[เล่มที่ 70] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 556
พุทธวรรคที่ ๑
๓. เถราปทาน
ปุณณมันตานีปุตตเถราปทานที่ ๗ (๕)
ว่าด้วยผลแห่งการแสดงธรรม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 70]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 556
ปุณณมันตานีปุตตเถราปทานที่ ๗ (๕)
ว่าด้วยผลแห่งการแสดงธรรม
[๗] เราเป็นพราหมณ์ผู้สอน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท พวก ศิษย์ห้อมล้อม ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นบุคคล ชั้นสูงสุด.
พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้รู้แจ้งโลก ทรงรับ เครื่องบูชาแล้ว ทรงประกาศกรรมของเราโดยย่อ.
เราได้ฟังธรรมนั้นแล้วถวายอภิวาทพระศาสดา ประคอง อัญชลี แล้วมุ่งหน้าไปทางทิศทักษิณหลีกไป.
เราได้ฟังมาโดยย่อ แล้วแสดงได้โดยพิสดาร ศิษย์ ทั้งหมดดีใจฟังเรากล่าวอยู่.
บรรเทาทิฏฐิของตนได้แล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เหมือนเราแม้ฟังโดยย่อ ก็แสดงได้โดยพิสดาร ฉะนั้น.
เราเป็นผู้ฉลาดในนัยแห่งพระอภิธรรม เป็นผู้ฉลาดด้วย ความหมดจดในกถาวัตถุ ยังปวงชนให้รู้แจ้งแล้ว เป็นผู้ไม่มี อาสวะอยู่.
ในกัปที่ ๕๐๐ แต่ภัทรกัปนี้ มีพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ พระองค์ ผู้ปรากฏด้วยดี ทรงสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็น ใหญ่ในทวีปทั้ง ๔.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 557
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราทำ เสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตรเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.
จบปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน
๕. พรรณนาปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน
คำมีอาทิว่า อชฺฌายโก มนฺตธโร ดังนี้ เป็นอปทานของท่าน พระปุณณมันตานีบุตรเถระ.
แม้พระเถระนี้ ก็ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน ทั้งหลาย ก่อสร้างบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่วิวัฏฏะคือพระนิพพานใน ภพนั้นๆ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในนครหังสวดี ก่อนหน้า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระเสด็จอุบัติขึ้น แล้วถึงความเป็นผู้รู้ เดียงสาขึ้นโดยลำดับ ในกาลต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระเสด็จ อุบัติขึ้นแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่เหล่าสัตว์ผู้ควรแก่การตรัสรู จึงไปยัง พระวิหารพร้อมกับมหาชน โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง นั่งอยู่ท้าย บริษัทแล้วฟังธรรมอยู่ เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่ง เลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้เป็นธรรมกถึก จึงคิดว่า แม้เราก็ควรเป็นผู้เห็น ปานนี้ในอนาคต. ในเวลาจบเทศนา เมื่อบริษัทลุกขึ้นแล้ว จึงเข้าไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 558
เฝ้าพระศาสดา ทูลนิมนต์แล้วกระทำมหาสักการะ โดยนัยดังกล่าวแล้ว ในหนหลัง แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ด้วยการกระทำอันยิ่งนี้ ข้าพระองค์มิได้ปรารถนาสมบัติอย่างอื่น ก็ภิกษุนั้น พระองค์ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งอันเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้เป็น ธรรมกถึก ในที่สุดของวันที่ ๗ ฉันใด แม้ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น พึงเป็น ผู้เลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้เป็นธรรมกถึก ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลดังนี้ ได้ทำความปรารถนาแล้ว. พระศาสดาทรง ตรวจดูอนาคต ทรงเห็นว่าความปรารถนาของเขาจะสำเร็จ จึงทรง พยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล ในที่สุดแสนกัป พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักอุบัติขึ้น เธอบวชในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้านั้น จักเป็นผู้เลิศ แห่งภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระธรรมกถึก.
เขากระทำกรรมอันงามตลอดชั่วอายุ จุติจากอัตภาพนั้น เก็บรวม บุญสมภารอยู่แสนกัป ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในกาล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ได้บังเกิดเป็นหลานของพระอัญญาโกณฑัญญเถระ ในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในบ้านพราหมณ์ ชื่อว่าโทณวัตถุ ไม่ไกลนครกบิลพัสดุ์ ญาติทั้งหลายได้ตั้งชื่อเขาว่า ปุณณะ นายปุณณะนั้น เมื่อพระศาสดาบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณแล้ว ทรง ประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จเข้าไปอาศัยนครราชคฤห์ประทับอยู่ โดยลำดับ จึงบวชในสำนักของพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้อุปสมบทแล้ว ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียร ทำกิจแห่งบรรพชิตทั้งปวงให้ถึงที่สุดแล้ว มายังสำนักของพระศาสดากับพระเถระผู้เป็นลุง ด้วยหวังใจว่า จักไปเฝ้า พระศาสดา ล่าช้าอยู่ใกล้ๆ นครกบิลพัสดุ์ กระทำกรรมอยู่ในโยนิโส-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 559
มนสิการไม่นานนัก ยังวิปัสสนาให้ขวนขวายแล้วได้บรรลุพระอรหัต.
ก็พระปุณณเถระนั้น ได้มีกุลบุตร ๕๐๐ คนบวชอยู่ในสำนัก. พระเถระกล่าวสอนกุลบุตรเหล่านั้นด้วยกถาวัตถุ ๑๐ ประการ. แม้กุลบุตร เหล่านั้นทั้งหมดก็กล่าวสอนด้วยกถาวัตถุ ๑๐ และตั้งอยู่ในโอวาทของ พระปุณณเถระนั้นได้บรรลุพระอรหัต ครั้นรู้ว่ากิจแห่งบรรพชิตของตน ถึงที่สุดแล้ว จึงเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกกระผมถึงที่สุดแห่งกิจบรรพชิตแล้ว และเป็นผู้มีปกติได้กถาวัตถุ ๑๐ บัดนี้เป็นสมัยเพื่อจะเข้าเฝ้าพระทศพลแห่งพวกกระผม. พระเถระได้ฟัง คำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงคิดว่า พระศาสดาย่อมทรงทราบว่าเราเป็นผู้ ได้กถาวัตถุ ๑๐ เราเมื่อแสดงธรรมก็ไม่ทิ้งกถาวัตถุ ๑๐ นั้นแสดง ก็เมื่อ เราไป ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดจักแวดล้อมเราไป เมื่อเป็นอย่างนั้น เราไม่ ควรจะไปเฝ้าพระทศพลพร้อมกับคณะ ภิกษุเหล่านี้จงไปเฝ้าพระทศพล ก่อน. ลำดับนั้น พระเถระจึงกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า อาวุโส ทั้งหลาย พวกเธอจงไปเฝ้าพระทศพลก่อน จงถวายบังคมพระบาทของ พระตถาคต ตามคำของเรา, แม้เราก็จักไปตามทางที่พวกท่านไป. พระเถระแม้เหล่านั้น ทั้งหมดอยู่ในรัฐอันเป็นชาติภูมิของพระทศพล ทั้งหมด เป็นพระขีณาสพ ทั้งหมดได้กถาวัตถุ ๑๐ ไม่ตัดทิ้งโอวาทของพระอุปัชฌาย์ ไหว้พระเถระแล้วเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ล่วงหนทางไปได้ ๖๐ โยชน์ แล้วไปยังพระเวฬุวันวิหาร ในเมืองราชคฤห์ ถวายบังคม พระบาทของพระทศพล แล้วนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. ก็การปราศรัยกับ อาคันตุกภิกษุทั้งหลายนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายทรงประพฤติสืบกัน มา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงทำปฏิสันถารอันไพเราะกับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 560
ภิกษุเหล่านั้น โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสบายดีหรือ ดังนี้ แล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมาจากไหน เมื่อภิกษุ เหล่านั้นกราบทูลอีกว่า มาจากชาติภูมิ พระเจ้าข้า จึงตรัสถึงภิกษุ ผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐ ว่า ภิกษุทั้งหลาย ใครหนออันเหล่าภิกษุเพื่อน พรหมจารีชาวชาติภูมิ ในแคว้นชาติภูมิยกย่องอย่างนี้ว่า เป็นผู้มักน้อย ด้วยตนเอง และกล่าวถ้อยคำชักนำในความมักน้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย. แม้ ภิกษุเหล่านั้นก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านผู้มีอายุชื่อว่า ปุณณะ บุตรของนางมันตานี พระเจ้าข้า.
ท่านพระสารีบุตรได้ฟังถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้น ได้มีความประสงค์ เพื่อจะได้เห็นพระเถระ. ลำดับนั้น พระศาสดาได้เสด็จจากเมืองราชคฤห์ ไปยังเมืองสาวัตถี. แม้พระปุณเถระก็ได้ฟังว่า พระทศพลเสด็จไปใน เมืองสาวัตถีนั้น จึงไปด้วยหวังว่า จักเฝ้าพระศาสดา มาทันพระตถาคต ในภายในพระคันธกุฎีนั่นเอง. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระเถระ. พระเถระฟังธรรมแล้ว ถวายบังคมพระทศพล เพื่อต้องการจะหลีกเร้นจึง ไปยังอันธวัน นั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง. ฝ่ายพระสารีบุตร เถระได้ทราบการมาของท่าน จึงตรวจดูหัวข้อธรรมแล้วไป กำหนดโอกาส แล้วเข้าไปหาพระเถระผู้นั่งอยู่ ณ โคนไม้นั้น ปราศรัยกับพระเถระแล้ว จึงถามลำดับแห่งวิสุทธินั้น. ฝ่ายพระเถระนั้นก็พยากรณ์ปัญหาที่ถามแล้วๆ แก่พระสารีบุตรเถระ ทำจิตให้ยินดียิ่งด้วยการเปรียบด้วยรถ ๗ ผลัด. พระเถระทั้งสองนั้นต่างอนุโมทนาสุภาษิตของกันและกัน.
ครั้นในกาลต่อมา พระศาสดาประทับนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งพระเถระนั้นไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุณณะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 561
นี้ เป็นเลิศแห่งภิกษุสาวกทั้งหลายของเราผู้เป็นพระธรรมกถึก. พระเถระ นั้นระลึกถึงกรรมในก่อนของตน เมื่อจะประกาศอปทานแห่งความประพฤติ ในชาติก่อนด้วยความโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อชฺฌายโก ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌายโก ได้แก่ บอก คือสอน พวกพราหมณ์มิใช่น้อย. บทว่า มนฺตธโร แปลว่า ผู้ทรงจำมนต์ ท่าน กล่าวอธิบายว่า ทรงจำพระเวทที่ ๔ กล่าวคือคัมภีร์พระเวท ด้วยอำนาจ การท่อง การฟัง และการให้. บทว่า ติณฺณํ เวทานํ ความว่า ผู้ถึง ฝั่ง คือที่สุดในคัมภีร์พระเวททั้ง ๓ อันได้นามว่าผู้มีเวท เพราะเป็นผู้ ทรงจำเวททั้ง ๓ คืออิรุพเวท ยชุรเวท และสามเวท ด้วยญาณความรู้.
บทว่า ปุรกฺขโตมฺหิ สิสฺเสหิ ความว่า เราเป็นผู้อันเหล่าศิษย์ผู้เป็น บริวารประจำของเราห้อมล้อมอยู่. บทว่า อุปคจฺฉึ นรุตฺตมํ ความว่า เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สูงสุดแห่งนรชน อธิบายว่า เข้าไป ใกล้ๆ. คำที่เหลือเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้น. บทว่า อภิธมฺมนยญฺญูหํ ความว่า ในกาลนั้น คือในกาลของ พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เราเป็นผู้ฉลาดในอภิธรรมนัย. บทว่า กถาวตฺถุวิสุทฺธิยา ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดด้วยความหมดจดในกถาวัตถุปกรณ์ อีก อย่างหนึ่ง ความว่า เป็นผู้ฉลาดในกถาวัตถุ ๑๐ มีกถาว่าด้วยความมักน้อยและสันโดษเป็นต้น. เราให้ชนผู้สำรวมอินทรีย์ คือบัณฑิตทั้งปวง รู้แจ้ง คือตรัสรู้ด้วยความหมดจดในกถาวัตถุนั้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ คือ ไม่มีกิเลสอยู่ ได้แก่ สำเร็จการอยู่.
บทว่า อิโต ปญฺจสเต กปฺเป ความว่า ใน ๕๐๐ กัปแต่กัป ชื่อภัทรกัป เพราะประดับด้วยพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ได้มีพระเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 562
จักรพรรดิ ๔ พระองค์ผู้ประกาศดี คือผู้ปรากฏด้วยดี ทรงสมบูรณ์ด้วย รัตนะ ๗ มีจักรรัตนะเป็นต้น ทรงเป็นใหญ่ คือเป็นประธานในทวีป ทั้ง ๔ มีชมพูทวีปเป็นต้น. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว ฉะนี้แล.
จบพรรณนาปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน