๓. จตุโปสถิกชาดก ว่าด้วยสมณะ
โดย บ้านธัมมะ  25 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35903

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 793

๓. จตุโปสถิกชาดก

ว่าด้วยสมณะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 793

๓. จตุโปสถิกชาดก

ว่าด้วยสมณะ

[๑๓๔๒] ผู้ใดไม่ทำความโกรธ ในบุคคลผู้ควรโกรธ ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ ย่อมไม่โกรธในกาลไหนๆ บุคคลนั้นแม้จะโกรธ ก็ไม่ทำความโกรธให้ปรากฏ นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวบุคคลนั้นแลว่า เป็นสมณะในโลก.

[๑๓๔๓] นรชนใดมีท้องพร่อง ย่อมทนความหิวได้ นรชนนั้น เป็นผู้ฝึกตนแล้ว มีตบะ มีข้าว และน้ำพอประมาณ ย่อมไม่บาป เพราะเหตุแห่งอาหาร นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวนรชนนั้นแลว่า เป็นสมณะในโลก.

[๑๓๔๔] บุคคลละการเล่น และความยินดีทั้งปวง ได้เด็ดขาด ไม่กล่าวคำเหลาะแหละนิดหน่อย ในโลก เว้นจากการแต่งเนื้อแต่งตัว และเว้นจากเมถุนธรรม นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวบุคคลนั้นแลว่า เป็นสมณะในโลก.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 794

[๑๓๔๕] บุคคลใดละ สิ่งที่เขาหวงแหน และโลภธรรมทั้งปวงเสีย ด้วยปัญญา เครื่องกำหนดรู้ นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวบุคคลนั้นแล ผู้ฝึกตนแล้ว มีจิตตั้งมั่น ไม่มีตัณหา ไม่มีความหวังว่า เป็นสมณะในโลก.

[๑๓๔๖] ดูก่อนท่านผู้มีปัญญา สามารถจะรู้เหตุ และมิใช่เหตุที่ควรทำ เราขอถามท่าน ความทุ่มเถียงกัน ในถ้อยคำทั้งหลาย บังเกิดมีแก่เราทั้งหลาย ขอท่านโปรด ช่วยตัดเสียซึ่งความสงสัย ความเคลือบแคลงในวันนี้ ขอได้โปรดช่วยเราทั้งหมด ให้ข้ามพ้นความสงสัยนั้น ในวันนี้.

[๑๓๔๗] บัณฑิตเหล่าใด เป็นผู้สามารถเห็นเนื้อความ บัณฑิตเหล่านั้น จึงจะกล่าวได้โดยแยบคาย ในกาลนั้น ข้าแต่พระองค์ ผู้จอมประชานิกร ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย จะพึงวินิจฉัยเนื้อความ แห่งถ้อยคำทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้กล่าวแล้ว ได้อย่างไรหนอ.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 795

[๑๓๔๘] พญานาคกล่าวอย่างไร? พญาครุฑ กล่าวอย่างไร? ท้าวสักกะผู้เป็นพระราชาของ คนธรรพ์ตรัสอย่างไร? และพระราชาผู้ประเสริฐ ของชาวกุรุรัฐ ตรัสอย่างไร?

[๑๓๔๙] พญานาคกล่าว สรรเสริญขันติ พญาครุฑกล่าว ยกย่องการไม่ประหาร ท้าวสักกะผู้เป็นพระราชา ของคนธรรพ์ ตรัสชม การละความยินดี พระราชาผู้ประเสริฐของชาวกุรุรัฐ ตรัสสรรเสริญ ความไม่กังวล.

[๑๓๕๐] คำเหล่านี้ทั้งหมด เป็นสุภาษิตในถ้อยคำ ของท่านทั้ง ๔ นี้ ไม่มีคำทุพภาษิต แม้นิดหน่อยเลย คุณทั้ง ๔ มีขันติ เป็นต้นนี้ ตั้งมั่นอยู่ในผู้ใด ก็เปรียบได้กับกำรถ สอดเข้าสนิทดีที่ดุมรถ ฉะนั้น นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวบุคคลผู้พร้อมเพรียง ด้วยธรรม ๔ ประการ นั้นแลว่า เป็นสมณะในโลก.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 796

[๑๓๕๑] ท่านนั้นแล เป็นผู้ประเสริฐ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นผู้ถึงธรรม รู้แจ้งธรรม มีปัญญาดี พิจารณาปัญหาด้วยปัญญา เป็นนักปราชญ์ ตัดความสงสัย ความเคลือบแคลงทั้งหลาย เสียได้ ตัดความสงสัย ความเคลือบแคลงทั้งหลาย สำเร็จแล้ว ดุจนายช่างตัดงาช้าง ด้วยเครื่องมืออันคม ฉะนั้น.

[๑๓๕๒] ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจ ด้วยการพยากรณ์ ปัญหาของท่าน จึงขอให้ผ้าผืนนี้ ซึ่งมีสีสดใส ดุจสีอุบลเขียว ไม่หม่นหมอง หาค่ามิได้ มีสีเสมอด้วยควันไฟ เพื่อเป็นธรรมบูชาแก่ท่าน.

[๑๓๕๓] ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจ ด้วยการพยากรณ์ ปัญหาของท่าน จึงขอให้ดอกไม้ทอง มีกลีบตั้งร้อย อันแย้มบาน มีเกสรประดับด้วยรัตนะ จำนวนพัน เพื่อเป็นธรรม บูชาแก่ท่าน.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 797

[๑๓๕๔] ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจ ด้วยการพยากรณ์ ปัญหาของท่าน จึงขอให้แก้วมณี อันหาค่ามิได้ งามผ่องใส คล้องอยู่ที่คอ เป็นแก้วมณี เครื่องประดับคอของข้าพเจ้า เพื่อเป็นธรรมบูชาแก่ท่าน.

[๑๓๕๕] ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจ ด้วยการพยากรณ์ ปัญหาของท่าน จึงขอให้โคนม โคผู้ และช้างอย่างละพัน รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑๐ คัน และบ้านส่วย ๑๖ ตำบล แก่ท่าน.

[๑๓๕๖] พญานาคในกาลนั้น เป็นพระสารีบุตร พญาครุฑเป็นพระโมคคัลลานะ ท้าวสักกเทวราช เป็นพระอนุรุทธะ พระเจ้าโกรัพยะ เป็นพระอานนท์บัณฑิต วิฑุรบัณฑิตเป็นพระโพธิสัตว์นั่นเอง ขอท่านทั้งหลาย จงจำชาดกไว้ อย่างนี้.

จบ จุตโปสถิกชาดกที่ ๓


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 798

อรรถกถาจตุโปสถิกชาดกที่ ๓

จตุโปสถิกชาดกนี้ มีคำเริ่มต้นว่า โย โกปเนยฺโย จักมีแจ้งใน ปุณณกชาดก.

จบอรรถกถา จตุโปสถิกชาดกที่ ๓