เหตุใดจึงกล่าวว่ามนสิการ ไม่กล่าวว่าระลึกรู้ (สติ) หรือมนสิการเพื่อให้เกิดสติ หรือการเห็นไตรลักษณะเห็นได้ด้วย การมนสิการ
โดย : WS202398 วันที่ : 22-06-2550
การเห็นไตรลักษณ์ ต้องเห็นด้วยปัญญาค่ะ เพราะปัญญารู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง
มนสิการทำกิจใส่ใจในอารมณ์ แต่ละอย่างทำกิจหน้าที่ของเขา เมื่อมีปัจจัย มีความเข้าใจสติจะเกิดเองค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ไตรลักษณะ คือ ลักษณะทั่วไปของสภาพธัมมะที่มีลักษณะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และอนัตตา เช่น เสียงเป็นธรรมอย่างหนึ่ง มีลักษณะไม่เที่ยง การจะรู้ลักษณะ ของสภาพธัมมะ ต้องเป็นจิตที่เป็นกุศลประกอบด้วยปัญญา เมื่อจิตเกิดขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้นโดดๆ แต่ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย และก็ไม่ได้มีเจตสิกเดียวด้วย อย่างน้อยต้องมี ๗ ดวง มนสิการเจตสิก เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง ถ้าเป็นฝ่ายกุศลก็เป็นโยนิโสมนสิการเจตสิก ถ้าเป็นฝ่ายอกุศล เป็นอโยนิโสมนสิการเจตสิก แต่ก็คือ เป็นมนสิการเจตสิกนั่นเอง มนสิการเจตสิก ทำหน้าที่ใส่ใจในอารมณ์นั้น ในขณะที่จะรู้ลักษณะของไตรลักษณ์ เช่น ความไม่เที่ยงก็ต้องมีธรรม กุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญานั่นเอง ซึ่งต้องมีมนสิการเจตสิกเกิดด้วย เป็นโยนิโสมนสิการเจตสิก (เพราะเป็นกุศล) ทำหน้าที่ใส่ใจในอารมณ์ คือใส่ใจ ด้วยความแยบคายในธรรมนั้นที่กำลังปรากฏ ว่าไม่เที่ยง แต่ไม่ได้ทำหน้าที่รู้ ลักษณะของสภาพธัมมะว่าไม่เที่ยง เพราะเป็นหน้าที่ของปัญญา แต่สภาพธัมมะที่เกิดขึ้น (เจตสิกแต่ละดวง) ทำหน้าที่ร่วมกัน แต่ปัญญาไม่ใช่โยนิโส มนสิการครับ
เปรียบเหมือน เมื่อจะเกี่ยวข้าว การจับรวงข้าว เหมือนโยนิโสมนสิการเจตสิก ส่วนหน้าที่ตัดรวงข้าวให้ขาด คือปัญญาเจตสิก ฉันใด เมื่อสภาพธัมมะเกิดโยนิโสมนสิการเจตสิก ก็ใส่ใจในอารมณ์นั้น แต่ไม่ได้ทำหน้าที่รู้ตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แต่เป็นหน้าที่ของปัญญา ที่รู้ลักษณะของสภาพธัมมะที่ไม่เที่ยง ... อนัตตาครับ แต่เจตสิกนั้นก็เกิดพร้อมกันทำกิจแต่ละอย่างกัน แม้สติก็ทำกิจระลึกลักษณะของธรรมนั้น แต่ไม่ได้ทำกิจรู้ตามความเป็นจริงเหมือนปัญญา แต่ที่กล่าวว่า มนสิการก่อนโดยนัยของพระสูตรครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎก
เชิญคลิกอ่านได้ที่ ...
โยนิโสมนสิการ [ปฐมโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร]
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
การมีโยนิโสมนสิการ ต้องพิจารณาในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความไม่เที่ยง การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ล้วนเป็นทุกข์ (ยกเว้นบุคคล ปุถุชนที่ไม่มีโอกาสเลย ได้ ฟังธรรมยังคงนิยมชมชอบในสังสารวัฎฏ์ หลงเพลินมัวเมากับภพชาติ อันนับประมาณ มิได้) เป็นกองแห่งทุกขเวทนาสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ล้วนไม่มีตัวตน สัตว์ บุคคล
ถ้าเข้าใจ ไตรลักษณ์ ก็จะนำไปถึง อริยสัจจ์ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทุกขเวทนาเป็นเหตุมาจากไตรลักษณ์ เป็นเหตุแห่งทุกข์ กองทุกข์ทั้งมวล จนนำมาซึ่งหนทางแห่งการดับทุกข์ นิโรธ หนทางดับทุกข์ คือ มรรค มีองค์ ๘ เป็นหนทางดับกองทุกข์ทั้งมวลคือ นิพพานขอความเจริญจงมีในธรรม พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า ธรรมะทั้งหลายล้วนเป็นอนัตตา
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