1 บุคคลใดที่ไม่มีผัสสเจตสิกครับ
2 ขณะใดไม่มีผัสสเจตสิกครับ
3 มีไหมที่มีผัสสเจตสิก และจิตก็มีแต่ แด่ไม่รู้อารมณ์จากผัสสะ
4ที่ใดมีผัสสเจตสิก จำเป็นต้องมีปัญจทวารวัชนวิถีจิตหรือเปล่าครับ
4 ผัสสเจตสิกเป็นวิบากหรือผลของกรรมหรือเปล่า หรือเป็นอะไรครับ
6 ผัสสเจตสิกเกิดที่ใดได้บ้างครับ
7 ถ้าเจตสิกเกิดร่วมกับจิต เมื่อผัสสเจตสิกเกิด แล้วปัญจทวารวัชนจิตเกิด
แล้วมโนทวารวัชนจิตเกิด นี่นับเป็นจิต 1ดวง หรือ 1ขณะหรือเปล่าครับ
8 คำว่ามโนทวารจิต และ คำว่าปัญจทวารจิต มีไหมครับ
หากคำใดผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ ...
อนุโมทนาสาธุ...
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย 1. บุคคลใดที่ไม่มีผัสสเจตสิกครับ
ผัสสเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นนามธรรม เป็นเจตสิก ผัสสเจตสิกเกิดกับ
จิตทุกประเภท เมื่อใดที่จิตเกิดขึ้น ผัสสเจตสิกย่อมเกิดขึ้นร่วมด้วยเสมอ ผัสสเจตสิก
ทำหน้าที่กระทบครับ ดังนั้นในภูมิที่ขันธ์ 5 และขันธ์ 4 คือ ภูมิที่มีนามธรรมเกิดขึ้น คือ
มี จิต เจตสิกเกิดขึ้นจะต้องมีผัสสเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอครับ ดังนั้น มนุษย์ เทวดา
สัตว์อบายภูมิ อรูปพหรม และรูปพรหมโดยมาก เป็นบุคคลที่ผัสสเจตสิกเกิดร่วมด้วย
เพราะภูมินั้นมี จิต เจตสิกเกิดขึ้น เมื่อมีจิตเกิดขึ้น ผัสสเจตสิกก็ต้องเกิดร่วมด้วยเสมอ
ครับ ส่วนบุคคลที่ไม่มีผัสสเจตสิกเกิดเลย คือ อสัญญสัตตาพรหม เพราะเป็นภูมิที่มี
แต่รูปธรรมเกิดขึ้นเท่านั้นครับ ไม่มีนามธรรม คือ จิต จิต เจตสกิเกิดขึ้นเลย จึงไม่มี
ผัสสเจตสิกทีเป็นนามธรรมและเป็นเจตสิกเกิดครับ และพระอนาคามี พระอรหันต์ที่เข้า
นิโรธสมาบัติ ขณะนั้นดับ จิต เจตสิก จึงไม่มีผัสสเจตสิกเกิดขึ้นในขณะที่เข้านิโรธ
สมาบัติ ส่วนบุคคลที่ปรินิพพานแล้ว ไม่มีการเกิดอีก เมื่อไม่มีการเกิดอีกก็ไม่มีผัสสะ
เจตสิกเกิดขึ้นอีกเลยครับ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
2.ขณะใดไม่มีผัสสเจตสิกครับ
ถ้ามีจิตเกิดขึ้นก็ต้องมี เจตสิกคือผัสสเจตสิกเกิดขึ้นสมอ เพราะผัสสเจตสิกเกิดกับ
จิตทุกดวง ทุกประเภท ดังนั้นเมื่อเป็นวิถีจิตเกิดขึ้น จึงไม่มีขณะใดเลยที่ไม่มีผัสสะ
เจตสิกเกิดขึ้นครับ ต้องมีผัสสะเกิดขึ้นเสมอครับ เว้นแต่เมือ่ไปเกิดเป็นอสัญญสัตตา
พรหม ไม่มีนาม มีแต่รูป จึงไม่ผัสสะเกิดขึ้น และขณะที่เข้านิโรธสมาบัติครับ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
3. มีไหมที่มีผัสสเจตสิก และจิตก็มีแต่ แด่ไม่รู้อารมณ์จากผัสสะ
จิตเกิดขึ้นจะต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย รวมทั้งผัสสเจตสิกก็เกิดพร้อมจิตด้วย ดังนั้น
ความหมายของจิต คือ จิตเกิดพร้อมเจตสิก รู้อารมณ์เดียวกับจิต คือ เมื่อจิตรู้อารมณ์ใด
เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยทั้งหมดก็รู้อารมณ์เดียวกับจิตนั้นครับ เช่น ขณะที่ได้ยิน จิตได้ยิน
เกิดขึ้น มีอารมณ์ คือ เสียง เจตสิกอื่นๆ ทีเกิดร่วมด้วย รวมทั้งผัสสเจตสิกก็รู้อารมณ์
เดียวกับจิตได้ยิน คือ เสียง ผัสสเจตสิกจึงมีเสียงเป็นอารมณ์ด้วยครับ ผัสสะเมื่อเกิด
ขึ้นจึงต้องมีอารมณ์เสมอและเป็นอารมณ์เดียวกับจิตนั้นทีเกิดร่วมด้วยครับ
4.ที่ใดมีผัสสเจตสิก จำเป็นต้องมีปัญจทวารวัชนวิถีจิตหรือเปล่าครับ
ไม่จำเป็นครับ เพราะผัสสเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง ทุกประเภท ดังนั้นจิตอื่นก็เกิดขึ้น
โดยมีผัสสเจตสิกเกิดร่วมด้วย เช่น ภวังคจิต ก็มีผัสสเจตสิก ขณะที่เป็นภวังคจิต ไม่
ใช่ขณะที่เป็นปัญจทวาราวัชนจิตครับ หรือ จิตเห็นก็มีผัสสเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตเห็น
ไม่ใช่ปัญจทวาราวัชนจิตครับ คนละขณะกันครับ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
5.ผัสสเจตสิกเป็นวิบากหรือผลของกรรมหรือเปล่า หรือเป็นอะไรครับ
ผัสสเจตสิกเป็นนามธรรม เป็นเจตสิก ผัสสเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภท ดังนั้นกฎ
ธรรมข้อหนึ่งที่ว่า เมื่อจิตเกิดขึ้นก็ต้องมีเจตสิกเกิดขึ้นเสมอ และจิตเป็นชาติใด (กุศล
อกุศล วิบาก กิริยา) เจตสิกทีเกิดร่วมด้วยก็เป็นชาตินั้น คือ เป็นเจตสิกประเภทเดียวกับ
จิต ยกตัวอย่างเช่น จิตเห็นเป็นผลของกรรม (วิบาก) ต้องมีผัสสเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ครับ ผัสสเจตสิกที่เกิดกับจิตเห็นที่เป็นชาติวิบาก ผัสสเจตสิกทีเกิดกับจิตเห็นนั้น จึง
เป็นชาติวิบากด้วยครับ แต่ในควาเมป็นจริง ผัสสเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง ดังนั้นจึง
เกิดกับจิตทุกชาติ คือ เกิดได้กับกุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิตและกิริยาจิตด้วย ดังนั้น
ผัสสเจตสิก จึงเป็นไปทั้ง กุศลชาติ อกุศลชาติ วิบากและกิริยาครับ ขึ้นอยู่กับว่าผัสสะ
เจตสิกนั้นเกิดกับจิตประเภใด ก็เป็นเจตสิกประเภทนั้นตามประเภทของจิตนั้นครับ
6.ผัสสเจตสิกเกิดที่ใดได้บ้างครับ
ผัสสเจตสิกเกิดที่วัตถุรูป ทั้ง ๖ ตามสมควรแก่ประเภทของจิต ครับ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
7.ถ้าเจตสิกเกิดร่วมกับจิต เมื่อผัสสเจตสิกเกิด แล้วปัญจทวารวัชนจิตเกิด
แล้วมโนทวารวัชนจิตเกิด นี่นับเป็นจิต 1ดวง หรือ 1ขณะหรือเปล่าครับ
ผัสสเจตสิกเกิดร่วมกับจิต ซึ่งแต่ละวิถี ก็นับเป็นแต่ละ 1 ขณะเท่านั้นครับ เช่น ปัญจ
ทวาราวัชนจิตเกิดขึ้น มีผัสสะเกิดร่วมด้วย 1 ขณะ ดับไป จักขุวิญญาณจิต มีผัสสะ
เจตสิกเกดร่วมด้วย นับอีก 1 ขณะและดับไป จิตอื่นเกิดต่อทีละขณะๆ ไปเรื่อย จนถึง
มโนทวาราวัชนจิต อีก 1 ขณะดับไป จนกว่า รูปจะดับไป ซึ่งรูปมีอายุ 17 ขณะจิตครับ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
