ผรุสวาจา และ ปิสุณาวาจานั้น ผมนั้นยังข้องใจในความต่างจากกัน อย่างเช่นว่า หากเราเป็นคนกลาง ยุให้สองคนทั้รักกันดีแตกกันด้วยอุบายต่างๆ นาๆ เอาประโยคที่คนนึงว่าอีกคนนึง (ผรุสวาจา) ไปบอกให้ได้ยิน ด้วยต้องการให้เขาแตกกัน แล้วเราเป็นที่รัก ชื่อว่า ปิสุณาวาจา ยกตัวอย่างว่า ลูกน้องยุให้นายสองคนแตกคอ นายย้ายฝ่ายไปคนนึง ลูกน้องจึงได้ความไว้วางใจจากนายอีกคนจนถึงเลื่อนขั้น
แต่ในชีวิตประจำวัน อย่างกรณีเช่น บุคคลนึงโกรธอีกบุคคลนึงก็ไประบายกับ บุคคลที่สาม ไม่ด่าบริภาษให้บุคคลที่ตนโกรธเสียหาย กรณีเช่นนี้พอบุคคลที่สามได้ยินตามความนั้นแล้วอาจจะเคืองใจ หรือ ไม่ชอบบุคคลนั้นไปด้วย เป็นปิสุณาวาจาหรือไม่ ยกยกตัวอย่างเช่น ลูกงอนพ่อ เอาไปฟ้องแม่ แม่เลยเคืองพ่อไปด้วย หรือ ลูกงอนพ่อแม่ เอาไปฟ้องปู่เล่าว่าถูกดุยังไง ไม่เห็นด้วยยังไง ให้ปู่เข้าข้าง ปู่ก็เคืองพ่อไปด้วย ไม่พูดกันหลายวัน เช่นนี้ เป็นผรุสวาจา หรือ ปิสุณาวาจา เพราะมีการเคืองกัน และในหลายครั้งก็คงมีความปราถนาให้ผู้ฟังเข้าข้างเรา เป็นต้น หรือ ในบางครั้งก็มิปราถนาให้เกลียดกัน เพียงแต่อยากให้เข้าข้างเฉยๆ
ขอความอนุเคราะห์ครับ
ขอบพระคุณมากครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ความเป็นจริงของธรรม เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ผรุสวาจา เป็นการกล่าวคำหยาบคาย ส่วน ปิสุณาวาจา เป็นการกล่าวส่อเสียด ทั้ง ๒ อย่าง เป็นความประพฤติเป็นไปทางวาจาที่ไม่ดีทั้งนั้น ต้องมาจากจิตที่เป็นอกุศลเท่านั้น
พิจารณาองค์ประกอบของผรุสวาจา และ ปิสุณาวาจา ตามข้อความในพระไตรปิฎก ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๙๗
ผรุสวาจานั้น มีองค์ ๓ คือ
๑. อกฺโกสิตพฺโพ ปโร คนอื่นที่ตนด่า
๒. กุปิตจิตฺตํ จิตโกรธ
๓. อกฺโกสนา การด่า
[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ ๑๙๔
เจตนาของบุคคลผู้มีจิตเศร้าหมองอันให้เกิดกายประโยค (ความประพฤติทางกาย) และวจีประโยค (ความประพฤติทางวาจา) เพื่อให้คนอื่นแตกกันก็ดี เพื่อต้องการทำคนให้เป็นที่รักก็ดี ชื่อว่า ปิสุณาวาจา (กล่าวส่อเสียด) . ปิสุณาวาจานั้นชื่อว่า มีคุณน้อย เพราะผู้การทำความแตกแยกมีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะผู้นั้นมีคุณมาก.
ปิสุณาวาจานั้น มีองค์ ๔ คือ
๑. ภินฺทิตพฺโพ ปโร ผู้อื่นที่พึงให้แตกกัน
๒. เภทปุเรกฺขารตา มุ่งให้เขาแตกกันว่า คนเหล่านี้จักเป็นผู้ต่างกัน และแยกกันด้วยอุบายอย่างนี้ หรือ ปิยกมฺมยตา ประสงค์ให้ตนเป็นที่รักว่า เราจักเป็นที่รัก จักเป็นที่ไว้ว่างใจ ด้วยอุบายอย่างนี้
๓. ตชฺโช วายาโม ความพยายามที่เกิดแต่ความมุ่งให้เขาแตกกันนั้น
๔. ตสฺส ตทตฺถวิชานนํ ผู้นั้นรู้เรื่องนั้น.
เรื่องจิตใจ เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ประโยชน์ของการศึกษาพระธรรม ก็เพื่อเข้าใจตามความเป็นจริง แม้ในส่วนของอกุศล ก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ว่า อกุศล เป็นอกุศล เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ ไม่ใช่เรา เป็นสภาพที่มีโทษ ไม่มีประโยชน์แก่ใครๆ ทั้งสิ้น ครับ
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณครับ อนุโมทนาในกุศลของทุกท่านครับ
กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
กราบอนุโมทนาครับ