ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๕ - อเจลกวรรค
โดย บ้านธัมมะ  11 มี.ค. 2565
หัวข้อหมายเลข 42778

[เล่มที่ 4] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒

พระวินัยปิฎก เล่ม ๒

มหาวิภังค์ ทุติยภาค

ปาจิตติยภัณฑ์

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๕

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑ 579

เรื่องพระอานนท์ 527/579

พระบัญญัติ 581

สิกขาบทวิภังค์ 528/581

บทภาชนีย์ 529/582

อนาปัตติวาร 530/582


ปาจิตตีย์อเจลกวรรคที่ ๕

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑ 582

แก้อรรถเรื่องให้ของกินแก่นักบวชนอกศาสนา 582

อเจลกวรรค สิกขาบทที่๒ 584

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร 531/584

พระบัญญัติ 584

สิกขาบทวิภังค์ 532/585

บทภาชนีย์ 533/586

อนาปัตติวาร 534/587

อุยโยชนสิกขาบทที่ ๒ 587

แก้อรรถบางปาฐะในปฐมบัญญัติ 587

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๓ 589

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร 535/589

พระบัญญัติ 590

สิกขาบทวิภังค์ 536/590

บทภาชนีย์ 537/591

อนาปัตติวาร 538/591

สโภชนสิกขาบทที่ ๓ 592

แก้อรรถบางปาฐะในปฐมบัญญัติฯ 592

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๔ 593

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร 539/593

พระบัญญัติ 594

สิกขาบทวิภังค์ 540/594

บทภาชนีย์ 541/594

อนาปัตติวาร 542/596

สิกขาบทที่ ๔ และที่ ๕ 596

มีนัยดังกล่าวแล้วในอนิยตสิกขาบท 596

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๕ 597

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร 543/597

พระบัญญัติ 598

สิกขาบทวิภังค์ 544/598

บทภาชนีย์ 545/599

อนาปัตติวาร 549/599

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๖ 600

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร 547/600

พระบัญญัติ 601

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร (ต่อ) 548/601

พระอนุบัญญัติ ๑ 603

ทรงอนุญาตให้เข้าสู่ตระกูลในคราวถวายจีวร 549/603

พระอนุบัญญัติ ๒ 603

ทรงอนุญาตให้เข้าไปสู่ตระกูลในคราวทําจีวร 550/604

พระอนุบัญญัติ๓ 604

ทรงอนุญาตให้บอกลาก่อนเข้าสู่ตระกูล 551/604

พระอนุบัญญัติ ๔ 605

สิกขาบทวิภังค์ 552/605

บทภาชนีย์ 553/606

อนาปัตติวาร 554/607

จาริตสิกขาบทที่ ๖ 607

แก้อรรถบางปาฐะปฐมบัญญัติและอนุบัญญัติ 607

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๗ 609

เรื่องพระมหานามศากยะ 555/609

พระบัญญัติ 612

สิกขาบทวิภังค์ 557/612

บทภาชนีย์ 559/613

อนาปัตติวาร 561/614

มหานามสิกขาบทที่๗ 615

แก้อรรถเรื่องท้าวมหานามปวารณาเภสัช 615

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๘ 616

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 562/616

พระบัญญัติ 617

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง 563/617

พระอนุบัญญัติ 618

สิกขาบทวิภังค์ 564/618

บทภาชนีย์ 565/619

อนาปัตติวาร 466/620

อุยยุตตสิกขาบทที่ ๘ 620

ว่าด้วยกองทัพ ๔ เหล่าสมัยโบราณ 620

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๙ 622

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 567/622

พระบัญญัติ 623

สิกขาบทวิภังค์ 568/623

บทภาชนีย์ 569/623

อนาปัตติวาร 570/624

เสนาวาสสิกขาบทที่ ๙ 624

ว่าด้วยเหตุต้องอยู่ในกองทัพเกิน ๓ ราตรี 624

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ 625

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 571/625

พระบัญญัติ 626

สิกขาบทวิภังค์ 572/626

บทภาชนีย์ 573/627

อนาปัตติวาร 574/627

อุยโยธิกสิกขาบทที่ ๑๐ 628

ว่าด้วยการจัดขบวนทัพสมัยโบราณ 628

หัวข้อประจําเรื่อง 629


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 4]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 579

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๕

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระอานนท์

[๕๒๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น กองขนมเครื่องขบฉัน เกิดแก่พระสงฆ์ จึงท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระ ภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้ขนมเป็นทานแก่พวก คนกินเดน ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธดำรัส แล้วจัดคนกินเดนให้ นั่งตามลำดับ แล้วแจกขนมให้คนละชิ้นได้แจกขนม ๒ ชิ้นสำคัญว่าชิ้นเดียว แก่ปริพาชิกาผู้หนึ่ง พวกปริพาชิกาที่อยู่ใกล้เคียง ได้ถามปริพาชิกาผู้นั้นว่า พระสมณะนั้นเป็นคู่รักของเธอหรือ นางตอบว่า ท่านไม่ใช่คู่รักของฉัน ท่าน แจกให้ ๒ ชิ้นสำคัญว่าชิ้นเดียว.

แม้ครั้งที่สอง ท่านพระอานนท์เมื่อแจกขนมให้คนละชิ้น ก็ได้แจก ขนม ๒ ชิ้นสำคัญว่าชิ้นเดียวแก่ปริพาชิกาคนนั้นแหละ พวกปริพาชิกาที่อยู่ใกล้ เคียงได้ถามปริพาชิกาผู้นั้นว่า พระสมณะนั่นเป็นคู่รักของเธอหรือ นางตอบว่า ท่านไม่ใช่คู่รักของฉัน ท่านแจกให้ ๒ ชิ้น สำคัญว่าชิ้นเดียว.

แม้ครั้งที่สาม ท่านพระอานนท์เมื่อแจกขนมให้คนละชิ้น ได้แจกขนม ให้ ๒ ชิ้นสำคัญว่าชิ้นเดียวแก่ปริพาชิกาคนนั้นแหละ พวกปริพาชิกาที่อยู่ใกล้ เคียงได้ถามปริพาชิกาผู้นั้นว่า พระสมณะนั่น เป็นคู่รักของเธอหรือ นางตอบว่า


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 580

ท่านไม่ใช่คู่รักของฉัน ท่านแจกให้ ๒ ชิ้น สำคัญว่าชิ้นเดียว พวกปริพาชิกา จึงล้อเลียนกันว่า คู่รักหรือไม่ใช่คู่รัก

อาชีวกอีกคนหนึ่ง ได้ไปสู่ที่อังคาส ภิกษุรูปหนึ่งคลุกข้าวกับเนยใส เป็นอันมากแล้ว ได้ให้ข้าวกอันใหญ่แก่อาชีวกนั้น เมื่อเขาได้ถือข้าวก้อนนั้น ไปแล้ว อาชีวกอีกคนหนึ่งได้ถามอาชีวกผู้นั้นว่า ท่านได้ก้อนข้าวมาจากไหน อาชีวกนั้นตอบว่า ได้มาจากที่อังคาสของสมณโคดมคหบดีโล้นนั้น.

อุบาสกทั้งหลายได้ยินสองอาชีวกนั้นสนทนาปราศรัยกัน จึงพากันเข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เดียรถีย์พวกนี้เป็นผู้มุ่งติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ขออย่าให้ พระคุณเจ้าทั้งหลายให้ของแก่พวกเดียรถีย์ด้วยมือของตนเลย.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้อุบาสกเหล่านั้นเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นอุบาสกเหล่านั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้ว ลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทำประทักษิณกลับไปแล้ว.

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงทำธรรมีกถาอันเหมาะสมแก่ เรื่องนั้น อันสมควรแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ ทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่ง


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 581

ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อ กำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่น แห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

อนึ่ง ภิกษุใด ให้ของเคี้ยวก็ดี ของกินก็ดี แก่ อเจลกก็ดี แก่ปริพาชกก็ดี แก่ปริพาชิกาก็ดี ด้วยมือของตน เป็น ปาจิตตีย์.

เรื่องพระอานนท์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๒๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า อเจลก ได้แก่ ชีเปลือยคนใดคนหนึ่งที่จัดเข้าในจำพวก นักบวช.

ที่ชื่อว่า ปริพาชก ได้แก่ บุรุษคนใดคนหนึ่งที่จัดเข้าในจำพวก นักบวช เว้น ภิกษุและสามเณร.

ที่ชื่อว่า ปริพาชก ได้แก่ สตรีคนใดคนหนึ่งที่จัดเข้าในจำพวก นักบวช เว้นภิกษุณี สิกขมานา และสามเณรี.

ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ เว้นโภชนะ ๕ อย่าง น้ำและไม้ชำระฟัน นอกนั้นชื่อว่า ของเคี้ยว.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 582

ที่ชื่อว่า ของกิน ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ.

บทว่า ให้ คือ ให้ด้วยกายก็ดี ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ดี ด้วย โยนให้ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๒๙] เดียรถีย์ ภิกษุสำคัญว่าเดียรถีย์ ให้ของเคี้ยวก็ดี ของกินก็ดี ด้วยมือของตน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เดียรถีย์ ภิกษุสงสัย ให้ของเคี้ยวก็ดี ของกินก็ดี ด้วยมือของตน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เดียรถีย์ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่เดียรถีย์ ให้ของเคี้ยวก็ดี ของกินก็ดี ด้วยมือของตน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ

ให้น้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่เดียรถีย์ ภิกษุสำคัญว่าเดียรถีย์ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่เดียรถีย์ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ใช่เดียรถีย์ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่เดียรถีย์ ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๕๓๐] ภิกษุสั่งให้ให้ ไม่ให้เอง ๑ วางให้ ๑ ให้ของไล้ทาภายนอก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 583

ปาจิตตีย์ อเจลกวรรคที่ ๕

อเจลกสิกขาบทที่ ๑

ในสิกขาบทที่ ๑ แห่งอเจลกวรรค มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[แก่อรรถ เรื่องให้ของกินแก่นักบวชนอกศาสนา]

บทว่า ปริเวสนํ แปลว่า สถานที่อังคาส.

