มิจฉาทิฏฐิ
โดย Khaeota  13 ก.ย. 2552
หัวข้อหมายเลข 13524

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 14

คำว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิ ได้แก่ ความเห็นไม่มีตามความเป็นจริง อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นคลาดเคลื่อนโดยถือเอาผิด.ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เป็นทิฏฐิอันบัณฑิตเกลียด เพราะนำมาแต่ความฉิบหายบ้าง. แม้ในมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้คนเห็นผิด หรือเห็นผิดเองหรือทิฏฐินี้ เพียงเห็นผิดเท่านั้น. มิจฉาทิฏฐินั้นมีการยึดถือมั่นโดยอุบายไม่แยบคายเป็นลักษณะ (อโย-นิโส อภินิเวส ลกฺขณา) มีความยึดมั่นผิดสภาวะเป็นรส (ปรามาสรสา) มีความยึดถือผิดเป็นปัจจุปัฏฐาน (มิจฺฉาภินิเวสนปจฺจุฏฺฐานา) มีความไม่ต้องการเห็นพระอริยะทั้งหลายเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน (อริยานํ อทสฺสน-กามตาทิปทฏฺฐานา) พึงเห็นว่าเป็นโทษอย่างยิ่ง.



ความคิดเห็น 1    โดย suwit02  วันที่ 13 ก.ย. 2552

สาธุ


ความคิดเห็น 2    โดย สิริพรรณ  วันที่ 28 พ.ค. 2564

กราบนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า

อนุโมทนายินดีในกุศลด้วยความเคารพค่ะ

ศึกษาเพิ่มเติม โดยคลิ๊กที่

ความเห็นผิดเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

ความเห็นถูก ความเห็นผิด

ความเห็นผิดอันตรายอย่างยิ่ง (วิดิโอ)