[เล่มที่ 3] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓
พระวินัยปิฏก เล่ม ๑ ภาค ๓
มหาวิภังค์ ปฐมภาค
สมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย
มหาวิภังค์วรรณนา ภาค ๒
เตรสกัณฑวรรณนา
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ 564/517
พระบัญญัติ 521
สิกขาบทวิภังค์ 565/522
เลส ๑๐ อย่างและอธิบาย 569/525
บทภาชนีย์เอเกกมูลจักรเป็นต้น 585/532
อนาปัตติวาร 589/552
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ 552
ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบทวรรณนา 552
อธิบายอธิกรณ์เป็นเรื่องอื่นและอื่น 555
แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ตอนว่าด้วยเลศ 558
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 3]
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 517
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ
[๕๖๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวพุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นพระเมตติยะและพระภุมมชกะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้แลเห็นแพะผู้กับแพะเมียกำลังสมจรกัน ครั้นแล้วได้พูดอย่างนี้ว่า อาวุโส ผิฉะนั้น พวกเราจะสมมติแพะผู้นี้เป็นพระทัพพมัลลบุตร สมมติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 518
แพะเมียนี้เป็นภิกษุณีเมตติยา จักกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ครั้งก่อน พวกกระผมได้กล่าวหาพระทัพพมัลลบุตรด้วยได้ยิน แต่บัดนี้พวกกระผม ได้เห็นพระทัพพมัลลบุตรปฏิบัติผิดในภิกษุณีเมตติยาด้วยตนเอง เธอ ทั้งสองได้สมมติแพะผู้นั้นเป็นพระทัพพมัลลบุตร สมมติแพะเมียนั้นเป็น ภิกษุณีเมตติยาแล้ว จึงแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อก่อน พวกกระผมได้กล่าวหาพระทัพพมัลลบุตรด้วยได้ยิน แต่บัดนี้ พวกกระผม ได้เห็นพระทัพพมัลลบุตรปฏิบัติผิดในภิกษุณีเมตติยาด้วยตนเอง ภิกษุ ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่าน พระทัพพมัลลบุตรจักไมทำกรรมเช่นกล่าวมานี้ แล้วกราบทูลเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า ดูก่อนทัพพะ เธอยังระลึกได้หรือว่า เป็นผู้ทำกรรม อย่างที่ภิกษุเหล่านี้กล่าวหา
ท่านพระทัพพมัลลบุตร กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ยอมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นฉันใด
แม้ครั้งที่สองแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสอบถามท่านพระทัพพมัลลบุตรวา ดูก่อนทัพพะ เธอยังระลึกได้หรือว่า เป็นผู้ทำกรรม อย่างที่ภิกษุเหล่านี้กล่าวหา
ท่านพระทัพพมัลลบุตร กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ ย่อมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นฉันใด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 519
แม้ครั้งที่สามแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสอบถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า ดูก่อนทัพพะ เธอยังระลึกได้หรือว่า เป็นผู้ทำกรรม อย่างที่ภิกษุเหล่านี้กล่าวหา
ท่านพระทัพพมัลลบุตร กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ย่อมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นฉันใด
ภ. ดูก่อนทัพพะ คนฉลาดย่อมไม่แก้ข้อกล่าวหาอย่างนี้ ถ้าเธอ ทำ จงบอกว่าทำ ถ้าเธอไม่ได้ทำ จงบอกว่าไม่ได้ทำ
ท. ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าเกิดนา แม้โดยความฝันก็ยังไม่รู้จัก เสพเมถุนธรรม จะกล่าวไ ยถึงเมื่อตื่นอยู่ พระพุทธเจ้าข้า
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงสอบสวนภิกษุพวกนี้ ครั้นรับสั่งเท่านี้ แล้วเสด็จลุกจากที่ประทับ เข้าพระวิหาร จึงภิกษุเหล่านั้นได้ทำการสอบ สวนพระเมตติยะและพระภุมมชกะ เมื่อเธอทั้งสองถูกสอบสวน ได้แจ้ง เรื่องนี้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว
ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโสทั้งหลาย ก็พวกท่านถือเอาเอกเทศ บางแห่ง แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นให้เป็นเพียงเลศ แล้วตามกำจัด ท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิกหรือ
พระเมตติยะและพระภุมมชกะรับว่า จริงอย่างนั้น ขอรับ
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเมตติยะและพระภุมมชกะ จึงได้ถือเอาเอกเทศบางแห่ง แห่งอธิกรณ์ อันเป็นเรื่องอื่นให้เป็นเพียงเลศ แล้วตามกำจัดท่านพระทัพพมัลลบุตร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 520
ด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิกเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มี - พระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอถือเอา เอกเทศบางแห่ง แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นให้เป็นเพียงเลศ แล้ว ตามกำจัดพระทัพพมัลลบุตร ด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิกจริงหรือ
ภิกษุสองรูปนั้นทูลรับว่า จริงพระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ถือเอาเอกเทศบางแห่ง แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นให้ เป็นเพียงเลศ แล้วตามกำจัดพระทัพพมัลลบุตร ด้วยธรรมมีโทษถึง ปาราชิกเล่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่นไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของ พวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ครั้นพระผู้มีพระภาคาเจ้าทรงติเติยนพระเมตติยะ และพระภุมมชกะโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคน บำรุงยาก ความเป็นคนมักมา ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 521
บำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่อง นั้น แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ประการ คือ เพื่อความรับว่า ดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสนะอันจะ บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสนะอันจักบังเกิดรนอนาคต ๑ เพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุนชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๓. ๙. อนึ่ง ภิกษุใด ขัดใจ มีโทสะ ไม่แช่มชื่น ถือเอา เอกเทศบางแห่ง แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่น ให้เป็นเพียงเลศ ตาม กำจัดซึ่งภิกษุ ด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก ด้วยหมายว่า แม้ไฉน เราจักยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น อัน ผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม แต่อธิกรณ์นั้นเป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 522
เรื่องอื่นแท้ เอกเทศบางแห่ง เธอถือเอาพอเป็นเลศ แลภิกษุยันอิง โทสะอยู่ เป็นสังฆาทิเสส.
เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๖๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงาน อย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ ก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.
บทว่า ภิภษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฎิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็น พระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุ เหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะนี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ซึ่งภิกษุ หมายภิกษุอื่น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 523
บทว่า ขัดใจ มีโหสะ คือ โกรธ ไม่ถูกใจ ไม่พอใจ แค้นใจ เจ็บใจ.
บทว่า ไม่แช่มชื่น คือ เป็นคนมีใจไม่ชุ่มชื่น เพราะความโกรธ นั้น เพราะโทสะนั้น เพราะความไม่ถูกใจนั้น และเพราะความไม่ พอใจนั้น
[๕๖๖] บทว่า แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่น คือ เป็นส่วนอื่นแห่ง อาบัติ หรือเป็นส่วนอื่นแห่งอธิกรณ์
[๕๑๗] อธิกรณ์เป็นส่วนอื่นแห่งอธิกรณ์ อย่างไร
๑. วิวาทาธิกรณ์ เป็นส่วนอื่นแห่งอนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์
๒. อนุวาทาธิกรณ์ เป็นส่วนอื่นแห่งอาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ และวิวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์ เป็นส่วนอื่นแห่งกิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ และอนุวาทาธิกรณ์
๔. กิจจาธิกรณ์ เป็นส่วนอื่นแห่งวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ และอาปัตตาธิกรณ์
อย่างนี้ อธิกรณ์ชื่อว่าเป็นส่วนอื่นแห่งอธิกรณ์.
[๕๖๘] อธิกรณ์เป็นส่วนเดียวกันแห่งอธิกรณ์ อย่างไร
๑. วิวาทาธิกรณ์ เป็นส่วนเดียวกันแห่งวิวาทาธิกรณ์
๒. อนุวาทาธิกรณ์ เป็นส่วนเดียวกันแห่งอนุวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์ เป็นส่วนเดียวกันแห่งอาปัตตาธิกรณ์ก็มี เป็น ส่วนอื่นแห่งอาปัตตาธิกรณ์ก็มี.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 524
อาปัตตาธิกรณืเป็นส่วนอื่นแห่งอาปัตตาธิกรณ์ อย่างไร
เมถุนธรรมปาราชิกาบัติ เป็นส่วนอื่นแห่งอทินนาทานปาราชิกาบัติ มนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ และอุตริมนุสธรรมปาราชิกาบัติ
อทินนาทานปาราชิกาบัติ เป็นส่วนอื่นแห่งมนุสสวิคคหปาราชิ- กาบัติ อุตริมนุสธรรมปาราชิกาบัติ และเมถุนธรรมปาราชิกาบัติ
มนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ เป็นส่วนอื่นแห่งอุตริมนุสธรรมปาราชิ- กาบัติ เมถุนธรรมปาราชิกาบัติ และอทินนาทานปาราชิกาบัติ
อุตริมนุสธรรมปาราชิกาบัติ เป็นส่วนอื่นแห่งเมถุนธรรมปาราชิ- กาบัติ อทินนาทานปาราชิกาบัติ และมนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ อย่างนี้ อาปัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นส่วนอื่นแห่งอาปัตตาธิกรณ์
ก็อาปัตตาธิกรณ์เป็นส่วนเดียวกันแห่งอาปัตตาธิกรณ์ อย่างไร
เมถุนธรรมปาราชิกาบัติ เป็นส่วนเดียวกันแห่งเมถุนธรรมปาราชิ- กาบัติ
อทินนาทานปาราชิกาบัติ เป็นส่วนเดียวกันแห่งอทินนาทานปาราชิ- กาบัติ
มนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ เป็นส่วนเดียวกันแห่งมนุสสวิคคหปาราชิ- กาบัติ
อุตริมนุสธรรมปาราชิกาบัติ เป็นส่วนเดียวกันแห่งอุตริมนุสธรรมปาราชิกาบัติ
อย่างนี้ อาปัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นส่วนเดียวกันแห่งอาปัตตาธิกรณ์
๔. กิจจาธิกรณ์เป็นส่วนเดียวกันแห่งกิจจาธิกรณ์ อย่างนี้ อธิกรณ์ชื่อว่าเป็นส่วนเดียวกันแห่งอธิกรณ์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 525
เลศ ๑๐ อย่าง
[๕๖๙] ที่ชื่อว่า เลศ ในคำว่า ถือเอาเอกเทศบางแห่ง ... เป็น เพียงเลศ นั้น อธิบายว่า เลศมี ๑ อย่าง ได้แก่ เลศคือชาติ ๑ เลศ คือชื่อ ๑ เลศคือวงศ์ ๑ เลศคือลักษณะ ๑ เลศคืออาบัติ ๑ เลศคือ บาตร ๑ เลศคือจีวร ๑ เลศคืออุปัชฌายะ ๑ เลศคืออาจารย์ ๑ เลศคือเสนาสนะ ๑.
อธิบายเลศ ๑๐ อย่าง
[๕๗๐] ที่ชื่อว่า เลศคือชาติ นั้น อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็น ผู้ได้เห็นภิกษุผู้กษัตริย์ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้กษัตริย์รูปอื่น โจทว่า ภิกษุผู้กษัตริย์ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่าน ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้พราหมณ์ ต้องปาราชิกธรรม ครั้น เห็นภิกษุผู้พราหมณ์รูปอื่นแล้วโจทว่า ภิกษุผู้พราหมณ์ ข้าพเจ้าได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้แพศย์ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็น ภิกษุผู้แพศย์รูปอื่นแล้วโจทว่า ภิกษุผู้แพศย์ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 526
อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทย์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ศูทร ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็น ภิกษุผู้ศูทรรูปอื่นแล้วโจทว่า ภิกษุผู้ศูทร ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้อง ปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด [
๕๗๑] ที่ชื่อว่า เลศคือชื่อ นั้น อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ ได้เห็นพระพุทธรักขิต ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นพระพุทธรักขิต รูปอื่นแล้วโจทว่า พระพุทธรักขิต ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นพระธรรมรักขิต ต้องปาราชิกธรรม ครั้น เห็นพระธรรมรักขิตรูปอื่นแล้วโจทว่า พระธรรมรักขิต ข้าพเจ้าได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นพระสังฆรักขิต ต้องปาราชิกธรรม ครั้น เห็นพระสังฆรักขิตรูปอื่นแล้วโจทว่า พระสังฆรักขิต ข้าพเจ้าได้เห็นท่าน เป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระ-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 527
ศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
[๕๗๒] ที่ชื่อว่า เลศคือวงศ์ นั้น อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ ได้เห็นภิกษุผู้วงศ์โคตมะ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้วงศ์โคตมะ รูปอื่นแล้วโจทว่า ภิกษุผู้วงศ์โคตมะ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้อง ปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้วงศ์โมคคัลลานะ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้วงศ์โมคคัลลานะรูปอื่นแล้วโจทว่า ภิกษุผู้วงศ์โมคคัลลานะ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็น เชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วม กับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้วงศ์กัจจายนะ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้วงศ์กัจจายนะรูปอื่นแล้วโจทว่า ภิกษุผู้วงศ์กัจจายนะ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่ เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วม กับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้วงศ์วาสิฏฐะ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้วงศ์วาสิฏฐะรูปอื่นแล้วโจทว่า ภิกษุผู้วงศ์วาสิฏฐะ ข้าพเจ้า ได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 528
สายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วม กับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
[๕๗๓] ที่ชื่อว่า เลศคือลักษณะ นั้น อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็น ผู้ได้เห็นภิกษุผู้สูง ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้สูงรูปอื่นแล้วโจทว่า ภิกษุผู้สูง ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ท กๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ต่ำ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็น ภิกษุผู้ต่ำรูปอื่นโจทว่า ภิกษุผู้ต่ำ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวาณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ดำ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็น ภิกษุผู้ดำรูปอื่นแล้วโจทว่า ภิกษุผู้ดำ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้อง ปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ขาว ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็น ภิกษุผู้ขาวรูปอื่นแล้วโจทว่า ภิกษุผู้ขาว ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร โบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 529
[๕๗๔] ที่ชื่อว่า เลศคืออาบัติ นั้น อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็น ผู้ได้เห็นภิกษุผู้ต้องลหุกาบัติ ถ้าโจทเธอด้วยปาราชิกธรรมว่า ข้าพเจ้า ได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
[๕๗๕] ที่ชื่อว่า เลศคือบาตร นั้น อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็น ผู้ได้เห็นภิกษุผู้ใช้บาตรโลหะ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุรูปอื่น ผู้ใช้บาตรโลหะแล้วโจทว่า ภิกษุผู้ใช้บาตรโลหะ ข้าพเจ้าได้เห็นท่าน เป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ใช้บาตรดินเหนียว ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุรูปอื่นผู้ใช้บาตรดินเหนียวแล้วโจทว่า ภิกษุผู้ใช้ บาตรดินเหนียว ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่ เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ใช้บาตรเคลือบ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุรูปอื่นผู้ใช้บาตรเคลือบแ ล้วโจทว่า ภิกษุผู้ใช้บาตรเคลือบ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่ เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 530
ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ใช้บาตรดินธรรมดา ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุรูปอื่นผู้ใช้บาตรดินธรรมดาแล้วโจทว่า ภิกษุผู้ใช้ บาตรดินธรรมดา ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่ เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
[๕๗๖] ที่ชื่อว่า เลศคือจีวร นั้น อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้ เห็นภิกษุผ้ทรงผ้าบังสกุล ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุรูปอื่นผู้ทรง ผ้าบังสกุลแล้วโจทว่า ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสกุล ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ทรงผ้าของคหบดี ต้องปาราชิก ธรรม ครั้นเห็นภิกษุรูปอื่นผู้ทรงผ้าของคหบดีแล้วโจทว่า ภิกษุผู้ทรงผ้า ของคหบดี ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
[๕๗๗] ที่ชื่อว่า เลศคืออุปัชฌายะ นั้น อธิบายว่า ภิกษุผู้ โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้สัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะผู้มีชื่อนี้ ต้อง ปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้สัทธิวิหาริกรูปอื่นของพระอุปัชฌายะผู้มี ชื่อนี้แล้วโจทว่า ภิกษุผู้สัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะผู้มีชื่อนี้ ข้าพเจ้า ก็เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 531
เชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วม กับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
[๕๗๘] ที่ชื่อว่า เลศคืออาจารย์ นั้น อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็น ผู้ได้เห็นภิกษุผู้อันเตวาสิกของพระอาจารย์ผู้มีชื่อนี้ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้อันเตวาสิกรูปอื่นของพระอาจารย์ผู้มีชื่อนี้แล้วโจทว่า ภิกษุ ผู้อันเตวาสิกของพระอาจารย์ผู้มีชื่อนี้ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้อง ปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
[๕๗๙] ที่ชื่อว่า เลสคือเสนาสนะ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็น ผู้ได้เห็นภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะของคหบดีผู้มีชื่อนี้ ต้องปาราชิกธรรม ครั้น เห็นภิกษุรูปอื่นผู้อยู่ในเสนาสนะของคหบดีผู้มีชื่อนี้แล้วโจทว่า ภิกษุผู้อยู่ ในเสนาสนะของคหบดีผู้มีชื่อนี้ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
[๕๘๐] บทว่า ด้วยพรรมอันมีโทษถึงปาราชิก คือ ด้วยปาราชิกธรรมทั้ง ๔ สิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่ง.
