[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 1
เอกนิบาต
ปาฏิโภควรรคที่ ๑
๑. โลภสูตรว่าด้วยละโลภะได้เป็นพระอนาคามี 179/1
อารัมภกถา 3
อธิบายอิติวุตตกะ 5
นิทานวรรณนา, อธิบายวุตตศัพท์ 6
อธิบาย หิและเอตํศัพท์ 7
อธิบายคําว่า ภควา 8
ความหมายของภควาอีกนัยหนึ่ง 10
๑. ทรงมีภาคธรรม 11
๒. ทรงอบรมพุทธกรธรรม 13
๓. ทรงเสพภาคธรรม 14
๔. ทรงเสพภคธรรม 16
๕. ทรงมีคนภักดี 17
๖. ทรงคายภคธรรม 19
๗. ทรงคายภาคธรรม 20
ความหมายของอรหํ 22
เหตุผลที่กล่าววุตฺตํไว้สองครั้ง 29
อธิบายอิติศัพท์ 35
อธิบาย บทว่า นานานยนิปุณํเป็นต้น 36
อธิบายคําว่า ปาฏิหาริย์ 37
เม ศัพท์ใช้ในอรรถ ๓ อย่าง 40
อธิบาย สุตะศัพท์ 41
ประวัตินางขุชชุตตรา 52
อดีตชาติของนางขุชชุตตรา 55
อิติวุตตกะมี ๑๑๒ สูตร 57
กล่าวคํานิทานไว้ทําไม? 58
เอกนิบาตวรรณนา 61
ว่าด้วยการละ ๕ อย่าง 67
ว่าด้วยปุจฉา ๕ 70
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 1
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ
เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๔
เอกนิบาต
ปาฏิโภควรรคที่ ๑
๑. โลภสูตร
ว่าด้วยละโลภะได้เป็นพระอนาคามี
[๑๗๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่งได้ เราเป็นผู้รับรองเธอทั้งหลาย เพื่อความเป็นพระอนาคามี ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่ง คือ โลภะ เราเป็น ผู้รับรองเธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 2
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้โลภแล้ว ด้วยความโลภอันใด ย่อมไปสู่ทุคติ ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดี ซึ่งความโลภอันนั้น ย่อมละเสียได้ ครั้นละได้แล้ว ย่อมไม่มาสู่โลกนี้อีกในกาลไหนๆ.
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล.
จบโลภสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 3
อรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อปรมัตถทีปนี
อิติวุตตกวรณนา
อารัมภกถา
ข้าพเจ้าขอวันทาพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงเป็นนาถะ ผู้มีพระทัยเปี่ยมล้นไป ด้วยพระมหากรุณาคุณ เสด็จถึงฝั่งสาคร คือไญยธรรมได้แล้ว ทรงมีนัยเทศนาอัน วิจิตรสุขุมคัมภีรภาพ. ข้าพเจ้าขอวันทาพระธรรมนั้น อัน อุดมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบูชา ที่นำพาพระอริยสาวกทั้งหลายผู้ สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะให้พ้นไปจาก โลก.
ข้าพเจ้าขอวันทาพระสงฆ์ ผู้เป็น พระอริยะนั้น สถิตมั่นอยู่ในมรรคและผล สมบูรณ์แล้วด้วยศีลาทิคุณเป็นนาบุญอย่าง เยี่ยมยอด.
ด้วยเดชานุภาพแห่งบุญที่เกิดจากการ วันทาพระรัตนตรัยดังได้พรรณนามานี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 4
ขอข้าพเจ้าจงปลอดภัยจากอันตรายในที่ทุก สถาน ในกาลทุกเมื่อเทอญ. พระธรรม สังคาหกเถระทั้งหลายผู้จำพรรษาอยู่ในบุรี มีปกติแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้รวบรวม พระสูตรทั้งหลายที่พระผู้แสวงหาคุณธรรม อันยิ่งใหญ่ได้ทรงแสดงไว้แล้ว โดยแยก เป็นนิบาต มีเอกนิบาตเป็นอาทิอันส่อง แสดงถึงการละซึ่งกิเลสทั้งหลายมีโลภะ เป็นต้น ไว้อย่างวิเศษเข้าเป็นสายเดียวกัน แล้วร้อยกรองบทอักษรดังกล่าวมานี้ โดย เรียกชื่อว่า "อิติวุตตกะ" อันที่จริง การ แต่งอรรถกถาพรรณนาความลำดับบทที่มี อรรถอันลึกซึ้ง ในขุททกนิกายเป็นสิ่งที่ ข้าพเจ้าทำได้ยาก เพราะเป็นอรรถที่จะพึง หยั่งถึงได้ก็ด้วยคัมภีรญาณ แต่เพราะเหตุ ที่อรรถกถาจะช่วยทรงศาสนาของพระศาสดาไว้ได้ ทั้งวินิจฉัยของบรรดา บุรพาจารย์ผู้เปรียบปานด้วยราชสีห์ก็จะยัง คงดำรงอยู่ด้วย ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักแต่ง อรรถกถา "อิติวุตตกะ" ไว้ให้ดีตามกำลัง โดยจะยึดวินิจฉัยของบรรดาบุรพาจารย์นั้น เป็นหลัก ถือนิกาย ๕ เป็นเกณฑ์ อิงอาศัย นัยจากอรรถกถาเก่า แม้จะเป็นเพียงคำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 5
บอกกล่าวของนิสิต แต่ก็บริสุทธิ์ ไม่ คลาดเคลื่อน เป็นการวินิจฉัยอรรถที่ ละเอียดของบรรดาบุรพาจารย์คณะมหาวิหารแล้วเว้นความที่ซ้ำๆ กันเสีย. สาธุชนทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย ได้โปรดตั้งใจสดับการพรรณนาความแห่ง อรรถกถา "อิติวุตตกะ" นั้น ของข้าพเจ้า ผู้หวังให้พระสัทธรรมดำรงมั่นอยู่ได้นาน จะได้จำแนกต่อไปนี้.
อธิบายอิติวุตตกะ
ในคาถานั้น ชื่อว่า อิติวุตตกะจัดเป็นนิบาต ๔ อย่าง คือ เอกนิบาต ทุกนิบาต ติกนิบาต จตุกกนิบาต. อิติวุตตกะแม้นั้นนับเนื่องในสุตตันตปิฎก ในปิฎก ๓ อย่าง คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก. นับเนื่องใน ขุททกนิกาย ในนิกาย ๕ อย่าง คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย. จัดเป็นอิติวุตตกะ ในนวังคสัตถุศาสน์ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ. สงเคราะห์เข้าในธรรมขันธ์จำนวนเล็กน้อย ในธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ ที่พระอานนทเถระผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริกปฏิญญาไว้ อย่างนี้ว่า
ธรรมเหล่าใดที่เป็นไปแก่ข้าพเจ้า ธรรมเหล่านั้น ข้าพเจ้าเรียนจากพระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐ จากภิกษุ ๒,๐๐๐ รวมเป็น ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 6
โดยพระสูตร รวมพระสูตรไว้ ๑๑๒ พระสูตร คือ ในเอกนิบาต ๒๗ สูตร ในทุกนิบาต ๒๒ สูตร ในติกนิบาต ๕๐ สูตร ในจตุกนิบาต ๑๓ สูตร. อิติ- วุตตกะนั้น ในบรรดานิบาต มีเอกนิบาตเป็นนิบาตแรก ในบรรดาวรรค มีปาฎิโภควรรคเป็นวรรคแรก ในบรรดาสูตรมีโลภสูตรเป็นสูตรแรก. อนึ่ง อิติวุตตกะแม้นั้น มีคำขึ้นต้นที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ในคราวทำสังคายนา ใหญ่ครั้งแรก มีอาทิว่า วุตฺตํ เหตํ ภควคา เป็นคำแรก. ก็การสังคายนา ใหญ่ครั้งแรกนี้นั้น ยกขึ้นสู่แบบแผน ปรากฏอยู่ในวินัยปิฎกแล้วแล. อนึ่ง กถามรรคใดจะพึงกล่าวไว้ เพื่อจะได้เข้าใจในคำขึ้นต้นในที่นี้ กถามรรค แม้นั้นก็ได้กล่าวไว้แล้ว โดยพิสดารในอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อ สุมังคลวิลาสินี เพราะเหตุนั้น นักศึกษาพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้ ในอรรถกถานั้นเถิด.
นิทานวรรณนา
ก็คำขึ้นต้นมีอาทิว่า วุตฺตํ เหตํ ภควตา และพระสูตรมีอาทิว่า เอกธมฺมํ ภิกฺขเว ปชหถ นี้ใด ในคำขึ้นต้นและพระสูตรนั้น บททั้งหลาย มีอาทิว่า วุตฺตํ ภควตา เป็นบทนาม. บทว่า อิติ เป็นบทนิบาต. บทว่า ป ในบทว่า ปชหถ นี้ เป็นบทอุปสรรค. ว่า ชหถ เป็นบทอาขยาต. พึงทราบการจำแนกบทในที่ทุกแห่งตามนัยนี้.
อธิบายวุตตศัพท์
อนึ่ง โดยอรรถ วุตตศัพท์ที่มีอุปสรรคและไม่มีอุปสรรดูก่อน ย่อม ปรากฏในอรรถทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ การหว่านพืช การทำพืชที่หว่านให้ เสมอกัน การโกนผม การเลี้ยงชีวิต ความหลุดพ้น การเป็นไปโดยความเป็น ปาพจน์ การเล่าเรียน การกล่าว.
จริงอย่างนั้น วุตตศัพท์นั่นมาในการหว่านพืช ในประโยคเป็นต้นว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 7
โคทั้งหลายของเขากำลังตกลูก พืช ที่หว่านในนากำลังงอก ผู้ใดไม่ประทุษ- ร้ายต่อมิตรทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมได้บริโภค ผลของพืชทั้งหลายที่หว่านไว้แล้ว.
มาในการทำพืชที่หว่านให้เสมอกันด้วยวัตถุทั้งหลายมีคราดเป็นต้น ในประโยค มีอาทิว่า โน จ โข ปฏิวุตฺตํ. มาในการโกนผมในประโยคมีอาทิว่า มาณพหนุ่มชื่อ กาปฏิกะ โกนผมแล้ว. มาในการเลี้ยงชีวิต ในประโยคมิอาทิว่า มีขนตก อาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีวิต มีจิตตั้งมฤคอยู่. มาในความหลุดพ้นจากเครื่อง ผูก ในประโยคมีอาทิว่า ใบไม้เหลืองหลุดจากขั้ว ไม่สามารถกลับเป็นของ เขียวสดได้อีก แม้ฉันใด. มาในการเป็นไปโดยความเป็นปาพจน์ ในประโยค มีอาทิว่า คนเหล่าใดขับ ร่าย สาธยายมนต์บทเก่านี้ ในบัดนี้. มาในการ เล่าเรียนในประโยคมีอาทิว่า ก็คุณที่เล่าเรียนในโลก เป็นคุณที่จะต้องเล่าเรียน ต่อไป. มาในการกล่าวในประโยคมีอาทิว่า ก็แลสมดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาท ของเราตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย. แต่ในที่นี้ วุตตศัพท์พึงเห็นว่า ใช้ในการกล่าว เพราะเหตุนั้น จึงมีความหมายว่า พูด บอก กล่าว. ส่วน วุตตศัพท์ที่สอง พึงทราบว่า ใช้ในคำพูดและในภาวะที่ประพฤติแล้ว.
อธิบาย หิ และเอตํศัพท์
ศัพท์ว่า หิ เป็นนิบาต ใช้ในความหมายนี้ว่า แน่แท้ ชัดแจ้ง. หิ ศัพท์นั้นส่องความว่า สูตรที่จะกล่าวในบัดนี้ เป็นสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างชัดแจ้ง. นิบาตทั้งหลายประกอบด้วยความประชุมพร้อมแห่งศัพท์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 8
ที่บอกความหมาย. จริงอยู่ นิบาตเหล่านั้น ช่วยขยายความที่จะพึงกล่าวให้ ชัดขึ้น.
เอตํ ศัพท์ในบทว่า เอตํ นี้ มาในอรรถว่า ประจักษ์ชัดในที่ใกล้ชิด ตามที่กล่าวแล้ว ในประโยคมีอาทิว่า
ก็บุคคลใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิด ความพ้นทุกข์ และอริยมรรคมีองค์ ๘ อันมีปกติยังผู้ปฏิบัติ ให้ถึงความพ้นทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ การถึงสรณะของบุคคลนั้นนั่นแล เป็นที่ พึงอันเกษม นั่นเป็นที่พึ่งอันสูงสุด เพราะ ว่าบุคคลอาศัยสรณะนั่นแล้ว ย่อมพ้นจาก ทุกข์ทั้งหมด.
แต่ที่มาในอรรถว่า ประจักษ์ชัดในที่ใกล้ชิดที่กำลังกล่าวถึงอยู่ ใน ประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลปุถุชนเมื่อกล่าวสรรเสริญคุณของพระ ตถาคตพึงกล่าวด้วยคำสรรเสริญ คำสรรเสริญนั่นเป็นเพียงเล็กน้อย เพียงขึ้นต่ำ เพียงแค่ศีล. อนึ่ง ในที่นี้ เอตํ ศัพท์พึงเห็นว่า ใช้ในความหมายว่า ประจักษ์ ชัดในที่ใกล้ชิดที่กำลังกล่าวถึงอยู่นั่นแล. เพราะว่า สูตรที่กำลังกล่าวถึง ด้วย สามารถแห่งการพิจารณา พระอานนท์เถระผู้ธรรมภัณฑาคาริก ดำรงอยู่แล้ว ในวุฒิธรรมกล่าวไว้ในครั้งแรกว่า เลตํ ดังนี้.
อธิบายคำว่า ภควา
ในบทว่า ภควตา นี้ พึงทราบอธิบายดังนี้ บทว่า ภควา เป็น คำเรียกบุคคลผู้เป็นที่เคารพ. เป็นความจริง คนทั้งหลายในโลกมักเรียกบุคคล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 9
ผู้เป็นที่เคารพว่า ภควา. และพระตถาคต ชื่อว่า เป็นที่เคารพของสัตว์ทั้งหลาย เพราะทรงวิเศษด้วยสรรพคุณ เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ภควา. แม้พระ โบราณาจารย์ทั้งหลาย ก็ได้กล่าวไว้ว่า
คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐที่สุด คำว่า ภควา เป็นคำสูงสุด พระตถาคตนั้น ทรงเป็นผู้ควรแก่ความเคารพคารวะ ด้วย เหตุนั้น จึงขนานพระนานว่า ภควา.
อันที่จริง คำพูดที่ระบุถึงบุคคลผู้ประเสริฐที่สุด กล่าวกันว่า ประเสริฐ ที่สุด เพราะดำเนินไปด้วยกันกับคุณอันประเสริฐที่สุด. อีกประการหนึ่ง ที่ชื่อ ว่า วจนะ เพราะอรรถว่า อันบุคคลกล่าว ได้แก่ความหมาย. เพราะเหตุนั้น ในบทว่า ภควาติ วจนํ เสฏํ จึงมีความหมายว่า ความหมายใดที่จะพึง พูดด้วยคำว่า ภควา นี้ ความหมายนั้นประเสริฐที่สุด. แม้ในบทว่า ภควาติ วจนมุตฺตมํ นี้ ก็นัยนี้แล. บทว่า คารวยุตฺโต ได้แก่ ชื่อว่า ทรงเป็นผู้ ควรแก่ความเคารพคารวะ เพราะทรงประกอบด้วยคุณของบุคคลผู้เป็นที่เคารพ. อีกประการหนึ่ง พระตถาคต ชื่อว่า ทรงควรแก่ความเคารพ ก็เพราะเหตุที่ ทรงควรซึ่งการการทำความเคารพอย่างดียิ่ง. หมายความว่า ทรงควรแก่ความ เคารพ. เมื่อเป็นเช่นนั้น คำว่า ภควา นี้ จึงเป็นคำเรียกบุคคลผู้วิเศษโดยคุณ บุคคลผู้สูงสุดกว่าสัตว์ และบุคคลผู้เป็นที่เคารพคารวะ ดังนี้แล.
อีกประการหนึ่ง พึงทราบความหมายของบทว่า ภควา ตามนัยที่มา ในนิทเทสว่า
พระพุทธเจ้านั้น บัณฑิตขนานพระ นามว่า ภควา เพราะเหตุที่พระองค์ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 10
มีภคธรรม ๑ ทรงมีปกติเสพภคธรรม ๑ ทรงมีภาคธรรม ๑ ทรงจำแนกแจกแจง ธรรม ๑ ทรงทำลายนามรูป ๑ ทรง เป็นที่เคารพ ๑ ทรงมีภาคยธรรม ๑ ทรงมีพระองค์อบรมดี แล้วด้วยญายธรรม จำนวนมาก ๑ ทรงถึงที่สุดแห่งภพ ๑.
และด้วยอำนาจแห่งคาถานี้ว่า
เพราะเหตุที่ พระพุทธเจ้าทรงมีภาคยธรรม ๑ ทรงมีภัคคธรรม ๑ ทรงประกอบ ด้วยภัคคธรรม ๑ ทรงจำแนกแจกแจง ธรรม ๑ ทรงมีคนภักดี ๑ ทรงคายการ ไปในภพทั้งหลาย ๑ ฉะนั้น จึงได้รับ ขนานพระนามว่า ภควา.
ก็ความหมายนี้นั้น ได้กล่าวไว้แล้วในพุทธานุสตินิทเทส ในวิสุทธิมรรค อย่างครบถ้วน เพราะเหตุนั้น นักศึกษาพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วใน วิสุทธิมรรคนั้นเถิด.
ความหมายของภควาอีกนัยหนึ่ง
อีกนัยหนึ่ง. พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม
พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ผู้อบรมพุทธกรรม
พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภาคธรรม
พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภคธรรม
พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีคนภักดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 11
พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภคธรรม
พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภาคธรรม.
พระชินเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม ๑ ทรงอบรมพุทธกรธรรม ๑ ทรงเสพภาคธรรม ๑ ทรงเสพภคธรรม ๑ ทรงมีคน ภักดี ๑ ทรงคายภคธรรม ๑ ทรงคายภาคธรรม ๑.
ในความหมายเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
๑. ทรงมีภาคธรรม
พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม เป็นอย่างไร? คือ กองธรรม ได้แก่ ส่วนแห่งคุณมีศีลเป็นต้น ที่วิเศษยิ่ง ไม่สาธารณ์แก่บุคคลอื่นมีอยู่ คือ หาได้เฉพาะแก่พระตถาคตเจ้า จริงอย่างนั้น พระตถาคตเจ้านั้น ทรงมี คือ ทรงได้ภาคแห่งคุณ ได้แก่ ส่วนแห่งคุณอันเป็นนิรัติสัย (ไม่มีส่วนแห่งคุณอื่นที่ยิ่งกว่า) ไม่จำกัดประเภท ไม่มีที่สุด ไม่สาธารณ์แก่บุคคลอื่น มีอาทิอย่างนี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ หิริ โอตตัปปะ ศรัทธา วิริยะ สติ สัมปชัญญะ สีลวิสุทธิ จิตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ สมถะ วิปัสสนา กุศลมูล ๓ สุจริต ๓ สัมมาวิตก ๓ อนวัชชสัญญา ๓ ธาตุ ๓ สติปัฎฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๘ อริยมรรค อริยผล ๔ ปฎิสัมภิทา ๔ ญาณกำหนดรู้กำเนิด ๔ อริยวงศ์ ๔ เวสารัชชญาณ ๔ องค์ของภิกษุผู้ บำเพ็ญเพียร ๕ สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ สัมมาสมาธิมีญาณ ๕ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ นิสสารณียธาตุ ๕ วิมุตตายตนญาณ (ญาณเป็นบ่อเกิดแห่งวิมุตติ) ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 12
วิมุตติปริปาจนียปัญญา (ปัญญาเป็นเครื่องบ่มวิมุตติ) ๕ อนุสสติฐาน (ที่ตั้งแห่งอนุสสติ) ๖ คารวะ ๖ นิสสารณียธาตุ ๖ สัตตวิหารธรรม ๖ อนุตริยะ ๖ นิพเพธภาคิยสัญญา ๖ อภิญญา ๖ อสาธารณญาณ ๖ อปริหานิยธรรม ๗ อริยทรัพย์ ๗ โพชฌงค์ ๗ สัปปุริสธรรม ๗ นิชชรวัตถุ ๗ สัญญา ๗ เทศนาว่าด้วยทักขิไณยบุคคล ๗ เทศนาว่าด้วย พลธรรมของพระขีณาสพ ๗ เทศนาว่าด้วยหตุให้ได้ปัญญา ๘ สัมมัตตธรรม ๘ การล่วงพ้นโลกธรรม ๘ อารัมภวัตถุ ๘ อักขณเทศนา (เทศนาว่าด้วยขณะที่ไม่สามารถประพฤติพรมจรรย์ได้) ๘ มหาบุรุษวิตก ๘ เทศนา ว่าด้วยอภิภายตนะ ๘ วิโมกข์ ๘ ธรรมที่มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ๙ องค์ ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๙ เทศนาว่าด้วยสัตตาวาส ๙ อุบาย กำจัดอาฆาตวัตถุ สัญญา ๙ นานัตตธรรม ๙ อนุปุพพวิหารธรรม ๙ นาถกรณธรรม ๑๐ กสิณายตนะ (บ่อเกิดกสิณ) ๑๐ กุศลกรรมบถ ๑๐ สัมมัตตธรรม ๑๐ อริยวาสธรรม ๑๐ อเสกขธรรม ๑๐ ตถาคตพละ ๑๐ อานิสงส์เมตตา ๑๑ อาการธรรมจักร ๑๒ ธุดงค์คุณ ๑๓ พุทธญาณ ๑๐ วิมุตติปริปาจนียธรรม ๑๕ อานาปานสติ ๑๖ อตปนียธรรม ๑๖ พุทธธรรม ๑๘ ปัจจเวกขณญาณ ๑๙ ญาณวัตถุ ๔๔ อุทัยพพยญาณ ๕๐ กุศลธรรมมากกว่า ๕๐ ญาณวัตถุ ๗๗ สมาบัติสองล้านสี่แสนโกฎิ มหาวชิรญาณ ๕ เทศนานัยว่าด้วยการพิจารณาปัจจัยในอนันตนยสมันตปัฏฐานปกรณ์ และญาณแสดงถึงอาสยะเป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายไม่มีที่สุดในโลกธาตุอันไม่มี ที่สุด. เพราะเหตุนั้น เมื่อควรจะขนานพระนามว่า ภาควา เพราะเหตุที่ทรง มีภาคแห่งคุณ ตามที่ได้กล่าวจำแนกไว้แล้ว ท่านก็ขนานพระนามว่า ภควา โดยรัสสะ อา อักษรเป็น อะ อักษร. พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม ดังพรรณนามานี้ก่อน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 13
เพราะเหตุที่ภาคแห่งคุณทั้งหมด มี ศีลเป็นต้น มีอยู่ในพระสุคตอย่างครบถ้วน ฉะนั้น บัณฑิต จึงขนานพระนามพระองค์ ว่า ภควา.
