ อุบาสกไหว้พระมหาโสณเถระนั้นแล้วขอรับบาตรจากท่าน พระมหาโสณะไม่ให้. พระติสสภูตเถระ กล่าวว่า ดูก่อนท่านโสณะ เธอย่อมไม่ทราบโดยอาการอย่างไร แม้เราก็ไม่ทราบโดยอาการอย่างนั้นนั่นแหละ เทวดาทั้งหลาย ย่อมให้หุงภัตเพื่อผู้มีบุญทั้งหลาย เธอจงปล่อย (ให้) บาตร จงทำการสงเคราะห์เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดังนี้. พระโสณะเถระ ได้ให้บาตรแล้ว. มหาอุบาสกถือเอาบาตรไปแล้วให้เต็มด้วยอาหารบิณฑบาต อันมีราคาควรแก่หนึ่งกหาปณะ และทำผ้าสาฎกใหม่รองบาตรแล้วนำมาวางไว้ที่มือของพระเถระ. อุบาสกแม้อื่นอีกก็ตั้งอาหารบิณฑบาตและผ้าสาฎก รวมอาหารบิณฑบาตและผ้าสาฎกอย่างละ ๗๐๐ แก่พระมหาโสณะเถระเท่านั้น ได้ถวายแล้ว.
พระมหาโสณเถระ กระทำการจัดแบ่งสิ่งเหล่านั้นแก่ภิกษุสงฆ์เรียบร้อยแล้ว ก็ไปสู่มหาวิหารโดยลำดับ ครั้นบ้วนปากล้างหน้าแล้วก็ไหว้พระมหาโพธิ์ ไหว้พระมหาเจดีย์ ยืนอยู่ที่ ถูปาราม ห่มจีวรแล้วพาภิกษุผู้เป็นบริวารเข้าไปสู่พระนครโดยประตูด้านทักษิณ (ใต้) ได้อาหารบิณฑบาตอันมีราคาควรแก่ ๖๐ กหาปณะในระหว่างนั้นจนถึงทางไปสู่ศาลา. จำเดิมแต่กาลนั้นมา ประมาณแห่งเครื่องสักการะนับไม่ได้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 725
ก็ในกาลวิบัติ ซึ่งมีภิกษาอันหาได้โดยยาก แม้ผลและเปลือกมะซาง แม้ก้านดอกโกมุทก็หาได้โดยยาก แต่ในกาลสมบัติ มีลาภมากมายเห็นปาน นี้เกิดขึ้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องวัตตัพพกนิโครธเถระ (๑)
ก็ภัยแต่โจรชื่อว่า ติสสะ ผู้เป็นพราหมณ์เกิดขึ้นในกาลแม้แห่งวัตตัพพกนิโครธเถระยังเป็นสามเณร. สามเณรและอุปัชฌาย์ของสามเณร ไม่ได้ไปสู่สมุทรฝังโน้นแต่ได้มุ่งหน้าไปประเทศชายแดน ด้วยคิดว่า พวกเราจักเข้าไปอาศัยมนุษย์ ผู้กินพืชผัก ดังนี้ สามเณรเป็นผู้ไม่มีอาหารประมาณ ๗ วัน เห็นลูกตาลที่ต้นตาลในที่ใกล้บ้านแห่งหนึ่ง จึงกราบเรียนกะพระเถระว่า ขอท่านจงรอสักครู่ ผมจักให้ผลตาลตกลงมา ดังนี้. พระอุปัชฌาย์ (พระเถระ) กล่าวว่าสามเณร เธอเป็นผู้มีกำลังทราม อย่าขึ้นเลย ดังนี้. สามเณรกราบเรียนว่า. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมจักขึ้น ดังนี้แล้ว ถือมีดเล็กปีนขึ้นต้นตาล เริ่มเพื่อจะตัดพวงแห่งลูกตาล ใบมีดหลุดตกลงมาที่พื้นดิน.
พระเถระคิดว่า สามเณรนี้ลำบากอยู่ ขึ้นต้นตาลแล้ว ใบมีดหลุดตกลงมา บัดนี้เขาจักทำอย่างไร ดังนี้. สามเณรฉีกใบตาล ฉีกแล้วๆ ผูกด้ามมีด หย่อนลงมาๆ ให้ตกลงที่พื้นดิน แล้วเรียนพระเถระว่า ท่านขอรับ เป็นการดีหนอ ถ้าว่าท่านพึงส่งใบมีดให้กระผมในที่นี้ ดังนี้. พระเถระคิดว่า สามเณรเป็นผู้ฉลาดในอุบาย ได้ส่งใบมีดให้แล้ว. สามเณรนั้น ก็ใช้มีดตัดลูกตาลทั้งหลายให้ตกลง. สามเณรโยนมีดและลูกตาลลงมา กำลังจะเฉาะผลตาล พระเถระ
(๑) ชนทั้งหลายเรียกท่านว่าผู้มั่นคงดังต้นนิโครธ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 726
กล่าวว่า สามเณร เธอมีกำลังทราม จงเคี้ยวกินผลตาลนี้ก่อน ดังนี้. สามเณรเรียนว่า ท่านขอรับ เมื่อท่านยังไม่ฉันลูกตาลนี้ กระผมก็จักไม่ฉัน ดังนี้ แล้วจับมีดเฉาะผลตาล แล้วนำบาตรออกมาใส่จาวตาลถวายแก่พระเถระแล้ว ตัวเองจึงเคี้ยวกิน. ตราบที่ผลแห่งตาลยังมี ทั้งสองนั้นก็ยังอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ เมื่อผลตาลสิ้นแล้ว จึงไปสู่วิหารร้างหลังหนึ่งในที่เป็นที่อยู่ของพวกมนุษย์ผู้กินพืชผัก.
สามเณรปัดกวาดที่สำหรับเป็นที่อยู่เพื่อพระเถระ. พระเถระได้ให้โอวาทแก่สามเณร แล้วก็เข้าไปสู่วิหาร. สามเณรคิดว่า กำหนดประมาณอัตภาพทั้งหลายอันฉิบหายแล้ว ในเพราะสิ่งอันไม่ควร (ความอดอยาก) นับไม่ได้ เราจักกระทำการบำรุงพระพุทธเจ้า จึงไปสู่ลานพระเจดีย์แล้วกระทำการถอนหญ้าออกแล้วๆ สามเณรนั้นหวั่นไหวอยู่ เพราะความที่ตนไม่มีอาหารมา ๗ วัน จึงล้มลงไป นอนอยู่นั่นแหละก็ยังถอนหญ้า.
ก็มนุษย์พวกหนึ่ง เที่ยวไปอยู่ในป่า ได้รวงผึ้งแล้วก็ถือเอาไม้ฟืนทั้งหลายด้วยใบผักทั้งหลายด้วย ไปในที่ใกล้แห่งสามเณร ด้วยความสำคัญว่า เอ! นั่นเนื้อหรือหนอ ดังนี้ ครั้นเห็นแล้ว จึงถามว่า ดูก่อนสามเณร ท่านทำอะไร ดังนี้. สามเณรตอบว่า ดูก่อนอุบาสก อาตมาถอนหญ้า ดังนี้. พวกมนุษย์กล่าวว่า สามเณร ใครๆ แม้อื่นมีอยู่ในที่นี้หรือ ดังนี้. สามเณร กล่าวว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย มีพระอุปัชฌาย์ของเราอยู่ในห้อง ดังนี้. อุบาสกกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงถวายสิ่งนี้แก่พระมหาเถระแล้วพึงเคี้ยวกินเถิด ดังนี้. ครั้นแล้ว ก็ถวายรวงผึ้งแก่สามเณรและบอกซึ่งที่เป็นที่อยู่ของพวกตน แล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พวกเราเมื่อทำการหักกิ่งไม้ เสร็จแล้วก็จักกลับไป ขอสามเณรจงพาพระเถระมาด้วยเครื่องหมายนั้น ดังนี้ แล้วพากันกลับไป.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 727
สามเณรรับรวงผึ้งแล้วไปสู่ที่อยู่ของพระเถระ ยืนอยู่ในภายนอก กราบเรียนว่า ท่านขอรับ กระผมขอนมัสการ ดังนี้. พระเถระได้เป็นผู้นิ่ง ด้วยคิดว่า สามเณรจักเป็นผู้อันความหิวเผาผลาญแล้วจึงมา สามเณรจึงกราบเรียน อีกว่า ท่านขอรับกระผมขอนมัสการ ดังนี้. พระเถระ กล่าวว่า ดูก่อนสามเณร เธอไม่ให้ภิกษุแก่นอนตามสบาย เพราะเหตุไร ดังนี้. สามเณรกล่าวว่า ท่านควรเปิดประตูขอรับ ดังนี้. พระเถระจึงลุกขึ้นเปิดประตู แล้วถามว่า สามเณร เธอได้อะไรมา ดังนี้. สามเณรกล่าวว่า รวงผึ้ง ท่านควรเคี้ยวกินรวงผึ้ง อันมนุษย์ทั้งหลายถวายนา. พระเถระกล่าวว่า สามเณร เราจักลำบากเพื่อจะเคี้ยวกินอย่างนี้ จักทำให้เป็นของควรดื่มแล้วจักดื่ม สามเณรกระทำให้เป็นของ ควรดื่ม แล้วถวายแก่พระเถระ.