บทว่า ตามกำจัด ได้แก่ โจทเองหรือสั่งให้โจท.
พากย์ว่า แม้ไฉนเราจะยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้ ความว่า ให้เคลื่อนจากภิกษุภาพ ให้เคลื่อนจากสมณธรรม ให้เคลื่อนจาก ศีลขันธ์ ให้เคลื่อนจากคุณคือตบะ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 532
[๕๘๑] คำว่า ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น ความว่า เมื่อ ขณะ คราว ครู่หนึ่งที่ภิกษุผู้ถูกตามกำจัดนั้นผ่านไปแล้ว.
บทว่า อันผู้ใดผู้หนึ่งถือตาม คือ มีบุคคลเชื่อในเรื่องที่เป็นเหตุ ให้เขาตามกำจัดนั้น.
บทว่า ไม่ถือเอาตาม คือ ไม่มีใครๆ พูดถึง.
[๕๘๒] ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่อธิกรณ์ ๘ อย่าง คือ วิวาทาธิกรณ์ ๑ อนุวาทาธิกรณ์ ๑ อาปัตตาธิกรณ์ ๑ กิจจาธิกรณ์ ๑
[๕๘๓] บทว่า เอกเทศบางแห่ง เธอถือเอาพอเป็นเลศ คือ ถือ เอาเลศ ๑๐ อย่างนั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.
[๕๘๔] บทว่า แลภิกษุยันอิงโทสะอยู่ ความว่า ภิกษุกล่าว ปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าพูดเปล่าๆ พูดเท็จ พูดไม่จริง ข้าพเจ้าไม่รู้ ได้ พูดแล้ว.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัติ เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ไช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
บทภาชนีย์
เอเกกมูลจักร โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
[๕๘๕] ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส มีความ เห็นในอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 533
ปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถ ก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนั้น อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นใน อาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นใน อาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นใน อาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิก ว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นใน อาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 534
ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษูผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นใน อาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย
[๕๘๖] ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย มีความเห็น ในอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นใน อาบัติถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติ ถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่าน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 535
ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนั้น อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติ ถุลลัจจัย ว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่ เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติ ถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่าน ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติ ถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่าน ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ มีความเห็นในอาบัติ ปาจิตตีย์ว่า เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่าน ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 536
สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติ ปาจิตตีย์ว่า เป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่าน ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติ ปาจิตตีย์ว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็น สมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติ ปาจิตตีย์ว่า เป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่าน ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติ ปาจิตตีย์ว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่าน ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 537
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติ ปาจิตตีย์ว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่าน ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ มีความเห็นในอาบัติ ปาฏิเทสนียะว่า เป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนั้น อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นใน อาบัติปาฎิเทสนีย่ว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นใน อาบัติปาฏิเทสนียะว่า เป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิก ว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 538
ปวารณาก็ดี สังฆกรรนก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อม เป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นใน อาบัติปาฎิเทสนียะว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิก ว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนั้น อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นใน อาบัติปาฎิเทสนียะว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นใน อาบัติปาฏิเทสนียะว่า เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิก ว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนั้น อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ มีความเห็นในอาบัติทุกกฏ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 539
ว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรม ก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติ ทุกกฏว่า เป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่ เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติ ทุกกฏว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่าน ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติ ทุกกฏว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่ เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติ ทุกกฏว่า เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 540
สมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติ ทุกกฏว่า เป็นอาบัติปาฎิเทสนียะ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่าน ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต มีความเห็นในอาบัติ ทุพภาสิต ว่าเป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่าน ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติ ทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่าน ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นใน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 541
อาบัติทุพภาสิตว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติ ทุพภาสิตว่า เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่าน ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติ ทุพภาสิตว่า เป็นอาบัติปาฎิเทสนียะ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่าน ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติ ทุพภาสิตว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่ เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
พึงทำอาบัติหนึ่งๆ ให้เป็นมูลแล้วผูกเป็นจักร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 542
สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
[๕๘๗] ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส มีความเห็น ในอาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติ ปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนั้น อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นใน อาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติ ปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นใน อาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติ ปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถ ก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นใน อาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติปาฎิเทสนียะ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติ ปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 543
