การศึกษาพุทธศาสนาเป็นการศึกษาเพื่อให้เกิดปัญญา การที่ปัญญาจะเจริญขึ้นได้ก็ด้วยเหตุประการหนึ่งคือ การตั้งคำถามและการตอบคำถาม ขอเรียนถามท่านผู้รู้ว่ามีการแสดงธรรมไว้ในส่วนใดหรือไม่ ที่ได้จำแนกคำถามและการตอบคำถามเป็นประการต่างๆ และได้ทรงแสดงไว้อย่างไรครับ
พระสูตรนี้ทรงจำแนกเหตุคำถาม ๕ ประการครับ
เชิญคลิกอ่าน ....
เหตุถามปัญหา ๕ ประการ [ปัญหาปุจฉาสูตร]
ปัญญาเกิดจากการฟัง การถาม การพิจารณา ถ้าไม่อาศัยการฟัง ปัญญาไม่มีทางเกิดค่ะ เช่น ถ้าเราไม่ฟังธรรมะ เราจะไม่รู้จักธรรมะ ไม่รู้ว่าอะไรเป็นนามธรรม อะไรเป็นธรรมรูป แข็งปรากฏก็ไม่รู้ว่าเป็นธรรมะค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
สรุปการจำแนกคำถามด้วยเหตุ ๕ ประการตามที่ทรงแสดงได้ ดังนี้
๑. ถามปัญหาเพราะโง่เขลา เพราะหลงลืม
๒. ถามปัญหาเพราะถูกความปรารถนาครอบงำ
๓. ถามปัญหาเพราะดูหมิ่น (ผู้ถูกถาม)
๔. ถามปัญหาเพราะประสงค์จะรู้
๕. ถามปัญหาเพราะคิดว่า หากผู้ตอบตอบได้โดยชอบก็เป็นการดี แต่ถ้าตอบโดยไม่ชอบก็จะแก้ใขปัญหานั้นให้โดยชอบ
ทั้งนี้ การถามปัญหาย่อมประกอบด้วยเหตุทั้งหมดหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
ผมเชื่อว่าการถาม-ตอบ ทั้งในเวปไซต์บ้านธรรมะ ที่มูลนิธิฯ หรือในการแสดงธรรมโอกาสต่างๆ ผู้ถามคงมีเหตุในการตั้งคำถามตามที่ทรงแสดงไว้ ซึ่งผู้ตั้งคำถามก็ควรพิจาณาถึงเหตุของการตั้งคำถามเพื่อให้เข้าใจตัวเองมากขึ้น
สำหรับกรณีนี้ ผมถามด้วยเหตุเพราะหลงลืมและประสงค์จะรู้ เพราะนานมาแล้วผมเคยอ่านพบข้อความเกี่ยวกับคำถามตอบ ที่ท่านได้จำแนกการถามและการตอบคำถาม ซึ่งมีประโยชน์ในการพิจารณาตนเอง แต่จำได้เพียงบางประการ เช่น ถามเพราะอยากรู้ ถามเพื่อสอบทานความเข้าใจ ฯลฯ และตอบโดยถามกลับ ตอบโดยตรง ไม่ต้องตอบให้นิ่งเสีย ฯลฯ หากมีผู้รู้ท่านใดพบข้อความนี้ในพระไตรปิฎกหรืออรรถกถา
ขอความกรุณาช่วยแสดงให้ทราบด้วย
ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ
เชิญคลิกอ่านได้ที่ ...
ปัญหาพยากรณ์ ๔ [ปาฎิวรรค]
ถามเพื่อการเจริญปัญญา เป็นการถามที่ประเสริฐ มีค่ากว่าอามิสทานใดๆ ครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขอขอบพระคุณท่านผู้ถามและขออนุโมทนาในคำตอบครับ เป็นคำถามและคำตอบที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสนทนาธรรมในกระดานสนทนานี้เลยทีเดียวครับ
ในยุคปัจจุบัน ท่านอาจารย์สุจินต์ฯ เป็นตัวอย่างอันประเสริฐในการพยากรณ์ปัญหาด้วยอำนาจปัญหาพยากรณ์ ๔ ตามที่ทรงแสดงไว้ เป็นการสมควรที่ผู้ศึกษาธรรมทั้งหลายจะศึกษาและถือเอาเป็นแบบอย่าง
ขออนุโมทนา
สาธุ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