มณิปูชกเถราปทานที่ ๘ (๑๗๘) ว่าด้วยผลแห่งพุทธบูชา
โดย บ้านธัมมะ  28 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 41173

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 582

เถราปทาน

กุมุทวรรคที่ ๑๘

มณิปูชกเถราปทานที่ ๘ (๑๗๘)

ว่าด้วยผลแห่งพุทธบูชา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 582

มณิปูชกเถราปทานที่ ๘ (๑๗๘)

ว่าด้วยผลแห่งพุทธบูชา

[๑๘๐] แม่น้ำสายหนึ่งไหลผ่านไปภายในภูเขาหิมวันต์ ในกาล นั้น พระสยัมภูพุทธเจ้าประทับอยู่ในเขตใกล้แม่น้ำนั้น.

เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้เอาบัลลังก์แก้วอันวิจิตร ด้วยดี เป็นที่รื่นรมย์ใจ ไปบูชาแด่พระพุทธเจ้า.

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราบูชาบัลลังก์แก้วใด ด้วยการ บูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

และในกัปที่ ๑๒ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ ครั้ง ทรงพระนามเหมือนกันว่าสตรังสี มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระมณิปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบมณิปูชกเถราปทาน


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 583

๑๗๘. อรรถกถามณิปูชกเถราปทาน

อปทานของท่านพระมณิปูชกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โอเรน หิมวนฺ- ตสฺส ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็น ประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้เกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง ดำรงอยู่ในเพศฆราวาส เห็นโทษในเพศ ฆราวาสนั้น จึงละเพศฆราวาสออกบวชเป็นดาบส สร้างบรรณศาลาอยู่ ใกล้แม่น้ำแห่งหนึ่ง ในส่วนภายใต้ภูเขาหิมวันต์ ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ซึ่งเสด็จเข้าไปในที่นั้น เพราะทรงมีพระประสงค์ จะสงบสงัด และเพราะเพื่อจะทรงอนุเคราะห์แก่เขา มีใจเลื่อมใส ได้ เอาบัลลังก์แก้วมณีบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ นั่งบนบัลลังก์นั้น เพื่อจะทรงเจริญความเลื่อมใสแก่เขา เขามีความ เลื่อมใสโดยประมาณยิ่ง ได้กระทำความปรารถนาเพื่อบรรลุพระนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุโมทนาแล้วก็เสด็จหลีกไป. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้รับแต่การบูชาในที่ ทั้งปวง ได้เสวยความสุขแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในตระกูล ที่สมบูรณ์ด้วยสมบัติในกรุงสาวัตถี ดำรงอยู่ในเพศฆราวาส วันหนึ่ง ได้ ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ได้มีศรัทธาบวชแล้ว ไม่นาน นักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

วันหนึ่ง ท่านได้ระลึกถึงกุศลกรรมที่ตนกระทำไว้ได้ เกิดความ โสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาล


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 584

ก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า โอเรน หิมวนฺตสฺส ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอเรน ความว่า ภายใต้ส่วนอื่นแห่งภูเขาหิมวันต์, คำนั้น เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ ได้แก่ ในทิสาภาคภายใต้. บทว่า นทิกา สมฺปวตฺตถ ความว่า แม่น้ำสายหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏชื่อ ไหลเป็นไป คือได้หลั่งไหลไปเป็นสายด้วยดี. บทว่า ตสฺสา จานุปเขตฺ- ตมฺหิ ความว่า ในเขตใกล้แม่น้ำนั้น คือ ใกล้ฝั่ง. บทว่า สยมฺภู วสเต ตทา ความว่า ในคราวใดเราเอาบัลลังก์แก้วมณีบูชา ในคราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้มีอาจารย์ ทรงเป็นพระพุทธเจ้าด้วยพระองค์เอง ทีเดียวประทับอยู่. บทว่า มณี ในบทว่า มณึ ปคฺคยฺห ปลฺลงิกํ นี้ มี วิเคราะห์ว่า ชื่อว่า มณี เพราะทำให้เกิดความดีใจ คือทำความโสมนัสใจให้, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มณี เพราะนับประมาณค่า ทำให้เป็นเครื่องอาภรณ์ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มณี เพราะอิสรชนมีพระราชาและพระยุพราชเป็นต้น ถึงแม้จะตายก็ไม่ยอมสละแก้วมณีนั้น คือย่อมทำสงครามกันเพื่อต้องการ แก้วมณีอันนั้น. อธิบายว่า เราได้ประคองบัลลังก์ที่ทำด้วยแก้วมณี อัน น่ารื่นรมย์ใจวิจิตรงดงามอย่างดีนั้น ยกขึ้นบูชาแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ. คำที่เหลือทั้งหมดนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามณิปูชกเถราปทาน