๑. วรุณชาดก ว่าด้วยการทําไม่ถูกขั้นตอน
โดย บ้านธัมมะ  15 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35448

[เล่มที่ 56] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 175

๘. วรุณวรรค

๑. วรุณชาดก

ว่าด้วยการทําไม่ถูกขั้นตอน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 56]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 175

๘. วรุณวรรค

๑. วรุณชาดก

ว่าด้วยการทำไม่ถูกขั้นตอน

[๗๑] "ผู้ใดปรารถนาจะทำกิจที่ควรทำก่อนในตอนหลัง ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง เหมือนมาณพหักไม้กุ่ม ฉะนั้น".

จบ วรุณชาดกที่ ๑

อรรถกถาวรุณวรรคที่ ๘ (๑)

อรรถกถาวรุณชาดกที่ ๑

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระติสสเถระ บุตรกุฎุมพี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "โย ปุพฺเพ กรณียานิ" ดังนี้.

ได้ยินว่า ในวันหนึ่ง กุลบุตรชาวเมืองสาวัตถี เป็นสหายกันประมาณ ๓๐ คน ถือของหอม ดอกไม้และผ้าเป็นต้น คิดกันว่า พวกเราจักฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา อันมหาชนห้อมล้อม พากันไปสู่วิหารเชตวัน นั่งพักในโรงชื่อ นาคมาฬกะ


(๑) ในอรรถกถาเป็น วรณ.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 176

และวิสาลมาฬกะเป็นต้น พอเวลาเย็น เมื่อพระศาสดาเสด็จออกจากพระคันธกุฎีอันอบแล้วด้วยกลิ่นหอม เสด็จดำเนินไปสู่ธรรมสภา ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันตกแต่งแล้ว จึงพากันไปสู่ธรรมสภาพร้อมด้วยบริวาร บูชาพระศาสดาด้วยของหอมและดอกไม้ ถวายบังคมแทบบาทยุคลอันประดับด้วยจักร์ ทรงพระสิริเสมอด้วยดอกบัวบาน แล้วนั่งฟังพระธรรมอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง พวกเขาพากันปริวิตกว่า เราทั้งหลายต้องบวช ถึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วได้กว้างขวาง ในเวลาที่พระตถาคตเสด็จออกจากธรรมสภา พวกกุลบุตรเหล่านั้น ก็พากันเข้าไปเฝ้าถวายบังคมทูลขอบรรพชา พระศาสดาทรงประทานบรรพชาแก่พวกเขา พวกเขากระทำให้อาจารย์และอุปัชฌาย์โปรดปรานแล้ว ได้อุปสมบทอยู่ในสำนักของอาจารย์และอุปัชฌาย์ ๕ พรรษา ท่องมาติกาทั้ง ๒ คล่องแคล่ว รู้สิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ เรียนอนุโมทนา ๓ เย็นย้อมจีวรแล้วกราบลาอาจารย์และอุปัชฌาย์ว่า พวกกระผมจักบำเพ็ญสมณธรรม แล้วพากันเข้าเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เอือมระอาในภพทั้งหลาย กลัวแต่ความเกิด ความแก่ ความเจ็บและความตาย ขอพระองค์จงตรัสบอกพระกรรมฐาน เพื่อปลดเปลื้องตนจากสังสารทุกข์ แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเหล่านั้นเถิด พระเจ้าข้า พระศาสดาทรงทราบสัปปายะ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 177

จึงตรัสบอกพระกรรมฐานข้อหนึ่ง ในกรรมฐาน ๓๘ ประการ แก่ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นเรียนพระกรรมฐานในสำนักของพระศาสดาแล้ว ถวายบังคมพระศาสดา กระทำประทักษิณ ไปสู่บริเวณ อำลาอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ ถือเอาบาตรและจีวรออกจากวิหารไป ด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักบำเพ็ญสมณธรรม.

ครั้งนั้น ในระหว่างภิกษุเหล่านั้น มีภิกษุรูปหนึ่ง โดยชื่อเรียกกันว่า กฏุมพิกปุตตติสเถระ เป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรทราม ติดรสอาหาร เธอคิดอย่างนี้ว่า เราจักไม่สามารถเพื่ออยู่ในป่า ไม่อาจจะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการเที่ยวภิกษาจาร การไปป่าไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่เราเลย เราจักกลับ เธอทอดทิ้งความเพียรเสียแล้ว เดินตามภิกษุเหล่านั้นไปหน่อยหนึ่ง แล้วกลับเสีย ฝ่ายภิกษุเหล่านั้น พากันจาริกไปในแคว้นโกศล ถึงหมู่บ้านชายแดนตำบลหนึ่ง ก็เข้าอาศัยหมู่บ้านนั้นจำพรรษาอยู่ที่ชายป่าแห่งหนึ่ง เป็นผู้ไม่ประมาทเพียรพยายามอยู่ตลอดระยะกาลภายในไตรมาส ถือเอาห้องวิปัสสนา ยังปฐพีให้บรรลือลั่น บรรลุพระอรหัตต์แล้ว พอออกพรรษาปวารณาแล้ว ปรึกษากันว่า จักกราบทูลคุณที่ตนได้บรรลุแล้วแด่พระศาสดา จึงพากันออกจากปัจจันตคามถึงพระเชตวันมหาวิหารโดยลำดับ เก็บบาตรและจีวรเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าพบอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ ปรารถนาจะเฝ้าพระตถาคตเจ้า พากันไปยังสำนักของพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่งเฝ้าอยู่ พระศาสดาได้ทรงกระทำปฏิสันถาร


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 178

ด้วยพระดำรัสอันไพเราะกับภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้น ได้รับปฏิสันถารแล้ว จึงกราบทูลที่ตนได้แล้วแด่พระตถาคต พระศาสดาทรงสรรเสริญภิกษุเหล่านั้น พระกุฏุมพิกปุตตติสสเถระเห็นพระศาสดาตรัสสรรเสริญคุณของภิกษุเหล่านั้น แม้ตนเองก็ประสงค์จะบำเพ็ญสมณธรรมบ้าง ฝ่ายภิกษุทั้งหลายแม้เหล่านั้น กราบทูลลาพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์จักไปอยู่ที่ชายป่านั้น พระศาสดาทรงอนุญาตแล้ว พวกภิกษุเหล่านั้น ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ได้พากันไปสู่บริเวณ ครั้งนั้นพระกุฏุมพิกปุตตติสสเถระนั้น บำเพ็ญเพียรจัดในระหว่างเวลารัตติกาล บำเพ็ญสมณธรรมโดยรีบเร่งเกินไป พอถึงเวลาระยะมัชฌิมยาม ทั้งๆ ที่ยืนพิงแผ่นกระดานสำหรับพัก หลับไป กลิ้งตกลงมา กระดูกขาของท่านแตก เกิดเวทนามากมาย เมื่อภิกษุเหล่านั้นต้องช่วยปฏิบัติเธอ การเดินทางก็ชะงัก ครั้งนั้นพระศาสดาตรัสถามภิกษุเหล่านั้น ผู้พากันมาในเวลาเป็นที่บำรุงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอบอกลาเมื่อวานว่า จักพากันไปในวันพรุ่งนี้ มิใช่หรือ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เช่นนั้น ก็แต่ว่าท่านติสสเถระบุตรกุฎุมพี สหายของข้าพระองค์ทั้งหลาย กระทำสมณธรรมอย่างรีบเร่ง ในเวลามิใช่กาล ถูกความง่วงครอบงำ กลิ้งตกลงไป กระดูกขาแตก เพราะเธอเป็นเหตุ พวกข้าพระองค์จึงจำต้องงดการเดินทาง พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุนี้


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 179

รีบเร่งกระทำความเพียรในเวลามิใช่กาล เพราะความที่ตนเป็นผู้มีความเพียรย่อหย่อน จึงกระทำอันตรายการเดินทางของพวกเธอ แม้ในครั้งก่อน ภิกษุนี้ก็ได้ทำอันตรายการเดินทางของพวกเธอมาแล้วเหมือนกัน ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ให้มาณพ ๕๐๐ คน เล่าเรียนศิลปะอยู่ในเมืองตักกสิลา แคว้นคันธาระ ครั้นวันหนึ่งมาณพเหล่านั้นพากันไปป่าเพื่อหาฟืน รวบรวมฟืนไว้ ในระหว่างมาณพเหล่านั้น มีมาณพผู้เกียจคร้านอยู่คนหนึ่ง เห็นต้นกุ่มใหญ่ สำคัญว่าต้นไม้นี้เป็นต้นไม้แห้ง คิดว่า นอนเสียชั่วครูหนึ่งก่อนก็ได้ ทีหลังค่อยขึ้นต้น หักฟืนทิ้งลงหอบเอาไป จึงปูลาดผ้าห่มลงนอนกรนหลับสนิท ส่วนมาณพนอกนี้ พากันผูกฟืนเป็นมัดๆ แล้วแบกไป เอาเท้ากระทืบมาณพนั้นที่หลังปลุกให้ตื่น แล้วพากันไป มาณพผู้เกียจคร้าน ลุกขึ้นขยี้ตา จนหายง่วงแล้ว ก็ปืนขึ้นต้นกุ่ม จับกิ่งเหนี่ยวมาตรงหน้าตน พอหักแล้ว ปลายไม้ที่ลัดขึ้นก็ดีดเอานัยน์ตาของตนแตกไป เอามือข้างหนึ่งปิดตาไว้ ข้างหนึ่งหักฟืนสดๆ ลงจากต้น มัดเป็นมัดแบกไปโดยเร็ว เอาไปทิ้งทับบนฟืนที่พวกมาณพเหล่านั้นกองกันไว้อีกด้วย ก็ในวันนั้น ตระกูลหนึ่งจากบ้านในชนบท นิมนต์อาจารย์ไว้ว่า พรุ่งนี้ พวกกระผมจักกระทำการสวดมนต์พราหมณ์ อาจารย์จึงกล่าวกะพวกมาณพว่า


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 180

พ่อทั้งหลาย พรุ่งนี้ต้องไปถึงหมู่บ้านตำบลหนึ่ง แต่พวกเธอไม่ได้กินอาหารก่อน จักไม่อาจไปได้ ต้องให้เขาต้มข้าวแต่เช้าตรู่ ไปที่นั่น ถือเอาส่วนที่ตนจะต้องได้รับและส่วนที่ถึงแก่เราแล้ว รีบพากันมาเถิด พวกมาณพเหล่านั้น ปลุกทาสีให้ลุกขึ้นต้มข้าวต้ม แต่เช้าตรู่ สั่งว่าเจ้าจงรีบต้มข้าวต้มให้แก่พวกเราโดยเร็ว ทาสีนั้นไปหอบฟืนก็หอบเอาฟืนไม้กุ่มสดไป แม้จะใช้ปากเป่าลมบ่อยๆ ก็ไม่อาจให้ไฟลุกได้ จนดวงอาทิตย์ขึ้น พวกมาณพเห็นว่า สายนักแล้ว บัดนี้ พวกเราไม่อาจจะไปได้ จึงพากันไปสำนักท่านอาจารย์ ท่านอาจารย์ถามว่า พ่อเอ๋ย พวกเจ้าไม่ได้ไปกันดอกหรือ พวกมาณพตอบว่า ครับ ท่านอาจารย์ พวก กระผมไม่ได้ไป อาจารย์ถามว่า เพราะเหตุไร จึงตอบว่า มาณพเกียจคร้านโน่น ไปป่าเพื่อหาฟืนกับพวกผม ไปนอนหลับเสียที่โคนกุ่ม ทีหลังจึงรีบขึ้นไป ไม้สลัดเอาตาแตก หอบเอาไม้สดๆ มาโยนไว้ข้างบนฟืนที่พวกผมหามา คนต้มข้าว ขนเอาฟืนสดๆ นั้นไปด้วยสำคัญว่าเป็นฟืนแห้ง จนดวงอาทิตย์ขึ้นสูง ก็ไม่อาจก่อไฟให้ลุกได้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง ท่านอาจารย์ฟังสิ่งที่มาณพกระทำผิดพลาดแล้ว กล่าวว่า ความเสื่อมเสียเห็นปานนี้ย่อมมีได้ เพราะอาศัยกรรมของพวกอันธพาล แล้วกล่าวคาถานี้ความว่า.

"กิจที่จะต้องรีบกระทำก่อน ผู้ใดใคร่จะกระทำภายหลัง ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง เหมือนมาณพหักไม้กุ่ม เดือดร้อนอยู่ฉะนี้" ดังนี้.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 181

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ส ปจฺฉา อนุตปฺปติ ความว่า บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ว่า กิจนี้ต้องทำก่อน กิจนี้ต้องทำภายหลัง เอากิจที่ต้องทำก่อน คือกรรมที่ต้องกระทำทีแรกนั่นแหละ มากระทำในภายหลัง บุคคลนั้น เป็นพาลบุคคล ย่อมเดือดร้อน คือโศกเศร้า ร่ำไห้ในภายหลัง เหมือนมาณพของพวกเราผู้หักไม้กุ่มผู้นี้.

พระโพธิสัตว์ กล่าวเหตุนี้แก่เหล่าอันเตวาสิก ด้วยประการฉะนี้ แล้วกระทำบุญมีทานเป็นต้น ในสุดท้ายแห่งชีวิต ก็ไปตามครรลองของกรรม.

พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุนี้กระทำอันตรายต่อการเดินทางของพวกเธอ แม้ในครั้งก่อนก็ได้กระทำแล้วเหมือนกันดังนี้ ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า มาณพผู้ถึงแก่นัยน์ตาแตกในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุผู้กระดูกขาแตกในบัดนี้ มาณพที่เหลือ มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนพราหมณ์ผู้อาจารย์ ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาวรณชาดกที่ ๑