๓. เรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะ [๓๕]
โดย บ้านธัมมะ  25 ก.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 34817

[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 11

๓. เรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะ [๓๕]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 41]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 11

๓. เรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะ (๑) [๓๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี ทรงปรารภพระเจ้าวิฑูฑภะ พร้อมทั้งบริษัท ซึ่งถูกห้วงน้ำท่วมทับให้สวรรคตแล้ว ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺตํ" เป็นต้น.

อนุปุพพีกถาในเรื่องนั้น ดังต่อไปนี้.

สามพระกุมารไปศึกษาศิลปะในกรุงตักกสิลา

พระกุมาร ๓ พระองค์เหล่านั้น คือพระราชโอรสของพระเจ้ามหาโกศลในพระนครสาวัตถี พระนามว่า ปเสนทิกุมาร พระกุมารของเจ้าลิจฉวีในพระนครเวสาลี พระนามว่า มหาลิ โอรสของเจ้ามัลละในพระนครกุสินารา พระนามว่า พันธุละ เสด็จไปนครตักกสิลา เพื่อเรียนศิลปะในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ มาพบกันที่ศาลานอกพระนคร ต่างก็ถามถึงเหตุที่มา ตระกูล และพระนามของกันและกันแล้ว เป็นพระสหายกัน ร่วมกันเข้าไปหาอาจารย์ ต่อกาลไม่นานนักก็เรียนศิลปะสำเร็จ จึงกราบลาอาจารย์พร้อมกัน เสด็จออกจากกรุงตักกสิลา ได้ไปสู่ที่อยู่ของตนๆ.

สามพระกุมารได้รับตำแหน่งต่างกัน

บรรดาพระกุมารทั้ง ๓ พระองค์นั้น ปเสนทิกุมารทรงแสดงศิลปะถวายพระชนก อันพระชนกทรงเลื่อมใสแล้ว จึงอภิเษกในราชสมบัติ.


(๑) ม. วิฏฏูภวัตถุ.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 12

มหาลิกุมาร เพื่อจะทรงแสดงศิลปะแก่เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ก็ทรงแสดงด้วยความอุตสาหะมาก พระเนตรของพระองค์ได้แตกไปแล้ว พวกเจ้าลิจฉวีปรึกษากันว่า "พุทโธ่เอ๋ย อาจารย์ของพวกเรา ถึงความเสียพระเนตรแล้ว พวกเราจะไม่ทอดทิ้งท่าน จักบำรุงท่าน" ดังนี้แล้ว จึงได้ถวายประตู (๑) ด้านหนึ่ง ซึ่งเก็บส่วยได้วันละแสนแก่มหาลิกุมารนั้น พระองค์ทรงอาศัยประตูนั้น ให้โอรสของเจ้าลิจฉวี ๕๐๐ องค์ ทรงศึกษาศิลปะอยู่แล้ว.

ฝ่ายพันธุลกุมาร เมื่อพวกตระกูลมัลลราชกล่าวว่า "ขอพันธุลกุมารจงฟันไม้ไผ่เหล่านี้" ดังนี้แล้ว ได้กระโดดขึ้นไปยังอากาศสูงถึง ๘๐ ศอก เอาดาบฟันมัดไม้ไผ่ ๖๐ ลำ ที่พวกเจ้ามัลละเอาไม้ไผ่ ๖๐ ลำใส่ซี่เหล็กในท่ามกลางแล้วให้ยกขึ้นตั้งไว้ ขาดกระเด็นไปแล้ว พันธุลกุมารนั้นได้ยินเสียงดัง "กริก" ของซี่เหล็กในมัดสุดท้าย จึงถามว่า "นี่อะไร" ได้ยินว่า เขาเอาซี่เหล็กใส่ในไม้ไผ่ทุกมัดแล้ว จึงทิ้งดาบ ร้องไห้พลางพูดว่า "บรรดาญาติและเพื่อนของเราประมาณเท่านี้ แม้แต่คนเดียว ซึ่งเป็นผู้มีความสิเนหาในเรามิได้บอกเหตุนี้แก่เรา ก็หากว่า เราพึงรู้ไซร้ พึงฟันไม่ให้เสียงซี่เหล็กดังขึ้นเลย" แล้วทูลแก่พระชนนีและพระชนกว่า "หม่อมฉันจักฆ่าเจ้ามัลละเหล่านี้แม้ทั้งหมด แล้วครองราชสมบัติ" อันพระชนนีและพระชนกห้ามแล้วโดยประการต่างๆ เป็นต้นว่า "ลูกเอ๋ย นี้เป็นราชประเพณี เจ้าไม่ได้เพื่อจะทำอย่างนั้น" จึงทูลว่า "ถ้ากระนั้น


(๑) คำว่า "ประตู" หมายความว่า หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ทางประตูด้านหนึ่ง.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 13

หม่อมฉันจักไปสู่สำนักเพื่อนของหม่อมฉัน" ดังนี้ ได้เสด็จไปเมืองสาวัตถีแล้ว.

พระเจ้าปเสนทิทรงทราบการเสด็จมาของพันธุละนั้น ก็ทรงต้อนรับ เชิญให้เสด็จเข้าพระนครด้วยสักการะใหญ่ แล้วทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเสนาบดี พันธุลเสนาบดีนั้น ให้เชิญพระชนนีและพระชนกมาพักอาศัยอยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น นั่นแล.

พระราชาทรงเลี้ยงภัตตาหารภิกษุเอง

ภายหลังวันหนึ่ง พระราชาประทับยืนอยู่ปราสาทชั้นบน ทอดพระเนตรไปยังระหว่างถนน เห็นภิกษุหลายพันรูปซึ่งไปเพื่อต้องการทำภัตกิจ ในคฤหาสน์ของท่านเหล่านั้น คือท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี จูฬอนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา นางสุปปวาสา จึงตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไปไหนกัน" เมื่อพวกราชบุรุษทูลว่า "ข้าแต่สมมติเทพ ภิกษุสองพันรูปไปเพื่อประโยชน์แก่ภัตทั้งหลายมีนิตยภัต สลากภัต และคิลานภัตเป็นต้น ในคฤหาสน์ของอนาบิณฑิกเศรษฐี ทุกๆ วัน ภิกษุ ๕๐๐ รูปไปคฤหาสน์ของจูฬอนาบิณฑิกเศรษฐี เป็นนิตย์ ของนางวิสาขา (และ) นางสุปปวาสา ก็เช่นเดียวกัน" ดังนี้แล้ว ทรงพระประสงค์จะบำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยพระองค์เองบ้าง จึงเสด็จไปวิหาร ทรงนิมนต์พระศาสดา พร้อมกับภิกษุพันรูป ถวายทานด้วยพระหัตถ์เอง สิ้น ๗ วัน ในวันที่ ๗ ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงรับภิกษาของพระองค์ พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป เป็นนิตย์เถิด".


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 14

พระศาสดา. มหาบพิตร ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่รับภิกษาประจำในที่แห่งเดียว ประชาชนเป็นจำนวนมากย่อมหวังเฉพาะการมาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

พระราชา. ถ้ากระนั้น ขอพระองค์โปรดส่งภิกษุรูปหนึ่งไปประจำเถิด.

พระศาสดาได้ทรงทำให้เป็นภาระของพระอานนทเถระ.

พระราชาทรงลืมจัดการเลี้ยงภิกษุถึง ๓ วัน

พระราชาไม่ทรงจัดเจ้าหน้าที่ไว้ว่า "เมื่อภิกษุสงฆ์มาแล้ว ชื่อว่าชนเหล่านี้รับบาตรแล้ว จงอังคาส" ทรงอังคาสด้วยพระองค์เองเท่านั้นตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๘ ทรงลืมไป จึงได้ทรงกระทำให้เนิ่นช้าแล้ว.

ก็ธรรมดาในราชตระกูล ชนทั้งหลายอันพระราชามิได้ทรงสั่งแล้ว ย่อมไม่ได้เพื่อปูอาสนะทั้งหลาย นิมนต์พวกภิกษุให้นั่งแล้วอังคาส. พวกภิกษุก็คิดกันว่า เราไม่อาจเพื่อยับยั้งอยู่ในที่นี้ได้ พากันหลีกไปเสียหลายรูป. แม้ในวันที่ ๒ พระราชาก็ทรงลืมแล้ว. แม้ในวันที่ ๒ ภิกษุเป็นอันมากก็พากันหลีกไป. ถึงในวันที่ ๓ พระราชาก็ทรงลืม ในกาลนั้น เว้นพระอานนทเถระองค์เดียวเท่านั้น พวกภิกษุที่เหลือพากันหลีกไป.

คนมีบุญย่อมหนักในเหตุ

ธรรมดาผู้มีบุญทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ จึงรักษาความเลื่อมใสแห่งตระกูลทั้งหลายไว้ได้. ก็สาวกของพระตถาคต


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 15

แม้ทั้งหมดที่ถึงฐานันดร ตั้งต้นแต่ชนทั้ง ๘ เหล่านี้ คืออัครสาวก ๒ รูป คือพระสารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานเถระ อัครสาวิกา ๒ รูป คือนางเขมา นางอุบลวรรณา บรรดาอุบาสกทั้งหลาย อุบาสกผู้เป็นอัครสาวก ๒ คน คือจิตตคฤหบดี หัตถกอุบาสก ชาวเมืองอาฬวี บรรดาอุบาสิกาทั้งหลาย อุบาสิกาผู้เป็นอัครสาวิกา ๒ คน คือมารดาของนันทมาณพชื่อเวฬุกัณฎกี นางขุชชุตตรา ล้วนมีบุญมาก สมบูรณ์ด้วยอภินิหาร เพราะความเป็นผู้บำเพ็ญบารมี (๑) ๑๐ โดยเอกเทศ.

พระราชาเสด็จไปกราบทูลพระศาสดา

แม้พระอานนท์เถระ มีบารมีอันบำเพ็ญแล้วตั้งแสนกัป สมบูรณ์ด้วยอภินิหาร มีบุญมาก เมื่อจะรักษาความเลื่อมใสของตระกูล จึงได้ยับยั้งอยู่ เพราะความที่ตนเป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ พวกราชบุรุษนิมนต์ท่านรูปเดียวเท่านั้นให้นั่ง แล้วอังคาส. พระราชาเสด็จมาในเวลาที่พวกภิกษุไปแล้ว ทอดพระเนตรเห็นขาทนียะและโภชนียะตั้งอยู่อย่างนั้นแหละ จึงตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมิได้มาหรือ" ทรงสดับว่า "พระอานนท์เถระมารูปเดียวเท่านั้น พระเจ้าข้า" ทรงพิโรธภิกษุทั้งหลายว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ได้ทำการตัดขาดต่อเราเพียงเท่านี้ เป็นแน่ จึงเสด็จไปสำนักพระศาสดา กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จัดแจงภิกษาไว้เพื่อภิกษุ ๕๐๐ รูป ทราบว่า พระอานนทเถระรูปเดียวเท่านั้นมา ภิกษาที่หม่อมฉันจัดแจงแล้ว ตั้งอยู่


(๑) บารมี ๑๐ คือทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 16

อย่างนั้นนั่นเอง ภิกษุ ๕๐๐ รูป ไม่กระทำความสำคัญในพระราชวังของหม่อมฉันเลย จักมีเหตุอะไรหนอแล".

ตระกูลที่ภิกษุควรเข้าไปและไม่ควรเข้าไป

พระศาสดาไม่ตรัสโทษของพวกภิกษุ ตรัสว่า มหาบพิตร สาวกทั้งหลายของอาตมภาพ ไม่มีความคุ้นเคยกับพระองค์ เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลายจักไม่ไปแล้ว เมื่อจะทรงประกาศเหตุแห่งการไม่เข้าไป และเหตุแห่งการเข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลาย ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสพระสูตร (๑) นี้ว่า.

"ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ภิกษุยังไม่เข้าไปแล้ว ก็ไม่ควรเข้าไป และครั้นเข้าไปแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้ ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ เป็นไฉน ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ เหล่านี้ คือเขาไม่ต้อนรับด้วยความพอใจ ไม่อภิวาทด้วยความพอใจ ไม่ให้อาสนะด้วยความพอใจ ซ่อนของที่มีอยู่ของเขาไว้ เมื่อของมีอยู่มากก็ให้แต่น้อย เมื่อมีของประณีตก็ให้ของเศร้าหมอง ให้โดยไม่เคารพไม่ให้โดยความเคารพ ไม่นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม เมื่อกล่าวธรรมอยู่เขาก็ไม่ยินดี ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ เหล่านี้แล ภิกษุยังไม่เข้าไปแล้ว ก็ไม่ควรเข้าไป และครั้นเข้าไปแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้.

ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ภิกษุยังไม่เข้าไป ก็ควรเข้าไป และเมื่อเข้าไปแล้ว ก็ควรนั่งใกล้ ตระกูลที่ประกอบ


(๑) อัง. นวก. ๒๓/๔๐๑.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 17

ด้วยองค์ ๙ เป็นไฉน ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ เหล่านี้ คือเขาต้อนรับด้วยความพอใจ อภิวาทด้วยความพอใจ ให้อาสนะด้วยความพอใจ ไม่ซ่อนของที่มีอยู่ของเขาไว้ เมื่อของมีมากก็ให้มาก เมื่อมีของประณีตก็ให้ของประณีต ให้โดยเคารพ ไม่ให้โดยไม่เคารพ เข้าไปนั่งใกล้เพื่อฟังธรรม เมื่อกล่าวธรรมอยู่เขาก็ยินดี ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ เหล่านี้แล ภิกษุยังไม่เข้าไป ก็ควรเข้าไป และครั้นเข้าไปแล้ว ก็ควรนั่งใกล้"

ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า มหาบพิตร สาวกของอาตมภาพ เมื่อไม่ได้ความคุ้นเคยจากสำนักของพระองค์ จึงจักไม่ไป ด้วยประการฉะนี้แล แท้จริง โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้เขาบำรุงอยู่ด้วยความเคารพในที่ๆ ไม่คุ้นเคย ถึงเวทนาแทบปางตาย ก็ได้ไปสู่ที่ของผู้คุ้นเคยกันเหมือนกัน.

พระราชาทูลถามว่า "ในกาลเช่นไร พระเจ้าข้า" พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาสาธกดังต่อไปนี้.

เรื่องเกสวดาบส

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในพระนครพาราณสี พระราชาทรงพระนามว่า เกสวะ ทรงสละราชสมบัติผนวชเป็นฤาษี บุรุษ ๕๐๐ คน ออกบวชตามพระราชานั้น. ท้าวเธอได้พระนามว่า เกสวดาบส. อนึ่ง นายภูษามาลาของพระองค์ก็ได้ตามบวชเป็นอันเตวาสิกนามว่า กัปปกะ เกสวดาบสกับบริษัทอาศัยอยู่ในหิมวันตประเทศสิ้น ๘ เดือน ในฤดูฝน เพื่อต้องการเสพรสเค็มและรสเปรี้ยว ไปถึงกรุงพาราณสีแล้ว เข้าไปสู่พระนครเพื่อภิกษา ลำดับนั้น พระราชา


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 18

ทอดพระเนตรเห็นดาบสนั้น ทรงเลื่อมใส ทรงรับปฏิญญาเพื่อประโยชน์แก่การอยู่ในสำนักของพระองค์ตลอด ๔ เดือน นิมนต์ให้พักอยู่ในพระราชอุทยาน ย่อมเสด็จไปสู่ที่บำรุงพระดาบสนั้น ทั้งเย็นทั้งเช้า พวกดาบสที่เหลือพักอยู่ ๒ - ๓ วัน รำคาญด้วยเสียงอึงคะนึงต่างๆ มีเสียง ช้างเป็นต้น (๑) จึงกล่าวว่า "ท่านอาจารย์ พวกกระผมรำคาญใจ จะไปละ"

เกสวะ. จะไปไหนกัน พ่อ.

อันเตวาสิก. ไปสู่หิมวันตประเทศ ท่านอาจารย์.

เกสวะ. ในวันที่พวกเรามาทีเดียว พระเจ้าแผ่นดินทรงรับปฏิญญาเพื่อประโยชน์แก่การอยู่ในที่นี้ตลอด ๔ เดือน พวกเธอจักไปเสียอย่างไรเล่า พ่อ.

อันเตวาสิกกล่าวว่า "ท่านอาจารย์ไม่บอกพวกกระผมเสียก่อนแล้ว จึงถวายปฏิญญา พวกกระผมไม่สามารถจะอยู่ในที่นี้ได้ จักอยู่ในที่ๆ พอจะฟังความเป็นไปของท่านอาจารย์ได้ ซึ่งไม่ไกลจากที่นี้" ดังนี้ พากันไหว้พระอาจารย์แล้วหลีกไป อาจารย์คงอยู่กับอันเตวาสิกชื่อ กัปปกะ (เท่านั้น).

พระราชาเสด็จมาสู่ที่บำรุง ตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ไปไหน" เกสวดาบสทูลว่า "มหาบพิตร พวกดาบสเหล่านั้นบอกว่า พวกกระผมรำคาญใจ ดังนี้แล้ว ก็ไปสู่หิมวันตประเทศ"

กาลต่อมาไม่นานนัก แม้กัปปกดาบสก็รำคาญแล้ว แม้ถูกอาจารย์ห้ามอยู่บ่อยๆ ก็กล่าวว่า "ไม่อาจ" แล้วก็หลีกไป.


(๑) อันเสียงทั้งหลายมีเสียงช้างเป็นต้น เบียดเบียนแล้ว.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 19

แต่กัปปกดาบสนั้น ไม่ไปสำนักของพวกดาบสนอกนี้ คอยฟังข่าว (๑) ของอาจารย์อยู่ในที่ไม่ไกลนัก.

ในกาลต่อมา เมื่ออาจารย์คิดถึงพวกอันเตวาสิก โรคในท้องก็เกิดขึ้น พระราชารับสั่งให้แพทย์เยียวยา โรคก็ไม่สงบได้ พระดาบสจึงทูลว่า "มหาบพิตร พระองค์ทรงพระประสงค์จะให้โรคของอาตมภาพ สงบหรือ".

พระราชา. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หากว่าข้าพเจ้าอาจ ก็พึงทำความผาสุกแก่ท่าน เดี๋ยวนี้แหละ.

ดาบส. มหาบพิตร หากว่าพระองค์ทรงปรารถนาความสุขแก่อาตมภาพไซร้ โปรดส่งอาตมภาพไปสำนักพวกอันเตวาสิกเถิด.

พระราชาทรงรับว่า "ดีล่ะ ขอรับ" แล้วให้ดาบสนั้นนอนบนเตียงน้อย ทรงส่งอำมาตย์ไป ๔ นาย มีนารทอำมาตย์เป็นหัวหน้า ด้วยรับสั่งว่า "พวกท่านทราบข่าวของพระผู้เป็นเจ้าของเราแล้ว พึงส่งข่าวถึงเรานะ".

กัปปกอันเตวาสิก ทราบว่าอาจารย์มา ก็ทำการต้อนรับ เมื่ออาจารย์กล่าวว่า "พวกนอกนี้ไปอยู่ที่ไหนกัน" จึงเรียนว่า "ทราบว่าอยู่ ที่โน้น".

อันเตวาสิกแม้เหล่านั้น ทราบว่าอาจารย์มาแล้ว มาประชุมกัน ณ ที่นั้น นั่นแล ถวายน้ำร้อนแล้ว ได้ถวายผลาผลแก่อาจารย์ โรคสงบแล้วในขณะนั้นเอง พระดาบสนั้น มีวรรณะประดุจทองคำโดย ๒ - ๓ วันเท่านั้น.


(๑) ปวตฺติํ.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 20

ลำดับนั้น นารทอำมาตย์ถามว่า (๑)

"ข้าแต่เกสีดาบสผู้มีโชค อย่างไรหนอ ท่านจึงละพระราชา ผู้เป็นจอมแห่งมนุษย์ ผู้บันดาลสมบัติน่าใคร่ทั้งสิ้นให้สำเร็จเสีย แล้วยินดีในอาศรมของกัปปกดาบส"

ท่านตอบว่า

"คำไพเราะชวนให้รื่นรมย์มีอยู่ รุกขชาติเป็นที่เพลินใจมีอยู่ ดูก่อนนารทะ คำที่กัปปกะกล่าวดีแล้ว ย่อมให้เรายินดีได้"

นารทอำมาตย์ถามว่า

"ท่านบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันเจือด้วยรสเนื้อดีๆ แล้ว ข้าวฟ่างและลูกเดือย ซึ่งหารสเค็มมิได้ จะทำให้ท่านยินดีได้อย่างไร"

ท่านตอบว่า

"ผู้คุ้นเคยกันบริโภค (๒) อาหารไม่อร่อยหรืออร่อย น้อยหรือมากในที่ใด (อาหารที่บริโภคในที่นั้นก็ให้สำเร็จประโยชน์ได้) เพราะว่า รสทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง"


(๑) ขุ. ชา. จตุกก. ๒๗/๑๖๐. อรรถกถา. ๔/๔๐๕.

(๒) ภุญฺเชยฺย ในชาดกและบาลีเป็น ภุญฺเช อรรถถาแก้เป็น ภุญฺชิ.


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 21

พระศาสดาทรงย่อชาดก

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประมวลชาดก ตรัสว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นโมคคัลลานะ นารทอำมาตย์ ได้เป็นสารีบุตร อันเตวาสิกชื่อกัปปกะ ได้เป็นอานนท์ เกสวดาบส เป็นเราเอง ดังนี้แล้ว ตรัสว่า อย่างนั้น มหาบพิตร บัณฑิตในปางก่อน ถึงเวทนาปางตาย ได้ไปสู่ที่คนมีความคุ้นเคยกันแล้ว สาวกทั้งหลายของอาตมภาพ ชะรอยจะไม่ได้ความคุ้นเคยในสำนักของพระองค์.

พระราชาทรงส่งสาสน์ไปขอธิดาเจ้าศากยะ

พระราชาทรงดำริว่า เราควรจะทำความคุ้นเคยกับภิกษุสงฆ์ เราจักทำอย่างไรหนอ ดังนี้แล้ว ทรงดำริ (อีก) ว่า ควรนำพระธิดาแห่งพระญาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไว้ในพระราชมนเฑียร เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกภิกษุหนุ่มและพวกสามเณร ก็จะคุ้นเคยแล้วมายังสำนักของเราเป็นนิตย์ ด้วยคิดว่า พระราชาเป็นพระญาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้ จึงส่งพระราชสาสน์ไปสำนักเจ้าศากยะทั้งหลายว่า ขอเจ้าศากยะทั้งหลาย จงประทานพระธิดาคนหนึ่งแก่หม่อมฉัน แล้วรับสั่งบังคับทูตทั้งหลายว่า พวกท่านพึงถามว่า เป็นพระธิดาแห่งเจ้าศากยะองค์ไหน" แล้ว (จึง) มา.

เจ้าศากยะให้ธิดานางทาสีแก่พระเจ้าปเสนทิ

พวกทูตไปแล้ว ทูลขอเจ้าหญิงคนหนึ่งกะเจ้าศากยะทั้งหลาย เจ้าศากยะเหล่านั้นประชุมกันแล้ว ทรงดำริว่า พระราชาเป็นฝักฝ่ายอื่น


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 22

ผิว่า พวกเราจักไม่ให้ไซร้ ท้าวเธอจักทำให้เราฉิบหาย ก็เมื่อว่าโดยสกุล ท้าวเธอไม่เสมอกับเราเลย พวกเราควรทำอย่างไรกันดี.

ท้าวมหานามตรัสว่า ธิดาของหม่อมฉัน ชื่อวาสภขัตติยา เกิดในท้องของนางทาสี ถึงความเป็นผู้มีรูปงามเลิศมีอยู่ พวกเราจักให้นางนั้น ดังนี้แล้ว จึงรับสั่งกะพวกทูตว่า ดีละ พวกเราจักถวายเจ้าหญิงแด่พระราชา.

ทูต. เป็นพระธิดาของเจ้าศากยะองค์ไหน.

เจ้าศากยะ. เป็นพระธิดาของท้าวมหานามศากยราช ผู้เป็นพระโอรสของพระเจ้าอาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อวาสภขัตติยา.

ทูตเหล่านั้นไปกราบทูลแด่พระราชาของตน พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นก็ดีละ พวกเธอจงรีบนำมาเถิด ก็ธรรมดาพวกกษัตริย์ มีเล่ห์กลมาก จะพึงส่งแม้ลูกสาวของนางทาสีมา (ก็อาจเป็นได้) พวกท่านจงนำธิดาผู้เสวยอยู่ในภาชนะเดียวกันกับพระบิดามา ดังนี้แล้ว ทรงส่งทูตทั้งหลายไป.

พวกเขาไปแล้วกราบทูลว่า "ขอเดชะ พระราชาทรงปรารถนาพระธิดาผู้เสวยร่วมกับพระองค์" ท้าวมหานามรับสั่งว่า "ได้ซิ พ่อ" จึงให้ตกแต่งนาง ครั้นในเวลาเสวยของพระองค์ รับสั่งให้เรียกนางมา แสดงอาการ (ประหนึ่ง) ร่วมเสวยกับนาง แล้วมอบแก่ทูตทั้งหลาย พวกเขาพานางไปยังเมืองสาวัตถีแล้ว กราบทูลเรื่องราวนั้นแด่พระราชา.

พระราชาทรงพอพระทัย ตั้งให้นางเป็นใหญ่กว่าสตรี ๕๐๐ คน อภิเษกไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี ต่อกาลไม่ช้านัก นางก็ประสูติพระโอรส มีวรรณะเหมือนทองคำ ต่อมา ในวันขนานพระนามพระโอรส


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 23

นั้น พระราชาทรงส่งพระราชสาสน์ไปสำนักพระอัยยิกาว่า พระนางวาสภขัตติยา พระธิดาแห่งศากยราชประสูติพระโอรสแล้ว จะทรงขนานพระนามพระกุมารนั้นว่าอย่างไร.

ฝ่ายอำมาตย์ผู้รับพระราชสาสน์นั้นไป ค่อนข้างหูตึง เขาไปแล้ว ก็กราบทูลแก่พระอัยยิกาของพระราชา.

พระกุมารได้พระนามว่าวิฑูฑภะ

พระอัยยิกานั้นทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสว่า "พระนางวาสภขัตติยา แม้ไม่ประสูติพระโอรส ก็ได้ครอบครองชนทั้งหมด ก็บัดนี้ นางจักเป็นที่โปรดปรานยิ่งของพระราชา".

อำมาตย์หูตึงฟังคำว่า "วัลลภา" ไม่ค่อยชัด เข้าใจว่า "วิฑูฑภะ" ครั้นเข้าเฝ้าพระราชาแล้ว ก็กราบทูลว่า "ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงขนานพระนามพระกุมารว่า วิฑูฑภะ เถิด".

พระราชาทรงดำริว่า "คำว่า วิฑูฑภะ จักเป็นชื่อประจำตระกูลเก่าของเรา" จึงได้ทรงขนานพระนามว่า "วิฑูฑภะ".

วิฑูฑภะเสด็จเยี่ยมศากยสกุล

ต่อมา พระราชาได้พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่วิฑูฑภกุมารนั้น ในเวลาที่ยังทรงพระเยาว์นั่นแล ด้วยตั้งพระทัยว่า จะกระทำให้เป็นที่โปรดปรานของพระศาสดา.

วิฑูฑภะนั้น ทรงเจริญด้วยเครื่องบำรุงสำหรับกุมาร ในเวลามีพระชนม์ ๗ ขวบ ทรงเห็นของเล่นต่างๆ มีรูปช้างและรูปม้าเป็นต้น


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 24

ของกุมารเหล่าอื่น อันบุคคลนำมาจากตระกูลยาย จึงถามพระมารดาว่า "เจ้าแม่ ใครๆ เขาก็นำบรรณาการมาจากตระกูลยายเพื่อพวกกุมารเหล่าอื่น พระญาติไรๆ ย่อมไม่ส่งบรรณาการไรๆ มาเพื่อหม่อมฉันบ้างเลย เจ้าแม่ไม่มีพระชนนีพระชนกหรือ".

ทีนั้น พระมารดาจึงลวงโอรสนั้นว่า "พ่อ เจ้าศากยะเป็นยายของเจ้ามีอยู่ แต่อยู่ไกล เหตุนั้น พวกท่านจึงมิได้ส่งเครื่องบรรณาการไรๆ มาเพื่อเจ้า".

ในเวลามีพระชันษาครบ ๑๖ ปี พระกุมารจึงทูลพระมารดาอีกว่า "เจ้าแม่ หม่อมฉันใคร่จะเยี่ยมตระกูลพระเจ้ายาย" แม้ถูกพระมารดาห้ามอยู่ว่า "อย่าเลย ลูกเอ๋ย ลูกจักไปทำอะไรในที่นั้น" ก็ยังอ้อนวอนร่ำไป.

ทีนั้น พระมารดาของพระกุมาร ก็ทรงยินยอมว่า "ถ้าอย่างนั้น ก็ไปเถิด".

พวกศากยะต้อนรับวิฑูฑภะ

พระกุมารกราบทูลพระราชบิดาแล้ว เสด็จออกไปพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก พระนางวาสภขัตติยาทรงส่งจดหมายล่วงหน้าไปก่อนว่า "หม่อมฉันอยู่ในที่นี้สบายดี พระญาติทั้งหลายอย่าแสดงโทษไรๆ ของพระสวามีแก่พระกุมารนั้นเลย".

เจ้าศากยะทรงทราบว่าวิฑูฑภกุมารเสด็จมา ทรงปรึกษากันว่า พวกเราไม่อาจไหว้ (วิฑูฑภกุมาร) ได้ จึงส่งพระกุมารทั้งหลาย ที่เด็กๆ กว่าวิฑูฑภะนั้น ไปยังชนบทเสีย เมื่อวิฑูฑภกุมารนั้นเสด็จถึง


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 25

กบิลพัสดุ์บุรี ก็ประชุมกันในท้องพระโรง วิฑูฑภกุมารได้เสด็จไปประทับอยู่ ณ ที่นั้น.

ลำดับนั้น พวกเจ้าศากยะกล่าวกะพระกุมารนั้นว่า พ่อ ผู้นี้เป็น พระเจ้าตาของพ่อ ผู้นี้เป็นพระเจ้าลุง วิฑูฑภกุมารนั้น เที่ยวไหว้เจ้าศากยะทั้งหมด มิได้เห็นเจ้าศากยะแม้องค์หนึ่งไหว้ตน จึงทูลถามว่า "ทำไมหนอ จึงไม่มีเจ้าศากยะทั้งหลาย ไหว้หม่อมฉันบ้าง".

พวกเจ้าศากยะตรัสว่า พ่อ กุมารที่เป็นน้องๆ ของพ่อ เสด็จไปชนบทเสียหมด แล้วทรงทำสักการะให้แก่พระกุมารนั้น พระกุมารประทับอยู่สิ้น ๒ - ๓ วัน ก็เสด็จออกจากพระนครด้วยบริวารเป็นอันมาก.

วิฑูฑภะกลับสู่เมืองของตน

ลำดับนั้น นางทาสีคนหนึ่งแช่งด่าว่า นี้เป็นแผ่นกระดานที่บุตรของนางทาสีชื่อวาสภขัตติยานั่ง ดังนี้แล้ว ล้างแผ่นกระดานที่พระกุมารนั้นนั่งในท้องพระโรง ด้วยน้ำเจือด้วยน้ำนม มหาดเล็กคนหนึ่งของพระกุมาร ลืมอาวุธของตนไว้ กลับไปเอาอาวุธนั้น ได้ยินเสียงด่าวิฑูฑภกุมาร จึงถามโทษนั้น ทราบว่า นางวาสภขัตติยา เกิดในท้องของนางทาสีของท้าวมหานามศากยะ จึงบอกกล่าวแก่พวกพล ได้มีการอื้อฉาวกันอย่างขนานใหญ่ว่า ได้ยินว่า พระนางวาสภขัตติยา เป็นธิดาของนางทาสี.

วิฑูฑภะทรงอาฆาตพวกเจ้าศากยะ

เจ้าวิฑูฑภะทรงสดับคำนั้น ตั้งพระหฤทัยไว้ว่า เจ้าศากยะ


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 26

เหล่านั้น จงล้างแผ่นกระดานที่เรานั่งด้วยน้ำเจือด้วยนมก่อน แต่ในกาลที่เราดำรงราชสมบัติแล้ว เราจักเอาเลือดในลำคอของเจ้าศากยะเหล่านั้น ล้างแผ่นกระดานที่เรานั่ง เมื่อพระองค์เสด็จยาตราถึงกรุงสาวัตถี พวกอำมาตย์ก็กราบทูลเรื่องทั้งหมดแด่พระราชา.

พระราชาทรงพิโรธเจ้าศากยะว่า ได้ให้ธิดานางทาสีแก่เรา จึงรับสั่งให้ริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานแก่พระนางวาสภขัตติยาและพระโอรส ให้พระราชทานเพียงสิ่งของอันผู้เป็นทาสและทาสีพึงได้เท่านั้น.

ต่อมา โดยกาลล่วงไป ๒ - ๓ วัน พระศาสดาเสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ ประทับนั่งแล้ว. พระราชาเสด็จมาถวายบังคมแล้วทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข่าวลือว่า พวกพระญาติของพระองค์ประทานธิดาแห่งนางทาสีแก่หม่อมฉัน เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงริบเครื่องราชฯ ของนางวาสภขัตติยานั้นพร้อมทั้งบุตร ให้ๆ เพียงสิ่งของอันผู้เป็นทาสและทาสีควรได้เท่านั้น".

พระศาสดาตรัสว่า "มหาบพิตร พวกเจ้าศากยะทำกรรมไม่สมควร ธรรมดาเมื่อจะให้ ก็ควรให้พระธิดาที่มีชาติเสมอกัน มหาบพิตร ก็อาตมภาพขอทูลพระองค์ว่า พระนางวาสภขัตติยาเป็นพระธิดาของขัตติยราช ได้อภิเษกในพระราชมนเฑียรของขัตติยราช ฝ่ายวิฑูฑภกุมาร ก็ทรงอาศัยขัตติยราชนั่นแลประสูติแล้ว ธรรมดาว่า โคตรฝ่ายมารดาจักทำอะไรได้ โคตรฝ่ายบิดาเท่านั้นเป็นสำคัญ" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า "โบราณกบัณฑิตทั้งหลายได้พระราชทานตำแหน่งอัครมเหสี แก่หญิงผู้ยากจน ชื่อกัฏฐหาริกา (๑) และพระกุมารที่เกิดในท้องของนางนั้น ก็ถึง


(๑) หญิงหาบฟืน.


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 27

ความเป็นพระราชาในพระนครพาราณสี อันกว้างใหญ่ไพศาลถึง ๑๒ โยชน์ ทรงพระนามว่า กัฏฐวาหนราช แล้วตรัสกัฏฐหาริยชาดก (๑).

พระราชาทรงสดับธรรมกถา ทรงยินดีว่า ได้ทราบว่า โคตรฝ่ายบิดาเท่านั้นเป็นสำคัญ จึงรับสั่งให้พระราชทานเครื่องราชฯ เช่นเคยนั่นแล แก่มารดาและบุตร.

พันธุละพาภรรยาผู้แพ้ท้องอาบน้ำ

ภรรยาแม้ของพันธุลเสนาบดีแล ชื่อมัลลิกา ซึ่งเป็นพระธิดาของเจ้ามัลละ ในกุสินารานคร ไม่คลอดบุตรสิ้นกาลนาน.

ต่อมา พันธุลเสนาบดีส่งนางไปว่า "เจ้าจงไปสู่เรือนแห่งตระกูลของตนเสียเถิด".

นางคิดว่า เราจักเฝ้าพระศาสดาแล้วจึงไป จึงเข้าไปยังพระเชตวัน ยืนถวายบังคมพระตถาคต อันพระตถาคตตรัสถามว่า "เธอจะไป ณ ที่ไหน" กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สามีส่งหม่อมฉันไปสู่เรือนแห่งตระกูล".

พระศาสดา. เพราะเหตุไร.

นาง. นัยว่า หม่อมฉันเป็นหมัน ไม่มีบุตร.

พระศาสดา. ถ้าอย่างนั้น กิจคือการไปไม่มี จงกลับเสียเถิด.

นางดีใจ ถวายบังคมพระศาสดา กลับไปสู่นิเวศน์ เมื่อสามีถามว่า "กลับมาทำไม" ตอบว่า "พระทศพลให้ฉันกลับ" พันธุละคิดว่า


(๑) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓. อรรถกถา. ๑/๒๐๔. แต่ในที่นั้น เป็น กัฏฐหาริชาดก.


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 28

พระทศพลทรงเห็นการณ์ไกล จักเห็นเหตุนี้ จึงรับนางไว้ ต่อมาไม่นานนัก นางก็ตั้งครรภ์ เกิดแพ้ท้อง บอกว่า "ความแพ้ท้องเกิดแก่ฉันแล้ว".

พันธุละ. แพ้ท้องอะไร.

นาง. นาย ฉันใคร่จะลงอาบแล้วดื่มน้ำควรดื่มในสระโบกขรณีอันเป็นมงคล ในงานอภิเษกแห่งคณะราชตระกูลในนครไพสาลี.

พันธุละกล่าวว่า "ดีละ" แล้วถือธนูอันบุคคลพึงโก่งด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษพันหนึ่ง อุ้มนางขึ้นรถ ออกจากเมืองสาวัตถี ขับรถเข้าไปสู่เมืองไพสาลี โดยประตูที่เจ้าลิจฉวีให้แก่มหาลิลิจฉวี.

ก็ที่อยู่อาศัยของเจ้าลิจฉวีนามว่ามหาลิ มีอยู่ ณ ที่ใกล้ประตูนั่นแล พอท่านได้ยินเสียงรถกระทบธรณีประตูก็รู้ว่า เสียงรถของพันธุละ จึงกล่าวว่า "วันนี้ ภัยจะเกิดแก่พวกเจ้าลิจฉวี".

การอารักขาสระโบกขรณี แข็งแรงทั้งภายในและภายนอก เบื้องบนเขาขึงข่ายโลหะ แม้นกก็ไม่มีโอกาส.

ฝ่ายพันธุลเสนาบดีลงจากรถ เฆี่ยนพวกมนุษย์ผู้รักษาด้วยหวายให้หลบหนีไป แล้วตัดข่ายโลหะ ให้ภริยาอาบแล้ว แม้ตนเองก็อาบในภายในสระโบกขรณีแล้ว อุ้มนางขึ้นรถอีก ออกจากพระนคร ขับไปโดยทางที่มาแล้วนั่นแล.

พวกเจ้าลิจฉวีติดตาม

พวกเจ้าหน้าที่ผู้รักษา ทูลเรื่องแก่พวกเจ้าลิจฉวี พวกเจ้าลิจฉวีกริ้ว เสด็จขึ้นรถ ๕๐๐ คัน ขับตามออกไปด้วยเจตนาว่า จักจับเจ้า


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 29

มัลละชื่อพันธุละ ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่เจ้ามหาลิ.

เจ้ามหาลิตรัสว่า "พวกท่านอย่าเสด็จไป เพราะเจ้าพันธุละนั้น จักฆ่าพวกท่านทั้งหมด" แม้เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นก็ยังตรัสว่า "พวกข้าพเจ้า จักไปให้ได้" เจ้ามหาลิตรัสว่า "ถ้ากระนั้น พวกท่านทรงเห็นที่ๆ ล้อรถจมลงไปสู่แผ่นดินจนถึงดุมแล้ว ก็พึงเสด็จกลับ เมื่อไม่กลับ แต่นั้นจักได้ยินเสียงราวกับสายอสนีบาตข้างหน้า พึงเสด็จกลับจากที่นั้น เมื่อไม่กลับ แต่นั้นจักเห็นช่องในแอกรถของพวกท่าน พึงกลับแต่ที่นั้นทีเดียว อย่าได้เสด็จไปข้างหน้าเป็นอันขาด".

เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ไม่เสด็จกลับตามคำของเจ้ามหาลิ พากันติดตามพันธุละเรื่อยไป นางมัลลิกาเห็นแล้ว จึงกล่าวว่า "นาย รถทั้งหลายย่อมปรากฏ".

พันธุละกล่าวว่า "ถ้ากระนั้น ในเวลารถปรากฏเป็นคันเดียวกันทีเดียว เจ้าพึงบอก".

ในกาลเมื่อรถทั้งหมดปรากฏดุจเป็นคันเดียวกัน นางจึงบอกว่า "นาย งอนรถปรากฏเป็นคันเดียวกันทีเดียว".

พันธุละกล่าวว่า "ถ้ากระนั้น เจ้าจงจับเชือกเหล่านี้" แล้วให้เชือกแก่นาง ยืนตรงอยู่บนรถ โก่งธนูขึ้น ล้อรถจมลงไปสู่แผ่นดินถึงดุม เจ้าลิจฉวีทรงเห็นที่นั้นแล้ว ก็ยังไม่เสด็จกลับ เจ้าพันธุละเลยนอกนี้ไปได้หน่อยหนึ่ง ก็ดีดสายธนู เสียงสายธนูนั้นได้เป็นประหนึ่งอสนีบาต เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นก็ยังไม่เสด็จกลับ แม้จากที่นั้น ยังเสด็จติดตามไปอยู่นั่นแล.


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 30

อำนาจลูกศรของพันธุละ

พันธุละยืนอยู่บนรถนั่นแล ยิงลูกศรไปลูกหนึ่ง ลูกศรนั้น ทำงอนรถ ๕๐๐ คันให้เป็นช่องแล้ว แทงทะลุพระราชา ๕๐๐ ในที่ผูกเกราะ แล้วจมลงไปในแผ่นดิน.

เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ไม่รู้ว่าตนถูกลูกศรแทงแล้ว ตรัสว่า "เฮ้ย หยุดก่อน เฮ้ย หยุดก่อน" ยังเสด็จติดตามไปนั่นแล พันธุลเสนาบดีหยุดรถแล้วกล่าวว่า "พวกท่านเป็นคนตาย ชื่อว่าการรบของข้าพเจ้ากับคนตายทั้งหลาย ย่อมไม่มี."

เจ้าลิจฉวี. ชื่อว่าคนตาย ไม่เหมือนเรา.

พันธุละ. ถ้ากระนั้น พวกท่านจงแก้เกราะของคนที่อยู่ท้ายสุดดู.

พวกเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นให้แก้แล้ว เจ้าลิจฉวีองค์นั้น ล้มลงสิ้นชีพิตักษัยในขณะแก้เกราะออกแล้วนั่นเอง.

ทีนั้น พันธุละจึงกล่าวกะเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า "พวกท่านแม้ทั้งหมด ก็เหมือนกัน เสด็จไปเรือนของตนๆ แล้วจึงจัดสิ่งที่ควรจัด พร่ำสอนลูกเมีย แล้วแก้เกราะออก.

เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น กระทำอย่างนั้นทุกๆ องค์ ถึงชีพิตักษัยแล้ว.

พันธุละมีบุตร ๓๒ คน

ฝ่ายพันธุละ พานางมัลลิกามายังเมืองสาวัตถี นางคลอดบุตรเป็นคู่ๆ ถึง ๑๖ ครั้ง.

แม้บุตรของนางทั้งหมดได้เป็นผู้แกล้วกล้า ถึงพร้อมด้วยกำลัง ถึงความสำเร็จศิลปะทั้งหมด คนหนึ่งๆ ได้มีบุรุษพันคนเป็นบริวาร พระลานหลวง


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 31

เต็มไปด้วยบุตรเหล่านั้นแล ซึ่งไปราชนิเวศน์กับบิดา.

พันธุละเสนาบดีถูกฆ่าพร้อมทั้งบุตร

อยู่มาวันหนึ่ง พวกมนุษย์แพ้ความด้วยคดีโกงในการวินิจฉัย เห็นพันธุละกำลังเดินมา ร่ำร้องกันใหญ่ แจ้งการกระทำคดีโกงของพวกอำมาตย์ผู้วินิจฉัย แก่พันธุละนั้น.

พันธุละไปสู่โรงวินิจฉัย พิจารณาคดีนั้นแล้ว ได้ทำผู้เป็นเจ้าของนั่นแล ให้เป็นเจ้าของ มหาชนให้สาธุการ เป็นไปด้วยเสียงอันดัง.

