[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 277
เถรคาถา อัฏฐกนิบาต
๑. มหากัจจายนเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมหากัจจายนเถระ
[๓๖๖] ภิกษุไม่ควรทำการงานให้มาก ควรหลีกเร้นหมู่ชน ไม่ควรขวนขวายเพื่อยังปัจจัยให้เกิด เพราะภิกษุใดเป็นผู้ ติดรสอาหาร ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้ขวนขวายเพื่อยังปัจจัย ให้เกิด และชื่อว่าละทิ้งประโยชน์อันจะนำความสุขมาให้ พระอริยะทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าวการไหว้ การบูชาในสกุลทั้งหลายว่า เป็นเปือกตม เป็นลูกศรอัน ละเอียดที่ถอนได้ยาก เพราะสักการะอันบุรุษชั่วละได้ยาก ภิกษุไม่ควรแนะนำสัตว์อันให้ทำกรรมอันเป็นบาป และ ไม่พึงซ่องเสพกรรมนั้นด้วยตนเอง เพราะสัตว์มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์ คนเราย่อมไม่เป็นโจรเพราะคำของบุคคล อื่น ไม่เป็นมุนีเพราะคำของบุคคลอื่น บุคคลรู้จักตนเอง ว่าเป็นอย่างไร แม้เทพเจ้าทั้งหลายก็รู้จักบุคคลนั้นว่าเป็น อย่างนั้น ก็คนพวกอื่นย่อมไม่รู้สึกตัวว่า พวกเราที่สมาคม นี้ จักพากันยุบยับในหมู่ชนพวกนั้น พวกใดมารู้สึกตัวว่า พวกเราจักพากันไปสู่ที่ใกล้มัจจุราช ความทะเลาะวิวาท ย่อมระงับไปเพราะพวกนั้น บุคคลผู้มีปัญญา ถึงจะสิ้น ทรัพย์ก็ยังเป็นอยู่ได้ ส่วนบุคคลถึงจะมีทรัพย์ก็เป็นอยู่ ไม่ได้ เพราะไม่ได้ปัญญา บุคคลย่อมได้ยินเสียงทุกอย่าง ด้วยหู ย่อมเห็นสิ่งทั้งปวงด้วยจักษุ แต่นักปราชญ์ย่อม ไม่ควรละทิ้งสิ่งทั้งปวงที่ได้เห็นได้ฟังมาแล้ว ผู้มีปัญญา ถึงมีตาดี ก็ทำเหมือนคนตาบอด ถึงมีหูดี ก็ทำเหมือน คนหูหนวก ถึงมีปัญญา ก็ทำเหมือนคนใบ้ ถึงมีกำลัง ก็ทำเหมือนคนทุรพล แต่เมื่อประโยชน์นี้เกิดขึ้น ถึงจะ นอนอยู่ในเวลาใกล้ตาย ก็ยังทำประโยชน์นั้นได้.
จบมหากัจจายนเถรคาถา
สาธุ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น