มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒ - หน้าที่ 107
[๒๑๑] อีกนัยหนึ่ง สำหรับพวกคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า "ไม่มี" เพราะไม่ประสงค์จะให้ของๆ ตน ชื่อว่า มีโทษน้อย มุสาวาทที่มุสาวาทีบุคคลเป็นพยาน กล่าวเพื่อหักรานประโยชน์ ชื่อว่า มีโทษมาก
สำหรับพวกบรรพชิต มุสาวาททีเป็นไปโดยปูรณกถานัย เป็นต้นว่า "วันนี้น้ำมันในบ้านไหลไปดุจแม้น้ำ" เพราะได้น้ำมันหรือเนยใสแม้นิดหน่อยแล้ว ประสงค์จะให้หัวเราะกัน ชื่อว่ามีโทษน้อย แต่มุสาวาทของพวกเธอ ผู้กล่าวสิ่งที่ตนมิได้เห็นนั่นแล โดยนัยเป็นต้นว่า "ข้าพเจ้าเห็น" ชื่อว่ามีโทษมาก กถาที่เป็นไปด้วยสามารถการทำเรื่องที่ยังพร่องเพราะ น้อยให้เต็ม ชื่อว่าปูรณกถา วจีเภทที่เป็นไปด้วยไม่ประสงค์จะให้ของๆ ตนก็ดี ด้วยปูรณกถานัยก็ดี ชื่อว่ามุสาวาท ของมุสาวาทีบุคคลผู้มุ่งกล่าวให้คลาดเคลื่อนเป็นเบื้องหน้า ก็จริง ถึงอย่างนั้นเจตนาในมุสาวาทนั้น ย่อมไม่มีกำลัง เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่ามีโทษน้อย มุสาวาทนั้น มีองค์ ๔ คือ เรื่องไม่จริง ๑ จิตคิดจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน ๑ ความพยายามเกิดจากจิตนั้น ๑ ผู้อื่นรู้เรื่องนั้น ๑ บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตชฺโช คือสมควรแก่จิตนั้น อธิบายว่า สมควรแก่การกล่าวให้คลาดเคลื่อน ด้วยบทว่า วายาโม ท่านกล่าว (มุ่ง) ถึงประโยค ด้วยยกวายามะเป็นประธาน ท่านกล่าวว่าผู้อื่นรู้เรื่องนั้น เป็นองค์อันหนึ่ง เพราะแม้เมื่อมุสาวาทีบุคคล ทำความพยายามด้วยประสงค์ในอันกล่าวให้คลาดเคลื่อน แต่เมื่อผู้อื่นไม่รู้เรื่องนั้น การกล่าวให้คลาดเคลื่อนก็ไม่สำเร็จ ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า มุสวาทมีองค์ ๓ คือ คำไม่จริง ๑ จิตคิดจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน ๑ ผู้อื่นรู้เรื่องนั้น ๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น