อิทัปปัจจยตา
โดย h_peijen  8 ส.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 4484

ขอทราบความหมายของ อิทัปปัจจยตา

ขอบพระคุณมากค่ะ



ความคิดเห็น 2    โดย wannee.s  วันที่ 9 ส.ค. 2550

อิทัปปัจจยตา คือ พูดถึงความเป็นปัจจัยแก่กันและกันของสภาพธรรมะ ขอยกตัวอย่างจากพระไตรปิฏกค่ะ

เชิญคลิกอ่าน ...

ปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม [ปฐมโพธิสูตร]


ความคิดเห็น 3    โดย study  วันที่ 9 ส.ค. 2550

ขอเพิ่มเติมความเห็นที่ 1, 2

ข้อความจากอรรถกถาดังนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 445

พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ยํ อิทํ หมายเอาปฏิจจสมุปบาทพึงเห็นเนื้อความ อย่างนี้ว่า โย อยํ ดังนี้

บทว่า อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปาโท ความว่า ปัจจัย แห่งธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยา อิทปฺปจฺจยา นั่นแล ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา อิทปฺปจฺจยตา นั้นด้วย ปฏิจจสมุปบาทด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท คำว่า อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปปาโท นี้เป็นชื่อของปัจจัยมีสังขาร เป็นต้น


ความคิดเห็น 4    โดย olive  วันที่ 9 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย natnicha  วันที่ 9 ส.ค. 2550
สฬายตนะ หมายความว่าอะไรคะ

ความคิดเห็น 6    โดย ajarnkruo  วันที่ 9 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 7    โดย udomjit  วันที่ 9 ส.ค. 2550

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระองค์ตรัสรู้อริยสัจจ์ก่อนใช่ไหมค่ะแล้วหลังจากนั้นจึงใคร่ครวญพิจารณาปัจจัยตามปฏิจสมุปบาท


ความคิดเห็น 8    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 9 ส.ค. 2550

ความเห็นที่ 5

สฬายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ


ความคิดเห็น 9    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 9 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระัรัตนตรัย
จากความเห็นที่ 7 เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระองค์ตรัสรู้อริยสัจจ์ก่อนใช่ไหมค่ะแล้วหลังจากนั้นจึง ใคร่ครวญพิจารณาปัจจัยตามปฏิจสมุปบาทเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ก็ตรัสรู้ สภาพธัมมะที่มีจริงในขณะนี้ รู้เหตุของธรรม และ การดับเหตุของธรรม ซึ่ง ก็คืออริยสัจ ๔ และปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง เพียงแต่ แสดงโดยนัย ต่างๆ กัน ก็ไม่พ้นจากสภาพธัมมะที่มีจริงในขณะนี้ ว่าต้องมีเหตุ เกิด และความดับของเหตุนั้นเป็นต้น ดังนั้น จึงไม่ใช่ ไปแยกว่า ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ก่อนแล้ว ค่อยไปใคร่ครวญ ปฏิจจสมุปบาท เพราะขณะที่ตรัสรู้ อริยสัจ ๔ ก็ชื่อ ว่ารู้ปฏิจจสมุปบาทด้วยครับ ดังนั้น ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น แสดงโดยนัย ต่างกัน เช่น ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ตรัสรู้ขันธ์ ธาตุ อายตนะ แต่ก็ไม่ พ้นสภาพธัมมะที่มีจริงในขณะนี้ ที่มีเหตุปัจจัยอาศัยกันและกันครับ ดังจะขอยก ข้อความในพระไตรปิฎก ครับ

เชิญคลิกอ่าน...

ตรัสรู้ อริยสัจ 4 ก็ชื่อว่ารู้ปฏิจจสมุปบาทด้วย

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 10    โดย natnicha  วันที่ 10 ส.ค. 2550

ขอบคุณสำหรับคำตอบ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 11    โดย Kalaya  วันที่ 5 ก.พ. 2564

กราบอนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 12    โดย chatchai.k  วันที่ 5 ก.พ. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น