เวลาที่สติเกิด หมายความว่า ขณะนั้นไม่ได้มีเพียงแต่ความเข้าใจ แต่ยังมี "ความจำ" ที่ฟังแล้วฟังอีก จนเป็น "สัญญาที่มั่นคง" จึงมีการระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ขณะใดที่หลงลืมสติ ก็รู้ว่า "สัญญา" ไม่พอที่สติจะเกิด แต่ว่าเมื่อใดที่สติเกิด ขณะนั้น หมายความว่า เพราะ "ความจำที่มั่นคง" ว่าขณะนี้เป็น "ธรรม" "สติ" จึงเกิดระลึกรู้ลักษณะของ "สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ"
บรรยายโดย อ. สุจินต์ บริหารวนเขตต์จาก"ธรรมาภิสมัย" โดย "กลุ่มกอบัว"
ปัจจัยให้สติเกิด คือ สุจริต 3 กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม การเจริญกุศลทุกอย่างการสำรวมอินทรีย์ โดยเฉพาะไม่การขาดฟังธรรม การพิจารณาธรรมะ ฯลฯ
อนุโมทนาค่ะ คุณพุทธรักษากรุณา quote คำกล่าวของท่านอาจารย์มาให้พิจารณาอีกนะคะ
อนุโมทนา"คุณ wannee.s" เถิดค่ะ เพราะเธอได้กรุณามอบหนังสือเล่มนี้ให้ ฟังอย่างเดียวไม่พอ ต้องพิจารณาและทบทวนบ่อยๆ ไม่อย่างนั้น ลืม การนำข้อความที่เห็นว่าถูกต้อง (ตามแนวพระไตรปิฎก) มาเขียน (ไม่ว่าจากสื่อใด) เพื่อประโยชน์ และเป็นการทบทวนของตัวเองด้วยค่ะ นี่คือ ประโยชน์ของการมี "กัลยาณมิตร"
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ความจำ (สัญญา) ที่มั่นคง เป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิด?
ความจำ หรือ สัญญาเจตสิก เกิดกับจิตทุกดวง หมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นกุศล หรืออกุศล สัญญา ความจำ ต้องเกิดด้วยเสมอดังนั้นตามปกติ ในชีวิตประจำวัน กุศลหรืออกุศลเกิดขึ้นมาก ก็ต้องเป็นอกุศล ดังนั้น สัญญาความจำตามปกติในวันๆ หนึ่ง ก็จำผิด จำด้วยความเป็นเรา เป็นตัวตน เป็นความจำที่มั่นคงในทางที่ผิด ซึ่งไม่ใช่เหตุให้เกิดสติปัฏฐานแน่นอครับ แต่การจำที่มั่นคงที่จะเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดนั้น คือขณะที่ฟังเข้าใจในเรื่องสภาพธัมมะ ว่า ธรรมคืออะไร อยู่ในขณะไหน ขณะที่เข้าใจขณะที่ฟัง ก็มีสัญญา ความจำเกิดด้วย ขณะที่เข้าใจในเรื่องสภาพธัมมะที่กำลังฟังขณะนั้นก็เริ่มสะสม การจำถูก (เพราะมีปัญญาเกิดร่วมด้วย) จำว่าเป็นธรรมเท่านั้น ในขณะนี้ (แม้ขั้นการฟัง) ไม่ต้องไปหาธรรมที่อื่น ฟังจนเข้าใจ จนเหตุปัจจัยพร้อมความจำที่มั่นคง อันเนื่องมาจากการฟังพระธรรมในเรื่องสภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ว่า เป็นธรรมไม่ใช่เรา ก็เป็นปัจจัยให้สติเกิดขึ้น (สติขั้นสติปัฏฐาน) ระลึกสภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เราตรงตามสภาพธัมมะที่กำลังปรากฏโดยไม่ใช่ขั้นคิดนึกและขั้นการฟัง แต่ที่สำคัญ ความจำหรือสัญญาที่มั่นคง ที่จะเป็นปัจจัยให้สติเกิด ต้องจำถูกในเรื่องสภาพธัมมะ โดยมีปัญญาเกิดร่วมด้วยกับสํญญานั้น จึงจะเป็นปัจจัยให้สติเกิดครับ
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ต้องขออนุโมทนาพี่หนู (อัญญมณี) ผู้เขียนหนังสือธรรมาภิสมัย และได้ฝากดิฉันแจกคนที่มามูลนิธิ ที่ยังไม่เคยได้ แต่ตอนนี้แจกไปหมดแล้วค่ะ
ขอบคุณคะ สิ่งอธิบายช่วยให้เข้าใจการกระทำของตัวเรามากขึ้น ทานทางปัญญาที่ทุกท่านทำขอให้สุขทุกๆ ท่านนะคะ
ธรรมเป็นเหตุเกิดสติสัมโพชฌงค์ อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๔ ประการ เป็นทางเกิดสติสัมโพชฌงค์ คือ ๑. สติสัมปชัญญะ ๒. การเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม ๓. การคบหาบุคคลผู้มีสติมั่นคง ๔. ความน้อมจิตไปในสติสัมโพชฌงค์นั้น.
ก็สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิด ด้วยสติสัมปชัญญะในฐานทั้ง ๗ มีก้าวไป ข้างหน้าเป็นต้น ด้วยการงดเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม เช่นเดียวกับกาตัวเก็บ อาหาร ด้วยการคบหาบุคคลผู้มีสติมั่นคง เช่นเดียวกับพระติสสทัตตเถระ และ พระอภัยเถระเป็นต้น และด้วยความเป็นผู้มีจิตโน้มน้อมไปเพื่อตั้งสติในอิริยาบถ ทั้งหลายมี ยืน นั่ง เป็นต้น. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่าก็สติสัมโพชฌงค์นั้นอันเกิดแล้ว ด้วยเหตุ ๔ ประการอย่างนี้ ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.
อนุโมทนา
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
กราบขออนุโมทนาค่ะ
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