๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ
โดย บ้านธัมมะ  28 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 36138

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 219

๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร

ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 219

๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร

ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ

[๕๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์สนทนากะภิกษุทั้งหลายในอุปัฏฐานศาลา ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรมและกล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

[๕๓๖] ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่ทรงหลีกเร้นเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ครั้นแล้วจึงประทับ นั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครหนอแล สนทนากะพวกภิกษุในอุปัฏฐานศาลา ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม และกล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ท่านพระอานนท์ พระพุทธเจ้าข้า

ลําดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอสนทนากะภิกษุทั้งหลาย ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม ได้กล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญอย่างไรเล่า.

[๕๓๗] ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ สนทนากะภิกษุทั้งหลาย ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม ได้กล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญอย่างนี้ว่า


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 220

บุคคลไม่ควรคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้ง ธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทําความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่งเพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล ผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

[๕๓๘] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ รําพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า คํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.

[๕๓๙] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่คํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ ไม่รําพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า เราได้มีรูป


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 221

อย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่คํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.

[๕๔๐] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร คือ รําพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ ในกาลอนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่า มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

[๕๔๑] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร คือ ไม่รําพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

[๕๔๒] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน อย่างไร คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 222

บ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

[๕๔๓] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร คือ อริยสาวกผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

[๕๔๔] บุคคลไม่ควรคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทําความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายใน


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 223

วันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืนนั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สนทนากะภิกษุทั้งหลาย ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม ได้กล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญอย่างนี้แล.

[๕๔๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ดีแล้วๆ เธอสนทนากะภิกษุทั้งหลาย ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรมได้กล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญว่า

บุคคลไม่ควรคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคล... นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ดังนี้ถูกแล้ว.

[๕๔๖] ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลย่อมคํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร ฯลฯ ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่า คํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลจะไม่คํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร ฯลฯ ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่คํานึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร ฯลฯ ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่า มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 224

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร ฯลฯ ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร ฯลฯ ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร ฯลฯ ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

[๕๔๗] บุคคลไม่ควรคํานึงถึงสิ่งล่วงแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล... นั้นแลว่าผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ก็ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ อานันทภัทเทกรัตตสูตร ที่ ๒


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 225

อรรถกถาอานันทภัทเทกรัตตสูตร

อานันทภัทเทกรัตตสูตรมีคําขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺิโต (เสด็จออกจากที่ทรงหลีกเร้น) โดยความว่า เสด็จออกจากผลสมาบัติ. บทว่า โก นุโข ภิกฺขเว (ภิกษุทั้งหลายใครหนอแล) ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้อยู่นั้นเทียว ตรัสถามเพื่อทรงตั้งเรื่องขึ้น. บทว่า สาธุ สาธุ (ดีแล้วๆ) ความว่า ทรงประทานสาธุการแก่พระเถระ. บทว่า สาธุ โข ตฺวํ (ดีแล้วๆ เธอได้ชี้แจงภิกษุทั้งหลาย) ความว่าทรงสรรเสริญเทศนาแล้วตรัส เพราะความที่เทศนาอันพระเถระแสดงด้วยบทและพยัญชนะทั้งหลาย กลมกล่อม บริสุทธิ์ดี. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอานันทภัทเทกรัตตสูตรที่ ๒