๓. ชานสูตร ว่าด้วยรู้อะไรเห็นอะไร
โดย บ้านธัมมะ  10 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40127

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 649

จตุกนิบาต

๓. ชานสูตร

ว่าด้วยรู้อะไรเห็นอะไร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 649

๓. ชานสูตร

ว่าด้วยรู้อะไรเห็นอะไร

[๒๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย ของภิกษุผู้รู้อยู่เห็นอยู่ เราตถาคตไม่กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้ง หลายของภิกษุผู้ไม่รู้ไม่เห็น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุรู้อะไร เห็นอะไร อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 650

เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ว่า นี้ทุกขสมุทัย อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า นี้ทุกขนิโรธ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป.

ปฐมญาณ (คืออนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์) ย่อมเกิดขึ้นแก่พระเสกขะผู้ศึกษา อยู่ ผู้ปฏิบัติตามทางตรง ในเพราะโสดาปัตติมรรคอันเป็นเครื่องทำกิเลสทั้งหลาย ให้สิ้นไป ธรรมชาติที่รู้ทั่วถึง (คืออัญญินทรีย์) อันยอดเยี่ยม ย่อมเกิดขึ้นในลำดับ แต่ปฐมญาณนั้น ตั้งแต่ธรรมชาติที่รู้ทั่วถึง คืออัญญินทรีย์นั้นไป วิมุตติญาณอันสูงสุด ย่อมเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพ ผู้พ้นวิเศษแล้ว ญาณในอริยมรรค อันเป็นที่สิ้นไปแห่ง อาสวะ และสังโยชน์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น ว่า สังโยชน์ทั้งหลายสิ้นไปแล้ว คนพาล ผู้เกียจคร้าน ไม่รู้แจ้ง ไม่พึงบรรลุนิพพาน อันเป็นที่ปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัด ทั้งปวงนี้ได้เลย.

จบชานสูตรที่ ๓


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 651

อรรถกถาชานสูตร

ในชานสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ชานโต แปลว่า รู้อยู่. บทว่า ปสฺสโต แปลว่า เห็นอยู่. ก็ถ้าว่า ทั้งสองบทนี้ มีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ เท่านั้นไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอาศัยลักษณะแห่งญาณ แสดงอ้างบุคคล ด้วยบทว่า ชานโต. เพราะว่า ญาณ มีการรู้เป็นลักษณะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอำนาจของญาณ แสดงอ้างบุคคล ด้วยบทว่า ปสฺสโต. เพราะว่า บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยญาณ อาศัยอำนาจของการเห็น จึงจะเห็นวิวัฏฏธรรมทั้งหลายด้วยญาณ เปรียบเหมือนคนมีตาดี มองเห็นรูป ทั้งหลายฉะนั้น. อีกประการหนึ่ง บทว่า ชานโต แปลว่า รู้อยู่ด้วยอนุโพธญาณ (ญาณเป็นเครื่องรู้ตาม). บทว่า ปสฺสโต แปลว่า เห็นอยู่ด้วย ปฎิเวธญาณ (ญาณเครื่องแทงตลอด). อีกอย่างหนึ่ง เมื่อว่าโดยปฏิโลม ได้แก่ เห็นอยู่ด้วยทัสสนมรรค รู้อยู่ด้วยภาวนามรรค. ฝ่ายอาจารย์บางพวกกล่าวว่า รู้อยู่ด้วยญาตปริญญา ติรณปริญญา และปหานปริญญา เห็นอยู่ด้วยวิปัสสนา ขั้นยอด. อีกประการหนึ่ง รู้ทุกข์โดยการรู้ด้วยการกำหนดรู้ เห็นนิโรธโดย การรู้ด้วยการทำให้แจ้ง และเมื่อญาณทั้งสองนั้น มีการรู้ด้วยการละและการเจริญ ก็เป็นอันสำเร็จด้วยทีเดียว ดังนั้น จึงเป็นอันตรัสถึงการบรรลุสัจจะทั้ง ๔. แต่ ในเรื่องนี้ เมื่อใด ท่านประสงค์เอาวิปัสสนาญาณ เมื่อนั้น พึงเห็นว่า บททั้งสอง คือ ชานโต ปสฺสโต เป็นการแสดงถึงเหตุของมรรค แต่เมื่อใด ประสงค์ เอามรรคญาณ เมื่อนั้นพึงเห็นว่า บททั้งสองแสดงกิจของมรรค.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 652

