เรียนอาจารย์ค่ะ คำว่า การเพ่งโทษ หมายถึงอะไรคะ และเราจะอนุเคราะห์เกื้อกูลแนะนำคนอื่นอย่างไร ที่ไม่ถึอว่าเป็นการเพ่งโทษคะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
การเพ่งโทษ คือการพูดถึงเรื่องของบุคคลอื่น ด้วยจิตที่เป็นอกุศล หรือ กุศลก็ได้ เราพูดถึงคนอื่นด้วยจิตที่เมตตา พูดถึงคนอื่นด้วยความไม่ชอบ ดังนั้น จึงต้องตัดสินที่สภาพจิตเป็นสำคัญ ไม่ใช่เรื่องราวที่พูดจะมาตัดสินว่า เป็นกุศลหรืออกุศล พูดเรื่องไม่ดีของคนอื่นด้วยกุศลก็ได้ พูดเรื่องที่ดีของคนอื่นด้วยจิตที่เป็นอกุศลก็ได้ แต่ตามปกติแล้ว ปุถุชนมีกิเลสมาก ดังนั้น จิตย่อมน้อมไปสูฝ่ายกิเลส ซึ่งถ้าเราพูดเรื่องไม่ดีของคนอื่น จิตก็ย่อมน้อมไปสู่ฝ่ายอกุศลได้ง่ายครับ
การเพ่งโทษ ติเตียน คือ การพิจารณาถึงสิ่งที่ไม่ดีของคนอื่น เช่นกัน เป็นกุศลหรืออกุศลก็ได้ เป็นกุศลคือติเตียนเตือนเพื่อให้เขาเห็นโทษผิดนั้นจะได้ปรับปรุงให้เจริญขึ้นด้วยจิตหวังดี เมตตา ดังเช่น แม่แนะนำลูกที่ลูกทำผิด
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนผู้หนาแน่นไปด้วยกิเลสประการต่างๆ ยังมีกิเลสอยู่ครบทั้งโลภะ โทสะ โมหะ ย่อมเป็นไปได้ที่จะมีความประพฤติที่ไม่ดีทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ เป็นธรรมดา เป็นไปตามการสะสมของแต่ละบุคคล ไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิด ที่สำคัญทำผิดแล้วจะรู้สึกตัวหรือเปล่าว่าเป็นผู้ทำผิด บุคคลผู้ที่มีเมตตา มีความหวังดี รู้ถึงโทษนั้นตามความเป็นจริง ท่านจึงเสียสละเวลาเพื่อที่จะแนะนำ ตักเตือน ชี้แนวทางที่ถูกต้องให้ เป็นการกล่าวให้ได้รู้ถึงโทษนั้นตามความเป็นจริง กล่าวได้ว่าเป็นผู้ที่บอกขุมทรัพย์คือความดีให้ เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ที่เห็นประโยชน์จากคำแนะนำ จากคำเตือน ย่อมทำให้เป็นผู้ที่เห็นโทษของกิเลส เห็นโทษของอกุศลที่เกิดขึ้น แล้วน้อมที่จะประพฤติปฏิบัติตามขัดเกลากิเลสของตนเอง โดยเป็นผู้กลับตัวกลับใจเสียใหม่ ลดละสิ่งที่ไม่ดี เริ่มสร้างแต่สิ่งที่ดีงาม ในทางตรงกันข้ามผู้ที่ไม่เห็นประโยชน์ ไม่มีความสำนึกผิด ย่อมจะเพิ่มกิเลสให้กับตนเอง คือ ไม่พอใจในคำแนะนำดังกล่าวนั้น โกรธผู้ที่คอยตักเตือนด้วย ดังนั้น พระธรรม จึงเป็นประโยชน์สำหรับผู้มีความจริงใจที่จะน้อมประพฤติปฏิบัติตามอย่างแท้จริง ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ยินดีในกุศลจิตครับ