กฏัตตากรรม กฏัตตาวาปนกรรม กตัตตากรรม
โดย govit2553  1 ส.ค. 2556
หัวข้อหมายเลข 23282

กฏัตตากรรม กฏัตตาวาปนกรรม กตัตตากรรม มีจริงหรือไม่ ความหมายเป็นเช่นไรกันแน่ครับ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 1 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กฏัตตาวาปนกรรม ก็เป็นกรรมเล็กน้อย ขึ้นชื่อกรรมแล้ว จะต้องมีเจตนาแต่เป็น

เจตนาที่ไม่มีกำลัง ครับ หากไม่มีเจตนาที่จะให้ เช่น ให้อาหารสุนัข แต่สัตว์มากินเอง

เพียงแต่เราเอาไปทิ้ง ไม่มีเจตนาให้ ก็ไม่เป็น กฏัตตาวาปนกรรม และ โดยนัยเดียวกัน

ทางฝ่ายอกุศล ก็จะต้องมีเจตนาที่ไม่ดี หากโยนของลงไปแล้วไปโดนคนอื่น ไม่มีเจตนา

ทำร้ายผู้อื่น ก็ไม่เป็น กฏัตตาวาปนกรรม กรรมเล็กน้อยเลย ครับ

กฏัตตาวาปนกรรม ให้ผลทั้งปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล คือ ให้ผลนำเกิดในภูมิต่างๆ

ตามสมควรแก่กรรม เช่น ถ้าเป็นฝ่ายกุศลให้ผลเกิดในสุคติภูมิ ถ้าเป็นกรรมฝ่ายอกุศลนำ

เกิดในอบายภูมิ ส่วนในปวัตติกาล ให้ผลทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย

ตามควรแก่กรรม เช่น การเห็นสิ่งที่ดี การได้ยินเสียงที่ดี เป็นต้น ซึ่งกฏัตตาวาปนกรรม

เป็นกรรมที่สักว่ากระทำ เป็นกรรมเล็กๆ น้อยๆ เป็นทั้งฝ่ายกุศล และฝ่ายอกุศล

กฏัตตาวาปนกรรมนั้น จะให้ผลได้ก็ต่อเมื่อไม่มีครุกรรม (กรรมหนัก) พหุลกรรมหรือ

อาจิณณกรรม (กรรมที่มีกำลัง หรือกระทำบ่อยๆ เสพจนคุ้น) และ อาสันนกรรม

(กรรมที่กระทำเมื่อใกล้ตาย)

ดังนั้นเมื่อไม่มีกรรม ๓ อย่างนี้แล้ว กฏัตตาวาปนกรรม ก็สามารถที่จะให้ผลได้

ท่านอุปมาไว้เหมือนกับเหมือนท่อนไม้ ที่คนบ้าขว้างไป จะตกไปในที่ๆ ไม่มีจุดหมาย

ซึ่งจากที่ผู้ถามยกตัวอย่างมา มีคำตอบชัดเจนแล้วที่ท่านอาจารย์สุจินต์

อธิบายดังนี้ ครับ

ถาม ในเรื่องของกรรมที่ผมเคยอ่านเคยเรียนมาเล็กน้อย เป็นคนละภาคกับที่

อาจารย์บรรยายในมโนรถปุรณี เกี่ยวกับกรรม ๑๒ ประการ เรียกว่ากรรม ๑๒ และผมเคย

อ่านพบว่า พระผู้มีพระภาคตรัสกับภิกษุว่า ภิกษุทั้งหลาย เราถือว่า เจตนานั้นเป็นกรรม

แต่อ่านไปพบกรรมอีกจำนวนหนึ่งใน ๑๒ ประการนั้น ปรากฏว่ามีกรรมชนิดหนึ่งที่ผู้ทำ

ปราศจากเจตนา ที่เรียกว่า กฏัตตากรรม หรือกฏัตตาวาปนกรรม ผมเคยนำเรื่องนี้เรียน

ถามผู้รู้บางท่าน ท่านกล่าวว่า กรรมชนิดนี้ถึงแม้จะขาดเจตนา แต่ก็ให้ผล เพราะฉะนั้น

พระพุทธพจน์ที่พระองค์ทรงกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เราถือว่า เจตนานั้นเป็นกรรม ท่าน

ยกเว้นเอากรรมตัวนี้ เพราะกรรมตัวนี้ย่อมให้ผล แม้ว่าจะขาดเจตนาก็ตาม และผู้กล่าว

ในธัมมสากัจฉากัน ท่านก็อธิบายยกตัวอย่างเช่น เราโยนของแข็ง จะเป็นขวดเหล้าก็

ตาม ขวดเบียร์ก็ตาม โยนออกไปนอกหน้าต่าง โดยปราศจากเจตนา คนเดินผ่านมาก็ถูก

สิ่งเหล่านั้นเข้า เป็นเหตุให้เขาบาดเจ็บหรืออาจจะถึงตาย สิ่งเหล่านั้นมีผล คือความเจ็บ

ปวดหรือความตายเกิดขึ้น การตายนี้จะต้องสนองแก่ผู้กระทำ แม้ว่าผู้นั้นขาดเจตนาก็

ตาม กระผมอยากจะทราบคำอธิบายโดยละเอียดในทัศนะนี้จากอาจารย์ครับ ขอบคุณ

ครับ

สุ. ไม่มีจิตสักขณะหนึ่งที่เกิดขึ้นได้โดยปราศจากเจตนาเจตสิก เจตนาเป็น

เจตสิกดวงหนึ่งซึ่งเป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิก หมายความถึงเป็นเจตสิกซึ่งต้องเกิด

กับจิตทุกดวง ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิตขณะใด ขณะนั้นต้องมีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย ไม่

ว่าจะเป็นอกุศลจิตขณะใด ขณะนั้นต้องมีเจตนาเจตสิกเกิดร่วม ไม่ว่าจะเป็นวิบากจิต

ซึ่งไม่ใช่กุศลจิตและอกุศลจิต ก็ต้องมีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย แม้ว่าจะเป็นจิตของ

พระอรหันต์ คือ กิริยาจิต ซึ่งไม่ใช่กุศลจิต และไม่ใช่อกุศลจิต ก็ต้องมีเจตนาเจตสิกเกิด

ร่วมด้วย เพราะฉะนั้นเจตนาจึงมีทั้งที่เป็นกุศล ที่เป็นอกุศล ที่เป็นวิบาก ที่เป็นกิริยา

เพราะฉะนั้นที่กล่าวว่าเป็นกรรมที่ปราศจากเจตนา น่าจะหมายความถึง กรรมที่

ปราศจากปุพพเจตนา หมายความถึงเจตนาก่อนที่จะทำกรรมนั้น เช่น ความตั้งใจที่จะ

ทำกุศลหรืออกุศล โดยปกติที่จะกระทำกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมย่อมมีปุพพเจตนา

ความตั้งใจที่จะทำก่อนที่การกระทำนั้นจะสำเร็จลง เช่น คิดที่จะให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่ใคร

เป็นกุศลนะคะ แต่ยังไม่ได้ให้ แต่ปุพพเจตนามีแล้ว แล้วก็มีการตระเตรียม เช่น การ

ถวายภัตตาหาร ก็จะต้องมีการซื้อหา มีการจัดเตรียมปรุงที่จะถวาย เหล่านี้ก็เป็น

ปุพพเจตนา แต่ถ้ายังไม่ได้ถวายแม้ว่าอาหารเสร็จแล้ว จัดว่าเป็นทาน การให้ หรือ

ยัง กุศลยังไม่สำเร็จ ใช่ไหมคะ ต่อเมื่อใด ได้มีการให้ คือ การถวายแล้ว ขณะนั้นก็เป็น

มุญจนเจตนา คือ เจตนาในขณะที่กำลังทำกุศล หลังจากนั้นถ้าเป็นกุศลที่มีกำลัง ก็ไม่-

ลืม ยังมีอปรเจตนา คือ กุศลจิตระลึกถึงกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้วบ่อยๆ แล้วแต่กำลัง

ของกรรมนั้น ถ้าเป็นกรรมซึ่งมีกำลังมาก ก็ระลึกถึงบ่อยๆ แต่ถ้าเป็นกรรมเล็กๆ น้อยๆ

ไม่ได้เกิดความปีติโสมนัสมากเท่าไร ทำแล้วก็ลืมไป เยอะแยะ เช่น ถ้าจะถามท่านผู้-

ฟังว่า ทำกุศลกรรมอะไรบ้าง อาจจะนึกไม่ออก ใช่ไหมคะ แต่ว่าบางกุศลกรรมก็อาจจะ

นึกออก

เพราะฉะนั้นที่กล่าวว่าเป็นกรรมที่ไม่มีเจตนา ถ้าเป็นกุศลหรืออกุศลจิต ในขณะ

นั้นหมายถึงกรรมที่ไม่ประกอบด้วยปุพพเจตนา คือ ไม่มีความตั้งใจที่จะกระทำกรรมนั้น

ก่อนที่จะกระทำกรรมนั้น แต่ไม่ได้หมายความว่า ในขณะที่เป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิตนั้น

ไม่มีเจตนาเลย ต้องมีเจตนาเจตสิกเกิดกับกุศลจิตและอกุศลจิตทุกครั้ง

ก่อนที่จะมาฟังธรรม มีเจตนาที่จะมาหรือเปล่า มี เป็นปุพพเจตนา เมื่อมาแล้ว

กำลังฟัง ก็เป็นมุญจนเจตนา เป็นกุศลจิต นี่ก็แสดงให้เห็นว่า กรรมแต่ละกรรม บางกรรม

มีปุพพเจตนา มีมุญจนเจตนา มีอปรเจตนา แต่ว่าบางกรรมมีมุญจนเจตนา ไม่มี

ปุพพเจตนา ไม่มีอปรเจตนา แต่ที่จะกล่าวว่า ไม่มีเจตนาเลย เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

หรือเป็นไปได้ ลองคิดดูซิคะ เจตนาเจตสิกต้องเกิดกับจิตทุกดวง ไม่มีจิตสักดวงเดียว

ซึ่งปราศจากเจตนาเจตสิก แล้วแต่ว่าเจตนานั้นจะเป็นกุศลเจตนาหรืออกุศลเจตนา หรือ

วิบากเจตนา หรือกิริยาเจตนา

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เชิญคลิกฟังคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์เพิ่มเติมได้ที่นี่ ครับ

กตัตตาวาปณกรรม

เชิญคลิกอ่านเพอิ่มเติมได้ที่นี่ ครับ

กฏัตตากรรม หรือ กฏัตตาวาปนกรรม

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 2    โดย khampan.a  วันที่ 1 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง สิ่งที่มีจริงทุกอย่างเป็นธรรม เมื่อกล่าวรวมๆ แล้ว ก็จะเห็นได้

ว่า ถ้าไม่มีธรรม ก็ไม่มีอะไรทั้งสิ้น สิ่งที่มีจริงเป็นธรรมแต่ละอย่าง แต่ละลักษณะ

แม้แต่กรรมก็เช่นเดียวกัน เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นนามธรรมประการหนึ่ง คือ เป็น

เจตนา ความจงใจ ความตั้งใจ ซึ่งความจงใจ ความตั้งใจ นั้น เมื่อกล่าวอย่างกว้างๆ

มี ๒ ประการ คือ ความจงใจ ตั้งใจที่เป็นกุศล กับที่เป็นกุศล ซึ่งสามารถพิจารณาได้

ดังต่อไปนี้

- เจตนา ความจงใจ ความตั้งใจที่เป็นกุศล เช่น ในขณะที่ฟังพระธรรม ศึกษา

พระธรรม ย่อมมีเจตนาอย่างแน่นอน ที่จงใจ ตั้งใจที่จะฟัง ในสิ่งที่พระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดง เพื่อจะได้มีความเข้าใจถูกเห็นถูก

เพิ่มขึ้น อย่างนี้ เป็นกุศลกรรม (กุสลเจตนา) โดยไม่ต้องไปถามใครเลยว่าเป็นกุศล

กรรมหรือไม่ อย่างไร? เพราะเหตุว่า ขณะใดก็ตามที่ความจงใจ ความตั้งใจ เป็น

ไปในฝ่ายที่ดีงาม ขณะนั้น ความจงใจ ตั้งใจ ไม่ได้เบียดเบียนใครเลย จึงเป็น

กุศลกรรม สำหรับเจตนาในกุศลประการอื่นๆ ก็โดยนัยเดียวกัน

-เจตนา ความจงใจ ความตั้งใจ ที่เป็นกุศล เป็นความจงใจ ตั้งใจที่เกิดขึ้น

บ่อยมากในชีวิตประจำวัน เพราะเหตุว่า กุศลจิตเกิดมากกว่ากุศลจิต ทุกครั้งที่

กุศลจิตเกิด เจตนาก็ต้องเป็นกุศลด้วย (กุศลเจตนา) ยิ่งถ้าสะสมกุศลจน

กระทั่งมีกำลังมากขึ้น ก็ล่วงเป็นทุจริตกรรมทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง

เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นกุศลกรรมบถ ซึ่งโดยปกติของปุถุชนก็มีกุศล

เป็นพื้นอยู่แล้ว นี้คือ ความจริง แต่ถ้าถึงขั้นล่วงเป็นทุจริตกรรม ก็แสดงให้เห็นถึง

กำลังของกุศล ว่ามีกำลังมากทีเดียว

แม้แต่ที่เรียกว่า กตัตตากรรม ที่เป็นกรรมเล็กๆ น้อยๆ ทั้งที่เป็นกุศล และเป็น

อกุศล ก็ต้องมีเจตนาที่จะกระทำ เพียงแต่ไม่มีกำลังเท่านั้นเอง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 3    โดย wannee.s  วันที่ 1 ส.ค. 2556

ถ้ามีเจตนาทำอกุศลแม้เล็กน้อยก็ให้ผล ค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย mouy179  วันที่ 1 ส.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย papon  วันที่ 2 ส.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 6    โดย ผู้ร่วมเดินทาง  วันที่ 5 ส.ค. 2556

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 7    โดย napachant  วันที่ 7 ส.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