อภยเถราปทานที่ ๗ (๕๔๗) ว่าด้วยบุพจริยาของพระอภยเถระ
โดย บ้านธัมมะ  30 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 41554

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 390

เถราปทาน

ภัททิยวรรคที่ ๕๕

อภยเถราปทานที่ ๗ (๕๔๗)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระอภยเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 390

อภยเถราปทานที่ ๗ (๕๔๗)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระอภยเถระ

[๑๓๗] ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมารผู้รู้จบธรรมทั้งปวง เป็นพระผู้นำ พระนามว่าปทุมตตระได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระตถาคตเจ้า ยังบุคคลบางพวกให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์ ยัง บุคคลบางพวกให้ตั้งอยู่ในศีล คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ อันอุดม

พระธีรเจ้าพระองค์นั้น ทรงประทาน สามัญผลอันอุดมแก่บุคคลบางคน ทรงประทาน สมาบัติ ๘ และวิชา ๓ แก่บุคคลบางคน

พระโลกนาถผู้สูงสุดกว่านรชนพระองค์ นั้น ทรงประกอบสัตว์บางพวกไว้ในอภิญญา ทรง ประทานปฏิสัมภิทา ๔ แก่บุคคลบางคน


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 391

พระผู้เป็นสารถีฝึกนระ ทรงเห็นประชา สัตว์ที่ควรจะนำไปให้ตรัสรู้ได้ แม้ในสถานที่นับ ด้วยโยชน์ไม่ถ้วน ก็รีบเสด็จไปทรงแนะนำ

ครั้งนั้น เราเป็นบุตรของพราหมณ์ใน พระนครหังสวดี เป็นผู้เรียนจบทุกเวท เข้าใจ ไวยากรณ์ ฉลาดในนิรุตติ เฉียบแหลมในคำภีร์ นิฆัณฑุ เข้าใจตัวบท รู้ชัดในคัมภีร์เกฏุตะ ฉลาด ในฉันท์และกาพย์กลอน

เมื่อเที่ยวเดินพักผ่อน ได้ไปถึงพระวิหาร หังสาราม ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด อันมหาชนแวดล้อม

เรามีมติเป็นข้าศึก เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลสธุลี ซึ่งกำลังทรงแสดงธรรม ได้สดับพระดำรัสอันงามของพระองค์อันปราศจาก มลทิน

ไม่ได้พบเห็นพระดำรัส ที่ไร้ประโยชน์ ของพระมุนี คือ คำที่ซักมาผิด คำที่ต้องกล่าวซ้ำ หรือคำที่ไม่ถูกทาง เพราะฉะนั้นเราจึงได้บวช

โดยเวลาไม่นานเลยเราก็เป็นผู้แกล้วกล้า ในธรรมทุกอย่าง ได้รับสมมติให้เป็นเจ้าหมู่เจ้า คณะ ในพระพุทธพจน์อันละเอียด


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 392

ครั้งนั้น เราได้ร้อยกรองคาถา ๔ คาถา ซึ่ง มีพยัญชนะสละสลวย ชมเชยพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ในโลก ๓ ทรงแสดงธรรมทุกวัน

พระองค์เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด มี ความเพียรมาก ทรงอยู่ในสงสาร ที่มีภัย ไม่ เสด็จนิพพาน ก็เพราะพระกรุณา ฉะนั้นพระมุนีเจ้าจึงชื่อว่าทรงประกอบด้วยพระกรุณา

เพราะเหตุนั้น สัตว์ที่เป็นปุถุชนแต่ไม่ ตกอยู่ในอำนาจกิเลส มีสัมปชัญญะ ประกอบ ด้วยสตินี้ ไม่ควรจะคิด

กิเลสที่มีกำลังทุรพล อันนอนเนื่องอยู่ ในสันดานของเรา ถูกเผาด้วยไฟคือญาณแล้วไม่ สิ้นไป ข้อนั้นไม่เคยมีเลย

ผู้ใดเป็นที่เคารพของโลกทั้งปวง เป็น ผู้เลิศในโลก และเป็นอาจารย์ของโลก โลกย่อม อนุวัตรตามผู้นั้น

เราประกาศพระธรรมเทศนาสดุดีพระสัมพุทธเจ้า ด้วยคาถา มีอาทิ ดังกล่าวมาตราบ เท่าสิ้นชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้วได้ไปสวรรค์.

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เรากล่าวสดุดี พระพุทธเจ้าใด เพราะกล่าวสดุดีนั้น เราไม่รู้จัก ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการกล่าวสดุดี


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 393

ครั้งนั้น เราได้เสวยราชสมบัติใหญ่อัน เป็นทิพย์ในโลก ได้เสวยราชสมบัติใหญ่ของ พระเจ้าจักรพรรดิ ก็มากครั้ง

เราเกิดแต่ในสองภพ คือ ในเทวดาและ มนุษย์ ไม่รู้จักคติอื่น นี้เป็นผลแห่งการกล่าวสดุดี.

เราเกิดแต่ในสองสกุล คือ สกุลกษัตริย์ และสกุลพราหมณ์ หาเกิดในสกุลที่ต่ำทรามไม่ นี้เป็นผลแห่งการกล่าวสดุดี

ก็ในภพสุดท้าย ในบัดนี้ เราเป็นโอรส ของพระเจ้าพิมพิสาร ในพระนครราชคฤห์อัน อุดม มีนามว่า อภัย

เราไปสู่อำนาจของบาปมิตร สมาคมกับ นิครนถ์ อันนิครนถ์นาฏบุตรส่งไป จึงได้เฝ้า พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เราทูลถามปัญหาอัน ละเอียดสุขุม ได้สดับการฟังพยากรณ์อย่างสูงแล้ว จึงบวช ไม่นาน ก็ได้บรรลุพระอรหัต

เราเป็นผู้กล่าวสดุดีพระชินวรเจ้าทุกเมื่อ เพราะกรรมนั้น เราจึงเป็นผู้มีร่างกายและปากมี กลิ่นหอม เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข

เพราะกรรมนั้นส่งผลให้ เราจึงเป็นคน มีปัญญากล้า มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาเร็ว มี ปัญญามาก และปฏิภาณอันวิจิตร


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 394

เราเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส กล่าวสดุดีพระสยัมภู ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน พระนามว่า ปทุมุตตระ เพราะผลของกรรมนั้น เราจึงไม่ไป อบายภูมิถึงแสนกัป

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอน ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านอภยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบอภยเถราปทาน

๕๔๗. อรรถกถาอภยเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านอภยเถระ มีเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระชินวรพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอัน มากในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในหังสวดีนคร. ท่านได้เจริญวัยแล้ว เป็นผู้ เล่าเรียนจนจบเวทางคศาสตร์ เป็นผู้ฉลาดในลัทธิสมัยของตนและของ ผู้อื่น วันหนึ่งได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มีใจเลื่อมใส กล่าว


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 395

ชมพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาทั้งหลาย. ท่านดำรงอยู่ในมนุษยโลกนั้นจน ตลอดอายุ ได้ทำบุญทั้งหลายไว้ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปบังเกิดใน เทวโลก ท่องเที่ยวไปมาเฉพาะแต่ในสุคติภพเท่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร ในกรุงราชคฤห์ พระราชบิดาและพระราชมารดาได้ทรงขนานพระนามพระราชโอรสนั้นว่า อภยกุมาร. พระราชกุมารนั้น พอได้เจริญวัยแล้ว ก็ได้เป็นผู้คุ้นเคยกับพวกนิครนถ์ท่องเที่ยวไปด้วยกัน วันหนึ่ง ถูกนิครนถ์นาฎบุตร ส่งไปเฝ้าพระศาสดาเพื่อยก วาทะขึ้นกล่าวแย้ง ได้ทูลถามปัญหาอันสุขุมละเอียด ได้ฟังคำพยากรณ์อัน ละเอียดแล้ว มีความเลื่อมใส บวชในสำนักของพระศาสดา ได้ส่งญาณไปตาม ลำดับกัมมัฏฐานแล้ว ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต.

ท่านครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตนได้ เกิด ความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาล ก่อนจึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. คำนั้นทั้งหมด มี เนื้อความพอจะกำหนดได้โดยง่ายเลยทีเดียวแล.

จบอรรถกถาอภยเถราปทาน