๒. ทรงอบรมพุทธกรธรรม
พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรง อบรมพุทธกรธรรมเป็นอย่างไร คือ พุทธกรธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า) เหล่านั้นใดมีอาทิอย่างนี้ คือ บารมี ๑๐ ได้แก่ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ รวมเป็นบารมี ๓๐ ถ้วน สังคหวัตถุ ๔ มีทานเป็นต้น อธิษฐานธรรม ๔ มหาบริจาค ๕ คือ การบริจาคร่างกาย การบริจาคนัยนา (ดวงตา) การบริจาค ทรัพย์ การสละราชสมบัติ การบริจาคบุตรและภรรยา บุพประโยค บุพจริยา การกล่าวธรรม พระจริยาที่เป็นประโยชน์แก่โลก พระจริยาที่เป็นประโยชน์ แก่พระญาติ พระจริยาที่เป็นประโยชน์ในฐานะเป็นพระพุทธเจ้า ที่พระมหาสัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความขวนขวาย เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งมวล ผู้ประมวลธรรม ๘ ประการ มีความเป็นมนุษย์เป็นต้นไว้อย่างพร้อมมูลแล้ว กระทำมหาภินิหารไว้ เพื่อบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ควรบำเพ็ญให้บริบูรณ์ หรือเมื่อว่าโดยย่อ คือ พุทธกรธรรมที่เป็นเหตุเพิ่มบุญ เพิ่มญาณ (ปัญญา) พุทธกรธรรมเหล่านั้นที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ คือ สั่งสมมา โดยเคารพอย่าง ครบถ้วนไม่ขาดสาย สิ้นเวลา ๔ อสงไขย กำไรแสนกัป นับแต่มหาภินิหาร (ที่ได้รับจากพระพุทธที่ปังกร) มา โดยที่พุทธกรธรรมเหล่านั้นมิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 14
ได้อยู่ในภาคเสื่อม มิได้อยู่ในภาคเศร้าหมอง หรือมิได้อยู่ในภาคหยุดชะงัก โดยที่แท้อยู่ในภาคคุณวิเศษที่สูงๆ ขึ้นไป มีอยู่แก่พระองค์ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า ภตวา (ผู้บำเพ็ญพุทธกรธรรม) ดังนั้น เมื่อควรขนานพระนามว่า ภตวา แต่กลับถวาย พระนามว่า ภควา เพราะ แปลงอักษร ต ให้เป็นอักษร ค ตามนัยแห่งนิรุกติศาสตร์. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภตวา มีความว่า ทรงสั่งสม คือ อบรมไว้ ได้แก่บำเพ็ญพุทธกรธรรม ตามที่กล่าวแล้วนั้นนั่นแล. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะ หมายความว่า ทรงอบรมพุทธกรธรรม แม้ด้วยประการฉะนี้.
เพราะเหตุที่พระโลกนาถ ทรงอบรม สัมภารธรรมทั้งหมด มีทานบารมีเป็นต้น เพื่อพระสัมมาสัมโพธิญาณ ฉะนั้น จึง ถวายพระนามว่า ภควา.
๓. ทรงเสพภาคธรรม
พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพ ภาคธรรมเป็นอย่างไร? คือ ส่วนแห่งสมาบัติที่ใช้ทุกวันนับได้จำนวนสองหมื่น สี่พันโกฏิเหล่าใดมีอยู่ พระพุทธเจ้าทรงใช้ ทรงคบ ทรงส้องเสพ ได้แก่ ทรงทำให้มากอยู่เนืองนิตย์ ซึ่งส่วนแห่งสมาบัติเหล่านั้นไม่มีเหลือ เพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลก และเพื่อประทับอยู่อย่างเป็นสุขในปัจจุบันของ พระองค์ เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภาคธรรม. อีกประการหนึ่ง ในธรรมทั้งหลายที่ควรรู้ยิ่ง มีกุศล เป็นต้น และมีขันธ์เป็นต้น ธรรมเหล่าใดเป็นส่วนที่ควรรู้ยิ่งด้วยอำนาจเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 15
ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นต้น หรือเป็นส่วนที่ควรรู้ยิ่ง โดยย่อก็มีอยู่ ๔ อย่าง แต่เมือว่าโดยพิสดารก็คือ ธรรมทั้งหลายเป็นส่วนที่ควรกำหนดรู้หลายประเภท โดยนัยเป็นต้นว่า จักษุเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ฯลฯ ชราและมรณะเป็นสิ่งที่ ควรกำหนดรู้ ๑ ธรรมทั้งหลายเป็นส่วนที่ต้องละหลายประเภท โดยนัยเป็นต้น ว่า เหตุเกิดของจักษุต้องละ ฯลฯ เหตุเกิดของชราและมรณะต้องละ ๑ ธรรม ทั้งหลายเป็นส่วนต้องทำให้แจ้งหลายประเภทโดยนัยเป็นต้นว่า การดับของจักษุ ต้องทำให้แจ้ง ฯลฯ การดับของชราและมรณะต้องทำให้แจ้ง ๑ ธรรมทั้งหลาย เป็นส่วนต้องทำให้เจริญหลายประเภทโดยนัยเป็นต้นว่า ปฏิปทาที่มีปกติให้ถึง ความดับแห่งจักษุต้องเจริญ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ ต้องเจริญ ๑ ธรรมเหล่านั้น ทั้งหมด พระพุทธเจ้าทรงใช้ ทรงคบ ทรงเสพด้วยอำนาจอารมณ์ ภาวนา และอาเสวนะตามควร. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความ ว่า ทรงเสพภาคธรรมดังพรรณนามาฉะนี้
อีกประการหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงเสพ ทรงปรารถนาด้วยพระมหากรุณาว่า หมวดธรรมมีศีลเป็นต้นเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณคือ เป็นภาคแห่ง คุณทีทั่วไป ทำไฉนหนอ หมวดธรรมเหล่านั้นจะพึงดำรงมั่นอยู่ในสันดานของ เวไนยสัตว์. และความปรารถนานั้นของพระองค์ ก็ได้นำผลมาให้สมพระประสงค์. พระพุทธเจ้าจึงทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภาคธรรม ดังพรรณนามาฉะนี้.
เพราะเหตุที่พระตถาคตเจ้า ทรงเสพ ทรงปรารถนาภาคแห่งคุณ คือ การบรรลุ ไญยธรรมเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ สัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 16
๔. ทรงเสพภคธรรม
พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพ ภคธรรม เป็นอย่างไร? คือ ว่าโดยย่อก่อน สมบัติทั้งหลายทั้งที่เป็นโลกิยะ และโลกุตระชื่อว่า ภคะ เพราะอันบุคคลทั้งหลายผู้ทำบุญไว้แล้ว ถึงพร้อมด้วย ปโยคะ เสพได้ตามควรแก่สมบัติ. ก่อนอื่นในภคธรรมทั้งสองนั้น ภคธรรม ที่เป็นโลกิยะอันสูงสุดอย่างยิ่งยวด พระตถาคตเจ้า ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ก่อนที่จะได้ตรัสรู้ ก็ได้เสวย คบ เสพมาแล้ว ซึ่งพระองค์ทรงดำรงอยู่ แล้ว จึงได้พิจารณาพุทธกรรรมอย่างครบถ้วน บ่มพุทธธรรมให้สุกเต็มที่ ต่อ เมื่อได้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ได้เสวย คบ เสพภคธรรมเหล่านั้น อันเป็น โลกุตระประกอบด้วยภาวะอันไม่มีโทษลึกซึ้ง ไม่สาธารณ์แก่บุคคลอื่น. ส่วนที่ ว่าโดยพิสดาร พระตถาคตเจ้า (ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์) ก็ได้เสวย คบ เสพ ภคธรรม (อันเป็นโลกิยะ) ที่ไม่สาธารณะแก่บุคคลอื่นหลายอย่างคือ ความ เป็นพระเจ้าประเทศ ความเป็นเอกราช จักรพรรดิราชสมบัติ และเทวราชสมบัติเป็นต้น และครั้นได้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ได้เสวย คบ เสพภคธรรม (อันเป็นโลกุตระ) ที่ไม่สาธารณะแก่บุคคลอื่นหลายอย่างคือ อุตริมนุสธรรม มีฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ การเจริญมรรคและการทำ ผลให้แจ้งเป็นต้น.
พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะความหมายว่า ทรงเสพ ภคธรรม ดังพรรณนามาฉะนี้.
เพราะเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสพโลกิยสมบัติ และโลกุตรสมบัติ จำนวนมาก ฉะนั้น จึงได้รับขนานพระนามว่า ภควา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 17
๕. ทรงมีคนภักดี
พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีคน ภักดี เป็นอย่างไร? คือ พระองค์ทรงมีคนภักดี คือ มีคนที่ภักดีอย่างมั่นคง อยู่มาก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทรงมีคนภักดี. เป็นความจริง พระตถาคตเจ้า ชื่อว่า สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ เพราะพรั่งพร้อมด้วยคุณวิเศษที่มีอำนาจหาที่เปรียบ ประมาณมิได้ อาทิพระมหากรุณาและพระสัพพัญญุตญาณ ชื่อว่า สูงสุดกว่า สรรพสัตว์ เพราะทรงมีอุปการะอย่างยิ่งยวดในหมู่สัตว์กับทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปโยคสมบัติอันยอดเยี่ยม นิรัติสัย มีการบำบัดสิ่งไม่เป็นประโยชน์ถึงก่อน มีการจัดสิ่งที่เป็นประโยชน์สุขให้ครบถ้วนเป็นเบื้องหน้า ชื่อว่า สูงสุดกว่า สรรพสัตว์ เพราะทรงมีรูปกายประดับด้วยคุณวิเศษอันไม่สาธารณะแก่บุคคล อื่น เช่น มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ อนุพยัญชนะ ๘๐ และพระรัศมีที่ แผ่ซ่านออกไปวาหนึ่งเป็นต้น ชื่อว่า สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ เพราะทรงประกอบ ด้วยเสียงสดุดีที่แสนไพบูลย์แสนบริสุทธิ์ แผ่ไปในไตรโลกเป็นไปโดยนัยเป็นต้น ว่า อิติปิโส ภควา ซึ่งพระองค์ทรงได้มาจากพระคุณตามที่เป็นจริง ชื่อว่า สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ เพราะทรงดำรงมั่นอยู่ในพระคุณ มีความมักน้อยและ ความสันโดษเป็นต้นที่ถึงขั้นเป็นบารมีขั้นสูงสุด ชื่อว่า สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ เพราะทรงประกอบด้วยคุณวิเศษอันยิ่งยวดมีทสพลญาณ และจตุเวสารัชชญาณ เป็นต้น ชื่อว่า ทรงเป็นยอด คือ ทรงเป็นฐานให้เกิดความภักดีอย่างพร้อม มูล เพราะทรงเป็นบ่อเกิดแห่งความเอื้อเฟื้อ ความนับถือและความเคารพ อย่างมากของสัตว์ทั้งหลายไม่จำกัดรวมทั้งเทวดาและมนุษย์ เพราะทรงเป็นผู้ที่ น่าเลื่อมใสทุกด้าน โดยทรงนำความเลื่อมใสมาให้โดยประการทั้งปวงในโลกสันนิวาสผู้ยึดถือประมาณ ๔ อย่างนี้ คือ ผู้ถือรูปเป็นประมาณก็เลื่อมใสในรูป ๑ ผู้ถือเสียงเป็นประมาณก็เลื่อมใสในเสียง ๑ ผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 18
ก็เลื่อมใสในความเศร้าหมอง ๑ ผู้ถือธรรมเป็นประมาณก็เลื่อมใสในธรรม ๑. บุคคลเหล่าใดตั้งอยู่ในโอวาทของพระองค์ ประกอบพร้อมด้วยความเลื่อมใสอัน ไม่หวั่นไหว ความภักดีของบุคคลเหล่านั้น อันใครๆ จะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม ก็ลักไปไม่ได้. เป็นความจริง บุคคลเหล่านั้น แม้ตนเองจะต้องเสียชีวิต ก็จะไม่ยอมทิ้งความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้านั้น หรือ คำสั่งของพระองค์ ก็เพราะต่างมีความภักดีอย่างมั่นคง. ด้วยเหตุนั้นแล พระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า
ผู้ใดแลเป็นปราชญ์ เป็นผู้กตัญญูกตเวที ผู้นั้นย่อมเป็นกัลยาณมิตรและมีความ ภักดีอย่างมั่นคง
และว่า ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรตั้งอยู่เสมอฝั่งเป็นธรรมดา ไม่ ล้นฝั่ง ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เหล่าสาวกของเราก็จะไม่ยอมล่วงละเมิดสิกขาบท ที่เราตถาคตบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ฉันนั้น เหมือนกันแล. พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีคนภักดี ดังพรรณนามาฉะนี้ เมื่อควรจะขนานพระนามว่า ภตฺตวา แต่กลับขนานพระนามว่า ภควา โดยลบ ต อักษรเสียตัวหนึ่งแล้วแปลง ต อักษรอีกตัวหนึ่งให้เป็น ค อักษร ตามนัยแห่งนิรุกติศาสตร์.
เพราะเหตุที่พระศาสดาผู้ประกอบ ด้วยพระคุณอันยิ่งยอด ทรงมีปกติแสวงหา ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงมีคน ภักดีมาก ฉะนั้น จึงได้รับขนานพระนาม ว่า ภควา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 19
๖. ทรงคายภคธรรม
พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคาย ภคธรรมเป็นอย่างไร? คือ เพราะเหตุที่พระตถาคตเจ้า แม้ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ ได้ทรงคายขยอกทิ้งซึ่งสิริและอิสริยยศ ที่เรียกว่า ภคะ อย่างไม่ใยดีเหมือนทรงบ้วนก้อนเขฬะทิ้งฉะนั้น. จริงอย่างนั้น อัตภาพที่พระองค์ทรงสละสิริราชสมบัติอันเป็นเช่นกับราชสมบัติของเทวดาด้วย อำนาจการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี กำหนดจำนวนไม่ได้ในชาติทั้งหลาย มีอาทิ อย่างนี้ คือ ในคราวเกิดเป็นโสมนัสสกุมาร ในคราวเกิดเป็นหัตถิปาลกุมาร ในคราวเกิดเป็นอโยฆรบัณฑิต ในคราวเกิดเป็นมูคปักขบัณฑิต (พระเตมีย์) ในคราวเกิดเป็นพระเจ้าจูฬสุตโสม. แม้ในอัตภาพก่อนๆ พระองค์ก็มิได้ สำคัญสิริจักรพรรดิราชสมบัติมีความเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ อันเป็นเช่นเดียว กับความเป็นใหญ่ในเทวโลก และยศที่สง่างามด้วยรัตนะ ๗ ซึ่งเป็นที่อาศัย ของสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิทีอยู่แค่เอื้อมว่า ยิ่งไปกว่าหญ้า ทรงละทิ้งไป อย่างไม่ใยดี แล้วเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ จนได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภคธรรมมีสิริ เป็นต้น ดังพรรณนามาฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายชื่อว่า ภค เพราะ เป็นเครื่องไป คือ เป็นไปสม่ำเสมอแห่งนักษัตรทั้งหลายที่ชื่อว่า ภา อัน อาศัยโลกพิเศษซึ่งจำแนกเป็นภูเขาสิเนรุ ยุคันธร อุตตรทวีป กุรุทวีปและ ภูเขาหิมวันต์เป็นต้น ชื่อว่า โสภา เพราะมีความตั้งมั่นตลอดกัป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคาย คือ ทรงละภคธรรม แม้เหล่านั้น ด้วยการละฉันทราคะ อันปฏิพัทธ์ในภคธรรมนั้น เพราะก้าวล่วงซึ่งสัตตาวาสอันอยู่อาศัยภคธรรมนั้น. พระพุทธเจ้าพระนามว่า ภควา เพราะทรงคายภคธรรมทั้งหลาย แม้ด้วย ประการฉะนี้.
* ปาฐะ เป็นมูคผกฺก แต่ในชาดก เป็น มูคผกฺข แปลตามชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 20
พระสุคตพระนามว่า ภควา เพราะ ทรงละจักรพรรดิสิริ ยศ อิสริยะ สุข และการสะสมโลก.
๗. ทรงคายภาคธรรม
พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภาคธรรมเป็นอย่างไร? คือ ชื่อว่า ภาคะ ได้แก่ โกฏฐาสทั้งหลาย. โกฏฐาสเหล่านั้นมีหลายอย่าง ด้วยอำนาจขันธ์ อายตนะ ธาตุเป็นต้น แม้ขันธ์ อายตนะ ธาตุเป็นต้นนั้น ก็มีโกฎฐาสหลายอย่าง ด้วยอำนาจขันธ์มีรูป เวทนาเป็นต้น และด้วยอำนาจขันธ์ที่เป็นอดีตเป็นต้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตัดขาดกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้าทั้งหมด (ปปัญจะ) กิเลสเครื่องประกอบ ไว้ทั้งหมด (โยคะ) กิเลสเครื่องรัดรึง (คัณฐะ) ทั้งหมด กิเลสเครื่องผูกมัด ไว้ทั้งหมด (สังโยชน์) ได้แล้ว จึงบรรลุอมตธาตุ ทรงคายขยอกทิ้งภาคธรรมเหล่านั้นโดยมิทรงใยดี คือ ไม่เสด็จหวนกลับมาหาภาคธรรมเหล่านั้น. จริงอย่างนั้น พระองค์ทรงคาย ขยอก สลัด ทิ้งส่วนแห่งธรรมทั้งหมดทีเดียว โดยไม่มีส่วนเหลือ แม้ด้วยการจำแนกธรรมไปตามลำดับบทมีอาทิ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่งทีเดียว จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มนะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ จักษุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ จักษุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส จักษุสัมผัสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสชาเวทนา จักษุสัมผัสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสชาสัญญา จักษุ สัมผัสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสชาเจตนา รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา รูปวิตก ฯลฯ ธรรมวิตก รูปวิจาร ฯลฯ ธรรมวิจาร ทั่วถ้วนทุกอย่าง. สมจริง ดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ ดังนี้ว่า อานนท์ สิ่งใดที่ตถาคตสละแล้ว คายแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 21
พ้นแล้ว ละได้แล้ว สละคืนแล้ว ตถาคตจักกลับมาหาสิ่งนั้นอีก เรื่องนี้ไม่ใช่ ฐานะจะมีได้. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภาคธรรม ดังว่ามานี้.
อีกประการหนึ่ง บทว่า ภาเค วมิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงคาย ขยอก สละ ทิ้งธรรมทั้งหมด คือ กุศลธรรมและอกุศลธรรม ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ ธรรมที่เลวและประณีต ธรรมที่มีส่วนเปรียบ ด้วยธรรมดำ และธรรมขาว ทางพระโอษฐ์คืออริยมรรคญาณ และทรง แสดงธรรมเพื่อความเป็นอย่างนั้น แก่บุคคลเหล่าอื่น. สมจริงดังพระดำรัสที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย แม้ธรรมทั้งหลายเธอก็ ต้องละ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจึงแสดงธรรม เปรียบด้วยแพแก่เธอทั้งหลาย เพื่อต้องการให้ถ่ายถอน มิใช่เพื่อให้ยึดถือ เป็นต้น. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคาย ภาคธรรม แม้ดังพรรณนามาฉะนี้.
เพราะเหตุที่ธรรมดำและธรรมขาว ซึ่งแยกประเภทออกเป็น ขันธ์ อายตนะ ธาตุเป็นต้น อันพระพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหา พระคุณอันยิ่งใหญ่ทรงคายได้แล้ว ฉะนั้น พระองค์จึงได้รับขนานพระนานว่า ภควา.
ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า
พระชินเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม ทรง อบรมพุทธกรธรรม ทรงเสพภาคธรรม ทรงมีภคธรรม ทรงมีคนภักดี ทรงคาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 22
ภคธรรม ทรงคายภาคธรรม. อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
ความหมายของ อรหํ
บทว่า อรหตา ความว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ชื่อว่า เป็น พระอรหันต์ เพราะเหตุเหล่านี้คือ เพราะทรงห่างไกลจากกิเลสทั้งหลาย ๑ เพราะทรงทำลายข้าศึกคือกิเลสไม่มีส่วนเหลือ ๑ เพราะทรงทำลายซี่กำแห่ง สังสารจักร ๑ เพราะทรงควรแก่ปัจจัยเป็นต้น ๑ เพราะไม่มีความลับ ในการ ทำบาป ๑. นี้คือความย่อในบทนี้ ส่วนความพิสดารพึงทราบตามนัยที่กล่าว แล้วในวิสุทธิมรรคเถิด.
อนึ่ง ในอธิการนี้พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ ด้วยบทว่า ภควตา นี้ ท่านแสดงถึงความถึงพร้อมด้วยพระรูปกาย อันไม่สาธารณ์แก่บุคคลอื่น ประดับ ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ อนุพยัญชนะ ๘๐ และพระเกตุมาลา มีรัศมีแผ่ไปได้ประมาณ ๑ วา ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้ชื่อว่าทรงบุญลักษณะไว้ตั้ง ๑๐๐ เพราะทรงมีบุญสมภารที่ทรงสั่งสมไว้หลายอสงไขยกัป ด้วยการแสดงว่าพระองค์ทรงคายภาคยธรรมได้แล้ว. ด้วยบทว่า อรหตา นี้ ท่านแสดงถึงความถึงพร้อมด้วยพระธรรมกายที่เป็นอจินไตย อาทิ พลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ อสาธารณญาณ ๖ และอาเวณิกพุทธธรรม (ธรรมเฉพาะ พระพุทธเจ้า) ๑๘ เพราะแสดงการบรรลุสัพพัญญุตญาณมีการสิ้นอาสวะเป็น ปทัฏฐาน โดยการแสดงการละกิเลสที่ไม่มีส่วนเหลือด้วยบททั้งสอง ท่านแสดง ถึงความที่พระองค์อันนักปราชญ์ชาวโลกนับถือมาก ๑ ความที่พระองค์อัน คฤหัสถ์และบรรพชิตพึงเข้าไปหา ๑ ความที่พระองค์ทรงสามารถในการบำบัด ทุกข์ทางกาย และทางใจของคฤหัสถ์ และบรรพชิตเหล่านั้น ผู้เข้าไปหา ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 23
ความที่พระองค์ทรงมีอุปการะด้วยอามิสทาน และธรรมทาน ๑ ความที่พระองค์ทรงสามารถในการชักนำประชาชนให้ประกอบด้วยคุณที่เป็นโลกิยะ และ โลกุตระ ๑. อนึ่ง ด้วยบทว่า ภควตา นี้ ท่านแสดงความถึงพร้อมด้วยจรณะ (ของพระองค์) โดยแสดงความประกอบพร้อมด้วยวิหารธรรม อันวิเศษมีทิพวิหารธรรมเป็นต้น อันเป็นยอดในบรรดาจรณธรรมทั้งหลาย. ด้วยบทว่า อรหตา นี้ ท่านแสดงความถึงพร้อมด้วยวิชชา โดยแสดงการบรรลุอาสวักขยญาณ อันเป็นยอด (สูงสุด) ในวิชชาทุกประการ. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทแรก (ภควตา) ท่านประกาศถึงการประกอบด้วยเวสารัชชญาณข้อหลัง ๒ ข้อ โดย แสดงความที่อันตรายิกธรรม และนิยยานิกรรม อันพระองค์ทรงจำแนกไว้ ไม่มีผิดพลาด. ด้วยบทหลัง (อรหตา) ท่านประกาศถึงการประกอบด้วย เวสารัชชญาณข้อแรก ๒ ข้อ โดยแสดงการละกิเลส พร้อมทั้งวาสนาได้ไม่มี เหลือ.
อนึ่ง ด้วยบทแรก (ภควตา) ท่านประกาศถึงความบริบูรณ์แห่ง อธิษฐานธรรมคือสัจจะ และอธิษฐานธรรมคือจาคะ โดยแสดงถึงปฏิญญาสัจจะ วจีสัจจะ และญาณสัจจะของพระตถาคต โดยแสดงถึงการสละทิ้งกามคุณ ความเป็นใหญ่ทางโลก ยศ ลาภ และสักการะเป็นต้น และโดยแสดงถึงการ สละทิ้งอภิสังขารคือกิเลสไม่มีเหลือ. ด้วยบทที่ ๒ (อรหตา) ท่านประกาศ ถึงความบริบูรณ์แห่งอธิษฐานธรรมคืออุปสมะ และอธิษฐานธรรมคือปัญญา โดยแสดงถึงการได้บรรลุ การสงบระงับสังขารทั้งหมด และโดยแสดงถึงการ บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ.
จริงอย่างนั้น ความมีอธิษฐานธรรมคือสัจจะเป็นบารมีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ทำอภินิหารไว้ในโลกุตรคุณ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงบำเพ็ญบารมีทุกข้อตามปฏิญญา เนื่องจากทรง ประกอบด้วยพระมหากรุณาคุณ ความมีอธิษฐานธรรมคือจาคะเป็นบารมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 24
ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงสละทิ้งสิ่งที่เป็นข้าศึก ความมีอธิษฐานธรรมคือ อุปสมะเป็นบารมี ถึงความบริบูรณ์ เพราะทำจิตให้สงบด้วยคุณทั้งหลาย รวม ความว่า อธิษฐานธรรมคือปัญญา ถึงความบริบูรณ์ เพราะความที่พระองค์ ทรงฉลาดในอุบายอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ดังพรรณนามานี้แล. อนึ่ง อธิษฐานธรรมคือสัจจะ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงปฏิญญาว่า จักให้ไม่ทำ ชนผู้ขอให้คลาดเคลื่อน (พลาดหวัง) คือ เพราะทรงให้โดยไม่ทำปฏิญญาให้ คลาดเคลื่อน อธิษฐานธรรมคือจาคะ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงสละ ไทยธรรม อธิษฐานธรรมคืออุปสมะ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงระงับภัย คือ โลภะ โทสะ โมหะ ได้ในเมื่อผู้รับไทยธรรมไม่มี และไทยธรรมคือทาน หมดไป อธิษฐานธรรมคือปัญญา ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงให้ตามควร ตามกาล และตามวิธี และเพราะทรงยิ่งด้วยปัญญา. ความบริบูรณ์แห่งอธิษฐาน ธรรม ๔ แม้ในบารมีที่เหลือก็พึงทราบตามนัยนี้. ก็บารมีทั้งหมด อบรม (ทำให้เกิดมี) ด้วยสัจจะ เด่นชัดด้วยจาคะ เพิ่มพูนด้วยอุปสมะ บริสุทธิ์ด้วย ปัญญา รวมความว่า อธิษฐานธรรม คือ สัจจะของพระตถาคต ผู้ประกอบ ด้วยอธิษฐานธรรม ๔ ถึงความบริบูรณ์ ดังพรรณนามานี้.
ศีลวิสุทธิ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรม คือสัจจะ อาชีววิสุทธิ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐาน ธรรมคือจาคะ จิตวิสุทธิ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษ- ฐานธรรมคืออุปสมะ ทิฏฐิวิสุทธิ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงประกอบด้วย อธิษฐานธรรมคือปัญญา อนึ่ง ศีลของพระตถาคตนั้น พึงทราบด้วยการอยู่ ร่วมกัน เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือสัจจะ. ความสะอาด พึง ทราบด้วยการแลกเปลี่ยน (สังโวหาร) เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรม คือ จาคะ. กำลังใจ พึงทราบในคราวมีอันตรายทั้งหลาย เพราะทรงประกอบด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 25
อธิษฐานธรรมคืออุปสมะ. ปัญญา พึงทราบในคราวสนทนา เพราะทรง ประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือปัญญา. อนึ่ง พระตถาคต อันโทสะประทุษร้าย ไม่ได้ ทรงยับยั้งพระทัยให้อยู่เหนือโทสะได้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐาน. ธรรมคือสัจจะ พระตถาคต อันโลภะให้ละโมบไม่ได้ ทรงเสพปัจจัย เพราะ ทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือจาคะ. พระตถาคต อันภัยทำให้หวาดกลัว ไม่ได้ ทรงหลีกเว้นได้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคืออุปสมะ. พระตถาคต อันโมหะให้หลงไม่ได้ ทรงขจัดโมหะเสียได้ เพราะทรงประกอบ ด้วยอธิษฐานธรรมคือปัญญา.
อนึ่ง การที่ทรงบรรลุถึงเนกขัมมสุข ของพระตถาคตนั้น ท่านแสดง ไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือสัจจะ. การที่ทรงบรรลุถึง ปวิเวกสุข ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือจาคะ. การที่ทรงบรรลุถึงอุปสมสุข ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคืออุปสมะ. การที่ทรงบรรลุถึงสัมโพธิสุข ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือปัญญา.
อีกอย่างหนึ่ง การที่ทรงบรรลุถึงปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก ท่าน แสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือสัจจะ การทราทรงบรรลุถึง ปีติ และสุขอันเกิดจากสมาธิ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือจาคะ. การที่ทรงบรรลุถึงสุขทางกายอันเกิดจากปีติ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคืออุปสมะ. การที่ทรงบรรลุถึงอุเบกขา และสุขอันเกิดจากความบริสุทธิ์ของสติ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วย อธิษฐานธรรมคือปัญญา.
อนึ่ง การที่ทรงประกอบด้วยความสุขอันเกิดจากปัจจัย ซึ่งมีบริวาร สมบัติเป็นลักษณะ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 26
สัจจะ เหตุทีไม่ตรัสให้คลาดเคลื่อน. การที่ทรงประกอบด้วยความสุขตามสภาวะ ซึ่งมีความสันโดษเป็นลักษณะ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือจาคะ เหตุที่พระองค์ไม่มีโลภะ. การที่ทรงประกอบด้วยความสุขอัน เกิดจากเหตุมีความเป็นผู้ได้ทำบุญไว้แล้วเป็นลักษณะ ท่านแสดงไว้ เพราะ ทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคืออุปสมะ เหตุที่พระองค์ไม่ทรงถูกกิเลส ครอบงำ. การที่ทรงประกอบด้วยความสุขอันเกิดจากความสงบระงับทุกข์ ซึ่ง มีวิมุตติสมบัติเป็นลักษณะ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือปัญญา เหตุที่ทรงบรรลุนิพพานได้ด้วยญาณสมบัติ.
อนึ่ง การที่ตรัสรู้และแทงตลอดศีลขันธ์อันเป็นอริยะได้สำเร็จ ท่าน แสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือสัจจะ การที่ตรัสรู้และ แทงตลอดสมาธิขันธ์อันเป็นอริยได้สำเร็จ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบ ด้วยอธิษฐานธรรมคือจาคะ. การที่ตรัสรู้และแทงตลอดปัญญาขันธ์อันเป็น อริยะได้สำเร็จ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือปัญญา. การที่ตรัสรู้และแทงตลอดวิมุตติขันธ์อันเป็นอริยะได้สำเร็จ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคืออุปสมะ. ความสำเร็จแห่งปัจจัย ๔ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือสัจจะ ความสำเร็จแห่งการ สละทิ้งทั้งปวง ท่านแสดงไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือจาคะ. ความ สำเร็จแห่งอินทรียสังวร ท่านแสดงไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือ อุปสมะ ความสำเร็จแห่งพุทธิ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรม คือปัญญา. และความสำเร็จแห่งนิพพาน ท่านก็แสดงไว้ เพราะทรง บำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือปัญญานั้น. อนึ่ง การได้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ท่านแสดง ไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือสัจจะ การได้อริยวงศ์ ๔ ท่านแสดง ไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือจาคะ. การได้อริยวิหารธรรม ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 27
ท่านแสดงไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคืออุปสมะ. การได้อริยโวหาร ๔ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือปัญญา.
อีกนัยหนึ่ง ท่านประกาศพระมหากรุณาของพระตถาคตเจ้า โดย แสดงการที่พระองค์ทรงปรารถนาโลกิยสมบัติ และโลกุตรสมบัติ แก่สัตว์ ทั้งหลาย ด้วยบทว่า ภควตา นี้. ประกาศปหานปัญญา โดยแสดงการ ที่พระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยการละด้วยบทว่า อรหตา นี้. บรรดาพระปัญญา และพระกรุณาทั้งสองนั้น ประกาศการที่พระองค์ทรงบรรลุความเป็นพระสัทธรรมราชา ด้วยพระปัญญา ประกาศการที่พระองค์ทรงจำแนกธรรมไว้ อย่างดี ด้วยพระกรุณา. ประกาศการที่พระองค์ทรงหน่ายในสังสารทุกข์ ด้วย พระปัญญา ประกาศการที่พระองค์ทรงทำลายสังสารทุกข์ด้วยพระกรุณา. ประกาศการที่พระองค์ทรงกำหนดรู้สังสารทุกข์ด้วยพระปัญญา ประกาศการที่ พระองค์ทรงเริ่มแก้ทุกข์ของบุคคลอื่นด้วยพระกรุณา. ประกาศการที่พระองค์ ทรงมีพระทัยมุ่งมั่นต่อปรินิพพานด้วยพระปัญญา ประกาศการที่พระองค์ทรง บรรลุปรินิพพานนั้น ด้วยพระกรุณา. ประกาศการที่พระองค์ทรงข้ามพ้นสังสาร ด้วยพระองค์เอง ด้วยพระปัญญา ประกาศการที่พระองค์ทรงยังบุคคลเหล่าอื่น ให้ข้ามพ้นสังสารด้วยพระกรุณา. ประกาศความสำเร็จแห่งความเป็นพุทธะด้วย พระปัญญา ประกาศความสำเร็จแห่งพุทธกิจ ด้วยพระกรุณา.
อีกประการหนึ่ง ประกาศภาวะที่พระองค์ทรงเผชิญอยู่ในสังสารใน ภูมิแห่งพระโพธิสัตว์ ด้วยพระกรุณา ประกาศการที่พระองค์ไม่ยินดีในสังสาร นั้น ด้วยพระปัญญา. อนึ่ง ประกาศการที่พระองค์ทรงทำบุคคลเหล่าอื่นให้ ได้รับอภิเษก (ด้วยน้ำอมฤต) ด้วยพระกรุณา ประกาศการที่พระองค์ไม่ทรง หวั่นเกรงบุคคลเหล่าอื่น ด้วยพระปัญญา. (ประกาศพระดำรัสที่ว่า) เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 28
รักษาคนอื่น ก็ชื่อว่า รักษาตนด้วยพระกรุณา (ประกาศพระดำรัสที่ว่า) เมื่อ รักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาบุคคลอื่นด้วย ด้วยพระปัญญา. อนึ่ง ประกาศการที่ พระองค์ไม่ทำบุคคลอื่นให้เดือดร้อน ด้วยพระกรุณาประกาศการที่พระองค์ ไม่ทำพระองค์เองให้เดือดร้อน ด้วยพระปัญญา. ด้วยการที่ไม่ทรงทำพระองค์ เองให้เดือดร้อนนั้น จึงเป็นอันสำเร็จภาวะเป็นบุคคลที่สี่ (พระอรหันต์) ใน บรรดาบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนเองเป็นต้น. อนึ่ง ประกาศ ความที่พระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของโลก ด้วยพระกรุณาประกาศความที่พระองค์ ทรงเป็นที่พึ่งของพระองค์เอง ด้วยพระปัญญา. อนึ่งประกาศภาวะที่พระองค์ ไม่มีอาการฟุบลง (ด้วยอำนาจความเกียจคร้าน) ด้วยพระกรุณา ประกาศภาวะ ที่พระองค์ไม่มีอาการฟูขึ้น (ด้วยอำนาจกิเลส) ด้วยพระปัญญา.
อนึ่ง ในบรรดาสรรพสัตว์ การทรงอนุเคราะห์ หมู่ชน ของพระตถาคตเจ้า มีเพราะพระกรุณา แต่พระตถาคตเจ้าก็หาได้ มีพระทัยปราศจากพระกรุณาในที่ทุกแห่งไม่ เพราะทรงคล้อยตามพระปัญญา พระองค์ทรงมีพระทัยปล่อยวางในธรรมทั้งปวง ก็ด้วยพระปัญญา แต่พระองค์ก็หาได้ทรงประพฤติเพื่ออนุเคราะห์สัตว์ทุกประเภทไม่ เพราะทรง คล้อยตามพระกรุณา. เหมือนอย่างว่า พระกรุณาของพระตถาคตเจ้า เว้น จากความเสน่หา และความโศก ฉันใด พระปัญญาของพระองค์ก็ฉันนั้น คือพ้นจากอหังการ และมมังการ รวมความว่า พระกรุณาและปัญญา (ของ พระองค์) ต่างชำระกันและกันให้บริสุทธิ์ จึงควรเห็นว่า เป็นพระคุณบริสุทธิ์ อย่างยิ่ง. บรรดาพระกรุณาและพระปัญญาทั้งสองนั้น ขอบเขตแห่งพระปัญญา เป็นพละ ขอบเขตแห่งพระกรุณาเป็นเวสารัชชะ. บรรดาพละและเวสารัชชะ ทั้งสองนั้น เพราะทรงประกอบด้วยพละ พระตถาคตเจ้าจึงไม่ถูกคนอื่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 29
ครอบงำ เพราะทรงประกอบด้วยเวสารัชชะ พระองค์จึงทรงครอบงำคนอื่น ได้. ความสำเร็จแห่งสัตถุสัมปทา (ของพระองค์) มีได้เพราะพละทั้งหลาย ความสำเร็จแห่งศาสนสัมปทามีได้เพราะเวสารัชชะทั้งหลาย. อนึ่ง ความสำเร็จ แห่งพุทธรัตนะมีได้เพราะพละทั้งหลาย ความสำเร็จแห่งธรรมรัตนะมีได้ เพราะเวสารัชชะทั้งหลาย. นี้เป็นการแสดงเพียงแนวทางการขยายความของ บททั้งสองที่ว่า ภควตา อรหตา ในที่นี้.
เหตุผลที่กล่าว วุตฺตํ ไว้สองครั้ง
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในที่นี้ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ เหตํ ภควตา ไว้แล้ว จึงกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้อีกเล่า? ตอบว่า ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้อีก ก็เพื่อแสดงความแน่นอน โดยปฏิเสธการได้ฟังตามกันมา. เหมือน อย่างว่า คนบางคนได้ฟังมาจากคนอื่นแล้วพูด ถ้าว่าเรื่องนั้นคนอื่นนั้นมิได้พูด เอง คือ คนอื่นนั้นมิได้พูดเอง เพราะมีคนอื่นพูดไว้อีกทีหนึ่ง และเรื่องนั้น คนอื่นนั้น ก็มิได้พูดเองโดยที่แท้ ได้ฟังมาอีกต่อหนึ่งฉันใด ในที่นี้หาเป็น ฉันนั้นไม่. เป็นความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงสดับมาจากบุคคลอื่น ตรัสสิ่งที่พระองค์ทรงบรรลุด้วยพระองค์เอง ด้วยพระสยัมภูญาณ เพราะเหตุ นั้น เพื่อแสดงความแปลกกันของ วุตฺตํ สองคำนี้ ท่านจึงได้กล่าวคำว่า วุตฺตํ ซ้ำถึงสองครั้ง. มีคำอธิบายดังนี้ว่า ก็ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ก็แลข้อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเองตรัสไว้ หาใช่ผู้อื่นกล่าวไว้ไม่เลย หา ใช่พระองค์ได้ทรงสดับ ต่อมาจากคนอื่นไม่. จริงอยู่ การกล่าวซ้ำย่อมช่วย ให้เข้าใจความหมายของกันและกันเพราะเหตุนั้น จึงไม่มีข้อเสียหายในเพราะ การกล่าวซ้ำ. แม้ในที่แห่งอื่นจากที่นี้ก็มีนัย อย่างเดียวกันนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 30
อนึ่ง ที่ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้ซ้ำถึงสองครั้ง ก็เพื่อแสดงว่าไม่มี การรจนาไว้ก่อน. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมได้เหมาะแก่ อัธยาศัยของบริษัทที่มาประชุมกัน เพราะทรงมีปฏิภาณเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เหตุที่ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง.
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่มีกิจรจนาเตรียมไว้ก่อน เปรียบเหมือน ทานเป็นต้น ก็รจนา (แสดง) ไปตามเหตุการณ์. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดง คำนี้ไว้ว่า ก็เรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้ว ก็แลเรื่องนั้นหาได้ ทรงประมวลมาด้วยตักกะ คิดไตร่ตรองไว้ก่อนด้วยอำนาจการรจนาไว้ก่อนไม่ โดยที่แท้แล้ว พระองค์ตรัสขึ้นมาอย่างฉับพลัน เหมาะสมแก่อัธยาศัยของ เวไนยสัตว์เลยทีเดียว.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้สองครั้งก็เพื่อแสดงว่าพระ ดำรัสไม่มีใครปฏิวัติได้. เป็นความจริง พระดำรัสใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้ว ก็เป็นอันตรัสแล้วทีเดียว ใครๆ ไม่สามารถจะคัดค้านพระดำรัส นั้นได้ เพราะอักขระสมบูรณ์ และอรรถก็สมบูรณ์ด้วย. สมจริงดังคำที่ท่าน กล่าวไว้ดังนี้ว่า ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เป็น ไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี สมณะหรือพราหมณ์ จะปฏิวัติไม่ได้. ท่านกล่าวไว้อีกข้อหนึ่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือ พราหมณ์พึงมากล่าวในที่นี้ว่า ทุกข์ใดที่พระสมณโคดมบัญญัติไว้ ทุกข์นี้ไม่ ใช่อริยสัจ ข้อที่เราตถาคตจักเว้นทุกขอริยสัจนี้แล้ว บัญญัติทุกข์อื่นว่า เป็น อริยสัจ ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ดังนี้เป็นต้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้สองครั้ง ก็เพื่อแสดงว่าพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มี ใครปฏิวัติได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 31
อีกประการหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้สองครั้งก็เพื่อจะแสดง ภาวะที่จะให้สำเร็จประโยชน์แก่ผู้ฟังทั้งหลาย. เป็นความจริง บุคคลผู้มิใช่ สัพพัญญูไม่รู้อาสยะเป็นต้น ของบุคคลเหล่าอื่น กล่าวคำใดไม่ถูกเทสะหรือไม่ ถูกกาละ คำนั้นแม้จะเป็นคำจริง ก็ไม่ชื่อว่ากล่าวไว้เลย เพราะไม่สามารถใน อันให้สำเร็จประโยชน์แก่ผู้ฟังทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปไยถึงคำที่ไม่จริงเล่า. แต่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบอาสยะเป็นต้นของบุคคลเหล่าอื่น เทสะ กาละ และความสำเร็จประโยชน์อย่างถูกต้องทีเดียว เพราะพระองค์ทรงเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสพระดำรัสใดไว้ พระดำรัสนั้น ก็ชื่อว่าตรัส ไว้เสร็จแล้วทีเดียว เพราะให้สำเร็จประโยชน์ตามทีประสงค์แก่ผู้ฟังทั้งหลาย โดยส่วนเดียว การอ้อมค้อมแห่งพระดำรัสนั้นไม่มี เพราะพระองค์มิได้ตรัส ไว้. เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้สองครั้งก็เพื่อจะแสดงภาวะที่ จะให้สำเร็จประโยชน์แก่ผู้ฟังทั้งหลายด้วย.
อีกประการหนึ่ง คำที่มีความหมายที่ใครๆ เข้าใจไม่ได้ และคำที่ ใครๆ ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้นไม่ได้ ไม่ชื่อว่าฟังเสร็จแล้วฉันใด คำที่ ใครๆ รับด้วยดีไม่ได้ ได้ชื่อว่ากล่าวแล้วฉันนั้น. ก็บริษัท ๔ รับพระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดีแล้ว พากันปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้สองครั้งเพื่อแสดงว่าพระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคเจ้า สาวกรบไว้ด้วยดีทีเดียว.
อีกประการหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้สองครั้งเพื่อแสดงว่าพระ ดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ขัดแย้งกับพระอริยเจ้าทั้งหลาย. เหมือน อย่างว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมแยกประเภท เป็นกุศล อกุศล สาวัชชะ (มีโทษ) และอนวัชชะ (ไม่มีโทษ) ปวัตติ (ความเป็นไป) นิวัตติ (ความหมุนกลับ) สมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ ไม่คลาดเคลื่อน ฉันใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 32
แม้พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระธรรมเสนาบดีเป็นต้นก็ฉันนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม ปรินิพพานแล้วก็ตาม ก็กล่าวคล้อย ตามเทศนาของพระองค์ หาได้มีวาทะเป็นต่างๆ กัน ในเทศนานั้นไม่. เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสไว้ แล้ว ในกาลย่อมาจากนั้น แม้พระอริยสงฆ์ผู้เป็นพระอรหันต์ก็กล่าวไว้. ท่าน กล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้อย่างนั้น (ซ้ำสองครั้ง) ก็เพื่อจะแสดงว่าพระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ขัดแย้งกับพระอริยเจ้าทั้งหลายดังพรรณนาฉะนี้.
อีกประการหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้สองครั้งก็เพื่อแสดงว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีนัยอย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ตรัสไว้. แม้จะมีความแตกต่างกันในเรื่องชาติ โคตร และ จำนวนอายุเป็นต้น แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ไม่มีความแตกต่างกันด้วย พระธรรมเทศนา เหมือนกับที่ไม่ทรงมีความแตกต่างกันด้วยพระคุณมีทสพลญาณเป็นต้น. พระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสไม่ขัดกันเองและตรัสคำหน้าไม่ขัด แย้งกับคำหลังด้วยพระองค์เอง เพราะเหตุนั้น จึงสมด้วยคำที่ท่านกล่าวไว้ ดังนี้ว่า พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย และพระผู้มีพระภาคเจ้า ของเราทั้งหลาย ในปัจจุบันตรัสไว้แล้วด้วยพระองค์เองเมื่อก่อนเป็นฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ก็ตรัสคำนี้ไว้ฉันนั้น. ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้สอง ครั้งเพื่อแสดงว่า คำสอนของพระพุทธเจ้า มีนัยเดียวกับที่พระพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ตรัสไว้ และมีนัยเดียวกับที่พระองค์เองตรัสไว้ในพระสูตร อื่นๆ ดังพรรณนามาฉะนี้. ความไม่ขัดแย้งกันแห่งเทศนาของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ในที่ทุกแห่งเป็นอันท่านแสดงไว้แล้วด้วยคำนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 33
อีกประการหนึ่ง คำว่า วุตฺตํ คำที่สองพึงเห็นว่าเป็นคำพูดถึงภาวะ คือ ความยิ่งใหญ่. มีอธิบายดังนี้ว่า ก็คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ได้แก่คำพูดที่จะกล่าวต่อไปนี้มีอาทิว่า เอกธมฺมํ ภิกฺขเว พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้พระอรหันต์ตรัสไว้แล้ว. อีกประการหนึ่ง คำว่า วุตฺตํ นี้ หมายถึง พูดถึงบทที่สองอีกบทหนึ่ง โดยที่แท้พึงเห็นว่า มีความหมาย หมายถึงการพูด ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดงไว้อย่างนี้ว่า ก็คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ก็แลคำนั้นไม่ใช่สักแต่ว่าตรัสไว้แล้ว คือ ไม่ใช่สักแต่ว่าทรงบอกไว้แล้ว โดย ที่แท้ทรงแสดงถึงกุศลมูลของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย.
อีกประการหนึ่ง คำว่า วุตฺตํ ที่เป็นบทที่สองนี้ มีความหมายว่า ประพฤติ. ก็บทนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ก็คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระ อรหันต์ตรัสไว้แล้ว ก็แลคำนั้น ไม่ใช่เพียงแต่สักว่าตรัสไว้แล้ว ที่แท้คำนั้น ทรงบำเพ็ญ คือ ทรงประพฤติจนเกิดประโยชน์. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงแสดง ไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีปกติตรัสอย่างใด ก็มีปกติทำอย่างนั้น. อีก ประการหนึ่ง มีความหมายว่า (คำนั้น) เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า คือ ผู้ควรเรียกว่าพระอรหันต์ตรัสไว้แล้ว. อีกประการหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ (คำแรก) ไว้ หมายถึงการทรงยกขึ้นแสดงถ้อยคำแต่โดยย่อ. กล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้ซ้ำอีกหมายถึงการแสดงขยายถ้อยคำโดยพิสดาร. เป็นความจริง พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม ทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดาร.
อีกประการหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ เหตํ ภควตา ไว้แล้ว ก็กล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้ซ้ำอีก ก็เพื่อแสดงว่าไม่มีคำพูดที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ไม่ดี. เป็นความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละโทษทุกอย่างพร้อมทั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 34
วาสนา (ความเคยชิน) ไว้แล้ว มีครรลองแห่งคำพูดไม่ผิดพลาดจึงไม่มีคำพูดที่ ไม่ดีแม้ในกาลไหนๆ เพราะพระองค์ทรงมีวจีกรรมอันคล้อยตามพระญาณอยู่ ตลอดเวลา. เหมือนอย่างว่า คนบางพวกในโลก พูดอะไรๆ ออกไปเพราะ คะนองหรือเพราะความสนุกสนาน เนืองจากเผลอสติ ต่อมา รู้ตัวก็ทำคำพูด ที่พูดไปแล้วตอนก่อนให้เป็นอันไม่ได้พูด ปรับปรุงคำพูดบ้าง ไม่ปรับปรุง บ้างเป็นฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเป็นฉันนั้นหามิได้.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพระทัยมั่นคงอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ มีความไม่เผลอสติเป็นธรรมดา และมีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เมื่อจะ ทรงประกาศอริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นสวนานุตแอริยะ มีสาระที่น่าสดับให้เป็นเหมือน โปรยฝนอำมฤตแก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้กำลังสดับอรรถที่น้อมนำเข้าไปด้วย ปฏิภาณปฏิสัมภิทา อันพระสัพพัญญุตญาณประคับประคองแล้ว อันเป็น โสตายตนะและรสายตนะ เพราะกรณวิญญูอันพิเศษที่ผ่องใสและบริสุทธิ์ ซึ่ง ไม่ทั่วไปแก่บุคคลอื่น เกิดมาจากบุญสมภาร อันสั่งสมไว้แล้วตลอดกาล ประมาณไม่ได้ได้ตรัสพระดำรัสเหมาะแก่อัธยาศัยของเวไนยสัตว์ ด้วยภาษาที่ เหมาะแก่สภาวะด้วยพระสุรเสียงที่ก้องกังวาลดังเสียงร้องของนกการเวก. ใน พระดำรัสนั้น ไม่มีความผิดพลาดแม้เพียงปลายขนทราย แล้วโอกาสที่จะตรัส พระดำรัสไม่ดีจักมีมาแต่ไหน? เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงว่า คำใดที่พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว คำนั้นก็เป็นอันตรัสแล้วทีเดียว ไม่มีพระดำรัสที่ไม่ ได้ตรัสไว้หรือตรัสไว้ไม่ดีในกาลไหนๆ ท่านจึงกล่าวว่า ก็คำนี้ พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ดังนี้แล้ว กล่าวไว้อีกว่า พระอรหันต์กล่าวไว้แล้ว เพราะเหตุนั้นในที่นี้จึงไม่มีโทษแห่งคำที่กล่าวซ้ำอีก. พึงทราบว่า ศัพท์ที่ กล่าวซ้ำไว้มีประโยชน์ในที่นี้ดังพรรณนามาฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 35
อธิบาย อิติศัพท์
อิติศัพท์นี้ ในบทว่า อิติ เม สุตํ นี้ แตกต่างกันโดยความหมาย เป็นอเนกมีอาทิว่า ความหมายว่า เหตุ ความหมายว่า ปริสมาปันนะ ความหมายว่า เป็นเบื้องต้น ความหมายว่า ปทัตถปริยายะ (ขยายความหมายของบท) ความหมายว่า ปการะ (ประการ) ความหมายว่า นิทัสสนะ ความหมายว่า อวธารณะ. จริงอย่างนั้น อิติ ศัพท์นั้น ปรากฏในความหมายว่า เหตุ ในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่เรียกว่า รูป เพราะเหตุที่ แตกสลายแล. ปรากฏในความหมายว่า ปริสมาปันนะ. ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ขอเธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของ เราตถาคตในพระศาสนานี้เถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย เราตถาคตมีความ อนุเคราะห์ในเธอทั้งหลาย ทำอย่างไร สาวกทั้งหลายของเราตถาคตจะพึงเป็น ธรรมทายาท ไม่พึงเป็นอามิสทายาท. ปรากฏความหมายว่า เป็นเบื้องต้น ในประโยคเป็นต้นว่า งดเว้นจากการดู การฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคม ดนตรีที่เป็นข้าศึกอย่างนี้ คือ เห็นปานนี้เป็นเบื้องต้น. ปรากฏในความหมายว่า ปทัตถปริยายะ ในประโยคเป็นต้นว่า คำว่า มาคันทิยะ เป็นชื่อ เป็นสมัญญา เป็นบัญญัติ เป็นโวหาร เป็นนาม เป็นการตั้งนาม เป็นนามไธย เป็นภาษา เป็นพยัญชนะ เป็นคำร้องเรียกพราหมณ์นั้น. ปรากฏในความหมายว่า ปการะ (ประการ) ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีภัยเฉพาะหน้า บัณฑิตไม่มีภัยเฉพาะหน้า คนพาลมีอุปัทวะ บัณฑิตไม่มีอุปัทวะ คนพาล มีอุปสรรค บัณฑิตไม่มีอุปสรรค ด้วยประการดังพรรณนามานี้แล. ปรากฏ ในความหมายว่า นิทัสสนะ ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนกัจจานะ ความเห็น ที่ว่า มีอยู่แล ก็เป็นที่สุดโต่งอันหนึ่ง ดูก่อนกัจจานะ ความเห็นที่ว่า ไม่มีแล ก็เป็นที่สุดโต่งอันหนึ่ง. ปรากฏในความหมายว่า อวธารณะ อธิบายว่า ในการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 36
ตกลงใจในประโยคเป็นต้นว่า หากใครจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชราและมรณะมี เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย บุคคลนั้นก็จะพึงถูกคัดค้าน ดังนี้ว่า ชราและมรณะมี เพราะมีชาติเป็นปัจจัย.
ในที่นี้ อิติศัพท์นี้นั้น พึงเห็นว่า ปรากฏในความหมายว่า ปการะ นิทัสสนะ และอวธารณะ. บรรดาความหมายทั้ง ๓ อย่างนั้น ด้วยอิติศัพท์ ที่มีความหมายว่า ปการะ พระอานนทเถระ จึงแสดงความหมายนี้ไว้ว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีความหมายที่ละเอียดด้วยนัยต่างๆ มีสมุฏฐานมาจากอัธยาศัยเป็นอเนก สมบูรณ์ด้วยอรรถ และพยัญชนะ มี ปาฏิหาริย์ต่างๆ อย่าง ลึกซึ้งด้วยธรรม (เหตุ) อรรถ (ผล) เทศนา และ ปฏิเวธ มากระทบคลองแห่งโสตประสาทของสรรพสัตว์ คามสมควรแก่ภาษา ของตนๆ ว่า ใครเล่าจะสามารถเข้าใจได้ครบทุกประการข้าพเจ้าแม้ยังความ เป็นผู้ประสงค์จะฟังให้เกิดขึ้นด้วยเรี่ยวแรงทั้งหมด ก็ฟังมาแล้วอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้าก็ฟังมาด้วยประการอย่างหนึ่ง.
อธิบายบทว่า นานานยนิปุณํ เป็นต้น
ในบทว่า นานานยนิปุณํ เป็นต้นนี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ นัยต่างๆ อย่างกัน โดยแยกตามอารมณ์เป็นต้น กล่าวคือ เอกัตตนัย นานัตตนัย อัพยาปารนัย และธัมมตานัย และกล่าวคือนันทิยาวัฏฏนัย ติปุกขลนัย สีหวิกิฬิตนัย ทิสาโลจนนัย และอังกุสนัย ชื่อว่า นานานัย (นัยต่างๆ). อีกประการหนึ่ง นัยทั้งหลายได้แก่ คติแห่งบาลี. และคติแห่งบาลีเหล่านั้น ก็มีประการต่างๆ กัน ด้วยอำนาจบัญญัตินัย และอนุบัญญัตินัยเป็นต้น ด้วย อำนาจสังกิเลสภาคิยาทินัย โลกิยาทินัย และตทุภยโวมิสสตานัยเป็นต้น ด้วย อำนาจกุสลนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจขันธนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจสังคหนัยเป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 37
ด้วยอำนาจสมยวิมุตตินัยเป็นต้น ด้วยอำนาจฐปนนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจกุสลนัยเป็นต้น และด้วยอำนาจติกปัฏฐานนัยเป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า นานานัย (มีนัยต่างๆ กัน). ความหมายที่ชื่อว่า ละเอียดด้วยนัยต่างๆ เพราะหมายความว่า ละเอียด คือ ละเอียดอ่อน ได้แก่สุขุม ด้วยนัยเหล่านั้น. อาสยะนั่นแล ชื่อ อัชฌาสัย. และอัชฌาสัยนั้นก็มีหลายอย่าง โดยแยกเป็น สัสสตทิฏฐิเป็นต้น และโดยแยกเป็นผู้มีธุลี คือ กิเลส ในจักษุน้อยเป็นต้น จึงชื่อว่า อเนกัชฌาสัย (มีอัชฌาสัยเป็นอเนก) อีกประการหนึ่ง อัชฌาสัย เป็นอเนก มีอัชฌาสัยของตนเป็นต้น ชื่อว่า อเนกัชฌาสัย. อเนกัชฌาสัยนั้น เป็นสมุฏฐาน คือ เป็นแดนเกิด ได้แก่ เป็นเหตุแห่งพระพุทธพจน์นั้น เพราะเหตุนั้น พระพุทธพจน์นั้น จึงชื่อว่า มีอเนกัชฌาสัยเป็นสมุฏฐาน. (พระพุทธพจน์) ชื่อว่า ถึงพร้อมด้วยอรรถ เพราะเมื่อมีความถึงพร้อมด้วย อรรถ มีกุศลเป็นต้น จึงประกอบด้วยบทแห่งอรรถ ๖ บท คือ สังกาสนะ ปกาสนะ วิวรณะ วิภชนะ อุตตานีกรณะ และบัญญัติ ชื่อว่า ถึงพร้อมด้วย พยัญชนะ เพราะเมื่อมีความถึงพร้อมด้วยพยัญชนะ. ที่ประกาศอรรถนั้นให้ แจ่มแจ้ง จึงประกอบด้วยบทแห่งพยัญชนะ ๖ บท คือ อักขระ บท พยัญชนะ อาการ นิรุกติ และนิเทศ. ชื่อว่า มีปาฏิหาริย์ต่างอย่างกัน เพราะหมายความว่า ปาฏิหาริย์ต่างๆ อย่าง คือ มากอย่าง โดยแยกเป็น อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ และโดยที่ปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ นั้น ปาฏิหาริย์ แต่ละอย่างก็แตกต่างกันไปตามอารมณ์เป็นต้น.
อธิบาย คำว่า ปาฏิหาริย์
ในบทว่า วิวิธปาฏิหริยํ นั้นพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ที่ชื่อว่า เป็นปาฏิหาริย์ เพราะนำไปเสียซึ่งกิเลสที่เป็นข้าศึก คือ เพราะกำจัดกิเลสมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 38
ราคะเป็นต้น เมื่อความหมายมีอยู่ดังว่ามานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่มี กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นที่เป็นปฏิปักษ์ ซึ่งจะต้องนำไปกำจัด แม้สำหรับ ปุถุชนทั้งหลาย เมื่อจิตปราศจากอุปกิเลส ประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ ขจัดกิเลสที่เป็นปฏิปักษ์ได้แล้ว อิทธิวิธี (การแสดงฤทธิ์ได้) จึงเป็นไป เพราะเหตุนั้น ตามโวหารที่เป็นไปในที่นั้น ใครๆ จึงไม่สามารถกล่าวว่าเป็น ปาฏิหาริย์ในที่นี้ แต่เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระมหากรุณาคุณ ทรงมีกิเลสที่มีอยู่ในเวไนยสัตว์เป็นปฏิปักษ์ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นปาฏิหาริย์ เพราะนำขจัดกิเลสเหล่านั้นไปเสีย.
อีกประการหนึ่ง คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพวกเดียรถีย์เป็น ปฏิปักษ์ ชื่อว่า เป็นปาฏิหาริย์ ก็เพราะนำ (ขจัด) เดียรถีย์เหล่านั้น. อธิบายว่า เดียรถีย์เหล่านั้น ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้านำ คือ ขจัด ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ เพราะไม่สามารถในการประกาศ ทิฏฐิ โดยนำขจัดทิฏฐิได้. อีกประการหนึ่ง บทว่า ปฏิ หมายความว่า ภายหลัง. เพราะเหตุนั้น ที่ชื่อว่า เป็นปาฏิหาริย์ เพราะหมายความว่า เป็น สิ่งที่ท่านผู้ทำกิจเสร็จแล้ว พึงนำไป คือ พึงให้เป็นไปภายหลัง ในเมื่อจิตตั้งมั่น ปราศจากอุปกิเลสแล้ว. อีกประการหนึ่ง เมื่ออุปกิเลสทั้งหลายของตนถูกมรรค อันประกอบด้วยฌานที่ ๔ นำไป (ขจัด) แล้ว การนำไปในภายหลังชื่อว่า ปาฏิหาริย์.
ปาฏิหาริย์ทั้งหลาย มีก็เพราะเหตุที่ อิทธิวิธี อาเทสนาวิธี และ อนุสาสนีวิธี อันท่านผู้ปราศจากอุปกิเลส และทำกิจเสร็จแล้วพึงให้เป็นไปอีก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ และเพราะเหตุที่เมื่อนำอุปกิเลสทั้งหลายของตน ออกได้แล้ว จึงนำอุปกิเลสในสันดานของผู้อื่นออก (ภายหลัง). ปาฏิหาริย์ นั่นแล ชื่อว่า ปาฏิหาริย์. อีกประการหนึ่ง คุณชาติแต่ละอย่างที่มีในเพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 39
ปาฏิหาริย์อันเกิดมาจากอิทธิวิธี อาเทสนาวิธี และอนุสาสนีวิธี ท่านก็เรียกว่า ปาฏิหาริย์. อีกประการหนึ่ง ฌานที่ ๔ และมรรค ก็ชื่อว่าปาฏิหาริย์ เพราะนำ ไปซึ่งกิเลสที่เป็นข้าศึก. คุณชาติที่ชื่อว่า ปาฏิหาริย์ เพราะเกิดในฌานที่ ๔ และมรรคนั้นบ้าง เพราะเป็นนิมิตในฌานที่ ๔ และมรรคนั้นบ้าง เพราะมา จากฌานที่ ๔ และมรรคนั้นบ้าง. ก็เพราะเหตุที่ ตันติตันติเทศนา และอรรถตันติเทศนา กล่าวคือการบรรลุปาฏิหาริย์นั้น หรือกล่าวคือการแทงตลอด เหตุผล และการบัญญัติเหตุผลทั้งสองนั้น ลึกซึ้งด้วยเหตุผล เทศนาและปฏิเวธ อันบุคคลผู้มีได้สั่งสมบุญกุศลไว้หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันสัตว์ ทั้งหลายมีกระต่ายเป็นต้น หยั่งถึงได้ยากฉะนั้น และมีที่พึ่งอันบุคคลเหล่านั้น หาไม่ได้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ลึกซึ้งด้วยเหตุ ผล เทศนา และปฏิเวธ เพราะ ประกอบด้วยคัมภีรภาพทั้ง ๔ เหล่านั้น. เสียงแสดงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นไปในขณะเดียวกัน เป็นเสียงที่สัตว์ทั้งหลายผู้ ต่างภาษากัน รับฟังได้พร้อมกันตามภาษาของตน ย่อมเป็นไปเพื่อให้เข้าใจ ความหมายได้. เพราะว่าพุทธานุภาพ เป็นอจินไตย. นักศึกษาพึงเข้าใจว่า เสียงแสดงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า มาสู่คลองแห่งโสตประสาท (มา กระทบโสตประสาท) ของสรรพสัตว์ตามควรแก่ภาษาของตนๆ.
ด้วยอิติศัพท์ที่มีความหมายว่า นิทัสสนะ พระอานนทเถระ เมื่อ จะออกตัวว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่สยัมภู สูตรนี้ข้าพเจ้ามิได้ทำให้แจ้งด้วยตนเอง จึง กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้าเองก็ได้ฟังมาอย่างนี้. พระอานนทเถระ แสดงไข (ขยาย) สูตรทั้งหมดที่จะพึงกล่าวในบัดนี้ ด้วย อิติศัพท์ที่มีความหมายว่า นิทัสสนะนี้.
ด้วยอิติศัพท์ที่มีความหมายว่า อวธารณะ พระอานนทเถระ เมื่อ จะแสดงพลังแห่งความทรงจำของตน ซึ่งสมควรแก่ภาวะที่พระผู้มีพระภาค-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 40
เจ้า ทรงสรรเสริญอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเรา ตถาคตผู้เป็นพหูสูต มีคติ มีสติ มีธิติ เป็นพุทธอุปัฏฐาก อานนท์นี้เป็นยอดและ สมควรแก่ภาวะที่พระธรรมเสนาบดีสรรเสริญไว้อย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท เป็นผู้ฉลาดในอรรถ เป็นผู้ฉลาดในธรรม เป็นผู้ฉลาดในพยัญชนะ เป็นผู้ฉลาด ในภาษา เป็นผู้ฉลาดในบทต้นและบทปลาย จึงยังความเป็นผู้ใคร่จะฟังให้เกิด แก่สัตว์ทั้งหลายว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ก็แลสูตรนั้น ไม่ขาดไม่เกิน ทั้งโดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ พึงเห็นว่า เป็นอย่างนี้นั้นแล ไม่พึงเห็นว่า เป็นอย่างอื่น. บทว่า อญฺถา ความว่า เป็นอย่างอื่นจากอาการที่ได้ฟังมา เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ว่าไม่ใช่เป็นอย่างอื่น จาก อาการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง. ก็เทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอานุภาพเป็นอจินไตย เทศนานั้นใครๆ ไม่สามารถจะเข้าใจได้ครบทุกอย่าง ความนี้ท่านกล่าวไว้ดังพรรณนามานี้แล. ก็การที่ไม่ผิดพลาดจากอาการที่ได้ฟัง มาเป็นพลังแห่งความทรงจำ. ก็ในที่นี้ ไม่มีการใช้ความหมายอย่างอื่น เพราะ ความหมายทั้งสองมีวิสัยเป็นอย่างเดียวกัน เพราะ เมื่อว่าโดยประการนอกนี้ พระเถระก็จะต้องเป็นผู้สามารถ หรือไม่สามารถในการรับเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยประการทั้งปวงแล.
เม ศัพท์ใช้ในอรรถ ๓ อย่าง
เม ศัพท์ปรากฏในอรรถ ๓ อย่าง. จริงอย่างนั้น เม ศัพท์นั้น มีความหมายว่า มยา ในประโยคเป็นต้นว่า โภชนะนี้อันเราขับกล่อม คาถาได้มา จึงเป็นของไม่ควรบริโภค. มีความหมายว่า มยฺหํ (แก่เรา, แก่ข้าพเจ้า, แก่ฉัน, แก่ข้าพระองค์) ดังในประโยคเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์- ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงแสดงธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 41
แก่ข้าพระองค์แต่โดยย่อ. มีความหมายว่า มม (ของเรา, ของข้าพเจ้า, ของฉัน, ของข้าพระองค์) ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลาย จงเป็นธรรมทายาทของเราตถาคตเถิด. แต่ในที่นี้ประกอบในอรรถ ๒ อย่าง คือ อันข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว และการฟังมาของข้าพเจ้า ก็ในที่นี้ เม ศัพท์ ทั้ง ๓ อย่าง แม้ถ้าจะปรากฏในความหมายอย่างเดียวกัน เพราะในเมื่อ ควรจะกล่าวอย่างนี้ว่า บุคคลใดไม่ใช่บุคคลอื่น บุคคลนั้นก็คือตัวเราก็กลับ เป็นไปในสันดานของตนกล่าวคือเกิดภายในตนไซร้ ถึงกระนั้น เม ศัพท์ นั้นก็ยังมีความหมายที่แตกต่างกันนี้อยู่แล กล่าวคือ แตกต่างกันโดยเป็น ตติยาวิภัตติและจตุตถีวิภัตติเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เม ศัพท์ ปรากฏในความหมาย ๓ อย่าง.
อธิบาย สุตะศัพท์
สุตะ ศัพท์ ในบทว่า สุตํ นี้ ที่มีอุปสรรคก็มี ที่ไม่มีอุปสรรคก็มี แตกต่างโดยความหมายเป็นอเนกมีอาทิ คือ คมนะ. (การไป) วิสสุตะ (ฟัง) กิลินนะ (เปียกชุ่ม) อุปจิตะ (สั่งสม) อนุยุตตะ (ตามประกอบ, บำเพ็ญ) สุตวิญเญยยะ (รู้ได้ทางโสตะ) โสตทสารานุสาริวิญญาตะ (รู้ได้ตามกระแส แห่งโสตทวาร) อธิบายว่า อุปสรรคเป็นตัวขยายกิริยา (ให้มีความหมาย) พิเศษออกไปก็จริง ถึงกระนั้น เมื่ออุปสรรคนั้น แม้มีอยู่ เพราะขยายความ ให้ สุตะ ศัพท์นั่นแล ก็ยังกล่าวถึงความหมายนั้นๆ อยู่ เพราะเหตุนั้น ในการยกความหมายของ สุตะ ศัพท์ที่ไม่มีอุปสรรคขึ้นมา (เป็นตัวอย่าง) ท่านจึงยกเอาสุตะศัพท์ทีมีอุปสรรคขึ้นมา (เป็นตัวอย่าง) ด้วย. ในสุตะศัพท์ นั้นมีความหมายดังต่อไปนี้
๑. มีความหมายว่า ไปในประโยคเป็นต้นว่า ไปในกองทัพ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 42
๒. มีความหมายว่า ผู้ฟังธรรมแล้วในประโยคเป็นต้นว่า ผู้มีธรรม ที่ได้ฟังแล้ว เห็น (ธรรม) อยู่.
๓. มีความหมายว่า ผู้เปียกชุ่มด้วยกิเลสยินดีการถูกต้องกายของผู้ชาย ผู้เปียกชุ่มด้วยกิเลส ในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุณีสุนทรีนันทา ผู้อันราคะ ราดรดแล้ว ยินดีการถูกต้องกายของชายผู้ถูกราคะราดรดแล้ว.
๔. มีความหมายว่า สั่งสมในประโยคเป็นต้นว่า บุญเป็นอัน ท่าน ทั้งหลาย สั่งสมไว้แล้ว มิใช่น้อย.
๕. มีความหมายว่า บำเพ็ญฌานในประโยคเป็นต้นว่า นักปราชญ์ เหล่าใด บำเพ็ญฌาน.
๖. มีความหมายว่า รู้แจ้งได้ทางโสตประสาทในประโยคเป็นต้นว่า รูปอารมณ์ที่ได้เห็นแล้ว สัททารมณ์ที่ได้ฟังแล้ว คันธารมณ์ รสารมณ์ และ โผฏฐัพพารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว.
๗. มีความหมายว่า ทรงจำไว้ซึ่งอารมณ์ที่รู้แจ้งตามแนวแห่งโสตทวารในประโยคเป็นต้นว่า บุคคลผู้เป็นพหูสูตทรงจำสิ่งที่ได้ฟังมาแล้วสั่งสม สิ่งที่ได้ฟังมาแล้วไว้.