ลำดับนั้น พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนสามเณร เธอถามถึงที่อยู่ของมนุษย์หรือ. สามเณรกราบเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกมนุษย์บอกเอง ขอรับ. พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนสามเณร เมื่อเราไปตอนเช้า จักลำบาก เราจักไปวันนี้ทีเดียว แล้วให้สามเณรถือบาตรและจีวรออกไป. ทั้งสองนั้นไปแล้ว อาศัยอยู่ในที่อันไม่ไกลจากที่เป็นที่อยู่ของพวกมนุษย์. ในเวลาแห่งราตรี สามเณรคิดว่า จำเดิมแต่เราบวชแล้ว ชื่อว่าอรุณภายในบ้าน (ในที่แห่งเดียวกับพระเถระ) เราไม่เคยให้ขึ้นไปแล้ว จึงถือเอาบาตรออกไปสู่ป่า. พระมหาเถระ เมื่อไม่เห็นสามเณรในที่เป็นที่นอน จึงคิดว่า สามเณรจักเป็นผู้อันมนุษย์ผู้กินคนจับไปแล้ว ดังนี้. สามเณรยังอรุณให้ตั้งขึ้นในป่าแล้ว ถือเอาน้ำและไม้สีฟันกลับมา. พระเถระถามว่า สามเณร เธอไปไหน ทำให้เกิดวิตกแก่ภิกษุผู้แก่ เธอจงนำมาซึ่งทัณฑกรรม (จงรับทัณฑกรรม). สามเณรตอบว่า กระผมจะนำทัณฑกรรมมา (หมายถึงจะประพฤติการอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการลงโทษตัวเอง). พระเถระล้างหน้าแล้ว ห่มจีวรแล้ว. แม้ท่านทั้งสอง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 728
ได้พากันไปสู่ที่เป็นที่อยู่แห่งมนุษย์ทั้งหลาย. แม้มนุษย์ทั้งหลายก็ได้ถวายอาหาร มีเผือก ผลไม้ ใบไม้อันเป็นเครื่องบริโภคของตน. พระเถระฉันเสร็จแล้วไปสู่วิหาร. สามเณรนำน้ำมาแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมจักล้างเท้าของท่าน (เป็นการทำทัณฑกรรม) ดังนี้. พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนสามเณร เธอไปไหนในเวลากลางคืน ทำให้เรามีวิตกเกิดขึ้น ดังนี้. สามเณรกราบเรียนว่า ท่านขอรับ กระผมไม่เคยให้อรุณตั้งขึ้นในบ้านเดียวกันกับท่าน ด้วยเหตุนี้ จึงได้ไปสู่ป่า เพื่อต้องการให้อรุณตั้งขึ้น ดังนี้. พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนสามเณร ทัณฑกรรมไม่สมควรแก่เธอ สมควรแก่เรา ดังนี้แล้วอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ. อนึ่ง พระเถระได้ให้ซึ่งความหมายรู้แก่สามเณรไว้ว่า เราเป็นคน แก่ ชื่อว่า สิ่งนี้ (ความตาย) จักมีก่อน เพราะฉะนั้น ความตายนั้น ใครๆ ไม่อาจเพื่อจะรู้ เธอจงรักษาตน ดังนี้. ได้ยินว่า พระเถระเป็นพระอนาคามี. ในกาลอื่นอีก พวกมนุษย์กินคนจับพระเถระกินเป็นอาหารแล้ว.
สามเณร รักษาตนได้ ครั้นเมื่อภัยสงบแล้ว ก็ถือเอาพระอุปัชฌาย์ ในที่เช่นนั้น อุปสมบทแล้วเรียนพระพุทธพจน์ เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก มหาชนจึงเรียกว่าวัตตัพพกนิโครธเถระ (แปลว่า พระเถระผู้มั่นคงดังต้นนิโครธ) เกิดขึ้นแล้ว. ปิตุมหาราช ทรงครองราชสมบัติแล้ว. ภิกษุทั้งหลายผู้มาแล้วๆ จากฝั่งสมุทรโน้น ถามว่า พระเถระชื่อว่า วัตตัพพกะนิโครธไปไหน ดังนี้ แล้วก็ไปสู่สำนักของวัตตัพพกนิโครธนั้น หมู่แห่งภิกษุใหญ่แวดล้อมท่านแล้ว พระเถระนั้นผู้อันภิกษุหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้วไปสู่มหาวิหาร ไหว้มหาโพธิ์ไหว้ มหาเจดีย์ และถูปาราม โดยลำดับ แล้วเข้าไปสู่พระนคร. ไตรจีวรในที่ทั้งสามเกิดขึ้นแก่พระเถระผู้กำลังเป็นไปนั่นแหละ ตั้งแต่ประตูด้านทิศทักษิณ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 729
ในกาลวิบัติ มีภิกษาหาได้โดยยาก แม้แต่ผลตาล เผือกมันและใบไม้ แต่ในกาลสมบัติ มหาลาภเห็นปานนี้เกิดขึ้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า กัลยาณกรรมทั้งหลายไม่อาจเพื่อให้ผล เพราะกาลวิบัติห้ามไว้อย่างนี้ แต่ย่อมให้ผลใน กาลสมบัติ ดังนี้.
กัลยาณกรรมจำนวนมาก มีอยู่แก่บุคคลแม้อื่นอีก กรรมนั้นไม่พึงให้ผลแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในปโยควิบัติ. แต่บุคคลนั้น ตั้งอยู่เฉพาะในสัมมาปโยคะ (ความเพียรโดยชอบ) ด้วยกัลยาณกรรมอย่างหนึ่ง คือ ย่อมบำเพ็ญสุจริต ๓ ย่อม รักษาศีล ๕ ศีล ๑๐ เมื่อบุคคลเกิดในกาลสมบัติ เป็นพระราชาทั้งหลายผู้ประกอบด้วยเครื่องประดับทั้งปวง กรรมนั้นย่อมส่งราชกัญญาทั้งหลายอันสมควรแก่พระราชานั้น ย่อมส่งซึ่งบรรณาการนั้นๆ อันต่างด้วยสิ่งมีค่า มียานพาหนะ แก้วมณี ทองคำ และเงิน เป็นต้นให้. แม้เขาถึงการบรรพชา ย่อมมียศใหญ่ มีอานุภาพใหญ่. ในข้อนั้นมีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์
เรื่องพระเจ้ากูฏกัณณราช
ได้ยินว่า พระเจ้ากูฏกัณณราช ทรงรักใคร่ พระจูฬสุธัมมเถระ ผู้อาศัยอยู่ใน กัณณคาม ใกล้ภูเขา. พระราชานั้น เมื่อประทับอยู่ใกล้หนองน้ำมีดอกอุบล (ในอุปปลวาปี) รับส่งให้นิมนต์พระเถระมา. พระเถระมาแล้ว อาศัยอยู่ในวิหารชื่อว่า มาลาราม. พระราชาตรัสถามมารดาของพระเถระว่า พระเถระย่อมพอใจในอาหารประเภทไหน ดังนี้. มารดาของพระเถระ ทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระเถระพอใจในเผือก ดังนี้. พระราชารับสั่งให้ราชบุรุษถือเผือกไปสู่วิหาร เมื่อถวาย ไม่อาจเพื่อจะทอดพระเนตรดูหน้าของพระเถระ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 730
ครั้นเสด็จออกจากวิหารแล้ว ตรัสถามพระเทวี ณ ภายนอกบริเวณวิหารว่า พระเถระเป็นเช่นไร ดังนี้. พระเทวีทูลว่า พระองค์เป็นชายไม่อาจเพื่อจะทอดพระเนตร หม่อมฉันจักอาจอย่างไร ทั้งหม่อมฉันก็ไม่ทราบว่าท่านเป็นเช่นไร ดังนี้. พระราชาไม่อาจเพื่อทอดพระเนตรแม้แต่บุตรของคหบดีผู้ถวายเครื่องสังเวยในแว่นแคว้นของพระองค์ การนับถือศาสนาของพระองค์ เป็นเพียงดีดพระหัตถ์ ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชื่อว่าพระศาสนาเป็นของใหญ่หนอ ดังนี้. พระราชาย่อมทรงพอพระทัยแม้พระเถระชื่อว่า จูฬนาคผู้ทรงพระไตรปิฎก.
ครั้งหนึ่งต่อมา ฝีตั้งขึ้นที่นิ้วของพระเถระนั้น พระราชาเสด็จไปสู่วิหาร ด้วยตั้งพระทัยว่า เราจักเยี่ยมพระเถระ ดังนี้. ด้วยความรักที่มีกำลัง จึงใช้พระโอษฐ์ดูดหัวฝีที่นิ้วของพระเถระ ฝีแตกแล้วในพระโอษฐ์นั่นแหละ ไม่ทรงบ้วนบุพโพโลหิต (น้ำเลือดน้ำหนอง) ออก ได้ทรงกลืนเข้าไปแล้ว ราวกะว่าน้ำอมฤต ด้วยความรักในพระเถระ. ในกาลอื่นอีก พระเถระนั้นนั่นแหละ อาพาธหนักนอนบนเตียงมรณะ พระราชาเสด็จไปแล้วทรงเอาศีรษะซบลงที่เตียงมรณะอันไม่สะอาด ทรงร้องคร่ำครวญอยู่ว่า เพลาเกวียน คือ พระธรรม ย่อมแตก ดังนี้ แล้วเสด็จไป.
ชื่อว่า การยกศีรษะซบลงที่เตียงอันไม่สะอาด แล้วร้องคร่ำครวญ เที่ยวไปตามทาง ทางนั้นจะเป็นทางไปของใคร. ตอบว่าเป็นทางไปของผู้ประกอบโดยชอบ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า กัลยาณกรรมไม่อาจเพื่อให้ผล ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะปโยควิบัติห้ามไว้ แต่ย่อมให้ผลเพราะอาศัยปโยคสมบัติ ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 731
กัลยาณกรรมอันวิบัติ ๔ ห้ามไว้ไม่ให้ผล แต่ย่อมให้ผลเพราะอาศัยสมบัติ ๔ ประการฉะนี้ ในข้อนี้ บัณฑิตพึงทำอุปมาให้แจ่มแจ้ง ใน เรื่องต่อไปนี้.
อุปมาด้วยอำมาตย์
ได้ยินว่า มหาราชาพระองค์หนึ่ง ทรงกริ้วอำมาตย์คนหนึ่ง ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งมีประมาณเล็กน้อย จึงให้จองจำอำมาตย์นั้นในเรือนจำ ญาติทั้งหลายของอำมาตย์นั้นทราบความที่พระราชาทรงพิโรธแล้ว พวกเขาไม่กล่าวคำอะไรๆ. ครั้นพระราชาทรงปราศจากความพิโรธแล้ว จึงขอให้พระราชา ทรงทราบถึงความที่อำมาตย์นั้นไม่มีความผิด พระราชาทรงให้ปล่อยแล้ว ทั้งให้พระราชทานตำแหน่งแก่อำมาตย์นั้นให้กลับเป็นปกติ. ทีนั้น ประมาณแห่งเครื่องบรรณาการทั้งหลายก็มาสู่อำมาตย์นั้นนับไม่ได้ จนไม่อาจเพื่อจะรับ.
ในข้อนั้น กาลที่ปุถุชนเกิดในนรก พึงทราบว่า เปรียบเหมือนกาลที่อำมาตย์นั้นถูกพระราชาทรงกริ้วด้วยเหตุสักว่าเล็กน้อย แล้วให้จองจำในเรือนจำ. ต่อมา กาลที่ปุถุชนนั้นเกิดในสวรรค์ พึงทราบว่า เปรียบเหมือนกาลที่ญาติทั้งหลายของอำมาตย์นั้นให้พระราชาทรงทราบความที่อำมาตย์นั้นไม่ผิด ให้ปล่อยจากเรือนจำ และกระทำฐานันดรให้กลับเป็นปกติ. การที่กัลยาณกรรมทั้งหลายอาศัยสมบัติทั้ง ๔ แล้วให้ผลอันเป็นสุข แม้ตั้งแสนแห่งกัป อันนำไปสู่ที่อันเป็นสุขแต่ที่นี้ไปสู่ที่โน้น คือ นำมาสู่มนุษยโลกจากเทวโลก นำไปสู่เทวโลกจากมนุษยโลก แล้วให้ถึงพระนิพพาน บัณฑิตพึงทราบว่า เปรียบเหมือนกาลที่อำมาตย์นั้นไม่สามารถเพื่อจะรับเครื่องบรรณาการอันมากมาย.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 732
กรรมในปฏิสัมภิทามรรค
บัณฑิตครั้นแสดงกำลังข้อที่ ๒ ด้วยสามารถแห่งพระบาลีด้วยอาการอย่างนี้ก่อนแล้ว พึงแสดงโดยนัยแห่งปฏิสัมภิทามรรคนี้ว่า อโหสิ กมฺมํ อโหสิ กมฺมวิปาโก ดังนี้. บรรดาคำเหล่านั้น อโหสิ กมฺมํ (แปลว่า กรรมได้มีแล้ว) ได้แก่ กรรมอันสั่งสมแล้วในอดีต ก็ได้มีแล้วในอดีตนั่นแหละ และคำว่า อโหสิ กมฺมวิปาโก (แปลว่า กัมมวิบากคือผลของกรรม ได้มีแล้ว) นี้ ท่านกล่าวไว้หมายเอาวิบากอันให้ผลแล้วในอดีตนั้น.
ก็บรรดากรรมทั้งหลายที่บุคคลสั่งสมไว้แล้วแม้มาก มีทิฏฐธัมมเวทนียกรรมเป็นต้น (กรรมให้ผลในภพปัจจุบัน) ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมอย่างหนึ่งให้ผลในภพปัจจุบันแล้ว ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมที่เหลือย่อมไม่ให้ผล. อุปปัชชเวทนียกรรมอย่างหนึ่งให้ผลปฏิสนธิแล้ว อุปปัชชเวทนียกรรมที่เหลือทั้งหลายย่อมไม่ให้ผล. กรรมอย่างหนึ่งให้เกิดในนรกด้วยอนันตริยกรรมหนึ่งแล้ว อนันตริยกรรมทั้งหลายที่เหลือย่อมไม่ให้ผล. บรรดาสมาบัติ ๘ สมาบัติหนึ่งให้ผลเกิดในพรหมโลก สมาบัติที่เหลือย่อมไม่ให้ผล. ด้วยเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า กัมมวิบากไม่ได้มีแล้ว ซึ่งหมายเอาคำดังกล่าวนี้.
อนึ่ง บุคคลใดทำกรรมอันเป็นกุศลและอกุศลแม้มาก อาศัยกัลยาณมิตรแล้วย่อมบรรลุพระอรหัตได้ ดังนั้น กัมมวิบากนั้นจึงชื่อว่า ไม่ได้มีแล้วแก่พระอรหันต์นั้น. กรรมใดอันสั่งสมแล้วในอดีต ย่อมให้ผลในภพนี้ กรรมนั้นชื่อว่าได้มีแล้ว กัมมวิบากยังมีอยู่. กรรมใดย่อมถึงซึ่งความเป็นอวิบาก (คือไม่ให้ผล) โดยนัยก่อนนั่นแหละ กรรมนั้นชื่อว่าได้มีแล้ว กัมมวิบากย่อมไม่มี. กรรมใดอันสั่งสมแล้วในอดีต จักให้ผลในอนาคต กรรมนั้นชื่อว่า ได้มีแล้ว กัมมวิบากจักมี. กรรมใดจักปรากฏเป็นอวิบากโดยนัยก่อนนั่นแหละ กรรมนั้นชื่อว่าได้มีแล้ว กัมมวิบากจักไม่มี. กรรมใดอัน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 733
สั่งสมในภพนี้ จะให้ผลในภพนี้นั่นแหละ กรรมนั้นชื่อว่าย่อมมีอยู่ กัมมวิบากก็มีอยู่. กรรมใดย่อมปรากฏเป็นอวิบากโดยนัยก่อนนั่นแหละ กรรมนั้นชื่อว่ามีอยู่ กัมมวิบากย่อมไม่มี. กรรมใดอันสั่งสมแล้วในภพนี้จักให้ผลในอนาคต กรรนนั้นชื่อว่ามีอยู่ กัมมวิบากจักมี. กรรมใดจักถึงความเป็นอวิบากโดยนัยก่อนนั่นแหละ กรรมนั้นชื่อว่ามีอยู่ กัมมวิบากจักไม่มี. กรรมใดแม้ตัวเองเป็นอนาคต แม้วิบากของกรรมนั้นก็เป็นอนาคต กรรมนั้นชื่อว่าจักมี กัมมวิบากก็จักมี. กรรมใดตัวเองจักมี จักถึงความเป็นอวิบาก (ไม่ให้ผล) โดยนัยก่อนนั่นแหละ กรรมนั้นชื่อว่าจักมี กัมมวิบากจักไม่มี.
คำว่า อิทํ ตถาคตสฺส (แปลว่า นี้เป็นกำลังของพระตถาคต) นี้ บัณฑิตพึงทราบญาณเครื่องกำหนดรู้ความแตกต่างแห่งกรรมและวิบากของพระตถาคต โดยอาการแม้ทั้งปวงเหล่านั้นชื่อว่า เป็นกำลังข้อที่ ๒ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว ดังนี้.
นิทเทสแห่งกำลังที่ ๒ จบ
อธิบายญาณอันเป็นกำลังข้อที่ ๓
คำว่า ทาง (มรรค) หรือว่า ปฏิปทา นี้ เป็นชื่อของกรรมนั่นแหละ. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า นิรยคามินี (แปลว่า ให้ไปสู่นรก) เป็นต้น. ชื่อว่า นรก เพราะอรรถว่า เป็นที่ไม่ชอบใจ และเพราะอรรถว่า เป็นที่อันหาความยินดีมิได้. ชื่อว่า เดรัจฉาน เพราะอรรถว่า เคลื่อนไหวอัตภาพไปตามขวาง ไม่เหยียดตรงขึ้นไป. เดรัจฉานนั่นแหละ ชื่อว่า กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน. ชื่อว่า เปรต (ปิตติ) เพราะความเป็นผู้ละไปแล้ว อธิบายว่า เพราะความที่ตนละโลกนี้ไปแล้ว. เปรตนั่นแหละ ชื่อว่า ปิตติวิสัย.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 734
ชื่อว่า มนุษย์ เพราะความเป็นผู้มีใจสูง. มนุษย์นั่นแหละ ชื่อว่า มนุษยโลก.
ชื่อว่า เทวะ (เทพ) เพราะอรรถว่า ย่อมรื่นเริงมีประมาณ มากมายด้วยเบญจกามคุณ หรือว่า ด้วยสมบัติเป็นเหตุ. เทวะ (เทพ) นั่นแหละ ชื่อว่า เทวโลก.
ตัณหา พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสเรียกว่า วานะ (เครื่องร้อยรัด) วานะนั้นย่อมไม่มีในที่นั้น เพราะเหตุนั้น ที่นั้นจึงชื่อว่า นิพพาน.
ชื่อว่า นิรยคามี (ทางให้ไปสู่นรก) เพราะอรรถว่าย่อมเคลื่อนไปสู่นรก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาทางนี้. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้.
พระตถาคต ย่อมทรงทราบปฏิปทาแม้ทั้งปวงนี้ อย่างไร.?
ก็เมื่อชนทั้งหลายแม้อยู่ในบ้านทั้งสิ้น ร่วมกันปลงสุกรตัวหนึ่ง หรือ เนื้อตัวหนึ่งลงจากชีวิต (ฆ่า) เจตนาแม้ของชนทั้งหมด ย่อมมีชีวิตนทรีย์ของสัตว์อื่นเป็นอารมณ์ทุกคน แต่ว่ากรรมนั้นของบุคคลเหล่านั้นย่อมแตกต่างกัน ในเพราะความพยายามนั่นแหละ. เพราะว่า ในชนเหล่านั้น คนหนึ่งมีความพอใจเกิดขึ้นแล้ว ย่อมทำการฆ่าด้วยความเอาใจใส่. คนหนึ่งย่อมกระทำ เพราะถูกผู้อื่นบีบคั้นด้วยคำว่า เธอจงมา เธอจงทำการฆ่า ดังนี้. คนหนึ่งไม่ขัดขวางการฆ่าอยู่ เที่ยวไป เป็นราวกะว่า มีความพอใจด้วย (เสมอกัน). ในชนเหล่านั้น คนหนึ่งย่อมเกิดในนรกด้วยกรรมนั้นนั่นแหละ. คนหนึ่งย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน. คนหนึ่งย่อมเกิดในปิตติวิสัย (กำเนิดเปรต).
พระตถาคต ย่อมทรงทราบว่า ผู้นี้จักเกิดในนรก ผู้นี้จักเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ผู้นี้จักเกิดในปิตติวิสัย เพราะความที่บุคคลนั้น พยายามแล้วด้วยกิริยาอาการนี้ ในขณะแห่งความเพียรนั่นแหละ ดังนี้. ย่อมทรงทราบว่า บรรดาบุคคลทั้งหลายแม้เมื่อจะเกิดในนรก ผู้นี้จักเกิดในมหานรก ๘ ขุม ผู้นี้จักเกิดในอุสสัททะ (นรก
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 735
ที่เบียดเสียดยัดเยียด) ๑๖ ขุม ดังนี้. ย่อมทรงทราบว่า แม้บรรดาผู้จะไปเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ผู้นี้จักเป็นสัตว์ไม่มีเท้า ผู้นี้จักเป็นสัตว์ ๒ เท้า ผู้นี้จักเป็นสัตว์ ๔ เท้า ผู้นี้จักเป็นสัตว์มีเท้ามาก ดังนี้. ย่อมทรงทราบว่า แม้ผู้จะไปเกิดในปิตติวิสัย ผู้นี้จักเป็นนิชฌามตัณหิกเปรต (เปรตผู้ถูกความอยากเผาผลาญ) ผู้นี้จักเป็นขุปปิปาสิกเปรต (เปรตผู้หิวกระหาย) ผู้นี้จักเป็นปรทัตตูปชีวีเปรต (เปรตผู้อาศัยทานของผู้อื่นเลี้ยงชีวิต) ดังนี้. ย่อมทรงทราบว่า ในบรรดากรรมเหล่านั้น กรรมนี้จักไม่อาจคร่ามาซึ่งปฏิสนธิ (คือให้ปฏิสนธิ) กรรมนี้มีกำลังทรามจักมีผลผูกพันเพราะปฏิสนธิอันกรรมอื่นให้แล้ว ดังนี้.
อนึ่ง บรรดาชนทั้งหลาย ผู้อยู่ในบ้านทั้งสิ้น ร่วมกันถวายอาหารบิณฑบาตก็เหมือนกัน คือว่าเจตนาของชนแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมมีอาหารบิณฑบาตเป็นอารมณ์ทั้งนั้น. แต่ว่า กรรมนั้นของบุคคลเหล่านั้นย่อมแตกต่างกันโดยนัยก่อนนั่นแหละ ในขณะแห่งความพยายาม. ในชนเหล่านั้น บางคน (บางพวก) ย่อมเกิดในเทวโลก บางคนย่อมเกิดในมนุษยโลก.
พระตถาคต ย่อมทรงทราบว่า บุคคลผู้นี้จักเกิดในมนุษยโลก ผู้นี้จักเกิดในเทวโลก เพราะความที่ผู้นั้นพยายามแล้ว ด้วยกิริยาอาการนี้ ในขณะแห่งความเพียรนั่นแหละ ดังนี้.
ย่อมทรงทราบว่า แม้บรรดาผู้ที่จะเกิดในเทวโลก ผู้นี้จักเกิดในปรนิมมิตวสวัตดีทั้งหลาย (ชั้น ๖) ผู้นี้จักเกิดในนิมมานรดีทั้งหลาย (ชั้น ๕) ผู้นี้จักเกิดในดุสิตทั้งหลาย (ชั้น ๔) ผู้นี้จักเกิดในยามาทั้งหลาย (ชั้น ๓) ผู้นี้จักเกิดในดาวดึงส์ทั้งหลาย (ชั้น ๒) ผู้นี้จักเกิดในจาตุมหาราชิกาทั้งหลาย (ชั้น ๑) ผู้นี้จักเกิดในภุมมเทพทั้งหลาย ย่อมทรงทราบว่า ผู้นี้จักเกิดเป็นเทวราชผู้ประเสริฐสุด ผู้นี้จักเกิดเป็นผู้รับใช้มีตำแหน่งที่ ๒ ที่ ๓ ของเทวราชนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 736
ย่อมทรงทราบว่า แม้บรรดาผู้ที่จะเกิดในมนุษย์ทั้งหลาย ผู้นี้จักเกิดในขัตติยตระกูล ผู้นี้จักเกิดในตระกูลพราหมณ์... ในตระกูล พ่อค้า (แพศย์)... ในตระกูลศูทร.
ย่อมทรงทราบว่า บรรดามนุษย์ทั้งหลาย ผู้นี้จักเกิดเป็นพระราชา ผู้นี้จักเกิดเป็นผู้รับใช้พระราชาซึ่งมีตำแหน่งที่ ๒ หรือ ๓ ดังนี้.
ย่อมทรงทราบว่า บรรดากรรมเหล่านั้น กรรมนี้จักไม่อาจเพื่อคร่ามาซึ่งปฏิสนธิ (ให้กำเนิด) กรรมนี้มีกำลังทรามจักให้ผลผูกพัน เพราะปฏิสนธิอันกรรมอื่นให้แล้ว ดังนี้.
อนึ่ง เมื่อบุคคลเหล่านั้น เริ่มตั้งวิปัสสนาอยู่นั่นแหละ และมีวิปัสสนาอันปรารภแล้วโดยกิริยาอาการอันใด
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า ผู้นี้จักบรรลุพระอรหัต ผู้นี้จักไม่อาจเพื่อบรรลุพระอรหัต ผู้นี้จักเป็นพระอนาคามีเท่านั้น ผู้นี้จักเป็นพระสกทาคามีเท่านั้น ผู้นี้จักเป็นพระโสดาบันเท่านั้น แต่บุคคลนี้จักไม่อาจเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคผล ผู้นี้จักตั้งอยู่ในวิปัสสนาอันมีเพียงลักษณะเป็นอารมณ์ ผู้นี้จักตั้งอยู่ในปัจจยปริคคหญาณ (ญาณที่กำหนดรู้ซึ่งปัจจัยเท่านั้น) ผู้นี้จักตั้งอยู่ในนามรูปปริคคหญาณ (ญาณที่กำหนดรู้นามและรูป) เท่านั้น ผู้นี้จักตั้งอยู่ในอรูปปริคคหญาณเท่านั้น ผู้นี้จักตั้งอยู่ในรูปปริคคหญาณเท่านั้น ผู้นี้จักกำหนดได้เพียงมหาภูตะเท่านั้น ผู้นี้ไม่อาจเพื่อกำหนดอะไรๆ ได้เลย ดังนี้.
แม้เมื่อพระโยคาวจรทั้งหลาย กระทำกสิณบริกรรมอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า ก็กสิณบริกรรมของผู้นี้ จักเป็นไป
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 737
เพียงบริกรรมเท่านั้น จักไม่อาจเพื่อให้นิมิตเกิดขึ้น ผู้นี้จักอาจเพื่อให้นิมิตเกิดขึ้น แต่จักไม่อาจเพื่อให้อัปปนาเกิดขึ้น ผู้นี้จักบรรลุอัปปนาแล้วกระทำฌานให้เป็นบาท เริ่มตั้งวิปัสสนา แล้วจักถือเอาพระอรหัต ดังนี้แล.
นิทเทสแห่งกำลังที่ ๓ จบ
อธิบายกำลังข้อที่ ๔
คำว่า ขนฺธนานตฺตํ (แปลว่า ความเป็นต่างๆ แห่งขันธ์) อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบเหตุต่างๆ แห่งขันธ์ ๕ อย่างนี้ว่า นี้ชื่อว่า รูปขันธ์ ฯลฯ นี้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ ดังนี้. ในบรรดาขันธ์แม้เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบความที่ขันธ์หนึ่งๆ แตกต่างกันอย่างนี้ คือ รูปขันธ์มีอย่างเดียว ฯลฯ รูปขันธ์มี ๑๑ อย่าง, เวทนาขันธ์มีอย่างเดียว ฯลฯ เวทนาขันธ์มีมากอย่าง, สัญญาขันธ์มีอย่างเดียว ฯลฯ สัญญาขันธ์มีมากอย่าง, สังขารขันธ์มีอย่างเดียว ฯลฯ สังขารขันธ์มีมากอย่าง, วิญญาณขันธ์มีอย่างเดียว ฯลฯ วิญญาณขันธ์มีมากอย่าง ดังนี้.
คำว่า อายตนนานตฺตํ (แปลว่า ความเป็นต่างๆ แห่งอายตนะ) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบความแตกต่างกันแห่งอายตนะ อย่างนี้ว่า นี้ชื่อว่า จักขวายตนะ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ธัมมายตนะ. ในอายตนะเหล่านั้น กามาวจรมี ๑๐ อายตนะ อายตนะอันเป็นไปในภูมิ ๔ มี ๒ อายตนะ ดังนี้.
คำว่า ธาตุนานตฺตํ (แปลว่า ความเป็นต่างกันแห่งธาตุ) อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบความต่างกันแห่งธาตุ อย่างนี้ว่า นี้ ชื่อว่า จักขุธาตุ ฯลฯ นี้ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ. ในธาตุเหล่านั้นกามาวจรธาตุมี ๑๖. ธาตุอันเป็นไปในภูมิ ๔ มี ๒ ธาตุ ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 738
คำว่า อเนกธาตุํ นานาธาตุํ โลกํ (แปลว่า โลกธาตุเป็นอเนกธาตุ เป็นนานาธาตุ) อีกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาเพื่อแสดงว่า พระตถาคตย่อมทรงทราบความเป็นต่างกันแห่งโลก คือ อุปาทินนกสังขารนี้เพียงอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ย่อมทรงทราบแม้ความต่างกันแห่งโลก คือ อนุปาทินนกสังขาร ด้วยนั่นแหละ ดังนี้.
ก็พระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย และพระอัครสาวกทั้งสองย่อมทรงทราบ ความเป็นต่างกันแม้แห่งโลก คือ อุปาทินนกสังขารโดยเอกเทศ (โดยส่วนหนึ่ง) เท่านั้น ย่อมไม่ทราบโดยพิศดาร (คือ โดยไม่เหลือ) และไม่ทราบความต่างกันแห่งอนุปาทินนกสังขาร. ส่วนพระสัพพัญญูพุทธะ ย่อมทรงทราบความเป็นต่างกันแห่งโลก คือ อนุปาทินนกสังขาร อย่างนี้ว่า ลำต้นแห่งต้นไม้นี้ย่อมมีสีขาว เพราะมีธาตุชื่อนี้มาก ลำต้นแห่งต้นไม้นี้มีสีดำ... ลำต้นแห่งต้นไม้ นี้มีเปลือกเกลี้ยง... ลำต้นของต้นไม้นี้มีเปลือกหนา... ลำต้นของต้นไม้นี้มีเปลือกบาง เพราะมีธาตุชื่อนี้มาก ใบของต้นไม้นี้มีรูปอย่างนี้ ด้วยสามารถแห่งสีและสัณฐานเป็นต้น เพราะมีธาตุชื่อนี้มาก ผลของต้นไม้นี้มีสีเขียว เพราะมี ธาตุชื่อนี้มาก มีสีเหลือง... มีสีแดง... มีสีขาว... มีกลิ่นหอม... มีกลิ่นเหม็น... มีผลเล็ก... มีผลใหญ่... มีผลยาว... มีผลสั้น... มีผลกลม... มีสัณฐานดี... มีสัณฐานทราม... มีผลเกลี้ยง... มีผลหยาบ... มีกลิ่นหอม... มีกลิ่นเหม็น... มีรสหวาน... มีรสขม... มีรสเปรี้ยว... มีรสเผ็ด มีรสฝาด เพราะมีธาตุชื่อนี้มาก และหนามของต้นไม้นี้แหลม มีหนามไม่แหลม มีหนามตรง มีหนามคด มีสีแดง มีสีดำ มีสีเขียว มีสีขาว เพราะ มีธาตุชื่อนี้มาก ดังนี้ เพราะว่า ญาณข้อนี้เป็นกำลังแห่งพระสัพพัญญูพุทธะ เท่านั้น ไม่เป็นกำลังของชนทั้งหลายเหล่าอื่น ดังนี้แล. อธิบายกำลังข้อที่ ๔ จบ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 739
อธิบายกำลังข้อที่ ๕
คำว่า หีนาธิมุตฺติกา ได้แก่ อัธยาศัยอันเลวทราม. คำว่า ปณีตาธิมุตฺติกา ได้แก่ มีอัธยาศัยอันดี. คำว่า เสวนฺติ (ย่อมคบหา สมาคม) ได้แก่ ย่อมอาศัย ย่อมติดใจ. คำว่า ภชนฺติ (สมาคม) ได้แก่ การเข้าไปใกล้. คำว่า ปยิรุปาสนฺติ (เข้าใกล้) ได้แก่ การเข้าไปหาบ่อยๆ. จริงอยู่ ถ้าว่าพระอาจารย์และอุปัชฌาย์ไม่มีศีล สัทธิวิหาริก (ผู้อยู่ร่วม) มีศีล สัทธิวิหาริกเหล่านั้นย่อมไม่เข้าไปใกล้แม้ในอาจารย์และอุปัชฌาย์ของตน ย่อมเข้าไปใกล้ในภิกษุผู้สมควรเช่นกับตนเท่านั้น. ถ้าว่าอาจารย์และอุปัชฌาย์คนใดเป็นผู้มีศีล สัทธิวิหาริกไม่มีศีล ก็ย่อมไม่เข้าไปใกล้อาจารย์และอุปัชฌาย์ ย่อมเข้าไปใกล้ภิกษุผู้มีอัธยาศัยเลวเช่นกับตนเท่านั้น. ก็การเข้าไปคบหาสมาคมด้วยอาการอย่างนี้ ไม่มีในกาลบัดนี้เท่านั้น เพื่อแสดงว่า มีแล้วแม้แต่ในอดีตกาล และจักมีในอนาคตกาล ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อตีตมฺปิ อทฺธานํ เป็นต้น. คำนั้นมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
ถามว่า บุคคลผู้ทุศีลคบหาสมาคมกับผู้ทุศีลด้วยกัน บุคคลผู้มีศีลคบหาสมาคมกับผู้มีศีลด้วยกัน ผู้มีปัญญาทรามคบหาสมาคมกับผู้มีปัญญาทรามด้วยกัน บุคคลผู้มีปัญญาดีคบหาสมาคมกับผู้มีปัญญาดีด้วยกันเท่านั้น. อะไรย่อมกำหนด?
ตอบว่า อัชฌาสยธาตุ (ความพอใจอันเป็นมูลเดิม) ย่อมกำหนด.
ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายมีจำนวนมาก ย่อมเที่ยวไปสู่บ้านหนึ่ง เป็นการไปเพื่อภิกษาเป็นคณะ. พวกมนุษย์นำอาหารจำนวนมากใส่บาตรให้เต็มถวายแล้ว ก็ส่งไปด้วยคำว่า ขอท่านทั้งหลายจงฉันอาหารตามส่วนของท่านทั้งหลาย ดังนี้. แม้ภิกษุทั้งหลายก็กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พวกมนุษย์ย่อมประกอบการงานอันประกอบพร้อมด้วยธาตุ (ความพอใจ) ดังนี้. แม้พระเถระชื่อว่า จูฬาภัย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 740
ผู้ทรงพระไตรปิฎก เมื่อไปพร้อมกับภิกษุห้าร้อย เพื่อไหว้พระเจดีย์ในนาคทีปะ ผู้อันมนุษย์ทั้งหลายในบ้านหนึ่งนิมนต์แล้ว. ก็ในภิกษุเหล่านั้น รูปหนึ่งเป็นผู้ไม่เหมาะสมไปกับพระเถระมีอยู่ และในวิหารใกล้เคียงก็มีภิกษุผู้ไม่เหมาะสมรูปหนึ่ง ครั้นเมื่อภิกษุทั้งสองเข้ามาสู่บ้าน ชนเหล่านั้นแม้ทั้งสอง คือ ภิกษุผู้อาศัยอยู่ก่อนกับอาคันตุกภิกษุ ซึ่งไม่เคยเห็นอาคันตุกภิกษุมาก่อน ทั้งอาคันตุกภิกษุก็ไม่เคยเห็นภิกษุผู้มาก่อน ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นแม้มีอยู่ ภิกษุทั้งสองนั้นก็เข้ากันได้ ต่างคนก็หัวเราะแล้ว หัวเราะแล้ว ได้ยืนคุยกันอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง พระเถระเห็นแล้ว จึงกล่าวว่า ธาตุสังยุค (หมายถึง การประกอบพร้อมด้วยความพอใจอันเป็นมูลเดิม) อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงทราบ ตรัสไว้แล้ว ดังนี้
ครั้นกล่าวว่า ธาตุ คือ อัธยาศัย (ความพอใจ) ย่อมกำหนดอย่างนี้แล้ว พึงแสดงเนื้อความนี้นั่นแหละด้วยธาตุสังยุตต่อไปว่า
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบรรทมบนที่นอนสำหรับผู้ป่วย ณ ที่ใกล้ภูเขาคิชฌกูฏ ทอดพระเนตรเห็นภิกษุผู้เป็นหัวหน้าและรูปที่เดินจงกรมกับด้วยบริษัทของตนๆ. ในภิกษุทั้งหลายมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เป็นต้น ผู้แวดล้อมอยู่เพื่อประโยชน์แก่การรักษาพระองค์จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูสารีบุตรของเรา ผู้กำลังเดินจงกรมกับพวกภิกษุจำนวนมาก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. บัณฑิตพึงยังคำทั้งปวงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งปวงเหล่านี้แล มีปัญญามาก เป็นต้น ให้พิสดาร.
อธิบายกำลังข้อที่ ๕ จบ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 741
อธิบายกำลังข้อที่ ๖
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมปรารถนา ย่อมอาศัย ในสภาวะใด สภาวะนั้น เป็นที่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย คือ เป็นทิฏฐิคตะ (ความเห็นผิด) ก็ตาม เป็นยถาภูตญาณ (ญาณรู้ความตามเป็นจริง) ก็ตาม ชื่อว่า อาสยะ. กิเลสอันนอนเนื่องในขันธสันดานที่ยังละไม่ได้ ชื่อว่า อนุสัย. กุศลและอกุศล อันมีสังขารทั้งหลายมีกายเป็นต้นปรุงแต่งแล้ว ชื่อว่า จริต. อัธยาศัย ชื่อว่า อธิมุตติ.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อปฺปรชกฺเข เป็นต้น ชื่อว่า มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย เพราะว่า ธุลี คือ ราคะ โทสะ โมหะ ในนัยน์ตาคือปัญญาของสัตว์เหล่านั้นมีน้อยคือมีนิดหน่อย. ชื่อว่า มีธุลีคือกิเลสในจักษุมาก เพราะความที่บุคคลนั้นนั่นแหละมีกิเลสหนาแน่น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสน้อยและมีกิเลสมาก ด้วยบทแม้ทั้งสองนี้. อินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น ของบุคคลใดแก่กล้า บุคคลเหล่านั้นชื่อว่า มีอินทรีย์แก่กล้า. อินทรีย์เหล่านั้นของบุคคลใดอ่อน บุคคลเหล่านั้นชื่อว่า มีอินทรีย์อ่อน. โกฏฐาส (หมวดธรรมเหล่านั้น) มีอาสยะเป็นต้นของบุคคลใดดี บุคคลเหล่านั้นชื่อว่า มีอาการดี. โกฏฐาสเหล่านั้นของบุคคลใดวิปริต (ผิดไปจากความดี) บุคคลนั้นชื่อว่า มีอาการชั่ว. บุคคลเหล่าใดย่อมกำหนดเหตุ (การณะ) อันเขากล่าวแนะนำแล้ว สามารถเพื่อรู้ได้โดยง่าย บุคคลเหล่านั้นชื่อว่า แนะนำให้รู้ได้โดยง่าย. วิปริต (ผิดไปจากนี้) ชื่อว่า แนะนำให้รู้ได้โดยยาก. บุคคลใด เป็นผู้สมควร คือเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมอันเป็นอุปนิสสัย เพื่อแทงตลอดมรรคผล บุคคลนั้น ชื่อว่าผู้สมควรแก่การตรัสรู้ วิปริตไปจากนี้ ชื่อว่า ผู้อภัพพะ คือ ผู้ไม่ควรเพื่อตรัสรู้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงตั้งมาติกา (แม่บท) แห่งญาณเป็นกำลัง ที่ ๖ ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะจำแนกเนื้อความตามลำดับ จึงตรัสคำ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 742
เป็นต้นว่า กตโม จ สตฺตานํ อาสโย (แปลว่า ก็อาสยะของสัตว์ทั้งหลาย) เป็นไฉน.
ก็เนื้อความแห่งคำว่า สสฺสโต โลโก (แปลว่า โลกเที่ยง) เป็นต้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในนิกเขปกัณฑ์วรรณนา ในหนหลังนั่นแหละ. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อิติ ภวทิฏฺิสนฺนิสฺสิตา วา (แปลว่า อาศัยภวทิฏฐิ) ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายผู้อาศัยสัสสตทิฏฐิ ด้วยอาการอย่างนี้. จริงอยู่ สัสสตทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ภวทิฏฐิ ในที่นี้. อุจเฉททิฏฐิ ตรัสเรียกว่า วิภวทิฏฐิ. ด้วยว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเห็นผิดทั้งปวงเหล่านั้น ย่อมอาศัยทิฏฐิทั้งสองเหล่านี้เท่านั้น เพราะว่าทิฏฐิทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ไว้ด้วยสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ. แม้คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อน กัจจายนะ ก็แลสัตว์โลกอาศัยทิฏฐิทั้งสองนี้โดยมาก คือ เห็นว่า (สิ่งทั้งปวง) มีอยู่ ( อตฺถิตํ ) และ (สิ่งทั้งปวง) ไม่มีอยู่ ( นตฺถิตํ ) ดังนี้. ก็ในทิฏฐิทั้งสองนั้น ความเห็นว่าเที่ยง ชื่อว่า อัตถิตา (ความมีอยู่) ความเห็นว่าขาด สูญ ชื่อว่า นัตถิตา (ความไม่มี). นี้เป็นอาสยะของสัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นปุถุชนซึ่งอาศัยวัฏฏะก่อน.
ว่าด้วยอาสยะของสัตว์ผู้ไม่อาศัยวัฏฏะ
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อแสดงอาสยะของสัตว์ผู้บริสุทธิ์ ผู้ไม่อาศัยวัฏฏะ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า เอเต วา ปน อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม (แปลว่า ก็หรือว่า สัตว์ทั้งหลายไม่เข้าไปอาศัยส่วนสุด ทั้ง ๒ นี้)
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เอเต วา ปน ได้แก่ ก็หรือว่า สัตว์เหล่านั้นนั่นแหละ. คำว่า อุโภ อนฺเต ได้แก่ ส่วนสุด ๒ อย่าง กล่าวคือ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 743
สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ. คำว่า อนุปคมฺม ได้แก่ ไม่ยึดถือแล้ว. คำว่า อิทปฺปจฺจยตา ปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ ธมฺเมสุ (แปลว่า ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยของกันและกัน และอาศัยกันและกันเกิดขึ้น) ได้แก่ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยของกันและกัน และธรรมทั้งหลายอันอาศัยกันและกันเกิดขึ้น. คำว่า อนุโลมิกา ขนฺติ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ. คำว่า ยถาภูตํ วา ญาณํ (ญาณรู้ตามความเป็นจริง) ได้แก่ มรรคญาณ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายไว้ว่า วิปัสสนาอันพระโยคาวจรไม่อาศัยซึ่งส่วนสุด ๒ คือ สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิเหล่านั้น ในปฏิจจสมุปบาท (คือในการเกิดขึ้นแห่งอวิชชาเป็นต้น) และในธรรมอันอาศัยกันและกันเกิดขึ้น อันใด และมรรคญาณอันยิ่งกว่าวิปัสสนาญาณนั้น อันใด นี้เรียกว่า อาสยะ ของสัตว์ทั้งหลาย และข้อนี้แหละเป็นอาสยะของสัตว์ทั้งหลายแม้ทั้งหมดผู้อาศัยวัฏฏะและไม่อาศัยวัฏฏะ จึงชื่อว่า นี้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย. นี้เป็นคำอธิบายที่ใช้ทั่วไปของอาจารย์ทั้งหลาย.
ก็อาจารย์วิตัณฑวาที (ผู้มีปกติกล่าวแย้ง) กล่าวว่า ธรรมดาว่า มรรคทำลายที่อยู่ ย่อมไป มิใช่หรือ เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวว่า มรรค คือ ที่อยู่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ พึงโต้อาจารย์นั้นว่า ท่านมีสูตรอันว่าด้วยที่เป็นที่อยู่อันเป็นของพระอริยะหรือไม่ ก็ถ้าว่า อาจารย์วิตัณฑวาที กล่าวว่า ไม่มีอยู่ ก็พึงกล่าวกะอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นว่า ท่านไม่รู้ เพราะสูตรนั้นท่านไม่ท่องไว้ ถ้าอาจารย์วิตัณฑวาทีกล่าวว่า กระผมสวดอยู่ดังนี้ พึงกล่าวว่า ขอท่านจงนำสูตรมา ดังนี้ ถ้าว่าอาจารย์วิตัณฑวาทีนำมา นั่นเป็นการดี ถ้าไม่นำมา ก็พึงนำมาเองว่า ทสยิเม ภิกฺขเว อริยวาสา ยทิริยา อาวสึสุ วา อาวสนฺติ วา อาวสิสฺสนฺติ วา เป็นต้น (แปลว่า ดูก่อน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 744
ภิกษุทั้งหลาย ที่อยู่อันประเสริฐ ๑๐ เหล่านั้น คือ พระอริยะทั้งหลาย อาศัยแล้ว หรือย่อมอาศัย หรือว่า จักอาศัย... ใด ดังนี้. จริงอยู่ สูตรนี้ ย่อมส่องซึ่งความที่มรรคเป็นที่อยู่อาศัย เพราะฉะนั้น คำนั้น จึงเป็นคำอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั่นแหละ.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า ธรรมนี้เป็นอาสยะของสัตว์ทั้งหลาย และย่อมทรงทราบแม้ในขณะแห่งบุคคลผู้มีความเห็นผิดเหล่านั้นว่า ไม่สามารถเพื่อยังวิปัสสนาญาณและมรรคญาณให้เป็นไปด้วย. แม้คำนี้ พระสารีบุตรอธิบายไว้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคลเสพอยู่ซึ่งกามนั่นแหละว่า บุคคลนี้ ชื่อว่า มีกามเป็นใหญ่ มีกามเป็นอัธยาศัย มีการน้อมไปในกาม ดังนี้ เมื่อเสพอยู่ซึ่งเนกขัมมะนั่นแหละ ก็ทราบว่า บุคคลนี้มีเนกขัมมะเป็นใหญ่ มีเนกขัมมะเป็นอัธยาศัย มีการน้อมไปในเนกขัมมะ ดังนี้ เมื่อเสพพยาบาท ฯลฯ ความไม่พยาบาท ฯลฯ ถีนมิทธะ ฯลฯ เมื่อเสพอยู่ซึ่งอาโลกสัญญานั่นแหละ ย่อมทราบว่า บุคคลนี้ มีอาโลกสัญญาเป็นใหญ่ มีอาโลกสัญญาเป็นอัธยาศัย มีการน้อมไปในอาโลกสัญญา ดังนี้.
ว่าด้วยนิทเทสแห่งอนุสัย
พึงทราบในนิทเทสแห่งอนุสัย ดังนี้. ก็ชื่อว่า กามราคานุสัย เพราะกามราคะนั้นด้วย เป็นธรรมนอนเนื่องเพราะอรรถว่ายังละไม่ได้ด้วย. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้. คำว่า ยํ โลเก ปิยรูปํ ได้แก่ รูปใด อันให้ความรักเกิดขึ้นในโลกนี้. คำว่า สาตรูปํ ได้แก่ รูปที่ยังความพอใจให้เกิดขึ้น เป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนา มีความพอใจเป็นปทัฏฐาน. ราคานุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมนอนเนื่องในปิยรูปและสาตรูปนี้ เพราะเหตุนั้น ราคานุสัยจึงชื่อว่า ย่อม
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 745
นอนเนื่องในสัตว์ทั้งหลายในอารมณ์ที่น่าปรารถนานี้เพราะอรรถว่ายังละไม่ได้. เปรียบเหมือน เมื่อสัตว์จมลงในน้ำแล้ว น้ำเท่านั้น ย่อมมีข้างล่าง ข้างบน และโดยรอบ ชื่อฉันใด ชื่อว่าความเกิดขึ้นแห่งราคะในอารมณ์ที่น่าปรารถนาก็ฉัน นั้นนั่นแหละ ย่อมมีแก่สัตว์ทั้งหลาย เพราะเป็นผู้เคยสั่งสมมาแล้วเป็นนิตย์. ความเกิดขึ้นแห่งปฏิฆะในเพราะอารมณ์อันไม่น่าปรารถนา ก็เหมือนกัน. คำว่า อิติ อิเมสุ ทฺวีสุ ธมฺเมสุ (แปลว่า ในธรรมทั้ง ๒ นี้ ด้วยอาการอย่างนี้) ได้แก่ บุคคลมีกามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยเหล่านั้น มีอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ด้วยอาการอย่างนี้. คำว่า อวิชชา อนุปติตา (แปลว่า อวิชชาตกไปแล้ว) ได้แก่ อวิชชาเป็นธรรมสัมปยุตด้วยกามราคะและปฏิฆะ จึงชื่อว่า เป็นธรรมตกไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งการกระทำซึ่งอารมณ์. คำว่า ตเทกฏฺโ (แปลว่า ตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกัน) ได้แก่ ชื่อว่าตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกันกับอวิชชานั้น ด้วยสามารถแห่งการตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกัน โดยความเป็นธรรมที่ประกอบด้วยอวิชชา. คำว่า มาโน จ ทิฏฺิ จ วิจิกิจฺฉา จ ได้แก่ มานะ ๙ อย่าง ทิฏฐิ ๖๒ อย่าง และวิจิกิจฉามีวัตถุ ๘. ก็ในคำว่า ภวราคานุสัย นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสงเคราะห์ไว้ด้วยกามราคานุสัย นั่นแหละ.
ว่าด้วยนิทเทสแห่งจริต เป็นต้น
ใน นิทเทสแห่งจริต ได้แก่ เจตนาอันเป็นปุญญาภิสังขาร ๑๓ อปุญญาภิสังขาร ๑๒ อเนญชาภิสังขาร ๔. ในเจตนาเหล่านั้น กามาวจร เป็นปริตตภูมิ (มีอารมณ์น้อย) นอกนี้เป็นมหาภูมิ (มีอารมณ์ใหญ่).
อีกอย่างหนึ่ง ในสังขารแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้น สังขารไรๆ มีวิบากเล็กน้อย พึงทราบว่าเป็นปริตตภูมิ มีวิบากมากพึงทราบว่าเป็นมหาภูมิ ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 746
ในนิทเทสแห่งอธิมุตติ (อัธยาศัย) ข้าพเจ้าได้ประกาศไว้แล้วในหนหลัง นั่นแหละ.
ถามว่า ก็อธิมุตติ (อัธยาศัย) นี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในหนหลังแล้ว เพราะเหตุไร จึงทรงถือเอาอีกเล่า.
ตอบว่า เพราะอธิมุตติ (อัธยาศัย) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอาโดยแยกออกจากหนหลัง ด้วยสามารถแห่งการแสดงญาณอันเป็นกำลัง. อัธยาศัยในที่นี้ ทรงถือเอาเพื่อแสดงความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า และอินทรีย์อ่อน.
ในนิทเทสแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีคือกิเลสมากนั้น คำว่า อุสฺสทคตานิ (แปลว่า เพิ่มพูนให้มากแล้ว) ได้แก่ ถึงความไพบูลย์. เมื่อว่าด้วยสามารถแห่งลำดับการละแล้ว ในนิทเทสนี้ มิได้ทรงอธิบายไปตามลำดับ. คำว่า อนุสฺสทคตานิ ได้แก่ ไม่ไพบูลย์.
ชื่อว่า อินทรีย์ คือธรรมอันเป็นอุปนิสสัย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในนิทเทสแห่งสัตว์ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า และมีอินทรีย์อ่อน. ก็การประกอบคำในคำว่า ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อน ในที่นี้บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว ในนิทเทสแห่งข้อความอันมิได้เป็นไปตามลำดับนั้นแหละ.
ในนิทเทสแห่งอาการชั่ว เป็นต้น ก็เหมือนกัน. คำว่า ปาปาสยา (แปลว่า อาสยะชั่ว) ได้แก่ อาสยะ คือ อกุศล. คำว่า ปาปจริตา (แปลว่า มีจริตชั่ว) ได้แก่ บริบูรณ์ด้วยอปุญญาภิสังขาร. คำว่า ปาปาธิมุตฺติกา (แปลว่า มีอัธยาศัยชั่ว) ได้แก่ มีอัธยาศัยในวัฏฏะยินดียิ่งในสักกายะ (คืออุปาทานขันธ์ ๕).
ในนิทเทสแห่งอาการดี อนุสัย ชื่อว่าเป็นความดี ย่อมไม่มี เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า อนุสัยดี ดังนี้. คำที่เหลือ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 747
ว่าด้วยนิทเทสแห่งภัพพบุคคลและอภัพพบุคคล
พึงทราบวินิจฉัย ในนิทเทสแห่งสัตว์ผู้ควรแก่การตรัสรู้ และ ไม่ควรแก่การตรัสรู้ ต่อไป คำว่า กมฺมาวรเณน (แปลว่า ด้วยเครื่อง กั้นคือกรรม) ได้แก่ ด้วยอนันตริยกรรม ๕ อย่าง. คำว่า กิเลสาวรเณน (แปลว่า ด้วยเครื่องกั้นคือกิเลส) ได้แก่ ด้วยนิยตมิจฉาทิฏฐิ. คำว่า วิปากาวรเณน (แปลว่า ด้วยเครื่องกั้นคือวิบาก) ได้แก่ ปฏิสนธิด้วยอเหตุกจิต. ก็เพราะความแทงตลอดอริยมรรค ย่อมไม่มีแก่บุคคลแม้ผู้เป็นทุเหตุกบุคคล (๑) ฉะนั้น พึงทราบว่า แม้ทุเหตุกปฏิสนธิ (๒) ก็ชื่อว่า เป็นเครื่องกั้นคือวิบากเหมือนกัน. คำว่า อสทฺธา (แปลว่า ไม่มีศรัทธา) ได้แก่ เว้นจากศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นต้น คำว่า อจฺฉนฺทิกา (แปลว่า ไม่มีฉันทะ) ได้แก่ เว้นจากฉันทะในกุศลของบุคคลผู้ใคร่เพื่อกระทำ. มนุษย์ทั้งหลายชาวอุตตรกุรุทวีป เข้าไปสู่ฐานะของผู้ไม่มีฉันทะ. คำว่า ทุปฺปญฺา (แปลว่า มีปัญญาทราม) ได้แก่ เป็นผู้เสื่อมจากภวังคปัญญา. ก็เมื่อภวังคปัญญาแม้บริบูรณ์ ภวังค์ของบุคคลใดย่อมไม่เป็นบาทแก่โลกุตตระ บุคคลนั้น ก็ชื่อว่า มีปัญญาทรามนั่นแหละ. คำว่า อภพฺพา นิยามํ โอกฺกมิตุํ กุสเลสุ ธมฺเมสุ สมฺมตฺตํ (แปลว่า ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้) ได้แก่ ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่มรรค กล่าวคือ สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย. คำว่า น กมฺมาวรเณน เป็นต้น (แปลว่า ไม่ประกอบด้วยเครื่องกั้น คือ กรรม) บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว. ข้อนี้ บัณฑิตพึงแยกออกเป็น ๒ ญาณ คือ อินทริยปโรปริยัตติญาณ และอาสยานุสยญาณ. จริงอยู่ ในข้อนี้ แม้อินทริยปโรปริยัตติญาณ พระผู้มี-
(๑) บุคคลผู้เกิดด้วยเหตุ ๒ คือ อโลภเหตุและอโทสเหตุ.
(๒) ปฏิสนธิจิตที่ประกอบด้วยเหตุ ๒.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 748
พระภาคเจ้า ก็ทรงแจกไว้ด้วยอาสยานุสยญาณ เพราะเหตุนั้น ญาณทั้ง ๒ เหล่านั้น จึงจัดเป็นญาณเดียวกัน ชื่อว่าญาณเป็นกำลังอย่างหนึ่งเกิดแล้ว ดังนี้.
นิทเทสแห่งญาณเป็นกำลังข้อที่ ๖ จบ
อธิบายญาณที่กำลังข้อที่ ๗
บุคคลใด ย่อมเพ่ง (เข้าฌาน) เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึง ชื่อว่า ฌายี (ผู้เข้าฌาน). ชน ๔ จำพวกผู้เข้าฌาน พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า ผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก.
ในชนเหล่านั้น ในบุคคล ๔ จำพวกแรก
บุคคลที่หนึ่ง ก่อน ได้สมาบัติอยู่นั่นแหละ ย่อมสำคัญว่า เราไม่ได้ฌาน คือสำคัญกรรมฐานที่มีอยู่ว่าไม่ใช่กรรมฐาน ดังนี้. บุคคลนี้ พึงทราบว่า เป็นผู้ได้ฌานมีคุณน้อย ดังนี้.
บุคคลที่ ๒ ไม่ได้สมาบัติเทียว ย่อมสำคัญว่า เราได้สมาบัติ คือ ไม่ใช่กรรมฐานที่มีอยู่ สำคัญว่าเป็นกรรมฐาน ดังนี้. บุคคลนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า ผู้เข้าฌานหลับ (นิทฺทาฌายี) ครั้นหลับแล้วตื่นขึ้นมา ก็สำคัญอย่างนั้น.
บุคคลที่ ๓ ได้สมาบัติ ย่อมสำคัญว่า เราได้สมาบัติ คือ สำคัญกรรมฐานนั่นแหละว่าเป็นกรรมฐานมีอยู่ ดังนี้ บุคคลนี้ พึงทราบว่า ได้ฌานอันคล่องแคล่วแล้ว.
บุคคลที่ ๔ ไม่ได้ฌานเลย สำคัญว่า เราได้กรรมฐาน คือสำคัญสิ่งที่มิใช่กรรมฐานนั่นแหละว่าเป็นกรรมฐาน ดังนี้.
ในที่นี้ ชนสองจำพวกไม่ได้ฌานอย่างนี้นั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า ฌายี (ผู้เข้าฌาน) เพราะความที่ชนเหล่านั้นเข้าไปเพ่งภายในเช่นกับผู้ได้ฌานทั้งหลาย.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 749
ในบุคคล ๔ จำพวกที่ ๒ บุคคลเมื่อข่มอยู่ซึ่งธรรมอันเป็นข้าศึกต่อสมาธิ ด้วยความพากเพียรอันเป็นไปกับด้วยสังขาร ชื่อว่า การเข้าฌานช้า. ผู้นั้นตั้งอยู่ในฌานสิ้นวาระแห่งจิตหนึ่งหรือสองแล้วก็ออกโดยเร็ว ชื่อว่า ย่อมออกเร็ว. ก็บุคคลชำระธรรมอันเป็นข้าศึกต่อสมาธิได้โดยง่ายเทียว ชื่อว่าเข้าฌานเร็ว. บุคคลไม่ออกจากฌานตามที่กำหนด ให้เวลาผ่านไปนานแล้วจึงออกจากฌาน ชื่อว่า ย่อมออกช้า. แม้ชน ๒ จำพวกนอกนี้ ก็พึงทราบโดยนัยนี้แหละ. ชนทั้งหลายแม้ ๔ จำพวกเหล่านี้ เป็นผู้ได้สมาบัติเทียว.
