ปัญญา ..คำนี้ในพระพุทธศาสนามีความหมายอย่างไร
โดย udomjit  24 มิ.ย. 2550
หัวข้อหมายเลข 4088

มีคำหลายคำในการศึกษาพุทธที่เข้าใจไม่ชัดค่ะ คำว่า ปัญญาและคำว่า อวิชชา

คำว่า จินตามยปัญญา จิตในที่นี้หมายถึงจิตดวงไหนค่ะ (อย่างฟังธรรมท่านอาจารย์เรื่อง ปัฏฐาน ท่านก็แสดงละเอียดมาก ในเรื่องจิตในอิทธิบาท ๔ ซึ่งไม่เคยได้ยินจากอาจารย์รูปใด เลย ซึ่งทำให้สว่างในใจมากๆ เลย เพราะทั้งหมดจะอธิบายฉันทะ วิริยะ พอถีงจิตตะ ก็บอกว่าคือ จิต ไม่อธิบายต่อค่ะ) และภาวนามยปัญญา ภาวนาคืออย่างไรค่ะ ถ้าแปลว่า อบรม หรือทำให้เจริญ อบรม และทำให้เจริญนั้นคือ ทำอย่างไรค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย wannee.s  วันที่ 24 มิ.ย. 2550

จินตามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการพิจารณา เป็นโสภณเจตสิกคือ ปัญญาเจตสิก ภวนามยปัญญาคือปัญญาที่เกิดจาการอบรม หรือทำให้เจริญขึ้น ก็ต้องเริ่มจากการฟังธรรมก่อนคือ สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฟัง เป็นขั้นแรกที่ละความไม่รู้จากที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง ต่อมาเมื่อฟังเข้าใจก็คิด พิจารณาธรรมที่ได้ยินได้ฟังตรงลักษณะสภาพธรรม เมื่อเราพิจารณา ทำให้ปัญญาเจริญขึ้นเหมือนจับด้ามมีด เป็นภาวนาค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย study  วันที่ 25 มิ.ย. 2550

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ ..

ลักษณะของปัญญา

ปัญญาจักษุ?


ความคิดเห็น 3    โดย udomjit  วันที่ 25 มิ.ย. 2550

อ่านคำตอบแล้วค่ะ ขอบคุณมากค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 25 มิ.ย. 2550

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 5    โดย แวะเข้ามา  วันที่ 5 ก.ค. 2550

อิทธิปาท เป็นศัพย์บาลี แปลว่า ธรรมอันยังผู้ปฏิบัติให้ถึงความสำเร็จ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิต วิมังสา (ปัญญา) โดยมากจะใช้ในความหมายของการเจริญสม-

ถภาวนา

ถ้ากล่าวถึง ปัจจัย ๒๔ แล้ว องค์ธรรมทั้ง ๔ ประเภทนี้ กระทำกิจโดยความเป็น สหชาตาธิปติปัจจัย คือ เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า ในการชักนำให้สภาพธรรมอื่นเกิด

ขึ้น พร้อมกับกำลังของตน จิต จึงหมายถึง ชวนจิต ๕๒ ดวงเท่านั้น เป็นจิตที่มี

กำลัง เพราะประกอบด้วย ๒ เหตุ

ภาวนา แปลว่า คุณชาติเป็นเครื่องยังกุศลให้เกิด ให้เจริญ โดยมากหมายถึง การเจริญสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา แต่ภาวนาจะมีไม่ได้ ถ้าผู้นั้นขาดปัญญา

ซึ่งต้องอาศัยการอบรมด้วยการฟังและศึกษาพระธรรม