เรียนความเห็นที่ 10 ครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ ... ศีล สมาธิ ปัญญา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เมื่อกล่าวถึงคำใด ประโยคใดก็ต้องเข้าใจถึงคำนั้น แต่ละคำอย่างถูกต้องก็จะทำให้เข้าใจว่าคำนั้นจริงหรือไม่ครับ
บวช คือ อะไร บวชเพื่ออะไร ทำไมต้องบวช
บวช คือ การสละเพศคฤหัสถ์สู่ความเป็นเพศบรรพชิต
บวชเพื่ออะไร การบวชเพราะบุคคลนั้นมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาและที่สำคัญ เป็นผู้เห็นโทษในการครองเรือนจริงๆ จึงเป็นผู้สละ อาคารบ้านเรือนทั้งหมด ไม่ว่าเงินและทอง ทุกๆ อย่างที่สมควรกับคฤหัสถ์ ดังนั้นการบวช จึงไม่ใช่เพื่อตอบแทนพระคุณมาดา บิดา ไม่ใช่เพื่อว่าบวชแล้วจะเป็นบุญ (บุญอยู่ที่จิตไม่ใช่เครื่องนุ่มห่มที่ใส่) และที่สำคัญที่สุดคือ การบวชไม่ใช่ทางเดียวที่จะทำให้พ้นทุกข์ดับกิเลสครับ แต่ธรรมที่ทำให้ดับกิเลส ละกิเลสได้คือ สภาพธรรมที่เรียกว่า ปัญญา ซึ่งปัญญาไม่ได้หมายความว่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะต้องบวช เท่านั้นครับ แต่ปัญญาเกิดจากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ดังนั้นปัญญาเกิดได้ โดยไม่จำกัดเพศ ว่าจะเป็นฆราวาส หรือ เพศบรรพชิต เพราะปัญญาเป็นสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม เกิดกับจิต จิตและเจตสิก จึงไม่ได้จำกัดที่จะเกิดที่เพศใด เกิดได้หมดทุกเพศ ทุกวัย ดังนั้น เหตุให้เกิดปัญญา คือ การฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม ซึ่ง การศึกษาพระธรรม จึงไม่ไ่ด้หมายความว่าจะต้องบวชเท่านั้น แม้ฆราวาส ก็ศึกษาพระธรรม และอบรมปัญญาได้ ในสมัยพุทธกาล มีฆราวาสที่บรรลุธรรม เป็นพระอริยเจ้าขั้นต่างๆ จนถึงพระอรหันต์ดับกิเลสมากมาย เพราะท่านรู้อัธยาศัยของตน ว่ายังไม่ได้ถึงขนาดสละทุกอย่างได้ แต่ท่านก็อบรมปัญญาในเพศฆราวาสดับกิเลสได้ครับ
ที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าเพศใด บรรพชิต หรือ คฤหัสถ์ หากไม่เข้าใจธรรม หรือ ปฏิบัติผิดก็ย่อมมีโทษ ดังนั้น ต้องเริ่มจากการศึกษาให้เข้าใจเบื้องต้น แม้แต่คำว่า ปฏิบัติ คืออะไรให้ถูกต้องครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ ...
ปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การไปทำปฏิบัติ
เรื่องเกี่ยวกับ สำนักปฏิบัติ
การปฏิบัติธรรม
หากไมได้บวชด้วยความเข้าใจ และไม่ได้มีศรัทธาที่จะประพฤติตามพระธรรมวินัยเลย การบวชนั้นก็เป็นโทษกับผู้บวช เพราะล่วงอาบัติต่างๆ มากมายและไม่เห็นโทษในอาบัตินั้น และทำให้เข้าใจในพระธรรมผิดก็ย่อมทำให้เป็นโทษกับผู้บวชเอง พระศาสนาก็เสื่อมเร็วขึ้นเพราะไม่ได้เริ่มจากความเข้าใจ ครับ
ขออนุโมทนา
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ ....
การบวช เป็นเรื่องยาก [คาถาธรรมบท]
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การบวช เป็นเรื่องที่ยากมาก และการยินดีในการบวชก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นเดียวกัน ยุคนี้สมัยนี้ ไม่ควรบวชเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นอันตรายมากทีเดียว ถ้าหากล่วงละเมิดพระธรรมวินัย ไม่ประพฤติตามพระวินัย เป็นผู้ย่อหย่อนไม่รักษาพระวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ ขาดความเคารพยำเกรงในพระรัตนตรัย ย่อมเป็นผู้มีอบายภูมิเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเท่านั้น เมื่อต้องอาบัติแล้ว ไม่กระทำคืนตามพระวินัย ก็เป็นเครื่องกั้นการบรรลุมรรค ผล นิพพาน กั้นการไปสู่สุคติด้วย แทนที่จะได้กระทำกิจที่ควรทำที่จะเป็นที่พึ่งสำหรับตนเอง แต่กลับไปเพิ่มอกุศล เพิ่มความไม่รู้ เพิ่มเหตุที่ไม่ดีให้กับตนเองที่จะทำให้ได้รับผลที่ไม่ดีในอนาคตข้างหน้า เป็นเรื่องที่น่าพิจารณาเป็นอย่างมากทีเดียว บุคคลในครั้งพุทธกาล ท่านได้ฟังพระธรรม ได้เข้าใจพระธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้เห็นโทษของการอยู่ครองเรือน ว่า คับแคบ (คับแคบด้วยอกุศล คับแคบด้วยกิเลส) มีแต่จะเป็นเครื่องพอกพูนกิเลส ให้หนาแน่นขึ้น แล้วมีอัธยาศัยน้อมไปที่จะขัดเกลากิเลสให้ยิ่งกว่าเพศคฤหัสถ์ จึงสละทุกสิ่งทุกอย่าง สละทรัพย์สมบัติ สละวงศาคณาญาติ แล้วออกบวช เป็นบรรพชิต ด้วยความจริงใจ ด้วยความตั้งใจที่จะขัดเกลากิเลสจริงๆ เพื่อการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ จนกระทั่งสูงสุดถึงความเป็นพระอรหันต์ [ไม่ใช่บวชด้วยความไม่รู้]
ดังนั้น การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ จะเป็นหญิงหรือชาย ก็ตาม ถ้าหากว่ามีโอกาสที่จะได้ศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญาพร้อมทั้งเจริญกุศลประการต่างๆ นั่น ย่อมเป็นชีวิตที่มีค่าเป็นอย่างมาก เพราะเหตุว่า ไม่มีใครสามารถทราบได้ว่าจะละจากโลกนี้ไป (ตาย) เมื่อใด และเมื่อละจากโลกนี้ไปแล้ว จะไปเกิดในภพภูมิใด ถ้าหากไปเกิดในอบายภูมิ ย่อมหมดโอกาสที่จะได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม พิจารณาพระธรรม ไม่มีโอกาสที่จะอบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ ฉะนั้นแล้ว ทุกๆ วันจึงเป็นโอกาสที่ดี ที่จะทำชีวิตที่ยังมีอยู่ ยังเหลืออยู่นี้ ให้เป็นชีวิตที่มีค่ามากที่สุด เท่าที่จะมากได้ และควรที่จะได้พิจารณาว่า ไหนๆ ก็จะต้องตายอยู่แล้ว การเป็นคนดี และ ฟังพระธรรมให้เข้าใจขึ้น ย่อมเป็นการดีกว่าที่จะไปทำอะไรอย่างอื่นด้วยความไม่รู้ [เป็นใครก็ตาม พึงเป็นคนดีควบคู่ไปกับการฟังพระธรรม] ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
บวชแล้วเริ่มต้นวิปัสสนาเลยเหรอ โอ้ ..
การจะปฏิบัติธรรม มันต้องมีอันดับของมัน มีอนุบาล ประถม มัธยม ปริญญาตรี ปริญญาโท ดอกเตอร์ ทีนี้ เราก็ไม่รู้เขาวิปัสสนายังไง
เริ่มแรก น่าจะ ดูลมหายใจเข้า-ออก ทำกรรมฐานไปก่อน จะกำหนดพุท-โธ หรืออะไรก็แล้วแต่ แล้วยิ่งสมาธิสั้น น่าจะแก้ด้วย ลมหายใจเข้า พุท แล้วก็นับ ๑ หายใจออก โธ แล้วนับ ๑ จากนั้นก็กำหนดนับไป พุท ๒ โท ๒ พุท ๓ โท ๓ ไปจนถึงหลัก ๑๐๐ แล้วก็กลับมานับ ๑ ใหม่ เมื่อจิตมันถูกกำกับอย่างนี้ ความฟุ้งซ่านก็หายไป พอจิตเริ่มสงบแล้ว ก็ให้ถอนการนับออก แล้วก็เฝ้าดูลมหายใจไปเรื่อยๆ
เริ่มต้นแค่นี้ ไม่น่าจะยาก เอาแค่ชั้นประถม ก่อน
เรียนความเห็นที่ 3 ครับ
ปัญญาขั้นเริ่มต้น ไม่ใช่การไปนั่งสมาธิ ดูลมหายใจ ปัญญาเริ่มต้น คือ ฟังพระธรรมให้เข้าใจ แม้แต่คำว่า ธรรม คือ อะไร หากไม่เข้าใจโดยถ่องแท้ แม้แต่คำว่า ธรรม ก็ไม่สามารถเข้าใจธรรม และปฏิบัติในหนทางผิดได้ครับ อนุบาล เริ่มต้นจริงๆ คือ การฟังพระธรรมให้เข้าใจครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
แค่บวชก็ยังไม่พ้นทุกข์หรอก แต่ที่สำคัญ คือ ต้องอบรมเจริญปัญญา ด้วยการศึกษาและประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมและวินัย ต้องใช้เวลาในการอบรมเป็นเวลานานมากค่ะ
เรียนความคิดเห็นที่ 4
ผมเห็นเขาไม่มีสมาธิ คนไม่มีสมาธิจะให้ไปเรียนเอาปัญญาได้อย่างไร
เขาบวชเข้าไป ก็เริ่มที่ถือศีล เมื่อมีศีล ศีลก็ไปอบรมสมาธิ เมื่อมีสมาธิ สมาธิก็ไปอบรมที่ปัญญา คือการรับรู้ที่พระอาจารย์ท่านเทศน์เกี่ยวกับธรรมะ
เมื่อมีปัญญาแล้ว ปัญญาก็มาอบรมสมาธิให้เจริญขึ้น สมาธิก็ไปอบรมศีลให้ตั้งมั่นขึ้น
ระดับการเรียนพระธรรมก็ต้องมี ๓ ตัวนี้ประกอบไม่ใช่เหรอ ครับ
การเริ่มต้นระดับประถม มี ๓ ตัวนี้ควบคู่กันไปตลอดเกื้อหนุนกัน
สงสัยผมพูดแค่ตอนเดียว คือเรื่องทำสมาธิเบื้องต้น ก็ขออภัยด้วยครับ ผมผิดพลาดแล้วท่านช่วยชี้แนะให้กระจ่างดีมากครับ
ขออนุโมทนา
เรียนความเห็นที่ 10 ครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ ... ศีล สมาธิ ปัญญา
เรียนท่านวิทยยากรและท่านเจ้าของกระทู้ และทุกท่าน
ชาวไทยพุทธส่วนมาก ชอบสูตรสำเร็จ คือเข้าวัด บวชเนกขัมมะ บวชพระ บวชเณร อาจจะคิดว่าเหมือนเข้าโรงเรียน จบหลักสูตร ใครๆ ก็ยอมรับ วัดปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะใน กทม. กิจกรรม ที่ไม่น่าจะเป็นของพระ เช่นทอดกฐิน เอาเงินทอง เอาศาลา เอาโบสถ์ สมัยพุทธกาล ฆราวาสสร้างวัดถวายพระโดยขอพุทธานุญาตจากพระพุทธเจ้าก่อน สิ่งสำคัญที่สุด หากไม่สามารถจะคิดอะไรได้เลย ชาวพุทธควรมองย้อนไปในพุทธกาลว่า ชาวพุทธ โดยเฉพาะ ฆราวาส ทำอะไร เพื่อพ้นทุกข์ ในสุตตันตปิฎก โดยมากกล่าวถึง ฆราวาสหลายๆ ท่านที่พบพระพุทธเจ้า แล้วฟังธรรม จากนั้นก็ ขออนุญาตบวช หรือว่าบวชโดยการถึงพระไตรสรณคม หรือบวชด้วยการที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า จงมาเป็นภิกษุของเรา หากเป็นฝ่ายหญิง ก็ไปฟังธรรมพระพุทธองค์แล้วบำรุงพระภิกษุสงฆ์ด้วยการสร้างวัด ถวายภัตร เช่น ท่านวิสาขา พระโสดาบัน ดังนั้น การบวช น่าจะเป็นเพียงทางหนึ่งที่จะมีเวลาปลีกตนไปฝึกฝนตนและสิกขาพระพุทธวจน แต่หากขาด อาจารย์ ที่สามารถสอนสั่งแนะนำ การบวชก็อาจจะไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร
เรียนท่านเจ้าของกระทู้
ดิฉันเคยถาม อาจารย์ท่านหนึ่ง ท่านเคยบวช สามเดือน และ ก่อนบวชท่านสามารถท่องภิกขุปาฏิโมกข์ได้แล้ว หลังจากท่านลาสิกขาออกมา สองปี ถามท่านว่าท่านจะบวชอีกไหม ท่านบอกว่า การสิกขาในเพศฆราวาสมีโอกาส ทำผิดได้น้อยกว่าในเพศพระภิกษุ ท่านว่าเมื่อเป็นพระภิกษุที่ถูกต้องตามพระวินัย ต้องพิจารณา อาหาร ปัจจัยสี่ ทุกขณะที่ได้รับ มีวินัยและศีล (๒๒๗ ข้อ) ที่ต้องคอยรักษา และเป็นไปได้ลำบากมากในโลกปัจจุบัน ดังนั้น ท่านคิดว่า การบวชที่ไม่พร้อม ที่จะปฏิบัติตามพระวินัย จะก่อเกิด อกุสลกรรมมากกว่า การสิกขาธรรมในเพศฆราวาส ค่ะ
ก่อนอื่น ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า ความจริงแล้ว พระพุทธศาสนา ... ไม่ได้สอน/ต้องการจะให้เราพ้นทุกข์ แต่ต้องการจะให้เราเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง ส่วนการบวชนั้น หมายถึง เว้นทั่ว คือ เว้นจากอกุศลและกิเลสทุกอย่าง นะครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ
ส่วนการบวชนั้น หมายถึง เว้นทั่ว คือ
เว้นจากอกุศลและกิเลสทุกอย่าง
ขอน้อมจิตอนุโมทนา ในกุศลจิตของทุกๆ ท่านที่มีสัมมาทิฏฐิ ด้วยเศียรเกล้าครับ