ก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นใน อาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ แเละผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นใน อาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติ ปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถ ก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย
[๕๘๘] ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย มีความเห็นใน อาบัติถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชึ้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้ส่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 544
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติ ถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติ ถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติปาฎิเทสนียะ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติ ถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่าน ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นยอมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติ ถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 545
ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติ ถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ มีความเห็นในอาบัติ ปาจิตตีย์ ว่าเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติ ปาจิตตีย์ ว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 546
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติ ปาจิตตีย์ว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่าน ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติ ปาจิตตีย์ว่า เป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติ ปาจิตตีย์ว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติ ปาจิตตีย์ว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 547
ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ มีความเห็นในอาบัติ ปาฏิเทสนียะว่า เป็นอาบัติปาฎิเทสนียะ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิก ว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อม เป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นใน อาบัติปาฎิเทสนียะว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติ ปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถ ก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นใน อาบัติปาฎิเทสนียะว่า เป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติ ปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถ ก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นใน อาบัติปาฏิเทสนียะว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 548
ปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถ ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นใน อาบัติปาฎิเทสนียะว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติ ปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถ ก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นใน อาบัติปาฏิเทสนียะว่า เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติ ปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถ ก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเสศ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ มีความเห็นในอาบัติทุกกฏ ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็น สมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 549
แห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติ ทุกกฏว่า เป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่าน ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติ ทุกกฏว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทกเห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติ ทุกกฏว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่าน ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติ ทุกกฏว่า เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่าน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 550
ไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติ ทุกกฏว่า เป็นอาบัติปาฎิเทสนียะ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต มีความเห็นในอาบัติ ทุพภาสิตว่า เป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆธรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติ ทุพภาสิตว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 551
อื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติ ทุพภาสิตว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติ ทุพภาสิตว่า เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติ ทุพภาสิตว่า เป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิก ว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติ ทุพภาสิตว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 552
ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
อนาปัตติวาร
[๕๘๙] ภิกษุผู้สำคัญเป็นอย่างนั้นโจทเองก็ดี สั่งให้ผู้อื่นโจทก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ บท
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙
ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบทวรรณนา
ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป :-
พึงทราบวินิจฉัยในทุฏฐโทสสิกขาบทนั้น ดังต่อไปนี้:-
[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องภิกษุเมตติยะและภุมมชกะ]
คำว่า หนฺท มยํ อาวุโส ฉกลกํ ทพฺพํ มลฺลปุตฺตํ นาม กโรม มี ความว่า ได้ยินว่า พระเมตติยะและภุมมชกะนั้น ไม่อาจให้มโนรถของ ตนสำเร็จในเรื่องแรก ได้รับการนิคหะ ถึงความแค้นเคือง กล่าวว่า เดี๋ยวเถอะ พวกเราจักรู้กัน จึงเที่ยวคอยแส่หาเรื่องราวเช่นนั้น. ต่อมา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 553
วันหนึ่ง ได้พบเห็นแล้วดีใจ มองดูกันและกันแล้ว ได้กล่าวอย่างนี้ว่า เอาเถิด ผู้มีอายุ! พวกเราจะสมมติแพะผู้ตัวนี้ ให้ชื่อว่า ทัพพมัลลบุตร มีคำอธิบายว่า พวกเราจะตั้งชื่อให้แพะผู้ตัวนั้น อย่างนี้ว่า แพะตัวนี้ ชื่อว่าทัพพมัลลบุตร. แม้ในคำว่า เมตฺติยํ นาม ภิกขุนึ นี้ ก็นัยนี้.
คำว่า เต ภิกฺขู เมตฺติยภุมฺมชเก ภิกฺขู อนุยุญฺชึสุ มีความว่า พวก ภิกษุเหล่านั้น สอบสวนอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! พวกท่านเห็น พระทัพพมัลลบุตรกับนางเมตติยาภิกษุณี ณ ที่ไหนกัน?
พวกเธอตอบว่า ที่เชิงเชาคิชฌกูฏ.
ภิกษุทั้งหลายถามว่า ในเวลาไหน? พวกเธอตอบว่า ในเวลาไปภิกขาจาร.
พวกภิกษุ ถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า ท่านทัพพะ! พวกภิกษุ เหล่านี้ กล่าวอย่างนี้ ท่านอยู่ที่ไหน ในเวลานั้น!
ท่านพระทัพพมัลลบุตรตอบว่า ข้าพเจ้าแจกภัตตาหารอยู่ในพระเวฬุวัน.
ใครบ้างทราบว่าท่านอยู่ในเวฬุวัน ในเวลานั้น?
ภิกษุสงฆ์ ขอรับ.
พวกภิกษุเหล่านั้น จึงถามสงฆ์ว่า ท่านทั้งหลาย ทราบไหมว่า ท่านผู้มีอายุทัพพะนี้ อยู่ที่เวฬุวันในเวลานั้น?
ภิกษุสงฆ์ ขอรับ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! พวกเรารู้ว่า พระเถระ อยู่ที่เวฬุวันเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ท่านได้รับสมมติแล้ว.
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวกะพระเมตติยะและภุมมชกะว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 554
ท่านผู้มีอายุ! ถ้อยคำของท่านทั้งสอง ไม่สมกัน, พวกท่านอ้างเลศ กล่าวกะพวกเรากระมัง?
พระเมตติยะและภุมมชกะทั้งสองนั้น ถูกพวกภิกษุเหล่านั้น ซักฟอก อย่างนั้น ได้กล่าวว่า ขอรับ ท่านผู้มีอายุ จึงได้บอกเรื่องราวนั้น.
ในคำว่า กมฺปน ฯเปฯ อธิกรณสฺส นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
แพะนี้ (อธิกรณ์กล่าวคือแพะนี้) แห่งส่วนอื่น หรือส่วนอื่นแห่ง แพะนั้น มีอยู่; เพราะเหตุนั้น แพะนั้น จึงชื่อว่า อัญญภาคิยะ (มี ส่วนอื่น). สัตว์ที่รองรับ พึงทราบว่า อธิกรณ์. อธิบายว่า ที่ตั้งแห่ง เรื่อง. เพราะว่า แพะที่พวกภิกษุเมตติยะและภุมมชกะ กล่าวว่า ชื่อว่า ทัพพมัลลบุตรนั้น ย่อมมีแก่ส่วน คือโกฎฐาส ฝักฝ่าย กล่าวคือกำเนิด สัตว์ดิรัจฉาน และความเป็นแพะอื่นจากส่วน คือโกฏฐาส ฝักฝ่าย กล่าว คือกำเนิดมนุษย์ และความเป็นภิกษุของท่านพระทัพพมลัลบุตร, อีก อย่างหนึ่ง ส่วนอื่นนั้น มีอยู่แก่แพะนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น แพะนั้น จึงได้การนับว่า มีส่วนอื่น. ก็เพราะแพะนั้น เป็นที่รองรับ เป็นที่ตั้ง แห่งเรื่องของสัญญา คือการตั้งชื่อแห่งพวกภิกษุเมตติยะและภุมมชกะนั้น ผู้กล่าวอยู่ว่า พวกเราจะสมมติแพะนี้ ให้ชื่อว่า ทัพพมัลลบุตร, เพราะฉะนั้น แพะนั้น พึงทราบว่า อธิกรณ์. จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้นหมายถึง แพะนั้น จึงได้กล่าวว่า อญฺภาคิยสฺสิ อธิกรณสฺส เป็นต้น, มิได้ กล่าวหมายถึงอธิกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง มีวิวาทาธิกรณ์เป็นต้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
แก้ว่า เพราะอธิกรณ์เหล่านั้น ไม่มี.
เพราะว่าภิกษุเหล่านั้น ไม่ได้ถือเอาเอกเทศบางอย่างให้เป็นเพียง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 555
เลศ แห่งอธิกรณ์ ๔ อย่าง บางอธิกรณ์ซึ่งมีส่วนอื่น. และชื่อว่า เลศ แห่งอธิกรณ์ ๔ ก็ไม่มี จริงอยู่ เลศทั้งหลาย มีเลศ คือชาติเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้สำหรับบุคคลเหล่านั้น มิได้ตรัสไว้สำหรับ อธิกรณ์ มีวิวาทาธิกรณ์เป็นต้น. และชื่อว่า ทัพพมัลลบุตร นี้ เป็น เอกเทศบางอย่างของแพะนั้น ตัวตั้งอยู่ในความเป็นอธิกรณ์มีส่วนอื่น และเป็นเพียงเลศ เพื่อตามกำจัดพระเถระ ด้วยปาราชิกอันไม่มีมูล.
ก็บรรดาเทศและเลศนี้ ส่วนที่ชื่อว่าเทศ เพราะอรรถว่า ปรากฎ คือถูกอ้างถึง ถูกเรียกว่า แพะนี้มีความสัมพันธ์แก่ส่วนอื่นนั้น. คำว่า เทศนี้ เป็นชื่อแห่งส่วนใดส่วนหนึ่ง บรรดาส่วนมีชาติเป็นต้น. ที่ชื่อว่า เลศ เพราะอรรถว่า รวม คือยึดตัววัตถุแม้อื่นไว้ ได้แก่ติดอยู่เพียงเล็กน้อย โดยเป็นเพียงโวหารเท่านั้น. คำว่า เลศ นี้ เป็นชื่อแห่งส่วนใดส่วนหนึ่ง บรรดาส่วนมีชาติเป็นต้นเหมือนกัน. คำอื่นนอกจากสองคำนั้น มีอรรถ กระจ่างทั้งนั้น. แม้ในสิกขาบทบัญญัติ ก็มีอรรถอย่างนั้นเหมือนกัน.
[อธิบายอธิกรณ์เป็นเรื่องอื่นและเป็นเรื่องนั้น]
ก็บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐาน ในบทภาชนะว่า ภิกษุพึงถือเอา เอกเทศบางอย่าง ของอธิกรณ์อัน เป็นเรื่องอื่นใด ให้เป็นเพียงเลศ ตาม กำจัดภิกษุด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก, อธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นนั้น แจ่มแจ้งแล้วด้วยอำนาจแห่งเหตุที่เกิดขึ้นนั่นแล; เพราะเหตุนั้น อธิกรณ์ อันเป็นเรื่องอื่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ทรงจำแนกไว้ในบท ภาชนะ. ก็แล อธิกรณ์ ๔ เหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วย อำนาจแห่งอันยกเนื้อความขึ้น โดยคำสามัญว่า อธิกรณ์. ข้อที่อธิกรณ์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 556
เหล่านั้นเป็นเรื่องอื่น และข้อที่อธิกรณ์เหล่านั้นเป็นเรื่องนั้น ยังไม่ปรากฏ ด้วย อันพระวินัยธรทั้งหลาย ควรทราบด้วย; เพราะเหตุนั้น เมื่อ พระองค์จะทรงอาศัยอธิกรณ์ที่ได้โดยคำสามัญ กระทำข้อที่อธิกรณ์เหล่านั้น เป็นเรื่องอื่นและเป็นเรื่องนั้นนั้นให้แจ่มแจ้ง จึงตรัสบทภาชนะว่า อญฺ- ภาคิยสฺส อธิกรณสฺสาติ อาปตฺตญฺภาคิยํ วา โหติ อธิกรณญฺภาคิยํ วา เป็นต้น.
