[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 295
๔. จตุตถนันทิขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลิน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 295
๔. จตุตถนันทิขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลิน
[๒๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงรูปโดยอุบายอันแยบคาย จงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงรูปโดยอุบายอันแยบคาย พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ เธอทั้งหลาย จงใส่ใจถึงธรรมารมณ์โดยอุบายอันแยบคาย จงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงธรรมารมณ์โดยอุบายอันแยบคาย พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว.
จบ จตุตถนันทิขยสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 296
จตุตถปัณณาสก์
นันทิขยวรรคที่ ๑
อรรถกถานันทิขยสูตรที่ ๑ - ๔
นันทิขยวรรค นันทิขยสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย ท่านกล่าวว่า นันทิ และราคะ โดยอรรถก็เป็นอันเดียวกัน. บทว่า สุวิมุตฺตํ ความว่า หลุดพ้นด้วยดี โดยหลุดพ้นด้วยอรหัตตผล. คำที่เหลือในสูตรนี้ และในสูตรที่ ๒ เป็นต้น ง่ายทั้งนั้น.
จบ อรรถกถานันทิขยสูตรที่ ๑ - ๔