๙. อาฆาตวัตถุสูตร ว่าด้วยวัตถุแห่งความอาฆาต ๑๐ ประการ
โดย บ้านธัมมะ  5 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 39833

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 252

ทุติยปัณณาสก์

อากังขวรรคที่ ๓

๙. อาฆาตวัตถุสูตร

ว่าด้วยวัตถุแห่งความอาฆาต ๑๐ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 252

๙. อาฆาตวัตถุสูตร

ว่าด้วยวัตถุแห่งความอาฆาต ๑๐ ประการ

[๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วัตถุแห่งความอาฆาต ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือบุคคลย่อมผูกความอาฆาตว่า บุคคลโน้นได้ประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว ๑ กำลังประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๑ จักประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๑ ย่อมผูกความอาฆาตว่า บุคคลโน้นได้ประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว ๑ กำลังประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ จักประพฤติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ ย่อมผูกความอาฆาตว่า บุคคลโน้นได้ประพฤติสิ่งอันเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเราแล้ว ๑ กำลังประพฤติสิ่งอันเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ๑ จักประพฤติสิ่งอันเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ๑ ย่อมโกรธในที่ไม่ควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วัตถุแห่งความอาฆาต ๑๐ ประการนี้แล.

จบอาฆาตวัตถุสูตรที่ ๙

อรรถกถาอาฆาตวัตถุสูตรที่ ๙

อาฆาตวัตถุสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อฏฺาเน ได้แก่ ในที่มิใช่เหตุ จริงอยู่ เหตุเป็นต้นว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา จะพึงมีได้ในความเป็นไปของสิ่งที่มีจิตใจ หรือว่าในสิ่งที่ไม่มีจิตใจเป็นต้นว่า ตอไม้ แผ่นหิน ย่อมไม่มี


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 253

เพราะฉะนั้น อาฆาตในข้อนี้ จึงชื่อว่าอาฆาตในที่มิใช่เหตุ. คำที่เหลือทุกแห่ง มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอาฆาตวัตถุสูตรที่ ๙

จบอากังขวรรคที่ ๓