๓. ธรรมทินนสูตร ธรรมทินนะอุบาสกพยากรณ์โสดาปัตติผล
โดย บ้านธัมมะ  13 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 38121

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 387

๓. ธรรมทินนสูตร

ธรรมทินนะอุบาสกพยากรณ์โสดาปัตติผล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 387

๓. ธรรมทินนสูตร

ธรรมทินนะอุบาสกพยากรณ์โสดาปัตติผล

[๑๖๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ครั้งนั้น อุบาสกชื่อว่าธรรมทินนะ พร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อใดจะพึงมีประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดตรัสสอน โปรดทรงพร่ำสอนข้อนั้นแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนธรรม-


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 388

ทินนะ เพราะฉะนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พระสูตรเหล่าใดที่พระตถาคตตรัสแล้ว อันลึกซึ้ง มีเนื้อความอันลึก เป็นโลกุตระ ประกอบด้วยความว่าง เราจักเข้าถึงพระสูตรเหล่านั้นตลอดกาลเป็นนิตย์อยู่ ดูก่อนธรรมทินนะ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

[๑๖๒๖] ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายยังครองเรือนนอนกกลูกอยู่ ยังทาจันทน์แคว้นกาสี ยังใช้มาลาของหอมและเครื่องลูบไล้ ยังยินดีทองและเงินอยู่ จะเข้าถึงพระสูตรที่พระตถาคตตรัสแล้ว อันลึกซึ้ง มีเนื้อความอันลึก เป็นโลกุตระ ประกอบด้วยความว่าง ตลอดนิตยกาลอยู่ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมอันยิ่ง แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายผู้ตั้งอยู่แล้วในสิกขาบท ๕ เถิด.

พ. ดูก่อนธรรมทินนะ เพราะฉะนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... จักเป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูก่อนธรรมทินนะ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ทั้งหลาย และข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นชัดในธรรมเหล่านั้น เพราะว่าข้าพระองค์ทั้งหลายประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 389

พ. ดูก่อนธรรมทินนะ เป็นลาภของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายได้ดีแล้ว โสดาปัตติผลอันท่านทั้งหลายพยากรณ์แล้ว.

จบธรรมทินนสูตรที่ ๓

อรรถกถาธรรมทินนสูตร

พึงทราบอธิบายในธรรมทินนสูตรที่ ๓.

คำว่า ธรรมทินนะ ความว่า เป็นอุบาสกคนหนึ่งในบรรดาเจ็ดคน.

ความพิสดารว่า ในครั้งพุทธกาล คนเจ็ดคนเหล่านี้ คือ ธรรมทินนอุบาสก ๑ วิสาขอุบาสก ๑ อุคคคฤหบดี ๑ จิตตคฤหบดี ๑ หัตถกะ ๑ อาฬวกะ ๑ จุลลอนาถปิณฑิกะ ๑ เป็นผู้มีอุบาสกห้าร้อยเป็นบริวาร. ธรรมทินนะอุบาสกเป็นคนใดคนหนึ่งบรรดาคนเจ็ดคนเหล่านั้น.

บทว่า ลึกซึ้ง ได้แก่ คัมภีรธรรมมีสัลลสูตรเป็นต้น.

บทว่า มีเนื้อความอันลึก ได้แก่ มีอรรถอันลึกซึ้งมีเปตวาสูตรเป็นต้น.

บทว่า เป็นโลกุตระ ความว่า อันแสดงอรรถที่เป็นโลกุตระ มีอสังขตสังยุตเป็นต้น.

บทว่า ประกอบด้วยความว่าง ความว่า อันแสดงความว่างเปล่าแห่งสูตร มีขัชชนิกสูตรเป็นต้น.

บทว่า จักเข้าถึงอยู่ ความว่า จักได้เฉพาะอยู่.

บทว่า ดูก่อนธรรมทินนะ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ ความว่า เธอทั้งหลายพึงบำเพ็ญ จันโทปมปฏิปทา รถวินีตปฏิปทา โมเนยยปฏิปทา มหาอริยวังสปฏิปทา ศึกษาอยู่ อย่างนี้.

พระศาสดา ทรงบอกภาระที่ไม่สามารถทนได้แก่อุบาสกเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

ได้ยินว่า อุบาสกเหล่านั้น ดำรงอยู่ในภูมิของตนแล้ว ทูลขอโอวาท.

ก็อุบาสกเหล่านั้น เป็นเหมือนสามารถยกภาระทั้งปวงขึ้นโดยไม่แปลกกัน


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 390

อ้อนวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงโอวาทพวกข้าพระองค์เถิด ดังนี้บ้าง เพราะเหตุนั้น พระศาสดาเมื่อจะตรัสบอกภาระที่ทนไม่ได้แก่พวกอุบาสกเหล่านั้น จึงตรัสแล้วอย่างนี้.

คำว่า น โข ปเนตํ ตัดบทเป็น น โข เอตํ แปลว่า นั่นหามิได้แล.

ก็ อักษรในคำว่า นโข ปเนตํ นั้น พึงทราบว่าเป็นเพียงพยัญชนะสนธิเท่านั้น.

คำว่า ตสฺมา ความว่า เพราะฉะนั้น บัดนี้ ท่านทั้งหลาย พึงขอโอวาทในภูมิของตนเถิด.

จบอรรถกถาธรรมทินนสูตรที่ ๓