ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
นามธรรม และ รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่ต่างกัน ถ้าเราไม่แยก นามธรรม และ รูปธรรมออกจากกัน และ ไม่รู้ "ลักษณะ" ของนามธรรม และ รูปธรรม แล้วก็ย่อม "ยึดถือ" นามธรรม และ รูปธรรม ว่า เป็น "ตัวตน" เช่น การได้ยิน เป็น นามธรรม ไม่ใช่รูปร่างสัณฐาน การได้ยิน ต่างจาก โสตปสาท (ซึ่งเป็นรูปธรรม) แต่ (การได้ยิน) ก็มีโสตปสาท เป็น "ปัจจัย" สำคัญ นามธรรมที่ได้ยิน เป็น สภาพธรรมที่รู้เสียง โสตปสาท และ เสียง เป็น รูปธรรม ซึ่งไม่รู้อะไร โสตปสาท และ เสียง แตกต่างจาก นามธรรมที่ได้ยิน โดยประการทั้งปวง เมื่อ ไม่รู้ชัด ว่าการได้ยิน โสตปสาท และ เสียง เป็น "สภาพธรรม" ที่ต่างกันก็จะยัง "ยึดถือ" ต่อไป ว่าเป็น "ตัวตน" ที่ได้ยิน
ในวิสุทธิมรรค ทิฏฐิวิสุทธินิทเทส มีข้อความว่า อนึ่ง นามธรรม เป็นสิ่งที่ไม่มีเดช ไม่อาจเพื่อจะเป็นไปด้วยเดชของตน (นามธรรม) กินไม่ได้ ดื่มไม่ได้ ขวนขวายไม่ได้ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ แม้ รูป (ธรรม) ก็ไม่มีเดช ไม่อาจจะเป็นไปด้วยเดชของตน เพราะว่า รูป (ธรรม) นั้น ไม่มีความใคร่จะกิน ไม่มีความใคร่จะดื่ม ไม่มีความใคร่จะขวนขวาย ไม่มีความใคร่จะสำเร็จอิริยาบถ
อันที่แท้ รูป อาศัย นาม จึงเป็นไปแม้ นาม ก็ต้องอาศัย รูป จึงเป็นไป ก็เมื่อ นามธรรม เป็นผู้ใคร่กิน ใคร่ดื่ม ใคร่ขวนขวาย ใคร่สำเร็จอิริยาบถรูป (ธรรม) จึงกิน จึงดื่ม จึงขวนขวาย จึงสำเร็จอิริยาบถ
ข้อความต่อไปใน วิสุทธิมรรค ทิฏฐิวิสุทธินิทเทส มีว่า นามกาย อาศัย รูป (ธรรม) จึงเป็นไป เปรียบเหมือน มนุษย์ อาศัย (โดยสาร) เรือไปในห้วงน้ำ รูปกาย อาศัย นาม (ธรรม) จึงเป็นไป เหมือนอย่าง เรือ อาศัย มนุษย์ จึงแล่นไป ในแม่น้ำ ทั้งสองอย่าง คือ มนุษย์ และ เรืออาศัยกันและกัน จึงไปในห้วงน้ำได้ ฉันใด นามธรรม และ รูปธรรม ก็ฉันนั้น
หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...
พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณมาก และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