แต่ในที่นี้ สุตะ ศัพท์นั้น มีความหมายว่า ทรงจำไว้แล้วตามแนว แห่งโสตทวาร หรือ การทรงจำไว้ตามแนวแห่งโสตทวาร ก็เมื่อ เม ศัพท์ มีความหมายเท่ากับ มยา (อันข้าพเจ้า) จึงมีเนื้อความว่า อันข้าพเจ้าได้ฟัง มาแล้วอย่างนี้ คือ อันข้าพเจ้าทรงจำไว้แล้วตามแนวแห่งโสตทวาร เมื่อ เม ศัพท์มีความหมายเท่ากับ มม (ของข้าพเจ้า) จึงมีเนื้อความว่า การฟังของ ข้าพเจ้า คือ การทรงจำไว้ตามแนวแห่งโสตทวาร เป็นอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 43
พึงทราบวินิจฉัยในบททั้ง ๓ นี้อย่างนี้ว่า เพราะเหตุที่ อิติ ศัพท์นั้น พึงเป็นศัพท์ที่อมความหมายของ สุต ศัพท์ไว้ และพึงเป็นศัพท์ที่ขยายความ ของกิริยาคือ การฟัง ฉะนั้น บทว่า อิติ จึงแสดงถึงหน้าที่ของวิญญาณเป็นต้น. บทว่า เม แสดงถึงบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณดังกล่าวแล้ว. แม้ทุกพากษ์ (ทุกประโยค) จึงประกอบด้วยความหมายของ เอวํ ศัพท์นั่นเอง เพราะมี อวธารณะเป็นผล. ด้วยเหตุนั้น บทว่า สุตํ จึงเป็นคำแสดงถึงการรับเอามา ไม่บกพร่อง และไม่ผิดพลาดเพราะปฏิเสธภาวะ คือ การไม่ได้ฟัง. เปรียบเหมือนว่า สิ่งที่ได้ฟังมาแล้วย่อมควรเป็นสิ่งที่จะพึงพูดว่า ได้ฟังมาแล้วฉันใด การฟังมาด้วยดีนั้น จึงเป็นการรับเอามาไม่บกพร่อง และเป็นการรับเอามา ไม่ผิดพลาด ฉันนั้นดังนี้. อีกประการหนึ่ง (พึงทราบว่า) ศัพท์ ย่อมบอก ความหมาย โดยไม่ให้หลงไปในความหมายของศัพท์อื่น. เพราะเหตุที่ บทว่า สุตํ นี้ มีความหมายดังนี้ว่า ไม่ได้ฟังมาหามิได้ ฉะนั้น บทว่า สุตํ จึงชื่อว่า แสดงการรับเอามาไม่บกพร่อง และไม่วิปริต เพราะปฏิเสธภาวะ คือ การ ไม่ได้ฟัง. มีคำอธิบายดังนี้ว่า เราได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ คือ เราไม่ได้เห็นเอง ไม่ได้ทำให้แจ้ง ด้วยสยัมภูญาณ หรือไม่ใช่ได้มาโดยประการอื่น และการ ฟังนั้นก็เป็นการฟังด้วยดีทีเดียว. อีกอย่างหนึ่ง อิติ ศัพท์ ที่มีอวธารณะเป็น อรรถ (ความหมายห้ามเนื้อความอื่น) มีการ (อธิบาย) ประกอบความดัง พรรณนามานี้ เพราะเหตุนั้น สุตะศัพท์ ซึ่งเพ่งถึง อิติ ศัพท์นั้น จึงมี ความหมายว่า กำหนด (แน่นอน) เพราะฉะนั้น นักศึกษาพึงทราบการที่สุตะ ศัพท์ ปฏิเสธภาวะคือการไม่ได้ฟัง และการที่สุตะศัพท์แสดงการรับเอามา ไม่บกพร่องและไม่วิปริต.
นักศึกษาพึงเห็นว่า ท่านแต่งอรรถโยชนา ของบททั้ง ๓ (เอวมฺเม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 44
สุตํ) ด้วยอำนาจเหตุแห่งการฟังและความแปลกกันแห่งการฟังดังพรรณนามา นี้. อนึ่ง บทว่า อิติ ชื่อว่า ประกาศถึงภาวะคือความเป็นไปในอารมณ์มี ประการต่างๆ เพราะวิญญาณวิถีทีเป็นไปตามแนวแห่งโสตทวารรับเอาอรรถ และพยัญชนะต่างๆ กัน เพราะทำการอธิบายว่า อิติ ศัพท์ มีความหมาย ถึงอาการ. บทว่า เม ประกาศถึงตน. บทว่า สุตํ ชื่อว่า ประกาศถึงธรรม เพราะวิญญาณวิถีตามที่กล่าวแล้วมีปริยัติธรรมเป็นอารมณ์.
ก็ในบทนี้มีความย่อดังต่อไปนี้ว่า ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ.) มิได้ ทำสิ่งอื่น คือ ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมนี้ ด้วยวิญญาณวิถีที่เป็นไปในอารมณ์มี ประการต่างๆ อันเป็นตัวเหตุ. อนึ่ง บทว่า อิติ ชื่อว่า ประกาศถึงสิ่งที่ได้ แสดงมาแล้ว เพราะสิ่งที่จะพึงแสดงก็ไม่มีภาวะที่จะพึงแสดง (อีก) เพราะ อธิบายว่า อิติ ศัพท์ มีนิทัสสนะเป็นอรรถ. เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ท่านเท้าถึงสูตรทั้งหมดด้วยอิติศัพท์. บทว่า เม ประกาศถึงบุคคล บทว่า สุตํ ประกาศถึงกิจของบุคคล. ก็กิริยาคือการฟังที่ได้มาด้วยเสียงที่ได้ยินมา เกี่ยวเนื่องผูกพันอยู่กับสวนวิญญาณ (วิญญาณในการฟัง) ก็ในธรรมประพันธ์ (การเอ่ยถึงธรรม) ที่ประกอบด้วยการกล่าวถึงบุคคลนั้น ย่อมได้กิริยา คือ การฟัง. บทนั้นมีความย่อดังนี้ว่า ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ) จักแสดงอ้าง สูตรใด สูตรนั้นข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
อนึ่ง บทว่า อิติ เป็นบทมีการรับเอาอรรถและพยัญชนะต่างๆ กัน เพราะความเป็นไปแห่งจิตสันดานใดที่มีอารมณ์ต่างๆ กัน. บทว่า อิติ ก็แสดงถึงอาการต่างๆ กัน แห่งจิตสันดานนั้น เพราะทำอธิบายว่า อิติศัพท์ มีความหมายถึงอาการ. ด้วยว่าศัพท์ อิติ นี้ ชื่อว่า เป็นการบัญญัติถึงอาการ เพราะธรรมทั้งหลายมีสภาวะที่จะต้องบัญญัติ โดยอาศัยอาการคือความเป็นไป นั้นๆ. บทว่า เม แสดงถึงกัตตา. บทว่า สุตํ แสดงถึงอารมณ์. เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 45
ว่าธรรมที่จะต้องฟังย่อมเป็นฐานให้บุคคลผู้ทำเป็นไปด้วยอำนาจ กิริยา คือ การฟัง ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันท่านแสดงถึงการตกลงใจในการรับ อารมณ์ของผู้ทำผู้พรั่งพร้อมด้วยกิริยา คือ การฟังนั้น ด้วยจิตสันดานที่เป็น ไปแล้ว โดยประการต่างๆ.
อีกประการหนึ่ง บทว่า อิติ แสดงถึงกิจของบุคคล อธิบายว่า จริงอยู่ ธรรมดาว่ากิจของบุคคลเป็นอันพระอานนทเถระ แสดงแล้วด้วยอิติ ศัพท์ที่มีภาวะประกาศอรรถว่า นิทัสสนะ หรือว่า อวธารณะ ที่มีอาการแห่ง ธรรมทั้งหลายที่ได้ฟังมาแล้ว อันตนรับไว้แล้ว เพราะการทรงจำอาการนั้น เป็นต้นไว้ เป็นความขวนขวายในธรรม ด้วยการยึดมั่น ในโวหารว่าบุคคล. บทว่า สุตํ แสดงถึงกิจของวิญญาณ. อธิบายว่า จริงอยู่ กิริยา คือ การฟัง แม้ของผู้มีวาทะว่า บุคคลจะไม่เพ่งถึงวิญญาณก็หามิได้. บทว่า เม แสดง ถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยกิจทั้งสอง. อธิบายว่า จริงอยู่ ก็ความเป็นไปของศัพท์ ว่า เม มีธรรมอันวิเศษที่ไม่ฟังมาแล้วเป็นอารมณ์ โดยส่วนเดียวเท่านั้น และกิจของวิญญาณก็พึงตั้งลงในอารมณ์นั้นนั่นแล. แต่ในที่นี้มีความย่อดังนี้ ว่า อันข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ) คือ อันบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณที่มี หน้าที่ฟัง ได้ฟังมาแล้ว ด้วยสามารถแห่งวิญญาณที่ได้โวหารว่า ผู้มีหน้า ที่ฟัง.
อนึ่ง บทว่า อิติ และบทว่า เม เป็นอวิชชมานบัญญัติด้วยอำนาจ สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แห่งความหมายที่แจ่มแจ้งและความหมายที่ยอดยิ่ง เพราะ ว่า ความหมายที่จะพึงเข้าใจได้ด้วยเสียงทั้งหมดก็ดี บัญญัติทั้งมวลเพราะจะ ต้องปฏิบัติตามแนวทางแห่งการบัญญัตินั่นเองก็ดี ย่อมมีความไม่ขัดแย้งกันใน บัญญัติทั้ง ๖ นั่นแหละ มีวิชชมานบัญญัติเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ความหมาย อันใดเป็นความหมายที่ไม่มีอยู่จริง เหมือนมายากลและพยับแดดเป็นต้น และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 46
ไม่ใช่เป็นความหมายที่ไม่สูงสุด เหมือนอย่างความหมายที่ต้องรับไว้ด้วยการฟัง กันสืบๆ มาเป็นต้น ความหมายเป็นปรมัตถสภาวะมีสัททรูปคือเสียงเป็นต้น และมีการแตกสลาย มีการเสวยอารมณ์เป็นต้น มีอยู่ด้วยอำนาจสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์. ส่วนความหมายอันใดมีความหมายถึงอาการเป็นต้น ที่กำลังกล่าวอยู่ว่า อิติ และว่า เม ความหมายอันนั้นมิใช่ปรมัตถสภาวะ คือ ไม่ได้ด้วยอำนาจสัจ- ฉิกัฏฐปรมัตถ์ ชื่อว่า อวิชชมานบัญญัติ. ถามว่า บรรดาบททั้ง ๓ นี้ บท ใดพึงได้การแสดงอ้างว่า อิติ หรือว่า เม บทนั้นมีอยู่โดยปรมัตถ์หรือ? ตอบว่า บทว่า สุตํ เป็นวิชชมานบัญญัติ. อธิบายว่าอารมณ์ที่ได้รับทาง โสตประสาทนั้น มีอยู่โดยปรมัตถ์.
อนึ่ง บทว่า อิติ จัดเป็นอุปทายบัญญัติ เพราะจะพึงกล่าวด้วย อำนาจการพาดพิงถึงอาการทั้งหลาย มีอาการที่ทรงจำไว้เป็นต้นเหล่านั้นได้ก็ โดยอาศัยธรรมทั้งหลายที่มากระทบโสต. บทว่า เม ชื่อว่า เป็นอุปาทายบัญญัติ เพราะจะต้องพูดถึง โดยอาศัยขันธ์ทั้งหลายที่นับเนื่องในสันตติ ซึ่งที่ สูงสุดโดยพิเศษมีการณะเป็นต้น. บทว่า สุตํ ชื่อว่าเป็นอุปนิธายบัญญัติ เพราะจะต้องพูดถึง โดยเปรียบเทียบกันอารมณ์ทั้งหลายมีรูปที่ได้เห็นเป็นต้น โวหารว่า สุตะ แม้เป็นไปในสัททายตนะ ที่เว้นจากสภาวะของรูปที่ได้เห็น เป็นต้น จะต้องพูดถึงโดยเปรียบเทียบกับรูปที่ได้เห็นเป็นต้น เพราะเป็นสิ่งที่ พึงทราบชัดว่า สิ่งใดไม่มุ่งถึงรูปที่ได้เห็น กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ได้ทราบ และอารมณ์ที่ได้รู้แจ้ง สิ่งนั้นจัดเป็นสุตะ๑ เปรียบเหมือนโวหารว่า ทุติยฌาณ ตติยฌาณเป็นต้น จะต้องพูดถึงโดยอาศัยปฐมฌานเป็นต้น ฉะนั้น เพราะเหตุ นั้น ท่านจึงประกาศเนื้อความนี้ไว้ว่า ชื่อว่า สุตะ เพราะไม่ใช่ ไม่ได้ฟังมา.
๑ แปลตามเชิงอรรถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 47
อนึ่ง ในที่นี้ ท่านแสดงถึงความไม่หลงลืมออกมาด้วยคำว่า อิติ. อธิบายว่า ประการที่แตกต่างกันออกไปแห่งความหมายที่ ท่านพระอานนท์ พาดพิงถึงในบทว่า อิติ นี้ท่านแทงตลอดแล้ว ความไม่หลงลืมของท่านจึง เป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยคำว่า อิติ นั้น. เป็นความจริง คนหลงลืมย่อมไม่ สามารถแทงตลอดประการต่างๆ ได้. ประการต่างๆ คือ การละโลภะเป็น ต้น และประการที่แทงตลอดไว้ไม่ดี ท่านแสดงไว้ว่าเป็นสุตะ. ท่านแสดง ความไม่เลอะเลือนด้วยคำว่า สุตะ เพราะอาการแห่งสุตะเป็นอาการที่เห็นอยู่ ตามความเป็นจริง. จริงอยู่ ผู้ใดมีสุตะหลงลืมแล้ว ผู้นั้นย่อมปฏิญญาไม่ได้ว่า เราได้ฟังมาแล้วในกาลอื่น เพราะความไม่หลงลืม เพราะไม่มีความหลงลืม หรือเพราะปัญญาที่เกิดในเวลาฟังของพระอานนท์นั้นเอง จึงมีความสำเร็จ แห่งปัญญาในกาลอื่นจากนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้. อนึ่ง เพราะความไม่เลอะ เลือน จึงมีความสำเร็จแห่งสติ. บรรดาปัญญากับสติทั้งสองนั้น เพราะสติที่ เป็นตัวนำปัญญา จึงมีความสามารถทรงจำพยัญชนะไว้ได้. เพราะว่าอาการ แห่งพยัญชนะทั้งหลายที่จะพึงแทงตลอด ไม่ลึกซึ้งยิ่งนัก การทรงจำไว้ตามที่ ได้ฟังมานั่นแล เป็นกรณียกิจในเรื่องนั้น เพราะเหตุนั้นความปรากฏของสติ จึงเป็นของสำคัญ. ปัญญาเป็นคุณ (หนุน) ในข้อนั้น เพราะเหตุที่สติเป็นตัวนำ ของปัญญา. เพราะปัญญาเป็นตัวนำของสติ จึงมีความสามารถในการแทง ตลอดความหมายได้. เพราะว่า อาการแห่งความหมายที่จะพึงแทงตลอดเป็น ของลึกซึ้ง เพราะเหตุนั้น ความขวนขวายของปัญญาจึงเป็นของสำคัญ. สติ เป็นตัวคุณธรรมในข้อนั้น เพราะเหตุที่ปัญญาเป็นตัวนำของสติ เพราะ ประกอบด้วยความสามารถทั้งสองนั้น (พระอานนท์) จึงมีความสำเร็จแห่ง ความเป็นพระธรรมภัณฑาคาริก (พระขุนคลังธรรมะ) เพราะท่านสามารถตาม รักษาคลังพระธรรมที่สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 48
อีกนัยหนึ่ง พระอานนท์ แสดงการทำไว้ในใจโดยแยบคาย ด้วย คำว่า อิติ เพราะอรรถแห่ง อาการะ นิทัสสนะ และ อวธารณะที่กล่าวไว้ ด้วยคำว่า อิติ นั้นซึ่งจะกล่าวถึงข้างหน้า อันส่องถึงการแทงตลอด โดย ประการต่างๆ เป็นอรรถไม่วิปริต ก็มีสัทธรรมที่ไม่วิปริตเป็นอารมณ์ อธิบายว่า การแทงตลอด (ธรรม) โดยประการต่างๆ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ ใส่ใจโดยแยบคาย. พระอานนท์ แสดงความไม่ฟุ้งซ่านด้วยคำว่า สุตํ. การฟังสูตรที่กำลังกล่าวอยู่ ซึ่งจัดเป็นปกรณ์ด้วยอำนาจนิทานและปุจฉา เว้น สมาธิเสียย่อมไม่มี เพราะบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่านจะฟังไม่ได้. เป็นความจริง บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน แม้อันพระธรรมกถึกกล่าวอยู่ด้วยสมบัติทั้งปวง ก็มัก กล่าวว่า ข้าพเจ้ามิได้ฟัง นิมนต์พระคุณเจ้ากล่าวซ้ำอีก. อนึ่ง ในที่นี้บุคคล จะให้อัตตสัมมาปณิธิ และปุพเพกตปุญญตาสำเร็จได้ก็ด้วยโยนิโสมนสิการ เพราะบุคคลผู้มิได้ตั้งตนไว้ชอบ หรือผู้มีได้ทำบุญไว้ในชาติปางก่อนจะมีโยนิ- โสมนสิการนั้นไม่ได้ บุคคลจะให้สัทธัมมัสสวนะ และสัปปุริสูปัสสยะสำเร็จได้ก็ ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน เพราะบุคคลผู้มีได้สดับธรรม และผู้เว้นจากการเข้าไป นั่งใกล้สัตบุรุษ จะมีความไม่ฟุ้งซ่านนั้นไม่ได้. เป็นความจริง บุคคลผู้มีจิต ฟุ้งซ่านจะไม่สามารถฟังพระสัทธรรมได้เลย. และบุคคลผู้ไม่เข้าไปนั่งใกล้ สัตบุรุษจะไม่มีการฟัง (ธรรม) เลย.
อีกนัยหนึ่ง เพราะจิตสันดานใดเป็นไปโดยอาการต่างๆ กัน จึงมี การรับ (เข้าใจ) อรรถและพยัญชนะต่างๆ ได้ อิติศัพท์ท่านจึงกล่าวว่าเป็น ศัพท์แสดงอาการต่างๆ ของจิตสันดานนั้น. ก็เพราะเหตุที่อาการแห่งพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่งามอย่างนี้ ที่เป็นเหตุให้ประโยชน์ของผู้อื่น บริบูรณ์ได้ครบถ้วน โดยทำให้ผู้อื่นนั้นหยั่งลงสู่ความสมบูรณ์แห่งพระศาสนา ทั้งหมด ด้วยการกำหนดประเภทแห่งอรรถและพยัญชนะได้ ย่อมไม่มีแก่บุคคล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 49
ผู้มิได้ตั้งตนไว้ชอบ หรือผู้มีได้ทำบุญไว้ในชาติปางก่อน ฉะนั้น พระอานนท์ จึงแสดงความถึงพร้อมแห่งจักร ๒ ข้อหลังของตน โดยอาการอันงามด้วยคำ นี้ว่า อิติ. พระอานนท์แสดงความถึงพร้อมแห่งจักร ๒ ข้อข้างต้น เพราะ ประกอบด้วยการฟัง ด้วยคำว่า สุตํ. อธิบายว่า การฟัง (ธรรม) ย่อมไม่มี แก่บุคคลผู้อยู่ในประเทศที่ไม่สมควร หรือผู้เว้นจากการเข้าไปนั่งใกล้สัตบุรุษ เพราะจักร ๒ ข้อหลังของพระอานนท์นั้นสำเร็จ ความบริสุทธิ์แห่งอาสยะ จึงเป็นอันสำเร็จด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้ บุคคลผู้ตั้งตนไว้ชอบ และ ทำบุญไว้ในชาติปางก่อน ชื่อว่าเป็นผู้มีอาสยะบริสุทธิ์ เพราะกิเลสทั้งหลาย ที่เป็นเหตุให้อาสยะไม่บริสุทธิ์นั้นอยู่ไกล. สมจริง ด้วยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า
จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้ว พึงทำ บุคคลนั้นให้ประเสริฐกว่า เหตุนั้น
และว่า ดูก่อนอานนท์ เธอเป็นผู้ที่ได้ทำบุญไว้แล้ว ขอเธอจงหมั่นประกอบ ความเพียรเถิด ไม่ช้าก็จักได้เป็นผู้ไม่มีอาสวะ. เพราะจักร ๒ ข้างต้นสำเร็จ ความบริสุทธิ์แห่งปโยคะก็เป็นอันสำเร็จด้วย. อธิบายว่า พระอานนท์ชื่อว่า เป็นผู้มีปโยคะอันบริสุทธิ์ โดยสาธุชนทั้งหลาย ถือเอาเป็นเยี่ยงอย่างได้ เพราะ การอยู่ในประเทศอันสมควร และเพราะการเข้าไปนั่งใกล้สัตบุรุษ ก็เพราะ อาสยะบริสุทธิ์นั้น ความฉลาดในอธิคมสำเร็จได้ ก็เพราะเครื่องเศร้าหมอง คือตัณหา และทิฏฐิถูกชำระให้บริสุทธิ์แล้วในกาลก่อนนั่นแล. เพราะปโยคะ บริสุทธิ์ ความฉลาดในอาคมจึงสำเร็จได้. อธิบายว่า พระอานนท์มีกาย ปโยคะ และวจีปโยคะบริสุทธิ์ มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน เพราะไม่มีวิปปฏิสาร จึงเป็น ผู้แกล้วกล้าในปริยัติ ถ้อยคำของพระอานนท์ ผู้มีปโยคะและอาสยะบริสุทธิ์ ผู้สมบูรณ์ด้วยอาคมและอธิคม ดังว่ามานี้ สมควรที่จะเป็นคำนำแห่งพระดำรัส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 50
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนอรุณขึ้น ควรมีมาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น และโยนิโสมนสิการควรเกิดขึ้นก่อนกุศลกรรม เพราะเหตุนั้น พระอานนท์ เมื่อจะตั้งนิทาน (คำเบื้องต้น) ในที่อันควร จึงกล่าวคำว่า อิติ เม สุตํ เป็นต้นไว้.
อีกนัยหนึ่ง พระอานนท์แสดงการเกิดมีแห่งสมบัติ คือ อัตถปฏิสัมภิทา และปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตน ด้วยคำว่า อิติ นี้ ที่แสดงถึงการแทงตลอด โดยประการต่างๆ ตามนัยที่กล่าวแล้วในกาลก่อน. พระอานนท์แสดงการเกิด มีแห่งสมบัติ คือ ธรรมปฏิสัมภิทา และนิรุตติปฏิสัมภิทา ด้วยคำว่า สุตํ นี้ ที่แสดงถึงการแทงตลอดที่แตกต่างจากสิ่งที่ควรสดับ เพราะอมความของอิติ- ศัพท์ไว้ หรือเพราะมุ่งถึงเรื่องที่กำลังกล่าว. อนึ่ง พระอานนท์กล่าวคำนี้ว่า อิติ ที่แสดงถึงโยนิโสมนสิการ ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล จึงเท่ากับแสดงว่า ธรรมเหล่านี้ข้าพเจ้าตามเพ่งด้วยใจ ขบคิดแล้วด้วยทิฏฐิ. อธิบายว่า ปริยัติธรรม ทั้งหลาย ที่บุคคลตามเพ่งด้วยใจ โดยนัยเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสศีลไว้ในสูตรนี้ ตรัสสมาธิไว้ในสูตรนี้ ตรัสปัญญาไว้ในสูตรนี้ ในสูตรนี้ มีอนุสนธิเท่านี้ ที่บุคคลกำหนดรูปธรรมและอรูปธรรม ที่กล่าวไว้ในสูตร นั้นๆ ด้วยดี โดยนัยเป็นต้นว่า รูปเป็นอย่างนี้ รูปมีเท่านี้ แล้วขบคิดด้วยทิฏฐิ อันเกี่ยวเนื่องกับการตรึกตรองไปตามอาการที่ได้ฟังสืบๆ มา อันเป็นตัวทน ต่อการเพ่งพินิจ (พิสูจน์) แห่งธรรมหรือกล่าวคือ เป็นญาตปริญญา ย่อมนำ ประโยชน์เกื้อกูล และความสุขมาให้ทั้งแก่ตนและบุคคลอื่นแล. พระอานนท์ เมื่อกล่าวคำว่า สุตํ นี้ ที่แสดงถึงการประกอบในการฟัง จึงเท่ากับแสดงว่า ธรรมเป็นอันมาก อันข้าพเจ้าพึงทรงจำได้ สั่งสมไว้ด้วยวาจาแล้ว (สาธยาย) อธิบายว่า การฟัง การทรงจำ และการสั่งสมปริยัติธรรมไว้ เกี่ยวเนื่องกับการ เงี่ยโสตลงสดับ. พระอานนท์ แสดงความบริบูรณ์แห่งอรรถและพยัญชนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 51
โดยภาวะที่ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วทั้งสองนั้น จึงทำให้ (ผู้ฟัง) เกิดความเอื้อเฟื้อในการฟัง. จริงอยู่ บุคคลเมื่อไม่ฟังธรรมที่บริบูรณ์ ด้วยอรรถและพยัญชนะ ย่อมเป็นผู้เหินห่างจากประโยชน์เกื้อกูลใหญ่ เพราะ เหตุนั้น นักศึกษาพึงทำความเอื้อเฟื้อให้เกิดแล้ว ฟังธรรมเถิด.
ก็ด้วยคำทั้งหมดนี้ว่า อิติ เม สุตํ ท่านพระอานนท์เมื่อไม่ตั้ง ธรรมวินัยที่พระตถาคตเจ้าประกาศแล้วเพื่อตนเอง ชื่อว่าก้าวสู่ภูมิของ อสัตบุรุษ เมื่อปฏิญญาความเป็นพระสาวก ชื่อว่า ก้าวลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ด้วยประการนั้น ท่านพระอานนท์ ชื่อว่า ยังจิตให้ออกจากอสัทธรรม ชื่อว่า ยังจิตให้สถิตอยู่ในสัทธรรม. อนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อแสดงว่า คำนั้นคือพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล อันข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว ทั้งหมดทีเดียว ชื่อว่า เปลื้องตน อ้างพระศาสดา แนบแน่นคำของพระชินเจ้า ตั้งเป็นแบบธรรมเนียมไว้. อนึ่ง ด้วยคำว่า อิติ เม สุตํ ท่านพระอานนท์ เมื่อไม่ปฏิญญาว่า ธรรมตนเองให้เกิดขึ้น เปิดเผยคำพูดเริ่มต้น (ปุริมพจน์) ว่า คำนี้ อันข้าพเจ้ารับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้ แกล้วกล้าด้วยเวสารัชชญาณ ๔ ผู้ทรงไว้ซึ่งทสพลญาณ ผู้ทรงดำรงอยู่ในฐานะ แห่งบุคคลผู้องอาจ ผู้ทรงมีปกติบันลือสีหนาทผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ ผู้ทรง เป็นพระธรรมิศร ธรรมราชา ธรรมาธิบดี ผู้ทรงเป็นธรรมประทีป ธรรมสรณะ ผู้ทรงหมุนล้อแห่งพระสัทธรรมอันประเสริฐ ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านทั้งหลายไม่ควรทำความสงสัยหรือความแคลงใจ ในอรรถหรือ ธรรมในบทหรือพยัญชนะนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ยังความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาในธรรม วินัยนี้ให้พินาศ ยังสัทธาสัมปทาให้เกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถา ประพันธ์นี้ไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 52
พระสาวกของพระโคดมเมื่อกล่าวว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้ ชื่อว่า ยังอศรัทธาให้ พินาศ ยังศรัทธาในพระศาสนาให้เจริญ.
ในที่นี้ อาจารย์บางท่านกล่าวว่า ก็เพราะเหตุไรในสูตรนี้ ท่านจึงไม่ กล่าวคำนี้ทานไว้เหมือนในสูตรอื่นๆ ที่พระอานนท์กล่าวคำนิทานอ้างกาละเทสะ (เวลาและสถานที่) ไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ เล่า. ตอบว่า เพราะอาจารย์พวกอื่นได้กล่าวไว้ก่อนแล้ว. ก็คำนิทาน (ในสูตรนี้) พระ เถระมิได้กล่าวไว้ เพราะมีผู้กล่าวไว้แล้ว. อธิบายว่า คำนี้ทานนี้ ท่าน พระอานนท์มิได้กล่าวก่อน แต่นางขุชชุตตรา ผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแต่งตั้งไว้ในเอตทัคคะ เพราะในบรรดาอุบาสิกา นางเป็นพหูสูต เป็น อริยสาวิกาได้บรรลุเสกขปฏิสัมภิทา กล่าวไว้ก่อนแล้วแก่สตรี ๕๐๐ นาง ซึ่งมีพระนางสามาวดีเป็นประมุข. ในเรื่องนั้น มีการเล่าไว้เป็นลำดับ ดังต่อ ไปนี้
ประวัตินางขุชชุตตรา
ได้ทราบว่า นับจากนี้ไปในตอนท้ายแสนกัป พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักร อันประเสริฐ แล้วประทับอยู่ในเมืองหงสาวดี. อยู่มาวันหนึ่ง กุลธิดานางหนึ่ง ในเมืองหงสาวดี ได้ไปยังอารามพร้อมกับอุบาสิกา ซึ่งกำลังไปเพื่อฟังเทศนา ของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงแต่งตั้งอุบาสิกาคนหนึ่งไว้ในเอตทัคคะ (ตำแหน่งที่เลิศกว่า) อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นพหูสูต จึงทำบุญแล้วปรารถนา ฐานันดรนั้น.
ฝ่ายพระศาสดาก็ทรงพยากรณ์อุบาสิกานั้นว่า ในอนาคตกาล นาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 53
จักได้เป็นอุบาสิกา ผู้เป็นสาวิกาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า โคดม จักเป็นผู้เลิศในบรรดาอุบาสิกาผู้เป็นพหูสูตด้วยกัน. นางทำกุศลจน ตลอดชีวิตแล้ว ก็ไปบังเกิดในเทวโลก (จุติจากเทวโลกแล้ว) ก็มาบังเกิดใน หมู่มนุษย์อีก เมื่อนางท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลก และมนุษยโลกอย่างนี้แล ล่วง ไปได้หนึ่งแสนกัป ครั้นแล้วในภัททกัปนี้ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ของเราทั้งหลาย นางก็ได้จุติจากเทวโลกมาถือปฏิสนธิ ในท้องหญิงพี่เลี้ยงใน เรือนของโฆสิตเศรษฐี.
ชนทั้งหลายได้ตั้งชื่อให้นางว่า อุตตรา ในเวลาที่เกิดมาแล้ว นางได้ กลายเป็นหญิงค่อม เพราะเหตุนั้น จึงปรากฏชื่อว่า ขุชชุตตรา ต่อมา ในเวลาที่โฆสิตเศรษฐี ถวายนางสามาวดี แก่พระเจ้าอุเทน นาง ขุชชุตตรานั้น ก็ถูกยกให้ไปเป็นนางปริจาริกา ของนางสามาวดีนั้น (และ) อยู่ภายในราชสำนักของพระเจ้าอุเทน ก็สมัยนั้น โฆสิตเศรษฐี กุกกุฏเศรษฐี และปาวาริกเศรษฐี ในเมืองโกสัมพี ได้พากันสร้างวิหาร ๓ แห่ง อุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระตถาคตเจ้าเสด็จจาริกไปใน ชนบท ถึงพระนครโกสัมพี ก็ได้มอบถวายวิหารแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุข แล้วพากันบำเพ็ญมหาทาน. ประมาณเดือนหนึ่งผ่านพ้นไป. ครั้งนั้น เศรษฐีเหล่านั้นได้มีความคิด ดังนี้ว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ทรงอนุเคราะห์โลกทั้งหมด พวกเราจักให้โอกาสแก่คนอื่นบ้าง. แม้คนที่อยู่ในตัวเมืองโกสัมพี ก็ได้เปิดโอกาสให้แก่ประชาชนทั่วไป. ตั้งแต่ นั้นมา พวกชาวเมือง ก็พากันถวายมหาทาน โดยรวมคนในถนน (เดียวกัน) บ้าง โดยรวมกันเป็นคณะบ้าง อยู่มาวันหนึ่ง พระศาสดาอันภิกษุสงฆ์แวดล้อม แล้วประทับนั่งในเรือนของนายมาลาการผู้เป็นหัวหน้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 54
ขณะนั้น นางขุชชุตตรา ได้รับทรัพย์ ๘ กหาปณะ แล้วไปยังเรือน นั้นเพื่อซื้อดอกไม้ไปให้นางสามาวดี. นายมาลาการผู้เป็นหัวหน้าเห็นนาง แล้วก็กล่าวว่า แม่อุตตรา วันนี้ (ฉัน) ไม่มีเวลาที่จะให้ดอกไม้แก่เธอ ฉันกำลังอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แม้เธอก็จงเป็นสหายใน การเลี้ยงดูเถิด เมื่อทำอย่างนี้แล้ว เธอก็จักพ้นไปจากการทำการรับใช้บุคคลอื่น (เสียที). ครั้งนั้น นางขุชชุตตรา ก็ได้ทำการรับใช้ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในโรงครัว. นางได้เรียนธรรมทั้งหมดที่พระศาสดาตรัสแล้วด้วยอำนาจเป็น อุปนิสินนกถา ต่อมาได้ฟังอนุโมทนาแล้วได้บรรลุโสดาปัตติผล. ในวันอื่นๆ นางให้ ๔ กหาปณะเท่านั้น แล้วรับเอาดอกไม้ไป. แต่ในวันนั้น เพราะได้ เห็นสัจจะ นางไม่ยังจิตให้เกิดในสิ่งของของบุคคลอื่นให้หมดทั้ง ๘ กหาปณะ แล้วได้รับเอาดอกไม้ไปยังสำนักของนางสามาวดี.
ลำดับนั้น พระนางสามาวดีนั้นได้ถามนางว่า แม่อุตตรา ในวันอื่นๆ เธอนำดอกไม้มาให้ไม่มาก แต่วันนี้นำมาให้มาก พระราชาของเราทั้งหลาย ทรงเลื่อมใสมากขึ้นหรือ? นางได้ทูลเรื่องทั้งหมดไม่ปกปิดเรื่องที่ตนได้ทำไป แล้ว เพราะไม่สามารถจะกล่าวเท็จได้ และเมื่อนางถูกถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร วันนี้จึงนำดอกไม้มามาก ก็ทูลตอบว่า วันนี้หม่อมฉัน ได้ฟังธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วได้ทำให้แจ้งซึ่งอมตะ เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงลวงพระองค์ท่านไม่ได้. พระนางสามาวดี ทรงสดับคำนั้นแล้ว ก็มิได้ทรงขู่ตะคอกว่า เฮ้ยนางทาสีผู้ชั่วร้าย แกจงคืนกหาปณะที่แก (ยักยอก) เอาไปตลอดเวลาเท่านี้มา (พระนาง) อันบุรพเหตุตักเตือน ได้ตรัสว่า แม่ ขอแม่จงให้พวกเราได้ดื่มน้ำอมฤตที่แม่ได้ดื่มแล้วบ้างเถิด เมื่อนางขุชชุตตรา ทูลว่า ถ้าอย่างนั้น จงทรงพระกรุณาให้หม่อมฉันอาบน้ำ (ก่อน) ก็ทรงให้ นางอาบน้ำด้วยน้ำหอม ๑๖ หม้อ แล้วรับสั่งให้ประทานผ้าเนื้อเกลี้ยง ๒ ผืน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 55
นางขุชชุตตรานั้น นุ่งผืนหนึ่ง อีกผืนหนึ่งเอาห่มเฉวียงบ่าแล้ว ปูลาดอาสนะนั่งบนอาสนะถือพัดอันวิจิตร ร้องทักมาตุคามทั้ง ๕๐๐ นางซึ่งนั่ง อยู่บนอาสนะที่ต่ำกว่า ดำรงอยู่ในเสกขปฏิสัมภิทา แสดงธรรมแก่หญิงเหล่านั้น ตามนิยามที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนั่นแล. เวลาจบเทศนา หญิงทั้งหลาย นั้นได้บรรลุโสดาปัตติผล. หญิงทั้งหมดนั้นไหว้นางขุชชุตตราพลางกล่าวว่า ข้าแต่แม่เจ้า ตั้งแต่วันนี้ไป ขอแม่เจ้าอย่าได้ท่างานอันต่ำต้อยอีกต่อไปเลย ขอแม่เจ้าจงดำรงอยู่ในฐานะเป็นมารดา ในฐานะเป็นอาจารย์ของเราทั้งหลาย เถิด ดังนี้แล้ว ได้ตั้ง (นาง) ไว้ในฐานะเป็นที่เคารพ.
อดีตชาติของนางขุชชุตตรา
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร นางขุชชุตตรานี้จึงบังเกิดเป็นนางทาสี? ตอบว่า เล่ากันว่า ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ นางบังเกิดเป็นธิดาของเศรษฐีในเมืองพาราณสีเมื่อพระเถรีผู้เป็นพระขีณาสพ รูปหนึ่งไปยังตระกูลอุปัฏฐาก ก็เรียนว่า ข้าแต่แม่เจ้า ขอแม่เจ้าจงให้กระเช้า ประดับนั่นแก่ดิฉันเถิด ดังนี้แล้ว สั่งให้คนใช้ทำการรับใช้ (พระเถรี) ฝ่ายพระเถระ คิดว่า เมื่อเราไม่ให้ นางจักเกิดความอาฆาต (ตายแล้ว) จักได้เกิดใน นรก เมื่อเราให้ นางจักเกิดเป็นทาสีของคนอื่น การที่นาง (เกิด) เป็นทาสี ดีกว่าการไหม้ในนรก ดังนี้แล้ว อาศัยความกรุณาจึงได้ทำตามคำของนาง. ด้วยกรรมนั้น นางได้บังเกิดเป็นทาสีของคนอื่นสิ้น ๕๐๐ ชาติ.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร นางจงได้เป็นหญิงค่อม? ตอบว่า เล่ากันว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น นางอยู่ในพระราชวังของพระเจ้าพาราณสี เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นราชกุลุปกะองค์หนึ่งหลังค่อมนิดหน่อย เมื่อจะ ทำการล้อเลียนต่อหน้าหญิงที่อยู่ด้วยกันกับตน จึงได้แสดงอาการหลังค่อมเป็น การสนุกสนานตามที่กล่าว เพราะเหตุนั้น นางจึงบังเกิดเป็นหญิงค่อม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 56
ถามว่า ก็นางทำกรรมอะไรไว้จึงเกิดเป็นหญิงมีปัญญามาก? ตอบว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น นางอยู่ในพระราชวังของพระเจ้าพาราณสี เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์ เปลี่ยน (มือ) อุ้มบาตรที่เต็มด้วยข้าวปายาส ร้อน (ที่รับ) จากพระราชวังก็ได้ถวายวลัยงา ๘ อัน ซึ่งเป็นของตนพลาง เรียนว่า ขอพระคุณเจ้าโปรดวาง (บาตร) ไว้บนวลัยนี้ แล้วอุ้ม (บาตร) เถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ทำตามนั้นแล้วมองดู (นาง) นางเรียนว่า วลัย เหล่านี้ ดิฉันสละถวายแด่พระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าจงถือไปเถิด พระปัจ- เจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ได้ไปยังเงื้อมเขานันทมูลกะ แม้จนวันนี้ วลัยเหล่านั้น ก็ยังไม่ผุกร่อนเลย. นางเกิดเป็นหญิงมีปัญญามากเพราะผลแห่งกรรมนั้น
ต่อมา สตรี ๕๐๐ นางซึ่งมีพระนางสามนาวดีเป็นประมุข ได้กล่าวกะ นางว่า ข้าแต่แม่ ขอแม่จงไปยังสำนักของพระศาสดาทุกวัน สดับธรรมที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว (มา) แสดงแก่เราบ้าง. นางได้ทำตามนั้น ในเวลาต่อมาจึงกลายเป็นผู้ทรงจำพระไตรปิฎก. เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึง ตั้งนางไว้ในเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาอุบาสิกาสาวิกาของเรา ที่เป็นพหูสูต ขุชชุตตรานี้เป็นเลิศ อุบาสิกาขุชชุตตรา ผู้เป็นอริยสาวิกา ได้บรรลุปฏิสัมภิทาอัน พระศาสดาทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะ เพราะเป็นพหูสูต เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงโกสัมพี ได้ไปยังสำนักพระศาสดาตามกาล อันสมควร ได้ฟังธรรมแล้ว กลับไปภายในราชสำนัก เมื่อจะกล่าวธรรมตาม ที่ได้ฟังมา ตามนิยามที่พระศาสดาทรงแสดงแก่สตรีอริยสาวิกา ๕๐๐ นางมี พระนางสามาวดีเป็นประมุข เมื่อจะเปลื้องตนประกาศความที่ธรรมตนได้ สดับในสำนักพระศาสดา จึงยกนิทาน (คำเริ่มต้น) ขึ้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า ก็คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว คือ พระอรหันต์ตรัสไว้แล้วดังพรรณนามาฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 57
ก็เพราะเหตุที่นางขุชชุตตรานั้นได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าในนครนั้นแล แล้วกล่าวแก่สตรีเหล่านั้น ในวันนั้นด้วย ฉะนั้นจึงไม่มีประโยชน์ที่จะอ้างเวลาและสถานที่ว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในกรุงโกสัมพี เพราะเวลาและสถานที่ปรากฏชัดอยู่แล้ว. ฝ่ายภิกษุณีทั้งหลายก็ได้เรียนเอาสูตรเหล่านี้ในสำนักนางขุชชุตตรานั้น. แม้ใน หมู่ภิกษุ นิทาน (คำเริ่มต้น) ที่นางขุชชุตตรานั้นยกขึ้นไว้ก็ปรากฏโดยสืบทอด กันมาอย่างนี้. ต่อมาท่านพระอานนท์ นั่งสั่งคายนาพระธรรมอยู่ในท่ามกลาง คณะพระเถระ ผู้เชี่ยวชาญมี พระมหากัสสปะเป็นประมุข ในสัทธรรมมณฑป ที่พระเจ้าอชาตศัตรูทรงให้สร้างขึ้นที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภายหลังจากเวลา ที่พระตถาคตเจ้าปรินิพพาน เมื่อจะหลีกเลี่ยง (ไม่ต้องการให้) นิทานของ สูตรเหล่านี้มี ๒ นิทาน จึงยกนิทานขึ้นตามนิยามที่นางขุชชุตตรานั้นยกไว้ แล้วแล. แต่อาจารย์บางพวกขยายประการในที่นี้ให้มากออกไป. ประโยชน์ อะไรด้วยประการเหล่านั้น.
อิติวุตตกะมี ๑๑๒ สูตร
อีกอย่างหนึ่ง พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย สังคายนาพระธรรมวินัยไว้ โดยนัยต่างๆ. จริงอยู่ พระมหาเถระผู้สังคายนาพระธรรมเป็นพระอนุพุทธะ (ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า). พระมหาเถระเหล่านั้นรู้อาการสังคายนาพระธรรม วินัย โดยชอบแท้ทีเดียวในทีบางแห่งจึงตั้งนิทาน (คำเริ่มต้น) ไว้โดยนัยเป็นต้น ว่า เอวมฺเม สุตํ ในที่บางแห่งตั้งนิทานไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เตน สมเยน ในที่บางแห่งตั้งนิทาน โดยเป็นคาถาพันธ์ (แต่) ในที่บางแห่งไม่ตั้งนิทาน ไว้ทั้งหมด สังคายนาพระธรรมวินัย โดยแยกเป็นวรรคสังคหะเป็นต้น. บรรดา อาคตสถานเหล่านั้น ในที่นี้ พระสังคีติกาจารย์ตั้งนิทานไว้โดยนัยเป็นต้นว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 58
วุตฺตํ เหตํ แล้วสังคายนา (พระธรรมวินัย). พุทธวจนะนี้มีองค์ ๙ โดยแยก เป็น สุตตะ เคยยะ เป็นต้นของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ก็เป็นเหมือน พุทธวจนะมีองค์ ๙ นั่น. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า ก็พุทธวจนะมีองค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นมีน้อย เป็นต้น. ในบรรดา องค์เหล่านั้น องค์ คือ อิติวุตตกะไม่ปรากฏนิทานอะไรๆ อย่างอื่นเลย ยกเว้นคำนี้ว่า วุตฺตํ เหตํ ฯเปฯ เม สุตํ ซึ่งเป็นเครื่องหมายของอิติวุตตกะ นั้น. ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า สูตร ๑๑๒ สูตร ที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า วุตฺตํ เหตํ ภควตา จัดเป็นอิติวุตตกะ เพราะ เหตุนั้น พึงทราบว่า พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย หรือแม้พระอริยสาวิกา ผู้รู้พระประสงค์ของพระศาสดา จึงได้ตั้งนิทานไว้โดยนัยนี้แล เพื่อให้ทราบว่า สูตรเหล่านี้จักเป็นองค์ คือ อิติวุตตกะ.
กล่าวคำนิทานไว้ทำไม?
ถามว่า ก็พระอานนท์เมื่อจะทำการรวบรวมพระธรรมวินัย ได้กล่าว คำนิทานไว้เพื่ออะไร? ท่านควรทำการรวบรวมพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้มิใช่หรือ? ข้าพเจ้าจะเฉลย พระอานนท์กล่าวคำนิทานไว้ เพื่อยังความดำรงมั่น ความไม่เลอะเลือน และความเป็นของควรเธอแห่งเทศนา ให้ถึงพร้อม. เป็นความจริง เทศนาที่ผูกพันอยู่กับข้ออ้าง คือ กาละ (เวลา) เทสะ (สถานที่) ผู้แสดง และบริษัท ย่อมเป็นเทศนาดำรงอยู่ได้มั่นคง ไม่เลอะเลือน และเป็นเทศนาควรเธอ. การวินิจฉัยโวหารเป็นเหมือนผูกพัน อยู่กับเครื่องหมาย คือ เทสะ กาละ กัตตา (ผู้ทำ) และโสตา (ผู้ฟัง) ก็ท่านพระอานนท์ผู้เป็นขุนคลังแห่งพระธรรมนั้นแล เมื่อพระมหากัสสปะ ทำการปุจฉาถึงเทสะ (สถานที่ตรัส) เป็นอาทิแห่งพรหมชาลสูตรละมูลปริยาย-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 59
สูตรเป็นต้น จะทำการวิสัชนาปุจฉาเหล่านั้นจึงกล่าวคำนิทานไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เอวมฺเม สุตํ แต่ในที่นี้ท่านกล่าวเหตุไว้แล้วแลในเพราะระบุถึงกาละ และเทสะ.
อีกประการหนึ่ง คำนิทานท่านกล่าวไว้เพื่อประกาศสมบัติของพระศาสดา. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระตถาคต ทรงสำเร็จ ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เพราะไม่มีการรจนาไว้ก่อน ไม่มีการ อนุมาน และไม่มีตรรกในปริยัติ. ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีความต้ออง การด้วยการรจนาไว้ก่อนเป็นต้น เพราะทรงมีพระญาณสอดส่องไปไม่ถูก ขัดขวางในธรรมทั้งปวง และเพราะทรงมีประมาณเป็นหนึ่ง ในไญยธรรม ทั้งหลาย. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสำเร็จเป็นพระขีณาสพได้ เพราะ ไม่มีกำมือของอาจารย์ คือ ความตระหนี่ธรรม และความยินดีแม้แต่น้อยใน ผู้ฟังคำสอน (ของพระองค์) เพราะว่า ธรรมเหล่านั้นหาเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพ โดยตลอดไม่ เพราะฉะนั้น พฤติกรรมที่อนุเคราะห์ผู้อื่น จึงเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงบริสุทธิ์อย่างยิ่ง. ความสำเร็จเวสารัชชญาณ ๒ ข้อข้างต้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้า (สัมมาสัมพุทธปฏิญญา ๑ ขีณาสวปฏิญญา ๑) มีได้ด้วยสัมพุทธภาวะ (ตรัสรู้เองโดยชอบ) และวิสุทธภาวะ (ทรงหมดจด) ที่บ่งถึงความไม่มีโดยสิ้นเชิงแห่งอวิชชาและตัณหา อันเป็นตัวประทุษร้ายทิฏฐิ- สัมปทา และสีลสัมปทาเป็นสังกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ของผู้แสดง และ ที่ทำญาณสัมปทา และปหานสัมปทาให้ปรากฏ และความสำเร็จเวสารัชชญาณ ๒ ข้อหลัง (อันตรายิกธรรมวาทะ ๑ นิยยานิกธรรมเทศนา ๑) มีได้ เพราะทรง สำเร็จความไม่งมงายในอันตรายยิกธรรม และนิยยานิกธรรมนั้น. เพราะเหตุนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 60
ด้วยคำนิทาน เป็นอันพระอานนทเถระประกาศ การที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกอบด้วย เวสารัชชญาณ ๔ อย่าง อันเป็นที่อาศัยบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อพระองค์ และประโยชน์เพื่อผู้อื่น เพราะทรงแสดงพระธรรมเทศนา ด้วยพระปฏิภาณที่เกิดขึ้นตามฐานะที่ควร เหมาะสมกับอัธยาศัยของบริษัท ผู้ประสบ (พระองค์) แล้วในที่นั้นๆ. แต่ในที่นี้ ควรประกอบคำพูดว่า การ ละโทษของกาม โดยไม่มีส่วนเหลือ และโดยการแสดงถึงพระธรรมเทศนา ตามวิธี ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า ท่าน (พระอานนท์) กล่าวนิทานพจน์ ไว้ เพื่อประกาศพระคุณสมบัติของพระศาสดา.
อนึ่ง ในเรื่องนี้ ท่านแสดงถึงการประกาศเนื้อความให้แจ่มแจ้ง ตาม ที่ได้กล่าวมาแล้ว ในหนหลังนั่นเอง ด้วยบทเหล่านั้นว่า ภควตา อรหตา. อนึ่ง พระอานนทเถระ กล่าวคำนิคมไว้ เพื่อประกาศคุณสมบัติของพระศาสนา (คำสอนของพระองค์) เพราะว่า ข้อปฏิบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงมีพระกิริยาทุกอย่างอันพระญาณและพระกรุณาประคองไว้ ที่ไร้ประโยชน์ หรือเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระองค์ เท่านั้น คือการเห็นแก่ตัวจะไม่มี เพราะ ฉะนั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม แม้ทั้งหมดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงมีพระกิริยาทุกอย่างที่เป็นไปแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นทีเดียว ที่กำลังกล่าวถึงตามที่เป็นไปแล้ว ชื่อว่า เป็นคำสอน (เหมือนกัน) เพราะอรรถ ว่าเป็นเหตุสอนสัตว์ทั้งหลายได้เนืองๆ ตามความเหมาะสมกับประโยชน์ชาตินี้ ประโยชน์ชาติหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่ใช่เพราะรจนาไว้ทั้งหมด. ท่านประกาศพระจริตของพระศาสดานี้นั้นไว้ตามสมควร ด้วยนิทานพจน์ ทั้งหลาย ที่อ้างถึงกาละเทสะผู้แสดงและบริษัท. แต่ในที่นี้ ควรประกอบ ถ้อยคำว่า ที่อ้างถึงผู้แสดงและบริษัทเข้าไว้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า (สาสนสมฺปตฺติปฺปกาสนตฺถํ นิทานวจนํ ท่านกล่าวนิทานพจน์ไว้ เพื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 61
ประกาศคุณสมบัติของพระศาสนา).
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวนิทานพจน์ไว้เพื่อแสดงว่า คำสอนเอาเป็น ประมาณได้ เพราะประกาศว่า พระศาสดาเอาเป็นประมาณได้. ก็การแสดงว่า คำสอนนั้น เอาเป็นประมาณได้นั้น พึงทราบว่าได้ประกาศไว้แล้ว ด้วยบทเหล่า นี้ว่า ภควตา อรหตา ตามแนวแห่งนัยที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในหนหลัง. ใน ที่นี้ คำนี้แสดงเพียงช่องทางของประโยชน์แห่งคำนิทานเท่านั้น ดังนี้แล.
จบนิทานวรรณนา
เอกนิบาตวรรณนา
บัดนี้ ถึงโอกาสแห่งการพรรณนาพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ยกขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงละธรรม อย่างหนึ่ง ดังนี้. ก็การพรรณนาความนี้นั้น เพราะเป็นการปรากฏทีท่าน กล่าววิจารณ์ ถึงบทตั้งของพระสูตรไว้ ฉะนั้น เราจักวิจารบทตั้งของพระสูตร ก่อน.
จริงอยู่ บทตั้ง (ของพระสูตร) มี ๔ อย่าง คือ อัตตัชฌาสยะ ๑ ปรัชฌาสยะ ๑ ปุจฉาวสิกะ ๑ อัตถุปปัตติกะ ๑. อันที่จริง พระสูตร ทั้งหลาย แม้มีประเภทตั้งแสนมิใช่น้อย ก็ไม่เกิน ๑๖ อย่างไปได้โดยปัฏฐานนัย (การเริ่มต้น) มีสังกิเลสภาคิยะ (เป็นไปในส่วนแห่งความเศร้าหมอง) เป็นต้น ฉันใด พระสูตรทั้งหลายย่อมไม่เกิน ๔ อย่างไปได้ โดยบทตั้งของพหูสูตร มีอัตตัชฌาสยะเป็นต้น ฉันนั้น ด้วยประการฉะนี้. ใน ๔ อย่างนั้น อัตตัชฌาสยะ และอัตถุปปัตติ ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับปรัชฌาสยะและปุจฉา เพราะมีความ สืบเนื่องกันแห่งอัตตัชฌาสยะ และปุจฉา คือ อัตตัชฌาสยะ และปรัชฌาสยะ อัตตัชฌาสยะ และปุจฉาวสิกะ อัตถุปปัตติกะ และปรัชฌาสยะ อัตถุปปัตติกะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 62
และปุจฉาวสิกะ ฉันใด เป็นความจริงแท้ที่แน่นอนที่อัตถุปปัตติ ย่อมมีความ เกี่ยวข้อง แม้ด้วยอัตตัชฌาสยะ ฉันนั้น แต่อัตถุปปัตติไม่มีความเกี่ยวข้อง ด้วยอัตตัชฌาสยะเป็นต้น อันเกิดขึ้นแต่ต้น เพราะฉะนั้น ปัฏฐานนัยอันไม่มี เศษเหลือ จึงไม่เกิด. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงบทตั้งของ พระสูตรไว้ ๔ อย่าง ด้วยตั้งข้อมูลของบทตั้งที่เหลือ อันเกิดขึ้นเพราะหยั่งลง ภายในของนัยนั้น.
พึงทราบเนื้อความในสูตรนั้นดังต่อไปนี้ ชื่อว่า นิกเขปะ เพราะ อรรถว่า อันเขาตั้งไว้. บทตั้งคือพระสูตร ชื่อว่า สุตตนิกเขปะ. อีกอย่างหนึ่ง การตั้งความ ชื่อว่า นิกเขปะ. การตั้งความแห่งพระสูตร ชื่อว่า สุตตนิกเขปะ. อธิบายว่า แสดงพระสูตร. อัธยาศัยของตน ชื่อว่า อัตตัชฌาสยะ. ชื่อว่า อัตตัชฌาสยะ เพราะเป็นเหตุผลของตนนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อัตตัชฌาสยะ เพราะมีอัธยาศัยของตน แม้ในปรัชฌาสยะ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ชื่อ ปุจฉาวสะ. เพราะอำนาจแห่งคำถาม ชื่อว่า ปุจฉาวสิกะ เพราะมีอำนาจแห่งคำถาม. เรื่องราวอันเป็นเหตุแสดงพระสูตรเกิดขึ้น ชื่อว่า อัตถุปปัตติ อัตถุปตติ นั้นแล ชื่อว่าอัตถุปปัตติกะ. ชื่อว่าอัตถุปปีตตกะ เพราะมีเรื่องเกิดขึ้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า นิกเขปะ เพราะเป็นเครื่องยกพระสูตรขึ้น ได้แก่ อัตตัชฌาสยะเป็นต้นนั่นเอง. ในอรรถวิกัปนี้ อัธยาศัยของตนชื่อว่า อัตตัชฌาสยะ อัธยาศัยของคนอื่นชื่อว่า ปรัชฌาสยะ. ชื่อว่าปุจฉา เพราะถูกถาม ได้แก่ เนื้อความที่ควรถาม. ถ้อยคำของผู้รับธรรม อันเป็นไปด้วยคำถาม ชื่อว่า ปุจฉาวสะ. คำนั้นท่านกล่าวโดยเป็นปุลลิงค์ว่า ปฺจฺฉาวสิโก เพราะเพ่งถึง ศัพท์ นิกฺเขป. อนึ่ง พึงทราบความในบทนี้ อย่างนี้ว่า เรื่องราวที่เกิดขึ้น นั้นเอง ชื่ออัตถุปปัตติกะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 63
อีกอย่างหนึ่ง ความที่อัตตัชฌาสยะเป็นความตั้งของพระสูตร ต่าง ออกไปควรแล้ว เพราะมิได้เพ่งถึงเหตุ มีความแก่กล้าของอินทรีย์เป็นต้น ของบุคคลเหล่าอื่น. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ด้วยอัชฌาสัยของตนอย่างเดียว ดังนี้. เพราะให้เทศนาเป็นไป เพื่อดำรงแบบแผนของพระธรรมไว้. ข้อนี้ ไม่ควรท้วงว่า ความไม่กีดกันอัชฌาสยะ และปุจฉาของคนเหล่าอื่น อันเป็น ปรัชฌาสยะ. และปุจฉาวสิกะ อันเป็นเหตุของเทศนานิมิตที่เป็นไปแล้วใน อุปปัตติ ในอัตถุปปัตติกะได้อย่างไร หรือความไม่กีดกันของปุจฉาวสิกะ และ อัตถุปปัตติกะที่เป็นไปแล้ว ด้วยไม่เข้าไปกีดกันปรัชฌาสยะ ในปรัชฌาสยะ ได้อย่างไร. เป็นการแยกถือเอาแห่งปรัชฌาสยะ และปุจฉาวสิกะ เพราะถือ เอาโดยความเป็นอัตถุปบัติ แห่งความเกิดของเหตุแสดงพระสูตร อันนอกเหนือ จากอภินิหารและการสอบถามเป็นต้น. เป็นความจริงดังนั้น การแสดงคุณ โทษและความเกิดแห่งอามิสเป็นต้น ของพรหมชาลสูตร และธัมมทายาทสูตร เป็นต้น ท่านเรียกว่า นิมิต. ท่านแสดงปรัชฌาสยะกระทำอัชฌาสยะ เว้นจาก คำถามของคนเหล่าอื่นให้เป็นนิมิต ท่านแสดงปุจฉาวสิกะ ด้วยสามารถคำถาม เพราะเหตุนั้น เนื้อความนี้ปรากฏชัดแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าอันผู้อื่นมิได้ ทูลเชิญ ตรัสพระสูตรเหล่าใดโดยอัชฌาสัยของพระองค์อย่างเดียวเท่านั้น เช่น อากังเขยยสูตรตุวัฏฏกสูตรเป็นต้น อัตตัชฌาสัยเป็นความตั้งของสูตรเหล่านั้น. พระสูตรเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจตราอัชฌาสัย ความอดทน อภินิหารและความรู้ของคนเหล่าอื่นว่า ธรรมอันแก่กล้า อันจะอบรมราหุลให้ พ้นมีอยู่เราพึงนำราหุลไปในความสิ้นอาสวะให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว เช่น ราหุโลวาทสูตรธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นต้น โดยปรัชฌาสยะ ปรัชฌาสยะเป็นความ ตั้งของสูตรเหล่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 64
ก็เหล่าเทวดามนุษย์ บริษัท ๔ วรรณะ ๔ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลถามปัญหาอย่างนั้นๆ พระสูตรเหล่าใดมีโพชฌงคสังยุต เป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีผู้ทูลถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ พระองค์ตรัสโพชฌงค์ โพชฌงค์ ขอพระองค์ตรัสนิวรณ์ นิวรณ์ ดังนี้เป็นต้น แล้วตรัส ปุจฉาวสิกะเป็นความตั้งของพระสูตรเหล่านั้น. ก็พระสูตรเหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอาศัยเหตุที่เกิดขึ้นแล้ว เช่นธัมมทายาทสูตร ปุตตมังสูปมสูตร ทารุกขันธูปมสูตรเป็นต้น อัตถุปัตติกะเป็นความตั้งของพระสูตร เหล่านั้น. ในความตั้งพระสูตร ๔ เหล่านี้ ปรัชฌาสยะเป็นความตั้งของ พระสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ ท่านยกสูตรนี้ขึ้นด้วยสามารถปรัชฌาสยะ. ถามว่า ท่านยกขึ้นด้วยอัชฌาสัยของบุคคลเหล่าไหน. ตอบว่า ด้วยอัชฌาสัย ของบุคคลผู้ไม่เห็นโทษในความโลภ. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เป็น อัตตัชฌาสยะ.
เอกศัพท์ในบทเป็นต้นว่า เอกธมฺมํ ภิกฺขเว ในสูตรนั้นย่อมมีใน ความอื่น ดังในประโยคเป็นต้นว่า คนพวกอื่นย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและ โลกเที่ยง นี้เท่านั้นเป็นสัจจะ อย่างอื่นเป็นโมฆะ. ย่อมมีในความประเสริฐ ดังในประโยคเป็นต้นว่า เจตโส เอโกทิภาวํ ความที่มีจิตผุดขึ้นดวงเดียว. ย่อมมีในความไม่มีเพื่อน ดังในประโยคเป็นต้นว่า เอโก วูปกฏฺโ ผู้เดียว หลีกไป. ย่อมมีในความนับดังในประโยคเป็นต้นว่า เอโก จ โข ภิกฺขเว ขโณ จ สมโย จ พฺรหฺมจริยวาสาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะและ สมัยหนึ่งแล เพื่ออยู่พรหมจรรย์. แม้ในสูตรนี้พึงเห็นว่า ย่อมมีในความนับ.
ธัมมะศัพท์ ย่อมปรากฏในความมี ปริยัติ สัจจะ สมาธิ ปัญญา ปกติ บุญ อาบัติ สุญญตา เญยยะ สภาวะ เป็นต้น. มีความว่าปริยัติ ในบทมีอาทิว่า ตถาหิสฺส อิธ ภิกฺขุ ธมฺมํ ปริยาปุณาติ เป็นความจริง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 65
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเรียนธรรม. มีความว่า สัจจะในบทมีอาทิว่า ทิฏฺ- ธมฺโม เห็นธรรมแล้ว. มีความว่า สมาธิในบทมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เหล่านั้น ได้เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้. มีความว่า ปัญญาในบทมีอาทิว่า สจฺจํ
ธมฺโม ธิติ จาโค สเว เปจฺจ น โสจติ
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ๔ ประการ คือ สัจจะ ธรรม ปัญญา จาคะ ละโลกนี้ ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก.
มีความว่า ปกติในบทมีอาทิว่า ชาติธมฺมานํ ภิกฺเว สตฺตานํ เอวํ อิจฺฉา อุปฺปชฺชติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีชาติ เป็นปกติ ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้. มีความว่า บุญในประโยคมีอาทิว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี บุญแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม. มีความว่า อาบัติในประโยคมีอาทิว่า ติณฺณํ ธมฺมานํ อญฺตเรน วเทยฺย ปาราชิ- เกน วา สงฺฆาทิเสน วา ปาจิตฺติเยน วา ภิกษุพึงกล่าวถึงอาบัติ ๓ อย่าง คือ ปาราชิก หรือสังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์อย่างใดอย่างหนึ่ง. มีความว่า สุญญตา ในบทมีอาทิว่า ตสฺมึ โข ปน สมเย ธมฺมา โหนฺติ ก็ในสมัยนั้นแล ธรรมทั้งหลายย่อมมี. มีความว่า เญยยะ (ธรรมที่ควรรู้) ในบทมีอาทิว่า สพฺเพ ธมฺมา สพฺพากาเรน พุทฺธสฺส ภควโต าณมุเขน อาปาถํ อาคจฺฉนฺติ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงย่อมมาสู่คลอง โดยญาณมุขของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะโดยอาการทั้งปวง. มีความว่า สภาวะในบทมีอาทิว่า กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอกุศล. พึงทราบว่า ในที่นี้ได้แก่สภาวธรรม. เพราะฉะนั้น บทว่า เอกธมฺมํ ประสงค์เอาสภาวธรรมอันเศร้าหมองอย่างเดียว. ชื่อว่า เอกธรรม เพราะอรรถว่าเป็นธรรมเดียว. [พวกเธอจงละ] ซึ่งเอกธรรมนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 66
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ภิกฺขเว ดังนี้. ถามว่า ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม ย่อมตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ไม่ทรง แสดงธรรมทีเดียว เพื่ออะไร. ตอบว่า เพื่อให้เกิดสติ. ด้วยว่าภิกษุทั้งหลาย นั่งคิดอย่างอื่นบ้าง นั่งพิจารณาธรรมบ้าง นั่งมนสิการกรรมฐานบ้าง เมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสเรียกก่อน ทรงแสดงธรรมไปเลย ภิกษุทั้งหลาย ไม่อาจกำหนดได้ว่า เทศนานี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย. ต่อเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกแล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงสามารถตั้งสติกำหนดได้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อให้เกิดสติจึงตรัสเรียกว่า ภิกฺขเว ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประการข้อปฏิบัติที่ชนเสพที่หย่อน และยิ่ง ด้วยความสำเร็จในการประกอบคุณ มีความเป็นผู้มีศีลเป็นต้น แก่ ภิกษุเหล่านั้น จึงทรงทำการปรามในความที่จิตน้อมไปในความฟุ้งซ่าน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงการทำภิกษุเหล่านั้นให้หันหน้าต่อพระองค์ ด้วยพระดำรัส อันแผ่ไปด้วยพระกรุณา น้ำพระทัยเยือกเย็น มีดวงพระเนตรเชื่อมฉ่ำ เป็นเบื้องต้น ทรงให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดความใคร่ที่จะฟัง ด้วยพระดำรัสอัน แสดงถึงความเป็นผู้ใคร่ เพื่อจะกล่าวนั้นเอง ทรงชักจูงให้ตั้งใจฟังด้วยดี ด้วยมุ่งให้เกิดความรู้นั้นเอง. จริงอยู่ การถึงพร้อมด้วยคำสอนอาศัยการตั้งใจฟัง. ถามว่า เมื่อเทวดาและมนุษย์แม้เหล่าอื่น อันเนื่องด้วยบริษัทมีอยู่. เพราะ เหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายเล่า. ตอบว่า เพราะ ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้เจริญที่สุด เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้นั่งใกล้ เป็นผู้ใกล้ชิด ทุกเมื่อ จริงอยู่ พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมสาธารณ์แก่ บริษัททั้งปวง. ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้เจริญที่สุดในบริษัท เพราะเป็นผู้ เกิดก่อน ชื่อว่าประเสริฐที่สุด เพราะปฏิบัติตามพระจริยาของพระศาสดา เริ่มตั้งแต่การออกบวชเป็นต้น และเพราะรับคำสอนไว้ทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 67
ใกล้ เพราะเมื่อภิกษุทั้งหลายนั่งในที่นั้น เป็นผู้อยู่ใกล้. ชื่อว่าเป็นผู้ใกล้ชิด ทุกเมื่อ เพราะเป็นผู้อยู่ในสำนักของพระศาสดา. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ใกล้ชิดทุกเมื่อ เพราะเป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอน อันเป็นที่ตั้งแห่ง พระธรรมเทศนา และเพราะเป็นผู้มีความวิเศษ. เทศนานี้ หมายถึงภิกษุ บางพวก เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้น.
ว่าด้วยการละ ๕ อย่าง
ชื่อว่าปหานะ ในบทนี้ว่า ปชหถ นี้ มี ๕ อย่าง คือ ตทังคปหาน ๑ วิกขัมภนปหาน ๑ สมุจเฉทปหาน ๑ ปฏิปัสสัทธิปหาน ๑ นิสสรณปหาน ๑ ในปหานะ ๕ อย่างนั้น การละความโลภเป็นต้น ด้วยความไม่โลภ เป็นต้น การละสิ่งไม่มีประโยชน์นั้นๆ ด้วยวิปัสสนาญาณ มีการกำหนดนามรูป เป็นต้น เพราะเป็นปฎิปักษ์กัน เหมือนการกำจัดความมืดด้วยแสงประทีป ฉะนั้น เช่นการละมลทินมีโลภเป็นต้นด้วยการบริจาค การละทุศีลมีปาณาติบาต เป็นต้นด้วยศีล การละความไม่มีศรัทธาเป็นต้น ด้วยศรัทธา การละสักกายทิฏฐิ ด้วยกำหนดนามรูป การละทิฏฐิอันเป็นอเหตุกะและวิสมเหตุ ด้วยการกำหนด ปัจจัย การละความสงสัยด้วยการข้ามพ้นความสงสัยส่วนอื่นๆ นั้นเสียได้ การ ละความถือมั่นว่าเราของเรา ด้วยพิจารณาเห็นเป็นกลาปะ (กอง) การละความ เห็นในสิ่งที่ไม่เป็นมรรคว่าเป็นมรรค ด้วยกำหนดมรรคและอมรรค การละ อุจเฉททิฏฐิ ด้วยการเห็นความเกิด การละสัสสตทิฏฐิด้วยเห็นความเสื่อม การละ ความสำคัญในสิ่งที่เป็นภัยว่าไม่เป็นภัย ด้วยการเห็นภัย การละความสำคัญใน สิ่งที่ชอบใจ ด้วยการเห็นโทษ การละความสำคัญ ในสิ่งที่น่าอภิรมย์ ด้วยการ พิจารณาถึงความเบื่อหน่าย การละความที่ไม่อยากหลุดพ้น ด้วยญาณ คือ ความ อยากพ้น การละความไม่วางเฉย ด้วยอุเบกขาญาณ การละธรรมฐิติ ด้วย อนุโลม การละความเป็นปฏิโลม ด้วยนิพพาน การละความเป็นสังขารนิมิต ด้วยโคตรภู การละนี้ชื่อว่า ตทังคปหาน (การละชั่วคราว).
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 68
การละธรรมมีนิวรณ์เป็นต้น เหล่านั้นๆ ด้วยอุปจาระและอัปปนาสมาธิ เหมือนการกำจัด สาหร่ายที่หลังน้ำ ด้วยการทุ่มหม้อน้ำลงไป เพราะห้ามความ เป็นไป การละนี้ชื่อว่า วิกขัมภนปหาน (การละด้วยการข่มไว้).
การตัดขาดกองกิเลส อันเป็นฝ่ายที่จะให้ตัณหาเกิด ซึ่งท่านกล่าวไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า จตุนฺนํ อริยมคฺคานํ ภาวิตฺตา ตํตํมคฺควโต อตฺตโน สนฺตาเน ทิฏฺิคตานํ ปหานาย เพื่อละทิฏฐิในสันดานของตนผู้มีมรรค นั้นๆ เพราะเจริญอริยมรรค ๔ ได้แล้ว การละนี้ชื่อว่า สมุจเฉทปหาน (ละได้เด็ดขาด).
การละกิเลสทั้งหลาย อันเป็นความสงบในขณะแห่งผล การละนี้ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิปหาน (ละด้วยความสงบกิเลส). การดับที่ละเครื่องปรุงแต่ง ทั้งหมดได้แล้ว เพราะสลัดเครื่องปรุงแต่งทั้งหมดได้ นี้ ชื่อว่า นิสสรณปหาน (การละด้วยการสลัดออก). ในสูตรนี้พึงทราบว่า ได้แก่ สมฺจเฉทปหาน เพราะท่านประสงค์เอาการละที่ทำให้เป็นพระอนาคามี ด้วยการละ ๕ อย่าง ด้วย ประการฉะนี้. เพราะฉะนั้น บทว่า ปชหถ จึงมีความว่า เธอทั้งหลายจงสละ จงตัดขาดดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอ้างถึงพระองค์ ด้วยคำว่า อหํ. บทว่า โว มีวินิจฉัยดังนี้ โวศัพท์นี้ ปรากฏในปฐมาวิภัตติ ทุติยาวิภัตติ ตติยาวิภัตติ ฉัฏฐีวิภัตติ ปทปูรณะ และจตุตถีวิภัตติ. โว ศัพท์มาในปฐมาวิภัตติ ในบท เป็นต้นว่า กจฺจิ ปน โว อนุรุทฺธา สมคฺคา สมฺโมทมานา ดูก่อนอนุรุทธะ และพวกเธอยังพร้อมเพรียง บันเทิงกันดีอยู่หรือ. มาในทุติยาวิภัตติ ในบท เป็นต้นว่า คจฺฉถ ภิกฺขเว ปณาเมมิ โว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ จงไป เราประณามพวกเธอ. มาในตติยาวิภัตติ ในบทเป็นต้นว่า น โว มม สนฺติเก วตฺถพฺพํ อันพวกเธอไม่ควรอยู่ในสำนักของเรา. มาในฉัฏฐีวิภัตติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 69
ในบทเป็นต้นว่า สพฺเพสํ โว สารูปุตฺต สุภาสิตํ คำสุภาษิตของพวกเธอ ทั้งหมด. มาในปทปูรณะ ในบทเป็นต้นว่า เย หิ โว อริยา ปริสุทฺธกายกมฺมนฺตา พระอริยะเหล่าใดแลเป็นผู้มีการงานทางกายบริสุทธิ์. มาใน จตุตถีวิภัตติ ในบทเป็นต้นว่า ปรมตฺถปริยายํ โว ภิกฺขเว เทเสสฺสามิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปรมัตถปริยายแก่พวกเธอ. ในที่นี้พึงทราบว่า โว ศัพท์มาในจตุตถีวิภัตติ.
บทว่า ปาฏิโภโค ได้แก่ ผู้รับรอง. จริงอยู่ ผู้นั้นอาศัยผู้รับรอง ยืมทรัพย์ของผู้มีทรัพย์ ฝากไว้แก่ผู้รับรอง เมื่อถึงคราวจะใช้ก็นำทรัพย์จาก ผู้รับรองนั้นมาใช้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปฏิโภโค (ผู้รับรอง). ผู้รับรอง นั่นแล ชื่อว่า ปาฏิโภโค. บทว่า อนาคามิตาย ได้แก่ เพื่อความเป็น พระอนาคามี. ชื่อว่าอนาคามี เพราะไม่มาสู่กามภพ ด้วยการถือปฏิสนธิ. มรรคที่ ๓ พร้อมด้วยผล ชื่อว่าอนาคามี ท่านเรียกว่า อนาคามี เพราะบรรลุ ธรรมนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงฉลาดในการฝึกเวไนยสัตว์ ทรงแสดงธรรม อันยิ่งใหญ่ คือ ตติยมรรค อันอนุกูลแก่อัธยาศัยของเวไนสัตว์ ทรงกระทำให้ หนักแน่น ด้วยความบริบูรณ์ในธรรมอันหนึ่ง โดยอุบายฉับพลัน จึงสมเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ กิเลสทั้งหลายอันตติยมรรค พึงทำลาย มีปฏิฆสังโยชน์เป็นต้น แม้เป็นไปในภูมิอื่นก็ไม่พ้นการละกามฉันทะ ไปได้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้ง พระองค์ไว้ในความเป็นผู้รับรองเล่า. ตอบว่า เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดความ อุตสาหะในการบรรลุอนาคามิมรรค. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า เมื่อเรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่งได้ เรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 70
เป็นผู้รับรองเธอทั้งหลาย เพื่อความเป็นพระอนาคามี ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้ จะสามารถละธรรมอย่างหนึ่งนั้น แล้วบรรลุตติยภูมิได้แน่นอน ทั้ง จะเกิดความอุตสาหะว่า พระธรรมสามีตรัสเป็นครั้งแรกว่า เราเป็นผู้รับรอง ดังนี้ เพราะอย่างนั้น จักสำคัญถึงข้อที่ควรปฏิบัติ ดังนี้ ฉะนั้น. เพื่อให้ ภิกษุทั้งหลายเกิดความอุตสาหะ จึงทรงตั้งพระองค์ไว้ในความเป็นผู้รับรอง ภิกษุเหล่านั้น เพื่อความเป็นพระอนาคามี.
ว่าด้วยปุจฉา ๕
บทว่า กตมํ ในบทว่า กตมํ เกธมฺมํ นี้ เป็นคำถาม. ก็ธรรมดา คำถามมีอยู่ ๕ อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา ๑ ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา ๑ วิมติเฉทนาปุจฉา ๑ อนุมติปุจฉา ๑ กเถตุกัมยตาปุจฉา ๑.
ในคำถามเหล่านั้น ตามปกติคนเรายังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง. ไม่เข้าใจ ไม่แจ้ง ไม่ชัดถึงลักษณะ จึงถามปัญหา เพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อพิจารณา เพื่อไตร่ตรอง เพื่อเข้าใจ เพื่อแจ้งชัดถึงลักษณะนั้น นี้ชื่ออทิฎฐโชตนาปุจฉา (ถามเพื่อความสว่างในสิ่งที่ตนไม่เห็น). ตามปกติ คนรู้แล้ว เห็นแล้ว พิจารณาแล้ว ไตร่ตรองแล้ว เข้าใจแล้ว แจ้งชัดแล้ว ซึ่งลักษณะ เขาถามปัญหาเพื่อเทียบเคียงกับบัณฑิตเหล่าอื่น นี้ชื่อ ทิฏ- สังสันทนาปุจฉา (ถามเพื่อเทียบเคียงกับสิ่งที่เห็นแล้ว. ตามปกติคนเป็นผู้ตก อยู่ในความสงสัย ในความไม่รู้ ในความเคลือบแคลงว่า อย่างนี้หรือหนอ ไม่ใช่หรือหนอ เป็นอะไรหนอ เป็นอย่างไรหนอ ดังนี้ เขาจึงถามปัญหา เพื่อขจัดความสงสัย นี้ชื่อ วิมติเฉทนาปุจฺฉา (ถามเพื่อขจัดความสงสัย).
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหา เพื่อคล้อยตามความเห็น ด้วยพระดำรัสมีอาทิว่า ตํ กึ มญฺถ ภิกฺขเว รูปํ นิจฺจํ วา อนิจฺจํ วา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 71
นี้ชื่อว่า อนุมติปุจฺฉา (ถามเพื่อคล้อยตาม). พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม ปัญหา เพราะมีพระประสงค์เพื่อจะตรัสบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า จตฺตาโรเม ภิกฺขเว อาหารา ภูตานํ วา สตฺตานํ ิติยา สมฺภเวสีนํ วา อนุคฺคหาย กตเม จตฺตาโร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านั้นย่อม เป็นไปเพื่อดำรงชีวิตของเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ จำพวกสัมภเวสี (ผู้แสวงหาที่เกิด) อาหาร ๔ คืออะไรบ้าง นี้ชื่อกเถตุกัมยตาปุจฉา (ถามเพื่อประสงค์จะบอก).
ในคำถามอย่างเหล่านั้น คำถาม ๓ ข้อข้างต้น มิได้มีแก่พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย. ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่มี. ตอบว่า เพราะว่า ในทางทั้ง ๓ สังขตธรรมไรๆ หรืออสังขตธรรม (นิพพาน) พ้นจากทางไปแล้ว ที่จะไม่เห็น ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ไม่เข้าใจ ไม่แจ้งชัด มิได้มีแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น คำถามเพื่อความสว่างในสิ่งที่ไม่เห็น จึงไม่มีแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น. การเทียบเคียงกับสมณะหรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหมอื่น แห่งสังขตธรรมและอสังขตธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น แทงตลอดแล้วด้วยพระญาณของตนๆ มิได้มี ด้วยเหตุนั้น แม้คำถามเพื่อ เทียบเคียงในสิ่งที่เห็นแล้ว จึงมิได้มีแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น. ก็เพราะ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะทั้งหลาย ไม่มีความเคลือบแคลง. ข้ามพ้น วิจิกิจฉา ปราศจากความสงสัยในธรรมทั้งปวง ฉะนั้น แม้คำถามเพื่อขจัดความ สงสัย จึงมิได้มีแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น. ส่วนคำถามอีก ๒ ข้อนั้นมีอยู่. ใน คำถาม ๒ ข้อนั้น พึงทราบว่า คำถามนี้หมายถึง กเถตุกัมยตาปุจฉา.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความที่พระองค์ตรัสถาม ด้วยคำถามนั้นโดยสรุป จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า โลภํ ภิกฺขเว เอกธมฺมํ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 72
ในบทว่า โลภํ นั้นจึงทรงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า โลภ ด้วยอรรถว่า เป็นเครื่องอยากได้ หรืออยากได้เอง หรือเพียงอยากได้เท่านั้น. ความโลภนั้นพึงเห็นว่า มีลักษณะยึดอารมณ์ ดุจลิงติดตัง มีการเกาะเกี่ยว อารมณ์เป็นกิจดุจชิ้นเนื้อเขาใส่ลงในกะทะร้อน มีการไม่บริจาคเป็นผลดุจ สีแห่งน้ำมันแสะยาหยอดตา มีทัศนะในการยินดี ในธรรมอันเป็นเครื่องผูกมัด เป็นที่ยึดถือเป็นเหตุใกล้ให้เกิดขึ้น เจริญผุดขึ้นเสมอโดยเป็นแม่น้ำ คือตัณหา พัดพาสัตว์ไปสู่อบาย ดุจแม่น้ำมีกระแสเชี่ยว พัดพาสัตว์ไปสู่มหาสมุทรฉะนั้น. โลภศัพท์นี้เป็นคำสามัญที่ว่าด้วยความโลภทั้งปวงก็จริง แต่ในที่นี้พึงทราบว่า เป็นคำที่ว่าด้วยความกำหนัดในกาม เพราะความโลภนั้นถูกอนาคามิมรรคฆ่า.
บทว่า ปฺน ภิกฺขเว นี้เป็นคำร้องเรียกเพื่อให้ภิกษุผู้หันหน้ารับธรรม เกิดความเอาใจใส่ในธรรมนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงวางหลักการบรรลุปหานด้วยบทว่า ปชหถ นี้. อนึ่ง การบรรลุปหานนั้นย่อมเป็นไปกับด้วยการบรรลุ ปริญญา สัจฉิกิริยาและ ภาวนาด้วย ไม่แยกกันเลย. เป็นอันว่าท่านจัดกิจแห่งสัมมาทิฏฐิ ๔ อย่างลง ในอริยสัจ ๔ นั่นเอง. อนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอละโลภะ ดังนี้ เป็นอันตรัสถึงการละแม้โทสะเป็นต้นด้วย เพราะมีความเป็นอันเดียว กับปหาน โดยเนื้อความฉันใด เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงการบรรลุปหาน อันเป็นกิจแห่งสัมมาทิฏฐิ อันเป็นลักษณะแห่งสมุทยสัจ ก็ฉันนั้น เป็นอัน พระองค์ตรัสถึงลักษณะและกิจของสมุทยสัจ แม้แห่งองค์มรรคที่เหลือ มีสัมมาสังกัปปะเป็นต้น อันเป็นเหตุทำร่วมกันแห่ง สัมมาทิฏฐิ นั้นนั่นเอง เพราะ เหตุนั้น. พึงเห็นว่า ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความขวนขวายในอริยมรรคที่ครบถ้วนแล้ว. ความที่ท่านกล่าวถึงความขวนขวายโพธิปักขิยธรรมมี สติปัฏฐานเป็นต้นไว้ในที่นี้ย่อมมีโดยนัยนี้. พึงให้พิสดารตามสมควร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 73
อีกอย่างหนึ่งในสูตรนี้ ท่านกล่าวถึงปหานปริญญา (การกำหนดรู้ด้วยการละ) ด้วยบทว่า ปชหถนี้. เป็นอันท่านตรัสรู้ ปริญญา แม้ทั้ง ๓ โดย ความเป็นอธิษฐาน คือ ปหานปริญญานั้น มีตีรณปริญญาเป็นอธิษฐาน และ ตีรณปริญญา มีญาตปริญญาเป็นอธิษฐาน. ในที่นี้พึงเห็นอย่างนี้ว่า ท่าน ประกาศกระทำจตุสัจจกรรมฐาน ให้บริบูรณ์พร้อมด้วยผล อีกอย่างหนึ่ง ท่านแสดง ญานทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญานทัสสนะ) พร้อมด้วยผล. ก็ญาณทัสสนวิสุทธินั้น มีปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ) เป็นที่อาศัย ฯลฯ จิตตวิสุทธิ (ความหมดจดแห่ง จิต) มีสีลวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งศีล) เป็นที่อาศัย เพราะเหตุนั้น พึงทราบ ว่า ท่านแสดงวิสุทธิ ๗ แม้ทั้งหมดพร้อมด้วยผล โดยความที่มีลำดับต่างๆ กัน. อันผู้ประสงค์จะละความโลภ ด้วยการบำเพ็ญปริญญา ๓ เพื่อความ บริสุทธิ์นี้ พึงพิจารณาถึงโทษของความโลภ แล้วปฏิบัติเพื่อละความโลภนั้น โดยนัยต่างๆ ตามแบบบทพระสูตรมีอาทิอย่างนี้ว่า
ความโลภให้เกิดความพินาศ ความ โลภยังจิตให้กำเริบ ภัยเกิดแต่ภายใน ชน ย่อมไม่รู้ถึงภัยนั้น คนโลภ ย่อมไม่รู้จัก อรรถ คนโลภ ย่อมไม่เห็นธรรม ความโลภ ย่อมครอบงำคน ผู้บอดมืด ตลอดกาล.
คนที่ถูกราคะย้อมครอบงำ มีจิตยึดถือแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ตัดช่องย่องเบาบ้าง ปล้นสะดมบ้าง ทำคนอยู่เรือนหลังเดียวบ้าง ตกอยู่ในอันตรายบ้าง ล่วงเกินภรรยาคนอื่นบ้าง พูดปดบ้าง ตัณหานั้นเมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 74
สมณพราหมณ์ผู้เจริญ ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ ตกอยู่ในตัณหา ก็ทำให้ สะดุ้งหวั่นไว้ได้เหมือนกัน
บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไป ตลอดเวลายาวนาน ไม่ล่วงพ้นสงสารอัน มีความเป็นอย่างนี้ และมีความเป็นอย่าง อื่นไปได้ ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี โทษ เสมอด้วยโทสะไม่มี
เราถูกกามราคะเผา จิตของเราถูก เผาด้วย ผู้ที่ถูกราคะย้อมย่อมตกไปสู่กระ แสตัณหา เหมือนแมงมุมตกไปสู่ตาข่ายที่ คนทำเองฉะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลาย ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อละ กามราคะได้ คือ การถือเอาอสุภนิมิต ๑ การบำเพ็ญอสุภภาวนา ๑ การคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ การรู้จักประมาณในการ บริโภค ๑ การคบมิตรดี ๑ การสนทนาเป็นที่สบาย ๑. จริงอยู่แม้เมื่อ ถือเอาอสุภนิมิต ๑๐ อย่าง ก็ละกามราคะได้ แม้เมื่อขวนขวายบำเพ็ญ อสุภภาวนาในอสุภะ ที่มีวิญญาณด้วยการเจริญกายคตาสติ ในอสุภะที่ไร้ วิญญาณด้วยพิจารณาศพที่ขึ้นนพองเป็นต้น ก็ละกามราคะได้ แม้ปิดทวารด้วย ประตู คือ สติ โดยสำรวมในอินทรีย์มีใจเป็นที่ ๖ ก็ละกามราคะได้ แม้เมื่อ มีโอกาสกลืนคำข้าว ๔ - ๕ คำจึงดื่มน้ำ แล้วรู้ประมาณในโภชนะเพียงเพื่อให้ ชีวิตเป็นไปตามปกติ ก็ละกามราคะได้. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 75
บริโภคคำข้าว ๔ - ๕ คำ แล้วพึงดื่ม น้ำเพียงพอเพื่ออยู่อย่างสบาย ของภิกษุผู้ ปฏิบัติตน.
แม้เมื่อคบคนดี ผู้ยินดีในการเจริญอสุภกรรมฐาน ก็ละกามราคะได้ แม้ในการสนทนาเป็นที่สบายถึงเรื่องอสุภะ ๑๐ ก็ละกามราคะได้. สมดังที่ตรัส ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสุภนิมิตมีอยู่ การมนสิการโดยแยบคาย การ ทำให้มาก การเพิ่มกำลัง ในอสุภนิมิตนั้นย่อมเป็นไป เพื่อไม่ให้เกิดกามฉันทะ ที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุปฏิบัติเพื่อละโลภะ อันได้แก่กามราคะในส่วนเบื้องต้นอย่างนี้ ขวนขวายวิปัสสนาย่อมตัดโลภะนั้น ได้ด้วยตติยมรรคโดยไม่มีเหลือ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โลภํ ภิกฺขเว เอกธฺมมํ ปชหถ อหํ โว ปาฏิใภโค อนาคามิตาย ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอละธรรมอย่างหนึ่ง คือ โลภะได้ เราเป็นผู้รับรองพวก เธอเพื่อความเป็นพระอนาคามี.
ในข้อนี้เกจิอาจารย์กล่าวว่า ก็โลภะที่ละในสูตรนี้เป็นอย่างไร เป็นโลภะในอดีต หรืออนาคต หรือปัจจุบัน. อันที่จริง โลภะในสูตร นี้พึงละไม่ใช่ทั้งอดีต ทั้งอนาคต เพราะยังไม่มีอดีตอนาคตเหล่านั้น ท่าน กล่าวไว้ว่า ความจริง จิตดับแล้วหรือยังไม่เกิดหามีไม่. อนึ่ง ความพยายามที่ไม่ มีผลย่อมได้รับ. เมื่อเป็นเช่นนั้นต้องเป็นโลภะปัจจุบันแม้ด้วยประการอย่างนี้ ความพยายามไม่มีผล และมรรคภาวนาเศร้าหมองย่อมได้รับ เพราะความ พยายามนั้นได้สลายไปเสียแล้ว อีกอย่างหนึ่ง โลภะที่ปราศจากจิตจะพึงมีได้ นัยนี้ท่านไม่ต้องการ. ควรจะกล่าวว่า ความโลภที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ละได้โดยนัยที่กล่าวแล้ว. เหมือนอย่างว่าต้นไม้อ่อนยังไม่มีผล บุรุษพึงเอา จอบตัดต้นไม้นั้นที่โคน เมื่อไม่มีการตัดต้นไม้ ผลเหล่าใดพึงเกิด ผลเหล่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 76
นั้นก็ยังไม่เกิด เพราะต้นไม้ถูกตัด จะพึงเกิดไม่ได้ ฉันใด เมื่อบรรลุอริยมรรค ความโลภที่ควรเกิด ย่อมไม่เกิด เพราะถูกกำจัดในปัจจุบันด้วยบรรลุ อริยมรรค. ความโลภนี้เท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า เกิดเพราะได้ภูมิ. จริงอยู่ เบญจขันธ์อันเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ชื่อว่า ภูมิ เพราะเป็นฐานให้เกิด ความโลภนั้น. ท่านกล่าวอธิบายความข้อนี้ไว้ว่า ความโลภเกิดเพราะได้ภูมิดัง ที่จะกล่าวว่า สา ภูมิ เตน ลทฺธา ภูมินั้นอันความโลภได้แล้ว ๑ เกิดเพราะยึดถืออารมณ์ ๑ เกิดเพราะไม่ข่มไว้ ๑ เกิดเพราะไม่ถอน ๑.
บทว่า ตตฺถ คือ ในสูตรนั้น. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระ สูตรหนึ่งโดยผูกเป็นคาถา. ถามว่าใครกล่าว. ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็ในฐานะเช่นนั้นอื่นๆ พระสังคีติกาจารย์เป็นผู้ผูกคาถา. แต่ในที่นี้พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงถือเอาความที่พระองค์ตรัสด้วยอัธยาศัย ของบุคคลผู้ชอบคาถา จึงตรัสเป็นคาถา.
ในบทคาถานั้นว่า เยน โลเภน ลุทฺธาเส สตฺตา คฺจฉนฺติ ทุคฺคตึ สัตว์ทั้งหลายโลภแล้วด้วยความโลภใด ย่อมไปสู่ทุคติ อธิบายว่า สัตว์ ทั้งหลายโลภด้วยความโลภใด อันมีลักษณะเกาะอารมณ์ มีกิจรสเกี่ยวข้องแต่ ความโลภนั้น คือ อยากได้ผูกมัดในอายตนะภายในและภายนอก. บทว่า เส เป็นเพียงนิบาต. ก็นักคิดอักษรทั้งหลายต้องการลง เส อักษรในฐานะเช่นนี้. สัตว์ไม่ประพฤติสุจริตไรๆ ในกายสุจริตเป็นต้นเพราะเป็นผู้โลภอย่างเดียวเท่า นั้น สะสมกายทุจริตเป็นต้น ได้ชื่อว่า สัตว์ เพราะเป็นผู้ต้องอยู่ในรูปเป็น ต้น ย่อมเข้าถึงนรก กำเนิดเดียรัจฉาน เปรตวิสัยอันได้ ชื่อว่า ทุคติ เพราะ เป็นที่ให้เกิดทุกข์ด้วยการถือปฏิสนธิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 77
บทคาถาว่า ตํ โลภํ สมฺมทญฺาย ปชหนฺติ วิปสฺสิโน ความว่า ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่งความโลภนั้น ย่อมละเสียได้ อธิบายว่า ชนชื่อว่า ผู้เห็นแจ้งเพราะเห็นอุปทานขันธ์ ๕ มีรูปเป็นต้นโดยอาการหลายอย่าง มีความไม่เที่ยงเป็นต้น รู้ความโลภตามที่กล่าวแล้วนั้น โดยชอบ โดย ชอบเหตุโดยญาณอันไม่วิปริต โดยอาการเหล่านั้น คือ โดยความเป็นจริง โดย ความเกิด โดยความดับ โดยความชื่นชม โดยความเป็นโทษ โดยความออกไป คือ รู้ด้วยปัญญา อันได้แก่ ญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการรู้) ตีรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา) ย่อมละกิเลสที่เหลือด้วยมรรคปัญญาอันเป็นส่วน เบื้องต้นของวิปัสสนาปัญญา ด้วยสมุจเฉทปหาน คือ ไม่ให้เกิดขึ้นในสันดาน ของตนอีกต่อไป.
บทคาถาว่า ปหาย น ปุนายนฺติ อิมํ โลกํ กุทาจนํ ครั้นละ ได้แล้ว ย่อมไม่มาสู่โลกนี้อีกในกาลไหนๆ ความว่า ครั้นละโลภะนั้นกับ กิเลสที่เหลือพร้อมด้วยกิเลสที่สำคัญละได้แล้วยังเหลืออยู่หนึ่ง ด้วยอานาคามิ- มรรค ย่อมไม่มาสู่โลกอัน ได้แก่กามธาตุนี้ ในภายหลังอีก ด้วยการถือปฏิสนธิ แม้ในกาลไหนๆ เพราะละโอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ได้เรียบ ร้อยแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาลงด้วยอนาคามิผลด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อยมฺปิ อตโถ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศ ความด้วยพระสูตรนี้ตั้งแต่สุดนิทานจนถึงจบคาถา. อปิศัพท์เป็นศัพท์ประมวล ความในพระสูตรที่จะกล่าวอยู่ในบัดนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.
สมุทยสัจมาในพระสูตรนี้โดยสรุป. มรรคสัจมาโดยส่วนของปหาน สองสัจจะนอกนั้นพึงยกออกไป เพราะทั้งสองสัจจะนั้นเป็นเหตุ. ทุกขสัจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 78
สมุทยสัจ มรรคสัจ ย่อมชัดตามที่กล่าวแล้วในคาถานั่นแล. สัจจะนอกนั้นยกออกไป. ในสูตรแม้อื่นจากนี้ก็มีนัยนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑ แห่งการพรรณนาอิติวุตตกะ อรรถกถาขุททก-นิกาย ชื่อปรมัตถทีปนี.
จบอรรถกถาโลภสูตรที่ ๑