[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 402
เถรคาถา เอกนิบาต
วรรคที่ ๙
๓. สีหเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสีหเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 402
๓. สีหเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสีหเถระ
[๒๒๐] ได้ยินว่า พระสีหเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ดูก่อนสีหะ ท่านจงอย่าประมาท อย่าเกียจคร้าน ทั้งกลางคืนและกลางวัน จงอบรมกุศลธรรมให้เกิดขึ้น จงละฉันทราคะ ในอัตภาพเสียโดยเร็วพลันเถิด.
อรรถกถาสีหเถรคาถา
คาถาของท่านพระสีหเถระ เริ่มต้นว่า สีหปฺปมตฺโต วิหร. เรื่องราว ของท่านเป็นอย่างไร?
ได้ยินว่า พระเถระนั้น เป็นผู้มีอธิการอันการทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 403
ในที่สุดแห่งกัปที่ ๑๑๘ แต่ภัทรกัปนี้ เกิดในกำเนิดกินนร เป็นผู้มีดอกไม้เป็น ภักษา เป็นผู้กินดอกไม้ พักอยู่ริมฝั่งแม่น้ำจันทภาคา เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปทางอากาศ มีจิตเลื่อมใส มีความประสงค์จะบูชา ได้ยืนประคองอัญชลี อยู่แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบอัธยาศัยของเขา จึงเสด็จลงจากอากาศ ประทับนั่งโดยบัลลังก์ ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง กินนรบดแก่นจันทน์ แล้วทำการบูชาด้วยกลิ่นแห่งไม้จันทน์ และด้วยดอกไม้ทั้งหลาย ถวายบังคม กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลเจ้ามัลละในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า สีหะ. สีหกุมารเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีใจเลื่อมใส ถวายบังคม แล้วนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูอัธยาศัยของเขาแล้ว ทรงแสดงธรรม เขาฟังธรรมแล้ว ได้มีจิตศรัทธา บวชแล้ว เรียนกรรมฐาน อยู่ในป่า. จิตของท่านวิ่งพล่าน ไปในอารมณ์ต่างๆ ไม่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง จึงไม่อาจยังประโยชน์ตนให้สำเร็จได้ พระศาสดาทรงเห็นดังนั้นแล้ว ประทับยืนในอากาศ โอวาทด้วยพระคาถาว่า
ดูก่อนสีหะ ท่านจงอย่าประมาท อย่าเกียจคร้าน ทั้งกลางคืนและกลางวัน จงอบรมกุศลธรรมให้เกิดขึ้น จงละฉันทราคะ ในอัตภาพเสียโดยเร็วพลันเถิด ดังนี้.
ในเวลาจบพระคาถา ท่านเจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เวลานั้นเราเป็นกินนร อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ จันทภาคา และเรามีดอกไม้เป็นภักษา เป็นผู้กินดอกไม้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า อัตถทัสสี เชษฐบุรุษ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 404
ของโลก ประเสริฐกว่านรชน เสด็จเหาะไปบนยอดป่า ดังพระยาหงส์ในอัมพร (เรากล่าวว่า) ขอความนอบน้อมจงมี แด่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย จิตของ พระองค์บริสุทธิ์ดี พระองค์มีสีพระพักตร์ผ่องใส พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน มีเมธาดี เสด็จลงจากอากาศ ทรงปูลาดผ้าสังฆาฏิแล้ว ประทับนั่ง โดยบัลลังก์ เราถือเอาแก่นจันทน์หอมไปในสำนักพระชินเจ้า เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้บูชาพระพุทธเจ้า ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า เชษฐบุรุษของ โลก ประเสริฐกว่านระ ยังความปราโมทย์ให้เกิดแล้ว บ่ายหน้ากลับไปทางทิศอุดร ในกัปที่ ๑๑๘ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยแก่นจันทน์ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๑,๔๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ พระองค์ มีพระนามว่า โรหิณี มีพลมาก. เราเผากิเลส ทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระคาถาว่า สีหปฺปมตฺโต เป็นต้นอันใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วโดยเป็นโอวาท บทว่า สีหะ ในคาถานั้น เป็นคำเรียกชื่อของ พระเถระนั้น.
บทว่า อปฺปมตฺโต วิหร ความว่า ท่านจงเป็นผู้เว้นจากความ ประมาทด้วยการไม่อยู่ปราศจากสติ คือเป็นผู้ประกอบไปด้วยสติและสัมปชัญญะในทุกๆ อิริยาบถอยู่เถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 405
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงอัปปมาทวิหารธรรมนั้น พร้อมทั้งผลโดยสังเขป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า รตฺตินฺทิวํ ดังนี้. ใจความของบทนั้นมีดังนี้ เธออย่าเกียจคร้าน คือ อย่าลืมสติ ได้แก่ จงเป็นผู้ปรารภความเพียร ด้วยสามารถแห่งสัมมัปปธานมีองค์ ๔ โดยนัยที่ท่านกล่าว ไว้ว่า จงยังจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม (ธรรมเป็นเครื่องกางกั้นความดี) ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ดังนี้ แล้วจงยังธรรมคือสมถะและวิปัสสนาอันเป็นกุศล และยังโลกุตรธรรมให้เห็นแจ้ง คือ ให้บังเกิด ได้แก่ ให้เจริญอีกด้วย ก็ครั้นให้เจริญอย่างนี้แล้ว จงละฉันทราคะในอัตภาพเสียโดยพลัน คือ จงละร่างกายอันได้แก่อัตภาพของท่านโดยพลัน คือ โดยไม่เนิ่นช้าด้วยการละฉันทราคะ อันเนื่องแล้วในอัตภาพนั้น เสียก่อนเป็นปฐม ก็ครั้นเป็นอย่างนี้แล้ว จักละ (ฉันทราคะ) ได้ ด้วยการดับสนิทแห่งจิตดวงหลัง และโดยไม่มีส่วน เหลือได้ในภายหลัง ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตตผล ได้กล่าวย้ำอยู่แต่คาถานั้นเท่านั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสีหเถรคาถา