ปิสุณาวาจา , ผรุสาวาจา ฯลฯ ต้องมีเกณฑ์วินิจฉัยมั้ยครับ
โดย ขอธรรมทาน  22 ก.พ. 2553
หัวข้อหมายเลข 15572

๑. ปาณาติบาต ๒. อทินนาทาน ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ๔. มุสาวาท ๕. ปิสุณาวาจา ๖. ผรุสาวาจา ๗. สัมผัปปลาปะ ๘. อภิชฌา ๙. พยาบาท ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ.

ตามที่อาจารย์พระพุทธเจ้าท่านสอนพวกเราไว้

อกุศลกรรมบทมีดังนี้ครับ...

ค้นเจอองค์แห่งปาณาติบาตทั้ง 5 แล้ว

แต่อย่างอื่นอยากทราบว่ามีองค์ในการวินิจฉัยด้วยหรือไม่ครับ

ขอบคุณครับ..

ปล.. ที่อยากทราบมากที่สุดคือ

ข้อ 5 - ข้อ 10 ครับ



ความคิดเห็น 1    โดย ขอธรรมทาน  วันที่ 22 ก.พ. 2553

การยิ้มเยาะ (แต่ไม่ได้พูด)

การแสดงท่าที

การเล่านิทานเสียดสี

การพูดขึ้นมาลอยๆ ในที่ประชุม แต่ไม่ระบุตัวบุคคล แต่รู้ว่าเป็นการประจานผู้ฟังคนนั้น

หรือการพูดหยาบคายลับหลังเจ้าตัว

หรือการนินทา (ชาวบ้านชอบบอกว่าเป็นการระบายความทุกข์ให้กันฟังโดยการด่าเป้าหมายให้กันฟัง จะได้ระบายทุกข์) เจ้าตัวไม่ได้ยิน

อย่างนี้เข้าข่ายอะไรบ้างครับ?

ขอบคุณครับ


ความคิดเห็น 2    โดย ขอธรรมทาน  วันที่ 22 ก.พ. 2553

และการเขียนหรือการพิมพ์ ก็เข้าข่ายวาจาด้วย ผมเข้าใจถูกหรือไม่ครับ?

ขอบคุณที่ให้ความรู้นะครับ

'u'


ความคิดเห็น 3    โดย prachern.s  วันที่ 22 ก.พ. 2553

มุสาวาทขอเชิญคลิกที่ มุสาวาทและองค์ของมุสาวาท

มุสาวาท [มังคลัตถทีปนี]

มุสาวาท [มังคลัตถทีปนี]

ปิสุณาวาทคลิกที่ พูดส่อเสียด [วรรณาจุลศีล]

ผรุสวาท คลิกที่ เรื่องวาจาหยาบ แต่ใจไม่หยาบ [ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค]

สัมผัปปลาปะ คลิกที่ สัมผัปปลาปวาจา [พรหมชาลสูตร]
อภิชฌา,พยาบาท [ธรรมสังคณี] องค์ของมิจฉาทิฏฐิ [ธรรมสังคณี]

มิจฉาทิฏฐิ เป็นไฉน?


ความคิดเห็น 4    โดย ขอธรรมทาน  วันที่ 23 ก.พ. 2553

ขอบคุณ อ. ประเชิญ มากๆ ครับ...

จะจดจำและนำไปเผยแพร่ต่อด้วยนะครับ

ขออนุโมทนาครับ

'u'


ความคิดเห็น 5    โดย ขอธรรมทาน  วันที่ 23 ก.พ. 2553

ปล...

เพิ่งชัดเจนว่า

กรณีบอกเพื่อนไว้ว่าพรุ่งนี้จะนัดกันที่...เวลา....

แต่มีเหตุจำเป็นจริงๆ จึงบอกเพื่อนใหม่บอกว่าไปไม่ได้เพราะมีเหตุจำเป็นจริงๆ ...

กรณีอย่างนี้ก็ไม่ได้เป็นมุสาวาท

เพราะไม่ครบองค์เลย

แต่ผมก็เชื่อว่าไม่ดีนะครับ

หากใครทำบ่อยๆ เดี๋ยวสัจจะบารมีจะเสียหมดนะผมว่า...


ความคิดเห็น 6    โดย ที่พึ่งที่ระลึก  วันที่ 24 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 7    โดย wannee.s  วันที่ 26 ก.พ. 2553

คำพูดใดไม่เป็นประโยชน์ ไม่ควรพูด พึงกล่าววาจาสุภาษิตที่ประกอบด้วยองค์ ๕

คือ กล่าวตามกาล กล่าวแต่คำสัตย์ กล่าววาจาอ่อนหวาน กล่าววาจาประกอบ

ด้วยประโยชน์ กล่าวด้วยเมตตาจิต


ความคิดเห็น 8    โดย bsomsuda  วันที่ 28 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