ปาฏลิปุปผิยเถราปทานที่ ๘ (๗๘) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกแคฝอย
โดย บ้านธัมมะ  27 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 41068

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 290

เถราปทาน

นาคสมาลวรรคที่ ๘

ปาฏลิปุปผิยเถราปทานที่ ๘ (๗๘)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกแคฝอย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 290

ปาฏลิปุปผิยเถราปทานที่ ๘ (๗๘)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกแคฝอย

[๘๐] ในกาลนั้น เราเป็นบุตรเศรษฐสุขุมาลชาติ ตั้งอยู่ในป่า ความสุข ได้เอาดอกแคฝอยห่อพกไปบูชาพระสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ เช่นกับแท่งทองอันมีค่า มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ กำลังเสด็จดำเนินอยู่ใน ละแวกตลาด.

เราร่าเริง มีจิตโสมนัส บูชาพระองค์ด้วยดอกไม้ ถวายนมัสการพระพุทธเจ้าพระนานว่าติสสะ ทรงรู้แจ้งโลก เป็นนาถะของโลก ประเสริฐกว่านระ.

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วย ดอกไม้ ในกัปที่ ๖๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มี พระนามว่าอภิสมมต ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ประการ ๗ มี พละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระปาฏลิปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบปาฏลิปุปผิยเถราปทาน


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 291

๗๘. อรรถกถาปาฏลิปุปผิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระปาฏลิปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้น ว่า สุวณฺณวณฺณํ สมฺพุทฺธํ ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ติสสะ บังเกิดเป็นบุตรแห่งเศรษฐี ในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เป็นผู้รู้จักกุศลและอกุศล เลื่อมใสในพระศาสดา ถือเอาดอกแคฝอยบูชาพระศาสดา. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเสวยสุขสมบัติเป็นอันมาก ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสใน พระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ครั้นภายหลังท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สุวณฺณวณฺณํ สมพุทฺธํ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺตราปเณ ความว่า ชื่อว่า อาปณะ เพราะเป็นที่ทุบแผ่ไปซึ่งภัณฑะ มีแผ่นเงินและทองโดยรอบใน ที่นี้. ชื่อว่า อันตราปณะ เพราะมีถนนผ่านไปในระหว่างแห่งร้านตลาด นั้น. อธิบายว่า เราเห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้มีวรรณะเพียงดังวรรณะแห่งทอง คล้ายกับแท่งแห่งทอง มีลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ จึงบูชาด้วย ดอกแคฝอย. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปาฏลิปุปผิยเถราปทาน