ความสันโดษ...ตอนที่ ๔
โดย พุทธรักษา  7 ก.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 12837

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรม เรื่อง การปฏิบัติธรรมณ ห้องประชุมใหญ่ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่ ๒๑ มิถุนายน พศ. ๒๕๕๒ ถอดเทปโดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล

ท่านผู้ฟัง ความหมายของ คำ ว่า"สันโดษ เป็น ทรัพย์ อย่างยิ่ง" อย่างกรณีของพระอรหันต์ ท่านก็ไม่มีทรัพย์สมบัติอะไรเลย

ท่านอาจารย์ ขอประทานโทษค่ะ พระอรหันต์ ท่านต้องการทรัพย์หรือเปล่า "ความเป็นพระอรหันต์" ก็เป็น "ทรัพย์อย่างยิ่ง" อยู่แล้ว "คนจน" คือ คนที่ต้องการ ไม่รู้จบ เท่าไรก็ไม่พอ เพราะยังจน จึง "ต้องการ" แต่ ถ้าไม่ต้องการแล้ว ก็คือ "ไม่จน" เพราะว่า พอแล้ว นี่ คือ "ทรัพย์อย่างยิ่ง" หมายความว่าไม่ปรารถนาอะไร อีกแล้ว อย่างนี้ จะเป็น "ทรัพย์อย่างยิ่งไหมคะ เพราะว่า "มีจริงๆ " พอแล้ว จนกระทั่ง ไม่ปรารถนาอีกแล้ว

ท่านผู้ฟัง ทีนี้ ความหมายของ คำ ว่า "คนจน" ก็คือ คนที่ ไม่พอ ส่วน คนที่ ไม่มี แต่ว่า พอก็คือ "คนที่ไม่จน" ใช่ไหมครับ

ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะ คนที่ "ไม่จน" คนที่รวยมาก แต่ว่า ไม่พอ อย่างนี้ "จน" ไหม เพราะว่า เท่าไรๆ ก็ไม่พอ เพราะฉะนั้น คนจน ก็คือ คนที่ไม่พอซึ่งก็ต้อง เป็น "คนจน" ไปอย่างนั้น เพราะว่า ยัง "อยากได้" อยู่เรื่อยๆ แต่ คนที่มีเท่าไร ก็ "พอแล้ว" จะเรียกว่า "คนจน" ได้อย่างไร ในเมื่อ "พอแล้ว" เมื่อ พอแล้วก็ ไม่เดือดร้อน ไม่ขวนขวายอย่างคนที่ "มีเท่าไรก็ไม่พอ" ขณะไหน ที่ไม่พอ ก็ คือ "จน"แต่ ขณะไหน ที่พอ ก็ คือ "ไม่จน" เป็นความจริงใช่ไหม
เพราะ "ไม่รู้" ใน สิ่งที่ปรากฏจึง "อยากได้" ไม่สิ้นสุด อย่างนี้ "จน" ไหม เพราะว่า "จน" จึงอยากได้ๆ ๆ แต่เมื่อ "มีความพอ" ก็คือ "ไม่จน"

ขออนุโมทนา



ความคิดเห็น 1    โดย จักรกฤษณ์  วันที่ 13 ก.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 2    โดย chatchai.k  วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