ก็ข้อที่อธิกรณ์ทั้งปวงเป็นเรื่องนั้น และเป็นเรื่องอื่นนี้ อันผู้ศึกษา พึงทราบว่า ทรงประมวลมาแล้ว เพื่อแสดงแม้ซึ่งคำโจทด้วยอำนาจแห่ง อธิกรณ์ อันเป็นเรื่องอื่นแห่งอาบัติ ที่ตรัสไว้แล้วในสุดนั่นแล. อันที่ จริง เมื่อนิเทศว่า กถญฺจ อาปตฺติ อาปตฺติยา อญฺภาคิยา โหติ ดังนี้ อันพระองค์ควรปรารภถึ. เพราะในอุเทศนั้นได้ทรงยกขึ้นไว้ก่อนว่า อาปตฺตญฺภาคิยํ วา เป็นต้น, เนื้อความนี้จักมาในคราวพิจารณาอธิกรณ์ เป็นส่วนนั้น แห่งอาปัตตาธิกรณ์นั้นแล; เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ทรงปรารภอย่างนั้น ทรงกำหนดเอาบทสุดท้าย ทีเดียว ปรารภนิเทศว่า กถญฺจ อธิกรณํ อธิกรณสฺส อญฺภาคิยํ ดังนี้.
ในวาระทั้งสองนั้น อัญญภาคิยวาร มีเนื้อความตื้นทีเดียว. จริงอยู่ อธิกรณ์แต่ละอย่างๆ จัดเป็นเรื่องอื่น คือเป็นฝ่ายอื่น เป็นส่วนอื่นแห่ง อธิกรณ์ ๓ อย่างนอกนี้ เพราะมีวัตถุเป็นวิสภาคกัน.
ส่วนในตัพภาติวาร มีวินิจฉัยว่า วิวาทาธิกรณ์ จัดเป็นเรื่องนั้น เป็นฝ่ายนั้น เป็นส่วนนั้นแห่งวิวาทาธิกรณ์ ก็เพราะมีวัตถุเป็นสภาคกัน. อนุวาทาธิกรณ์ เป็นเรื่องนั้นแห่งอนุวาทาธิกรณ์ ก็เหมือนกัน. คือ อย่างไร? คือเพราะว่า วิวาทที่อาศัย เภทกรวัตถุ ๑๘ เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 557
พุทธกาล และวิวาทที่อาศัยเภทกรวัตถุเกิดขึ้นในบัดนี้ ย่อมเป็นวิวาทาธิกรณ์อย่างเดียวกันแท้ เพราะมีวัตถุเป็นสภาคกัน.
อนึ่ง อนุวาทที่อาศัยวิบัติ ๔ เกิดขึ้นตั้งแต่พุทธกาล และอนุวาท ที่อาศัยวิบัติ ๔ เกิดในบัดนี้ ย่อมชื่อว่า เป็นอนุวาทาธิกรณ์อย่างเดียวกัน แท้ เพราะมีวัตถุเป็นสภาคกัน. ส่วนอาปัตตาธิกรณ์ ไม่จัดเป็นเรื่องนั้น โดยส่วนเดียว แห่งอาปัตตาธิกรณ์ เพราะมีวัตถุทั้งเป็นสภาคกัน ทั้งเป็น วิสภาคกัน และเพราะพึงเห็นคล้ายความเป็นเอง; เพราะเหตุนั้น อาปัตตาธิกรณ์ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นเรื่องนั้น แห่งอาปัตตาธิกรณ์ก็มี เป็นเรื่อง อื่น แห่งอาปัตตาธิกรณ์ก็มี. ในตัพภาติยะ และอัญญภาคิยะนั้น อัญญภาติยะนั่นแล ทรงอธิบายก่อน แม้ในอาปัตตาธิกรณ์นิเทศนี้ เพราะ อัญญาภาคิยะ ได้ทรงอธิบายมาก่อนแล้ว ตั้งแต่ต้น. ข้อที่อาปัตตาธิกรณ์ เป็นเรื่องอื่น ในอาปัตตาธิกรณ์นิเทศนั้น และข้อที่อาปัตตาธิกรณ์เป็น เรื่องนั้น (ที่กล่าวไว้) ข้างหน้า ผู้ศึกษาพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
ก็ในคำว่า กิจฺจาธิกรณํ กิจฺจาธิกรณสฺส ตพฺภาคิยํ นี้ มีวินิจฉัย ดังนี้:- อธิกรณ์ที่อาศัยสังฆกรรม ๔ เกิดขึ้น ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล และ อธิกรณ์ที่อาศัยสังฆกรรม ๔ เกิดขึ้นในบัดนี้ ย่อมเป็นกิจจาธิกรณ์อย่าง เดียวกันแท้ เพราะเป็นสภาคกัน และเพราะเห็นได้คล้ายกัน.
ถามว่า อธิกรณ์ที่อาศัยสังฆกรรมเกิดขึ้น ชื่อว่า กิจจาธิกรณ์ หรือว่า ข้อนั้นเป็นชื่อแห่งสังฆกรรมทั้งหลายเท่านั้น.
แก้ว่า ข้อนั้น เป็นชื่อแห่งสังฆกรรมทั้งหลายเท่านั้น. แม้เมื่อ เป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสเรียกอธิกรณ์ที่อาศัยสังฆกรรมเกิด ขึ้นว่า กิจจาธิกรณ์ เพราะอาศัยกรรมลักษณะที่ภิกษุใฝ่ใจถึง ซึ่งตรัส
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 558
ไว้ว่า "ชื่อว่าสังฆกรรมนี้และนี้ ควรทำอย่างนี้" เกิดขึ้นและเพราะอาศัย สังฆกรรมก่อนๆ เกิดขึ้น.
ก็เพราะสองบทว่า เทโส หรือ เลสมตฺโต อันมีอยู่ในคำว่า กิญฺจิ เทสํ เลสมตฺตํ อุปาทาย นี้ ต่างกันโดยพยัญชนะ โดยอรรถเป็นอย่าง เดียวกัน โดยนัยดังกล่าวแล้วดังก่อนนั่นแล; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำมีอาทิว่า เลโสติ ทส เลสา ชาติเลโส นามเลโส ดังนี้. บรรดาเลศ คือชาติเป็นต้นนั้น ชาติ (กำเนิด) นั่นเอง ชื่อว่า เลศ คือ ชาติ. ในเลศที่เหลือ ก็นัยนี้.
[แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ตอนว่าด้วยเลศ]
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดงเลศนั้นนั่นแลโดยพิสดาร แสดงให้เห็นพร้อมทั้งวัตถุ โดยประการที่จะมีการอ้างเลศนั้นตามกำจัด จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ชาติเลโส นาม ขตฺติโย ทิฏโ โหติ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ขตฺติโย หิฏโ โหติ มีความว่า บุคคล อื่นบางคน เป็นเชื้อชาติกษัตริย์ ย่อมเป็นผู้อันโจทก์นี้เห็นแล้ว. คำว่า ปาราชิกํ ธมฺมํ อชฺฌาปชฺชนฺโต ได้แก่ เป็นผู้ต้องบรรดา ปาราชิกมีเมถุนธรรมเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.
คำว่า อญฺํ ขตฺติยํ ปสฺสิตฺวา โจเทติ มีความว่า ภายหลังโจทก์ นั้น เห็นภิกษุอื่นผู้มีชาติเป็นกษัตริย์ ซึ่งเป็นคู่เวรของตน แล้วถือเอา เลศ คือชาติกษัตริย์นั้น โจทอย่างนี้ว่า กษัตริย์ต้องธรรม คือปาราชิก ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว, ท่านเป็นกษัตริย์ เป็นผู้ต้องธรรม คือปาราชิก. อีกอย่างหนึ่ง โจทว่า ท่าน คือกษัตริย์นั้น ไม่ใช่ผู้อื่นเป็นผู้ต้องธรรม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 559
คือปาราชิก, ท่านเป็นผู้มิใช่สมณะ เป็นผู้มิใช่เหล่ากอแห่งศากยบุตร, ไม่มีอุโบสถ ปวารณา หรือว่าสังฆกรรม ร่วมกับท่าน ต้องสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
ก็ในคำว่า ขตฺติโย มยา ทิฏฺโ เป็นต้นนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบความ ที่กษัตริย์เหล่านั้น เป็นผู้มีส่วนอื่น ด้วยอำนาจแห่งกษัตริย์ ผู้ไม่เหมือน กันและกันนั้นๆ มีลักษณะสูง หรือที่ตนได้เห็นแล้วเป็นต้น และความที่ กษัตริย์เหล่านั้น เป็นอธิกรณ์ ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้รองรับบัญญัติ คือชาติกษัตริย์. ผู้ศึกษาพึงทราบโยชนาในบททั้งปวงโดยอุบายนี้นั่นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในปัตตเลสนิเทศ ดังนี้:- บาตรดินเหนียวมี สัณฐานงาม มีผิวเรียบสนิท มีสีเหมือนแมลงภู่ คล้ายกับบาตรโลหะ ท่าน เรียกว่า บาตรเคลือบ. บาตรดินตามปกติ ท่านเรียกว่า บาตรดินธรรมดา. ก็เพราะตรัสนิเทศแห่งเลศ คืออาบัติไว้โดยสังเขปด้วยบทเดียวกันเท่านั้น; ฉะนั้น เพื่อแสดงเลศ คืออาบัติแม้นั้นโดยพิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำเป็นต้นว่า เราได้เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ดังนี้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสนิเทศแห่งเลศ คืออาบัตินั้นไว้ในอธิการแห่งเลศ คืออาบัตินั้นเสียทีเดียว แต่กลับมาตรัส ไว้ต่างหาก ในนิเทศแห่งบทว่า สงฺฆาทิเสโส นี้เล่า?
แก้ว่า ก็เพราะในนิเทศแห่งเลศ ไม่มีสภาคกัน.
จริงอยู่ นิเทศแห่งเลศทั้งหลาย ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งการเห็น ภิกษุรูปอื่น แล้วโจทภิกษุอีกรูปหนึ่ง. แต่นิเทศแห่งเลศ คืออาบัตินี้ ตรัสด้วยอำนาจการเห็นภิกษุรูปเดียวนั่นแล ต้องอาบัติอื่น แล้วโจทด้วย อาบัติอื่น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 560
ถามว่า ถ้าอย่างนั้น อธิกรณ์มีส่วนอื่น จะมีได้อย่างไร?
แก้ว่า มีได้เพราะอาบัติ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำนี้ว่า อธิกรณ์เป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และเลศอันโจทก์อ้างแล้ว แม้ด้วยอาการอย่างนี้. แท้จริง ภิกษุนั้น ต้องสังฆาทิเสสใด, อธิกรณ์ คือสังฆาทิเสสนั้น เป็นอธิกรณ์มีส่วนอื่นแห่งปาราชิก. ก็ที่ชื่อว่าเลศแห่งอธิกรณ์มีส่วนอื่นนั้น คือความเป็นอาบัติทั่วไปแก่อาบัติทั้งปวง เหมือนความเป็นกษัตริย์ทั่วไปแก่กษัตริย์ทั้งปวงฉะนั้น. นัยทั้งหลายมีอาบัติที่เหลือเป็นมูล และโจทาปกวาร ผู้ศึกษาพึงทราบโดยอุบายนี้.
คำว่า อนาปตฺติ ตถาสญฺี โจเทติ วา โจทาเปติ วา มีความว่า ภิกษุใด มีความสำคัญอย่างนี้ว่า ผู้นี้ ต้องปาราชิกทีเดียว โจทเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นโจทอย่างนั้น ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น. บทที่เหลือทั้งหมดตื้นทั้งนั้น.
แม้ปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้น ก็เหมือนกับปฐมทุฏฐโทสสิกขาบทนั้นแล.
ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบทวรรณา จบ