พระราชาทรงสดับเสียงนั้น ตรัสถามว่า "นี่อะไรกัน" เมื่อทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ทรงโสมนัส ให้ถอดพวกอำมาตย์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ทรงมอบการวินิจฉัยแก่พันธุละเท่านั้น ตั้งแต่นั้นมา พันธุละก็วินิจฉัยโดยถูกต้อง จำเติมตั้งแต่วันนั้นมา พวกอำมาตย์ผู้วินิจฉัยรุ่นเก่า ไม่ได้ค่าจ้าง มีรายได้น้อย ยุยงในราชตระกูลว่า พันธุละปรารถนาเป็นพระราชา.

พระราชาทรงเชื่อคำของอำมาตย์เหล่านั้น มิได้อาจจะทรงข่มพระหฤทัยได้ ทรงดำริอีกว่า เมื่อพันธุละถูกฆ่าตายในที่นี้นั้นแล ความครหาก็จักเกิดแก่เรา ทรงมีรับสั่งให้บุรุษที่แต่งไว้ โจมตีปัจจันตนคร แล้วรับสั่งให้หาพันธุละมา ทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า "ทราบว่า จังหวัดปลายแดน โจรกำเริบขึ้น ท่านพร้อมทั้งบุตรของท่านจงไปจับโจรมา" แล้วทรงส่งนายทหารผู้ใหญ่ซึ่งสามารถเหล่าอื่นไปกับพันธุละเสนาบดีนั้น ด้วยพระดำรัสว่า "พวกท่านจงตัดศีรษะพันธุลเสนาบดีพร้อมทั้งบุตร ๓๒ คน ในที่นั้นแล้วนำมา".


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 32

เมื่อพันธุละนั้นพอถึงจังหวัดปลายแดน พวกโจรที่พระราชาทรงแต่งไว้ กล่าวกันว่า "ทราบว่า ท่านเสนาบดีมา" แล้วพากันหลบหนีไป.

พันธุลเสนาบดีนั้น ยังประเทศนั้นให้สงบราบคาบแล้ว ก็กลับมา ลำดับนั้น ทหารเหล่านั้นก็ตัดศีรษะพันธุลเสนาบดีพร้อมกับบุตรทั้งหมด ในที่ใกล้พระนคร.

นางมัลลิกาเทวีไม่มีความเสียใจ

วันนั้น นางมัลลิกาเทวีนิมนต์พระอัครสาวกทั้งสองพร้อมทั้งภิกษุ ๕๐๐ รูป.

ครั้นในเวลาเช้า พวกคนได้นำหนังสือมาให้นาง เนื้อความว่า โจรตัดศีรษะสามีพร้อมทั้งบุตรของท่าน นางรู้เรื่องนั้นแล้ว ไม่บอกใครๆ พับหนังสือใส่ไว้ในพกผ้า อังคาสภิกษุสงฆ์เรื่อยไป.

ขณะนั้น สาวใช้ของนางถวายภัตแก่ภิกษุแล้ว นำถาดเนยใสมา ทำถาดแตกตรงหน้าพระเถระ พระธรรมเสนาบดีกล่าวว่า "สิ่งของมีอันแตกเป็นธรรมดา ก็แตกไปแล้ว ใครๆ ไม่ควรคิด".

นางมัลลิกานั้น นำเอาหนังสือออกจากพกผ้า เรียนท่านว่า "เขานำหนังสือนี้มาให้แก่ดิฉัน เนื้อความว่า พวกโจรตัดศีรษะบิดาพร้อมด้วยบุตร ๓๒ คน ดิฉันแม้สดับเรื่องนี้แล้ว ก็ยังไม่คิด เมื่อเพียงถาดเนยใสแตก ดิฉันจักคิดอย่างไรเล่า เจ้าข้า".

พระธรรมเสนาบดีกล่าวคำเป็นต้นว่า.


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 33

"ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ในโลกนี้ ไม่มีนิมิต ใครๆ ก็รู้ไม่ได้ ทั้งฝืดเคือง ทั้งน้อย และชีวิตนั้น ซ้ำประกอบด้วยทุกข์".

แสดงธรรมเสร็จแล้ว ลุกจากอาสนะ ได้ไปวิหารแล้ว.

ฝ่ายนางมัลลิกาให้เรียกบุตรสะใภ้ทั้ง ๓๒ คนมาแล้ว สั่งสอนว่า "สามีของพวกเธอไม่มีความผิด ได้รับผลกรรมในชาติก่อนของตน เธอทั้งหลายอย่าเศร้าโศก อย่าปริเวทนาการ อย่าทำการผูกใจแค้นเบื้องบน พระราชา".

จารบุรุษของพระราชาฟังถ้อยคำนั้นแล้ว กราบทูลความที่ชน เหล่านั้นไม่มีโทษแด่พระราชา พระราชาทรงถึงความสลดพระหฤทัย เสด็จไปนิเวศน์ของนางมัลลิกานั้น ให้นางมัลลิกาและหญิงสะใภ้ของนางอดโทษ แล้วได้พระราชทานพรแก่นางมัลลิกา นางกราบทูลว่า "พรจงเป็นพรอันหม่อมฉันรับไว้เถิด" เมื่อพระราชานั้นเสด็จไปแล้ว ถวายภัตเพื่อผู้ตาย อาบน้ำแล้ว เข้าเฝ้าพระราชา ทูลว่า "ขอเดชะ พระองค์พระราชทานพรแก่หม่อมฉันแล้ว อนึ่ง หม่อมฉันไม่มีความต้องการด้วยของอื่น ขอพระองค์จงทรงอนุญาตให้ลูกสะใภ้ ๓๒ คนของหม่อมฉัน และตัวหม่อมฉัน กลับไปเรือนแห่งตระกูลเถิด".

พระราชาทรงรับแล้ว นางมัลลิกาส่งหญิงสะใภ้ ๓๒ คนไปสู่ตระกูลของตนๆ ด้วยตนเอง ส่วนนางได้ไปสู่เรือนแห่งตระกูลของตนในกุสินารานคร.

ฝ่ายพระราชา ได้พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่ทีฆการายนะ ผู้ซึ่งเป็นหลานพันธุลเสนาบดี.


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 34

ก็ทีฆการายนะนั้น เที่ยวแสวงหาโทษของพระราชาด้วยคิดอยู่ว่า "ลุงของเรา ถูกพระราชาองค์นี้ ให้ตายแล้ว" ข่าวว่า จำเดิมแต่การที่พันธุละผู้ไม่มีความผิดถูกฆ่าแล้ว พระราชาทรงมีวิปฏิสาร ไม่ได้รับความสบายพระหฤทัย ไม่ได้เสวยความสุขในราชสมบัติเลย.

พระราชาสวรรคต

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงอาศัยนิคมชื่อเมทฬุปะของพวกเจ้าศากยะ ประทับอยู่ พระราชาเสด็จไปที่นั้นแล้ว ทรงให้ตั้งค่ายในที่ไม่ไกลจากพระอารามแล้ว เสด็จไปวิหารด้วยบริวารเป็นอันมาก ด้วยทรงดำริว่า จักถวายบังคมพระศาสดา พระราชทานเครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ (๑) แก่ทีฆการายนะแล้ว พระองค์เดียวเท่านั้น เสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี พึงทราบเรื่องทั้งหมดโดยทำนองแห่งธรรมเจติยสูตร (๒) เมื่อพระองค์เสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎีแล้ว ทีฆการายนะจึงถือเอาเครื่องราชกกุธภัณฑ์เหล่านั้น ทำวิฑูฑภะให้เป็นพระราชา เหลือม้าไว้ตัวหนึ่ง และหญิงผู้เป็นพนักงานอุปัฏฐากคนหนึ่ง แล้วได้กลับไปเมืองสาวัตถี.

พระราชาตรัสปิยกถากับพระศาสดาแล้วเสด็จออก ไม่ทรงเห็นเสนา จึงตรัสถามหญิงนั้น ทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ทรงดำริว่า เราจักพาหลานไปจับวิฑูฑภะ ดังนี้แล้ว เสด็จไปกรุงราชคฤห์ เสด็จถึงพระนคร เมื่อประตูพระนครอันเขาปิดแล้วในเวลาวิกาล บรรทมแล้วในศาลา


(๑) เครื่องประดับพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินมี ๕ อย่าง คือ ๑. แส้จามรี ๒. มงกุฏ ๓. พระขรรค์ ๔. ธารพระกร ๕. ฉลองพระบาท บางแห่งว่า ๑. พระขรรค์ ๒. เศวตฉัตร ๓. มงกุฏ ๔. ฉลองพระบาท ๕. พัดวาลวิชนี.

(๒) ม. ม. ๑๓/๕๐๖.


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 35

แห่งหนึ่ง ทรงเหน็ดเหนื่อยเพราะลมและแดด ได้สวรรคตในที่นั้นนั่นเอง ในเวลากลางคืน เมื่อราตรีสว่างแล้ว ประชาชนได้ยินเสียงหญิงคนนั้น คร่ำครวญอยู่ว่า "ข้าแต่สมมติเทพ ผู้จอมแห่งชาวโกศล พระองค์ไม่มีที่พึ่งแล้ว" จึงกราบทูลแด่พระราชา ท้าวเธอทรงรับสั่งให้ทำสรีรกิจของพระเจ้าลุง ด้วยสักการะใหญ่.

