[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 480
ทุติยปัณณาสก์
โลณผลวรรคที่ ๕
๓. สรทสูตร
ว่าด้วยการละสังโยชน์ ๓ ด้วยธรรมจักษุ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 480
๓. สรทสูตร
ว่าด้วยการละสังโยชน์ ๓ ด้วยธรรมจักษุ
[๕๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในหน้าสารท ท้องฟ้าแจ่ม ปราศจากเมฆ ดวงอาทิตย์ส่องฟ้าขจัดความมืดในอากาศสิ้น ทั้งสว่าง ทั้งสุกใส ทั้งรุ่งเรือง ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมจักษุ (ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม) อันปราศจากธุลีไม่มีมลทิน (คือ กิเลส) เกิดขึ้นแก่อริยสาวก ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พร้อมกับเกิดความเห็นขึ้นนั้น สังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อริยสาวกย่อมละได้ ต่อไป เธอออกจากธรรมอีก ๒ ประการ คือ อภิชฌา และพยาบาท. เธอสงัดจากกาม ... จากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก. ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอริยสาวกทำกาลกิริยา (ตาย) ในสมัยนั้น สังโยชน์ซึ่งเป็นเหตุทำให้อริยสาวกผู้ติดอยู่มาสู่โลกนี้อีก ย่อมไม่มี ...
จบสรทสูตรที่ ๓
อรรถกถาสรทสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสรทสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วิทฺเธ คือ ปลอดโปร่งเพราะปราศจากเมฆ. บทว่า เทเว คือ อากาศ. บทว่า อภิวิหจฺจ คือ กำจัด. บทว่า ยโต คือ ในกาลใด. บทว่า วิรชํ คือ ปราศจากธุลี มีธุลีคือราคะเป็นต้น ที่ชื่อว่าปราศจากมลทิน เพราะมลทินเหล่านั้นแล ปราศจากไปแล้ว. บทว่า ธมฺมจกฺขุํ ได้แก่ จักษุ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 481
คือ โสดาปัตติมรรค ซึ่งกำหนดธรรมคือสัจจะ ๔. บทว่า นตฺถิ ตํ สํโยชนํ ความว่า พระอริยสาวกนั้นไม่มีสังโยชน์ ๒ อย่างแล (อภิชฌา และพยาบาท). อนึ่ง ในสูตรนอกนี้ท่านกล่าวว่า ไม่มี ก็เพราะไม่สามารถจะนำมาสู่โลกนี้ได้อีก. แท้จริงในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงพระอนาคามี.
จบอรรถกถาสรทสูตรที่ ๓