กายานุปัสสนาเป็นบรรพหนึ่งในมหาสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจำแนกออกเป็นกาย เวทนา จิตธรรม ตามการยึดถือและตามลำดับของการแสดงธรรม แต่การเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้อง จะไม่จำกัดว่าให้ระลึกที่กายเพียงเท่านั้น เพราะไม่มีอัตตาตัวตนไปบังคับสติได้และจะไม่เป็นการรู้จริงและรู้ทั่ว เพราะต้องรู้ทั่วทั้ง ๖ ทวารในรูปและนามที่ปรากฎ รูปที่ปรากฎให้รู้ได้ทางกายจริงๆ มีอยู่เพียง ๗ รูป คือ สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (ธาตุไฟซึ่งมีสภาพเย็นหรือร้อน ธาตุดิน ซึ่งมีสภาพอ่อนหรือแข็ง ธาตุลมซึ่งมีสภาพตึงหรือไหว) ส่วนรูปที่เหลือทั้งหมด คือสุขุมรูป ๑๖ และปสาทรูป ๕ รู้ได้ทางใจเท่านั้น เพราะฉะนั้น การเจริญสติปัฏฐานก็ไม่พ้นไปจากสิ่งที่ปรากฎทางตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ นั่นเองค่ะ
ขอนำคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ มาถ่ายทอดให้อ่านดังนี้:-
ขณะนี้ทุกคนกำลังเป็นผู้มีปกติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ นี่คือ
ความหมายของสติสัมปชัญญะ เมื่อใช้คำว่า ที่กำลังปรากฏ ก็ไม่พ้นจาก ตา หู จมูกลิ้น กาย ใจ จะพ้นจากอิริยาบถไม่ได้ กำลังนั่ง กำลังเหลียว ขณะกำลังเหลียวก็มีสติตามปกติกำลังพูดก็มีสติ ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะที่พูด ไม่ต้องเลือกบรรพหนึ่งบรรพใด กำลังเป็นปกติอย่างไร ก็ตรงตามความเป็นจริงว่าอยู่ในบรรพไหนทรงแสดงไว้โดยไม่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นกาย เวทนา จิต หรือธรรม