นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
••• ... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ... ..•••
... สนทนาธรรมที่ ...
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)
พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ วันเสาร์ที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ
ชตุกัณณีปัญหา ที่ ๑๑
จาก ...
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ หน้า ๙๓๖
(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ วันอาสาฬหบูชา ๒๒ ก.ค. ๒๕๕๖)
... นำสนทนาโดย ...
ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คณะวิทยากร
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๙๓๘
ชตุกัณณีปัญหาที่ ๑๑ (ว่าด้วยธรรมเครื่องละชาติชรา)
[๔๓๕] ชตุกัณณีมาณพทูลถามปัญหาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ข้า พระองค์ได้ฟังว่าพระองค์เป็นผู้ไม่ใคร่กาม จึงมาเฝ้าเพื่อทูลถามพระองค์ผู้ล่วงห้วงน้ำคือ กิเลสเสียได้ ไม่มีกาม ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระ- เนตรคือพระสัพพัญญุตญาณเกิดพร้อมแล้ว ขอพระองค์ตรัสบอกทางสันติ ข้าแต่พระผู้- มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกทาง สันตินั้นแก่ข้าพระองค์ตามจริงเถิด.
เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมี เดช ครอบงำกามทั้งหลายเสียแล้วด้วยเดช เหมือนพระอาทิตย์มีเดช คือ รัศมี ครอบ งำปฐพีด้วยเดชไปอยู่ในอากาศ ฉะนั้น ข้า แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมเครื่องละชาติ และชรา ณ ที่นี้ ที่ข้าพระองค์ควรจะรู้แจ้ง แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า
ดูกร ชตุกัณณี ท่านได้เห็นซึ่งเนก ขัมมะโดยความเป็นธรรมอันเกษมแล้ว จง นำความกำหนัดในกามทั้งหลายออกไปเสีย ให้สิ้นเถิด อนึ่ง กิเลสชาติเครื่องกังวลที่ ท่านยึดไว้แล้ว (ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ) ซึ่งควรจะปลดเปลื้องเสีย อย่ามีแล้วแก่ท่าน. กิเลสเครื่องกังวลใดได้มีแล้วในกาล ก่อน ท่านจงทำกิเลสเครื่องกังวลนั้นให้ เหือดแห้งเสียเถิด กิเลสเครื่องกังวลในภาย หลัง อย่าได้มีแก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือเอา กิเลสเครื่องกังวลในท่ามกลางไซร้ ท่านจัก เป็นผู้สงบเที่ยวไป.
ดูกร พราหมณ์ เมื่อท่านปราศจาก ความกำหนัดในนามและรูปแล้วโดยประการ ทั้งปวง อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเหตุให้ไป สู่อำนาจแห่งมัจจุราช ก็ย่อมไม่มีแก่ท่าน.
จบชตุกัณณีมาณวกปัญหาที่ ๑๑
อรรถกถาชตุกัณณิสูตรที่ ๑๑
ชตุกัณณิสูตร มีคำเริ่มต้นว่า สุตฺวานหํ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สุตฺวานหํ วีรํ อกามกามึ ข้าพระองค์ได้ ฟังว่าพระองค์ไม่ใคร่กาม คือ ข้าพระองค์ได้ฟังว่าพระพุทธเจ้าชื่อว่าผู้เป็นวีระ ผู้ไม่ใคร่กาม เพราะไม่ใคร่กามทั้งหลายโดยนัยมีอาทิว่า อิติปิ โส ภควา ดังนี้.
บทว่า อกามมาคมํ ผู้ไม่มีกาม คือ ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไม่มีกาม. บทว่า สหาชเนตฺต ได้แก่ ผู้มีพระเนตรคือ พระสัพพัญญุตญาณเกิดขึ้นพร้อมแล้ว. บทว่า ยถาตจฺฉํ คือตามความเป็นจริง. บทว่า พฺรูหิ เม ขอพระองค์จงบอกแก่ข้าพระองค์เถิด ชตุกัณณิมาณพกล่าวทูล วิงวอนอีก. เพราะว่าเมื่อทูลวิงวอน ก็พึงกล่าวได้ตั้งพันครั้ง. ก็เรื่องอะไรจะกล่าว เพียงสองครั้งเล่า. บทว่า เตชี เตชสา คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระเดช ทรงครอบงำด้วยพระเดช.บทว่า ยมหํ วิชญฺญาย ชาติชรายอิธ วิปฺปหานํ คือ ข้าพระองค์พึงรู้ธรรมอันเป็นเหตุละชาติชรา ณ ที่นี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสบอกธรรมนั้นแก่ชตุกัณณิมาณพนั้น จึงได้ตรัสคาถาสามคาถา.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เนกฺขมฺมํ ทฏฺฐุ เขมโต เห็นเนกขัมมะโดย ความเป็นธรรมอันเกษมคือเห็นนิพพานและการปฏิบัติเพื่อถึงนิพพานว่าเป็นธรรม อันเกษม. บทว่า อุคฺคหึตํ ได้แก่ ยึดถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ. บทว่านิรตฺตํ วา ได้แก่ ควรปลดเปลื้องเสีย. บทว่า มา เต วิชฺชิตฺถ คืออย่าได้มีแก่ท่าน. บทว่า กิญฺจนํ เครื่องกังวล ได้แก่ แม้เครื่องกังวลมีราคะเป็นต้นอย่าได้มีแก่ท่าน. บทว่า ปุพฺเพ ในกาลก่อน คือกิเลสที่เกิดขึ้นปรารภสังขารในอดีต. บทว่า พฺราหฺมณ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกชตุกัณณิมาณพ.บทที่เหลือในทุกบทชัดเจนดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้. เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นในสูตรก่อนนั่นแล.
จบอรรถกถาชตุกัณณิสูตรที่ ๑๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรัหนตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความโดยสรุป
ชตุกัณณีปัญหา
(ว่าด้วยธรรมเครื่องละชาติชรา)
ชตุกัณณีมาณพ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลให้พระองค์ตรัสบอกถึง ทางแห่งสันติ และธรรมเป็นเครื่องละชาติและชราได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ท่าน ได้เห็นเนกขัมมะโดยเป็นธรรมเกษมแล้ว กำจัด ความกำหนัดยินดีในกาม ปลดเปลื้องกิเลสเป็นเครื่องกังวล ก็จักเป็นผู้ไม่มีกิเลส จักเป็นผู้ที่สงบ สิ้นอาสวะ ไม่ต้องมีการเกิดการตายอีกต่อไป
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
อาสวะ
กิเลสตัณหา
ความหมายของขีณาสพ [อรรถกถา มูลปริยายสูตร]
อาศัยพระศาสดา
กิเลสกาม - วัตถุกาม
ที่ไม่พอ สำหรับเก็บ
มาร ๕ [กิเลสมาร ... ตอนที่ ๒]
ที่พึ่งที่แท้จริง
รัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันสูงสุดได้อย่างไร
... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...
กราบอนุโมทนา ครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอความกรุณาอธิบายเพิ่มเติมคำว่า ครอบงำ ด้วยครับ ว่าลักษณะการครอบงำ
เป็นอย่างไร และถ้ามีภาษาบาลีที่แปลว่า ครอบงำ กรุณาบอกคำบาลีคำนั้นด้วย
ขอบคุณครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เรียน ความคิดเห็นที่ ๖ ครับ
ขออนุญาตกล่าวความหมายกว้างๆ ของคำว่า ครอบงำ ก่อน ว่า ครอบงำ มีอรรถ
๒ อย่าง คือ ครอบงำด้วยความชั่ว ด้วยอกุศลประการต่างๆ กับ ครอบงำด้วยคุณ
ความดี ด้วยกุศลธรรม ด้วยปัญญา เป็นต้น
ถ้ายังมีกิเลสอยู่ ก็ถูกความชั่วคือกิเลสทั้งหลาย มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น
ครอบงำ ในขณะนั้นมีความประพฤติเป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตกอยู่ในอำนาจ
ของกิเลส ไม่พ้นไปจากอำนาจของกิเลส กิเลสเกิดขึ้นก็ทำให้กุศลเกิดขึ้นไม่ได้
แต่ถ้าครอบงำด้วยกำลังของกุศล ด้วยปัญญาแล้ว ขณะนั้น กุศล ปัญญา มีกำลัง
ทำให้อกุศลเกิดไม่ได้ ยิ่งถ้าสามารถดับได้อย่างหมดสิ้นแล้ว ก็ครอบงำกิเลส
ได้ทั้งหมดเพราะดับได้อย่างหมดสิ้น กิเลสใดๆ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีก
สำหรับในพระสูตรนี้ คำว่า ครอบงำ ปรากฏในพระคาถาที่แสดงถึงความเป็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่า ทรงเป็นผู้ครอบงำกาม หมายถึง พระองค์ทรงดับความ
ติดข้องในกามได้แล้ว ความติดข้องในกาม ไม่สามารถเกิดขึ้นเป็นไปได้อีก
พระองค์ทรงครอบงำความติดข้องในกาม ด้วยเดช คือ พระปัญญา ครับ
คำว่า ครอบงำในที่นี้ ภาษาบาลี คือ อภิภุยฺย โดยความหมายแล้วก็คือ ครอบงำ
ใม่ให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอขอบคุณท่านผู้แสดงความเห็นที่ 7 (khampan.a) ครับ
ท่านได้ช่วยให้ผมและผู้อ่านท่านอื่นๆ เข้าใจความหมายของคำว่าครอบงำ และอาจเป็นเหตุให้ศึกษาเพิ่มเติมให้เข้าใจยิ่งๆ ขึ้นไปอีก อนึ่งผมไม่เคยได้ยินบาลีที่แปลว่าครอบงำ (อภิภุยฺย) เลย และผมไม่มีหนทางไปศึกษาหาความหมายของคำว่าครอบงำเป็นภาษาบาลีได้จากที่ไหนเลย