8.คำว่ามโนทวารจิต และ คำว่าปัญจทวารจิต มีไหมครับ
ไม่มีครับ มีแต่มโนทวาราวัชนจิตและปัญจทวาราวัชนจิต และปัญจทวารและมโนทวาร
ขออนุโมทนา
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น จากประเด็นคำถามในเรื่องของสภาพธรรมที่เป็นเจตสิกธรรมอย่างหนึ่ง คือ ผัสสะขออนุญาตแสดงความคิดเห็นโดยรวม ดังนี้ ควรที่จะได้เข้าใจเป็นเบื้องต้น ว่า ผัสสะ เป็นธรรมที่มีจริง เป็นเจตสิก ที่เกิดร่วมกับจิตทุกขณะ ทุกชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาิติกุศล ชาติอกุศล ชาติวิบาก และ ชาติกิริยา ย่อมมีผัสสเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอ ดังนั้น เมือจิตเกิดขึ้น ย่อมไม่ปราศจากผัสสเจตสิกเลย ผัสสะย่อมรู้อารมณ์เดียวกันกับจิตรู้ แต่รู้โดยกิจหน้าที่ที่ต่างกัน เพราะหน้าที่ของผัสสะ คือ กระทบอารมณ์ที่จิตรู้เท่านั้น ถ้าจะกล่าวอย่างกว้างๆ แล้ว ผู้ที่ไม่มีผัสสเจตสิกที่เกิดขึ้น ได้แก่ บุคคลผู้ที่ไม่มีนามธรรม เกิดขึ้น นั่นก็คือ อสัญญสัตตาพรหม ในรูปพรหมภูมิ และ พระอริยบุคคลขั้นพระอนาคามี พระอรหันต์ ผู้เข้านิโรธสมาบัติ ดับจิตเจตสิก เป็นเวลา ๗ วัน ในขณะนั้น จิตไม่เกิด นั่น ก็ย่อมหมายรวมถึงไม่มีเจตสิกเกิดด้วย ผัสสะ ก็ไม่เกิด แต่เมื่อออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว ก็มีจิตเจตสิก เกิดขึ้น ส่วนผู้ที่ดับกิเลสหมดแล้วเป็นพระอรหันต์ ดับขันธปรินิพพาน ไม่มีการเกิดอีก ไม่มีจิต เจตสิก และรูปเกิดอีกเลย ไม่มีสภาพธรรมใดเกิดขึ้นอีก สำหรับจิต นั้น มีหลายประเภท มีหลายชาิติ เจตสิกก็มีหลายชาติตามสมควรแก่จิตประเภทนั้นๆ เช่น ในขณะที่จิตเป็นอกุศล จิตเป็นอกุศลชาิติ ผัสสเจตสิกที่เกิดร่วมกับอกุศลจิต ก็เป็นชาติอกุศล ด้วย และจิตแต่ละขณะที่เกิดขึ้นย่อมมีที่เกิดของจิต ที่เกิดของจิต มี ๖ รูป คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ หทยวัตถุ ผัสสเจตสิก จึงได้ทั้ง ๖ วัตถุรูป ตามสมควรแก่จิตประเภทนั้นๆ กล่าวคือ จิตเห็น เกิดที่ตา จิตได้ยิน เกิดที่หู จิตได้กลิ่น เกิดที่จมูก จิตลิ้มรสเกิดที่ลิ้น จิตรู้สิ่งที่่กระทบสัมผัสกาย เกิดที่กาย ที่เหลือนอกจากนี้เกิดที่หทยวัตถุ ดังนั้น ผัสสเจตสิก ก็มีที่เกิดตามจิตประเภทนั้นๆ ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ พิจารณาไตร่ตรองในเหตุในผลต่อไป ถ้าไม่ขาดการฟัง ไม่ขาดการศึกษาแล้ว ความเข้าใจย่อมเจริญขึ้นอย่างแน่นอน ครับ ขอเชิญคลิกอ่านข้อความนี้เพิ่มเติม ครับ ผัสสเจตสิก -- สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ....
ในพระไตรปิฏกมีแสดงไว้ ผู้ที่่ยินดีในผัสสะ ย่อมทำให้ล่วงศีล 5 ได้ เช่น
ล่วงศีล ข้อ 3 คือ การประพๆ ติผิดในกาม ผัสสะ เป็นโทษ เป็นภัยในวัฏฏะค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ในกุศลจิตทุกท่าน