เคยได้ฟังผู้เปรียบเทียบว่า ศึกษาปริยัติ เหมือนศึกษาแผนที่ก่อนจะเดินทางและ การได้เดินทางจริงๆ คือ การปฏิบัติธรรม ซึ่งถ้าฟังดูเผินๆ เหมือนว่าจะเป็นจริงตามนั้น แต่....ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะถ้าเป็นไปตามคำเปรียบเทียบนั้น แสดงว่าแยก ปริยัติ ออกจากปฏิบัติโดยสิ้นเชิง การศึกษาปริยัตินั้น เมื่อมีความเข้าใจก็เป็นปัญญาที่เข้าใจ ขณะนั้นปัญญา ก็ทำหน้าที่เข้าใจ เป็นความเข้าใจขั้นการฟัง (สัจจญาณ) ปัญญาเจตสิกปฏิบัติกิจของปัญญา (ไม่ใช่เราปฏิบัติ) และสติปัฏฐานก็เกิดได้ในขณะที่ฟังด้วย เป็นปัญญาขั้นกิจญาณนั่นเอง ไม่แยกจากกัน ปริยัติ กับ ปฏิบัติ จึงไม่แยกกัน
สัจจญาณนั้น ไม่ใข่แค่เข้าใจขั้นการฟังทั่วไปเท่านั้น แต่เป็นความมั่นคง ของความเข้าใจว่าสภาพธัมมะที่เป็นทุกข์ ก็คือในขณะนี้เองที่จะรู้ทุกข์ มิใช่ขณะอื่นและสภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ทั้งหมดเป็นทุกข์ ด้วยความเข้าใจที่มั่นคง โดยที่ไม่ไปทำอย่างอื่น ดังนั้น สัจญาณจึงเป็นปัญญาที่มั่นคงในอริยสัจจ์ 4 ก็คือ ในขณะนี้เองครับ
ท่านอาจารย์สุจินต์ย้ำบ่อยๆ ว่า อย่าลืมสัจญาณ ข้อความบางตอนมีว่า การรักษาจิตไม่ใช่ตัวเราจะรักษา แต่ต้องเป็นปัญญาที่มีความเห็นถูกในมรรค เพราะว่า เรื่องของอริย-สัจจ์สี่จะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าไม่มีสัจจญาณ สัจจญาณ คือ ความรู้จริงๆ ที่มั่นคงในอริยสัจจ์สี่ว่าหนทางนี้คืออย่างนี้ ลักษณะของสภาพธรรมปรากฎอย่างนี้ แข็งอย่างนี้เสียงอย่างนี้ สัมปชัญญะคืออย่างนี้คือ เพียงระลึกที่ลักษณะของสภาพธรรมซึ่งเกิดปรากฎแล้วหมดไป ถ้ามีความเป็นตัวตนแทรกคั่น ก็มีการที่จะพยายามละ มีความมั่นคงในสัจจญาณว่า ต้องต้องเป็นสภาพธรรมที่กำลังปรากฎในขณะนี้
ดังนั้น ในยุคที่ว่างจาก พระพุทธศาสนา แม้จะมีปัญญาเจตสิกเกิด มีความเข้าใจเรื่อง
กรรม และผลของกรรม เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว
มีตาทิพย์ รู้จุติ และ ปฏิสนธิของ สัตว์โลก รู้วาระจิตของสัตว์ว่า ที่เกิดเป็นมนุษย์ หรือ
เทวดา เพราะทำกรรมอะไรมา เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน สัตว์นรก เพราะทำกรรมอะไร ฯลฯ
รวมทั้ง มีอนาคตังสญาณ ล่วงรู้อนาคต (รู้จริงๆ ไม่ใช่รู้ แบบ หมอดู)
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ และ ปาฏิหารย์ อีกมากมายที่เกิดขึ้นในยุคที่ว่างจากพระ
พุทธศาสนา จึง ไม่ใช่ สัจจญาณ เมื่อไม่มีสัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ ก็ไม่มี
ในยุคนั้น (เว้นพระปัจเจกพุทธเจ้า)
ขออนุโมทนาครับ