๕. อรรถกถา สัมมสนญาณุทเทส ว่าด้วยสัมมสนญาณ
โดย บ้านธัมมะ  23 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40816

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 51

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๕. อรรถกถา สัมมสนญาณุทเทส

ว่าด้วยสัมมสนญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 51

๕. อรรถกถาสัมมสนญาณุทเทส

ว่าด้วย สัมมสนญาณ

ชื่อว่า อดีต เพราะอรรถว่า ถึงแล้ว ถึงยิ่งแล้ว ก้าวล่วงแล้วซึ่งสภาวะของตนหรือซึ่งขณะมีอุปปาทขณะเป็นต้น, ชื่อว่า อนาคตเพราะอรรถว่า ไม่ถึงแล้ว ไม่ถึงพร้อมแล้ว แม้ซึ่งสภาวะของตนและขณะมีอุปาทขณะเป็นต้นทั้ง ๒ นั้น, ชื่อว่า ปัจจุบัน เพราะอรรถว่า


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 52

บรรลุแล้ว ถึงแล้ว เป็นไปแล้วเพราะอาศัยเหตุนั้นๆ จนล่วงขณะมีอุปาทขณะเป็นต้น ในคำนี้ว่า อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนานํ ธมฺมานํ สงฺขิปิตฺวา ววตฺถาเน ปญฺา. ในกาล ในขณะสืบต่อและในปัจจุบัน ในที่นี้ประสงค์เอาปัจจุบันสันตติ คือปัจจุบันที่กำลังสืบต่อ. ปัญญาในการรวบรวมเอาธรรม คือขันธ์ ๕ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตปัจจุบันเหล่านั้นเข้าไว้ในขันธ์หนึ่งๆ แล้วทำให้เป็นกองด้วยสามารถกลาปะ คือหมวดหมู่แล้ว กำหนด วินิจฉัย ตัดสินได้.

ญาณคือปัญญาในการถูกต้อง เลือกเฟ้น เพ่งพินิจด้วยดี อธิบายว่า ญาณในการพิจารณาในเบญจขันธ์โดยความเป็นหมวดหมู่ (กลาปะ) ชื่อว่า สมฺมสเน าณํ แปลว่า ญาณในการพิจารณาเบญจขันธ์.

จริงอยู่ กลาปสัมมสนญาณนี้ ย่อมเกิดแก่พระโยคีบุคคลผู้ได้ธัมมัฏฐิติญาณเป็นเครื่องกำหนดปัจจัยของนามรูป ในลำดับแห่งนามรูปววัตถานญาณ ยกแต่ละขันธ์ๆ ที่กำหนดไว้แล้วในก่อนขึ้นสู่พระไตรลักษณ์แล้วเห็นแจ้งอยู่ โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาตามที่กล่าวแล้ว โดยนัยแห่งพระบาลี เป็นต้นว่า

พระโยคีบุคคลกำหนดรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 53

ก็ตาม โดยความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณประการหนึ่ง, กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้. เป็นสัมมสนญาณประการหนึ่ง, กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้ก็เป็นสัมมสนญาณประการหนึ่ง. (๑)


๑. ขุ.ป. ๓๑/๙๙.