[เล่มที่ 89] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕
พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗
ปัฏฐาน ภาคที่ ๕
อนุโลมทุกปัฏฐาน (ต่อ)
๘๔. ภาวนาทุกะ
ปฏิจจวาระ
อนุโลมนัย 642
๑. เหตุปัจจัย 590/642
การนับจํานวนวาระในอนุโลม 591/642
ปัจจนียนัย 643
๑. นเหตุปัจจัย 592/643
การนับจํานวนวาระในปัจจนียะ 593/643
ปัญหาวาระ
อนุโลมนัย 644
๑. เหตุปัจจัย 594/644
๒. อารัมมณปัจจัย 595/644
๓. อธิปติปัจจัย 596/647
๔. อนันตรปัจจัย 597/649
๕. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ ๘. นิสสยปัจจัย 649
๙. อุปนิสสยปัจจัย 598/649
๑๐. ปุเรชาตปจจั ัย 599/652
๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย ๑๒. อาเสวนปัจจัย 653
๑๓. กัมมปัจจัย 600/653
๑๔. วิปากปัจจัย ฯลฯ ๒๔. อวิคตปัจจัย 654
การนับจํานวนวาระในอนุโลม 601/654
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 89]
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 642
๘๔. ภาวนาทุกะ (๑)
ปฏิจจวาระ
อนุโลมนัย
๑. เหตุปัจจัย
[๕๙๐] ๑. ภาวนายปหาตัพพธรรม อาศัยภาวนายปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
ทัสสนทุกะ ฉันใด พึงให้พิสดารฉันนั้น ไม่มีแตกต่างกัน.
การนับจำนวนวาระในอนุโลม
[๕๙๑] ในเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ ฯลฯ ในอวิตตปัจจัย มี ๕ วาระ.
ปัจจนียนัย
๑. นเหตุปัจจัย
[๕๙๒] ๑. ภาวนายปหาตัพพธรรม อาศัยภาวนายปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย
คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วย อุทธัจจะ.
๒. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม อาศัยธรรม ที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย
๑. ม. ภาวนายปหาตัพพทุกะ.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 643
คือ ฯลฯ ขันธ์ ๑ ที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกะ ฯลฯ ตลอดถึงอสัญญสัตว์.
โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา อาศัยขันธ์ทั้งหลายทที่สหรคตด้วย วิจิกิจฉา ฯลฯ
การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ
[๕๙๓] ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.
ในนเหตุปัจจัย ในปัจจยวารปัจจนียะ ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะมี ๓ วาระ พึงยกโมหะออกเสีย.
วาระแม้ทั้งปวง เหมือนกับทัสสนทุกะ ส่วนอุทธัจจะปัจจนียะต่างกัน.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 644
ปัญหาวาระ
อนุโลมนัย
๑. เหตุปัจจัย
[๕๙๔] ๑. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย
คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ.
๒. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย แก่ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของเหตุ- ปัจจัย ฯลฯ
๒. อารัมมณปัจจัย
[๕๙๕] ๑. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เพราะปรารภราคะนั้น ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ฯลฯ
เพราะปรารภอุทธัจจะ อุทธัจจะ ย่อมเกิดขึ้น, โทมนัสที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
เพราะปรารภโทมนัสที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม โทมนัสที่เป็น ภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น อุทธัจจะ ย่อมเกิดขึ้น.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 645
๒. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ฯลฯ กิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ กิเลสที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ
พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม โดยความ เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ โทมนัสที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
รู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
๓. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย แก่ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือบุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรม แล้วพิจารณา กุศลกรรมนั้น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภกุศลกรรมนั้น ราคะที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ โทมนัสที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 646
พิจารณากุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ผล แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ฯลฯ
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อม เพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ โทมนัสที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ยถากัมมูปคญาณ, แก่ อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
๔. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย แก่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ ฌาน ฯลฯ จักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ ภาวนายปหาตัพพธรรม เพราะปรารภทานเป็นต้นนั้น ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 647
๓. อธิปติปัจจัย
[๕๙๖] ๑. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำราคะนั้นให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
๒. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทําราคะนั้นให้ เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อม เกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 648
อธิปติธรรมที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
๓. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนายปหาตัพพธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วย อำนาจของอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
๔. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย แก่ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรมแล้ว กระทำ กุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
๕. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย แก่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 649
มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ฌาน.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้น กระทำทานเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
๔. อนันตรปัจจัย
[๕๙๗] ๑. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ. ภาวนาทุกะ เหมือนกับทัสสนทุกะ ไม่มีแตกต่างกัน.
๕. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ ๘. นิสสยปัจจัย
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ.
๙. อุปนิสสยปัจจัย
[๕๙๘] ๑. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มี ๓ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 650
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ฯลฯ โทสะ โมหะ มานะ ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม แก่โทสะ แก่โมหะ แก่มานะ แก่ความปรารถนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๒. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มี ๓ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม แล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทําลายสงฆ์.
บุคคลเข้าไปอาศัยโทสะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ความปรารถนา แล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัย แก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ปัญญา แก่ราคะที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม แก่โทสะ แก่โมหะ แก่ทิฏฐิ แก่ความปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๓. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย แก่ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 651
มี ๓ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัย ศีล ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทาง กาย ทุกข์ทางกาย เสนาสนะ แล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ปัญญา แก่ ราคะที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม แก่โทสะ แก่โมหะ แก่ทิฏฐิ แก่ความ ปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วย อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๔. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย แก่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มี ๓ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา แล้วก่อมานะ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา สุข ทางกาย ทุกข์ทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ แล้วก่อมานะ.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 652
ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม แก่โทสะ แก่โมหะ แก่มานะ แก่ความปรารถนา ด้วยอำนาจของ อุปนิสสยปัจจัย.
๑๐. ปุเรชาตปัจจัย
[๕๙๙] ๑. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย แก่ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่ไม่ ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น วิจิกิจฉา ย่อมเกิด ขึ้น โทมนัสที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น. เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย แก่กายวิญญาณ.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 653
๒. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย แก่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ เพราะ ปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น อุทธัจจะ ย่อมเกิดขึ้น โทมนัสที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย ๑๒. อาเสวนปัจจัย
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ.
๑๓. กัมมปัจจัย
[๖๐๐] ๑. ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย เจตนาที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้ง หลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
พึงกระทำมูล (วาระที่ ๒)
เจตนาที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 654
พึงกระทำมูล (วาระที่ ๓)
เจตนาที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้ง หลาย และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
๔. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย แก่ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์และ กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
๑๔. วิปากปัจจัย ฯลฯ ๒๔. อวิคตปัจจัย
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย
ภาวนาทุกะ เหมือนกับ ทัสสนทุกะ ทุกปัจจัย ไม่มีแตกต่างกัน.
การนับจำนวนวาระในอนุโลม
[๖๐๑] ในเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในสมนันตรปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 655
มี ๔ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๔ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๔ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๔ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.
การจำแนกรายละเอียดในปัจจนียะ พึงจำแนกเหมือนกับทัสสนทุกะ แม้การนับอีก ๓ นัย ก็พึงนับอย่างนี้.
ภาวนาทุกกะ จบ