สวัสดีครับ อาจารย์และเพื่อนๆ ผู้ใฝ่ธรรมทั้งหลาย
วันนี้ผมมีปัญหาสงสัยเรื่องคำว่า "ตัวกู" "ของกู"
ผมสงสัยว่า คำนี้ ถ้าเรียกเป็นศัพท์ธรรมะ จะเรียกได้ว่าอย่างไร ถึงจะตรงสภาวะที่แท้
ปัญหาข้อต่อไปคือ คำนี้เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับอกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ
หรือไม่อย่างไร??
ขอความเมตตาตอบแก้ไขปัญหาข้อสงสัยด้วยครับ
ขอบคุณครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ตัวกู ของกู ก็เป็น การกล่าวขึ้นเอง ตามความเข้าใจของแต่ละบุคคล แท้ที่จริง
ก็เป็นการแสดงถึงความยึดถือว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล ซึ่งเมื่อกล่าวถึงการมีเรา
นั้น ก็มีด้วย อำนาจสภาพธรรม 3 อย่าง คือ ตัณหา ที่เป็นโลภเจตสิก มานะ และ
ทิฏฐิ ที่เป็นความเห็นผิด
ตัณหา เป็นความติดข้องต้องการ (โลภเจตสิก) เป็นสภาพธรรมที่มีจริงเกิดขึ้น
เป็นไปในชีวิตประจำวัน เป็นสภาพธรรมติดข้องในสิ่งหนึ่งสิ่งใด
มานะ เป็นความสำคัญตน เป็นความทะนงตน ถือตน มีการเปรียบเทียบกับผู้อื่น
ว่าดีกว่าเขา เสมอเขา หรือ เลวกว่าเขา
ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) เป็นสภาพธรรมที่มีจริงที่เห็นคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ความเป็นไปของปุถุชนผู้ที่หนาแน่นไปด้วยกิเลสนั้น ย่อมยึดถือขันธ์ห้าว่าเป็นเรา
ด้วยอำนาจตัณหา คือ โลภะบ้าง มานะความถือตัวบ้าง ทิฏฐิ ความเห็นผิดบ้าง เพราะ
ยังไม่ได้เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏว่า เป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดเพราะ
เหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน
ซึ่งขออธิบายความเป็นเรา 3 อย่าง ดังนี้ ครับ
ความเป็นเราด้วยตัณหา หรือ โลภะ ยกตัวอย่างเช่น ขณะนี้เห็น เห็นบุคคลอื่นแล้วเกิด
ความติดข้อง ขณะนั้น เป็นเรา หรือ เป็นเขาด้วยความติดข้องหรือ ขณะเห็นตนเองใน
กระจก เกิดความยินดีพอใจ ในรูปร่างกายของตนเอง ขณะนั้นมีเราแล้ว แต่มีเราด้วย
ความติดข้องในความเป็นเราในขณะนั้น และแม้อยากเกิดเป็นเทวดา เกิดในภพภูมิที่ดี
ก็เป็นเราด้วยตัณหาแต่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เพราะเพียงยินดีพอใจในภพูมิ
แต่ไม่ได้มีความเห็นผิดเกิดขึ้นมา
ความเป็นเราด้วยมานะ คือ ขณะใดที่เปรียบเทียบ ว่าเราสูงกว่าเขา เสมอคนอื่น หรือ
ด้อยกว่าคนอื่น จะเห็นนะครับว่า มานะ เป็นการเปรียบเทียบ แล้วอะไรจะเปรียบเทียบ
นอกจากว่า จะต้องมีเราที่ไปเปรียบเทียบ มีเขา มีคนอื่นดังนั้น เพราะเป็นอกุศลที่คิด
ว่าเราสูงกว่า มีเราแล้ว แต่เป็นเราด้วยมานะที่เป็นการเปรียบเทียบ ครับ
ความเป็นเราด้วยทิฏฐิ คือเป็นเราด้วยความสำคัญผิดที่เป็นความเห็นผิดคือ ขณะนั้น
เป็นอกุศลที่เป็นโลภะที่ประกอบด้วยความเห็นผิด เช่น ยึดถือว่า ดอกไม้มีจริง เที่ยง
ยั่งยืนและยึดถือว่ามีเราจริงๆ มีสัตว์ บุคคลจริงๆ ขณะนั้นมีเรา มีเขา มีสิ่งต่างๆ ด้วย
ความเห็นผิด เพราะยึดถือด้วยความเห็นผิดว่าเที่ยง เป็นสุขและเป็นตัวตนจริงๆ ครับ
ดังนั้น ตัวกู ของ กู ก็ไม่พ้นจากความเป็นเรา 3 อย่าง คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ
ซึ่งคำถามที่ว่า
ปัญหาข้อต่อไปคือ คำนี้เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับอกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ
หรือไม่อย่างไร??
ความเป็นเราด้วยตัณหา มานะ และ ทิฏฐิ ก็เกี่ยวข้องกับโลภะ โทสะ โมหะแน่นอน
ครับว่า เมื่อ มีโลภะกิดขึ้น ที่มีความเป็นเราด้วยโลภะ เป็นเราที่สวย เป็นเราที่ไม่สวย
ขณะนั้น เกี่ยวข้องกับโลภะ ที่เป็นอกุศลมูล เพราะ มีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย และ
เกี่ยวข้องกับโมหเจตสิกด้วยในขณะนั้น เพราะมีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย กับ อกุศล
ทุกประเภท และขณะที่มีความเป็นเราด้วยมานะเกิดขึ้น ขณะนั้นก็มีโลภเจตสิก
เกิดร่วมด้วยกับมานะเจตสิกในขณะนั้นด้วย ครับ เพราะ มานะ ย่อมเกิดกับโลภมูลจิต
ที่มีโลภเจตสิก เกิดร่วมด้วยเสมอ ครับ ส่วน ขณะที่มีควาเมห็นผิด ยึดถือว่ามีเรา มี
สัตว์ บุคคล เป็นทิฏฐิเจตสิก ที่เกิดร่วมกับ โลภมูลจิต ที่มี โลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ที่เป็นอกุศลมูลอีกเช่นกัน คือ โลภเจตสิกทีเกิดร่วมด้วยในขณะนั้นครับ นี่คือ ความ
เกี่ยวข้องกับอกุศลมูล 3 ที่เป็นโลภะ โทสะ โมหะกับความเป็นเรา โดยนัยต่างๆ ครับ
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะใช้คำใด สำคัญคือ จะต้องเข้าใจ อรรถ ให้ถูกต้อง แม้ใช้
คำชาวบ้าน ตัวกู ของ กู แต่ไม่เข้าใจว่า ที่ไม่ใช่ตัวเรา แล้ว เป็นอะไร ก็เป็นการ
พูดที่บ่นเพ้อกันไป บ่นเพ้อธรรม เพราะไม่ได้เข้าใจในคำที่พูดและที่กล่าวว่าให้ละ
ตัวกู ของกู ก็ต้องแสดงหนทางที่จะละที่ถูกต้อง นั่นคือ การรู้ความจริงของสภาพ-
ธรรมที่มีในขณะนี้ว่าเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา ไม่มีเรา มีแต่ธรรมที่เกิดขึ้นและดับ
ไปในแต่ละขณะ ซึ่งหนทางก็คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจอย่าง
ถูกต้อง เป็นไปตามลำดับ ครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
ขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ปุถุชนทั้งหลายย่อมยึดถือขันธ์ห้าว่าเป็นเราด้วยอำนาจ ตัณหา คือ โลภะบ้าง
มานะความถือตัวบ้าง ทิฏฐิ ความเห็นผิดบ้าง กล่าวคือ ถ้าเพียงยินดีพอใจ ติดข้อง
อย่างนี้ ชื่อว่า การยึดถือขันธ์ห้าด้วยความเป็นเรา (ไม่มีความเห็นผิด) ด้วยตัณหา และ
ขณะใดที่สำคัญตัวเองว่าดีกว่าคนอื่น ต่ำกว่าคนอื่น เสมอกับคนอื่น ลักษณะนี้ชื่อว่า
การยึดถือขันธ์ห้าว่าเป็นเราด้วยมานะ (ความถือตัว) และขณะใดที่สำคัญผิดว่าขันธ์ห้า
เป็นตัวตนของเราจริงๆ เป็นของเที่ยง อย่างนี้ชื่อว่า ยึดถือด้วยทิฏฐิ แต่ความเป็น
เราย่อมไม่มีทุกขณะจิต เพราะขณะที่กุศลเกิดขึ้นไม่มีการยึดถือว่าเป็นเรา
ที่จะมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง ตรงตามพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง
ก็ต้องอาศัยเหตุที่สำคัญ คือ การฟัง การศึกษาพระธรรมด้วยความละเอียด รอบคอบ
และมีความจริงใจในการศึกษาจริงๆ ว่า เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก เพื่อละคลาย
ความไม่รู้ ละคลายความเห็นผิด ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่นที่เป็นลาภ ยศ สักการะ สรรเสริญ
จะเห็นได้อย่างแท้จริงว่า
ธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดงนั้น เป็นสิ่งที่มีจริงทั้งหมด
ไม่ว่าจะแสดงโดยนัยของขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปรมัตถธรรม เป็นต้น ก็เพื่อแสดง
ให้เห็นถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
ไม่ใช่เรา และที่สำคัญ ธรรมไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวัน มีธรรมอยู่ตลอดเวลา
อยู่กับธรรมตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งหลับไป ไม่ว่าจะเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น
ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก โกรธ ไม่พอใจ ขุ่นเคื่องใจ ติดข้องยินดี
พอใจ ริษยา หรือ ขณะที่มีใจดี เกื้อกูลอนุเคราะห์บุคคลอื่น เป็นต้น ล้วนเป็นธรรม
ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป เพียงชั่วขณะเท่านั้นเอง และไม่อยู่ในอำนาจ
บังคับบัญชาของใคร ไม่มีใครทำเห็นให้เกิดขึ้นได้
เมื่อไม่ได้ศึกษาพระธรรมตามที่พระองค์ทรงแสดง ย่อมไม่เข้าใจ จึงมีความยึด
ถือว่า เป็นเราที่เห็น เป็นเราที่ได้ยิน เป็นเราที่โกรธ เป็นเราที่ติดข้องยินดีพอใจ
เป็นต้น ดังนั้น จึงต้องเริ่มด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องว่า ธรรมเป็นธรรม ไม่ใช่เรา และ
ฟัง ศึกษาบ่อยๆ เนืองๆ ความรู้ความเข้าใจ ก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นไปตามลำดับ ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ตัวกูของกู คือ การยึดถือว่ามีเรา ยึดถือขันธ์ภายในและขันธ์ภายนอก ค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ตัวกูของกูเป็นอัตตา.. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา.จาก ปิณโฑลยสูตรที่ ๘..ขออนุโมทนา
ขอบพระคุณท่านวิทยากรที่ให้ความกระจ่าง...ต้องฟังพระธรรมเพื่อ เพิ่มพูนปัญญา
ให้มากขึ้นจริงๆ ..ปรุงแต่งสังขารขันธ์ให้คิดถูกจำถูกระลึกได้ทันสภาวะจนวันหนึ่งที่
จะเห็นถูกได้โดยอัตโนมัต.เริ่มจากการมองกระจกแล้วระลึกถึงคำสอนว่า นี่คือรูป
ไม่ใช่เรา..ฯ พอจะใช่การเริ่มต้นที่ถูกทางไหมคะ
เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา
เริ่มจากการฟัง เป็นสำคัญ ครับ ขออนุโมทนา