ประเพณีการตักบาตรเที่ยงคืน
โดย แต้ม  27 ก.พ. 2558
หัวข้อหมายเลข 26246

ผมเคยได้ยินเรื่องประเพณีการตักบาตรเที่ยงคืนในแถบจังหวัดภาคเหนือ น่าจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ พระอุปคุต ซึ่งจะออกมาบินฑบาตรวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ ตามความเชื่อออกมาเพื่อปกป้องไม่ให้มารมาทำลายพิธีกรรมทางศาสนา และถือกันว่าได้อานิสงส์มาก เพราะพระอุปคุตสำเร็จพระอรหันต์ ซึ่งประเพณีนี้กระทำสืบทอดกันมาเป็นร้อยปี และยังสืบทอดประเพณีกันต่อไป ผมขอความกรุณาให้อาจารย์ช่วยอธิบายชี้แจงเพิ่มเติมครับ



ความคิดเห็น 1    โดย khampan.a  วันที่ 27 ก.พ. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระภิกษุจะสามารถฉันอาหารได้เฉพาะในกาลเท่านั้น คือ ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง ถ้าเลยเวลานั้นไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารในเวลาวิกาล เป็นโทษสำหรับพระภิกษุรูปนั้น ต้องปลงอาบัติ คือ แสดงต่อหน้าพระภิกษุด้วยกันที่จะสำรวมระวังต่อไป จึงจะพ้นจากอาบัตินั้นได้ ดังนั้นการออกบิณฑบาตของพระภิกษุจึงอยู่ในกาลที่สมควรคือเมื่ออรุณขึ้นแล้ว

ควรอย่างยิ่งที่ชาวพุทธจะได้ศึกษาพระธรรมคำสอนให้เข้าใจ เพราะการกระทำในสิ่งที่ผิด ไม่เหมาะควร ไม่เป็นไปตามพระธรรมวินัย ก็สืบเนื่องมาจากไม่ได้ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจนั่นเอง เมื่อเข้าใจแล้วก็จะไม่ส่งเสริมสนับสนุนในสิ่งที่ผิด ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี้

พระที่ออกบิณฑบาต ก่อนอรุณแดงขึ้น อาบัติไหมครับ?

ข้อวัตรการบิณฑบาต

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 2    โดย ดวงทิพย์  วันที่ 27 ก.พ. 2558

สาธุขออนุโมทนาคะ


ความคิดเห็น 3    โดย ธุลีพุทธบาท  วันที่ 28 ก.พ. 2558

กราบขอบพระคุณและอนุโมทนา ครับ.


ความคิดเห็น 4    โดย Chalee  วันที่ 28 ก.พ. 2558

สาธุค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย wannee.s  วันที่ 10 มี.ค. 2558

พระภิกษุรับอาหารในยามวิกาล คือหลังเที่ยง ถ้ารับเพื่อฉันต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าหลังเที่ยง ถ้าร่างกายอ่อนเพลีย ก็ฉันได้แค่น้ำปานะ ค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย Jarunee.A  วันที่ 6 ก.พ. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