บุคคลไม่ควรคิด ว่ากล่าวคนอื่น
โดย prachern.s  21 เม.ย. 2553
หัวข้อหมายเลข 15932

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 623

ไม่ควรคิดที่จะว่าเขาด้วยศีลวิบัติ [๙๗๙] ชื่อว่า ชน ในคำว่า ไม่พึงคิดเพื่อธรรมคือการว่ากล่าวซึ่งชน คือ บุคคลที่เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทรเป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ ภิกษุไม่พึงคิด คือไม่พึงยังความคิดให้เกิดขึ้น ไม่พึงยังความดำริแห่งจิตให้เกิดขึ้น ไม่พึงยังมนสิการให้เกิดขึ้นเพื่อการกล่าว การค่อนว่า การนินทา การติเตียนการไม่สรรเสริญ การไม่พรรณนาคุณแห่งชน ด้วยศีลวิบัติ ด้วยอาจาร-วิบัติ ด้วยทิฏฐิวิบัติ หรือด้วยอาชีววิบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงคิดเพื่อธรรมคือการว่ากล่าวซึ่งชน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ พึง ทำลายความเป็นผู้กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย พึง เปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ไม่ พึงคิดเพื่อธรรม คือการกล่าวว่าซึ่งชน.

ข้อความจากอรรถกถา..บทว่า ชนวาทธมฺมาย คือ เนื้อธรรม คือ การว่ากล่าวชน. บทว่า นเจตเยยฺย คือ ไม่พึงยังความคิดให้เกิด.

บทว่า อิทํ เต อปฺปตฺตํ คือ กรรมนี้ไม่ถึงแก่ท่าน. บทว่า อสารุปฺปํคือ กรรมนี้ไม่สมควรที่ท่านจะประกอบ. บทว่า อสีลฏฐํ ไม่ดังอยู่ในศีลคือ ชื่อว่า อสีลฏฐํ เพราะไม่ตั้งอยู่ในศีลอันเป็นความขวนขวายของท่าน. อธิบายว่า กรรมนี้ไม่เป็นประโยคสมบัติของท่านผู้ตั้งอยู่ในศีล...



ความคิดเห็น 1    โดย เมตตา  วันที่ 22 เม.ย. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ...


ความคิดเห็น 2    โดย จักรกฤษณ์  วันที่ 22 เม.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