"พระเถระ คือพระภิกษุผู้ใหญ่ที่มีอายุการบวชมากกว่า ๑๐ พรรษาขึ้นไป ถ้ามีพรรษามากกว่า ๒๐ เรียกว่า พระมหาเถระ หน้าที่หลักของพระเถระคือเป็นผู้รักษาพระธรรมวินัย เป็นผู้ให้นิสัย ๔ แก่พระภิกษุ บวชใหม่ เป็นผู้เผยแผ่พระธรรมคำสอนให้กว้างไกล เป็นผู้บรรลุธรรม เป็นผู้นำผองชน เจริญภาวนา เป็นผู้สร้างความสามัคคีในหมู่สงฆ์"
จากเนื้อความที่ว่ามาอยากทราบว่า คำว่า เถระ มีความเป็นมาอย่างไร ที่เรียกว่าเถระเพราะอะไร ใครที่ควรเรียกว่า เถระ พรรษาเป็นตัวบงบอกถึงความเป็นเถระหรือไม่ จริงๆ แล้วอย่างไรจึงเรียกว่า พระเถระ ขอความกรุณาท่านผู้รู้ด้วย อยากทราบ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบนมัสการพระคุณเจ้า ที่เคารพ ครับ
โดยความหมายแล้ว เถระ หมายถึง ผู้มั่นคงด้วยคุณความดี สูงสุดแสดงถึงความเป็น พระอรหันต์ครับ
[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔- หน้าที่ ๗๖
"บุคคล ไม่ชื่อว่าเป็นเถระ เพราะมีผมหงอกบนศีรษะ ผู้มีวัยแก่รอบแล้วนั้น เราเรียกว่า แก่เปล่า ส่วนผู้ใด มีสัจจะ (รู้แจ้งอริยสัจจ์ ๔) ธรรมะ (โลกุตตรธรรม) อหิงสา (ความไม่เบียดเบียน) สัญญมะ (ศีล) และทมะ (ความสำรวมอินทรีย์) ผู้นั้นมีมลทินอันคายแล้ว ผู้มีปัญญา เรากล่าวว่า "เป็นเถระ"
สำหรับพระภิกษุที่อุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ ก็มีการนับตามอายุพรรษาที่ได้อุปสมบท และมีการเคารพในพระภิกษุผู้อุปสมบทก่อนซึ่งมีพรรษาแก่กว่า
[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๕
ภิกษุผู้มีพรรษาไม่เต็ม ๕ ชื่อว่า ผู้ใหม่ ตั้งแต่พรรษา ๕ ไป ชื่อว่า มัชฌิมะ ตั้งแต่พรรษา ๑๐ ไป ชื่อว่า เถระ
อีกนัยหนึ่ง ผู้มีพรรษา ๑๐ ยังไม่บริบูรณ์ ชื่อว่า ผู้ใหม่ ตั้งแต่พรรษา ๑๐ ไป ชื่อว่า มัชฌิมะ ตั้งแต่พรรษา ๒๐ ไป ชื่อว่า เถระ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขอกราบเรียนถาม เจ้าค่ะ...เมื่อเวลาที่เราจะกราบบูชา พระสารียุตรเถระ และ พระโมคลาณะเถระ เราควรจะภาวนาถึง องค์ใหนก่อน คะ? และควรจะ ภาวนาว่าอย่างไรที่เหมาะสมในการบูชา คะ? กราบขอบพระคุณ ค่ะ. สาธุ ค่ะ ✨
กราบนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คำว่า กราบบูชา เป็นการแสดงความเคารพโดยประนมมือขึ้นเสมอหน้าผากแล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น เพื่อแสดงความเคารพ ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือเลื่อมใส.
ดังนั้น การที่จะกราบบูชาผู้ใด แสดงว่าต้องได้รู้จักคุณความดีของผู้นั้น การได้ศึกษาพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ทำให้ทราบว่า พระอริยบุคคลที่รู้แจ้งความจริงได้หมดทุกประการ จากการได้ฟังพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงจึงบรรลุความเป็นพระอรหันต์ ท่านเหล่านั้น เสมอกันด้วยการเป็นอริยบุคคลที่รู้แจ้งอริยสัจจธรรม สามารถดับกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว จึงไม่ต้องการลาภสักการะ การยกย่องสรรเสริญใดๆ อีกเลย แต่ความที่สะสมอัธยาสัย และบุญบารมีมาเนิ่นนานในสังสารวัฎฎ์ จึงมีความเป็นเลิศที่ต่างกันไป ชีวิตของท่านที่ยังเหลืออยู่ก่อนที่จะดับขันธปรินิพพาน เป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วยการแสดงพระธรรม และยังมีความเคารพต่อพระธรรมจึงยินดีในการได้ฟังพระธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเห็นประโยชน์ที่ได้ฟังความจริง และที่สำคัญ เมื่อท่านดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ท่านก็ไม่ต้องเกิดอีกเลย พ้นจากความทุกข์ในสังสารวัฎฎ์อย่างแท้จริง
การได้ทราบประวัติของท่านเหล่านั้น เพื่อเข้าใจความเป็นเหตุปัจจัยของสภาพธรรมที่เป็นไป กว่าจะพ้นทุกข์ในสังสารวัฎฎ์ ต้องอาศัยความอดทนในการศึกษาพระธรรม ที่จะนำไปสู่การอบรมเจริญปัญญา สะสมบารมี ซึ่งก็คือ การภาวนานั่นเอง เพราะการภาวนาไม่ได้หมายถึงการท่องบ่นคำต่างๆ โดยไม่รู้อะไร ไม่รู้ความหมาย และเป็นไปด้วยความหวัง ความปรารถนา ซึ่งหากได้ศึกษาพระธรรมแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่จะได้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเพียงเพราะการท่องบ่น หรืออาศัยผู้อื่น ถ้าตนเองไม่ได้สร้างเหตุนั้นมาก่อน
อดีตชาติแสนยาวนาน ที่ต้องวนไปวนมา ด้วยการเกิดดับของสภาพธรรมที่มีจริง จากภพนั้น สู่ภพนี้ และจะต่อๆ ไปอีก ไม่มีที่สิ้นสุด การได้เกิดในชาตินี้ ได้ความเป็นมนุษย์ ได้พบพระพุทธศาสนา มีโอกาสได้สะสมความเข้าใจความจริงที่พระพุทธองค์ทรงแสดงด้วยการศึกษาพระธรรม เป็นชาติที่ประเสริฐ ขณะนี้ เป็นโอกาสดียิ่งที่จะได้ศึกษาพระธรรม จากมูลนิธิเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่มีผู้ที่มีความรู้ความสามารถถ่ายทอดด้วยความถูกต้องตรงตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ความเข้าใจพระธรรมที่ทรงแสดงเท่านั้น จะนำไปสู่การบูชา และการภาวนา ที่สูงสุดได้ในวันหนึ่ง
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติมโดย คลิ๊กที่
ความเข้าใจพระธรรมเป็นสาระสำคัญที่สุดในชีวิต
ภาวนาคืออะไร
จิรกาลภาวนา
ภาวนา 2 อย่าง
การเจริญภาวนามีอะไรบ้าง
ปฏิบัติบูชา
ขออนุโมทนาครับ