พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 40
[พระพุทธพจน์มี ๓ อย่าง]
พระพุทธพจน์มี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจปฐมะ มัชฌิมะ และปัจฉิมะอย่างไร? คืออันที่จริง พระพุทธพจน์นี้ทั้งหมดนั่นแล แบ่งประเภทเป็น ๓คือ ปฐมพุทธพจน์ มัชฌิมพุทธพจน์ (และ) ปัจฉิมพุทธพจน์ บรรดาพระพุทธพจน์ ๓ อย่างนั้น พระพุทธพจน์ว่า
เราแสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสาร มีความ เกิดเป็นอเนก ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไป แนะ นายช่างผู้ทำเรือน เราพบเจ้าแล้ว เจ้าจัก สร้างเรือน (คืออัตภาพของเรา ไม่ได้อีก ต่อไป ซี่โครงทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว ยอดเรือน (คืออวิชชา) เรารื้อเสียแล้ว จิต ของเราได้ถึงพระนิพพาน มีสังขารไปปราศ แล้ว เราได้บรรลุความสิ้นไปแห่งตัณหา ทั้งหลาย๑ แล้ว ดังนี้
นี้ชื่อว่า ปฐมพุทธพจน์. อาจารย์บางพวกกล่าวถึงอุทานคาถาในขันธกะว่า เมื่อใดแลธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ ๒ ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่าปฐมพุทธพจน์.ก็คาถานั้นเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้บรรลุความเป็นพระสัพพัญญู ทรงพิจารณาปัจจยาการ ในพระญาณอันสำเร็จด้วยโสมนัส ในวันปาฏิบท บัณฑิตพึงทราบว่า อุทานคาถา. อนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ตรัสพระดำรัสใด ในคราวปรินิพพานว่า ภิกษุทั้งหลายเอาเถิด บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด ๓ นี้ชื่อว่า ปัจฉิมพุทธพจน์. พระพุทธพจน์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในระหว่างแห่งกาลทั้ง ๒นั้น ชื่อว่ามัชฌิมพุทธพจน์. พระพุทธพจน์ชื่อว่ามี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจเป็นปฐมะ มัชฌิมะ และปัจฉิมะ ด้วยประการฉะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เรื่อง พุทธกิจ มี ๓ ยาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 254
ข้อความบางตอนจาก กสิภารทวาชสูตร
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายมาจากที่นั้นๆ มาสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในภิกษุเหล่านั้น บางพวกทูลถามปัญหา บางพวกทูลขอกรรมฐาน บางพวกทูลขอฟังธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังความประสงค์ของภิกษุ เหล่านั้นให้สำเร็จจนถึงปฐมยาม ในมัชฌิมยามเทวดาในหมื่นโลกธาตุทั้งหลาย เมื่อได้โอกาส ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหาตามที่ประสงค์ โดย ที่สุดแม้ ๔ อักษร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้ปัญหาของเทวดาเหล่านั้นอยู่ จนถึงมัชฌิมยาม ต่อจากนั้นทรงกระทำปัจฉิมยามให้เป็น ๔ ส่วน ส่วนหนึ่ง ทรงอธิษฐานจงกรม ส่วนที่สองเสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ สำเร็จสีหไสย โดยปรัศว์เบื้องขวา ส่วนที่สาม ทรงยังเวลาให้ล่วงไปด้วย ผลสมาบัติ ส่วนที่สี่ทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติ ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ เพื่อ ทรงดูสัตว์ผู้มีธุลีในจักษุน้อย หรือมีธุลีในจักษุมากเป็นต้น นี้ปัจฉาภัตกิจ.
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนา