พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ ๓๘๗วรรควรรณนาที่ ๒
อรรถกถาปุญญกิริยาวัตถุสูตร
พึงทราบวินิจฉัยใน ปุญญกิริยาวัตถุสูตรที่ ๑ แห่ง วรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปุญฺญกิริยาวตฺถูนิ ความว่า กุศลทั้งหลายที่ให้เกิดผลในภพที่ควรบูชา หรือชำระสันดานของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าบุญ บุญเหล่านั้นด้วย ชื่อว่า เป็นกิริยา เพราะต้องทำด้วยเหตุด้วยปัจจัยทั้งหลายด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุญกิริยา. และบุญกิริยานั่นเอง ชื่อว่าบุญกิริยาวัตถุ เพราะความเป็นที่ตั้งแห่งอานิสงส์นั้นๆ .
บทว่า ทานมยํ ได้แก่ เจตนาเป็นเครื่องบริจาคไทยธรรมของตนแก่ผู้อื่น ด้วยสามารถแห่งการอนุเคราะห์ หรือด้วยสามารถแห่งการบูชาของผู้ที่ตัดราก คือ ภพยังไม่ขาด. ชื่อว่าทาน เพราะเป็นเหตุให้เขาให้. ทานนั่นเองชื่อว่า ทานมัย. เจตนาที่เป็นไปแล้ว โดยนัยที่กล่าวแล้วในกาลทั้ง ๓ คือ ในกาลอันเป็นส่วนเบื้องต้น ตั้งแต่การให้ปัจจัย ๔ เหล่านั้นเกิดขึ้น ๑ ในเวลาบริจาค ๑ ในการโสมนัสจิตระลึกถึงในภายหลัง (จากที่ให้แล้ว) ๑ ของผู้ให้สิ่งนั้นๆ ในบรรดาปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น หรือในบรรดาทานวัตถุ ๑๐ อย่าง มีข้าว เป็นต้น หรือบรรดาอารมณ์ ๖ มีรูปเป็นต้น ชื่อว่าบุญกิริยาวัตถุ ที่สำเร็จด้วยการให้ทาน.
บทว่า สีลมยํ ได้แก่ เจตนาที่เป็นไปแล้ว แก่บุคคลผู้สมาทานศีล ๕ ศีล ๘ หรือ
ศีล ๑๐ ด้วยสามารถแห่งการกําหนดให้เป็นนิจศีล และอุโบสถศีล เป็นต้น (หรือ)
ผู้ที่คิดว่า เราจะบวชเพื่อบําเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ แล้วไป วิหาร บวช ผู้จะยังมโนรถ
ให้ถึงที่สุดระลึกอยู่ว่า เราบวชแล้ว เป็นการดี แล้วหนอ บําเพ็ญปาฏิโมกข์ให้
บริบูรณ์ด้วยศรัทธา พิจารณาปัจจัย ๔ มีจีวร เป็นต้น ด้วยปัญญาสํารวมจักษุ-
ทวารเป็นต้น ในรูปเป็นต้นที่มาสู่คลองด้วย สติ และชําระอาชีวปาริสุทธิศีล ด้วย
ความเพียร ย่อมตั้งมั่น เพราะฉะนั้น เจตนานั้นจึงชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุสําเร็จด้วย
ศีล อนึ่ง เจตนาของภิกษุผู้พิจารณาเห็นแจ้งซึ่ง จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย
มนะ โดยไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยวิปัสสนามรรค ที่กล่าวแล้วใน
ปฏิสัมภิทา ๑ เจตนา ของผู้พิจารณาเห็นแจ้งรูปทั้งหลาย ฯลฯ ธรรมทั้งหลาย
จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ จักขุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส จักขุสัมผัสสชา-เวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา รูปสัญญา ฯลฯ ธรรมสัญญา (และ) ชรามรณะ โดยเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ๑ ฌาน- เจตนาที่เป็นไปแล้ว
ในอารมณ์ ๓๘ ประการมี ปฐวีกสิณเป็นต้น ๑ เจตนาที่ เป็นไปแล้ว ด้วยสามารถ
แห่งการสั่งสมและมนสิการเป็นต้น ในบ่อเกิดแห่งงาน บ่อเกิดแห่งศิลปะ และ
ฐานะที่ตั้งแห่งวิชา ที่ไม่มีโทษ ๑ อันใด ผู้ยัง เจตนาทั้งหมดนั้นให้เจริญ ด้วย
บุญกิริยานี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ ที่สําเร็จด้วยภาวนา ตามนัยที่
กล่าวแล้วดังนี้แล.
ก็ในบรรดากรรมทั้ง ๓ อย่างนี้ เมื่อกระทํากรรมอย่างหนึ่งๆ ด้วย กาย จําเดิมแต่ส่วนเบื้องต้น ตามสมควร กรรมเป็นกายกรรม. เมื่อเปล่ง วาจาอันเป็นประโยชน์แก่กรรมนั้น กรรมเป็นวจีกรรม เมื่อไม่ยังองค์ คือ กายและองค์ คือ วาจาให้หวั่นไหว คิดด้วยใจ (อย่างเดียว) กรรมเป็นมโนกรรม. อีกอย่างหนึ่ง ในเวลาที่ผู้ให้ข้าวเป็นต้นให้ (ทาน) โดยคิดว่า เราจะ ให้ข้าวและน้ำเป็นต้นก็ดี โดยระลึกถึงทานบารมีก็ดี บุญกิริยาวัตถุเป็นทานมัย. เมื่อให้ทานโดยดํารงอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติ บุญกิริยาวัตถุเป็นสีลมัย. เมื่อ ให้ (ทาน) โดยเริ่มตั้งการพิจารณา (นามรูป) โดยความสิ้นไป โดยความ เสื่อมไปโดยกรรม บุญกิริยาวัตถุ เป็นภาวนามัย. บุญกิริยาวัตถุ อย่างอื่นอีก ๗ คือ บุญกิริยาวัตถุ ที่สหรคตด้วยความยําเกรง (อ่อนน้อม) ๑ ที่สหรคต ด้วยการขวนขวาย ๑ การเพิ่มให้ซึ่งส่วนบุญ ๑ การพลอยอนุโมทนา ๑ สําเร็จ ด้วยการแสดงธรรม ๑ สําเร็จด้วยการฟังธรรม ๑ ความเห็นตรง ๑. ก็แม้ การถึงพระรัตนตรัย ว่าเป็นสรณะ ย่อมสงเคราะห์เข้าด้วยการทําความเห็นให้ตรงนั่นเอง ก็คําที่ควรกล่าวในเรื่องนี้ จักมีแจ้งข้างหน้า บรรดาบุญกิริยาวัตถุ ๗ อย่างนั้น บุญกิริยาวัตถุที่สําเร็จด้วยความ อ่อนน้อม พึงทราบด้วยสามารถแห่งการเห็นภิกษุผู้อาวุโสกว่า แล้วต้อนรับ รับบาตร และจีวร กราบไหว้ และหลีกทางให้เป็นต้น. บุญกิริยาวัตถุที่สหรคตด้วยความขวนขวาย พึงทราบด้วยสามารถแห่ง การทําวัตรปฏิบัติ แก่ภิกษุผู้มีอาวุโสกว่า ด้วยสามารถแห่งการที่เห็นภิกษุเข้า บ้านเพื่อบิณฑบาต รับบาตร (ของท่าน) แล้ว บรรจุภิกษาแม้ในบ้านให้เรียบร้อย นําเข้าไปถวาย และด้วยสามารถแห่งการรีบนําเอาบาตรมาให้เป็นต้น โดยที่ได้ยิน (คําสั่ง) ว่าจงไปนําเอาบาตรของภิกษุทั้งหลายมา ดังนี้. บุญกิริยาวัตถุ คือ การพลอยอนุโมทนา (บุญ) ก็อย่างนั้น พึงทราบ ด้วยสามารถแห่งการอนุโมทนา ส่วนบุญที่ผู้อื่นให้แล้ว หรือบุญที่ผู้อื่นทําแล้ว ทั้งสิ้นว่า สาธุ (ดีแล้ว) . ข้อที่ภิกษุไม่ปรารถนาความช่ำชองในธรรมเพื่อตน แสดงธรรมแก่ผู้อื่น ด้วยอัธยาศัยที่เต็มไปด้วยความเกื้อกูล นี้ชื่อว่า บุญกิริยา-วัตถุ สําเร็จด้วยการแสดงธรรม. แต่ว่าการที่ภิกษุรูปหนึ่งตั้งความปรารถนาไว้ ว่า ชนทั้งหลายจักรู้ว่า เราเป็นธรรมกถึกด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วอาศัยลาภสักการะ และการยกย่องแสดงธรรมไม่มีผลมากเลย. การที่คนฟังธรรมด้วยจิตอ่อนโยน
มุ่งแผ่ประโยชน์เกื้อกูล มีโยนิโสมนสิการไปว่า นี้เป็นอุบายให้ได้บําเพ็ญ ประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น แน่นอน นี้เป็นบุญกิริยาวัตถุที่สําเร็จด้วย การฟังธรรม.แต่การที่คนๆ หนึ่ง ฟังธรรมด้วยคิดว่า ชนทั้งหลายจักรู้จัก เราว่า เป็นผู้มีศรัทธาด้วยวิธีนี้ ไม่มีผลมากเลย.
การที่ทิฏฐิดําเนินไปตรง ชื่อว่าความเห็นตรง (ทิฏฐิชุกรรม) คําว่าทิฏฐิชุคตํ นี้ เป็นชื่อของสัมมาทัสสนะ อันเป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ทานที่ให้แล้วมีผล. เพราะว่าความเห็นตรงนี้ ถึงจะเป็นญาณวิปปยุตในตอนต้น หรือตอนหลัง แต่ในเวลาทําความเห็นให้ ตรงแล้วก็เป็นญาณสัปปยุตนั่นเอง.
แต่อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ทัสนะ คือ ความเห็นด้วยอํานาจแห่ง การรู้แจ้ง และการรู้ชัด ๑ วิญญาณที่เป็นกุศล ๑ กัมมัสสกตาญาณเป็นต้น ๑ เป็นสัมมาทัสสนะ. บรรดาธรรม ๓ อย่างมีทัสนะเป็นต้นนั้น แม้ในเมื่อ ญาณยังไม่เกิดขึ้นก็มีการสงเคราะห์ เหตุที่สมควรแก่เหตุเป็นเครื่องอนุสรณ์ถึง บุญที่ตนได้ทําไว้แล้ว เข้ากับวิญญาณที่เป็นกุศลได้. มีการสงเคราะห์เข้ากับ กัมมัสสกตาญาณ คือ ความเห็นชอบ ตามครรลองของกรรมได้. แต่ความเห็นตรงนอกนี้มีการกําหนดธรรมทั้งปวง เป็นลักษณะ. ด้วยว่า เมื่อทําบุญ อย่างใดอย่างหนึ่ง บุญนั้นก็จะมีผลมาก เพราะเหตุที่ทิฏฐิทั้งหลายตรงนั่นเอง. แต่ว่า มีการสงเคราะห์ บุญกิริยาวัตถุ ๗ อย่างเหล่านี้ เข้ากับบุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่างข้างต้นมีทานมัยเป็นต้น . อธิบายว่า บรรดาบุญกิริยาวัตถุทั้ง ๗ อย่าง นั้น ความอ่อนน้อม (อปจายนมัย) ความขวนขวาย (เวยยาวัจจมัย) สงเคราะห์ เข้าในสีลมัย การเพิ่มให้ซึ่ง
ส่วนบุญ (ป้ตติทานมัย) และการพลอยอนุโมทนา ส่วนบุญ (อนุโมทนามัย) สงเคราะห์
เข้าในทานมัย. การแสดงธรรม (ธัมมเท- สนามัย) และการฟ้งธรรม (ธัมมัสสวนนัย) สงเคราะห์เข้าในภาวนามัย. (ส่วน) ความเห็นตรง (ทิฏฐิชุกรรม) สงเคราะห์เข้าในบุญ
กิริยาวัตถุทั้ง ๓ อย่าง.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น มี ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน? คือบุญกิริยาวัตถุสําเร็จ ด้วยทาน ฯลฯ บุญกิริยาวัตถุสําเร็จด้วยภาวนา ดังนี้.
ก็ในอธิการนี้ บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๓ อย่าง มีการเป็นไปด้วยอํานาจแห่งกุศลเจตนา ที่เป็นกามาวจร ๘ ดวง. อุปมาเสมือนหนึ่งว่า เมื่อบุคคล แสดงธรรมที่คล่องแคล่วก็ไม่คํา
นึงถึงอนุสนธิเลย ธรรมบางหมวด ก็ดําเนิน ไปได้ฉันใด เมื่อพระโยคาวจรประกอบเนือง
ๆ ซึ่งสมถภาวนา และวิป้สสนาภาวนาที่ช่ำชอง มนสิการด้วยจิตที่เป็นญาณวิปยุตต์ ก็
เป็นไปได้ในระหว่างๆ (แต่) ทั้งหมดนั้น เป็นบุญกิริยาวัตถุที่สําเร็จด้วยเจตนาอย่าง
เดียว ด้วย สามารถแห่งกุศลเจตนาที่เป็นมหัคคตะ หาเป็นบุญกิริยาวัตถุนอกนี้ไม่
(ทานมัย สีลมัย) . เนื้อความแห่งพระคาถา ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลังทั้งนั้น. จบอรรถกถาปุญญกิริยาวัตถุสูตรที่ ๑ ----------------------------------------------------------------------------------------
ขออนุโมทนาที่อ่านทั้งหมด เพราะคิดว่าน่าจะทำให้มีความเข้าใจในบุญมากขึ้น ขออนุโมทนา