๙. เรื่องอุปกาชีวก [๒๔๘]
โดย บ้านธัมมะ  26 ก.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35054

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 321

๙. เรื่องอุปกาชีวก [๒๔๘]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 321

๙. เรื่องอุปกาชีวก [๒๔๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาทรงปรารภอาชีวกชื่ออุปกะ ในระหว่างทาง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สพฺพาภิภู" เป็นต้น.

อุปกาชีวกทูลถามพระศาสดา

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระศาสดาทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ทรงยังกาลให้ล่วงไปที่ควงไม้โพธิ์ ๗ สัปดาห์ ทรงถือบาตรและจีวรของพระองค์ เสด็จดำเนินไปสิ้นทางประมาณ ๑๘ โยชน์มุ่งกรุงพาราณสี เพื่อทรงยังพระธรรมจักรให้เป็นไป ได้ทอดพระเนตรเห็นอาชีวกชื่ออุปกะ ในระหว่างทาง.

ฝ่ายอุปกาชีวกนั้น เห็นพระศาสดาแล้ว ทูลถามว่า "ผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่านผ่องใสแล, ผิวพรรณก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง ผู้มีอายุ ท่านบวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร"

พระศาสดาตรัสตอบอุปกาชีวก

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสว่า "เราไม่มีอุปัชฌาย์หรืออาจารย์" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้แก่อุปกาชีวกนั้น ว่า :-

๙. สพฺพาภิภู สพฺพวิทูหมสฺมิ สพฺเพสุ ธมฺเมสุ อนูปลิตฺโต สพฺพญฺชโห ตณฺหกฺขเย วิมุตฺโต สยํ อภิญฺาย กมุทฺทิเสยฺยํฯ

"เราเป็นผู้ครอบงำธรรมได้ทั้งหมด รู้ธรรมทุกอย่าง ไม่ติดอยู่ในธรรมทั้งปวง ละธรรมได้ทุกอย่าง


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 322

พ้นแล้ว ในเพราะธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา รู้เองแล้ว จะพึงอ้างใครเล่า (ว่าเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์)."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพาภิภู คือ ครอบงำธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ได้ทั้งหมด.

บทว่า สพฺพวิทู คือ ผู้มีธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ ทั้งปวงอันรู้แล้ว.

สองบทว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ ความว่า ผู้อันตัณหาและทิฏฐิทั้งหลายฉาบทาไม่ได้ ในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ แม้ทั้งสิ้น.

บทว่า สพฺพญฺชโห คือ ผู้ละธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหมด ดำรงอยู่.

สองบทว่า ตณฺหกฺขเย วิมุตฺโต คือผู้พ้นแล้วในเพราะพระอรหัต กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ที่ตนให้เกิดขึ้นแล้ว ในที่สุดแห่งความสิ้นไปแห่งตัณหา ด้วยวิมุตติอันเป็นของพระอเสขะ.

สองบทว่า สยํ อภิญฺาย คือรู้ธรรมต่างด้วยอภิญไญยธรรม เป็นต้นได้เองทีเดียว.

บทว่า กมุทฺทิเสยฺยํ ความว่า เราจะพึงอ้างใครเล่าว่า "นี้เป็นอุปัชฌาย์หรืออาจารย์ของเรา."

ในกาลจบเทศนา อุปกาชีวกไม่ยินดี ไม่คัดค้านพระดำรัสของพระตถาคตเลย, แต่เขาสั่นศีรษะ แลบลิ้น ยึดเอาทางที่เดินไปคนเดียว ได้ไปยังที่เป็นที่อาศัยอยู่ของนายพรานแห่งใดแห่งหนึ่งแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องอุปกาชีวก จบ.