บทว่า อาสวานํ ขยํ มีอธิบายดังต่อไปนี้ การละ ความสิ้นไป อย่างเด็ดขาด ความไม่เกิดขึ้น อาการสิ้นไป ความไม่มีแห่งอาสวะทั้งหลาย เรียกว่า ความสิ้นอาสวะ (ดัง) ในสัพพาสวสังวรปริยายสูตร ซึ่งมาแล้ว อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวความสิ้นอาสวะสำหรับบุคคล ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ และ (ดัง) ในสุตตบทมีอาทิว่า เจโตวิมุตติ ที่ไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปแล้ว. ผล เรียกว่า ความสิ้นอาสวะ (ดัง) ในประโยค เป็นต้นว่า บุคคล ชื่อว่า เป็นสมณะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป. นิพพาน เรียกว่า ความสิ้นอาสวะ (ดัง) ในประโยคเป็นต้นว่า

อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล นั้น ผู้มีปกติตามเห็นโทษของบุคคลอื่น มีปกติยกโทษ (ผู้อื่น) อยู่เป็นนิตย์ บุคคล นั้นชื่อว่า อยู่ห่างไกลจากนิพพาน.

มรรค เรียกว่า ความสิ้นอาสวะ (ดัง) ในอินทริยสูตรและในสูตรนี้ที่มาอย่างนี้ว่า

เมื่อเสกบุคคลศึกษาอยู่ ฯลฯ แต่นั้น อรหัตตผลย่อมมี แก่บุคคลผู้หลุดพ้นแล้ว ญาณย่อมมีแก่บุคคลผู้คงที่.

เพราะเหตุนั้น จึงมีคำอธิบายว่า เราตถาคตกล่าวถึงการบรรลุอริยมรรค สำหรับ บุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ ตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า โน อชานโต โน จ อปสฺสโต ความว่า ก็บุคคลใด ไม่รู้ ไม่เห็น เราตถาคตไม่กล่าวการบรรลุอริยมรรคไว้สำหรับบุคคลนั้น. ผู้รู้ เหล่าใดกล่าวความหมดจดจากสังสารวัฏฏ์ไว้สำหรับบุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธผู้รู้เหล่านั้น ด้วยบทนี้ว่า โน อชานโต โน จ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 653

อปสฺสโต. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอุบายไว้ด้วย ๒ บทแรก ตรัสปฏิเสธสิ่งที่มิใช่อุบายด้วยบทว่า โน อชานโต โน จ อปสฺสโต นี้. อนึ่ง เมื่อว่าโดยย่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในสูตรนี้ว่า ญาณ เป็นเครื่องทำอาสวะให้สิ้นไป ที่เหลือเป็นบริขารของญาณนั้น.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงญาณที่บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่เป็นเหตุให้สิ้นอาสวะ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มปุจฉาว่า กิญฺจ ภิกฺขเว ชานโต (รู้อะไร ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้.

ในคำว่า กิญฺจ ภิกฺขเว ชานโต นั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้. ความรู้มี มากอย่าง. อธิบายว่า ภิกษุบางรูปเป็นผู้มีปัญญา รู้จักทำร่ม บางรูปรู้จักทำ จีวรเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุนั้นดำรงอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติทำงาน เช่นนี้ ความรู้นั้น ไม่ควรกล่าวว่า ไม่เป็นปทัฏฐานของมรรคและผล. ส่วน ภิกษุใดบวชในศาสนาแล้ว รู้จักทำเวชกรรมเป็นต้น อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญ แก่ภิกษุนั้นนั่นเองผู้รู้อยู่อย่างนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ จะทรงแสดงเฉพาะเรื่องที่รู้ เรื่องที่เห็น ซึ่งเป็นเหตุให้อาสวะทั้งหลายสิ้นไป จึงตรัสคำว่า อิทํ ทุกฺขํ เป็นต้น.

ในคำนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ สัจจกัมมัฏฐาน ๔ อันใดที่ควรกล่าวไว้ สัจจกัมมัฏฐานนั้น ได้กล่าวไว้แล้วโดยสังเขปแล ในโยนิโสมนสิการสูตรใน ตอนต้น. อนึ่ง ในคำนั้น ท่านได้ทำการขยายความไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุ ทำไว้ในใจโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ เพราะ (มีหลักฐาน) มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุ- ทั้งหลาย ภิกษุเมื่อทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมละอกุศล เจริญกุศลได้. ในที่นี้ พึงประกอบเข้าตามนัยมีอาทิว่า สำหรับภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ โดย มรรคญาณด้วยอำนาจการแทงตลอดด้วยปริญญา คือ ด้วยอำนาจการตรัสรู้ด้วย


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 654

ปริญญาว่า นี้ทุกข์ เพราะ (มีหลักฐาน) มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป. อนึ่ง พึงทราบว่า ในอาสวะทั้งหลาย ทิฏฐาสวะสิ้นไป เพราะปฐมมรรค (โสดาปัตติมรรค) กามาสวะสิ้นไป เพราะตติยมรรค (อนาคามิมรรค) ภวาสวะ และอวิชชาสวะ สิ้นไปเพราะจตุตถมรรค.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า วิมุตฺติาณํ ได้แก่ ปัจจเวกขณญาณในวิมุตติ นิพพาน และผล. บทว่า อุตฺตมํ ได้แก่ ชื่อว่า สูงสุด เพราะมีธรรมขั้นสูงสุดเป็นอารมณ์. บทว่า ขเย าณํ ได้แก่ ญาณ (ความรู้) ในความสิ้นไปแห่งอาสวะและสังโยชน์ คือ ในอริยมรรค อันทำอาสวะและสังโยชน์ให้สิ้นไป. ควรนำมาเชื่อมไว้ แม้ในที่นี้ว่า ญาณ ว่า สังโยชน์ทั้งหลายสิ้นแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการพิจารณา กิเลสที่ละได้แล้ว ด้วยบทว่า ขีณา สํโยซนา อิติ าณํ นั้น.

ปัจจเวกขณญาณทั้ง ๔ เป็นอันกล่าวไว้แล้วในที่นี้ดังพรรณนามาฉะนี้. แท้จริง ในสูตรนี้ ไม่มีการพิจารณาถึงกิเลสที่ยังเหลืออยู่ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมุ่งถึงการบรรลุอรหัตตผล. อนึ่ง ในบทว่า ชานโต ปสฺสโต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกิจของสัมมาทิฏฐิว่า สำคัญยิ่งในการบรรลุ นิพพาน ฉันใด เมื่อจะทรงแสดงว่า แม้กิจของสัมมัปปธาน ก็จำต้องปรารถนา ให้ยิ่งฉันนั้นเหมือนกัน จึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า น เตฺววิทํ กุสีเตน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เตฺววิทํ ตัดบทเป็น น ตุ เอว อิทํ. ตุ ศัพท์ เป็นเพียงนิบาต. อักษรในบทว่า พาเลนมวิชานตา ทำการ เชื่อมบท. ก็ในบทนี้ มีความย่อดังนี้ว่า นิพพานนี้เป็นเครื่องเปลื้องคัณฐะ (กิเลสเครื่องร้อยรัด) ทั้งหมดมีอภิชฌากายคัณฐะเป็นต้น คือ เป็นนิมิต (เครื่องหมาย) แห่งการเปลื้องการพ้น ซึ่งจะพึงบรรลุได้ด้วยเสกขมรรค และ


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 655

อเสกขมรรค อันบุคคลผู้ไม่รู้แจ้งสัจจะ ๔ ตามความเป็นจริงโดยนัยเป็นต้นว่า นี้ทุกข์ ผู้ชื่อว่าเป็นคนโง่ คือ ผู้ไม่เข้าใจ เพราะไม่รู้แจ้งนั้นนั่นแล ไม่ สามารถบรรลุได้ ฉันใด แม้บุคคลผู้เกียจคร้านไม่มีความเพียร ก็ไม่สามารถ บรรลุได้ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น จึงต้องปรารภความเพียรเพื่อบรรลุนิพพาน นั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภ ความเพียร ไม่ใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ขอเธอทั้งหลายจงปรารภ จงบากบั่น จง ประกอบอยู่ได้คำสอนของพระพุทธเจ้าเถิด ขอเธอทั้งหลาย จงทำลายเสนามฤตยู ให้ เหมือนช้างทำลายเรือนไม้อ้อ ฉะนั้นเถิด.

จบอรรถกถาชานสูตรที่ ๓