ผู้ว่ายาก กับ ผู้ว่าง่าย (๑)
[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๓๙ - หน้าที่ ๓๔๐
ภิกษุมิใช่พึงเป็นผู้ตรงและตรงดีอย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้พึงเป็นผู้ว่าง่ายอีกด้วย. ก็บุคคลใดถูกท่านว่ากล่าวว่า ท่านไม่ควรทำข้อนี้ ก็พูดว่าท่านเห็นอะไร ท่านได้ยินอย่างไร ท่านเป็นอะไรกับเราจึงพูด เป็นอุปัชฌาย์ อาจารย์ เพื่อนเห็น เพื่อนคบหรือ หรือเบียดเบียนผู้นั้นด้วยความนิ่งเสีย หรือยอมรับแล้วไม่ทำอย่างนั้น ผู้นั้น ชื่อว่ายังอยู่ไกลการบรรลุคุณวิเศษ. ส่วนผู้ใดถูกท่านโอวาทก็กล่าวว่า "ดีละ ท่านขอรับ ท่านพูดดี ขึ้นชื่อว่าโทษของตนเป็นของเห็นได้ยาก ท่านเห็นกระผมเป็นอย่างนี้ โปรดอาศัยความเอ็นดูว่ากล่าวอีกเถิด กระผมไม่ได้รับโอวาทจากสำนักท่านเสียนาน" แล้วปฏิบัติตามที่ท่านสอน ผู้นั้น ชื่อว่าอยู่ไม่ไกลการบรรลุคุณวิเศษ เพราะฉะนั้น บุคคลรับคำของผู้อื่นแล้วกระทำอย่างนี้ พึงชื่อว่า เป็นผู้ว่าง่าย.
(จาก ... อรรถกถา เมตตสูตร)
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาค่ะ