ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ข้อความบางตอนจากหนังสือ พระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา เรียบเรียง โดย คุณสุรีย์ และ เรือโท วิเชียร มีผลกิจจัดพิมพ์และเผยแพร่โดย คณะสหายธรรม
สมัยนั้น ภิกษุที่จำพรรษาอยู่ ณ พระเชตวันวิหารเมื่อกลับจากบิณฑบาต ฉันภัตตาหารแล้ว นั่งประชุมกันที่หอฉันสนทนากันถึงเรื่องต่างๆ อันเป็น ดิรัจฉานกถา
พระพุทธองค์ ตรัสว่า ไม่สมควร แก่เธอทั้งหลายผู้ป็นกุลบุตร ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาแล้วตรัส กถาวัตถุ ๑๐ ประการ ว่า พวกเธอ พึงกล่าวแต่ถ้อยคำที่
ชักนำ ให้มีความปรารถนาน้อย ๑
ชักนำ ให้สันโดษ ยินดี ด้วยปัจจัย ตามมีตามได้ ๑
ชักนำ ให้เกิดความสงบ ๑
ชักนำ ไม่ให้คลุกคลี กับหมู่คณะ ๑
ชักนำ ให้ปรารภความเพียร ๑
ชักนำ ให้ตั้งอยู่ในศีล ๑
ชักนำ ให้มีจิต ตั้งมั่น ๑
ชักนำ ให้เกิดปัญญา ๑
ชักนำ ให้ยินดี ในการหลุดพ้นจากกิเลส ๑
ชักนำ ให้เกิดความรู้ถึงผลดี ของการละกิเลส ๑
กถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้ เมื่อนำมาสนทนากัน ย่อมก่อให้เกิดกุศลธรรม มากขึ้นทั้งทางกาย วาจา และ ใจ
ขออนุโมทนา
ขออุทิศกุศลแด่สรรพสัตว์
สาธุ
คำพูดที่ทำให้คนฟังเกิดกุศลจิต พูดให้เห็นโทษของสังสารวัฏฏ์ คำพูดนั้นควรพูดค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ในชีวิตประจำวัน การดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล จำเป็นที่จะต้องพูด ต้องมีการติดต่อสื่อสารกัน เป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่ว่าจะไม่พูดเลย ในการพูดนั้นย่อมมีเรื่องทีจะต้องพูด สำหรับผู้ได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาเป็นปกติ มีความเข้าใจค่อยๆ เพิ่มขึ้น เจริญขึ้นไปตามลำดับ จิตใจน้อมไปในกุศลธรรม ก็ย่อมจะเป็นผู้คำนึงถึงอยู่เสมอว่าสิ่งใดควรพูด (และควรพูดในเวลาใดด้วย) สิ่งใดไม่ควรพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่ไม่เกิดประโยชน์ เป็นกถาหรือถ้อยคำที่ขัดขวางทางสวรรค์ หรือ ทางนิพพาน เป็นถ้อยคำที่ไม่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญาด้วยแล้ว ก็ไม่ควรที่จะพูด แต่จะพูดเฉพาะในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรมทั้งหลาย เท่านั้น พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง จึงเป็นเครื่องเตือนอย่างดียิ่งในชีวิตประจำวัน และบุคคลผู้ที่เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุด ประเสริฐที่สุดในการพูดนั้น ย่อมไม่มีใครเสมอกับพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
รบกวนช่วยขยายความข้อความข้างต้นที่กล่าวว่า
"ชักนำ ไม่ให้คลุกคลี กับหมู่คณะ ๑"
ขอบคุณค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ความคลุกคลี มี ๕ ประการคือ
คลุกคลีอันเกิดจากการเห็น เช่น เมื่อได้เห็นรูปอันสวยงามก็เกิดความยินดีพอใจใน สิ่งนั้น เมื่อกิเลสเกิดขึ้นก็ชื่อว่าคลุกคลี คลุกคลีอันเกิดจากการได้ยิน เช่น เมื่อได้ยินถึงเรื่องราวของบุคคลใด บุคคลหนึ่งก็ เกิดความยินดีพอใจในบุคคลนั้นแม้เพียงได้ยินก็ชื่อว่าคลุกคลีเพราะกิเลสเกิดขึ้น คลุกคลีอันเกิดจากการสนทนาปราศัย คลุกคลีอันเกิดจากการแลกเปลี่ยนสิ่งของ เช่น เมื่อมีการให้ของซึ่งกันและกันก็เกิด ความสนิมสนม เกิดความยินดีพอใจก็ชื่อว่าคลุกคลี คลุกคลีอันเกิดจากการสัมผัสกาย ดังนั้น การชักนำไม่ให้คลุกคลีคือการกล่าวถ้อยคำที่ไม่ให้ยินดีในการเห็น การได้ยิน สนทนาปราศัย เป็นต้น กล่าวคำพูดในการเกลียดกันอกุศลเห็นโทษของความคลุกคลีด้วยกิเลสอันนำมาซึ่งความเสื่อมของกุศลธรรมทั้งหลาย ซึ่งการคลุกคลีอันเกิดจากการยินดีในหมู่คณะด้วยการสนทนาปราศัยหรือการเห็น เป็นต้น ย่อมนำมาซึ่งอกุศลธรรมมากมาย การชักนำไม่ให้คลุกคลีในหมู่คณะคือการกล่าวถ้อยคำให้เห็นโทษของการคลุกคลีว่านำมาซึ่งอกุศลธรรมมากมายครับ แต่ว่าผู้มีปัญญาสามารถดับกิเลสแล้ว แม้อยู่กับคนหมู่มากก็ไม่ชื่อว่าคลุกคลีเลย
ขออนุโมทนาครับ
เชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมในเรื่อง ความคลุกคลี ได้โดยตรงจากพระไตรปิฎกที่นี่
[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 404
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอบคุณและขออนุโมทนาสำหรับคำอธิบายค่ะ ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
ถึงจะอยู่กับคนหมู่มาก แต่จิตเป็นกุศล ขณะนั้นก็ชื่อว่าไม่คลุกคลี แต่ถ้าอยู่คนเดียวจิตเป็นอกุศลก็ชื่อว่าคลุกคลีค่ะ
เป็นลาภของกระผมแล้วที่ได้อ่าน
ขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