พระเจ้าวิฑูฑภะเสด็จไปพบพระศาสดา

แม้พระเจ้าวิฑูฑภะได้ราชสมบัติแล้ว ทรงระลึกถึงเวรนั้น ทรงดำริว่า เราจักยังเจ้าศากยะแม้ทั้งหมดให้ตาย ดังนี้แล้ว จึงเสด็จออกไปด้วยเสนาใหญ่.

ในวันนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นความพินาศแห่งหมู่พระญาติแล้ว ทรงดำริว่า เราควรกระทำญาติสังคหะ ในเวลาเช้าเสด็จเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ทรงสำเร็จสีหไสยาในพระคันธกุฎี ในเวลาเย็นเสด็จไปทางอากาศ ประทับนั่งที่โคนไม้ มีเงาปรุโปร่ง ใกล้เมืองกบิลพัสดุ์.

แต่นั้นไป มีต้นไทรเงาสนิทต้นใหญ่ต้นหนึ่งอยู่ในรัชสีมาของพระเจ้าวิฑูฑภะ พระเจ้าวิฑูฑภะทอดพระเนตรเห็นพระศาสดา จึงเสด็จเข้าไปเฝ้า ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร พระองค์จึงประทับนั่งแล้วที่โคนไม้เงาปรุโปร่งนี้ ในเวลาร้อนเห็นปานนี้ ขอพระองค์โปรดประทับนั่งที่โคนไทรมีเงาอันสนิทนั่นเถิด พระเจ้าข้า" เมื่อพระศาสดาตรัสตอบว่า "ช่างเถิด มหาบพิตร ชื่อว่าเงาของหมู่พระญาติเป็นของเย็น" จึงทรงดำริว่า พระศาสดาจักเสด็จ


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 36

มาเพื่อทรงประสงค์รักษาหมู่พระญาติ จึงถวายบังคมพระศาสดา เสด็จกลับไปสู่เมืองสาวัตถีนั่นแล แม้พระศาสดาก็ทรงเหาะไปสู่เชตวันเหมือนกัน พระราชาทรงระลึกถึงโทษแห่งพวกเจ้าศากยะ เสด็จออกไปแม้ครั้งที่ ๒ ทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาในที่นั้นนั่นแล ก็เสด็จกลับอีก เสด็จออกไปแม้ครั้งที่ ๓ ทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาในที่นั้นนั่นแล ก็เสด็จกลับ แต่เมื่อพระเจ้าวิฑูฑภะนั้นเสด็จออกไปในครั้งที่ ๔ พระศาสดาทรงพิจารณาเห็นบุรพกรรมของเจ้าศากยะทั้งหลาย ทรงทราบความที่กรรมอันลามก คือการโปรยยาพิษลงในแม่น้ำของเจ้าศากยะเหล่านั้น เป็นกรรมอันใครๆ ห้ามไม่ได้ จึงมิได้เสด็จไปในครั้งที่ ๔ พระเจ้าวิฑูฑภะเสด็จออกไปแล้วด้วยพลใหญ่ ด้วยทรงดำริว่า เราจักฆ่าพวกเจ้าศากยะ.

พระเจ้าวิฑูฑภะฆ่าพวกศากยะ

ก็พระญาติทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธะชื่อว่าไม่ฆ่าสัตว์ แม้จะตายอยู่ ก็ไม่ปลงชีวิตของเหล่าสัตว์อื่น.

เจ้าศากยะเหส่านั้นคิดว่า พวกเราฝึกหัดมือแล้ว มีเครื่องผูกสอดอันทำแล้ว หัดปรือมาก แต่พวกเราไม่อาจปลงสัตว์อื่นจากชีวิตได้เลย พวกเราจักแสดงกรรมของตนแล้ว ให้หนีไป เจ้าศากยะเหล่านั้น ทรงมีเครื่องผูกสอดอันทำแล้ว จึงเสด็จออกเริ่มการยุทธ ลูกศรที่เจ้าศากยะเหล่านั้นยิงไป ไปตามระหว่างๆ พวกบุรุษของพระเจ้าวิฑูฑภะ ออกไปโดยช่องโล่และช่องหูเป็นต้น พระเจ้าวิฑูฑภะทอดพระเนตรเห็น จึงตรัสว่า "พนาย พวกเจ้าศากยะย่อมตรัสว่า "พวกเราเป็นผู้ไม่ฆ่าสัตว์" มิใช่หรือ ก็เมื่อเช่นนี้ ไฉนพวกเจ้าศากยะจึงยิงบุรุษของเราให้ฉิบหาย


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 37

เล่า" ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งกราบทูลพระเจ้าวิฑูฑภะนั้นว่า "ขอเดชะ พระองค์ตรวจสอบดูแล้วหรือ".

พระเจ้าวิฑูฑภะ. พวกเจ้าศากยะ ยังบุรุษของเราให้ฉิบหาย.

บุรุษ. บุรุษไรๆ ของพระองค์ ชื่อว่า ตายแล้ว ย่อมไม่มี ขอเชิญ พระองค์จงรับสั่งให้นับบุรุษเหล่านั้นเถิด.

พระเจ้าวิฑูฑภะเมื่อรับสั่งให้นับดู ไม่ทรงเห็นหมดไปแม้คนหนึ่ง ท้าวเธอเสด็จกลับจากที่นั้นแล้ว ตรัสว่า "พนาย คนเหล่าใดๆ บอกว่า "พวกเราเป็นเจ้าศากยะ" ท่านทั้งหลาย จงฆ่าคนเหล่านั้นทั้งหมด แต่จงให้ชีวิตแก่คนที่ยืนอยู่ในสำนักของเจ้าศากยะมหานาม ผู้เป็นพระเจ้าตาของเรา.

เจ้าศากยะทั้งหลายไม่เห็นเครื่องถือที่ตนพึงถือเอา บางพวกคาบหญ้า บางพวกถือไม้อ้อ ยืนอยู่ ถูกเขาถามว่า "ท่านเป็นเจ้าศากยะหรือไม่ใช่ เพราะเหตุที่เจ้าศากยะเหล่านั้น แม้จะตายก็ไม่พูดคำเท็จ พวกที่ยืนคาบหญ้าอยู่แล้ว จึงกล่าวว่า "ไม่ใช่เจ้าศากยะ หญ้า" พวกที่ยืนถือไม้อ้อก็กล่าวว่า "ไม่ใช่เจ้าศากยะ ไม้อ้อ" เจ้าศากยะเหล่านั้นและเจ้าศากยะที่ยืนอยู่ในสำนักของท้าวมหานาม ได้ชีวิตแล้ว

บรรดาเจ้าศากยะเหล่านั้น เจ้าศากยะที่ยืนคาบหญ้าชื่อว่า เจ้าศากยะ หญ้า พวกที่ยืนถือไม้อ้อชื่อว่า เจ้าศากยะไม้อ้อ.

พระเจ้าวิฑูฑภะรับสั่งให้ฆ่าเจ้าศากยะที่เหลือทั้งหลาย ไม่เว้นทารก แม้ยังดื่มนม ยังแม่น้ำคือโลหิต ให้ไหลไปแล้ว รับสั่งให้ล้างแผ่นกระดาน ด้วยโลหิตในลำคอของเจ้าศากยะเหล่านั้น.

ศากยวงศ์ อันพระเจ้าวิฑูฑภะเข้าไปตัดแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้.


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 38

พระเจ้าวิฑูฑภะนั้น รับสั่งให้จับเจ้าศากยมหานาม เสด็จกลับแล้ว ในเวลาเสวยกระยาหารเช้า ทรงดำริว่า เราจักเสวยอาหารเช้า ดังนี้แล้ว ทรงแวะในที่แห่งหนึ่ง เมื่อโภชนะอันบุคคลนำเข้าไปแล้ว รับสั่งให้เรียกพระเจ้าตามา ด้วยพระดำรัสว่า "เราจักเสวยร่วมกัน".

มานะกษัตริย์

แต่กษัตริย์ทั้งหลาย ถึงจะสละชีวิต ก็ไม่ยอมเสวยร่วมกับบุตรนางทาสี เพราะฉะนั้น ท้าวมหานามทอดพระเนตรเห็นสระๆ หนึ่ง จึงตรัสว่า "เรามีร่างกายอันสกปรก พ่อ เราจักอาบน้ำ".

พระเจ้าวิฑูฑภะตรัสว่า "ดีละ พระเจ้าตา เชิญพระเจ้าตาอาบเถิด" ท้าวมหานามทรงดำริว่า พระเจ้าวิฑูฑภะนี้ จักฆ่าเราผู้ไม่บริโภคร่วม การตายเองของเราเท่านั้น ประเสริฐกว่า ดังนี้แล้ว จึงทรงสยายผม สอดหัวแม่เท้าเข้าไปในผม ขอดให้เป็นปมที่ปลาย ดำลงไปในน้ำ.

ด้วยเดชแห่งคุณของท้าวมหานามนั้น นาคภพก็แสดงอาการร้อน พระยานาคใคร่ครวญว่า เรื่องอะไรกันหนอ เห็นแล้วจึงมาสู่สำนักของท้าวมหานามนั้น ให้ท้าวมหานามประทับบนพังพาน แล้วเชิญเสด็จเข้าไปสู่นาคภพ ท้าวมหานามนั้นอยู่ในนาคภพนั้นนั่นแล สิ้น ๑๒ ปี.

ฝ่ายพระเจ้าวิฑูฑภะประทับนั่งคอยอยู่ ด้วยทรงดำริว่า พระเจ้าตาของเราจักมาในบัดนี้ เมื่อท้าวมหานามนั้นชักช้าอยู่ จึงรับสั่งให้ค้นในสระ ตรวจดูแม้ระหว่างบุรุษด้วยแสงประทีป ไม่เห็นแล้วก็เสด็จหลีกไป ด้วยทรงดำริว่า พระเจ้าตาจักเสด็จไปแล้ว.


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 39

พระเจ้าวิฑูฑภะถูกน้ำท่วมสวรรคต

พระเจ้าวิฑูฑภะนั้น เสด็จถึงแม่น้ำอจิรวดีในเวลาราตรี รับสั่งให้ตั้งค่ายแล้ว คนบางพวกนอนแล้วที่หาดทรายภายในแม่น้ำ บางพวกนอนบนบกในภายนอก แม้บรรดาพวกที่นอนแล้วในภายใน พวกที่มีบาปกรรมอันไม่ได้กระทำแล้วในก่อน มีอยู่ แม้บรรดาพวกที่นอนแล้วในภายนอก ผู้ที่มีบาปกรรมอันได้กระทำแล้วในก่อน มีอยู่ มดแดงทั้งหลายตั้งขึ้นแล้ว ในที่ซึ่งคนเหล่านั้นนอนแล้ว.

ชนเหล่านั้นกล่าวกันว่า "มดแดงตั้งขึ้นแล้วในที่เรานอนแล้ว มดแดงตั้งขึ้นแล้วในที่เรานอนแล้ว" จึงลุกขึ้น พวกที่มีบาปกรรมอันไม่ได้กระทำแล้ว ลุกขึ้นไปนอนบนบก, พวกมีบาปกรรมอันกระทำแล้ว ลงไปนอนเหนือหาดทราย.

ขณะนั้น มหาเมฆตั้งขึ้น ยังฝนลูกเห็บให้ตกแล้ว ห้วงน้ำหลากมา ยังพระเจ้าวิฑูฑภะพร้อมด้วยบริษัท ให้ถึงสมุทรนั่นแล ชนทั้งหมดได้เป็นเหยื่อแห่งปลาและเต่าในสมุทรนั้นแล้ว มหาชนยังกถาให้ตั้งขึ้นว่า "ความตายของเจ้าศากยะทั้งหลายไม่สมควรเลย ความตายนี่ คือพวกเจ้าศากยะอันพระเจ้าวิฑูฑภะทุบแล้วๆ ชื่ออย่างนี้ให้ตาย จึงสมควร (๑) ".

พวกเจ้าศากยะตายสมควรแก่บุรพกรรม

พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ความตายอย่างนี้ ไม่สมควรแก่เจ้าศากยะทั้งหลายในอัตภาพนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ความตายที่พวกเจ้าศากยะนั่นได้แล้ว ก็ควรโดยแท้ ด้วยสามารถแห่งกรรมลามกที่เขาทำไว้ในปางก่อน".


(๑) น่าจะเป็น "จึงไม่สมควร".


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 40

ภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เจ้าศากยะทั้งหลายนั่น ได้กระทำกรรมอะไรไว้ในปางก่อน.

พระศาสดา. ในปางก่อน พวกเจ้าศากยะนั่น รวมเป็นพวกเดียวกัน โปรยยาพิษในแม่น้ำ.

ในวันรุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลายยังกถาให้ตั้งขึ้นในโรงธรรมว่า "พระเจ้าวิฑูฑภะ ยังเจ้าศากยะทั้งหลายประมาณเท่านี้ให้ตายแล้ว เสด็จมาอยู่ เมื่อมโนรถของตนยังไม่ถึงที่สุดนั่นแล พาชนมีประมาณเท่านั้น (ไป) เกิดเป็นภักษาแห่งปลาและเต่าในสมุทรแล้ว".

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ" เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ด้วยกถาชื่อนี้ จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมโนรถของสัตว์เหล่านี้ ยังไม่ถึงที่สุดนั่นแล มัจจุราชตัดชีวิตินทรีย์แล้ว ให้จมลงในสมุทร คืออบาย ๔ ประดุจห้วงน้ำใหญ่ ท่วมทับชาวบ้านอันหลับ ฉะนั้น" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า.

๓. ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺตํ พฺยาสตฺตมนสํ นรํ สุตฺตํ คามํ มโหโฆว มจฺจุ อาทาย คจฺฉติ.

"มัจจุ ย่อมพานระผู้มีใจข้องในอารมณ์ต่างๆ ผู้เลือกเก็บดอกไม้อยู่เที่ยวไป เหมือนห้วงน้ำใหญ่ พัดชาวบ้านอันหลับแล้วไป ฉะนั้น".

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า พฺยาสตฺตมนสํ นรํ ความ


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 41

ว่า ผู้มีใจข้องแล้ว ในอารมณ์อันถึงพร้อมแล้ว หรืออันยังไม่ถึงพร้อมแล้ว.

พระผู้มีพระภาคตรัสคำอธิบายนี้ไว้ว่า นายมาลาการเข้าไปสู่สวนดอกไม้ คิดว่า จักเก็บดอกไม้ทั้งหลาย แล้วไม่เก็บเอาดอกไม้จากในสวนนั้น ปรารถนากออื่นๆ ชื่อว่า ส่งใจไปในสวนดอกไม้ทั้งสิ้น หรือคิดว่า เราจักเก็บดอกไม้จากกออื่นๆ แล้วไม่เก็บเอาดอกไม้จากกอนั้น ย่อมส่งใจไปในที่อื่น เลือกอยู่ซึ่งกอไม้นั้นนั่นเอง ชื่อว่า ย่อมถึงความ ประมาทฉันใด นระบางคน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน หยั่งลงสู่ท่ามกลางกามคุณ ๕ เช่นกันกับสวนดอกไม้ ได้รูปอันชอบใจแล้ว ปรารถนากลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือได้บรรดาอารมณ์มีเสียงเป็นต้น เหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ยังปรารถนาอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไป หรือได้รูปนั้นแหละ แล้วยังปรารถนาอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ชื่อว่า ย่อมยินดีอารมณ์นั้นนั่นแล หรือได้บรรดาอารมณ์มีเสียงเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วปรารถนาอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ย่อมยินดีอารมณ์อันตนได้แล้วนั้น ในสวิญญาณกทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์ มีโค กระบือ ทาสี ทาส นา สวน บ้าน นิคม และชนบทเป็นต้น ก็นัยนั้นนั่นแล ในบริเวณวิหารและปัจจัยมีบาตรและจีวรเป็นต้น แม้ของบรรพชิต ก็นัยนั้นเหมือนกัน มัจจุย่อมพาพระผู้มีใจข้องในกามคุณอันถึงพร้อมแล้ว หรืออันยังไม่ถึงพร้อมแล้ว ซึ่งกำลังเลือกเก็บดอกไม้ กล่าวคือกามคุณ ๕ อยู่อย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้ไป.


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 42

สองบทว่า สุตฺตํ คามํ ความว่า ชื่อว่า การหลับด้วยสามารถแห่งการหลับแห่งทัพพสัมภาระทั้งหลายมีฝาเรือนเป็นต้นแห่งบ้าน ย่อมไม่มี แต่บ้านชื่อว่า เป็นอันหลับแล้ว ก็เพราะเปรียบเทียบความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ประมาทแล้ว เพียงดังว่าหลับแล้ว มัจจุพานระไป ดุจห้วงน้ำใหญ่อันกว้างและลึก ๒ - ๓ โยชน์ พัดพาชาวบ้านที่หลับแล้วอย่างนั้นไปอยู่ ฉะนั้น คือว่าห้วงน้ำใหญ่นั้น ยังชาวบ้านนั้นทั้งหมด ไม่ให้สัตว์ไรๆ ในบรรดาสตรี บุรุษ โค กระบือ และไก่เป็นต้น เหลือไว้ ให้ถึงสมุทรแล้ว ทำให้เป็นภักษาของปลาและเต่า ฉันใด มัจจุราช คือความตาย พานระผู้มีใจข้องแล้วในอารมณ์ต่างๆ คือตัดอินทรีย์ คือชีวิตของพระนั้น ให้จมลงในสมุทร คืออบายทั้ง ๔ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้นแล้ว เทศนามีประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะ จบ.