บทว่า ปริพฺพาชกสมาปนฺโน คือ ผู้เข้าถึงการบวช.

สามบทว่า เทติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส มีความว่า ภิกษุให้ข้าวต้ม และข้าวสวย พออิ่มด้วยประโยคเดียว เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียว, ให้ขาดเป็น ระยะๆ เป็นปาจิตตีย์ ทุกๆ ประโยค. แม้ในขนมและข้าวสวยเป็นต้น ก็นัยนี้ เหมือนกัน

สองบทว่า ติตฺถิเย ติตถิยสญฺี มีความว่า มารดาก็ดี บิดาก็ดี (ของภิกษุ) บวชในหมู่เดียรถีย์. แม้ภิกษุ (ผู้บุตร) เมื่อให้แก่เดียรถีย์เหล่านั้น ด้วยสำคัญว่ามารดาและบิดา เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน

บทว่า ทาเปติ คือ สั่งให้อนุปสัมบันให้.

สองบทว่า อุปนิกฺขิปิตฺวา เทติ มีความว่า วางบนภาชนะเห็น ปานนั้นแล้ว วางภาชนะนั้นให้บนพื้นดิน ใกล้เดียรถีย์เหล่านั้น หรือว่าใช้ให้ วางภาชนะของเดียรถีย์เหล่านั้นลงแล้ว ให้บนภาชนะนั้น แม้จะตั้งบาตรไว้บน เชิงรอง หรือบนพื้นดินแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอาจากบาตรนี้ ก็ควร. ถ้าว่าเดียรถีย์พูดว่า ของสิ่งนี้เป็นของส่วนตัวของเราแท้, ขอท่านโปรดใส่อามิส นั้นลงในภาชนะนี้ พึงใส่ลงไป. เพราะเป็นของส่วนตัวของเดียรถีย์นั้น จึงไม่ ชื่อว่า เป็นการให้ด้วยมือตนเอง. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

อเจลกสิกขาบทที่ ๑ จบ


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 584

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

[๕๓๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน พระอุปนันทศากยบุตรได้กล่าวชวนภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระพี่ชายว่า มาเถิด อาวุโส เราจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตด้วยกัน แล้วสั่งไม่ให้เขาถวาย อะไรแก่เธอ ซ้ำส่งกลับด้วยบอกว่า กลับเถิด อาวุโส การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเรากับคุณไม่นำความสำราญมาให้ การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเราคนเดียว ย่อมจะสำราญ ขณะนั้นเป็นเวลาใกล้เที่ยงแล้ว ภิกษุนั้นไม่สามารถเที่ยวหา บิณฑบาตฉันได้ แม้จะไปฉันที่โรงฉันก็ไม่ทันกาล จำต้องอดภัตตาหาร ครั้น เธอไปถึงอารามแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ท่าน อุปนันทศากยบุตรกล่าวชวนภิกษุว่า มาเถิด อาวุโส เราจักเข้าบ้านเพื่อ บิณฑบาตด้วยกัน แล้วไฉนจึงสั่งไม่ให้เขาถวายอะไรแก่เธอ ซ้ำยังส่งกลับ อีกเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูก่อน อุปนันทะ ข่าวว่า เธอชวนภิกษุว่า มาเถิด อาวุโส เราจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต ด้วยกัน แล้วสั่งไม่ให้เขาถวายอะไรแก่เธอ ซ้ำยังส่งกลับอีก จริงหรือ.

ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 585

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอกล่าว ชวนภิกษุว่า มาเถิด อาวุโส เราจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตด้วยกัน แล้วไฉน จึงได้สั่งไม่ให้เขาถวายอะไรแก่เธอ ซ้ำยังส่งกลับอีกเล่า การกระทำของเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๙๑. ๒. อนึ่ง ภิกษุใด กล่าวต่อภิกษุอย่างนี้ว่า ท่านจงมา เข้าไปสู่บ้านหรือสู่นิคมเพื่อบิณฑบาตด้วยกัน เธอยังเขาให้ถวายแล้ว ก็ดี ไม่ให้ถวายแล้วก็ดี แก่เธอ แล้วส่งไปด้วยคำว่า ท่านจงไปเถิด การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเรากับท่าน ไม่เป็นเผาสุกเลย การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเราคนเดียว ย่อมเป็นผาสุก ทำความหมายอย่างนี้ เท่านั่งแลให้เป็นปัจจัย ทำใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๓๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ต่อภิกษุ หมายถึงภิกษุรูปอื่น

คำว่า ท่านจงมา ... สู่บ้าน หรือสู่นิคม ความว่า บ้านก็ดี นิคม ก็ดี เมืองก็ดี ชื่อว่าบ้านและนิคม.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 586

บทว่า ยังเขาให้ถวายแล้ว ... แก่เธอ คือ ให้เขาถวายข้าวต้ม หรือข้าวสวย ของเคี้ยว หรือของฉัน.

บทว่า ไม่ให้ถวายแล้ว คือ ไม่ให้เขาถวายอะไรๆ สักอย่าง.

บทว่า ส่งไป ความว่า ปรารถนาจะกระซิกกระซี้ ปรารถนาจะเล่น ปรารถนาจะนั่งในที่ลับ ปรารถนาจะประพฤติอนาจารกับมาตุคาม พูดอย่างนั้น ว่ากลับไปเถิด อาวุโส การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเรากับท่าน ไม่เป็นผาสุก การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเราคนเดียว ย่อมเป็นผาสุก ดังนี้ ให้กลับ ต้อง อาบัติทุกกฏ เมื่อเธอจะละอุปจารแห่งการเห็น หรืออุปจารแห่งการฟัง ต้อง อาบัติทุกกฏ เมื่อละแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

คำว่า ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นแลให้เป็นปัจจัย หาใช่ อย่างอื่นไม่ ความว่า ไม่มีเหตุจำเป็นอย่างอื่นเพื่อจะส่งไป.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๓๓] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ส่งกลับ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ส่งกลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ส่งกลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ฉักกทุกกฏ

ทำเป็นโกรธ ส่งกลับ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ส่งอนุปสัมบันกลับ ต้องอาบัติทุกกฏ

ทำเป็นโกรธ ส่งกลับ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ

อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 587

อานาปัตติวาร

[๕๓๔] ภิกษุส่งกลับไปด้วยคิดว่า เรา ๒ รูปรวมกันจักไม่พอฉัน ๑ ภิกษุส่งกลับไปด้วยคิดว่า รูปนั้นพบสิ่งของมีราคามากแล้ว จักยังความโลภให้ เกิด ๑ ภิกษุส่งกลับไปด้วยคิดว่า รูปนั้นเห็นมาตุคามแล้วจักยังความกำหนัด ให้เกิด ๑ ภิกษุส่งกลับไปด้วยสั่งว่า จงนำข้าวต้มหรือข้าวสวย ของเคี้ยวหรือ ของฉันไปให้แก่ภิกษุผู้อาพาธ แก่ภิกษุผู้ตกค้างอยู่ หรือแก่ภิกษุผู้เฝ้าวิหาร ๑ ภิกษุไม่ประสงค์จะประพฤติอนาจาร แต่เมื่อมีกิจจำเป็น จึงส่งกลับไป ๑ ภิกษุ วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

อุยโยชน สิกขาบทที่ ๒

ในสิกขาบทที่ ๒ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถบางปาฐะในปฐมบัญญัติของสิกขาบท]

บทว่า ปฏิกฺกมเนปิ แปลว่า แม้ในโรงฉัน.

บทว่า ภตฺตวิสฺสคฺคํ แปลว่า ภัตกิจ.

บทว่า น สมฺภาเวสิ แปลว่า ไม่ทันเวลา.

บทว่า อนาจารํ ได้แก่ การละเมิดทางกายทวารและวจีทวาร อัน เหลือจากอนาจารที่กล่าวแล้ว.

ในคำว่า ทสฺสนูปจารํ วา สวนูปจารํ วา วิชหนฺตสฺส นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้าภิกษุยืน หรือนั่งขับไล่, ภิกษุใดถูกขับไล่, ภิกษุนั้นกำลังละ อุปจารไป, และชื่อว่า อาบัติไม่มีแก่ภิกษุนั้น, แต่เมื่อภิกษุผู้ถูกขับไล่ไปนั้น


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 588

แม้กำลังละ (อุปจาร) ไป โดยอรรถก็เป็นอันภิกษุผู้ขับไล่นอกนี้ละไปแล้ว ทีเดียว; เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ขับไล่เท่านั้นเป็นอาบัตินี้. บรรดาอาบัติเหล่านั้น ถ้าว่าเท้าข้างหนึ่งยังอยู่ภายในอุปจารเป็นทุกกฏ, ในขณะล่วงเขตแดนไป เป็น ปาจิตตีย์

ก็บรรดาอุปจารการเห็นและอุปจารการได้ยินนี้ ประมาณ ๑๒ ศอก ในโอกาสกลางแจ้ง เป็นประมาณแห่งอุปจารการเห็น, อุปจารการได้ยิน ก็มี ประมาณเท่ากัน. ก็ถ้าว่ามีฝาประตูและกำแพงเป็นต้นคั่นอยู่ ภาวะที่ฝาประตู และกำแพงเป็นต้นนั้นคั่นไว้นั่นแหละ เป็นการล่วงเลยทัสสนูปจาร. บัณฑิต พึงทราบอาบัติ ด้วยอำนาจการล่วงเลยทัสสนูปจารนั้น.

คำว่า น อญฺโ โกจิ ปจฺจโย โหติ มีความว่า เว้นอนาจาร มีประการดังกล่าวแล้ว ไม่มีเหตุจำเป็นอะไรอย่างอื่น.

สองบทว่า กลิสาสนํ อาโรเปติ มีความว่า ความโกรธ ชื่อว่า กลิ. ยกเรื่องแห่งความโกรธนั้นขึ้น คือ ยกอาชญาแห่งความโกรธขึ้น. อธิบาย ว่า แสดงโทษในการยืนและการนั่งเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งความโกรธ กล่าว ถ้อยคำอันไม่เจริญใจ อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ! จงดู การยืน การนั่ง การดู การเหลียวแล ของภิกษุนี้, เธอยืนเหมือนหัวตอ, นั่งเหมือนสุนัข, เหลียวดู ทางโน้นทางนี้เลิ่กลั่กเหมือนลิง ด้วยตั้งใจว่า แม้ไฉนผู้นี้ถูกเรารบกวนด้วย ถ้อยคำอันไม่จำเริญใจอย่างนี้แล้ว พึงหลีกไปเสีย. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

อุยโยชนสิกขาบทที่ ๒ จบ


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 589

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

[๕๓๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน พระอุปนันทศากยบุตรไปสู่เรือนของสหายแล้ว สำเร็จการนั่งในเรือนนอนกับ ภรรยาของเขา จึงบุรุษสหายนั้นเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร ครั้นแล้ว กราบไหว้ท่านพระอุปนันทศากยบุตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เขานั่ง เรียบร้อยแล้วบอกภรรยาว่า จงถวายภิกษาแก่พระคุณเจ้า จึงนางได้ถวายภิกษา แก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร บุรุษนั้นได้เรียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า นิมนต์ท่านกลับเถิดขอรับ เพราะภิกษาข้าพเจ้าก็ได้ถวายแก่พระคุณเจ้าแล้ว สตรีภรรยานั้นกำหนดรู้ในขณะนั้นว่า บุรุษนี้อันราคะรบกวนแล้ว จึงเรียน ท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า นิมนต์ท่านนั่งอยู่ก่อนเถิดเจ้าค่ะ อย่าเพิ่งไป.

แม้ครั้งที่สอง บุรุษนั้น ...

แม้ครั้งที่สาม บุรุษนั้นก็ได้เรียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า นิมนต์ ท่านกลับเถิด ขอรับ เพราะภิกษาข้าพเจ้าก็ได้ถวายแก่พระคุณเจ้าแล้ว.

แม้ครั้งที่สาม หญิงนั้นก็ได้เรียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า นิมนต์ ท่านนั่งอยู่ก่อนเถิด เจ้าค่ะ อย่าเพิ่งไป.

ทันใด บุรุษสามีเดินออกไปกล่าวยกโทษต่อภิกษุทั้งหลายว่า ท่าน เจ้าข้า พระคุณเจ้าอุปนันท์นี้นั่งในห้องนอนกับภรรยาของกระผม กระผม นิมนต์ให้ท่านกลับไป ก็ไม่ยอมกลับ กระผมมีกิจมาก มีกรณียะมาก.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านอุปนันทศากยบุตรจึงได้สำเร็จการนั่งแทรกแซง ในตระกูลที่มีคน ๒ คนเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 590

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุปนันท์ว่า ดูก่อนอุปนันท์ ข่าวว่าเธอสำเร็จการนั่งแทรกแซง ในตระกูลที่มีคน ๒ คน จริงหรือ.

ท่านพระอุปนันท์ทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง ได้สำเร็จ การนั่งแทรกแซงในตระกูลที่มีคน ๒ คนเล่า การกระทำเองเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๙๒.๓. อนึ่ง ... ภิกษุใด สำเร็จการนั่งแทรกแซงในตระกูลที่ มีคน ๒ คน เป็นปาจิตติย์.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๓๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ตระกูลที่ชื่อว่า มีคน ๒ คน คือ มีเฉพาะสตรี ๑ บุรุษ ๑ ทั้ง สองคนยังไม่ออกจากกัน ทั้งสองคนหาใช่ผู้ปราศจากราคะไม่.

บทว่า แทรกแซง คือ กีดขวาง.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 591

บทว่า สำเร็จการนั่ง ความว่า ในเรือนใหญ่ ภิกษุนั่งละหัตบาส แห่งบานประตู ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ในเรือนเล็ก นั่งล้ำท่ามกลางห้องเรือน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๓๗] ห้องนอนภิกษุสำคัญว่าห้องนอน สำเร็จการนั่งแทรกแซง ในตระกูลที่มีตน ๒ คน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ห้องนอน ภิกษุสงสัย สำเร็จการนั่งแทรกแซงในตระกูลที่มีตน ๒ คน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ห้องนอน ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ห้องนอน สำเร็จการนั่งแทรกแซง ใน ตระกูลที่มีตน ๒ คน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ไม่ใช่ห้องนอน ภิกษุสำคัญว่าห้องนอน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่ห้องนอน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ใช่ห้องนอน ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ห้องนอน ... ไม่ต้องอาบัติ.

อานาปัตติวาร

[๕๓๘] ภิกษุนั่งในเรือนใหญ่ ไม่ล่วงล้ำหัตถบาสแห่งบานประตู ๑ ภิกษุนั่งในเรือนเล็ก ไม่เลยท่ามกลางห้อง ๑ ภิกษุมีเพื่อนอยู่ด้วย ๑ คนทั้ง สองออกจากกันแล้ว ทั้งสองปราศจากราคะแล้ว ๑ ภิกษุนั่งในสถานที่อันมิใช่ ห้องนอน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 592

สโภชนสิกขาบทที่ ๓

ในสิกขาบทที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถบางปาฐะในปฐมบัญญัติแห่งสิกขาบท]

บทว่า สยนีฆเร แปลว่า ในเรือนนอน.

คำว่า ยโต อยฺยสฺส ภิกฺขา ทินฺนา แปลว่า เพราะข้าพเจ้าได้ ถวายภิกษาแล้ว. อธิบายว่า สิ่งใดอันผู้มาแล้วพึงได้, ท่านได้สิ่งนั้นแล้ว, นิมนต์ท่านกลับไปเถิด,

บทว่า ปริยฏฺิโต คือ เป็นผู้อันราคะกลุ้มรุมแล้ว, ความว่า มี ความประสงค์ในเมถุน.

บทว่า สโภชเน ได้แก่ สกุลที่เป็นไปกับด้วยคน ๒ คน ชื่อว่า สโภชนะ. ในสกุลมีคน ๒ คนนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สโภชเน คือ ในสกุลมีโภคะ. เพราะว่า สตรีเป็นโภคะของบุรุษ ผู้อันราคะกลุ้มรุมแล้ว และบุรุษก็เป็นโภคะของสตรี (ผู้กลัดกลุ้มด้วยราคะ) , ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า สโภชเน นั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มีสตรี กับบุรุษ เป็นต้น.

สองบทว่า มหลฺลเก ฆเร คือ ในเรือนนอนหลังใหญ่.

สามบทว่า ปิฏฺิสงฆาฏสฺส หตฺถปาสํ วิชหิตฺวา มีความว่า ละหัตถบาสแห่งบานประตูห้องในเรือนนอนนั้น แล้วนั่ง ณ ที่ใกล้ภายในที่ นอน. ก็เรือนนอนเช่นนี้ มีในศาลา ๔ มุขเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงการล้ำท่ามกลางด้วยคำนี้ว่า ปิฏฺิวํสํ อติกฺกมิตฺวา. เพราะ เหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบอาบัติ เพราะล้ำท่ามกลางแห่งเรือนนอนหลังเล็ก ที่เขาสร้างไว้ อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุสลจิต มีเวทนา ๒ ดังนี้แล.

สโภชนสิกขาบทที่ ๓ จบ


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 593

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

[๕๓๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน พระอุปนันทศากยบุตรไปสู่เรือนของสหายแล้วสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือใน อาสนะกำบังกับภรรยาของเขา จึงบุรุษสหายนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าอุปนันท์จึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือ ในอาสนะกำบังกับ ภรรยาของเขาเล่า

ภิกษุทั้งหลายได้ยินเขาเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้ มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตร จึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบังกับมาตุคามเล่า แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุปนันท์ว่า ดูก่อนอุปนันท์ ข่าวว่า เธอสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบังกับมาตุคาม จริงหรือ.

ท่านพระอุปนันท์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง ได้สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบังกับมาตุคามเล่า การกระทำของ เธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 594

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๙๓. ๔. อนึ่ง ภิกษุใด สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะ กำบัง กับมาตุคาม เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๔๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้

ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย โดยที่สุดแม้เด็กหญิงที่เกิดในวันนั้น ไม่ต้องพูดถึง หญิงผู้ใหญ่.

บทว่า กับ คือ ร่วมกัน.

ที่ชื่อว่า ในที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตา ๑ ที่ลับหู ๑

ที่ชื่อว่า ที่ลับตา ได้แก่ ที่ซึ่งไรเมื่อภิกษุหรือมาตุคามขยิบตา ยักคิ้ว หรือชะเง้อศรีษะ. ไม่มีใครสามารถจะแลเห็นได้

ที่ชื่อว่า ที่ลับหู ได้แก่ ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถจะได้ยินถ้อยคำที่สนทนา กันตามปกติได้

อาสนะที่ชื่อว่า กำบัง คือ เป็นอาสนะที่เขากำบังด้วยฝา บานประตู ลำแพน ม่านบัง ต้นไม้ เสา หรือฉางข้าว อย่างใดอย่างหนึ่ง


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 595

คำว่า สำเร็จการนั่ง ความว่า เมื่อมาตุคามนั่งแล้ว ภิกษุนั่งใกล้ หรือนอนใกล้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เมื่อภิกษุนั่งแล้ว มาตุคามนั่งใกล้ หรือนอนใกล้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทั้งสองนั่งก็ดี ทั้งสองนอนก็ดี ภิกษุก็ดี อาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๔๑] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือ ในอาสนะกำบัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

มาตุคาม ภิกษุสงสัย สำเร็จการนั่งในที่ลับคือในอาสนะกำบัง ต้อง อาบัติปาจิตตีย์

มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือใน อาสนะกำบัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ

ภิกษุสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือ ในอาสนะกำบังกับหญิงยักษ์ หญิงเปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียมีกายดังมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม ... ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ... ไม่ต้องอาบัติ.


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 596

อนาปัตติวาร

[๕๔๒] ภิกษุมีบุรุษผู้รู้เตียงสาคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นเป็นเพื่อน ๑ ภิกษุ ยืนมิได้นั่ง ๑ ภิกษุมิได้มุ่งที่ลับ ๑ ภิกษุนั่งส่งใจไปในอารมณ์อื่น ๑ ภิกษุ วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

สิกขาบทที่ ๔ และที่ ๕

คำที่จะพึงกล่าวในสิกขาบทที่ ๔ และที่ ๕ ทั้งหมด มีนัยดังกล่าวแล้ว ในอนิยสิกขาบททั้ง ๒ นั่นแล. เหมือนอย่างว่า สโภชนสิกขาบทมีสมุฏฐาน ดุจปฐมปาราชิกสิกขาบท ฉันใด สิกขาบทที่ ๔ และที่ ๕ แม้น ก็มีสมุฏฐาน ดุจปฐมปาราชิกสิกขาบทเหมือนกันฉันนั้นแล.

สิกขาบทที่ ๔ - ๕ จบ


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 597

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

[๕๔๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน พระอุปนันทศากยบุตรไปสู่เรือนของสหายแล้ว สำเร็จการนั่งในที่ลับกับภรรยา ของเขาหนึ่งต่อหนึ่ง จึงบุรุษสหายนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระคุณเจ้าอุปนันท์จึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับภรรยาของเขาหนึ่งต่อหนึ่งเล่า

ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็น ผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเล่า แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุปนันท์ว่า ดูก่อนอุปนันท์ ข่าวว่าเธอสำเร็จการนั่งในที่ลบกับมาตุคามหนึ่งต่อหนึ่ง จริงหรือ.

ท่านพระอุปนันท์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง ได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับมาตุคามหนึ่งต่อหนึ่งเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 598

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๙๔. ๕ อนึ่ง ภิกษุใด ผู้เดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับ กับ มาตุคามผู้เดียว เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๔๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย. เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถทราบถ้อยคำที่เป็น สุภาษิต และทุพภาษิต ที่ชั่วหยาบและไม่ชั่วหยาบ.

บทว่า กับ คือ ร่วมกัน.

บทว่า ผู้เดียว ... ผู้เดียว คือ มีภิกษุ ๑ มาตุคาม ๑

ที่ชื่อว่า ที่ลับ ได้แก่ที่ลับตา ๑ ที่ลูบหู ๑

ที่ชื่อว่า ที่ลับตา ได้แก่ สถานที่ซึ่งมีภิกษุหรือมาตุคาม ขยิบตา ยักคิ้ว หรือชะเง้อศีรษะ ไม่มีใครสามารถจะแลเห็นได้

ที่ชื่อว่า ที่ลับหู ได้แก่ สถานที่ซึ่งไม่มีใครสามารถจะได้ยินถ้อยคำ ที่สนทนากันตามปกติได้

คำว่า สำเร็จการนั่ง ความว่า เมื่อมาตุคามนั่งแล้ว ภิกษุนั่งใกล้ หรือนอนใกล้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 599

เมื่อภิกษุนั่งแล้ว มาตุคามนั่งใกล้หรือนอนใกล้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทั้งสองนั่งก็ดี ทั้งสองนอนก็ดี ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๔๕] มาตุคามภิกษุสำคัญ ว่ามาตุคาม สำเร็จการนั่งในที่ลับหนึ่งต่อ หนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

มาตุคาม ภิกษุสงสัย สำเร็จการนั่งในที่ลับ หนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์

มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม สำเร็จการนั่งในที่ลับ หนึ่ง ต่อหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ

ภิกษุสำเร็จการนั่งในที่ลับ กับหญิงยักษ์ หญิงเปรต บัณเฑาะก์ หรือ สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียมีกายดังมนุษย์ หนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๕๔๖] ภิกษุมีบุรุษผู้รู้เดียงสา คนใดคนหนึ่ง อยู่เป็นเพื่อน ๑ ภิกษุยืน ไม่ได้นั่ง ๑ ภิกษุไม่ได้มุ่งที่ลับ ๑ ภิกษุนั่งส่งใจไปในอารมณ์อื่น ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 600

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

[๕๔๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระอุปนันทศากยบุตร นิมนต์ท่านฉัน ภัตตาหาร แม้ภิกษุเหล่าอื่นเขาก็นิมนต์ด้วย เวลานั้น เป็นเวลาก่อนอาหาร ท่าน พระอุปนันทศากยบุตรยังกำลังเข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลายอยู่ จึงภิกษุเหล่านั้น ได้ บอกทายกเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายจงถวายภัตตาหารเถิด พวกทายกกล่าวว่า นิมนต์รออยู่จนกว่าพระคุณเจ้าอุปนันท์จะมา ขอรับ.

แม้ครั้งที่สอง ภิกษุเหล่านั้นก็ได้บอกทายกเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย จงถวายภัตตาหารเถิด พวกทายกกล่าวว่า นิมนต์รออยู่จนกว่าพระคุณเจ้า อุปนันท์จะมา ขอรับ.

แม้ครั้งที่สาม ภิกษุเหล่านั้นก็ได้บอกทายกเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย จงถวายภัตตาหารเถิด เวลาก่อนเที่ยงจะล่วงเลยแล้ว ทายกอ้อนวอนว่า พวก กระผมตกแต่งภัตตาหารก็เพราะเหตุแห่งพระคุณเจ้าอุปนันท์ นิมนต์รออยู่จน กว่าพระคุณเจ้าอุปนันท์จะมา ขอรับ.

คราวนั้น ท่านพระอุปนันท์ศากยบุตรได้เข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลาย ก่อน เวลาฉัน มาถึงเวลาบ่ายภิกษุทั้งหลายไม่ได้ฉันตามประสงค์ บรรดาภิกษุที่เป็น ผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ท่านพระอุปนันทศากยบุตรรับ นิมนต์เขาแล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว ไฉนจึงได้ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูล ทั้งหลาย ก่อนเวลาฉันเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 601

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุปนันท์ว่า ดูก่อนอุปนันท์ ข่าวว่า เธอรับนิมนต์เข้าแล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปใน ตระกูลทั้งหลาย ก่อนเวลาฉัน จริงหรือ.

ท่านพระอุปนันท์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอรับ นิมนต์เขาแล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว ไฉนจึงได้ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูล ทั้งหลาย ก่อนฉันเล่า การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๙๕. ๖. ก. อนึ่ง ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตอยู่แล้ว ถึง ความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายก่อนฉัน เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร (ต่อ)

[๕๔๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้ส่งของเคี้ยวไปถวายแก่สงฆ์ สั่งว่า ต้องมอบให้พระคุณเจ้าอุปนันท์ ถวายแก่สงฆ์ แต่เวลานั้นท่านพระอุปนันทศากยบุตรกำลังเข้าไปบิณฑบาตยัง


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 602

หมู่บ้าน เมื่อชาวบ้านเหล่านั้นไปถึงอารามแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า พระคุณเจ้า อุปนันท์ไปไหน เจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลายตอบว่า ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนั้น เข้าไปบิณฑบาต ยังหมู่บ้านแล้วจ้ะ.

ชาวบ้านสั่งว่า ท่านขอรับ ของเคี้ยวนี้ต้องมอบให้พระคุณเจ้าอุปนันท์ ถวายแก่สงฆ์.

ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ รับสั่ง ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นพวกเธอจงรับประเคนแล้วเก็บไว้จนกว่า อุปนันท์จะกลับมา.

ส่วนท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้คิดว่า การถึงความเป็นผู้เที่ยวไป ในตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว จึงเข้าไปยัง ตระกูลทั้งหลายหลังเวลาฉันแล้ว บ่ายจึงกลับ ของเคี้ยวได้ถูกส่งคืนกลับไป.

บรรดาภิกษุที่มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระอุปนันทศากยบุตร จึงได้ถึงความเป็นผู้เที่ยวไป ในตระกูลทั้งหลาย หลังเวลาฉันเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุปนันท์ว่า ดูก่อนอุปนันท์ ข่าวว่า เธอถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายหลังเวลาฉัน จริงหรือ.

ท่านพระอุปนันท์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง ติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง ได้ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายหลังเวลาฉันเล่า การกระทำของ


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 603

เธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระอนุบัญญัติ ๑

๙๕. ๖. ข. อนึ่ง ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตอยู่แล้ว ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

ทรงอนุญาตให้เข้าสู่ตระกูลในคราวถวายจีวร

[๕๔๙] โดยสมัยต่อมา ถึงคราวถวายจีวรกัน ภิกษุทั้งหลายพากัน รังเกียจ ไม่เข้าไปสู่ตระกูล จีวรจึงเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ภิกษุทั้งหลายได้ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน คราวที่ถวายจีวร เราอนุญาตให้เข้าไปสู่ตระกูลได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระอนุบัญญัติ ๒

๙๕. ๖. ค. อนึ่ง ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตอยู่แล้ว ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวที่ถวายจีวร นี้สมัยในเรื่องนั้น.


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 604

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องทรงอนุญาตให้เข้าสู่ตระกูลในคราวถวายจีวร จบ

ทรงอนุญาตให้เข้าสู่ตระกูลในคราวทำจีวร

[๕๕๐] โดยสมัยต่อมาอีก ภิกษุทั้งหลายทำจีวรกันอยู่ ต้องการเข็ม บ้าง ด้ายบ้าง มีดบ้าง ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจไม่เข้าไปสู่ตระกูล จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน คราวที่ทำจีวร เราอนุญาตให้เข้าไปสู่ตระกูลได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระอนุบัญญัติ ๓

๙๕. ๖. ฆ. อนึ่ง ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตอยู่แล้ว ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวที่ถวาย จีวร คราวที่ทำจีวร นี้สมัยในเรื่องนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องทรงอนุญาตให้เข้าสู่ตระกูลในคราวทำจีวร จบ

ทรงอนุญาตให้บอกลาก่อนเข้าสู่ตระกูล

[๕๕๑] โดยสมัยต่อจากนั้นมา ภิกษุทั้งหลายอาพาธ และมีความ ต้องการเภสัช ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจไม่เข้าไปสู่ตระกูล จึงกราบทูลเรื่อง


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 605

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกลา ภิกษุซึ่งมีอยู่แล้วเข้าไปสู่ตระกูลได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๔

๙๕. ๖. ง. อนึ่ง ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตอยู่แล้วไม่ บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่ ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อน ฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวที่ถวายจีวร คราวที่ทำจีวร นี้สมัยในเรื่องนั้น.

เรื่องทรงอนุญาตให้บอกลาก่อนเข้าสู่ตระกูล จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๕๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า รับนิมนต์แล้ว คือ รับนิมนต์ฉันโภชนะ ๕ อย่างใด อย่างหนึ่ง.

ที่ชื่อว่า มีภัตอยู่แล้ว คือ มีอาหารที่รับนิมนต์เขาไว้แล้ว.

ภิกษุที่ชื่อว่า ซึ่งมีอยู่ คือ อาจที่จะบอกลาก่อนเข้าไป.

ภิกษุที่ชื่อว่า ซึ่งไม่มีอยู่ คือ ไม่อาจที่จะบอกลาก่อนเข้าไป

ที่ชื่อว่า ก่อนฉัน คือ ภิกษุยังไม่ได้ฉันอาหารที่รับนิมนต์เขาไว้.

ที่ชื่อว่า ทีหลังฉัน คือ ภิกษุฉันอาหารที่รับนิมนต์เขาไว้แล้วโดย ที่สุด แม้ด้วยปลายหญ้าคา.


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 606

ที่ชื่อว่า ตระกูล ได้แก่ตระกูล ๔ คือ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูล พราหมณ์ ตระกูลแพศย์ ตระกูลศทร.

คำว่า ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย นั้น ความว่า ภิกษุก้าวลงสู่อุปจารเรือนของผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ก้าวเท้าที่ ๑ ล่วงธรณีประตู ต้องอาบัติทุกกฏ ก้าวเท้าที่ ๒ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า เว้นไว้แต่สมัย คือ ยกเว้นแต่มีสมัย.

ที่ชื่อว่า คราวที่ถวายจีวร คือ เมื่อยังไม่ได้กรานกฐิน ๑ เดือน ท้ายฤดูฝน เมื่อกรานกฐินแล้ว ๕ เดือน.

ที่ชื่อว่า คราวที่ทำจีวร คือ เมื่อคราวกำลังทำจีวรกันอยู่.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๕๓] รับนิมนต์แล้ว ภิกษุสำคัญว่ารับนิมนต์แล้ว ไม่บอกลาภิกษุ ซึ่งมีอยู่ ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

รับนิมนต์แล้ว ภิกษุสงสัย ไม่บอกภิกษุซึ่งมีอยู่ ถึงความเป็นผู้เที่ยว ไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

รับนิมนต์แล้ว ภิกษุสำคัญว่ามิได้รับนิมนต์ ไม่บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่ ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี เว้นไว้แต่ สมัย ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ไม่ได้รับนิมนต์ ภิกษุสำคัญว่ารับนิมนต์แล้ว ... ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ได้รับนิมนต์ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 607

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ได้รับนิมนต์ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับนิมนต์ ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๕๕๔] ภิกษุฉันในสมัย ๑ ภิกษุบอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่แล้วจึงเข้าไป ๑ ไม่ได้บอกลาภิกษุซึ่งไม่มีอยู่ แล้วเข้าไป ๑ เดินทางผ่านเรือนผู้อื่น ๑ เดิน ทางผ่านอุปจารเรือน ๑ ไปอารามอื่น ๑ ไปสู่สำนักภิกษุณี ๑ ไปสู่สำนัก เดียรถีย์ ๑ ไปโรงฉัน ๑ ไปเรือนที่เขานิมนต์ฉัน ๑ ไปเพราะมีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

จาริตสิกขาบทที่ ๖

ในสิกขาบทที่ ๖ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[แก้อรรถบางปาฐะปฐมบัญญัติและอนุบัญญัติ]

ในคำว่า เทถาวุโส ภตฺตํ นี้ มีวินิจฉัยว่า ได้ยินว่า ภัตนั้น เป็น ของที่พวกชาวบ้านน้อมนำมาแล้ว; เพราะเหตุนั้น พวกภิกษุจึงได้กล่าวอย่าง นั้น. แต่ในภัตตาหาร ที่พวกชาวบ้านมิได้น้อมนำมา ภิกษุย่อมไม่ได้เพื่อที่จะ กล่าวอย่างนั้น (กล่าวว่า ให้ภัตตาหารเถิด อาวุโส) เป็นปยุตตวาจา (การ ออกปากขอของ).

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นพวก เธอจงรับประเคนแล้วเก็บไว้ ดังนี้ เพื่อต้องการรักษาศรัทธาของตระกูล. ก็


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 608

ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสว่า พวกเธอแบ่งกันฉันเถิด, พวกชาวบ้านจะพึงคลายความเลื่อมใส.

บทว่า อุสฺสาทยิตฺถ แปลว่า ได้ถูกนำกลับคืนไป. มีคำอธิบายว่า พวกชาวบ้านได้นำขาทนียะนั้นกลับไปยังเรือนอย่างเดิม.

ในคำว่า สนฺตํ ภีกฺขุํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุชื่อว่ามีอยู่ด้วย เหตุมีประมาณเท่าไร? ชื่อว่า ไม่มี ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร? คือ ภิกษุ ผู้อยู่ในสถานแห่งใดภายในวิหาร เกิดมีความคิดว่า จะเข้าไปเยี่ยมตระกูล, จำเติมแต่นั้น เห็นภิกษุใดที่ข้างๆ หรือตรงหน้า หรือภิกษุใดที่ตนอาจจะบอก ด้วยคำพูดตามปกติได้, ภิกษุนี้ชื่อว่า มีอยู่. แต่ไม่มีกิจที่จะต้องเที่ยวไปบอก ลาทางโน้นและทางนี้. จริงอยู่ ภิกษุที่ตนต้องเที่ยวหาบอกลาอย่างนี้ ชื่อว่า ไม่มีนั่นเอง. อีกนัยหนึ่ง ภิกษุไปด้วยทำในใจว่า เราพบภิกษุภายในอุปจารสีมาแล้วจักบอกลา พึงบอกลาภิกษุที่ตนเห็นภายในอุปจารสีมานั้น ถ้าไม่พบ ภิกษุ ชื่อว่า เป็นผู้เข้าไปไม่บอกลาภิกษุที่ไม่มี.

บทว่า อนฺตรารามํ ได้แก่ ไปสู่วิหารที่มีอยู่ในภายในบ้าน.

บทว่า ภตฺติยฆรํ ได้แก่ เรือนที่เขานิมนต์ หรือเรือนของพวก ชาวบ้านผู้ถวายสลากภัตเป็นต้น.

บทว่า อาปทาสุ มีความว่า เมื่อมีอันตรายแห่งชีวิตและพรหมจรรย์ จะไปก็ควร. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปันณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล

จาริตสิกขาบทที่ ๖ จบ


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 609

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องมหานามศากยะ

[๕๕๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้น มหานามศากยะมี เภสัชมากมาย จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะปวารณาต่อสงฆ์ด้วยปัจจัย เภสัชตลอด ๔ เดือน พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีๆ มหานาม ถ้าเช่นนั้น เธอจงปวารณา ต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัชตลอด ๘ เดือนเถิด.

ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับปวารณา ได้กราบทูลเหตุนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีการ ปวารณาด้วยปัจจัย ๔ ตลอด ๔ เดือน.

ก็สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายขอปัจจัยเภสัชต่อมหานามศากยะเพียงเล็ก น้อยเท่านั้น ปัจจัยเภสัชของมหานามศากยะ จึงยังคงมากมายอยู่ตามเดิมนั่น แหละ.

แม้ครั้งที่สอง มหานามศากยะก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะ ปวารณาต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัชต่ออีก ๔ เดือน พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีๆ มหานาม ถ้าเช่นนั้น เธอจงปวารณา ต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัชต่ออีก ๔ เดือนเถิด.


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 610

ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับปวารณา ได้กราบทูลเหตุนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีการ ปวารณาต่ออีกได้.

ก็สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายขอปัจจัยเภสัชต่อมหานามศากยะเพียงเล็ก น้อยเท่านั้น ปัจจัยเภสัชของมหานามศากยะจึงยังคงมากมายอยู่ตามเดิมนั่นแหละ

แม้ครั้งที่สาม มหานามศากยะก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะ ปวารณาต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัชตลอดชีวิต พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีๆ มหานาม ถ้าเช่นนั้น เธอจงปวารณา ต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัชตลอดชีวิตเถิด

ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับปวารณา ได้กราบทูลเหตุนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดี แม้ซึ่งการ ปวารณาเป็นนิตย์.

[๕๕๖] ครั้นสมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์นุ่งผ้าไม่เรียบร้อย ไม่สมบูรณ์ ด้วยมรรยาท ถูกมหานามศากยะกล่าวตำหนิว่า ทำไมท่านทั้งหลายจึงนุ่งห่มผ้า ไม่เรียบร้อย ไม่สมบูรณ์ด้วยมรรยาท ธรรมเนียมบรรพชิตต้องนุ่งห่มผ้าให้ เรียบร้อย ต้องสมบูรณ์ด้วยมรรยาท มิใช่หรือ พระฉัพพัคคีย์ผูกใจเจ็บใน มหานามศากยะ ครั้นแล้วได้ปรึกษากันว่า ด้วยอุบายวิธีไหนหนอ เราจึงจะ ทำมหานามศากยะให้ได้รับความอัปยศ แล้วปรึกษากันต่อไปว่า อาวุโสทั้งหลาย มหานามศากยะได้ปวารณาไว้ต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัช พวกเราพากันไปขอเนยใส ต่อมหานามศากยะเถิด แล้วเข้าไปมหานามศากยะกล่าวคำนี้ว่า อาตมภาพทั้งหลายต้องการเนยใส ๑ ทะนาน.


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 611

มหานามศากยะขอร้องว่า วันนี้ขอพระคุณเจ้าได้โปรดคอยก่อน คน ทั้งหลายยังไปคอกนำเนยใสมา พระคุณเจ้าทั้งหลายจักได้รับทันกาล.

แม้ครั้งที่สอง ...

แม้ครั้งที่สาม พระฉัพพัคคีย์ก็ได้กล่าวว่า อาตมภาพทั้งหลายต้องการ เนยใส ๑ ทะนาน

มหานามศากยะรับสั่งว่า วันนี้ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย ได้โปรดรอก่อน คนทั้งหลายยังไปคอกนำเนยใสมา พระคุณเจ้าจักได้รับทันกาล พระฉัพพัคคีย์ ต่อว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยเนยใสที่ท่านไม่ประสงค์จะถวาย แต่ได้ปวารณา ไว้ เพราะท่านปวารณาไว้แล้วไม่ถวาย.

จึงมหานามศากยะ เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ก็เมื่อฉันขอร้อง พระคุณเจ้าว่า วันนี้ ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายได้โปรดคอยก่อน ดังนี้ ไฉน พระคุณเจ้าจึงรอไม่ได้เล่า.

ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินมหานามศากยะ เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า พระฉัพพัคคีย์อัน มหานามศากยะ ขอร้องว่า วันนี้ ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายได้โปรดคอยอยู่ก่อน ดังนี้ ไฉนจึงคอยไม่ได้เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธออันมหานามศากยะพูดขอร้องว่า วันนี้ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย ได้โปรดคอยก่อน ดังนี้ แล้วไม่คอย จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 612

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย พวกเธอ อันมหานามศากยะพูดขอร้องเช่นนั้นแล้ว ไฉนจึงคอยอยู่ไม่ได้เล่า การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า ดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๙๖. ๗. ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ พึงยินดีปวารณาด้วยปัจจัยเพียงสี่ เดือน เว้นไว้แต่ปวารณาอีก เว้นไว้แต่ปวารณาเป็นนิตย์ ถ้าเธอยิน ดี ยิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องมหานามศากยะ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๕๗] คำว่า ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ พึงยินดีปวารณาด้วยปัจจัย สี่เดือน นั้น ความว่าพึงยินดีปวารณาเฉพาะปัจจัยของภิกษุไข้แม้เขาปวารณา อีกก็พึงยินดีว่า เราจักขอชั่วเวลาที่ยังอาพาธอยู่ แม้เขาปวารณาเป็นนิตย์ ก็ พึงยินดีว่า เราจักขอชั่วเวลาที่ยังอาพาธอยู่.

[๕๕๘] บทว่า ถ้าเธอยินดียิ่งกว่านั้น ความว่า การปวารณา กำหนดเภสัชแต่ไม่กำหนดกาลก็มี กำหนดกาลแต่ไม่กำหนดเภสัชก็มี กำหนด ทั้งเภสัชและกาลก็มี ไม่กำหนดเภสัชไม่กำหนดกาลก็มี

ที่ชื่อว่า กำหนดเภสัช คือ เขากำหนดเภสัชไว้ว่า ข้าพเจ้าขอ ปวารณาด้วยเภสัชประมาณเท่านี้.


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 613

ที่ชื่อว่า กำหนดกาล คือ เขากำหนดกาลไว้ว่า ข้าพเจ้าขอปวารณา ในระยะกาลเท่านี้

ที่ชื่อว่า กำหนดทั้งเภสัชและกาล นั้น คือ เขากำหนดเภสัช และ กาลไว้ว่า ข้าพเจ้าขอปวารณาด้วยเภสัชมีประมาณเท่านี้ ในระยะกาลเพียงเท่านี้

ที่ชื่อว่า ไม่กำหนดเภสัชไม่กำหนดกาล นั้น คือ เขาไม่ได้ กำหนดเภสัชและกาลไว้ว่า ข้าพเจ้าขอปวารณาด้วยเภสัชมีประมาณเท่านี้ ใน ระยะกาลเพียงเท่านี้.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๕๙] ในการกำหนดเภสัช ภิกษุขอเภสัชอย่างอื่นนอกจากเภสัชที่ เขาปวารณา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ในการกำหนดกาล ภิกษุขอในกาลอื่นนอกจากกาลที่เขาปวารณา ต้อง อาบัติปาจิตตีย์

ในการกำหนดทั้งเภสัชกำหนดทั้งกาล ภิกษุขอเภสัชอย่างอื่นนอกจาก เภสัชที่เขาปวารณา และในกาลอื่นนอกจากกาลที่เขาปวารณา ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

ไม่ต้องอาบัติ

ในการไม่กำหนดเภสัช ไม่กำหนดกาละ ... ไม่ต้องอาบัติ.

ปัญจกปาจิตตีย์

[๕๖๐] ในเมื่อต้องการใช้ของที่มิใช่เภสัช ภิกษุขอเภสัช ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 614

ในเมื่อต้องการใช้เภสัชอย่างอื่น ขอเภสัชอีกอย่าง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ยิ่งกว่านั้น ภิกษุสำคัญว่ายิ่งกว่านั้น ขอเภสัช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ยิ่งกว่านั้น ภิกษุยังแคลงอยู่ ขอเภสัช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ยิ่งกว่านั้น ภิกษุสำคัญว่าไม่ยิ่งกว่านั้น ขอเภสัช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ไม่ยิ่งกว่านั้น ภิกษุสำคัญว่ายิ่งกว่านั้น ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ยิ่งกว่านั้น ภิกษุสำคัญว่าไม่ยิ่งกว่านั้น ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๕๖๑] ภิกษุผู้ขอเภสัช ตามที่เขาปวารณาไว้ ๑ ขอในระยะกาลตามที่ เขาปวารณาไว้ ๑ บอกขอว่า ท่านปวารณาพวกข้าพเจ้าด้วยเภสัชเหล่านี้ แต่ พวกข้าพเจ้าต้องการเภสัชชนิดนี้และชนิดนี้ ๑ บอกขอว่า ระยะกาลที่ท่านได้ ปวารณาไว้ได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ข้าพเจ้ายังต้องการเภสัช ๑ ขอต่อญาติ ๑ ขอ ต่อคนปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุรูปอื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 615

มหานามสิกขาบทที่ ๗

ในสิกขาบทที่ ๗ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถ เรื่องท้าวมหานามปวารณาเภสัช]

พระโอรสแห่งพระเจ้าอาว์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แก่กว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพียงเดือนเดียว เป็นพระอริยสาวก ดำรงอยู่ในผลทั้ง ๒ ทรงพระ นามว่า ท้าวมหานาม.

สามบทว่า เภสชฺชํ อุสฺสนฺนํ โหติ มีความว่า เนยใสที่เขานำ มาจากดอกเก็บไว้มีเป็นอันมาก.

บทว่า สาทิตพฺพา มีความว่า ภิกษุไม่พึงปฏิเสธในสมัยนั้นว่า ไม่ มีโรค พึงรับไว้ด้วยใส่ใจว่า เราจักขอในเมื่อมีโรค.

สามบทว่า เอตฺตเกหิ เภสชฺเชหิ ปวาเรมิ มีความว่า เขาปวารณา ด้วยอำนาจชื่อ คือ ด้วยเภสัช ๒ - ๓ อย่าง มีเนยใสและ น้ำมันเป็นต้น หรือ ด้วยอำนาจจำนวน คือ ด้วยกอบ ๑ ทะนาน ๑ อาฬหกะ ๑ เป็นต้น.

สามบทว่า อญฺํ เภสชฺชํ วิญฺาเปติ มีความว่า เขาปวารณา ด้วยเนยใส ขอน้ำมัน เขาปวารณาด้วยอาฬหกะ ขอโทณะ.

สองบทว่า น เภสฺชฺชํ กรณีเย มีความว่า ถ้าภิกษุอาจเพื่อดำรง อัตภาพอยู่ได้ แม้ด้วยภัตระคนกัน ชื่อว่า กิจจะพึงทำด้วยเภสัชไม่มี.

บทว่า ปวาริตานํ มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่พวกภิกษุที่คนของตน ปวารณาไว้ ด้วยการปวารณาเป็นส่วนบุคคล เพราะการออกปากขอตามสมควร แก่เภสัชที่ปวารณาไว้. แต่ในเภสัช ที่เขาปวารณาด้วยอำนาจแห่งสงฆ์ ควรกำหนด รู้ประมาณทีเดียวแล. คำทีเหลือตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

มหานามสิกขาบทที่ ๗ จบ


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 616

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๕๖๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระเจ้า ปเสนทิโกศลทรงยกกองทัพออก พระฉัพพัคคีย์ได้ไปดูกองทัพที่ยกออกแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทอดพระเนตรเห็นพระฉัพพัคคีย์กำลังเดินมาแต่ไกล เทียว ครั้นแล้วรับสั่งให้นิมนต์มาตรัสถานว่า พระคุณเจ้าทั้งหลายมาเพื่อประสงค์อะไร เจ้าข้า.

พระฉัพพัคคีย์ถวายพระพรว่า พวกอาตมภาพประสงค์จะเฝ้ามหาบพิตร.

พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งว่า จะได้ประโยชน์อะไรด้วยการดูดิฉันผู้ เพลิดเพลินในการรบ พระคุณเจ้าควรเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ามิใช่หรือ.

ประชาชนพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อ สายพระศากยบุตรจึงได้พากันมาดูกองทัพซึ่งยกออกแล้วเล่า ไม่ใช่ลาภของพวก เรา แม้พวกเราที่พากันมาในกองทัพ เพราะเหตุแห่งอาชีพ เพราะเหตุแห่ง บุตรภรรยาก็ได้ไม่ดีแล้ว.

ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเหล่านั้น พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้ได้ไปดูกองทัพที่ยกออกไปเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้า ...


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 617

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอไปดูกองทัพซึ่งยกออกแล้ว จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุทั้งหลาย ไฉน พวกเธอได้ไปดูกองทัพซึ่งยกออกไปเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า ดังนี้:-

พระบัญญัติ

๙๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด ไปเพื่อจะดูเสนาอันยกออกแล้วเป็น ปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

[๕๖๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ลุงของภิกษุรูปหนึ่งป่วยอยู่ในกองทัพ เขา ส่งทูตไปในสำนักภิกษุนั้นว่า ลุงกำลังป่วยอยู่ในกองทัพ ขอพระคุณเจ้าจงมา ลุงต้องการให้พระคุณเจ้ามา จึงภิกษุนั้นดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ สิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลายไว้ว่า ภิกษุไม่พึงไปเพื่อจะดูเสนาอันยกออกแล้ว ก็นี่


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 618

ลุงของเราป่วยอยู่ในกองทัพ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้วแจ้งความนั้น แก่ภิกษุทั้งหลายๆ กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงอนุญาตให้ไปในกองทัพได้เมื่อจำเป็น

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเป็นเค้ามูล นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปในกองทัพได้ เพราะปัจจัยเห็นปานนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ

๙๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด ไปเพื่อจะดูเสนาอันยกออกแล้วเว้น ไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนั้นเป็นรูป เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๖๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่าภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า อันยกออกแล้ว ได้แก่ กองทัพซึ่งยกออกจากหมู่บ้านแล้ว ยังพักอยู่หรือเคลื่อนขบวนต่อไปแล้ว.

ที่ชื่อว่า เสนา ได้แก่กองทัพช้าง กองทัพม้า กองทัพรถ กองพล เดินเท้า

ช้าง ๑ เชือก มีทหารประจำ ๑๒ คน ม้า ๑ ม้ามีทหารประจำ ๓ คน

รถ ๑ คัน มีทหารประจำ ๔ คน กองพลเดินเท้ามีทหารถือปืน ๔ คน.


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 619

ภิกษุไปเพื่อจะดู ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ภิกษุละทัศนูปจารแล้ว ยังมองดูอยู่อีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า เว้นไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนั้นเป็นรูป คือ ยกเหตุจำเป็นเสีย.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๖๕] กองทัพยกออกไปแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายกออกไปแล้ว ไป เพื่อจะดูเว้นไว้แต่ปัจจัยเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กองทัพยกออกไปแล้ว ภิกษุยังแคลงอยู่ ไปเพื่อจะดู เว้นไว้แต่ปัจจัย เห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กองทัพยกออกไปแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายิ่งไม่ได้ยกออกไป ไปเพื่อจะดู เว้นไว้แต่ปัจจัยเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ปัญจกทุกกฏ

ไปเพื่อจะดูกองทัพแต่ละกอง ต้องอาบัติทุกกฏ.

ยืนดูอยู่ในที่ใดมองเห็นได้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ละทัศนูปจารแล้วยังมองดูอยู่อีก ต้องอาบัติทุกกฏ. กองทัพยังไม่ได้ยกออกไป ภิกษุสำคัญว่ายกออกไปแล้ว ... ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

กองทัพยังไม่ได้ยกออกไป ภิกษุยังแคลงอยู่ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

กองทัพยังไม่ได้ยกออกไป ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้ยกออกไป ... ไม่ต้อง อาบัติ.


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 620

อนาปัตติวาร

[๕๖๖] ภิกษุอยู่ในอารามมองเห็น ๑ กองทัพยกผ่านมายังสถานที่ภิกษุ ยืนนั่ง หรือนอน เธอมองเห็น ๑ ภิกษุเดินสวนทางไปพบเข้า ๑ มีเหตุจำเป็น ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

อุยยุตตสิกขาบทที่ ๘

ในสิกขาบทที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[ว่าด้วยกองทัพ ๔ เหล่าสมัยโบราณ]

บทว่า อพฺภุยยาโต คือ ทรงยกกองทัพออกไป, มีใจความว่า เคลื่อนกองทัพออกไปจากพระนคร ด้วยตั้งพระทัยว่า เราจักไปประจัญหน้า ข้าศึก.

บทว่า อุยฺยุตฺตํ ได้แก่ กองทัพที่ทำการยกออกไปแล้ว, มีใจความว่า กองทัพที่เคลื่อนออกจากหมู่บ้านไปแล้ว.

สองบทว่า ทฺวาทสปุริโส หตฺถี มีความว่า ช้าง ๑ เชือก มีทหาร ประจำ ๑๒ คน อย่างนี้ คือ พลขับขี่ ๔ คน, พลรักษาประจำ เท้าช้างเท้าละ ๒ คน.

สองบทว่า ติปุริโส อสฺโส มีความว่า ม้า ๑ ม้า มีทหารประจำ ๓ คน อย่างนี้ คือ พลขับขี่ ๑ คน. พลรักษาประจำเท้า ๒ คน.


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 621

สองบทว่า จตุปฺปุริโส รโถ มีความว่า รถ ๑ คัน มีทหาร ประจำ ๔ คน อย่างนี้ คือ สารถี (พลขับ) ๑ คน นักรบ (นายทหาร) ๑ พลรักษาสลักเพลา ๒ คน.

ข้อว่า จตฺตาโร ปุริสา สรหตฺถา ได้แก่ พลเดินเท้า มีพล อย่างนี้ คือ ทหารถืออาวุธครบมือ ๔ คน. กองทัพประกอบด้วยองค์ ๔ นี้ โดยกำหนดอย่างต่ำ ชื่อว่า เสนา. เมื่อไปดูเสนาเช่นนี้ เป็นทุกกฏ ทุกๆ ย่างเท้า.

สองบทว่า ทสฺสนูปจารํ วิชหิตฺวา มีความว่า กองทัพถูกอะไร บังไว้ หรือว่า ลงสู่ที่ลุ่ม มองไม่เห็น, คือ ภิกษุยืนในที่นี้แล้วไม่อาจมองเห็น เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุไปยังสถานที่อื่นดู เป็นปาจิตตีย์ ทุกๆ ประโยค.

บทว่า เอกเมกํ มีความว่า บรรดาองค์ ๔ มีช้างเป็นต้น แต่ละองค์ๆ ชั้นที่สุดช้าง ๑ เชือกมีพลขับ ๑ คนก็ดี พลเดินเท้าอาวุธ ๑ คนก็ดี. พระราชา ชื่อว่าไม่ได้เสด็จยาตราทัพ เสด็จไปประพาสพระราชอุทยานหรือแม่น้ำ อย่างนี้ ชื่อว่า ไม่ได้ทรงยาตราทัพ.

บทว่า อาปทาสุ มีความว่า เมื่อมีอันตรายแห่งชีวิต และอันตราย แห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ ไปด้วยคิดว่า เราไปในกองทัพนี้ จักพ้นไปได้. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

อุยยุตตสิกขาบทที่ ๘ จบ


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 622

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๕๖๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์มีกิจจำเป็นเดินผ่านกองทัพไป แล้วแรมคืนอยู่ในกองทัพ ๓ ราตรี ประชาชนพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้พักแรมอยู่ในกองทัพเล่า มิใช่ลาภของพวกเรา แม้พวกเราที่มา อยู่ในกองทัพ เพราะเหตุแห่งอาชีพ เพราะเหตุแห่งบุตรภรรยา ก็ได้ไม่ดีแล้ว

ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเหล่านั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่าไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงได้พักแรมอยู่ในกองทัพเกิน ๓ ราตรีเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอพักแรมอยู่ในกองทัพเกิน ๓ ราตรี จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลายไฉน พวกเธอจึงได้พักแรมอยู่ในกองทัพเกิน ๓ ราตรีเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 623

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า ดังนี้:-

พระบัญญัติ

๙๘. ๙. อนึ่ง ปัจจัยบางอย่างเพื่อจะไปสู่เสนา มีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นพึงอยู่ได้ ในเสนาเพียง ๒ - ๓ คืน ถ้าอยู่ยิ่งกว่านั้น เป็น ปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๖๘] คำว่า อนึ่ง ปัจจัยบางอย่างเพื่อจะไปสู่เสนา มีแก่ ภิกษุนั้น คือ มีเหตุ ได้แก่ มีกิจจำเป็น.

คำว่า ภิกษุนั้นพึงอยู่ได้ในเสนาเพียง ๒ - ๓ คืน คือ พึงอยู่ได้ ๒ - ๓ คืน.

คำว่า ถ้าอยู่ยิ่งกว่านั้น ความว่า เมื่ออาทิตย์อัสดงในวันที่ ๔ แล้ว ภิกษุยังอยู่ในกองทัพ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๖๙] เกิน ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่าเกิน อยู่ในกองทัพ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

เกิน ๓ คืน ภิกษุยังแคลงอยู่ อยู่ในกองทัพ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เกิน ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง อยู่ในกองทัพต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ยังไม่ถึง ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ยังไม่ถึง ๓ คืน ภิกษุยังแคลงอยู่ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.


ความคิดเห็น 46    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 624

ไม่ต้องอาบัติ

ยังไม่ถึง ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๕๗๐] ภิกษุอยู่ ๒ - ๓ คืน ๑ ภิกษุอยู่ไม่ถึง ๒ - ๓ คืน ๑ ภิกษุอยู่ ๒ คืนแล้ว ออกไปก่อนอรุณของคืนที่ ๓ ขึ้น กลับอยู่ใหม่ ๑ ภิกษุอาพาธพัก แรมอยู่ ๑ ภิกษุอยู่ด้วยกิจธุระของภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุตกอยู่ในกองทัพที่ถูกข้าศึก ล้อมไว้ ๑ ภิกษุมีเหตุบางอย่างขัดขวางไว้ ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑

ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

เสนาวาสสิกขาบทที่ ๙

ในสิกขาบทที่ ๙ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[ว่าด้วยเหตุต้องอยู่ในกองทัพเกิน ๓ ราตรี]

คำว่า อตฺถงฺคเต สุริเย เสนาย วสติ มีความว่า ถ้าแม้นภิกษุ สำเร็จอิริยาบถบางอิริยาบถ บนอากาศด้วยฤทธิ์ จะยืนหรือนั่ง หรือนอน ก็ตามที เป็นปาจิตตีย์ทั้งนั้น.

คำว่า เสนา วา ปฏิเสนาย รุทฺธา โหติ มีความว่า กองทัพ ถูกทัพข้าศึกล้อมไว้ ทำให้ทางสัญจรขาดลง.

บทว่า ปลิพุทฺโธ คือ ถูกไพรีหรืออิสรชนขัดขวางไว้. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

เสนาวาสสิกขาบทที่ ๙ จบ


ความคิดเห็น 47    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 625

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๕๗๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์กำลังอยู่ในกองทัพ ๒ - ๓ คืน ไปสู่สนามรบบ้าง ไปสู่ที่พักพลบ้าง ไปสู่ที่จัดขบวนทัพบ้าง ไปดูกองทัพที่จัดเป็นขบวนแล้วบ้าง พระฉัพพัคคีย์ รูปหนึ่งไปสู่สนามรบแล้วถูกยิงด้วยลูกปืน คนทั้งหลายจึงล้อเธอว่า พระคุณเจ้า ได้รบเก่งมาแล้วกระมัง พระคุณเจ้าได้คะแนนเท่าไร เธอถูกเขาล้อได้เก้อเขิน แล้ว ชาวบ้านจึงเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้มาถึงสนามรบ เพื่อจะดูเขาเล่า มิใช่ลาภของพวกเรา แม้ พวกเราที่มาสนามรบ เพราะเหตุแห่งอาชีพ เพราะเหตุแห่งบุตรภรรยา ก็ได้ ไม่ดีแล้ว.

ภิกษุทั้งหลายได้ยินเขาเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็น ผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ไป ถึงสนามรบเพื่อดูเขา แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอไปถึงสนามรบเพื่อดูเขา จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.


ความคิดเห็น 48    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 626

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ถึงสนามรบเพื่อดูเขาเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชน ที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๙๙. ๑๐. ถ้าภิกษุอยู่ในเสนา ๒ - ๓ คืน ไปสู่สนามรบก็ดี ไปสู่ ที่พักพลก็ดี ไปสู่ที่จัดขบวนทัพก็ดี ไปดูกองทัพที่จัดเป็นขบวนแล้ว ก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๗๒] คำว่า ถ้าภิกษุอยู่ในเสนา ๒ - ๓ คืน นั้น คือ พักแรม อยู่ ๒ - ๓ คืน.

ที่ชื่อว่า สนามรบ ได้แก่ สถานที่มีการรบพุ่ง ซึ่งยังปรากฏอยู่

ที่ชื่อว่า ที่พักพล ได้แก่สถานที่พักกองช้างมีประมาณเท่านี้ กองม้า มีประมาณเท่านี้ กองรถมีประมาณเท่านี้ กองพลเดินเท้ามีประมาณเท่านี้.

ที่ชื่อว่า ที่จัดขบวนทัพ ได้แก่สถานที่เขาจัดว่า กองช้างจงอยู่ทางนี้ กองม้าจงอยู่ทางนี้ กองรถจงอยู่ทางนี้ กองพลเดินเท้าจงอยู่ทางนี้.

ที่ชื่อว่า กองทัพที่จัดเป็นขบวนแล้ว ได้แก่ กองทัพช้าง ๑ กอง ทัพม้า ๑ กองทัพรถ ๑ กองพลเดินเท้า ๑.


ความคิดเห็น 49    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 627

กองทัพช้างอย่างต่ำมี ๓ เชือก กองทัพม้าอย่างต่ำมี ๓ ม้า กองทัพ รถอย่างต่ำมี ๓ คัน กองพลเดินเท้าอย่างต่ำมีทหารถือปืน ๔ คน.

บทภาชนีย์

[๕๗๓] ภิกษุไปเพื่อจะดู ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุยืนอยู่ในสถานที่เช่นไรมองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ภิกษุละทัศนูปจารแล้ว ยังมองดูอยู่อีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ภิกษุไปเพื่อจะดูกองทัพแต่ละกอง ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุยืนดูอยู่ในที่ใดมองเห็น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุละทัศนูปจารแล้วยังมองดูอีก ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๕๗๔] ภิกษุอยู่ในอารามมองเห็น ๑ การรบพุ่งผ่านมายังสถานที่ ภิกษุยืน นั่ง หรือนอน เธอมองเห็น ๑ ภิกษุเดินสวนทางไปพบเข้า ๑ ภิกษุมีกิจจำเป็นเดินไปพบเข้า ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ- กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๕ จบ


ความคิดเห็น 50    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 628

อุยโยธิก สิกขาบทที่ ๑๐

ในสิกขาบทที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[ว่าด้วยการจัดขบวนทัพสมัยโบราณ]

ชนทั้งหลายยกพวกไปรบกัน ณ ที่นี้ เพราะฉะนั้น ที่นั้นจึงชื่อว่า สนามรบ. คำว่า อุยโยธิกะ นี้ เป็นชื่อแห่งที่สัมประหารกัน (ยุทธภูมิ หรือสมรภูมิ).

พวกชนย่อมรู้จักที่พักของพลรบ ณ ที่นี้ ฉะนั้น ที่นั้น จึงชื่อว่า ที่พัก พล. ได้ความว่าสถานที่ตรวจพล.

การจัดขบวนทัพ ชื่อว่า เสนาพยูหะ. คำว่า เสนาพยูหะ นี้ เป็นชื่อแห่งการจัดขบวนทัพ.

ข้อว่า กองทัพช้างอย่างต่ำมีช้าง ๓ เชือก นั้น ได้แก่ ช้าง ๓ เชือก รวมกับช้างเชือกที่มีทหารประจำ ๑๒ คน ดังกล่าวแล้วในเบื้องต้น. แม้ในบท ที่เหลือก็นัยนี้นั่นแล. คำที่เหลือพร้อมด้วยสมุฏฐานเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยดังกล่าวแล้ว ในอุยยุตตสิกขาบทนั้นแล.

อุยโยธิกสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

อเจลกวรรคที่ ๕ จบบริบูรณ์ตามวรรณนานุกรม


ความคิดเห็น 51    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 629

หัวข้อประจำเรื่อง

๑. อเจลกสิกขาบท ว่าด้วยแจกขนมแก่นักบวช

๒. อุยโยชนสิกขาบท ว่าด้วยบอกให้กลับ

๓. สโภชนสิกขาบท ว่าด้วยนั่งแทรกแซง

๔. ปฐมานิยตสิกขาบท ว่าด้วยนั่งในที่กำบัง

๕. ทุติยานิยตสิกขาบท ว่าด้วยนั่งในที่ลับ

๖. จาริตตสิกขาบท ว่าด้วยรับนิมนต์แล้วไปฉันที่อื่น

๗. มหานามสิกขาบท ว่าด้วยปวารณาด้วยปัจจัย.

๘. อุยยุตตสิกขาบท ว่าด้วยไปดูกองทัพ

๙. เสนาวาลสิขาบท ว่าด้วยอยู่ในกองทัพ

๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท ว่าด้วยไปสู่สนามรบ