ในบุคคล ๔ จำพวกที่ ๓ บุคคลผู้ฉลาดในการกำหนดแยกองค์ฌานอย่างนี้ว่า ฌานนี้มีองค์ ๕ ฌานนี้มีองค์ ๔ ดังนี้ ชื่อว่า ผู้ฉลาดกำหนดสมาธิในสมาธิ (สมาธิสฺมึ สมาธิกุสโล). บุคคลผู้ไม่ฉลาดเพื่อจะข่มนิวรณ์ทั้งหลายแล้วให้จิตตั้งอยู่ในธรรมเครื่องรักษาจิต ไม่ชื่อว่า ผู้ฉลาดกำหนดสมาบัติในสมาธิ (โน สมาธิสฺมึ สมาปตฺติกุสโล). ชนสามจำพวกแม้นอกนี้ พึงทราบโดยนัยนี้แหละ บุคคล ๔ จำพวกแม้เหล่านี้ เป็นผู้ได้สมาบัติทั้งนั้น.
บัดนี้ ชื่อว่าบุคคลผู้เข้าฌานเหล่านี้ อาศัยฌานเหล่าใด เพื่อแสดงฌานเหล่านั้นอันเกิดขึ้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า จตฺตาริ ฌานานิ (แปลว่า ฌาน ๔) เป็นต้น บรรดาคำเหล่านั้น ฌาน ๔ วิโมกข์ ๓ ว่าโดยอรรถ ข้าพเจ้าอธิบายไว้แล้ว ในอรรถกถาแห่งธรรมสังคหะในหนหลังนั่นแหละ. อรรถแห่งวิโมกข์แม้แห่งบทที่เหลือก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในที่นั้นเหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง ในที่นี้ ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะหลุดพ้นวิเศษจากธรรมอันเป็นข้าศึก ในขณะที่จิตแน่วแน่แล้วๆ ทั้ง ๗ ขณะโดยลำดับ และการน้อมไปในอารมณ์. ก็วิโมกข์ที่ ๘ ชื่อว่า อปคตวิโมกข์ เพราะหลุดพ้นวิเศษแล้ว ด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธ โดยประการทั้งปวง.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 750
ว่าด้วยสมาธิ ๓
พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิทั้งหลายอันเป็นจตุกกนัย และปัญจกนัย ต่อไป. ในจตุกกนัย สมาธิในปฐมฌาน ชื่อว่า เป็นไปกับด้วยวิตกและวิจาร. ในปัญจกนัย สมาธิในทุติยฌาน ชื่อว่าเป็นสมาธิสักว่าไม่มีวิตกมีแต่วิจาร. ในจตุกกนัยก็ดี ในปัญจกนัยก็ดี สมาธิในฌาน ๓ เบื้องบน ชื่อว่า สมาธิไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร. จริงอยู่ ในสมาบัติทั้งหลาย มีชื่อว่า สมาธิของผู้เข้าสมาบัติ ๘ โดยลำดับ ดังนี้บ้าง มีชื่อว่า สมาบัติ ดังนี้บ้าง.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะความพร้อมของเอกัคคตาแห่งจิต.
ความพร้อมของเอกัคคตาแห่งจิตเช่นนั้น ชื่อว่า สมาธิของนิโรธสมาบัติ ก็หามิได้. คำว่า หานภาคิโย ธมฺโม (แปลว่า เป็นธรรมฝ่ายเสื่อม) อธิบายว่า เมื่อออกจากปฐมฌานเป็นต้น ซึ่งมีคุณอันน้อยแล้วก็แล่นไปตามกาม เป็นต้น ของผู้มนสิการด้วยสัญญา. คำว่า วิเสสภาคิโย ธมฺโม (แปลว่า ธรรมฝ่ายดี ธรรมวิเศษ) อธิบายว่า เมื่อออกจากปฐมฌานเป็นต้น. ความผ่องแผ้วของฌานที่คล่องแคล่วแล้ว ชื่อว่า การออกอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยคำว่า แม้ความผ่องแผ้ว ก็ชื่อว่า การออก นี้. จริงอยู่ ฌานอันคล่องแคล่วซึ่งเป็นชั้นต่ำๆ ย่อมเป็นปทัฏฐานแก่ฌานในเบื้องบนๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า แม้ความผ่องแผ้ว ก็ชื่อว่า การออก ดังนี้. ชื่อว่า การออกจากภวังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วด้วยบทว่า แม้การออกจากสมาธินั้นๆ ก็ชื่อว่า การออก.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 751
จริงอยู่ การออกจากฌานทั้งหมด ย่อมมีด้วยภวังค์. แต่การออกจากนิโรธ ย่อมมีด้วยผลสมาบัติอย่างเดียว.
ข้อนี้ ชื่อว่า การออก อันเป็นปาลีมุตตกะ (คือนอกจากบาลี) ดังนี้ แล.
อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ ๗ จบ
อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ ๘
ในนิทเทสญาณเป็นกำลังข้อที่ ๘ คำว่า ปุพฺเพนิวาสํ (ระลึกชาติหนหลัง) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้เป็นอเนก ข้าพเจ้าให้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแหละ.
อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ ๘ จบ
อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ ๙
แม้ในนิทเทสแห่งญาณเป็นกำลังข้อที่ ๙ คำทั้งปวงว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา เป็นต้น พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแหละ.
อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ ๙ จบ
อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ ๑๐
คำว่า เจโตวิมุตฺตึ ได้แก่ ผลสมาธิ. คำว่า ปญฺาวิมุตฺตึ ได้แก่ ผลญาณ. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
นี้เป็นกถาที่เสมอกันของอาจารย์ทั้งหลายในที่นี้ก่อน.
ก็ปรวาที กล่าวว่า ชื่อว่า ทศพลญาณ แยกออกเป็นส่วนหนึ่งไม่มี นี้เป็นประเภทของสัพพัญญุตญาณ ข้อนั้นมิพึงเห็นอย่างนั้น เพราะว่า ทศพล-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 752
ญาณเป็นอย่างหนึ่ง สัพพัญญุตญาณก็เป็นอย่างหนึ่ง. ก็ทศพลญาณย่อมรู้ซึ่งกิจ (หน้าที่) ของตนๆ เท่านั้น ส่วนสัพพัญญุตญาณ ย่อมรู้แม้ซึ่งกิจอันทศพลญาณรู้แล้วนั้น และย่อมรู้ซึ่งกิจแม้อันเหลือจากทศพลญาณรู้แล้วนั้น ด้วย.
จริงอยู่ ในบรรดาทศพลญาณเหล่านั้น
ญาณที่ ๑ ย่อมรู้ซึ่งธรรมอันเป็นเหตุและมิใช่เหตุเท่านั้น.
ญาณที่ ๒ ย่อมรู้ซึ่งความแตกต่างกันแห่งธรรมและวิบากเท่านั้น.
ญาณที่ ๓ ย่อมรู้การกำหนดความเป็นไปแห่งธรรมเท่านั้น.
ญาณที่ ๔ ย่อมรู้เหตุแห่งความเป็นต่างๆ กันแห่งธาตุเท่านั้น.
ญาณที่ ๕ ย่อมรู้ซึ่งอัธยาศัยและความน้อมไปแห่งจิตเท่านั้น.
ญาณที่ ๖ ย่อมรู่ซึ่งความที่อินทรีย์ทั้งหลายเป็นธรรมแก่กล้า และอ่อนเท่านั้น.
ญาณที่ ๗ ย่อมรู้ซึ่งความที่แห่งสัตว์ทั้งหลายมีความเศร้าหมองเป็นต้น ด้วยฌานเป็นต้นเท่านั้น.
ญาณที่ ๘ ย่อมรู้ซึ่งความสืบต่อแห่งขันธ์อันเคยอาศัยมาแล้ว ในกาลก่อนเท่านั้น.
ญาณที่ ๙ ย่อมรู้ซึ่งจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น.
ญาณที่ ๑๐ ย่อมรู้ซึ่งการกำหนดสัจจะเท่านั้น
ส่วนสัพพัญญุตญาณ ย่อมรู้ทั่วซึ่งธรรมอันทศพลญาณเหล่านั้นพึงรู้ด้วย ซึ่งธรรมอันยิ่งกว่าทศพลญาณนั้นด้วย. ก็แต่ว่า สัพพัญญุตญาณนั้น ย่อมไม่ทำกิจทั้งปวงของทศพลญาณเหล่านั้นได้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 753
ด้วยว่า สัพพัญญุตญาณนั้น เป็นฌานแต่ไม่อาจเพื่อแน่วแน่ (แนบแน่น) เป็นอิทธิ แต่ไม่อาจเพื่อแสดงฤทธิ์ เป็นมรรคแต่ไม่อาจเพื่อยังกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงถามปรวาทีอย่างนี้ว่า ชื่อว่า ทศพลญาณนี้ เป็นไปกับด้วยวิตกและวิจาร ไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เป็นกามาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นโลกิยะ หรือเป็นโลกุตตระ ดังนี้. เมื่อท่านรู้ก็จักกล่าวว่า ญาณทั้ง ๗ ตามลำดับ (คือตั้งแต่ ฐานาฐานญาณเป็นต้น) เป็นไปกับด้วยวิตกและวิจาร ดังนี้ ต่อจากนั้นจักกล่าวว่า ญาณทั้ง ๒ ข้างหน้า (คือบุพเพนิวาสานุสสติญาณ และจุตูปปาตญาณ) ไม่มีวิตกและวิจาร ดังนี้ ต่อจากนั้นก็จักกล่าวว่า อาสวักขยญาณพึงเป็นไปกับด้วยวิตกและวิจารก็มี ไม่มีวิตกมีแต่วิจารก็มี เป็นอวิตักกะและอวิจาระ (ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร) ก็มี ดังนี้ โดยทำนองเดียวกัน ญาณ ๗ โดยลำดับตั้งแต่ฐานาฐานญาณเป็นต้น เป็นกามาวจร ญาณ ๒ จากนั้นเป็นรูปาวจร ญาณสุดท้ายเป็นโลกุตตระ ดังนี้. แต่สัพพัญญุตญาณ จักกล่าวว่า เป็นไปกับด้วยวิตกและวิจารเท่านั้น เป็นกามาวจรเท่านั้น (๑) เป็นโลกิยะเท่านั้น ดังนี้.
ด้วยประการฉะนี้ ทศพลญาณจึงเป็นอย่างหนึ่ง สัพพัญญุตญาณก็เป็นอย่างหนึ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้แล.
อรรถกถาญาณวิภังคนิทเทส จบ
(๑) มหากิริยาญาณสัมปยุต